หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Dr. Manhattan
Verified User
โพสต์: 1122
ผู้ติดตาม: 0

หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผู้ผลิตไฟฟ้าชีวมวลป่วน ต้นทุนพุ่งเดินเครื่องผลิตไฟแบบขาดทุน ประกาศขายโรงไฟฟ้ากว่า 10 โรง ราคา 500-1,000 ล้านบาท โวยรัฐไม่บริหารจัดการโซนนิ่ง แย่งวัตถุดิบทั้งแกลบ-ทะลายปาล์มราคาพุ่งพรวด แนะปรับโครงสร้างราคาแบบ IPP-Cogen สะท้อนต้นทุนเชื้อเพลิง

นายนที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าชีวมวลประสบปัญหาอย่างหนัก จนบางโรงต้องตัดปัญหาด้วยการประกาศขายโรงไฟฟ้าที่ราคา 500-1,000 ล้านบาท/โรง ส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องผลิตไฟฟ้ามาแล้วประมาณ 10 ปี สาเหตุหลักมาจาก 1) วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น เช่น ราคาแกลบจากช่วงเริ่มต้นโครงการมีราคาที่ประมาณ 400 บาท/ตัน ราคาขยับขึ้นมาตั้งแต่ระดับ 1,200 บาท/ตัน จนถึง 2,000 บาท/ตัน

2) แต่ละพื้นที่ไม่มีการกำหนดโซนนิ่ง (Zoning) ทำให้บางพื้นที่มีการขอสร้างโครงการเพิ่มเติมเข้ามามาก เมื่อมีการอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กมาก หรือ VSPP เพิ่มเติม ทำให้ผู้ประกอบการแย่งวัตถุดิบ จนต้องสั่งซื้อจากพื้นที่อื่นเข้ามา รวมถึงกลุ่มโรงสีข้าวที่เคยขายแกลบให้ กลับมาลงทุนก่อสร้างทำโรงไฟฟ้าแทนเพราะมีวัตถุดิบของตัวเอง

3) การกำหนดสูตรราคารับซื้อที่ไม่ได้อิงตามต้นทุนจริง และโรงไฟฟ้าชีวมวลแต่ละประเภทมีต้นทุนที่แตกต่างกัน เช่น ในช่วงเริ่มต้นโครงการภาครัฐใช้สูตรอิงจากราคาน้ำมันเตา จากนั้นปรับสูตรใหม่เป็นอิงกับราคาก๊าซธรรมชาติ ถัดมาคืออิงกับราคาถ่านหิน ล่าสุดอิงกับราคาค่าไฟฟ้าที่จำหน่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งความเป็นจริงราคาแกลบ เศษไม้หรือทะลายปาล์มไม่สามารถอิงกับราคาเหล่านี้ได้

"ภาครัฐไม่ได้ดูความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ว่าควรมีโรงไฟฟ้าจำนวนเท่าไรควรกำหนดให้โรงไฟฟ้าซื้อวัตถุดิบในระยะไม่เกิน 200 กิโลเมตร ไม่ดูดีมานด์ ซัพพลายในพื้นที่ อย่างแกลบที่ปัจจุบันมีอยู่ที่ 7 ล้านตัน/ปีเท่านั้น แต่ก็ยังมีการอนุมัติโครงการใหม่ ๆ เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสาน ตอนนี้หันมาสั่งซื้อทะลายปาล์มเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนแกลบ และเมื่อหลาย ๆ โรงหันมาซื้อทะลายปาล์มมากขึ้น ราคาก็จะปรับเพิ่มขึ้น ปัญหาก็จะขยายวงไปสู่เชื้อเพลิงอื่น บางโรงตอนนี้หยุดเดินเครื่องก็มี ในบางรายก็ต้องเดินเครื่องแบบขาดทุน"

นายนทีกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวลในรูปแบบ Feed in Tariff หรือ Fit เฉพาะโครงการใหม่ โดยที่ประกาศดังกล่าวไม่ครอบคลุมโครงการเก่าที่มีการซื้อขายไฟฟ้ามาก่อนหน้านี้ โดยอัตราค่าไฟฟ้าชีวมวลแบบ Fit อยู่ที่ 4.54 บาท/หน่วย ในขณะที่รูปแบบเดิมที่ได้ส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า หรือ Adder อยู่ที่ 3.30-3.40 บาท/หน่วย เท่ากับว่ามีส่วนต่างราคาสูงถึง 1-1.40 บาท/หน่วย และในแง่ของการแข่งขันโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ได้ค่าไฟแบบ Fit สามารถซื้อวัตถุดิบได้แพงถึง 500 บาท/ตัน ในขณะที่แบบ Adder ซื้อได้ที่ระดับราคา 300-400 บาท/ตันเท่านั้น

นอกจากนี้ ต้องการให้การคิดสูตรราคารับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวลตามราคาที่รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) และโรงไฟฟ้าพลังความร้อน-ไอน้ำ หรือ Cogeneration ที่ค่าพลังงานไฟฟ้าครอบคลุมผลตอบแทนการลงทุน ราคาค่าไฟฟ้าปรับขึ้น-ลงตามต้นทุนเชื้อเพลิงคือก๊าซธรรมชาติ ซึ่งผู้ผลิตไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องแบกรับภาระความเสี่ยงจากราคาเชื้อเพลิง

รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงสร้างของอัตรา Fit จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนคงที่ (FitF) ซึ่งจะคงที่ตลอดอายุโครงการ (2) อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนแปรผัน (FitV) จะปรับเพิ่มขึ้นตามค่าอัตราเงินเฟ้อขั้นพื้นฐาน (Core Inflation) เฉลี่ยของปีก่อนหน้า ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ (3) อัตรารับซื้อไฟฟ้าพิเศษ (Fit Premium) กำลังผลิตน้อยกว่า 1 เมกะวัตต์ ที่ 3.13 -5 บาท/หน่วย กำลังผลิตมากกว่า 1-3 เมกะวัตต์ ที่ 2.61-4.82 บาท/หน่วย และมากกว่า 3 เมกะวัตต์ อยู่ที่ 2.39-4.24 บาท/หน่วย

ล่าสุด มีรายงานว่า ขณะนี้มีโรงไฟฟ้า SPP-VSPP ชีวมวลไม่ต่ำกว่า 10 แห่ง ได้ประกาศขายกิจการในราคา 500-1,000 ล้านบาท


http://m.prachachat.net/news_detail.php ... 1441694290
Watchmen
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4366
ผู้ติดตาม: 1

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

"นายนทีกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวลในรูปแบบ Feed in Tariff หรือ Fit เฉพาะโครงการใหม่ โดยที่ประกาศดังกล่าวไม่ครอบคลุมโครงการเก่าที่มีการซื้อขายไฟฟ้ามาก่อนหน้านี้ โดยอัตราค่าไฟฟ้าชีวมวลแบบ Fit อยู่ที่ 4.54 บาท/หน่วย ในขณะที่รูปแบบเดิมที่ได้ส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า หรือ Adder อยู่ที่ 3.30-3.40 บาท/หน่วย เท่ากับว่ามีส่วนต่างราคาสูงถึง 1-1.40 บาท/หน่วย และในแง่ของการแข่งขันโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ได้ค่าไฟแบบ Fit สามารถซื้อวัตถุดิบได้แพงถึง 500 บาท/ตัน ในขณะที่แบบ Adder ซื้อได้ที่ระดับราคา 300-400 บาท/ตันเท่านั้น"

ไม่เข้าใจตรงนี้ครับ Fit 4.54 บาท/หน่วย ขณะที่แบบเดิม Adder มันคือ ค่าไฟตามปกติทั่วไปบวกด้วย 3.30-3.40 บาท/หน่วย แบบเดิมน่าจะได้สูงกว่ารึเปล่า? แล้วทำไมถึงบอกว่าแบบ Fit จะสามารถซื้อวัตถุดิบได้แพงกว่าล่ะครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
เหรียญ
Verified User
โพสต์: 686
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ดำ เขียน:"นายนทีกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวลในรูปแบบ Feed in Tariff หรือ Fit เฉพาะโครงการใหม่ โดยที่ประกาศดังกล่าวไม่ครอบคลุมโครงการเก่าที่มีการซื้อขายไฟฟ้ามาก่อนหน้านี้ โดยอัตราค่าไฟฟ้าชีวมวลแบบ Fit อยู่ที่ 4.54 บาท/หน่วย ในขณะที่รูปแบบเดิมที่ได้ส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า หรือ Adder อยู่ที่ 3.30-3.40 บาท/หน่วย เท่ากับว่ามีส่วนต่างราคาสูงถึง 1-1.40 บาท/หน่วย และในแง่ของการแข่งขันโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ได้ค่าไฟแบบ Fit สามารถซื้อวัตถุดิบได้แพงถึง 500 บาท/ตัน ในขณะที่แบบ Adder ซื้อได้ที่ระดับราคา 300-400 บาท/ตันเท่านั้น"

ไม่เข้าใจตรงนี้ครับ Fit 4.54 บาท/หน่วย ขณะที่แบบเดิม Adder มันคือ ค่าไฟตามปกติทั่วไปบวกด้วย 3.30-3.40 บาท/หน่วย แบบเดิมน่าจะได้สูงกว่ารึเปล่า? แล้วทำไมถึงบอกว่าแบบ Fit จะสามารถซื้อวัตถุดิบได้แพงกว่าล่ะครับ?
ตามนี้เลยครับ
รูปภาพ
''I didn't come this far to only come this far''
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4366
ผู้ติดตาม: 1

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ แปลว่าในข่าวหมายถึงค่าไฟที่รวม Adder ได้สุทธิแล้วเท่ากับ 3.30-3.40 บาท/หน่วย
Joi
Verified User
โพสต์: 3015
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

รฟฟชีวมวลในไทย มีประโยชน์มากนะครับ เพราะเป็นการช่วยภาคเกษตรทางอ้อม และช่วยแก้
ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย

รฟฟชีวมวลที่มีปัญหา คือพวกที่ไม่ได้มีวัตถุดิบของตัวเอง และไม่สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ
และค่าขนส่งได้ ทำไปก็อยู่ไม่ได้ เช่นพวก รฟฟที่ใช้แกลบ เป็นต้น นี่แทบจะเจ๊งหมด........แต่คนที่
เขาพร้อมเรื่องวัตถุดิบ. และสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ และค่าขนส่งได้ดีจะได้ประโยชน์ครับ
และเป็นโอกาสที่ดีจาก room ที่ว่างขึ้น

อย่าเหมารวมครับ นี่เป็นโอกาสที่เปิดมากสำหรับผู้ที่พร้อมจริงๆเท่านั้น โดยเฉพาะพวกโรงน้ำตาลครับ :mrgreen:
"การหลอกคนร้อยคนให้เชื่อ นั้นง่ายกว่าการสอนคนหนึ่งคน ให้เข้าใจ"
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4366
ผู้ติดตาม: 1

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

Joi เขียน:รฟฟชีวมวลที่มีปัญหา คือพวกที่ไม่ได้มีวัตถุดิบของตัวเอง และไม่สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ
และค่าขนส่งได้ ทำไปก็อยู่ไม่ได้ เช่นพวก รฟฟที่ใช้แกลบ เป็นต้น นี่แทบจะเจ๊งหมด........แต่คนที่
เขาพร้อมเรื่องวัตถุดิบ. และสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ และค่าขนส่งได้ดีจะได้ประโยชน์ครับ
และเป็นโอกาสที่ดีจาก room ที่ว่างขึ้น
รบกวนถามหน่อยครับ แกลบนี่เค้าเอาไปทำอะไรที่ได้มูลค่าสูงๆ เหรอครับ นอกจากใช้เป็นวัตถุดิบโรงไฟฟ้าชีวมวล?
hirochi
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ที่ว่าเกษตรกรได้ประโยชน์ ไม่จริงครับ ผมเป็นเกษตรกร ทำไร่อ้อย กากอ้อยปกติเป็นที่ต้องการของเกษตรกรอยู่แล้ว และได้ฟรี เพื่อไปทำปุ๋ยพืชสด ทดแทนปุ๋ยเคมี แต่พอมีโครงการนี้เข้ามา เกษตรกรไม่ได้กากอ้อย แถมต้องซื้อปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นอีก คนได้ประโยชน์จริงๆคือโรงงาน้ำตาล....โครงการนี้ทำลายเกษตรกรครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ดำ เขียน:
Joi เขียน:รฟฟชีวมวลที่มีปัญหา คือพวกที่ไม่ได้มีวัตถุดิบของตัวเอง และไม่สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ
และค่าขนส่งได้ ทำไปก็อยู่ไม่ได้ เช่นพวก รฟฟที่ใช้แกลบ เป็นต้น นี่แทบจะเจ๊งหมด........แต่คนที่
เขาพร้อมเรื่องวัตถุดิบ. และสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ และค่าขนส่งได้ดีจะได้ประโยชน์ครับ
และเป็นโอกาสที่ดีจาก room ที่ว่างขึ้น
รบกวนถามหน่อยครับ แกลบนี่เค้าเอาไปทำอะไรที่ได้มูลค่าสูงๆ เหรอครับ นอกจากใช้เป็นวัตถุดิบโรงไฟฟ้าชีวมวล?
https://www.mtec.or.th/index.php/2013-0 ... 39-49/865-


เป็นเรื่องของ "by product" มีประโยชน์หลายด้าน และได้สารมีคุณภาพจากแกลบ
แต่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรรึเปล่า? ... คงคล้ายกรณีอ้อยละมั๊ง
IR_GLOW
Approved IR Member
โพสต์: 94
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 9

โพสต์

โรงไฟฟ้าชีวมวล​ ต้องเป็นเจ้าของวัตุดิบเท่านั้น ถึงจะทำแล้วได้กำไรครับ​ ​เช่นพวกโรงน้ำตาล​ หรือพวกโรงสีใหญ่​ๆ​ ถ้าต้องไปซื้อวัตุดิบมาเผานี่โอกาสเจ๊งสูงอยู่แล้ว

คอยดูได้ว่ารายต่อไปที่จะเจอปัญหา​ คือพวกโรงไฟฟ้าจากขยะ​
Vunny
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 266
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ดำ เขียน:
Joi เขียน:รฟฟชีวมวลที่มีปัญหา คือพวกที่ไม่ได้มีวัตถุดิบของตัวเอง และไม่สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ
และค่าขนส่งได้ ทำไปก็อยู่ไม่ได้ เช่นพวก รฟฟที่ใช้แกลบ เป็นต้น นี่แทบจะเจ๊งหมด........แต่คนที่
เขาพร้อมเรื่องวัตถุดิบ. และสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ และค่าขนส่งได้ดีจะได้ประโยชน์ครับ
และเป็นโอกาสที่ดีจาก room ที่ว่างขึ้น
รบกวนถามหน่อยครับ แกลบนี่เค้าเอาไปทำอะไรที่ได้มูลค่าสูงๆ เหรอครับ นอกจากใช้เป็นวัตถุดิบโรงไฟฟ้าชีวมวล?
ขายเป็นอาหารสัตว์ครับ ได้ราคาสูงแต่ตลาดนี้จะต้องการเป็นช่วงๆ ไม่เหมือนโรงไฟฟ้าที่ต้องเดินเครื่องทั้งปี
Vunny
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 266
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 11

โพสต์

hirochi เขียน:ที่ว่าเกษตรกรได้ประโยชน์ ไม่จริงครับ ผมเป็นเกษตรกร ทำไร่อ้อย กากอ้อยปกติเป็นที่ต้องการของเกษตรกรอยู่แล้ว และได้ฟรี เพื่อไปทำปุ๋ยพืชสด ทดแทนปุ๋ยเคมี แต่พอมีโครงการนี้เข้ามา เกษตรกรไม่ได้กากอ้อย แถมต้องซื้อปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นอีก คนได้ประโยชน์จริงๆคือโรงงาน้ำตาล....โครงการนี้ทำลายเกษตรกรครับ
ที่บ้านผมเองก็ปลูกอ้อยครับ ตั้งแต่เกิดมาก็มีอ้อยล้อมรอบรั้วบ้านและญาติพี่น้องก็ปลูกแต่ไม่เคยได้ยินว่ามีใครเอากากอ้อยไปทำปุ๋ยพืชสดเพื่อใส่ไร่อ้อย จะมีก็แต่การไถกลบใบอ้อยที่ค้างไร่อยู่ ส่วนตอนนี้ผมทำงานอยู่ธุรกิจน้ำตาลครับ พึ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรกจากคุณ hirochi ว่าชาวไร่ต้องการกากอ้อยเพื่อเอาไปทำปุ๋ยพืชสด (อาจจะเป็นเพราะว่าไม่ได้อยู่ฝ่ายไร่) สรุปผมอยากถามเป็นความรู้ครับว่า ต้องใช้กากอ้อยกี่ตันหรือกี่กิโลเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้กับพื้นที่ปลูก 1 ไร่ และใส่ไปแล้ว yield ต่อไร่เพิ่มจากเท่าไหร่เป็นเท่าไหร่ครับ ถ้าดีจริงผมจะได้ให้ที่บ้านทำบ้าง และช่วยส่งเสริมที่บริษัทให้เค้าเตรียมให้ชาวไร่ที่สนใจ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ต้องขออภัยนะครับที่ถามลึก เพราะต้องการเปรียบเทียบต้นทุนกับผลตอบแทน
hirochi
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 12

โพสต์

Vunny เขียน:
hirochi เขียน:ที่ว่าเกษตรกรได้ประโยชน์ ไม่จริงครับ ผมเป็นเกษตรกร ทำไร่อ้อย กากอ้อยปกติเป็นที่ต้องการของเกษตรกรอยู่แล้ว และได้ฟรี เพื่อไปทำปุ๋ยพืชสด ทดแทนปุ๋ยเคมี แต่พอมีโครงการนี้เข้ามา เกษตรกรไม่ได้กากอ้อย แถมต้องซื้อปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นอีก คนได้ประโยชน์จริงๆคือโรงงาน้ำตาล....โครงการนี้ทำลายเกษตรกรครับ
ที่บ้านผมเองก็ปลูกอ้อยครับ ตั้งแต่เกิดมาก็มีอ้อยล้อมรอบรั้วบ้านและญาติพี่น้องก็ปลูกแต่ไม่เคยได้ยินว่ามีใครเอากากอ้อยไปทำปุ๋ยพืชสดเพื่อใส่ไร่อ้อย จะมีก็แต่การไถกลบใบอ้อยที่ค้างไร่อยู่ ส่วนตอนนี้ผมทำงานอยู่ธุรกิจน้ำตาลครับ พึ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรกจากคุณ hirochi ว่าชาวไร่ต้องการกากอ้อยเพื่อเอาไปทำปุ๋ยพืชสด (อาจจะเป็นเพราะว่าไม่ได้อยู่ฝ่ายไร่) สรุปผมอยากถามเป็นความรู้ครับว่า ต้องใช้กากอ้อยกี่ตันหรือกี่กิโลเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้กับพื้นที่ปลูก 1 ไร่ และใส่ไปแล้ว yield ต่อไร่เพิ่มจากเท่าไหร่เป็นเท่าไหร่ครับ ถ้าดีจริงผมจะได้ให้ที่บ้านทำบ้าง และช่วยส่งเสริมที่บริษัทให้เค้าเตรียมให้ชาวไร่ที่สนใจ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ต้องขออภัยนะครับที่ถามลึก เพราะต้องการเปรียบเทียบต้นทุนกับผลตอบแทน
Joi
Verified User
โพสต์: 3015
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 13

โพสต์

คุณVunny. นี่ ผมยอมรับว่ารู้เรื่องอ้อยและโรงงานน้ำตาลดีมากเลยครับเท่าที่เคยอ่านที่ Post
ผมเดาว่าน่าจะทำงานเกี่ยวข้องกับโรงงานน้ำตาลแน่เลยครับ ส่วนผมอาศัยสอบถามคนใน
ธุรกิจน้ำตาลที่สนืทๆกันมาอีกทีครับ :mrgreen:
"การหลอกคนร้อยคนให้เชื่อ นั้นง่ายกว่าการสอนคนหนึ่งคน ให้เข้าใจ"
hirochi
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 14

โพสต์

hirochi เขียน:
Vunny เขียน:
hirochi เขียน:ที่ว่าเกษตรกรได้ประโยชน์ ไม่จริงครับ ผมเป็นเกษตรกร ทำไร่อ้อย กากอ้อยปกติเป็นที่ต้องการของเกษตรกรอยู่แล้ว และได้ฟรี เพื่อไปทำปุ๋ยพืชสด ทดแทนปุ๋ยเคมี แต่พอมีโครงการนี้เข้ามา เกษตรกรไม่ได้กากอ้อย แถมต้องซื้อปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นอีก คนได้ประโยชน์จริงๆคือโรงงาน้ำตาล....โครงการนี้ทำลายเกษตรกรครับ
ที่บ้านผมเองก็ปลูกอ้อยครับ ตั้งแต่เกิดมาก็มีอ้อยล้อมรอบรั้วบ้านและญาติพี่น้องก็ปลูกแต่ไม่เคยได้ยินว่ามีใครเอากากอ้อยไปทำปุ๋ยพืชสดเพื่อใส่ไร่อ้อย จะมีก็แต่การไถกลบใบอ้อยที่ค้างไร่อยู่ ส่วนตอนนี้ผมทำงานอยู่ธุรกิจน้ำตาลครับ พึ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรกจากคุณ hirochi ว่าชาวไร่ต้องการกากอ้อยเพื่อเอาไปทำปุ๋ยพืชสด (อาจจะเป็นเพราะว่าไม่ได้อยู่ฝ่ายไร่) สรุปผมอยากถามเป็นความรู้ครับว่า ต้องใช้กากอ้อยกี่ตันหรือกี่กิโลเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้กับพื้นที่ปลูก 1 ไร่ และใส่ไปแล้ว yield ต่อไร่เพิ่มจากเท่าไหร่เป็นเท่าไหร่ครับ ถ้าดีจริงผมจะได้ให้ที่บ้านทำบ้าง และช่วยส่งเสริมที่บริษัทให้เค้าเตรียมให้ชาวไร่ที่สนใจ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ต้องขออภัยนะครับที่ถามลึก เพราะต้องการเปรียบเทียบต้นทุนกับผลตอบแทน
แต่เดิมเอา รถ 10ล้อไปใส่กากอ้อยจากโรงงานไปดั้มในไร่ 1 ไร่ ใช้ประมาณ 2-3 รถ(ใจจริงอยากได้ฟิวเตอรเคกมาากว่าแต่มีน้อยไม่พอกับความต้องการและใช้น้อยกว่าครับ) เสร็จแล้ว ไถกลบ คลุกกับดิน ทิ้งไว้ ให้ผ่านฝน หลายเดือน แล้วค่อยปลูก (บ้านผมปลูกอ้อยปลายฝน)...ทำมาหลายสิบปีแล้วครับ ทำอ้อยมาตั้งแต่เกิดแล้วครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 15

โพสต์

อนาคตทั้งกากอ้อยและฟิลเตอร์เค้กจะยิ่งหายากขึ้นอีกครับ เพราะอย่างแรกเอาไปทำโรงไฟฟ้าชีวมวล อย่างหลังไปผลิตก๊าซชีวภาพได้
ถ้ายังไงรวมตัวกันไปคุยกับทางโรงงานน้ำตาลดีไหมครับ ว่าถ้าเค้าไม่ช่วยสนับสนุนอะไรเลย ชาวไร่จะลำบากขึ้นเพราะเอาของเสียไปผสมปุ๋ยไม่ได้แล้ว
(ถ้ามองในแง่ดีคือใบอ้อยจากเดิมที่ตัดทิ้ง ก็เอาไปขายเป็นเชื้อเพลิงได้ครับ)

เทรนด์ในระยะยาวน่าจะเป็นกับการเกษตรโดยรวมครับ สมัยผมเด็กๆคนนิยมเอาแกลบไปผสมเป้นอาหารหมู เดี๋ยวนี้ไม่น่าจะทำกันแล้วเพราะแกลบแพง หรืออย่างเอาทลายปาล์มมาเพาะเห็ด สมัยนีั้อาจจะต้องคิดหนักหน่อย
Vi IMrovised
Vunny
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 266
ผู้ติดตาม: 0

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณ คุณ hirochi เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมเลยครับ

กลับมาที่ topic เรื่องเจ้าของแห่ขายทิ้งโรงไฟฟ้าชีวมวล ผมว่าประเด็นหลักๆมีอยู่ 2 อย่างที่ทำให้เค้าจำเป็นต้องขายทิ้งโรงไฟฟ้าชีวมวล 1. ไม่มีชีวมวลเป็นของตัวเองทำให้ต้องแย่งซื้อจากตลาดและมีต้นทุนค่าขนส่งเมื่อเทียบกับคนที่มีชีวมวลของตัวเองทำให้ไม่มีต้นทุนค่าขนส่ง 2. Fit ชีวมวลที่กำลังมาจะทำให้คนที่เป็นระบบ Adder เดิมสู้ได้ยากเพราะราคาขายไฟฟ้าของ Fit ในช่วงแรกๆสูงกว่า adder ถึง 1 บาท อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ยังน่าจับตามองว่าคนที่ bid Fit จะมีความเสี่ยง 2 อย่าง คือต้องยอมหักราคาลงไปมากเพื่อให้ชนะการประมูลและในระยะยาวราคาค่าไฟฟ้าของกลุ่ม adder ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สัญญาขายไฟที่เป็นแบบ Fit มีความสามารถในการแข่งขันลดลง

ประเด็นพวกนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันมากว่าจะสรุปลงอย่างไร เพราะคนที่เป็น adder อยู่ในปัจจุบันก็จะมองว่ามันไม่ยุติธรรมกับเค้าที่อยู่ดีๆคนที่ได้สัญญา Fit จะสามารถขายไฟฟ้าที่ผลิตจากชีวมวลเหมือนกันได้ราคาสูงกว่ามาก จนทำให้รายเดิมไม่มีความสามารถในการแข่งขันซื้อเชื้อเพลิง จนสุดท้ายอาจจะต้องปิดโรงงาน และผมกล้าฟันธงได้เลยว่า Fit Bidding ชีวมวล ที่กำลังจะเปิดให้ประมูลในเดือนตุลาคมจะต้องมีคนคัดค้านแน่ๆ

สำหรับคนที่สนใจหุ้นกลุ่มนี้ผมอยากให้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มครับ โดยให้ความสำคัญกับเรื่องวัตถุดิบเป็นหลัก (Technology ก็เหมือนๆ กันไม่ต่างกันมาก) เรียงลำดับจากเสี่ยงน้อยไปมาก
1. มีวัตถุดิบทั้งหมด 100% เป็นของตัวเอง กลุ่มนี้กำไรเยอะมากครับ
2. มีวัตถุดิบของตัวเองมากกว่า 50% กลุ่มนี้จะพอไปได้ กำไรไม่ได้หวือหวาอะไร
3. กลุ่มที่ซื้อวัตถุดิบจากภายนอก 100% กลุ่มนี้เสี่ยงมาก แต่จะมีบางโรงงานที่อยู่ในภาคใต้จะยังดีอยู่เนื่องจากตอนนี้สายส่งเต็มทำให้โรงงานที่มีอยู่ไม่ต้องแย่งกันซื้อไม้มากนัก และมีปัจจัยบวกเสริมคือการโค่นล้มสวนยางเป็นจำนวนมากในปัจจุบันทำให้มีปริมาณไม้เป็นจำนวนมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4366
ผู้ติดตาม: 1

Re: หมดยุค"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เจ้าของแห่ขายทิ้ง

โพสต์ที่ 17

โพสต์

"ไฟฟ้าชีวมวล"ระส่ำราคาแกลบพุ่ง ดิ้นขนทะลายปาล์มจากใต้หมื่นตันเดินเครื่องผลิต

โรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง แห่ขนทะลายปาล์มจากภาคใต้ขึ้นมาใช้แทน 10,000 ตัน/วัน หลังราคาแกลบพุ่ง 1,500 บาท/ตัน ผู้ประกอบการจี้รัฐแก้ปัญหาจัดโซนนิ่ง-เปลี่ยนให้ผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้รับส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้าแบบ Adder มาใช้แบบ Feed in Tariff ที่สะท้อนต้นทุนผลิตมากกว่า

นายนที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้โรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ภาคกลางที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ต้องประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะราคาแกลบได้ปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 1,400-1,500 บาท/ตัน ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันไปใช้เชื้อเพลิงอื่นแทน ล่าสุดเริ่มมีการขนทะลายปาล์มจากพื้นที่ภาคใต้มาใช้ในโรงไฟฟ้าแกลบ จากเดิมที่ราคาทะลายปาล์มอยู่ที่ 150 บาท/ตัน ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 250 บาท/ตันแล้ว และคาดว่าราคาทะลายปาล์มอาจจะปรับเพิ่มขึ้นได้อีกจากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น โดยล่าสุดมีการขนทะลายปาล์มอยู่ที่ 10,000 ตัน เพื่อให้สามารถเดินเครื่องไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กำหนดไว้ตามสัญญาซื้อขายไฟ

ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวมาจากที่กระทรวงพลังงานไม่มีการจัดโซนนิ่งพื้นที่โรงไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ว่าควรมีกี่โรงแต่กลับรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมเมื่อโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทำให้มีการแย่งวัตถุดิบในพื้นที่ นอกเหนือจากนี้ยังมีปัญหาในประเด็นสูตรราคารับซื้อค่าไฟฟ้าในกลุ่มชีวมวลที่ไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตในช่วงแรกที่กระทรวงพลังงานมีนโยบายสนับสนุนด้วยการให้ส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) ที่ให้ส่วนเพิ่มเพียง 7 ปี หลังจากนั้นจะได้อัตราค่าไฟฟ้าปกติคือ อัตราค่าไฟฟ้าฐานรวมกับอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ Ft เท่านั้น ในขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่กลับได้อัตราค่าไฟฟ้าที่ลดลง

"ก่อนหน้านี้ได้ส่งหนังสือไปยังกระทรวงพลังงานเพื่อให้มีการแก้ไขในประเด็นดังกล่าวเพราะโรงไฟฟ้าที่ได้ Adder นั้นมีอายุโรงไฟฟ้า 20-25 ปี และขณะนี้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้ามาเพียง 6-7 ปีเท่านั้น ซึ่งหากภาครัฐมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทนภายในมากขึ้น ก็ควรลงมาแก้ไขปัญหา"

นายนทีกล่าวเพิ่มเติมว่า ได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาไปที่กระทรวงพลังงานแล้วคือ ต้องการให้ภาครัฐพิจารณาให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเดิมที่ได้อัตราค่าไฟฟ้าแบบ Adder สามารถเปลี่ยนมาใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบ Feed in Tariff หรือ FIT เนื่องจากเป็นสูตรราคาที่สะท้อนต้นทุนเชื้อเพลิงมากที่สุด แต่กระทรวงพลังงานแจ้งว่า ไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เนื่องจากต้องยึดตามสัญญาซื้อขายไฟเป็นหลัก ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มพลังงานทดแทน ถือเป็นระเบียบสัญญาที่เกิดจากฝ่ายเดียวคือจากฝ่ายนโยบาย โดยที่ไม่ได้พิจารณาต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผู้ประกอบการบางโรงต้องเดินเครื่องแบบขาดทุนด้วยซ้ำ

เมื่อนำอัตราค่าไฟฟ้าแบบ Adder และ FIT มาเปรียบเทียบกันจะเห็นว่า อัตราค่าไฟฟ้าแบบ FIT สะท้อนต้นทุนราคาค่าไฟฟ้าตามจริงมากกว่า และได้อัตราค่าไฟฟ้าที่มากกว่า ฉะนั้นควรปรับราคาค่าไฟที่ใช้น่าจะเกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของธุรกิจพลังงานทดแทน และเพื่อให้นโยบายส่งเสริมพลังงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ในอดีตที่ผ่านมาอัตราค่าไฟฟ้าของกลุ่มชีวมวลจะถูกอ้างอิงในยุคแรกคือ ราคาน้ำมันเตา ยุคที่ 2 อิงกับ?ราคาก๊าซธรรมชาติ ยุคที่ 3 อิงราคาถ่านหิน ยุคที่ 4 รูปแบบ Adder และยุคที่ 5 รูปแบบ FIT ซึ่งจะเห็นได้ว่าในยุคที่ 1-4 ราคาที่อ้างอิงไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของพลังงานชีวมวล จากที่เคยประเมินว่าราคาแกลบที่คุ้มค่าลงทุนควรอยู่ระดับที่ไม่เกิน 300-500 บาท/ตัน แต่หลังจากที่มีโรงไฟฟ้าชีวมวลมากขึ้น ราคาแกลบได้เพิ่มขึ้นจนถึง 800 บาท/ตัน และราคาล่าสุดเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 1,400-1,500 บาท/ตัน

http://m.prachachat.net/news_detail.php ... 1445420299
โพสต์โพสต์