ผู้บริหารโอนหุ้นออก มีผลอะไรบ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 25
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้บริหารโอนหุ้นออก มีผลอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 2
ส่วนตัวผมมีมุมมองว่า
1. เป็นการให้ทายาทโดยปกติ พ่อ-แม่ ให้ลูก เป็นเรื่องปกติ
2. เป็นการโอนออกเพื่อ ที่ผู้บริหารสามารถขายหุ้นที่โอนให้กับทายาท โดยที่ไม่ต้องรายงาน 59-2 อีก (ออกของโดยนักลงทุนไม่รู้)
3. การโอนออก แล้วมีการซื้อเพิ่มในภายหลังของผู้บริหาร น่าจะเป็นจิตวิทยาในเชิงบวกต่อนักลงทุน
หรือเพื่อนมีมุมมองอย่างไรบ้างครับ
1. เป็นการให้ทายาทโดยปกติ พ่อ-แม่ ให้ลูก เป็นเรื่องปกติ
2. เป็นการโอนออกเพื่อ ที่ผู้บริหารสามารถขายหุ้นที่โอนให้กับทายาท โดยที่ไม่ต้องรายงาน 59-2 อีก (ออกของโดยนักลงทุนไม่รู้)
3. การโอนออก แล้วมีการซื้อเพิ่มในภายหลังของผู้บริหาร น่าจะเป็นจิตวิทยาในเชิงบวกต่อนักลงทุน
หรือเพื่อนมีมุมมองอย่างไรบ้างครับ
- neuhiran
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 817
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ผู้บริหารโอนหุ้นออก มีผลอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 3
COPSTER เขียน:การที่ผู้บริหารโอนหุ้นออก ให้ทายาท ที่รายงานใน 59-2 นักลงทุนให้ความสำคัญ หรือมีมุมมองอย่้างไรบ้างครับ
ที่ผมเคยเจอนะคือโอนไปเพื่อเอาไปขายในตลาด ถ้าผู้บริหารขายเองต้องรายงานทุกครั้ง
และถ้าหุ้นนั้นไม่ค่อยไม่สภาพคล่อง ขายได้ไม่ค่อยเยอะกว่าจะหมดก็คงต้องรายงานกันบ่อย
ซึ่งจะดูไม่ดี ถ้าโอนไปให้ทายาทเป็นผู้ขายแทนก็รายงานเพียงแค่ครั้งเดียว ทายาทจะไปทะยอยขายกี่ครั้งก็ได้
ไม่ต้องรายงานอีกต่อไป
- KentaII
- Verified User
- โพสต์: 383
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้บริหารโอนหุ้นออก มีผลอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 4
โอนออก เป็นสัญญานเท่ากับ "ขาย" ครับ เนื่องจากไม่ต้องรายงานแล้ว
ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "แมงเม่า" เขาผู้นั้นมักไม่ใช่แมงเม่า...แต่ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "เซียน" เขาผู้นั้น จะกลายเป็น แมงเม่าในไม่ช้า เพราะเขา "หยุดพัฒนาตนเอง"
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้บริหารโอนหุ้นออก มีผลอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 6
ถ้าเป็นสมัยก่อนทั่วไปที่เคยเจอ ก็อาจมีอย่างที่ท่านข้างบนว่า
แต่ถ้าเป็นในช่วงนี้ ไปจนถึงปลายปี มีการโอนหุ้นอย่างคึกคักผิดปกติ ทำเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีตามกม.ที่ออกมาใหม่
ดังนั้น ต้องแยกเป็นกรณีครับ
แต่ละคนมีเหตุผลต่างกัน ไม่เหมือนกันทั้งหมดทุกราย
แต่ "ส่วนใหญ่" ในชวงนี้ เยอะผิดปกติ เพราะเรื่องนี้
จะว่าหลบเลี่ยงก็ไม่ใช่... เอาเป็นว่า คือการจัดการภายในของแต่ละครอบครัว เป็นสิทธิ์โดยชอบตามกฎหมาย
กม. จะมีผล 180 วันหลังลงประกาศในราชกิจจาฯ คือครึ่งปี ยังมีเวลา ไปจนถึงก่อนปลายเดือนมกรา 2559 (เพราะลงประกาศ ปลายกค.) ดังนั้น ช่วงนี้ ก็รีบกัน
ตัวอย่างที่เจอ หุ้นของกิจการในตระกูลจิราธิวัฒน์ โอนออกกันให้ลูกๆ (หมายถึง ทายาทรุ่นหลานผู้ก่อตั้ง ลูกแต่ละครอบคัวย่อย) เพราะตอนนี้ เริ่มเข้ารุ่น 4 รุ่น 5 กันแล้ว กระจายกันออกไปหลายสิบคน จะคิดว่าโอนเพื่อหลบไม่ให้เห็นตอนขาย ก็ไม่ใช่ เพราะแค่แบ่งสมบัติให้ลูกหลานเฉยๆ
ลองดูตัวเลขว่า ทำไมถ้ารีบทำ แล้วเป็นการจัดการกับกำจัดภาษีนี้ได้ ก็น่าทำ:
ภาษีมรดกมอบให้ภายหลังการเสียชีวิต เงิน หุ้น อสังหาฯ
- นับเริ่มที่มูลค่ามรดก 100ล.บ
- ภาษี 5% ของส่วนที่เกิน 100ล. ถ้าให้ทายาท
- ถ้าไม่ใช่ทายาท จะเพิ่มเป็น 10%
แต่กม. ก็คิดถึงกรณีถ้าโอนขณะยังมีชีวิต 10-20ล. ก็เสีย
- ถือเป็น "ภาษีการให้" ไม่ใช่ภาษีมรดก
- ถ้าเกิน 20ล. จะเสียภาษี 10% กรณีโอนทายาทสืบสายเลือดจริง (ไม่ใช่บุตรบุญธรรม เห็นภาษากฎหมายใช้คำว่า "สืบสันดาน")
- ถ้ากรณีอื่นๆ เป็นการให้โดยเสน่หาหรืออุปการะ จะเริ่มที่ 10 ล. 10%
ปลายมกราปีหน้าเป็นต้นไป... นี่เดือน 9 จะเข้า 10 แล้ว ช่วงนี้ จึงเป็นโอกาสทอง ในการบริหารสินทรัพย์ส่วนตัว ว่าจัดการส่วนไหนที่ให้ลูกหลานก่อนได้ จะไม่ต้องเสียภาษี 5%-10% จะโอนให้แต่พอประมาณจัดสรรพอเหมาะไว้ที่ตัวบ้าง
หรือจะโอนทั้งหมด เพราะแน่ใจว่าลูกหลานไม่เอาไปใช้ทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วยังดูแลเจ้าของมรดกต่อ (ไม่เอาไปโยนทิ้งบ้านพักคนชราหลังได้ภาษีแล้ว ) ก็จะประหยัดภาษีได้เยอะ... แต่ละครอบครัวก็ไม่เหมือนกัน
โอนตอนนี้ เพราะไม่ต้องขายมรดกเพื่อเสียภาษีทีหลังสูงๆ
แต่ถ้าเป็นในช่วงนี้ ไปจนถึงปลายปี มีการโอนหุ้นอย่างคึกคักผิดปกติ ทำเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีตามกม.ที่ออกมาใหม่
ดังนั้น ต้องแยกเป็นกรณีครับ
แต่ละคนมีเหตุผลต่างกัน ไม่เหมือนกันทั้งหมดทุกราย
แต่ "ส่วนใหญ่" ในชวงนี้ เยอะผิดปกติ เพราะเรื่องนี้
จะว่าหลบเลี่ยงก็ไม่ใช่... เอาเป็นว่า คือการจัดการภายในของแต่ละครอบครัว เป็นสิทธิ์โดยชอบตามกฎหมาย
กม. จะมีผล 180 วันหลังลงประกาศในราชกิจจาฯ คือครึ่งปี ยังมีเวลา ไปจนถึงก่อนปลายเดือนมกรา 2559 (เพราะลงประกาศ ปลายกค.) ดังนั้น ช่วงนี้ ก็รีบกัน
ตัวอย่างที่เจอ หุ้นของกิจการในตระกูลจิราธิวัฒน์ โอนออกกันให้ลูกๆ (หมายถึง ทายาทรุ่นหลานผู้ก่อตั้ง ลูกแต่ละครอบคัวย่อย) เพราะตอนนี้ เริ่มเข้ารุ่น 4 รุ่น 5 กันแล้ว กระจายกันออกไปหลายสิบคน จะคิดว่าโอนเพื่อหลบไม่ให้เห็นตอนขาย ก็ไม่ใช่ เพราะแค่แบ่งสมบัติให้ลูกหลานเฉยๆ
ลองดูตัวเลขว่า ทำไมถ้ารีบทำ แล้วเป็นการจัดการกับกำจัดภาษีนี้ได้ ก็น่าทำ:
ภาษีมรดกมอบให้ภายหลังการเสียชีวิต เงิน หุ้น อสังหาฯ
- นับเริ่มที่มูลค่ามรดก 100ล.บ
- ภาษี 5% ของส่วนที่เกิน 100ล. ถ้าให้ทายาท
- ถ้าไม่ใช่ทายาท จะเพิ่มเป็น 10%
แต่กม. ก็คิดถึงกรณีถ้าโอนขณะยังมีชีวิต 10-20ล. ก็เสีย
- ถือเป็น "ภาษีการให้" ไม่ใช่ภาษีมรดก
- ถ้าเกิน 20ล. จะเสียภาษี 10% กรณีโอนทายาทสืบสายเลือดจริง (ไม่ใช่บุตรบุญธรรม เห็นภาษากฎหมายใช้คำว่า "สืบสันดาน")
- ถ้ากรณีอื่นๆ เป็นการให้โดยเสน่หาหรืออุปการะ จะเริ่มที่ 10 ล. 10%
ปลายมกราปีหน้าเป็นต้นไป... นี่เดือน 9 จะเข้า 10 แล้ว ช่วงนี้ จึงเป็นโอกาสทอง ในการบริหารสินทรัพย์ส่วนตัว ว่าจัดการส่วนไหนที่ให้ลูกหลานก่อนได้ จะไม่ต้องเสียภาษี 5%-10% จะโอนให้แต่พอประมาณจัดสรรพอเหมาะไว้ที่ตัวบ้าง
หรือจะโอนทั้งหมด เพราะแน่ใจว่าลูกหลานไม่เอาไปใช้ทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วยังดูแลเจ้าของมรดกต่อ (ไม่เอาไปโยนทิ้งบ้านพักคนชราหลังได้ภาษีแล้ว ) ก็จะประหยัดภาษีได้เยอะ... แต่ละครอบครัวก็ไม่เหมือนกัน
โอนตอนนี้ เพราะไม่ต้องขายมรดกเพื่อเสียภาษีทีหลังสูงๆ