น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
-
- Verified User
- โพสต์: 53
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 1
เปรียบเทียบหุ้นน้ำตาล ซึ่งตอนนี้น้ำตาลอยู่ในระดับต่ำสุด ยังพอมีกำไร แต่หากน้ำตาลตกต่ำมากๆ ก็สามารถนำน้ำตาลไปผลิตเอทานอนได้ ซึ้งรัฐรับซื้อที่ไม่ต่ำกว่า ลิตรละ 22 บาท และวัสดุเหลือจากผลิตน้ำตาล สามารถนำไปผลิตไฟฟ้าชีวมวลได้ ซึ่งมีความแน่นอนของวัตถุดิบและได้เริ่มจ่ายไฟกันบ้างแล้ว เหลือแต่จะขยายเพิ่มกันได้อีกเท่าไร ผมคิดว่าไฟฟ้าจาก บ ผลิตน้ำตาลน่าจะแน่นอนกว่าหลายๆแห่งที่ออกข่าวกัน
แนบไฟล์
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 5
สัญญาขายไฟฟ้าโรงไฟฟ้าชีวมวล มีหลายรูปแบบ เช่น Adder และ FiT ที่อัตรากำไรต่างกันมาก โรงเล็กมักได้รับการสนับสนุนกว่าโรงใหญ่ ถ้าแยกออกมาเป็นประเภทอาจจะเห็นภาพขึ้นครับ
ปริมาณอ้อยและน้ำตาลในอนาคต เป็นการคาดการ อาจทำไม่ได้ตามเป้าโดยเฉพาะหากไม่สอดคล้องกับสถิติย้อนหลัง ตรงนี้น่าจะเป็นความเสี่ยงสำคัญมาก เพราะถ้าปีไหนอ้อยต้นทางน้อยลง เช่นมีการแย่งอ้อยในพื้นที่ จะทำให้ผลผลิตเอทานอลและโรงไฟฟ้าก็จะถูกกระทบไปด้วย
เนื่องจากว่าอ้อยเป็นธุรกิจวัฎจักร เวลาราคาอ้อยดีเมื่อเทียบกับข้าวและมันสำปะหรังคนก็จะแห่กันมาปลูก โดยทั่วไปผมมองว่าถ้าบริษัทอยู่ในทำเลที่ได้รับการส่งเสริมปลูกอ้อยจะได้เปรียบกว่าทำเลที่ชาวบ้านกำลังเลิกปลูกแล้ว
โรงงานส่วนใหญ่จะตั้งอยู่กลางไร่อ้อยแต่บางโรงงานนั้นตั้งอยู่กลางชุมชน โดยเฉพาะโรงงานเก่าๆ ถ้ามีปัญหากับท้องถิ่นด้วยการพัฒนาโรงงานจะลำบากขึ้นมาก บางพื้นที่มีการขัดแย้งขนาดมีนักการเมืองเสียชีวิตในท้องที่อยู่บ่อยๆ
โรงงานน้ำตาลหลังๆเริ่มซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ มี value chain ขยายยาวขึ้น ผมคิดว่ามาเทียบกำลังหีบอ้อยตรงๆเริ่มไม่เห็นภาพในบางกรณีแล้ว บางโรงมีโรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจปลายทาง บางโรงมีโรงปุ๋ยแทน บางโรงไปผลิตกระดาษ พวกนี้วัฎจักรธุรกิจต่างกันมาก อัตรากำไรก็ไม่เท่ากัน
ถ้าแยกว่าอ้อยนั้นเอามาทำเป็นธุรกิจอะไรบ้าง ผมลองลิสต์คร่าวๆเท่าที่นึกออกดูตามนี้ครับ (ถ้าตกหล่นก็ขออภัยครับ)
1. น้ำตาล
..1.1 น้ำตาลดิบ
..1.2 น้ำตาลอื่นๆ
..1.3 เอทานอล (เข้าใจว่าในไทยยังไม่นิยม?)
2. โมลาส
..2.1 เอทานอล
....2.1.1 เพื่อกิน เช่น ซีอิ๊ว น้ำส้มสายชู เหล้า และอื่นๆ
....2.1.2 เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง
..2.2 ก๊าซชีวภาพ
....2.2.1 ใช้ผลิตไฟฟ้า
....2.2.2 CBG ใช้ในการขนส่งและอุตสาหกรรม
3. กากอ้อย
..3.1 ปุ๋ย
..3.2 เยื่อกระดาษ
..3.4 ไอน้ำ
....3.4.1 โรงไฟฟ้าชีวมวล
ปริมาณอ้อยและน้ำตาลในอนาคต เป็นการคาดการ อาจทำไม่ได้ตามเป้าโดยเฉพาะหากไม่สอดคล้องกับสถิติย้อนหลัง ตรงนี้น่าจะเป็นความเสี่ยงสำคัญมาก เพราะถ้าปีไหนอ้อยต้นทางน้อยลง เช่นมีการแย่งอ้อยในพื้นที่ จะทำให้ผลผลิตเอทานอลและโรงไฟฟ้าก็จะถูกกระทบไปด้วย
เนื่องจากว่าอ้อยเป็นธุรกิจวัฎจักร เวลาราคาอ้อยดีเมื่อเทียบกับข้าวและมันสำปะหรังคนก็จะแห่กันมาปลูก โดยทั่วไปผมมองว่าถ้าบริษัทอยู่ในทำเลที่ได้รับการส่งเสริมปลูกอ้อยจะได้เปรียบกว่าทำเลที่ชาวบ้านกำลังเลิกปลูกแล้ว
โรงงานส่วนใหญ่จะตั้งอยู่กลางไร่อ้อยแต่บางโรงงานนั้นตั้งอยู่กลางชุมชน โดยเฉพาะโรงงานเก่าๆ ถ้ามีปัญหากับท้องถิ่นด้วยการพัฒนาโรงงานจะลำบากขึ้นมาก บางพื้นที่มีการขัดแย้งขนาดมีนักการเมืองเสียชีวิตในท้องที่อยู่บ่อยๆ
โรงงานน้ำตาลหลังๆเริ่มซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ มี value chain ขยายยาวขึ้น ผมคิดว่ามาเทียบกำลังหีบอ้อยตรงๆเริ่มไม่เห็นภาพในบางกรณีแล้ว บางโรงมีโรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจปลายทาง บางโรงมีโรงปุ๋ยแทน บางโรงไปผลิตกระดาษ พวกนี้วัฎจักรธุรกิจต่างกันมาก อัตรากำไรก็ไม่เท่ากัน
ถ้าแยกว่าอ้อยนั้นเอามาทำเป็นธุรกิจอะไรบ้าง ผมลองลิสต์คร่าวๆเท่าที่นึกออกดูตามนี้ครับ (ถ้าตกหล่นก็ขออภัยครับ)
1. น้ำตาล
..1.1 น้ำตาลดิบ
..1.2 น้ำตาลอื่นๆ
..1.3 เอทานอล (เข้าใจว่าในไทยยังไม่นิยม?)
2. โมลาส
..2.1 เอทานอล
....2.1.1 เพื่อกิน เช่น ซีอิ๊ว น้ำส้มสายชู เหล้า และอื่นๆ
....2.1.2 เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง
..2.2 ก๊าซชีวภาพ
....2.2.1 ใช้ผลิตไฟฟ้า
....2.2.2 CBG ใช้ในการขนส่งและอุตสาหกรรม
3. กากอ้อย
..3.1 ปุ๋ย
..3.2 เยื่อกระดาษ
..3.4 ไอน้ำ
....3.4.1 โรงไฟฟ้าชีวมวล
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 3015
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 6
ผมก็เพิ่งจะศึกษาเรื่องโรงน้ำตาล และพลังงานชีวมวลได้ไม่นานมานี้เองครับ เลยขอ Share ผิดบ้างถูกบ้างก็ขออภัยนะครับ......
สำหรับผมพลังงานชีวมวล ผมว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่เหมาะสมทั้งตอบโจทย์เรื่องพลังงานไฟฟ้าสำรอง และในขณะเดียวกัน
ก็ได้แก้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องสินค้าเกษตรตกต่ำ ตลอดจนกำจัดสิ่งเหลือใช้จากภาคเกษตรที่อาจทำให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม
ไปในคราวเดียวกัน.....
โรงไฟฟ้าชีวมวลที่เกิดขึ้นในตอนนี้โดยปกติจะขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าอยู่ในราวๆ 300 วันต่อปี โดยในแต่ละวันสามารผลิตกระ
แสไฟฟ้าได้ค่อนข้างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะฝนตก แดดออก ไม่มีลม ลมแรง อากาศหนาว หรือร้อน.....ทำให้สามารถประมาณการ
ไฟฟ้าที่จะได้ค่อนข้างแน่นอน จึงเหมาะและตอบโจทย์กับการสำรองไฟฟ้าของการไฟฟ้าค่อนข้างดี แต่ปัจจุบัน การไฟฟ้ามี
ปัญหาเรื่องการขยายสายส่งในบางภาค บางบริเวณ ซึ่งอาจจะต้องรอแผนการขยายสายส่งในอีกหลายปี แต่ในบางเขตก็ยังพอมี
สายส่งเหลืออยู่พอให้ทำได้บ้างครับ......
ผมว่าหัวใจของการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล อยู่ที่วัตถุดิบ ค่าขนส่ง สายส่งของการไฟฟ้า และนโยบายภาครัฐเป็นหลัก
ครับ....
-เรื่องวัตถุดิบ เป็นต้นน้ำของขบวนการผลิตที่สำคัญที่สุด ดังนั้นคงต้องมาดูเรื่องตัววัตถุดิบที่ใช้ว่าเป็นอะไร ...... มีปริมาณเพียง
พอต่อการผลิตในระยะยาวหรือไม่ ...... ต้นทุนของวัตถุดิบที่ได้มาสูงหรือต่ำ ...... มีแหล่งวัตถุดิบของตัวเองหรือไม่ เพราะคนที่
มีวัตถุดิบของตัวเองย่อมได้เปรียบกว่า คนที่ต้องไปจัดหาวัตถุดิบมาจากที่อื่นแน่นอน เพราะนอกจากต้องรับความเสี่ยงมากขึ้นจาก
ต้นทุนที่สูงแล้ว ยังต้องรับความเสี่ยงเรื่องความแน่นอนของปริมาณวัตถุดิบที่จะได้อีก ยิ่งกรณีมีรายอื่นให้ราคาที่สูงกว่า เป็นต้น
-ค่าขนส่ง เป็นอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ...... ยิ่งตัวโรงไฟฟ้ากับแหล่งวัตถุดิบอยู่ห่างไกลกันเท่าไหร่ก็ยิ่งมีต้นทุนค่าขนส่งมากขึ้น
เท่านั้น นอกจากนี้ถ้าจะดูให้ละเอียดก็ต้องดูในระยะยาวด้วย เช่นช่วงแรกแหล่งวัตถุดิบที่ใช้อยู่ใกล้ แต่ใช้ไปนานๆ แหล่งที่อยู่ใกล้
หมด หรือทดแทนไม่ทัน ก็ต้องเอาแหล่งวัตถุดิบที่ไกลออกไปเรื่อยๆ เป็นต้น
-เรื่องสายส่ง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการขายไฟฟ้า ...... โรงไฟฟ้าชีวมวลหลายแห่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่เป็นอยู่ใน
ตอนนี้ เพราะมีวัตถุดิบมากมาย แต่ไม่สามารถจะทำเพิ่มได้ เพราะทำแล้วไม่มีที่ส่งขายนั่นเอง......ดังนั้นต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย
เรื่องสายส่งก็ต้องมาดูอีกว่าระยะห่างจากโรงไฟฟ้าไปถึงสายของการไฟฟ้าไกลมากน้อยแค่ไหน ถ้าใกล้ๆก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้า
ไกลมากอาจจะต้องลงทุนสายส่งเองเพิ่ม เพื่อไปเชื่อมสายส่งของการไฟฟ้าด้วย.....
-นโยบายภาครัฐ อย่างที่ทราบๆกันอยู่ ประเทศไทยถือว่ามีความไม่แน่นอนสูง เราจะพบเห็นบ่อยๆ คือตามกระแสสังคม และเรื่อง
รับผลประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น.....แต่สำหรับผมพลังงานจากชีวมวลก็ยังคงตอบโจทย์เรื่องไฟฟ้าสำรองของประเทศ และได้ช่วยแก้
ปัญหาสินค้าเกษตร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโอกาสที่จะยกเลิกคงยากครับ.....
ต่อจากนี้ไปเงื่อนไขการขายไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากเดิมนิดหน่อย เพราะจะมีการจัด Zoning การขายไฟใหม่ ซึ่งยังไม่เสร็จครับ และ
การขายไฟต่อไปนี้ต้องมีการ Biding แข่งกันใน Zone นั้นๆ โดยอัตราใหม่ที่จะได้คือ Base ไว้ที่อัตรา FiT ใคร Bid ขายให้ถูก
ที่สุดก็ได้ไปครับ......ดังนั้นสิ่งที่ต้องดูอีกคือ ใน Zone นั้นๆมีคู่แข่งมากน้อยแค่ไหนด้วย และที่สำคัญคือ ใครมีต้นทุนในการทำ
ถูกกว่าย่อมได้เปรียบ ถ้าหากต้องแข่งขันกัน แต่ถ้า Zone นั้นไม่มีคู่แข่งก็รับเต็มๆไปครับ.....
ผมคงไม่เขียนเปรียบเทียบ และพยายามหลีกเลี่ยงว่า โรงไฟฟ้าแบบไหนดีกว่าแบบไหน โรงน้ำตาลโรงไหนดีกว่าโรงไหน ผมว่า
ทุกท่านน่าจะมีความสามารถเพียงพอที่จะหาข้อมูล และวิเคราะห์ออกมาเองได้นะครับ.......ผมหวังว่าจะพอมีประโยชน์บ้างนะครับ
ที่คุณดำเป็นห่วง ผมว่าสัญญาที่เซ็นไปแล้วยากที่จะเปลี่ยน หรือยกเลิกนะครับ.......
สำหรับผมพลังงานชีวมวล ผมว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่เหมาะสมทั้งตอบโจทย์เรื่องพลังงานไฟฟ้าสำรอง และในขณะเดียวกัน
ก็ได้แก้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องสินค้าเกษตรตกต่ำ ตลอดจนกำจัดสิ่งเหลือใช้จากภาคเกษตรที่อาจทำให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม
ไปในคราวเดียวกัน.....
โรงไฟฟ้าชีวมวลที่เกิดขึ้นในตอนนี้โดยปกติจะขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าอยู่ในราวๆ 300 วันต่อปี โดยในแต่ละวันสามารผลิตกระ
แสไฟฟ้าได้ค่อนข้างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะฝนตก แดดออก ไม่มีลม ลมแรง อากาศหนาว หรือร้อน.....ทำให้สามารถประมาณการ
ไฟฟ้าที่จะได้ค่อนข้างแน่นอน จึงเหมาะและตอบโจทย์กับการสำรองไฟฟ้าของการไฟฟ้าค่อนข้างดี แต่ปัจจุบัน การไฟฟ้ามี
ปัญหาเรื่องการขยายสายส่งในบางภาค บางบริเวณ ซึ่งอาจจะต้องรอแผนการขยายสายส่งในอีกหลายปี แต่ในบางเขตก็ยังพอมี
สายส่งเหลืออยู่พอให้ทำได้บ้างครับ......
ผมว่าหัวใจของการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล อยู่ที่วัตถุดิบ ค่าขนส่ง สายส่งของการไฟฟ้า และนโยบายภาครัฐเป็นหลัก
ครับ....
-เรื่องวัตถุดิบ เป็นต้นน้ำของขบวนการผลิตที่สำคัญที่สุด ดังนั้นคงต้องมาดูเรื่องตัววัตถุดิบที่ใช้ว่าเป็นอะไร ...... มีปริมาณเพียง
พอต่อการผลิตในระยะยาวหรือไม่ ...... ต้นทุนของวัตถุดิบที่ได้มาสูงหรือต่ำ ...... มีแหล่งวัตถุดิบของตัวเองหรือไม่ เพราะคนที่
มีวัตถุดิบของตัวเองย่อมได้เปรียบกว่า คนที่ต้องไปจัดหาวัตถุดิบมาจากที่อื่นแน่นอน เพราะนอกจากต้องรับความเสี่ยงมากขึ้นจาก
ต้นทุนที่สูงแล้ว ยังต้องรับความเสี่ยงเรื่องความแน่นอนของปริมาณวัตถุดิบที่จะได้อีก ยิ่งกรณีมีรายอื่นให้ราคาที่สูงกว่า เป็นต้น
-ค่าขนส่ง เป็นอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ...... ยิ่งตัวโรงไฟฟ้ากับแหล่งวัตถุดิบอยู่ห่างไกลกันเท่าไหร่ก็ยิ่งมีต้นทุนค่าขนส่งมากขึ้น
เท่านั้น นอกจากนี้ถ้าจะดูให้ละเอียดก็ต้องดูในระยะยาวด้วย เช่นช่วงแรกแหล่งวัตถุดิบที่ใช้อยู่ใกล้ แต่ใช้ไปนานๆ แหล่งที่อยู่ใกล้
หมด หรือทดแทนไม่ทัน ก็ต้องเอาแหล่งวัตถุดิบที่ไกลออกไปเรื่อยๆ เป็นต้น
-เรื่องสายส่ง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการขายไฟฟ้า ...... โรงไฟฟ้าชีวมวลหลายแห่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่เป็นอยู่ใน
ตอนนี้ เพราะมีวัตถุดิบมากมาย แต่ไม่สามารถจะทำเพิ่มได้ เพราะทำแล้วไม่มีที่ส่งขายนั่นเอง......ดังนั้นต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย
เรื่องสายส่งก็ต้องมาดูอีกว่าระยะห่างจากโรงไฟฟ้าไปถึงสายของการไฟฟ้าไกลมากน้อยแค่ไหน ถ้าใกล้ๆก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้า
ไกลมากอาจจะต้องลงทุนสายส่งเองเพิ่ม เพื่อไปเชื่อมสายส่งของการไฟฟ้าด้วย.....
-นโยบายภาครัฐ อย่างที่ทราบๆกันอยู่ ประเทศไทยถือว่ามีความไม่แน่นอนสูง เราจะพบเห็นบ่อยๆ คือตามกระแสสังคม และเรื่อง
รับผลประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น.....แต่สำหรับผมพลังงานจากชีวมวลก็ยังคงตอบโจทย์เรื่องไฟฟ้าสำรองของประเทศ และได้ช่วยแก้
ปัญหาสินค้าเกษตร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโอกาสที่จะยกเลิกคงยากครับ.....
ต่อจากนี้ไปเงื่อนไขการขายไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากเดิมนิดหน่อย เพราะจะมีการจัด Zoning การขายไฟใหม่ ซึ่งยังไม่เสร็จครับ และ
การขายไฟต่อไปนี้ต้องมีการ Biding แข่งกันใน Zone นั้นๆ โดยอัตราใหม่ที่จะได้คือ Base ไว้ที่อัตรา FiT ใคร Bid ขายให้ถูก
ที่สุดก็ได้ไปครับ......ดังนั้นสิ่งที่ต้องดูอีกคือ ใน Zone นั้นๆมีคู่แข่งมากน้อยแค่ไหนด้วย และที่สำคัญคือ ใครมีต้นทุนในการทำ
ถูกกว่าย่อมได้เปรียบ ถ้าหากต้องแข่งขันกัน แต่ถ้า Zone นั้นไม่มีคู่แข่งก็รับเต็มๆไปครับ.....
ผมคงไม่เขียนเปรียบเทียบ และพยายามหลีกเลี่ยงว่า โรงไฟฟ้าแบบไหนดีกว่าแบบไหน โรงน้ำตาลโรงไหนดีกว่าโรงไหน ผมว่า
ทุกท่านน่าจะมีความสามารถเพียงพอที่จะหาข้อมูล และวิเคราะห์ออกมาเองได้นะครับ.......ผมหวังว่าจะพอมีประโยชน์บ้างนะครับ
ที่คุณดำเป็นห่วง ผมว่าสัญญาที่เซ็นไปแล้วยากที่จะเปลี่ยน หรือยกเลิกนะครับ.......
"การหลอกคนร้อยคนให้เชื่อ นั้นง่ายกว่าการสอนคนหนึ่งคน ให้เข้าใจ"
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 7
แล้วราคารับซื้อเอทานอลล่ะครับ?kaiyai99 เขียน:น่าจะมีบ้างครับ ในส่วนของสัญญาใหม่ แต่ตอนนี้ adder ของชีวมวล ถูกกว่า แสงอาทิตย์ อยู่ครับดำ เขียน:มีโอกาสมั้ยครับที่วัน (ไม่) ดีคืน (ไม่) ดีแล้วรัฐเปลี่ยนเงื่อนไขการรับซื้อซะงั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 3015
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 8
ราคาเอทานอลเดือนเม.ย.ดิ่งลง1บ. ผู้ผลิตลุ้นน้ำมันขาขึ้นใช้โซฮอล์เพิ่ม
updated: 22 เม.ย 2558 เวลา 22:35:10 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ราคาเอทานอลเดือน เม.ย.หล่นอีก 1 บาท/ลิตร ตามราคาน้ำมันโลก ผู้ผลิตยังรับได้ที่ราคา 23 บาท/ลิตร เชื่อเร็ว ๆ นี้
ราคาน้ำมันจ่อปรับตัวขึ้น จี้ ก.พลังงานส่งเสริมพลังงานทดแทนต่อเนื่อง แนะรักษาส่วนต่างราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 กับเบนซิน 95 ไว้ที่ 10 บาทดีที่สุด หลังจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงต่อเนื่องมาแตะที่ระดับไม่เกิน 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่งผลให้ผู้ใช้น้ำมันหันมาใช้น้ำมันเบนซิน 95 แทน เนื่องจากส่วนต่างราคาเมื่อเทียบกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์น้อยลง กระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลที่ล่าสุดการใช้ยังคงที่ระดับ 3.4 ล้านลิตร/วัน มาตั้งแต่ต้นปี จากกำลังผลิตทั้งระบบที่มีอยู่ 4 ล้านลิตร/วัน มีแนวโน้มว่าราคาเอทานอลจะลดต่ำลงรวมถึงอาจมีการกดราคารับซื้อรับซื้อวัตถุ ดิบทั้งกากน้ำตาลและมันสำปะหลังด้วย
นายสิริวุฒิ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" สำหรับการประมูลซื้อเอทานอลล่าสุดเดือนเมษายน 2558 ราคาเอทานอลจากทั้งมันสำปะหลังและกากน้ำตาล (โมลาส) ลดลงประมาณ 1 บาท/ลิตร มาอยู่ที่ราคา 23-24 บาท/ลิตร ซึ่งมองว่าเป็นผลกระทบจากสถานการณ์น้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ผู้ผลิตเอทานอลจะต้องบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ระดับราคาดังกล่าวผู้ผลิตเอทานอลยังพอรับได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง (มันหัว) ที่ช่วงนี้มีผลผลิตออกมาค่อนข้างมาก ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบลดลง
ทั้งนี้ มองว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามที่มีการคาดการณ์ก่อน หน้านี้ที่ราคา 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และผู้ใช้น้ำมันจะหันมาเติมน้ำมันในกลุ่มแก๊สโซฮอล์เพิ่มมากขึ้นทั้ง E10, E20 และ E85
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะยกเลิกน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภท เพื่อลดภาระให้กับบริษัทน้ำมันที่ต้องลงทุนเพิ่มถังน้ำมันใต้ดิน และเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้แก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 มากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างศึกษาข้อมูลและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้รอบด้าน หากว่ายกเลิกน้ำมันบางประเภทได้จะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมเอทานอล
"ราคาเอทานอลที่ลดลงตามซีซั่นปกติ จะมีการประมูลซื้อเอทานอลทุก 3 เดือนและรอบเดือนเมษายนนี้มันลดลงตามราคาน้ำมัน แต่ในขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตเอทานอลลดลงด้วย ภาวะแบบนี้น่าจะเกิดขึ้นเพียงสั้น ๆ"
หากกระทรวงพลังงานมีนโยบายส่ง เสริมพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง นอกเหนือจากยกเลิกน้ำมันบางประเภทแล้วควรใช้การบริหารส่วนต่างราคาน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ E85 กับน้ำมันเบนซิน 95 ให้อยู่ในระดับ 10 บาท/ลิตร ด้วยการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาชดเชยต่อไป
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับราคาเอทานอลอ้างอิงของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ล่าสุดอยู่ที่ 25.56 บาท/ลิตร ขณะที่ราคาเอทานอลที่ซื้อขายจริงอยู่ที่ 23 บาท/ลิตร คาดว่าในปีนี้จะมีโรงงานเอทานอลขยายกำลังผลิตเพิ่มเติม เช่น บริษัท อุบลไบโอ เอทานอล จำกัด,บริษัท สีมาอินเตอร์โปรดักส์ จำกัด และ บริษัท อี 85 จำกัด
updated: 22 เม.ย 2558 เวลา 22:35:10 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ราคาเอทานอลเดือน เม.ย.หล่นอีก 1 บาท/ลิตร ตามราคาน้ำมันโลก ผู้ผลิตยังรับได้ที่ราคา 23 บาท/ลิตร เชื่อเร็ว ๆ นี้
ราคาน้ำมันจ่อปรับตัวขึ้น จี้ ก.พลังงานส่งเสริมพลังงานทดแทนต่อเนื่อง แนะรักษาส่วนต่างราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 กับเบนซิน 95 ไว้ที่ 10 บาทดีที่สุด หลังจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงต่อเนื่องมาแตะที่ระดับไม่เกิน 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่งผลให้ผู้ใช้น้ำมันหันมาใช้น้ำมันเบนซิน 95 แทน เนื่องจากส่วนต่างราคาเมื่อเทียบกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์น้อยลง กระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลที่ล่าสุดการใช้ยังคงที่ระดับ 3.4 ล้านลิตร/วัน มาตั้งแต่ต้นปี จากกำลังผลิตทั้งระบบที่มีอยู่ 4 ล้านลิตร/วัน มีแนวโน้มว่าราคาเอทานอลจะลดต่ำลงรวมถึงอาจมีการกดราคารับซื้อรับซื้อวัตถุ ดิบทั้งกากน้ำตาลและมันสำปะหลังด้วย
นายสิริวุฒิ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" สำหรับการประมูลซื้อเอทานอลล่าสุดเดือนเมษายน 2558 ราคาเอทานอลจากทั้งมันสำปะหลังและกากน้ำตาล (โมลาส) ลดลงประมาณ 1 บาท/ลิตร มาอยู่ที่ราคา 23-24 บาท/ลิตร ซึ่งมองว่าเป็นผลกระทบจากสถานการณ์น้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ผู้ผลิตเอทานอลจะต้องบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ระดับราคาดังกล่าวผู้ผลิตเอทานอลยังพอรับได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง (มันหัว) ที่ช่วงนี้มีผลผลิตออกมาค่อนข้างมาก ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบลดลง
ทั้งนี้ มองว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามที่มีการคาดการณ์ก่อน หน้านี้ที่ราคา 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และผู้ใช้น้ำมันจะหันมาเติมน้ำมันในกลุ่มแก๊สโซฮอล์เพิ่มมากขึ้นทั้ง E10, E20 และ E85
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะยกเลิกน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภท เพื่อลดภาระให้กับบริษัทน้ำมันที่ต้องลงทุนเพิ่มถังน้ำมันใต้ดิน และเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้แก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 มากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างศึกษาข้อมูลและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้รอบด้าน หากว่ายกเลิกน้ำมันบางประเภทได้จะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมเอทานอล
"ราคาเอทานอลที่ลดลงตามซีซั่นปกติ จะมีการประมูลซื้อเอทานอลทุก 3 เดือนและรอบเดือนเมษายนนี้มันลดลงตามราคาน้ำมัน แต่ในขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตเอทานอลลดลงด้วย ภาวะแบบนี้น่าจะเกิดขึ้นเพียงสั้น ๆ"
หากกระทรวงพลังงานมีนโยบายส่ง เสริมพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง นอกเหนือจากยกเลิกน้ำมันบางประเภทแล้วควรใช้การบริหารส่วนต่างราคาน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ E85 กับน้ำมันเบนซิน 95 ให้อยู่ในระดับ 10 บาท/ลิตร ด้วยการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาชดเชยต่อไป
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับราคาเอทานอลอ้างอิงของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ล่าสุดอยู่ที่ 25.56 บาท/ลิตร ขณะที่ราคาเอทานอลที่ซื้อขายจริงอยู่ที่ 23 บาท/ลิตร คาดว่าในปีนี้จะมีโรงงานเอทานอลขยายกำลังผลิตเพิ่มเติม เช่น บริษัท อุบลไบโอ เอทานอล จำกัด,บริษัท สีมาอินเตอร์โปรดักส์ จำกัด และ บริษัท อี 85 จำกัด
"การหลอกคนร้อยคนให้เชื่อ นั้นง่ายกว่าการสอนคนหนึ่งคน ให้เข้าใจ"
-
- Verified User
- โพสต์: 3015
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 9
บังเอิญผมตามในส่วนข้อมูลของ BRR อยู่ เลยขอ Update ข้อมูลในตาราง BRR ของคุณ kaiyai99 บางส่วนซึ่งอาจไม่ Update นะครับ.....
-Capacity ในการหีบอ้อยปัจจุบัน 20,000 ตัน/วัน
-ไฟฟ้าปัจจุบันเซ็นสัญญาและ COD ขายได้แล้วทั้งหมด 2 โรง 16 MW และในอนาคตจะเพิ่มเป็น 32 MW ภายใน 2 ปีข้างหน้า (ปี 59 1 โรง 8 MW และปี 60 อีก 1 โรง 8
MW ตามแผนของ BRR)
-BRR รอการจัด Zoning ใหม่อยู่ อาจจะลุ้นได้สายส่งเพิ่มอีกเล็กน้อย ซึ่งถ้าบังเอิญได้มา ก็อาจใช้ Gas ที่เป็นผลพลอยได้จากการทำเอทานอล มาผลิตไฟฟ้าได้อีก 1 โรง
ซึ่งจากการสอบถาม น่าจะทำได้อีกประมาณ 5-6 MW ครับ
ข้อมูลของ BRR สามารถไปหาอ่านได้ในห้อง BRR ได้เลยครับ.......ส่วนของโรงงานน้ำตาลอื่นๆ ผมว่าก็สามารถดูได้ในห้องของโรงงานน้ำตาลนั้นๆครับ......
ประเด็นการเปรียบเทียบกันว่าโรงน้ำตาลไหนดีกว่ากัน อะไรทำนองนี้ผมว่าควรหลีกเลี่ยง ดังนั้นควรหาอ่านข้อมูลของโรงงานน้ำตาลแต่ละที่ และท่านนำขัอมูลเหล่านั้นมา
รวบรวม แล้วทำการเปรียบเทียบด้วยตัวท่านเองน่าจะเป็นการดีที่สุดครับ......
-Capacity ในการหีบอ้อยปัจจุบัน 20,000 ตัน/วัน
-ไฟฟ้าปัจจุบันเซ็นสัญญาและ COD ขายได้แล้วทั้งหมด 2 โรง 16 MW และในอนาคตจะเพิ่มเป็น 32 MW ภายใน 2 ปีข้างหน้า (ปี 59 1 โรง 8 MW และปี 60 อีก 1 โรง 8
MW ตามแผนของ BRR)
-BRR รอการจัด Zoning ใหม่อยู่ อาจจะลุ้นได้สายส่งเพิ่มอีกเล็กน้อย ซึ่งถ้าบังเอิญได้มา ก็อาจใช้ Gas ที่เป็นผลพลอยได้จากการทำเอทานอล มาผลิตไฟฟ้าได้อีก 1 โรง
ซึ่งจากการสอบถาม น่าจะทำได้อีกประมาณ 5-6 MW ครับ
ข้อมูลของ BRR สามารถไปหาอ่านได้ในห้อง BRR ได้เลยครับ.......ส่วนของโรงงานน้ำตาลอื่นๆ ผมว่าก็สามารถดูได้ในห้องของโรงงานน้ำตาลนั้นๆครับ......
ประเด็นการเปรียบเทียบกันว่าโรงน้ำตาลไหนดีกว่ากัน อะไรทำนองนี้ผมว่าควรหลีกเลี่ยง ดังนั้นควรหาอ่านข้อมูลของโรงงานน้ำตาลแต่ละที่ และท่านนำขัอมูลเหล่านั้นมา
รวบรวม แล้วทำการเปรียบเทียบด้วยตัวท่านเองน่าจะเป็นการดีที่สุดครับ......
"การหลอกคนร้อยคนให้เชื่อ นั้นง่ายกว่าการสอนคนหนึ่งคน ให้เข้าใจ"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 10
ราคาเอทานอลเป็นไปตามกลไกตลาดครับ ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อและขายดำ เขียน:แล้วราคารับซื้อเอทานอลล่ะครับ?kaiyai99 เขียน:น่าจะมีบ้างครับ ในส่วนของสัญญาใหม่ แต่ตอนนี้ adder ของชีวมวล ถูกกว่า แสงอาทิตย์ อยู่ครับดำ เขียน:มีโอกาสมั้ยครับที่วัน (ไม่) ดีคืน (ไม่) ดีแล้วรัฐเปลี่ยนเงื่อนไขการรับซื้อซะงั้น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 11
ระบบแบ่งปันผลประโยชน์อ้อยน้ำตาลระหว่างชาวไร่อ้อย:โรงงานน้ำตาล=70%:30%
อันนี้เป็นเฉพาะส่วนของน้ำตาลอย่างเดียวหรือรวมรายได้จากการขายโมลาสและไฟฟ้าด้วยครับ?
(โมลาสและกากชานอ้อยเป็นทรัพยากรของชาวไร่อ้อยหรือของโรงงานน้ำตาลครับ)
อันนี้เป็นเฉพาะส่วนของน้ำตาลอย่างเดียวหรือรวมรายได้จากการขายโมลาสและไฟฟ้าด้วยครับ?
(โมลาสและกากชานอ้อยเป็นทรัพยากรของชาวไร่อ้อยหรือของโรงงานน้ำตาลครับ)
-
- Verified User
- โพสต์: 53
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณคุณ Joi ครับ ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลที่ผมรวบรวมอาจจะล้าหลังไป ท่านที่ทราบข้อมูล Update ช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมจะเป็นประโยชน์มากเลยครับJoi เขียน:บังเอิญผมตามในส่วนข้อมูลของ BRR อยู่ เลยขอ Update ข้อมูลในตาราง BRR ของคุณ kaiyai99 บางส่วนซึ่งอาจไม่ Update นะครับ.....
-Capacity ในการหีบอ้อยปัจจุบัน 20,000 ตัน/วัน
-ไฟฟ้าปัจจุบันเซ็นสัญญาและ COD ขายได้แล้วทั้งหมด 2 โรง 16 MW และในอนาคตจะเพิ่มเป็น 32 MW ภายใน 2 ปีข้างหน้า (ปี 59 1 โรง 8 MW และปี 60 อีก 1 โรง 8
MW ตามแผนของ BRR)
-BRR รอการจัด Zoning ใหม่อยู่ อาจจะลุ้นได้สายส่งเพิ่มอีกเล็กน้อย ซึ่งถ้าบังเอิญได้มา ก็อาจใช้ Gas ที่เป็นผลพลอยได้จากการทำเอทานอล มาผลิตไฟฟ้าได้อีก 1 โรง
ซึ่งจากการสอบถาม น่าจะทำได้อีกประมาณ 5-6 MW ครับ
ข้อมูลของ BRR สามารถไปหาอ่านได้ในห้อง BRR ได้เลยครับ.......ส่วนของโรงงานน้ำตาลอื่นๆ ผมว่าก็สามารถดูได้ในห้องของโรงงานน้ำตาลนั้นๆครับ......
ประเด็นการเปรียบเทียบกันว่าโรงน้ำตาลไหนดีกว่ากัน อะไรทำนองนี้ผมว่าควรหลีกเลี่ยง ดังนั้นควรหาอ่านข้อมูลของโรงงานน้ำตาลแต่ละที่ และท่านนำขัอมูลเหล่านั้นมา
รวบรวม แล้วทำการเปรียบเทียบด้วยตัวท่านเองน่าจะเป็นการดีที่สุดครับ......
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 13
Past 2 years Statistics of the Sugar Companies.
However, one should look into future projects each company has planned, be it expansion or addition of crushing plant capacity, ethanol, biomass or biogas electricity generation plant, fertiliser, etc.
The future figures can be very different from what's seen in the past 2 years because the by-product is no longer a by-product.
However, one should look into future projects each company has planned, be it expansion or addition of crushing plant capacity, ethanol, biomass or biogas electricity generation plant, fertiliser, etc.
The future figures can be very different from what's seen in the past 2 years because the by-product is no longer a by-product.
แนบไฟล์
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 3015
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 15
thedoc เขียน:ระบบแบ่งปันผลประโยชน์อ้อยน้ำตาลระหว่างชาวไร่อ้อย:โรงงานน้ำตาล=70%:30%
อันนี้เป็นเฉพาะส่วนของน้ำตาลอย่างเดียวหรือรวมรายได้จากการขายโมลาสและไฟฟ้าด้วยครับ?
(โมลาสและกากชานอ้อยเป็นทรัพยากรของชาวไร่อ้อยหรือของโรงงานน้ำตาลครับ)
เท่าที่ทราบ ทุกอย่างที่ชาวไร่ได้ถูกรวมไว้ใน 70% นั้นแล้วครับ
"การหลอกคนร้อยคนให้เชื่อ นั้นง่ายกว่าการสอนคนหนึ่งคน ให้เข้าใจ"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 16
รายได้จากโมลาสต้องนำมาคำณวนราคาอ้อยด้วยครับ ซึ่งถือว่ารวมอยู่ใน 70:30Joi เขียน:thedoc เขียน:ระบบแบ่งปันผลประโยชน์อ้อยน้ำตาลระหว่างชาวไร่อ้อย:โรงงานน้ำตาล=70%:30%
อันนี้เป็นเฉพาะส่วนของน้ำตาลอย่างเดียวหรือรวมรายได้จากการขายโมลาสและไฟฟ้าด้วยครับ?
(โมลาสและกากชานอ้อยเป็นทรัพยากรของชาวไร่อ้อยหรือของโรงงานน้ำตาลครับ)
เท่าที่ทราบ ทุกอย่างที่ชาวไร่ได้ถูกรวมไว้ใน 70% นั้นแล้วครับ
แต่ชานอ้อย(กากอ้อย) ไม่ได้รวมอยู่ใน 70:30 ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3015
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 17
The future figures can be very different from what's seen in the past 2 years because the by-product is no longer a by-product.
ผมชอบประโยคนี้ของคุณ offshore-engineer ครับ
ผมชอบประโยคนี้ของคุณ offshore-engineer ครับ
"การหลอกคนร้อยคนให้เชื่อ นั้นง่ายกว่าการสอนคนหนึ่งคน ให้เข้าใจ"
-
- Verified User
- โพสต์: 53
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 18
เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากเลยครับ ขอบคุณครับoffshore-engineer เขียน:Past 2 years Statistics of the Sugar Companies.
However, one should look into future projects each company has planned, be it expansion or addition of crushing plant capacity, ethanol, biomass or biogas electricity generation plant, fertiliser, etc.
The future figures can be very different from what's seen in the past 2 years because the by-product is no longer a by-product.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 310
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอน ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณคมากครับพี่Joi เขียน:ผมก็เพิ่งจะศึกษาเรื่องโรงน้ำตาล และพลังงานชีวมวลได้ไม่นานมานี้เองครับ เลยขอ Share ผิดบ้างถูกบ้างก็ขออภัยนะครับ......
สำหรับผมพลังงานชีวมวล ผมว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่เหมาะสมทั้งตอบโจทย์เรื่องพลังงานไฟฟ้าสำรอง และในขณะเดียวกัน
ก็ได้แก้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องสินค้าเกษตรตกต่ำ ตลอดจนกำจัดสิ่งเหลือใช้จากภาคเกษตรที่อาจทำให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม
ไปในคราวเดียวกัน.....
โรงไฟฟ้าชีวมวลที่เกิดขึ้นในตอนนี้โดยปกติจะขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าอยู่ในราวๆ 300 วันต่อปี โดยในแต่ละวันสามารผลิตกระ
แสไฟฟ้าได้ค่อนข้างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะฝนตก แดดออก ไม่มีลม ลมแรง อากาศหนาว หรือร้อน.....ทำให้สามารถประมาณการ
ไฟฟ้าที่จะได้ค่อนข้างแน่นอน จึงเหมาะและตอบโจทย์กับการสำรองไฟฟ้าของการไฟฟ้าค่อนข้างดี แต่ปัจจุบัน การไฟฟ้ามี
ปัญหาเรื่องการขยายสายส่งในบางภาค บางบริเวณ ซึ่งอาจจะต้องรอแผนการขยายสายส่งในอีกหลายปี แต่ในบางเขตก็ยังพอมี
สายส่งเหลืออยู่พอให้ทำได้บ้างครับ......
ผมว่าหัวใจของการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล อยู่ที่วัตถุดิบ ค่าขนส่ง สายส่งของการไฟฟ้า และนโยบายภาครัฐเป็นหลัก
ครับ....
-เรื่องวัตถุดิบ เป็นต้นน้ำของขบวนการผลิตที่สำคัญที่สุด ดังนั้นคงต้องมาดูเรื่องตัววัตถุดิบที่ใช้ว่าเป็นอะไร ...... มีปริมาณเพียง
พอต่อการผลิตในระยะยาวหรือไม่ ...... ต้นทุนของวัตถุดิบที่ได้มาสูงหรือต่ำ ...... มีแหล่งวัตถุดิบของตัวเองหรือไม่ เพราะคนที่
มีวัตถุดิบของตัวเองย่อมได้เปรียบกว่า คนที่ต้องไปจัดหาวัตถุดิบมาจากที่อื่นแน่นอน เพราะนอกจากต้องรับความเสี่ยงมากขึ้นจาก
ต้นทุนที่สูงแล้ว ยังต้องรับความเสี่ยงเรื่องความแน่นอนของปริมาณวัตถุดิบที่จะได้อีก ยิ่งกรณีมีรายอื่นให้ราคาที่สูงกว่า เป็นต้น
-ค่าขนส่ง เป็นอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ...... ยิ่งตัวโรงไฟฟ้ากับแหล่งวัตถุดิบอยู่ห่างไกลกันเท่าไหร่ก็ยิ่งมีต้นทุนค่าขนส่งมากขึ้น
เท่านั้น นอกจากนี้ถ้าจะดูให้ละเอียดก็ต้องดูในระยะยาวด้วย เช่นช่วงแรกแหล่งวัตถุดิบที่ใช้อยู่ใกล้ แต่ใช้ไปนานๆ แหล่งที่อยู่ใกล้
หมด หรือทดแทนไม่ทัน ก็ต้องเอาแหล่งวัตถุดิบที่ไกลออกไปเรื่อยๆ เป็นต้น
-เรื่องสายส่ง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการขายไฟฟ้า ...... โรงไฟฟ้าชีวมวลหลายแห่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่เป็นอยู่ใน
ตอนนี้ เพราะมีวัตถุดิบมากมาย แต่ไม่สามารถจะทำเพิ่มได้ เพราะทำแล้วไม่มีที่ส่งขายนั่นเอง......ดังนั้นต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย
เรื่องสายส่งก็ต้องมาดูอีกว่าระยะห่างจากโรงไฟฟ้าไปถึงสายของการไฟฟ้าไกลมากน้อยแค่ไหน ถ้าใกล้ๆก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้า
ไกลมากอาจจะต้องลงทุนสายส่งเองเพิ่ม เพื่อไปเชื่อมสายส่งของการไฟฟ้าด้วย.....
-นโยบายภาครัฐ อย่างที่ทราบๆกันอยู่ ประเทศไทยถือว่ามีความไม่แน่นอนสูง เราจะพบเห็นบ่อยๆ คือตามกระแสสังคม และเรื่อง
รับผลประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น.....แต่สำหรับผมพลังงานจากชีวมวลก็ยังคงตอบโจทย์เรื่องไฟฟ้าสำรองของประเทศ และได้ช่วยแก้
ปัญหาสินค้าเกษตร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโอกาสที่จะยกเลิกคงยากครับ.....
ต่อจากนี้ไปเงื่อนไขการขายไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากเดิมนิดหน่อย เพราะจะมีการจัด Zoning การขายไฟใหม่ ซึ่งยังไม่เสร็จครับ และ
การขายไฟต่อไปนี้ต้องมีการ Biding แข่งกันใน Zone นั้นๆ โดยอัตราใหม่ที่จะได้คือ Base ไว้ที่อัตรา FiT ใคร Bid ขายให้ถูก
ที่สุดก็ได้ไปครับ......ดังนั้นสิ่งที่ต้องดูอีกคือ ใน Zone นั้นๆมีคู่แข่งมากน้อยแค่ไหนด้วย และที่สำคัญคือ ใครมีต้นทุนในการทำ
ถูกกว่าย่อมได้เปรียบ ถ้าหากต้องแข่งขันกัน แต่ถ้า Zone นั้นไม่มีคู่แข่งก็รับเต็มๆไปครับ.....
ผมคงไม่เขียนเปรียบเทียบ และพยายามหลีกเลี่ยงว่า โรงไฟฟ้าแบบไหนดีกว่าแบบไหน โรงน้ำตาลโรงไหนดีกว่าโรงไหน ผมว่า
ทุกท่านน่าจะมีความสามารถเพียงพอที่จะหาข้อมูล และวิเคราะห์ออกมาเองได้นะครับ.......ผมหวังว่าจะพอมีประโยชน์บ้างนะครับ
ที่คุณดำเป็นห่วง ผมว่าสัญญาที่เซ็นไปแล้วยากที่จะเปลี่ยน หรือยกเลิกนะครับ.......
"เมื่อผลลัพธ์ยังมาไม่ถึง เราจำเป็นต้องมีศรัทธา"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 21
อีกหนึ่งปัจจัยที่จะมีผลกระทบ (ทั้งบวกและลบ) ต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลครับ
ปิดช่องโรงงานน้ำตาลเกิดใหม่กระทรวงอุตฯออกกฎสุดเข้ม!
ระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎสกัดโรงงานน้ำตาลเกิดใหม่คลอดยาก ค้างการพิจารณา 50 ราย แนวโน้มไฟเขียวไม่ถึง 10 ราย หลังไม่เข้าข่ายข้อกำหนดที่ตั้งไว้โดยเฉพาะปริมาณอ้อยจะต้องมีเป็นของตนเองอย่างน้อย 50% หรือต้องตั้งโรงงานน้ำตาลระยะห่างจากเขตโรงงานน้ำตาลที่มีอยู่เดิม 50 กิโลเมตร คาดรู้ผลไม่เกินไตรมาส 3 หลังกฎหมายใหม่มีผลบังคับมิ.ย.นี้ ด้านสอน. เผยผู้ประกอบการรายใหม่ส่อแววเกิดยาก โรงงานน้ำตาลร้องโซนภาคกลางและภาคเหนือไม่มีพื้นที่ตั้งรง.น้ำตาลแล้ว นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่องการอนุญาตให้ตั้งหรือย้าย หรือขยายโรง งานน้ำตาลในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดของคณะอนุกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 สำนักนายกรัฐมนตรี หลังจากผ่านความเห็นชอบของครม.มาแล้ว ที่กำหนดให้โรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ที่ขออนุญาตตั้งหรือย้ายโรงงานน้ำตาลจะมีระยะห่างจากเขตโรงงานน้ำตาลที่มีอยู่เดิม 50 กิโลเมตร จากเดิมที่กำหนดต้องมีระยะห่าง 80 กิโลเมตรขึ้นไป อีกทั้งโรงงานแห่งใหม่ต้องมีแผนเตรียมปริมาณอ้อยจากการส่งเสริมและพัฒนาเข้าสู่โรงงานในปีแรกไม่น้อยกว่า 50% ของกำลังการผลิตของฤดูกาลผลิตนั้นๆ และกำหนดจำนวนวันหีบอ้อยของโรงงานทั่วประเทศเฉลี่ย 120 วันต่อปี และต้องไม่ใช่อ้อยของเกษตรกรที่เป็นคู่สัญญากับโรงงานน้ำตาลที่ตั้งอยู่พื้นที่เดิม และต้องมีปริมาณอ้อยจากการส่งเสริมและพัฒนาอ้อยฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3 ปี และต้องไม่ใช่อ้อยของเกษตรกรที่เป็นคู่สัญญาของโรงงานน้ำตาลอื่น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการแย่งอ้อยวัตถุดิบ ซึ่งร่างดังกล่าวคาดว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้ และหลังจากนั้นจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับได้ในเดือนเดียวกัน
นายจักรมณฑ์กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ยื่นขอตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่มาประมาณ 50 คำขอ กำลังหีบอ้อยเฉลี่ยโรงละประมาณ 2 หมื่นตัน ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) ไปพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละคำขอตั้งโรงงานแล้ว เพื่อทำงานคู่ขนานระหว่างรอการพิจารณาร่างประกาศกระทรวง ซึ่งหากกฎหมายมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะทยอยพิจารณาปล่อยใบอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ได้ จากที่ผ่านมาไม่มีการอนุญาตให้มีการตั้งโรงงานน้ำตาลทรายเพิ่มจากที่มีอยู่ประมาณ 50 แห่งทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม มองว่าการขออนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ คาดว่าจะมีไม่มาก เพราะหากประเมินปริมาณปลูกอ้อยที่มีอยู่ในปัจจุบันพื้นที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัด เพราะแค่การขอตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ที่ผ่านความความเห็นชอบจากครม.ไปแล้วประมาณ 11 แห่ง กำลังผลิตเฉลี่ยโรงละประมาณ 2 หมื่นตันอ้อย ถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถก่อสร้างได้ เพราะยังติดปัญหาในหลายเรื่อง
นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) เปิดเผยว่า ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่องการอนุญาตให้ตั้งหรือย้าย หรือขยายโรงงานน้ำตาลในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เร็วสุดน่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายนนี้ การทำงานของสอน.ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบรายละเอียดการยื่นขอตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจจะมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าที่ผ่านมามีผู้ประกอบการรายเดิมที่ยื่นขอตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่มาตั้งแต่ปี 2551 แต่ยังไม่มีการพิจารณาอนุญาต เพราะติดมติครม.ห้ามให้มีการตั้งโรงงานน้ำตาล ซึ่งมีจำนวนประมาณ 27 คำขอที่ค้างอยู่ ขนาดกำลังผลิต 1.5-2 หมื่นตันอ้อย และอีกประมาณ 15 คำขอ ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ เช่น กลุ่มเกษตรกรที่มีการรวมตัวกันขอตั้งโรงงาน ขณะที่การขยายกำลังการผลิตจากโรงงานเดิมขนาดตั้งแต่ 3 พันตันอ้อย ถึง 2 หมื่นตันอ้อย มีอยู่ประมาณ 20 คำขอ และยังไม่รวมโรงงานน้ำตาลอีก 11 แห่งเดิม ที่ผ่านครม.อนุมัติไปแล้ว
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากพื้นที่ตั้งของโรงงานน้ำตาลที่ผ่านครม.ทั้ง 11 โรงแล้ว เช่น โรงงานน้ำตาลราชบุรี โรงงานน้ำตาลสระบุรี โรงงานน้ำตาลไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล โรงงานน้ำตาลระยอง 2 โรงงานน้ำตาลอุตสาหกรรมน้ำตาลโคราช โรงงานน้ำตาลและอ้อยตะวันออก โรงงานน้ำตาลพิษณุโลก โรงงานน้ำตาลทิพย์นครสวรรค์ โรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม และโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรี ล้วนอยู่ในพื้นที่ปลูกอ้อย ดังนั้นการจะอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ที่รอการพิจารณาอีก 50 รายนั้น คาดว่าจะพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลเพิ่มได้อีกราว 10 โรงงานเท่านั้น เพราะด้วยข้อจำกัดของพื้นที่การปลูกอ้อย และการกำหนดระยะห่าง 50 กิโลเมตรที่ขีดเอาไว้ ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหม่เอง สอน.มองว่า การจะตั้งโรงงานน้ำตาลไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะต้องมีตลาดรองรับ โดยเฉพาะตลาดส่งออก ที่มีผู้ประกอบการรายเดิมครองตลาดอยู่จำนวนมากแล้ว
ส่วนการพิจารณาอนุมัติตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ ทางสอน.จะเรียงลำดับการยื่นคำขอก่อนและหลังไล่กันไป ซึ่งทางคณะกรรมการจะไปพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละโรงงานว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศกระทรวงหรือไม่ หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ก็ต้องตัดออกไป และไปพิจารณาโรงงานในลำดับถัดไปแทน โดยโรงงานน้ำตาลทั้ง 11 แห่ง ที่ผ่านครม.ไปแล้วในเบื้องต้นทางสอน.จะไม่เข้าไปแตะ แต่หากไม่สามารถก่อสร้างโรงงานได้ตามมติครม.กำหนด ก็ถือว่าเรื่องยุติ ก็จะทำให้มีช่องว่างให้กับโรงงานใหม่ๆ เข้ามาได้ หรือกรณีที่อนุมัติตั้งโรงงานใหม่ไปแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ภายใน 5 ปี ก็ถือว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นสุด ก็จะไปพิจารณารายอื่นๆ เข้ามาแทน ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวทางสอน.จะดำเนินการปล่อยใบอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ได้ภายใน 2-3 เดือน นับจากประกาศกระทรวงมีผลบังคับใช้
นายพิชัย กล่าวเสริมอีกว่า การอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ ทางนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องการให้เกิดความโปร่งใส ไม่ให้มีการวิ่งเต้น และพร้อมที่จะสนับสนุนโรงงานที่มีความพร้อมด้านการลงทุน และตั้งใจดำเนินการ ไม่ใช่เป็นการยื่นคำขอตั้งโรงงานมาเพื่อกีดกันผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่มีความพร้อมมากกว่า เพราะหากตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ได้ จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในการเพิ่มพื้นที่ปลูกสร้างรายได้ และช่วยลดต้นทุนการขนส่งจากระยะทางที่ไกลให้สั้นลงมาได้
สอดคล้องกับแหล่งข่าวจากวงการโรงงานน้ำตาลกล่าวว่าขณะนี้มีโรงงานน้ำตาลอีก 50 โรงงานน้ำตาลที่ค้างการพิจารณาอยู่ คาดว่าจะได้รับใบอนุญาตไม่ถึง 10 ราย เพราะระเบียบที่ออกมาปิดทางโรงงานน้ำตาลให้เกิดยากขึ้น โดยเฉพาะข้อกำหนดให้ตั้งโรงงานน้ำตาลระยะห่างจากเขตโรงงานน้ำตาลที่มีอยู่เดิม 50 กิโลเมตร ที่ขณะนี้ในพื้นที่ภาคกลาง เช่นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และภาคเหนือ เช่นที่จังหวัดสุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ เป็นพื้นที่ตั้งโรงงานน้ำตาลเต็มหมดแล้ว
จาก http://www.thanonline.com วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ปิดช่องโรงงานน้ำตาลเกิดใหม่กระทรวงอุตฯออกกฎสุดเข้ม!
ระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎสกัดโรงงานน้ำตาลเกิดใหม่คลอดยาก ค้างการพิจารณา 50 ราย แนวโน้มไฟเขียวไม่ถึง 10 ราย หลังไม่เข้าข่ายข้อกำหนดที่ตั้งไว้โดยเฉพาะปริมาณอ้อยจะต้องมีเป็นของตนเองอย่างน้อย 50% หรือต้องตั้งโรงงานน้ำตาลระยะห่างจากเขตโรงงานน้ำตาลที่มีอยู่เดิม 50 กิโลเมตร คาดรู้ผลไม่เกินไตรมาส 3 หลังกฎหมายใหม่มีผลบังคับมิ.ย.นี้ ด้านสอน. เผยผู้ประกอบการรายใหม่ส่อแววเกิดยาก โรงงานน้ำตาลร้องโซนภาคกลางและภาคเหนือไม่มีพื้นที่ตั้งรง.น้ำตาลแล้ว นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่องการอนุญาตให้ตั้งหรือย้าย หรือขยายโรง งานน้ำตาลในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดของคณะอนุกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 สำนักนายกรัฐมนตรี หลังจากผ่านความเห็นชอบของครม.มาแล้ว ที่กำหนดให้โรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ที่ขออนุญาตตั้งหรือย้ายโรงงานน้ำตาลจะมีระยะห่างจากเขตโรงงานน้ำตาลที่มีอยู่เดิม 50 กิโลเมตร จากเดิมที่กำหนดต้องมีระยะห่าง 80 กิโลเมตรขึ้นไป อีกทั้งโรงงานแห่งใหม่ต้องมีแผนเตรียมปริมาณอ้อยจากการส่งเสริมและพัฒนาเข้าสู่โรงงานในปีแรกไม่น้อยกว่า 50% ของกำลังการผลิตของฤดูกาลผลิตนั้นๆ และกำหนดจำนวนวันหีบอ้อยของโรงงานทั่วประเทศเฉลี่ย 120 วันต่อปี และต้องไม่ใช่อ้อยของเกษตรกรที่เป็นคู่สัญญากับโรงงานน้ำตาลที่ตั้งอยู่พื้นที่เดิม และต้องมีปริมาณอ้อยจากการส่งเสริมและพัฒนาอ้อยฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3 ปี และต้องไม่ใช่อ้อยของเกษตรกรที่เป็นคู่สัญญาของโรงงานน้ำตาลอื่น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการแย่งอ้อยวัตถุดิบ ซึ่งร่างดังกล่าวคาดว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้ และหลังจากนั้นจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับได้ในเดือนเดียวกัน
นายจักรมณฑ์กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ยื่นขอตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่มาประมาณ 50 คำขอ กำลังหีบอ้อยเฉลี่ยโรงละประมาณ 2 หมื่นตัน ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) ไปพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละคำขอตั้งโรงงานแล้ว เพื่อทำงานคู่ขนานระหว่างรอการพิจารณาร่างประกาศกระทรวง ซึ่งหากกฎหมายมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะทยอยพิจารณาปล่อยใบอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ได้ จากที่ผ่านมาไม่มีการอนุญาตให้มีการตั้งโรงงานน้ำตาลทรายเพิ่มจากที่มีอยู่ประมาณ 50 แห่งทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม มองว่าการขออนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ คาดว่าจะมีไม่มาก เพราะหากประเมินปริมาณปลูกอ้อยที่มีอยู่ในปัจจุบันพื้นที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัด เพราะแค่การขอตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ที่ผ่านความความเห็นชอบจากครม.ไปแล้วประมาณ 11 แห่ง กำลังผลิตเฉลี่ยโรงละประมาณ 2 หมื่นตันอ้อย ถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถก่อสร้างได้ เพราะยังติดปัญหาในหลายเรื่อง
นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) เปิดเผยว่า ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่องการอนุญาตให้ตั้งหรือย้าย หรือขยายโรงงานน้ำตาลในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เร็วสุดน่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายนนี้ การทำงานของสอน.ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบรายละเอียดการยื่นขอตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจจะมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าที่ผ่านมามีผู้ประกอบการรายเดิมที่ยื่นขอตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่มาตั้งแต่ปี 2551 แต่ยังไม่มีการพิจารณาอนุญาต เพราะติดมติครม.ห้ามให้มีการตั้งโรงงานน้ำตาล ซึ่งมีจำนวนประมาณ 27 คำขอที่ค้างอยู่ ขนาดกำลังผลิต 1.5-2 หมื่นตันอ้อย และอีกประมาณ 15 คำขอ ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ เช่น กลุ่มเกษตรกรที่มีการรวมตัวกันขอตั้งโรงงาน ขณะที่การขยายกำลังการผลิตจากโรงงานเดิมขนาดตั้งแต่ 3 พันตันอ้อย ถึง 2 หมื่นตันอ้อย มีอยู่ประมาณ 20 คำขอ และยังไม่รวมโรงงานน้ำตาลอีก 11 แห่งเดิม ที่ผ่านครม.อนุมัติไปแล้ว
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากพื้นที่ตั้งของโรงงานน้ำตาลที่ผ่านครม.ทั้ง 11 โรงแล้ว เช่น โรงงานน้ำตาลราชบุรี โรงงานน้ำตาลสระบุรี โรงงานน้ำตาลไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล โรงงานน้ำตาลระยอง 2 โรงงานน้ำตาลอุตสาหกรรมน้ำตาลโคราช โรงงานน้ำตาลและอ้อยตะวันออก โรงงานน้ำตาลพิษณุโลก โรงงานน้ำตาลทิพย์นครสวรรค์ โรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม และโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรี ล้วนอยู่ในพื้นที่ปลูกอ้อย ดังนั้นการจะอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ที่รอการพิจารณาอีก 50 รายนั้น คาดว่าจะพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลเพิ่มได้อีกราว 10 โรงงานเท่านั้น เพราะด้วยข้อจำกัดของพื้นที่การปลูกอ้อย และการกำหนดระยะห่าง 50 กิโลเมตรที่ขีดเอาไว้ ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหม่เอง สอน.มองว่า การจะตั้งโรงงานน้ำตาลไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะต้องมีตลาดรองรับ โดยเฉพาะตลาดส่งออก ที่มีผู้ประกอบการรายเดิมครองตลาดอยู่จำนวนมากแล้ว
ส่วนการพิจารณาอนุมัติตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ ทางสอน.จะเรียงลำดับการยื่นคำขอก่อนและหลังไล่กันไป ซึ่งทางคณะกรรมการจะไปพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละโรงงานว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศกระทรวงหรือไม่ หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ก็ต้องตัดออกไป และไปพิจารณาโรงงานในลำดับถัดไปแทน โดยโรงงานน้ำตาลทั้ง 11 แห่ง ที่ผ่านครม.ไปแล้วในเบื้องต้นทางสอน.จะไม่เข้าไปแตะ แต่หากไม่สามารถก่อสร้างโรงงานได้ตามมติครม.กำหนด ก็ถือว่าเรื่องยุติ ก็จะทำให้มีช่องว่างให้กับโรงงานใหม่ๆ เข้ามาได้ หรือกรณีที่อนุมัติตั้งโรงงานใหม่ไปแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ภายใน 5 ปี ก็ถือว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นสุด ก็จะไปพิจารณารายอื่นๆ เข้ามาแทน ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวทางสอน.จะดำเนินการปล่อยใบอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ได้ภายใน 2-3 เดือน นับจากประกาศกระทรวงมีผลบังคับใช้
นายพิชัย กล่าวเสริมอีกว่า การอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ ทางนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องการให้เกิดความโปร่งใส ไม่ให้มีการวิ่งเต้น และพร้อมที่จะสนับสนุนโรงงานที่มีความพร้อมด้านการลงทุน และตั้งใจดำเนินการ ไม่ใช่เป็นการยื่นคำขอตั้งโรงงานมาเพื่อกีดกันผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่มีความพร้อมมากกว่า เพราะหากตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ได้ จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในการเพิ่มพื้นที่ปลูกสร้างรายได้ และช่วยลดต้นทุนการขนส่งจากระยะทางที่ไกลให้สั้นลงมาได้
สอดคล้องกับแหล่งข่าวจากวงการโรงงานน้ำตาลกล่าวว่าขณะนี้มีโรงงานน้ำตาลอีก 50 โรงงานน้ำตาลที่ค้างการพิจารณาอยู่ คาดว่าจะได้รับใบอนุญาตไม่ถึง 10 ราย เพราะระเบียบที่ออกมาปิดทางโรงงานน้ำตาลให้เกิดยากขึ้น โดยเฉพาะข้อกำหนดให้ตั้งโรงงานน้ำตาลระยะห่างจากเขตโรงงานน้ำตาลที่มีอยู่เดิม 50 กิโลเมตร ที่ขณะนี้ในพื้นที่ภาคกลาง เช่นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และภาคเหนือ เช่นที่จังหวัดสุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ เป็นพื้นที่ตั้งโรงงานน้ำตาลเต็มหมดแล้ว
จาก http://www.thanonline.com วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 22
น้ำตาลขอนแก่นที่จะไปตั้งที่สระแก้ว ครบ 5 ปีแล้วหรือยังครับ มีใครพอทราบไหม?offshore-engineer เขียน: ส่วนการพิจารณาอนุมัติตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ ทางสอน.จะเรียงลำดับการยื่นคำขอก่อนและหลังไล่กันไป ซึ่งทางคณะกรรมการจะไปพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละโรงงานว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศกระทรวงหรือไม่ หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ก็ต้องตัดออกไป และไปพิจารณาโรงงานในลำดับถัดไปแทน โดยโรงงานน้ำตาลทั้ง 11 แห่ง ที่ผ่านครม.ไปแล้วในเบื้องต้นทางสอน.จะไม่เข้าไปแตะ แต่หากไม่สามารถก่อสร้างโรงงานได้ตามมติครม.กำหนด ก็ถือว่าเรื่องยุติ ก็จะทำให้มีช่องว่างให้กับโรงงานใหม่ๆ เข้ามาได้ หรือกรณีที่อนุมัติตั้งโรงงานใหม่ไปแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ภายใน 5 ปี ก็ถือว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นสุด ก็จะไปพิจารณารายอื่นๆ เข้ามาแทน ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวทางสอน.จะดำเนินการปล่อยใบอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ได้ภายใน 2-3 เดือน นับจากประกาศกระทรวงมีผลบังคับใช้
Vi IMrovised
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 23
http://www.ocsb.go.th/upload/law/fileup ... 7-2729.pdf
เกิน 5 ปีไปแล้วครับ มติ ครม ตั้งแต่ 2550 แต่ไม่แน่ใจว่ามี update กว่านี้มั๊ย
เกิน 5 ปีไปแล้วครับ มติ ครม ตั้งแต่ 2550 แต่ไม่แน่ใจว่ามี update กว่านี้มั๊ย
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 24
http://www.ocsb.go.th/upload/law/fileup ... 7-3031.pdf
อีก 6 โรงที่ ครม อนุมัติในปี 2554
ECS ก็ขอย้ายและเพิ่มกำลังการผลิตด้วยโดยยังอยู่ในสระแก้ว
อีก 6 โรงที่ ครม อนุมัติในปี 2554
ECS ก็ขอย้ายและเพิ่มกำลังการผลิตด้วยโดยยังอยู่ในสระแก้ว
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 25
จากข่าวด้านล่าง การย้ายไปสระแก้วของ KSL ขึ้นกับกฎหมายใหม่เลยครับ ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องการวัดระยะห่าง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ที่สระแก้วก็คงมีโรงงานน้ำตาลแค่โรงเดียว
https://sitwebsites.blob.core.windows.n ... ing-01.pdf
https://sitwebsites.blob.core.windows.n ... ing-01.pdf
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 26
เท่าที่เคยฟังจากผู้บริหาร KSL มา เหมือนว่าเดิม KSL ขอย้ายโรงงานน้ำตาลกับกระทรวงอุตสาหกรรม ไปตั้งที่อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ตามข้อมูลของพี่ offshoreฯ ครับ
แต่ต่อมาพอจะไปตั้งจริงๆ กระทรวงเกษตรไม่อนุญาติ ให้เหตุผลว่าพื้นที่บริเวณนั้นมีน้ำน้อยไป ไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตร ทางบริษัทจึงต้องเปลี่ยนแผนไปตั้งในเขตที่ใกล้เคียงกับ ECS และถูกร้องเรียนมาจนถึงทุกวันนี้
(ถ้าผิดพลาดขออภัยนะครับ มันนานมากจนลืมรายละเอียดแล้ว)
มองในมุมของ KSL เรื่องนี้อาจเป็นความผิดพลาดที่หน่วยงานรัฐไม่ประสานกัน ทำให้เกิดความเสียหายกับบริษัท และก่อนหน้านี้ทั้ง KSL และ ECS ก็เคยอยู่ชลบุรีด้วยกันมาก่อน ซึ่งตั้งอยู่น้อยกว่ารัศมี 80 กม อยู่แล้ว จึงไม่เห็นด้วยว่าจะมีการแย่งอ้อยกัน
แต่ถ้าผมเป็น ECS ผมคงไม่ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาเหมือนกัน
แต่ต่อมาพอจะไปตั้งจริงๆ กระทรวงเกษตรไม่อนุญาติ ให้เหตุผลว่าพื้นที่บริเวณนั้นมีน้ำน้อยไป ไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตร ทางบริษัทจึงต้องเปลี่ยนแผนไปตั้งในเขตที่ใกล้เคียงกับ ECS และถูกร้องเรียนมาจนถึงทุกวันนี้
(ถ้าผิดพลาดขออภัยนะครับ มันนานมากจนลืมรายละเอียดแล้ว)
มองในมุมของ KSL เรื่องนี้อาจเป็นความผิดพลาดที่หน่วยงานรัฐไม่ประสานกัน ทำให้เกิดความเสียหายกับบริษัท และก่อนหน้านี้ทั้ง KSL และ ECS ก็เคยอยู่ชลบุรีด้วยกันมาก่อน ซึ่งตั้งอยู่น้อยกว่ารัศมี 80 กม อยู่แล้ว จึงไม่เห็นด้วยว่าจะมีการแย่งอ้อยกัน
แต่ถ้าผมเป็น ECS ผมคงไม่ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาเหมือนกัน
Vi IMrovised
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 27
ยังมีกรณีที่เลยของ KSL (วังสะพุง) และมิตรผลด้วยครับ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา พอสร้างเสร็จ รัฐกลับไม่ให้ใบอนุญาต เป็นเรื่องฟ้องร้องกัน
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 53
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 28
มาดู Market Cap ล่าสุด
KBS BRR KSL KTIS
4,350 8,324 14,994 29,990 ลบ
ข่าวขยายกำลังการผลิด ที่พอรู้ KBS เพิ่ม 50% เปิดใช้หีบอ้อยหน้า ธ.ค. 58, BRR กำลังเริ่มพิจารณาก่อสร้าง
KSL ย้ายโรงงาน
ตัวใหนน่าสนใจบ้างครับ เผื่อว่าน้ำตาลจะเริ่มเป็นขาขึ้น เนื่องจาก Supply เริ่มน้อยกว่า Demand
KBS BRR KSL KTIS
4,350 8,324 14,994 29,990 ลบ
ข่าวขยายกำลังการผลิด ที่พอรู้ KBS เพิ่ม 50% เปิดใช้หีบอ้อยหน้า ธ.ค. 58, BRR กำลังเริ่มพิจารณาก่อสร้าง
KSL ย้ายโรงงาน
ตัวใหนน่าสนใจบ้างครับ เผื่อว่าน้ำตาลจะเริ่มเป็นขาขึ้น เนื่องจาก Supply เริ่มน้อยกว่า Demand
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า
โพสต์ที่ 29
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/