ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15MHz)?
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15MHz)?
โพสต์ที่ 1
ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15MHz)
คุณจะซื้อหุ้นเพิ่ม/ถือ/ขายทิ้ง ? เพราะอะไร
(เห็นราคาแล้ว มันสูงขนาดนี้เชียวหรือ ใบละ 27 พันล้านบาท กับ 28 พันล้านบาท เข้าไปแล้ว
ณ เวลา 23.37 น.ของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558)
คุณจะซื้อหุ้นเพิ่ม/ถือ/ขายทิ้ง ? เพราะอะไร
(เห็นราคาแล้ว มันสูงขนาดนี้เชียวหรือ ใบละ 27 พันล้านบาท กับ 28 พันล้านบาท เข้าไปแล้ว
ณ เวลา 23.37 น.ของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558)
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 3
อาจมีช่องทางมั้งครับ เพราะการลงทุนเสาน้อยลงแน่จากการใช้เสา3จีเดิมบางส่วน
อีกส่วนเช่าเสาจากTRUEGIFหรือข้อตกลงพิเศษกับcat/tot
อีกอย่างข้อกำหนด4จีให้ครอบคลุมแค่50%ใน8ปีเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่า3จีที่ครอบคลุม80%ใน4ปี
แต่ตอนนี้อยากเห็นราคาจบประมูลก่อน
อีกส่วนเช่าเสาจากTRUEGIFหรือข้อตกลงพิเศษกับcat/tot
อีกอย่างข้อกำหนด4จีให้ครอบคลุมแค่50%ใน8ปีเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่า3จีที่ครอบคลุม80%ใน4ปี
แต่ตอนนี้อยากเห็นราคาจบประมูลก่อน
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 5
แล้วถ้ามีประมูลแบบนี้
ในอีก 18 ปี ต่อจากนี้อีก
เป็นครั้งที่ 2, 3, 4, 5, ......
ราคาครั้งหลัง ๆๆๆๆ
ราคา จะสู้มากกว่านี้? หรือลดลงกว่านี้?
คิดไป เรื่อยๆ เปื่อยๆ
ในอีก 18 ปี ต่อจากนี้อีก
เป็นครั้งที่ 2, 3, 4, 5, ......
ราคาครั้งหลัง ๆๆๆๆ
ราคา จะสู้มากกว่านี้? หรือลดลงกว่านี้?
คิดไป เรื่อยๆ เปื่อยๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 6
เอารีโพสใหม่ในห้องนี้ ...ยิ่งแพงยิ่งดี สำหรับ AIS ครับ ลองคิดง่ายๆ
AIS มีฐานลูกค้าอยู่ประมาณ 40 ล้านเบอร์ (สมมุติง่ายๆ เลย)
ราคาประมูลใบอนุญาต 4G สมมุติไปถึง 50,000 ลบ.
เฉลี่ย 15 ปี เบอร์หนึ่งๆ ค่าใบอนุญาตประมาณ 7 บาทต่อเดือน
สำหรับ DTAC กับ TRUE ถ้าได้ไปในราคาเท่ากัน ค่าใบอนุญาต
ต่อเบอร์ประมาณ 14 บาทต่อเดือน
ส่วน JAS ถ้าได้ไปราคาไม่ต้องมาก ... ตอนนี้เลยแค่ 35,000ลบ
เจ๊งอย่างเดียว ต่อให้มี Partner แข็งแค่ไหนก็เจ๊ง ไม่มีลูกค้าสัก
เบอร์เดียวในวันเริ่มต้น
ยิ่งแพงยิ่งดีสำหรับ AIS เพราะคู่ต่อสู้ฐานลูกค้าต่ำกว่าครึ่ง ยิ่งแพง
ต้นทุนต่อเบอร์ยิ่งห่างขึ้นเรื่อยๆ ...
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 7
ตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ ECON101 ครับpakhakorn เขียน:แล้วถ้ามีประมูลแบบนี้
ในอีก 18 ปี ต่อจากนี้อีก
เป็นครั้งที่ 2, 3, 4, 5, ......
ราคาครั้งหลัง ๆๆๆๆ
ราคา จะสู้มากกว่านี้? หรือลดลงกว่านี้?
คิดไป เรื่อยๆ เปื่อยๆ
ขึ้นกับสถานการณ์ขณะนั้นครับ demand-supply ตอนนั้น.... ไม่เกี่ยวกับราคาตอนนี้
ตอนนั้นอาจราคาไม่สูงขนาดนี้ก็ได้ จากจำนวนคลื่นที่หมดสัมปทาน ต้องเอาคืนมาเรื่อยๆ มี supply มากขึ้น การแข่งขันก็ degree ไม่เข้มข้น
(ถึงคลื่นที่หมดสัมปทานจะถูกเสือลำบากยื้อยุดไว้จนกว่าจะหมดแรงก็ตาม แต่กฎหมายออมาเช่นนั้น แนวโน้มกระแสก็ไปทางนั้น ขอตั้งข้อสังเกตว่า รอบก่อน ที่ขัดขวางการประมูล 3G ยังมีเสียงบางส่วนปรบมือชอบใจไม่ต้องมีประมูลก็ได้บอกว่าชีวิตไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าไม่มี 3G แต่รอบนี้ มีแต่คนเชียร์ให้ประมูลไวๆ )
แต่จะเข้าข่ายเดิมประมูลกันที่ราคาสูงอีกได้ ถ้าปล่อยให้ตลาดเสรีจริง
คือ demand ก็ยังไม่ลด เพราะแข่งเสรี ผู้เล่นจะเข้ามามากขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 11
จากที่เคยใช้ the internet ตั้งแต่ยุค 56kbps ต้องซื้อ modem ผ่านสายโทรศัพท์ ต่อมาเป็นยุค ADSL แล้วก็ Cable แล้ว
สังเกตได้ว่า ราคาของอินเตอร์เน็ตนั้นคิดเป็นรายชั่วโมง จากนั้นค่อยๆเพิ่มจำนวนชั่วโมง จนกระทั่ง unlimited แต่มีการตัดทุกๆ 4 ชั่วโมง/6 ชั่วโมง/8 ชั่วโมง /12 ชั่วโมง (จนมีเรื่องของรอยเน็ต)
มีตั้งที่จ่ายเป็นรายเดือน หรือ ซื้อชั่วโมงเติมเงินมาแล้วใช้งาน
ต่อมาเป็นยุคของ ADSL คือ มี Modem แบบ ADSL แล้วก็ต่อโดยใช้ User/password ไม่ต้องหาซื้อซองเติมชั่วโมงแล้ว
จ่ายเป็นรายเดือน ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์เพื่อหมุนไปเล่นแล้ว ยุคนี้พัฒนาด้วยการเพิ่มความเร็วตอนแรกๆ ความเร็วเพิ่มช้ามากๆ
แต่เมื่อเป็นยุคของ Cable เท่านั้นแหละก้าวกระโดดทันที ซึ่งความเร็วสูงขึ้นราคาเท่าเดิม
แล้วประมูล 4G ในยุคนี้เหมือนยุคที่ใช้สายหรือเปล่า
ลองมองดู Package เริ่มตั้งแต่ ยุค ที่คิดค่าบริการเป็นรายนาทีกับรายไบต์ที่ใช้งาน แพงเอาเรื่องเลยยุคนี้ แล้วก็ช้า (มันคือยุค 2-2.5G) จากนั้น ก็เริ่มเป็นยุคที่ความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 3G ความนี้คิดเป็นรายไบต์ที่ใช้งาน เริ่มจาก 500MB/1GB/2GB จากนั้นก็เริ่มมี Top up หรือแข่งขันกัน Unlimited ในประมาณใช้งาน แต่เมื่อใช้หมด Package หลักแล้ว ก็ลดความเร็วลงเหลือ 64kbps หรือ 128kpbs
จากนั้นก็เพิ่มจำนวนการใช้งานเป็น 3GB/5GB/10GB เรียกได้ว่า เพิ่มจำนวนไบต์ที่ใช้งานเลย
แล้วประมูล 4G นี้จะย้อนอดีตหรือเปล่า
ความเร็วเพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นแต่ จ่ายเงินน้อยลงกว่าเดิม
สังเกตได้ว่า ราคาของอินเตอร์เน็ตนั้นคิดเป็นรายชั่วโมง จากนั้นค่อยๆเพิ่มจำนวนชั่วโมง จนกระทั่ง unlimited แต่มีการตัดทุกๆ 4 ชั่วโมง/6 ชั่วโมง/8 ชั่วโมง /12 ชั่วโมง (จนมีเรื่องของรอยเน็ต)
มีตั้งที่จ่ายเป็นรายเดือน หรือ ซื้อชั่วโมงเติมเงินมาแล้วใช้งาน
ต่อมาเป็นยุคของ ADSL คือ มี Modem แบบ ADSL แล้วก็ต่อโดยใช้ User/password ไม่ต้องหาซื้อซองเติมชั่วโมงแล้ว
จ่ายเป็นรายเดือน ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์เพื่อหมุนไปเล่นแล้ว ยุคนี้พัฒนาด้วยการเพิ่มความเร็วตอนแรกๆ ความเร็วเพิ่มช้ามากๆ
แต่เมื่อเป็นยุคของ Cable เท่านั้นแหละก้าวกระโดดทันที ซึ่งความเร็วสูงขึ้นราคาเท่าเดิม
แล้วประมูล 4G ในยุคนี้เหมือนยุคที่ใช้สายหรือเปล่า
ลองมองดู Package เริ่มตั้งแต่ ยุค ที่คิดค่าบริการเป็นรายนาทีกับรายไบต์ที่ใช้งาน แพงเอาเรื่องเลยยุคนี้ แล้วก็ช้า (มันคือยุค 2-2.5G) จากนั้น ก็เริ่มเป็นยุคที่ความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 3G ความนี้คิดเป็นรายไบต์ที่ใช้งาน เริ่มจาก 500MB/1GB/2GB จากนั้นก็เริ่มมี Top up หรือแข่งขันกัน Unlimited ในประมาณใช้งาน แต่เมื่อใช้หมด Package หลักแล้ว ก็ลดความเร็วลงเหลือ 64kbps หรือ 128kpbs
จากนั้นก็เพิ่มจำนวนการใช้งานเป็น 3GB/5GB/10GB เรียกได้ว่า เพิ่มจำนวนไบต์ที่ใช้งานเลย
แล้วประมูล 4G นี้จะย้อนอดีตหรือเปล่า
ความเร็วเพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นแต่ จ่ายเงินน้อยลงกว่าเดิม
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 12
งานนี้ต้องดูว่า ใบอนุญาต 900 MHz นั้นสู้กันแบบนี้หรือเปล่า
เพราะ 2 เจ้าที่ไมไ่ด้ใบอนุญาต 1800 นั้น มีเงินอยู่เต็มทีพร้อมลุย
ส่วน 2 เจ้าที่ได้ใบอนุญาต 1800 ไปเนี่ยระดับ 40 พันล้านบาทเข้าไปแล้ว
เรียกได้ว่า เพดานหนี้เต็มหรือเปล่า ที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยให้กู้ไปละ
งานนี้วัดใจ ธนาคารพาณิชย์ด้วยว่า จะให้ 2 เจ้าแรกกู้เพิ่มเติมได้หรือเปล่า
บริษัทในประเทศไทยที่เป็นบริษัทจดทะเบียนนั้น บริษัทที่กู้ได้มากๆๆ ระดับแสนล้านคือ CPALL
เพราะ 2 เจ้าที่ไมไ่ด้ใบอนุญาต 1800 นั้น มีเงินอยู่เต็มทีพร้อมลุย
ส่วน 2 เจ้าที่ได้ใบอนุญาต 1800 ไปเนี่ยระดับ 40 พันล้านบาทเข้าไปแล้ว
เรียกได้ว่า เพดานหนี้เต็มหรือเปล่า ที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยให้กู้ไปละ
งานนี้วัดใจ ธนาคารพาณิชย์ด้วยว่า จะให้ 2 เจ้าแรกกู้เพิ่มเติมได้หรือเปล่า
บริษัทในประเทศไทยที่เป็นบริษัทจดทะเบียนนั้น บริษัทที่กู้ได้มากๆๆ ระดับแสนล้านคือ CPALL
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 13
คำถามต่อไปคือ
เมื่อ สินทรัพย์เพิ่มขึ้นแล้ว
สมการบัญชีบอกว่า
"สินทรัพย์= หนี้สิน + ทุน"
เมื่อสินทรัพย์เพิ่ม หนี้สินเพิ่มขึ้น แล้วทุนเพิ่มหรือเปล่า
แต่เมื่อเป็นสินทรัพย์ในวันนี้ มันคือค่าใช้จ่ายในวันหน้า (หรือภาระในการดูแลกันต่อไป)
เมื่อ สินทรัพย์เพิ่มขึ้นแล้ว
สมการบัญชีบอกว่า
"สินทรัพย์= หนี้สิน + ทุน"
เมื่อสินทรัพย์เพิ่ม หนี้สินเพิ่มขึ้น แล้วทุนเพิ่มหรือเปล่า
แต่เมื่อเป็นสินทรัพย์ในวันนี้ มันคือค่าใช้จ่ายในวันหน้า (หรือภาระในการดูแลกันต่อไป)
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 14
ซึ่ง มันจะกระทบผลการดำเนินงานให้ทรงๆ ไม่ดี หรือ ดีขึ้น
ส่งผลให้กำไรทรงๆ ลดลง หรือ เพิ่มขึ้น
และกระทบผู้ถือหุ้น ทำให้มูลค่าหรือราคาหุ้น ทรงๆ ลดลง เพิ่มขึ้น
และเงินปันผลที่ได้รับ ว่าจะทรงๆ ลดลง หรือเพิ่มขึ้น ต่อไป...
สำหรับผู้ถือหุ้นรายย่อยก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการและความมีธรรมาภิบาลของกิจการล่ะครับ
ทางเลือกมีน้อย เสียงมีน้อย สุดท้ายถ้าไม่ไหวหรือรับไม่ได้ก็ต้องขายหุ้นทิ้งเป็นทางออก
หรือใครมี MoS มากหน่อยก็รับผลกระทบได้เยอะและนาน ถ้าน้อยมาก หรือไม่มีเลย ก็ลำบากไป...
ส่งผลให้กำไรทรงๆ ลดลง หรือ เพิ่มขึ้น
และกระทบผู้ถือหุ้น ทำให้มูลค่าหรือราคาหุ้น ทรงๆ ลดลง เพิ่มขึ้น
และเงินปันผลที่ได้รับ ว่าจะทรงๆ ลดลง หรือเพิ่มขึ้น ต่อไป...
สำหรับผู้ถือหุ้นรายย่อยก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการและความมีธรรมาภิบาลของกิจการล่ะครับ
ทางเลือกมีน้อย เสียงมีน้อย สุดท้ายถ้าไม่ไหวหรือรับไม่ได้ก็ต้องขายหุ้นทิ้งเป็นทางออก
หรือใครมี MoS มากหน่อยก็รับผลกระทบได้เยอะและนาน ถ้าน้อยมาก หรือไม่มีเลย ก็ลำบากไป...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 15
ไตรมาสที่ 3 นี้ เป็นไตรมาสแรก ของ AIS ที่ รายได้จาก Data แซงหน้า รายได้ จาก Voice ซึ่งแนวโน้มมันก็เป็นแบบนี้ไปในทุกๆ ไตรมาส เข้าใจว่า operator รายอื่นๆ ก็เหมือนกัน
รายได้ = ราคาต่อหน่วย X ปริมาณ
หากเรามองเรื่อง ราคาต่อหน่วย ทั้ง Voice และ Data นั้น ถูกคุมอยู่ระดับหนึ่ง จาก กสทช ที่มีในเงื่อนไขการประมูล และการแข่งขัน ของ Operator แต่ละเจ้า ทำให้คงไปเพิ่มอะไรตรงนี้ได้ยาก
แต่หากมองเรื่องของ ปริมาณ นั้น เราสามารถเล่น การเพิ่มปริมาณการใช้ Data ได้มากกว่า Voice เยอะมาก ปัจจุบัน Data เป็นเหมือนสิ่งเสพติด อย่างนึง ที่หลายๆ คนขาดไม่ได้ ยิ่งเนตแรง เร็ว ก็อยากใช้มากขึ้น ดู Youtube ดูถ่ายทอดบอล อะไรได้เยอะขึ้น
ผิดกับ Voice จะเพิ่มปริมาณการใช้ ยังไง วันนึง มันก็มีแค่ 24 ชั่วโมง
ตอนนี้ พวก Operator จะมีค่า ARPU ที่ดูลดลง จาก Voice ที่หายไปเยอะ แต่ถูกชดเชยจาก Data ที่ใช้มากขึ้น อีกหน่อยก็ต้องดูว่า data จะดันให้ ARPU เพิ่มขึ้นได้แค่ไหน ปัจจัยที่ต้องจับตา คือ จำนวน Operator ในตลาดจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะถ้าแข่งขันกันสูงมาก Operators ก็ไม่ได้ประโยชน์ อะไรมาก แต่พวกเราที่ใช้งานก็ได้ของราคาเท่าเดิมแต่ดีขึ้น
รายได้ = ราคาต่อหน่วย X ปริมาณ
หากเรามองเรื่อง ราคาต่อหน่วย ทั้ง Voice และ Data นั้น ถูกคุมอยู่ระดับหนึ่ง จาก กสทช ที่มีในเงื่อนไขการประมูล และการแข่งขัน ของ Operator แต่ละเจ้า ทำให้คงไปเพิ่มอะไรตรงนี้ได้ยาก
แต่หากมองเรื่องของ ปริมาณ นั้น เราสามารถเล่น การเพิ่มปริมาณการใช้ Data ได้มากกว่า Voice เยอะมาก ปัจจุบัน Data เป็นเหมือนสิ่งเสพติด อย่างนึง ที่หลายๆ คนขาดไม่ได้ ยิ่งเนตแรง เร็ว ก็อยากใช้มากขึ้น ดู Youtube ดูถ่ายทอดบอล อะไรได้เยอะขึ้น
ผิดกับ Voice จะเพิ่มปริมาณการใช้ ยังไง วันนึง มันก็มีแค่ 24 ชั่วโมง
ตอนนี้ พวก Operator จะมีค่า ARPU ที่ดูลดลง จาก Voice ที่หายไปเยอะ แต่ถูกชดเชยจาก Data ที่ใช้มากขึ้น อีกหน่อยก็ต้องดูว่า data จะดันให้ ARPU เพิ่มขึ้นได้แค่ไหน ปัจจัยที่ต้องจับตา คือ จำนวน Operator ในตลาดจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะถ้าแข่งขันกันสูงมาก Operators ก็ไม่ได้ประโยชน์ อะไรมาก แต่พวกเราที่ใช้งานก็ได้ของราคาเท่าเดิมแต่ดีขึ้น
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 16
ของเดิม ที่หมดอายุนั้น
ผู้ให้อนุญาตใช้คลื่นความถี่ 1800 ของเดิมเป็น บมจ กสท โทรคมนาคม
ผู้รับสัมปทาน
1. บจ.ทรูมูฟ คลื่นความถี่ที่ได้ 1710.0-1722.6/1805.0-1817.6 สิ้นสุดเมื่อ 15 กันยายน 2556 (บริษัทลูกของ TRUE)
2. บจ.ดิจิตอล โฟน คลื่นความถี่ที่ได้ 1747.9-1760.5/1841.9-1855.5 สิ้นสุดเมื่อ 15 กันยายน 2556 (บริษัทลูกของ AIS)
สังเกตไหมได้เพิ่มขึ้นคนละ 2.5 MHz แต่ช่องสัญญาณนั้นคือช่องเดิมที่แต่ละบริษัทเป็นเจ้าของ
มาดูสิ่งที่ประมูลในเดือน ธันวาคม 2558
ผู้ให้อนุญาตใช้คลื่นความถี่ 900 ของเดิมเป็น บมจ ทีโอที
ผู้รับสัมปทาน คือ บมจ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส คลื่นความถี่ 897.5-915.0/942.5-960.0 สิ้นสุด 30 กันยายน 2558
ประมูลรอบนี้คือ
ชุดที่ 1 ช่วงความถี่ 895-905 /940-950
ชุดที่ 2 ช่วงความถี่ 905-915/950-960
สรุปคือ 2ช่วงความถี่ ความถี่ละ 10HHz ซึ่งเจ้าของเดิมคือ AIS
ถ้าหากเป็นไปตามสมมติฐานแล้ว เจ้าที่ต้องการคือ AIS ถ้าเป็นไปแบบ 1800 ขนาดของช่องสัญญาณที่ได้เพิ่มขึ้น 5MHz
(down link 2.5MHz และ up link อีก 2.5MHz)
เจ้าอื่นไม่น่าจะได้
งวดการจ่ายเงินใบอนุญาต
งวดที่ 1 ชำระ 50% ของราคาประมูลภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล
งวดที่ 2 ชำระ 25% ของราคาประมูลภายใน 50 วันเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
งวดที่ 3 ชำระ 25% ของราคาประมูล ภายใน 50วันเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/N ... 7d3bad6cda
สำหรับ 1800 นั้น งวดการจ่ายเงิน
งวดการจ่ายเงินใบอนุญาต
งวดที่ 1 ชำระ 50% ของราคาประมูลภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล
งวดที่ 2 ชำระ 25% ของราคาประมูลภายใน 50 วันเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
งวดที่ 3 ชำระ 25% ของราคาประมูล ภายใน 50วันเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/N ... 487e2eea7a
ผู้ให้อนุญาตใช้คลื่นความถี่ 1800 ของเดิมเป็น บมจ กสท โทรคมนาคม
ผู้รับสัมปทาน
1. บจ.ทรูมูฟ คลื่นความถี่ที่ได้ 1710.0-1722.6/1805.0-1817.6 สิ้นสุดเมื่อ 15 กันยายน 2556 (บริษัทลูกของ TRUE)
2. บจ.ดิจิตอล โฟน คลื่นความถี่ที่ได้ 1747.9-1760.5/1841.9-1855.5 สิ้นสุดเมื่อ 15 กันยายน 2556 (บริษัทลูกของ AIS)
สังเกตไหมได้เพิ่มขึ้นคนละ 2.5 MHz แต่ช่องสัญญาณนั้นคือช่องเดิมที่แต่ละบริษัทเป็นเจ้าของ
มาดูสิ่งที่ประมูลในเดือน ธันวาคม 2558
ผู้ให้อนุญาตใช้คลื่นความถี่ 900 ของเดิมเป็น บมจ ทีโอที
ผู้รับสัมปทาน คือ บมจ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส คลื่นความถี่ 897.5-915.0/942.5-960.0 สิ้นสุด 30 กันยายน 2558
ประมูลรอบนี้คือ
ชุดที่ 1 ช่วงความถี่ 895-905 /940-950
ชุดที่ 2 ช่วงความถี่ 905-915/950-960
สรุปคือ 2ช่วงความถี่ ความถี่ละ 10HHz ซึ่งเจ้าของเดิมคือ AIS
ถ้าหากเป็นไปตามสมมติฐานแล้ว เจ้าที่ต้องการคือ AIS ถ้าเป็นไปแบบ 1800 ขนาดของช่องสัญญาณที่ได้เพิ่มขึ้น 5MHz
(down link 2.5MHz และ up link อีก 2.5MHz)
เจ้าอื่นไม่น่าจะได้
งวดการจ่ายเงินใบอนุญาต
งวดที่ 1 ชำระ 50% ของราคาประมูลภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล
งวดที่ 2 ชำระ 25% ของราคาประมูลภายใน 50 วันเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
งวดที่ 3 ชำระ 25% ของราคาประมูล ภายใน 50วันเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/N ... 7d3bad6cda
สำหรับ 1800 นั้น งวดการจ่ายเงิน
งวดการจ่ายเงินใบอนุญาต
งวดที่ 1 ชำระ 50% ของราคาประมูลภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล
งวดที่ 2 ชำระ 25% ของราคาประมูลภายใน 50 วันเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
งวดที่ 3 ชำระ 25% ของราคาประมูล ภายใน 50วันเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/N ... 487e2eea7a
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 17
การประมูลครั้งต่อมา การประมูลคลื่น 900Ii'8N เขียน:ตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ ECON101 ครับpakhakorn เขียน:แล้วถ้ามีประมูลแบบนี้
ในอีก 18 ปี ต่อจากนี้อีก
เป็นครั้งที่ 2, 3, 4, 5, ......
ราคาครั้งหลัง ๆๆๆๆ
ราคา จะสู้มากกว่านี้? หรือลดลงกว่านี้?
คิดไป เรื่อยๆ เปื่อยๆ
ขึ้นกับสถานการณ์ขณะนั้นครับ demand-supply ตอนนั้น.... ไม่เกี่ยวกับราคาตอนนี้
ตอนนั้นอาจราคาไม่สูงขนาดนี้ก็ได้ จากจำนวนคลื่นที่หมดสัมปทาน ต้องเอาคืนมาเรื่อยๆ มี supply มากขึ้น การแข่งขันก็ degree ไม่เข้มข้น
(ถึงคลื่นที่หมดสัมปทานจะถูกเสือลำบากยื้อยุดไว้จนกว่าจะหมดแรงก็ตาม แต่กฎหมายออมาเช่นนั้น แนวโน้มกระแสก็ไปทางนั้น ขอตั้งข้อสังเกตว่า รอบก่อน ที่ขัดขวางการประมูล 3G ยังมีเสียงบางส่วนปรบมือชอบใจไม่ต้องมีประมูลก็ได้บอกว่าชีวิตไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าไม่มี 3G แต่รอบนี้ มีแต่คนเชียร์ให้ประมูลไวๆ )
แต่จะเข้าข่ายเดิมประมูลกันที่ราคาสูงอีกได้ ถ้าปล่อยให้ตลาดเสรีจริง
คือ demand ก็ยังไม่ลด เพราะแข่งเสรี ผู้เล่นจะเข้ามามากขึ้น
ครั้งก่อน ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15MHz)
มารอบใหม่นี้ ใบอนุญาตคลื่น 900 (10MHz)
มาถึงวันที่สอง
ดูจะดุเดือดกว่า ครั้งก่อนแล้ว
จบรอบที่ 54 ทั้ง 2 คลื่น ที่ 31,862 ล้าน ยอดรวมทั้งหมด 63,724 ล้าน
ยังไม่จบ ประมูลต่อ 9.00 น.
เวลา 6.00 น. วันที่ 16 ธ.ค.58 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. พร้อมดร.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ตั้งโต๊ะแถลงข่าวประเมินสถานการณ์การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่ยืดยื้อมาตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา
อ้างอิง : เกาะติด! ศึกประมูล 4G คลื่น 900 MHz http://news.mthai.com/hot-news/economy-news/472777.html
ซึ่งจากการประมูลยังไม่มีผู้เข้าร่วมรายใดถอนตัว และมีผู้ประมูลเพียงรายเดียวที่ใช้สิทธิ์่ในการไม่ประมูลเพียง 2 ครั้ง จากทั้งหมดมีสิทธิ์รายละ 3 ครั้ง จึงทำให้การประมูลยังเข้มข้น จบรอบที่ 54 ทั้ง 2 คลื่น ที่ 31,862 ล้าน ยอดรวมทั้งหมด 63,724 ล้าน ซึ่งเกินเป้าที่ตั้งไว้ 198% ขณะที่ผู้ประมูลทั้ง 4 ราย ยืนยันเดินหน้าสู้ต่อ
อ้างอิง : เกาะติด! ศึกประมูล 4G คลื่น 900 MHz http://news.mthai.com/hot-news/economy-news/472777.html
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 18
ยังไม่ถึง 18 ปีเลยนะครับ แข่งกันรุนแรงแบบนี้ไม่แปลกอะไร เพราะตอนนี้ยังถือว่าคลื่นขาดแคลนเทียบกับความต้องการpakhakorn เขียน:การประมูลครั้งต่อมา การประมูลคลื่น 900Ii'8N เขียน:ตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ ECON101 ครับpakhakorn เขียน:แล้วถ้ามีประมูลแบบนี้
ในอีก 18 ปี ต่อจากนี้อีก
เป็นครั้งที่ 2, 3, 4, 5, ......
ราคาครั้งหลัง ๆๆๆๆ
ราคา จะสู้มากกว่านี้? หรือลดลงกว่านี้?
คิดไป เรื่อยๆ เปื่อยๆ
ขึ้นกับสถานการณ์ขณะนั้นครับ demand-supply ตอนนั้น.... ไม่เกี่ยวกับราคาตอนนี้
ตอนนั้นอาจราคาไม่สูงขนาดนี้ก็ได้ จากจำนวนคลื่นที่หมดสัมปทาน ต้องเอาคืนมาเรื่อยๆ มี supply มากขึ้น การแข่งขันก็ degree ไม่เข้มข้น
(ถึงคลื่นที่หมดสัมปทานจะถูกเสือลำบากยื้อยุดไว้จนกว่าจะหมดแรงก็ตาม แต่กฎหมายออมาเช่นนั้น แนวโน้มกระแสก็ไปทางนั้น ขอตั้งข้อสังเกตว่า รอบก่อน ที่ขัดขวางการประมูล 3G ยังมีเสียงบางส่วนปรบมือชอบใจไม่ต้องมีประมูลก็ได้บอกว่าชีวิตไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าไม่มี 3G แต่รอบนี้ มีแต่คนเชียร์ให้ประมูลไวๆ )
แต่จะเข้าข่ายเดิมประมูลกันที่ราคาสูงอีกได้ ถ้าปล่อยให้ตลาดเสรีจริง
คือ demand ก็ยังไม่ลด เพราะแข่งเสรี ผู้เล่นจะเข้ามามากขึ้น
ครั้งก่อน ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15MHz)
มารอบใหม่นี้ ใบอนุญาตคลื่น 900 (10MHz)
มาถึงวันที่สอง
ดูจะดุเดือดกว่า ครั้งก่อนแล้ว
จบรอบที่ 54 ทั้ง 2 คลื่น ที่ 31,862 ล้าน ยอดรวมทั้งหมด 63,724 ล้าน
ยังไม่จบ ประมูลต่อ 9.00 น.
เวลา 6.00 น. วันที่ 16 ธ.ค.58 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. พร้อมดร.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ตั้งโต๊ะแถลงข่าวประเมินสถานการณ์การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่ยืดยื้อมาตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา
อ้างอิง : เกาะติด! ศึกประมูล 4G คลื่น 900 MHz http://news.mthai.com/hot-news/economy-news/472777.html
ซึ่งจากการประมูลยังไม่มีผู้เข้าร่วมรายใดถอนตัว และมีผู้ประมูลเพียงรายเดียวที่ใช้สิทธิ์่ในการไม่ประมูลเพียง 2 ครั้ง จากทั้งหมดมีสิทธิ์รายละ 3 ครั้ง จึงทำให้การประมูลยังเข้มข้น จบรอบที่ 54 ทั้ง 2 คลื่น ที่ 31,862 ล้าน ยอดรวมทั้งหมด 63,724 ล้าน ซึ่งเกินเป้าที่ตั้งไว้ 198% ขณะที่ผู้ประมูลทั้ง 4 ราย ยืนยันเดินหน้าสู้ต่อ
อ้างอิง : เกาะติด! ศึกประมูล 4G คลื่น 900 MHz http://news.mthai.com/hot-news/economy-news/472777.html
ส่วนใหญ่ยังไปกองอยู่ที่รัฐวิสาหกิจ
ลองปล่อย 1900 2300 2600 ที่เสือนอนกินถืออยู่ออกมาประมูล รวมถึง 850 2100 1800 ก็ยังมีที่ยังมี spectrum อยู่ในระบบสัมปทาน กับรัฐวิสาหกิจทั้งสองราย โดยที่ผู้่เล่นอยู่แค่ 4 ราย (รวม JAS) ไม่มีรายอื่นมาแจมเพิ่ม ราคาไม่พุ่งไปขนาดนี้แน่นอน
เอาแค่ 1800 อย่างเดียวก่อน รอบที่ผ่านมากสทช.รวมเอามาประมูลได้รวม 30MHz อาจคิดว่า band มันกว้างแล้ว
จริงๆ ตามมาตรฐาน สามารถรวบรวมเอามาใช้ได้ถึง 75MHz....
เรื่องคลื่น oversupply.... ที่เคยเป็นตำนาน ตอนยุค GSM สมัยนั้นคุณภูษณ ปรีย์มาโนช เพื่อนรักเพื่อนแค้นเจ้าสัวบุญชัย สุดยอด lobbyist เมืองไทย เคยกวาดคลื่นมาได้ทั้ง band 75MHz
สุดท้ายเกินที่ใช้งาน เลยมีการแบ่งขาย กลายเป็นอีก 2 สัมปทานใต้ CAT
1 ใบ เป็นของ SAMART... ที่ตอนหลังไปไม่รอด คลื่นนั้นติด brand DCS1800 กลายเป็นของ shin corp และอีกใบอีกย่าน เป็นของเครือผู้จัดการ (The M Group) ที่ล้มช่วงวิกฤติ ใช้ชื่อบริษัท WCS ชื่อ brand IQ... ตอนหลังเลยเปลี่ยนผ่าน สุดท้ายมาอยู่กับ CP Orange
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 19
พี่ Ii'8N ครับ
อยากถามว่าตอนแรกสุดรัฐใช้กฏเกณฑ์อะไรในการตั้งราคาประมูลครับ อ้างอิงมาจากเอกสารอะไรก่อนจะปล่อยให้เอกชนมา Bid กัน
พี่พอมีข้อมูลมั๊ยครับ
ขอบพระคุณอย่างสูงครับพี่
อยากถามว่าตอนแรกสุดรัฐใช้กฏเกณฑ์อะไรในการตั้งราคาประมูลครับ อ้างอิงมาจากเอกสารอะไรก่อนจะปล่อยให้เอกชนมา Bid กัน
พี่พอมีข้อมูลมั๊ยครับ
ขอบพระคุณอย่างสูงครับพี่
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 20
ตอนแรกผมจำว่าเป็นจ้างจุฬาฯ มาประเมินNevercry.boy เขียน:พี่ Ii'8N ครับ
อยากถามว่าตอนแรกสุดรัฐใช้กฏเกณฑ์อะไรในการตั้งราคาประมูลครับ อ้างอิงมาจากเอกสารอะไรก่อนจะปล่อยให้เอกชนมา Bid กัน
พี่พอมีข้อมูลมั๊ยครับ
ขอบพระคุณอย่างสูงครับพี่
แต่ค้นข่าว ....จ้างจุฬาเฉพาะตอน 3G
ช่วง 4G นี้ใช้บริการ ITU
ดูข่าวนี้ครับ
http://thaipublica.org/2015/08/nbtc-watch-15/
เผยเงื่อนไขประมูล 4G ผ่อนคลายกว่า 3G
นายพรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. นักวิจัยประจำโครงการ NBTC Policy Watch กล่าวนำเสนอรายงานในหัวข้อ “การประมูล 4G และผลประโยชน์สาธารณะ” http://thaipublica.org/wp-content/uploa ... %B8%B0.pdf มีใจความว่า ขอเริ่มจากข้อมูลพื้นฐานเรื่องหลักเกณฑ์การประมูลก่อน ในปีนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะนำคลื่น 900 MHz ที่จะหมดสัมปทานในปี 2560 และคลื่น 1800 MHz ที่จะหมดสัมปทานไปตั้งแต่ปี 2556 มาเปิดประมูลเพื่อให้บริการในระบบ 4G โดยแบ่งการประมูลออกเป็นคลื่นละ 2 ใบอนุญาต และมีอายุใบอนุญาต กรณีคลื่น 900 MHz คือ 15 ปี และคลื่น 1800 MHz คือ 19 ปี เพื่อให้สิ้นสุดอายุใบอนุญาตพร้อมกันในปี 2575
เรื่อง “มูลค่าคลื่น” เมื่อครั้งประมูลคลื่น 2100 MHz เพื่อนำมาให้บริการในระบบ 3G ในปี 2556 กสทช. ได้จ้างคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาคำนวณมูลค่าคลื่น แต่การประมูล 4G ครั้งนี้ กสทช. ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ อย่างสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) มาคำนวณ พร้อมกำหนด “ราคาตั้งต้น” การประมูล ไว้ที่ 70% ของมูลค่าคลื่นที่ได้จากการคำนวณ ยกเว้นกรณีที่มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต ให้ขึ้นเป็น 100% ทันที
– คลื่น 900 MHz ซึ่งประมูล 2 ใบอนุญาต แต่ละใบอนุญาตมีขนาด 10 MHz ได้กำหนดราคาตั้งต้นไว้ที่ 11,260 ล้านบาท/ใบอนุญาต
– คลื่น 1800 MHz ซึ่งประมูล 2 ใบอนุญาต แต่ละใบอนุญาตมีขนาด 12.5 MHz ได้กำหนดราคาตั้งต้นไว้ที่ 11,600 ล้านบาท/ใบอนุญาต แต่ในกรณีที่ กสทช. สามารถเรียกคืนคลื่นที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC มีสัมปทานกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT และไม่ได้ใช้งานอีก 5 MHz ได้ทันการประมูลหรือไม่ หากเรียกคืนได้ทัน จะทำให้แต่ละใบอนุญาตมีขนาด 15 MHz ราคาตั้งต้นก็จะเพิ่มเป็น 13,920 ล้านบาท/ใบอนุญาต
หากเทียบกับราคาตั้งต้นคลื่น 2100 MHz ซึ่งอยู่ที่ 13,500 ล้าน/ใบอนุญาต จะพบว่าใกล้เคียงกับราคาตั้งต้นของคลื่น 1800 MHz แต่สูงกว่าคลื่น 900 MHz
กสทช. ได้กำหนด “เงื่อนไข” ให้บริษัทเอกชนที่ชนะการประมูล 4G จะต้องทำให้ครอบคลุมเครือข่าย 40% ของประชากรทั้งหมดภายใน 4 ปี ซึ่งน้อยกว่าสมัย 3G ที่กำหนดให้ต้องครอบคลุมถึง 80% ภายใน 4 ปี นอกจากนี้ กสทช. ยังกำหนดเพดานการถือครองคลื่น (Spectrum Cap) ไม่ให้บริษัทเอกชนเจ้าใดเจ้าหนึ่งถือครองคลื่นความถี่เกิน 60MHz หากบริษัทใดถือเกินต้องส่งคืนให้กับเจ้าของสัมปทานเดิม
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 21
ขอบคุณมากครับพี่
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 22
ตรงนี้ครับ ที่ผมสนใจ และผมยังหาไม่เจอเลยครับพี่
พี่พอมี source ที่ link ไปมั๊ย สาธารณะชนจะได้พอเข้าใจแนวคิด
พี่พอมี source ที่ link ไปมั๊ย สาธารณะชนจะได้พอเข้าใจแนวคิด
แนบไฟล์
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 23
ไม่ได้มีข้อมูลลึกถึงตรงนั้นจริงๆ ครับNevercry.boy เขียน:ตรงนี้ครับ ที่ผมสนใจ และผมยังหาไม่เจอเลยครับพี่
พี่พอมี source ที่ link ไปมั๊ย สาธารณะชนจะได้พอเข้าใจแนวคิด
น่าสนใจเหมือนกันครับ
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 24
ตรงนี้สำคัญอย่างไร?
แม้ว่าเราเห็นว่าจ่ายมากตื่นเต้นกับตัวเลขที่เคาะขึ้นแต่
สุดท้ายตัวเลขมันตั้งมาไง
แสนล้านคุ้มมั๊ย แต่มันจะงงไง
แม้ว่าเราเห็นว่าจ่ายมากตื่นเต้นกับตัวเลขที่เคาะขึ้นแต่
สุดท้ายตัวเลขมันตั้งมาไง
แสนล้านคุ้มมั๊ย แต่มันจะงงไง
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 25
ข้อมูลนี้พอจะช่วยได้ไหมครับNevercry.boy เขียน:ตรงนี้สำคัญอย่างไร?
แม้ว่าเราเห็นว่าจ่ายมากตื่นเต้นกับตัวเลขที่เคาะขึ้นแต่
สุดท้ายตัวเลขมันตั้งมาไง
แสนล้านคุ้มมั๊ย แต่มันจะงงไง
http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect/N ... 6a5cabea98
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 26
ดีมากเลยครับ ขอบพระคุณ อ.ชัยธร มากครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 153
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 27
ตอนนี้ล่าสุด คือ รอบที่ 107 ครับ ยอดรวมเกือบจะแสนล้านแล้วครับ ที่แน่ๆ ตอนนี้ถ้าใครได้สัปทาน
ต้องจ่าย 20,000 ล้านขึ้นแน่ๆ ตอนนี้ทำให้นึกถึงประมูลทีวีดิจิตอลครับแข่งกันดุเดือน แต่สุดท้ายก็
จะแย่ไปตามๆ กัน อีกทั้งโดยส่วนตัวแล้ว ผมใช้ 3G ก็เพียงพอแล้วที่ความเร็วนี้ ถ้าเป็นไปได้ผมเอง
ก็ไม่อยากเปลี่ยนแพ็คเกจครับ แค่เพิ่มปริมาณก็พอ เพราะส่วนใหญ่ก็ใช้แค่ line หรือ face book ส่วน
streamming นั้นเดี๋ยวนี้ youtube ทำ offline ได้แล้วใช้ wifi ที่บ้านโหลดเก็บไว้ดูก็ได้ สรุปแล้ว
ผมว่าค่ายมือถืออาจจะลำบากมในอนาคตครับ เพราะทุกอย่างล้วนมีขีดจำกัด และตอนนี้อาจจะหมดยุค
ของแพงแล้วก็ได้ครับ
อ้างอิง http://m.pantip.com/topic/34562335
ใบอนุญาตที่Lot1 มีผู้ยื่น 1 ราย (47,318 ลบ.)
ใบอนุญาตที่Lot2 มีผู้ยื่น 2 ราย (48,928 ลบ.)
ยอดรวม 96,246 ลบ.
update 17 ธันวาคม 2558 เวลา 06:14:23 น.
ต้องจ่าย 20,000 ล้านขึ้นแน่ๆ ตอนนี้ทำให้นึกถึงประมูลทีวีดิจิตอลครับแข่งกันดุเดือน แต่สุดท้ายก็
จะแย่ไปตามๆ กัน อีกทั้งโดยส่วนตัวแล้ว ผมใช้ 3G ก็เพียงพอแล้วที่ความเร็วนี้ ถ้าเป็นไปได้ผมเอง
ก็ไม่อยากเปลี่ยนแพ็คเกจครับ แค่เพิ่มปริมาณก็พอ เพราะส่วนใหญ่ก็ใช้แค่ line หรือ face book ส่วน
streamming นั้นเดี๋ยวนี้ youtube ทำ offline ได้แล้วใช้ wifi ที่บ้านโหลดเก็บไว้ดูก็ได้ สรุปแล้ว
ผมว่าค่ายมือถืออาจจะลำบากมในอนาคตครับ เพราะทุกอย่างล้วนมีขีดจำกัด และตอนนี้อาจจะหมดยุค
ของแพงแล้วก็ได้ครับ
อ้างอิง http://m.pantip.com/topic/34562335
ใบอนุญาตที่Lot1 มีผู้ยื่น 1 ราย (47,318 ลบ.)
ใบอนุญาตที่Lot2 มีผู้ยื่น 2 ราย (48,928 ลบ.)
ยอดรวม 96,246 ลบ.
update 17 ธันวาคม 2558 เวลา 06:14:23 น.
มงคลชีวิต 38 ประการ
คือ บทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ หรือ มี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ทั้งหมด ๓๘ ประการ
คือ บทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ หรือ มี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ทั้งหมด ๓๘ ประการ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 28
จากข่าว นสพ. กรุงเทพธุรกิจ
มีข่าว ในส่วนเรื่องการชำระเงิน การประมูลใบอนุญาติคลื่น 900
http://bit.ly/1ITz9z5
กสทช. คาดหากประมูล4G คลื่น 900 MHz ลากยาวถึง 3 ทุ่มวันนี้ ราคารวมสองใบทะลุ 8.6 หมื่นลบ. ชี้ผ่าน 20 ชั่วโมง ราคาพุ่ง 210%
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การประมูล 4G คลื่น 900 MHz ใช้เวลาในการประมูล 20 ชั่วโมง มาอยู่ที่รอบ 60 ราคาประมูลอยู่ที่ใบละ 33,794 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 210% ของราคาประมูลขั้นต่ำ และเมื่อรวม 2 ใบ ราคาจะอยู่ที่ 67,588 ล้านบาท ทั้งนี้ หากคิดเป็นราคาเฉลี่ยของคลื่นความถี่ 900 MHz ต่อ 1 MHz เฉลี่ยอยู่ที่ 3,379 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยของคลื่น 1800 MHz ที่เฉลี่ยต่อ 1 MHz อยู่ที่ 2,692 ล้านบาท
ขณะนี้ผู้ประกอบการทั้ง 4 ราย ยังคงเคาะราคาสู้กันโดยยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ซึ่งหากการประมูลลากยาวไปถึง 17.00 น. วันนี้ราคาจะอยู่ที่ใบละประมาณ 40,000 ล้านบาท และหากลากยาวไปถึง 21.00 น. ราคาจะไปอยู่ที่ใบละประมาณ 43,000 ล้านบาท รวม 2 ใบราคาจะอยู่ที่ประมาณ 86,000 ล้านบาท
"ณ เวลา 11.00 น.ใช้เวลาการประมูลรวม 26 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาในการเคาะราคาประมูล 20 ชั่วโมง และพัก 6 ชั่วโมง ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 4 รายยังมีการสู้ราคาอย่างต่อเนื่องยังไม่มีทีท่าที่จะหยุดเคาะราคา ถ้าดูจากการเคาะราคารอบที่ 1 ถึงรอบที่ 60 ยังไม่มีรอบไหนที่ราคาคงที่ ซึ่งหากเคาะประมูลไปจนถึง 5 โมงเย็น ราคาจะตกใบละประมาณ 40,000 ล้านบาท และหากลากยากไปถึงสามทุ่มราคาจะอยู่ที่ใบละ 43,000 รวม 2 ใบ 86,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ราคาเฉลี่ยต่อ MHz ของคลื่น 900 MHz ถือว่าปรับตัวขึ้นมาสูงมาก ซึ่งเราจะไปประเมินว่าราคาที่ประมูลปัจจุบันสูงกว่าราคาในการจ่ายค่าสัมปทานหรือยัง แต่ส่วนตัวเชื่อว่าจะยังไม่สูงเพราะหากสูงเขาคงไม่เคาะราคา แต่เราก็ไม่ต้องเป็นห่วงผู้ประกอบการเพราะผู้ประกอบการต้องมีการคิดมาแล้วว่าสามารถสู้ราคาได้ที่ระดับใด เพื่อที่จะไม่ขาดทุนในการให้บริการ" นายฐากร กล่าว
สำหรับการชำระเงินประมูลจะแบ่งเป็น 4 งวด โดยงวดแรกจะชำระราคาประมูลที่ 8,040 ล้านบาท หรือคิดเป็น 50% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 16,080 ล้านบาท จะชำระภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชำระการประมูล งวดที่ 2 ชำระ 4,020 ล้านบาท หรือคิดเป็น 25% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 16,080 ล้านบาท ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต
งวดที่ 3 ชำระ 4,020 ล้านบาท หรือ 25% ของมูลค่าคลื่น 16,080 ล้านบาท ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต และงวดที่ 4 ชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 4 ปีนับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต
ทั้งนี้ การปรับระยะเวลาการชำระเงินให้ความยืดหยุ่นดังกล่าวนี้ จะช่วยป้องกันการฮั้วประมูลของสถาบันการเงินที่จะนำเงินมาปล่อยกู้ เพราะผู้ประกอบการสามารถที่จะจัดหาแหล่งเงินทุนมาชำระเงินประมูลคลื่นส่วนที่เหลือในปีที่ 4 ได้
พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ราคาประมูล ณ เวลา 11.00 น. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 210% จากราคาประมูลขั้นต่ำ และราคาเฉลี่ยต่อ MHz ก็สูงกว่าคลื่น 1800 MHz แล้ว โดยสาเหตุที่ราคามีการปรบตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่า 1800 MHz
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ กสทช.ได้มีการปรับเกณฑ์ในการชำระเงินประมูลคลื่น 900 MHz ให้มีความยืดหยุ่นทำให้ผู้ประกอบการทั้ง 4 รายมีกระแสเงินสดที่จะมาใช้ในการเคาะราคาประมูลในครั้งนี้
--------------------------------------------------------------------------------
ผมจะเข้าใจดังนี้ ถูกต้องไหม?
การชำระเงินในงวดที่ 4 (ครบกำหนด 4 ปี)
จะต้องจ่ายจำนวนสูงมากๆ จำนวนหลายเท่าจากยอดรวมหลังครบรอบ 3 ปีแรก
หรือก็คือ ส่วนที่เกินจากยอด 16,080 ล้านบาท ที่ประมูล
ขณะที่เขียนนี้ ประมูลถึงรอบ 178 รวม 2 ใบ มูลค่า 140,682 ลบ.
ใบที่ 1. ประมูลถึง 69,214 ลบ. ส่งผลให้งวดที่ 4 ต้องชำระ 53,134 ลบ.
ใบที่ 2. ประมูลถึง 71,468 ลบ. ส่งผลให้งวดที่ 4 ต้องชำระ 55,388 ลบ.
เลยเริ่มสงสัยว่า
จำนวนและน้ำหนัก
เริ่มเข้าทรงคล้ายๆกับ แบบบินก่อนจ่ายที่หลัง แล้ว
หากเกิดเหตุพลิกผัน เมื่อถึง ณ.เวลานั้น
ผู้ประมูลได้แต่ไม่สามารถชำระเงินก้อนสุดท้ายได้
ส่วนของคู่แข่งที่ประมูลไม่ได้ ก็สูญเสียโอกาสทางธุรกิจไปแล้ว 4 ปี
รัฐ..จะมีหลักประกันไหม? ว่าจะต้องได้รับเงินประมูลก้อนนี้ที่แน่นอน.
มีข่าว ในส่วนเรื่องการชำระเงิน การประมูลใบอนุญาติคลื่น 900
http://bit.ly/1ITz9z5
กสทช. คาดหากประมูล4G คลื่น 900 MHz ลากยาวถึง 3 ทุ่มวันนี้ ราคารวมสองใบทะลุ 8.6 หมื่นลบ. ชี้ผ่าน 20 ชั่วโมง ราคาพุ่ง 210%
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การประมูล 4G คลื่น 900 MHz ใช้เวลาในการประมูล 20 ชั่วโมง มาอยู่ที่รอบ 60 ราคาประมูลอยู่ที่ใบละ 33,794 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 210% ของราคาประมูลขั้นต่ำ และเมื่อรวม 2 ใบ ราคาจะอยู่ที่ 67,588 ล้านบาท ทั้งนี้ หากคิดเป็นราคาเฉลี่ยของคลื่นความถี่ 900 MHz ต่อ 1 MHz เฉลี่ยอยู่ที่ 3,379 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยของคลื่น 1800 MHz ที่เฉลี่ยต่อ 1 MHz อยู่ที่ 2,692 ล้านบาท
ขณะนี้ผู้ประกอบการทั้ง 4 ราย ยังคงเคาะราคาสู้กันโดยยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ซึ่งหากการประมูลลากยาวไปถึง 17.00 น. วันนี้ราคาจะอยู่ที่ใบละประมาณ 40,000 ล้านบาท และหากลากยาวไปถึง 21.00 น. ราคาจะไปอยู่ที่ใบละประมาณ 43,000 ล้านบาท รวม 2 ใบราคาจะอยู่ที่ประมาณ 86,000 ล้านบาท
"ณ เวลา 11.00 น.ใช้เวลาการประมูลรวม 26 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาในการเคาะราคาประมูล 20 ชั่วโมง และพัก 6 ชั่วโมง ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 4 รายยังมีการสู้ราคาอย่างต่อเนื่องยังไม่มีทีท่าที่จะหยุดเคาะราคา ถ้าดูจากการเคาะราคารอบที่ 1 ถึงรอบที่ 60 ยังไม่มีรอบไหนที่ราคาคงที่ ซึ่งหากเคาะประมูลไปจนถึง 5 โมงเย็น ราคาจะตกใบละประมาณ 40,000 ล้านบาท และหากลากยากไปถึงสามทุ่มราคาจะอยู่ที่ใบละ 43,000 รวม 2 ใบ 86,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ราคาเฉลี่ยต่อ MHz ของคลื่น 900 MHz ถือว่าปรับตัวขึ้นมาสูงมาก ซึ่งเราจะไปประเมินว่าราคาที่ประมูลปัจจุบันสูงกว่าราคาในการจ่ายค่าสัมปทานหรือยัง แต่ส่วนตัวเชื่อว่าจะยังไม่สูงเพราะหากสูงเขาคงไม่เคาะราคา แต่เราก็ไม่ต้องเป็นห่วงผู้ประกอบการเพราะผู้ประกอบการต้องมีการคิดมาแล้วว่าสามารถสู้ราคาได้ที่ระดับใด เพื่อที่จะไม่ขาดทุนในการให้บริการ" นายฐากร กล่าว
สำหรับการชำระเงินประมูลจะแบ่งเป็น 4 งวด โดยงวดแรกจะชำระราคาประมูลที่ 8,040 ล้านบาท หรือคิดเป็น 50% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 16,080 ล้านบาท จะชำระภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชำระการประมูล งวดที่ 2 ชำระ 4,020 ล้านบาท หรือคิดเป็น 25% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 16,080 ล้านบาท ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต
งวดที่ 3 ชำระ 4,020 ล้านบาท หรือ 25% ของมูลค่าคลื่น 16,080 ล้านบาท ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต และงวดที่ 4 ชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 4 ปีนับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต
ทั้งนี้ การปรับระยะเวลาการชำระเงินให้ความยืดหยุ่นดังกล่าวนี้ จะช่วยป้องกันการฮั้วประมูลของสถาบันการเงินที่จะนำเงินมาปล่อยกู้ เพราะผู้ประกอบการสามารถที่จะจัดหาแหล่งเงินทุนมาชำระเงินประมูลคลื่นส่วนที่เหลือในปีที่ 4 ได้
พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ราคาประมูล ณ เวลา 11.00 น. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 210% จากราคาประมูลขั้นต่ำ และราคาเฉลี่ยต่อ MHz ก็สูงกว่าคลื่น 1800 MHz แล้ว โดยสาเหตุที่ราคามีการปรบตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่า 1800 MHz
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ กสทช.ได้มีการปรับเกณฑ์ในการชำระเงินประมูลคลื่น 900 MHz ให้มีความยืดหยุ่นทำให้ผู้ประกอบการทั้ง 4 รายมีกระแสเงินสดที่จะมาใช้ในการเคาะราคาประมูลในครั้งนี้
--------------------------------------------------------------------------------
ผมจะเข้าใจดังนี้ ถูกต้องไหม?
การชำระเงินในงวดที่ 4 (ครบกำหนด 4 ปี)
จะต้องจ่ายจำนวนสูงมากๆ จำนวนหลายเท่าจากยอดรวมหลังครบรอบ 3 ปีแรก
หรือก็คือ ส่วนที่เกินจากยอด 16,080 ล้านบาท ที่ประมูล
ขณะที่เขียนนี้ ประมูลถึงรอบ 178 รวม 2 ใบ มูลค่า 140,682 ลบ.
ใบที่ 1. ประมูลถึง 69,214 ลบ. ส่งผลให้งวดที่ 4 ต้องชำระ 53,134 ลบ.
ใบที่ 2. ประมูลถึง 71,468 ลบ. ส่งผลให้งวดที่ 4 ต้องชำระ 55,388 ลบ.
เลยเริ่มสงสัยว่า
จำนวนและน้ำหนัก
เริ่มเข้าทรงคล้ายๆกับ แบบบินก่อนจ่ายที่หลัง แล้ว
หากเกิดเหตุพลิกผัน เมื่อถึง ณ.เวลานั้น
ผู้ประมูลได้แต่ไม่สามารถชำระเงินก้อนสุดท้ายได้
ส่วนของคู่แข่งที่ประมูลไม่ได้ ก็สูญเสียโอกาสทางธุรกิจไปแล้ว 4 ปี
รัฐ..จะมีหลักประกันไหม? ว่าจะต้องได้รับเงินประมูลก้อนนี้ที่แน่นอน.
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าคุณเป็นผูุ้ถือหุ้นบริษัทที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 (15M
โพสต์ที่ 30
ไปโหวตกันนะครับ (ไปดูผลโหวตก็ได้นะครับ)
http://pantip.com/topic/34578233
http://pantip.com/topic/34578233
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ