** อ้าว หุ้นอากู๋หลุด 10 บาทแล้วหรือนี่ **
-
- ผู้ติดตาม: 0
** อ้าว หุ้นอากู๋หลุด 10 บาทแล้วหรือนี่ **
โพสต์ที่ 32
แม่นเจรงเจรง!!!โอ@ เขียน: GRAMMY นู่นเลยครับ เจ็ดบาทถ้วน
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
** อ้าว หุ้นอากู๋หลุด 10 บาทแล้วหรือนี่ **
โพสต์ที่ 34
แกรมมี่สั่งปิดสำนักข่าวไทยไทมส์ หลังไม่สนอง แม้ว
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤษภาคม 2549 18:59 น.
นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี่
สำนักข่าวไทยไทมส์นิวส์ โอเพ่นเรดิโอ ประกาศปิดตัวสิ้นเดือนนี้ หลัง แม้ว ดอดพบ อากู๋ แกรมมี่อ้างขาดทุน แต่วงในชี้เพราะไม่สนองนโยบายเชียร์รัฐบาลฝ่ายเดียว แต่เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่อต้านเข้ามาพูดผ่านสถานีได้
มีรายงานข่าวว่า สำนักข่าวไทยไทมส์ โอเพ่นเรดิโอ 94 เมกะเฮิรตซ์ ของกองทัพบก ภายใต้สังกัดของแกรมมี่ ซึ่งประกาศตัวเป็นสถานีข่าว และออกอากาศมาเป็นเวลา 5 เดือน จะปิดตัวเองลงในสิ้นเดือนนี้ โดยทางผู้บริหารแกรมมี่อ้างสาเหตุการปิดตัวของสถานีข่าวแห่งนี้ว่าประสบกับภาวะขาดทุน และจะเปลี่ยนไปเป็นสถานีเพื่อความบันเทิงแทน
แหล่งข่าวในสำนักข่าวไทยไทมส์ เปิดเผยว่า โอเพ่นเรดิโอ ซึ่งมีนายพิรุณ ฉัตรวณิชกุล เป็นผู้บริหาร ได้ฟอร์มทีมงานโดยการดึงตัวผู้สื่อข่าว และผู้ดำเนินรายการที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาร่วมงานจำนวนมาก โดยแลกกับผลตอบแทนที่สูง โดยหวังจะให้เป็นสถานีข่าวชั้นแนวหน้า อย่างไรก็ตาม แม้การจัดรายการจะพยายามเสนอข่าวที่สนับสนุนแนวทางของรัฐบาลตามนโยบายของผู้บริหารเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้มีการเปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลมาออกอากาศด้วยเพื่อแสดงความเป็นมืออาชีพออกมา ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้บริหารที่มีความสนิทสนมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างมาก
โดยก่อนหน้านี้ได้มีคำสั่งให้นางยุวดี ธัญญสิริ และนางอำพา สันติเมทนีดล 2 ผู้ดำเนินรายการยุติการจัดรายการ เนื่องจากผู้ดำเนินรายการทั้งสองได้เชิญนายโสภณ สุภาพงษ์ มาออกอากาศและแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในแง่ลบ
แหล่งข่าวเปิดเผยคำสั่งดังกล่าวว่า เกิดขึ้นภายหลังจากเมื่อวันพุธที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางเข้าไปพบกับนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่สำนักงานถนนอโศก จนกระทั่งมีคำสั่งปิดสถานีข่าว โดยทางแกรมมี่จะนำคลื่นเอฟเอ็ม 94 มาเป็นสถานีด้านความบันเทิงแทน
ก่อนหน้านี้ นายพิรุณได้ผู้ประกาศตัวเป็นเจ้าของไทยไทม์นิวส์ แต่วงในรู้กันว่านายทุนที่แท้จริงคือนายไพบูลย์ เนื่องจากทั้งสองคนเป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่เป็นนิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตอนนั้นนายพิรุณเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ปี 2514 ขณะที่ นายไพบูลย์เป็นผู้แทนคณะนิเทศศาสตร์ จากนั้นต่างก็เดินตามเส้นทางของตัวเอง โดยนายไพบูลย์กลายเป็นอภิมหาเศรษฐีเจ้าของค่ายเพลงแกรมมี่ และเป็นเพื่อนสนิทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนนายพิรุณเดินทางเข้าป่า กลายเป็น สหายขวาน กรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังถูกจับติดคุก 5 ปี ออกมาเป็นนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ และเป็นรองเลขาธิการ กกต.
ทั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช ส.ว.กทม.ได้เคยออกมาโจมตีคลื่น 94 แห่งนี้(ไทยไทมส์)อย่างรุนแรงโดยระบุว่าเป็นคลื่นที่ปลุกระดมปล่ยให้โจมตีรัฐบาลได้อย่างไร พร้อมทั้งตำหนิกองทัพบกในฐานะเจ้าของคลื่นอย่างรุนแรงเช่นเดียวกันด้วย
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ทางรัฐบาลได้เปิดให้คลื่นวิทยุชุมชน 94.25 และ 94.75 เมกะเฮิรตซ์ เข้ามาทำหน้าที่กระบอกเสียงของรัฐบาล โดยมีการดำเนินรายการโจมตีฝ่ายต่อต้านรัฐบาล รวมทั้งโจมตีการทำงานของสถาบันตุลาการที่ออกมาเรียกร้องให้ กกต.ลาออก โดยทั้งสองสถานีมีคลื่นความถี่ที่สูงสามารถรับฟังได้ไกลกว่าข้อกำหนดของวิทยุชุมชน แม้จะมีการร้องเรียนไปยังนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแล้วก็ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ทั้งที่ก่อนหน้านี้นายสุรนันทน์ได้อ้างคำร้องเรียนของประชาชนในการปิดสถานีวิทยุที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหลายครั้ง
Impossible is Nothing
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
** อ้าว หุ้นอากู๋หลุด 10 บาทแล้วหรือนี่ **
โพสต์ที่ 35
สรุปข่าวพี่ woody นี่จริงหรือเปล่าเนี่ย กำลังงง ทำไมเจอแต่ใน manager online พยายามหาแหล่งอื่นอยู่
วันนี้เพิ่งคุยกับ IR grammy เขาก็บอกว่า Open radio กำลังจะ break event แล้วอีกไม่นานน่าจะดี แล้วจะมายกเลิกอะไรกันตอนนี้เนี่ย
วันนี้เพิ่งคุยกับ IR grammy เขาก็บอกว่า Open radio กำลังจะ break event แล้วอีกไม่นานน่าจะดี แล้วจะมายกเลิกอะไรกันตอนนี้เนี่ย
_________
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
** อ้าว หุ้นอากู๋หลุด 10 บาทแล้วหรือนี่ **
โพสต์ที่ 40
ใครตกอยู่ในภาวะแบบนี้ก็คงเหมือน รหัสลับ "ขาไก่" ในเรื่องสามก๊กน่ะท่านม้าเฉียว เขียน:ถ้าผมเป็นเพื่อนคนนั้นของท่านแม่ทัพ ผมจะทำอย่างไรดีหนอ
นิน นิน นิน...
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
Mr.Big Buy @ New High, วัวแดง Buy @ New Low
โพสต์ที่ 45
เห็นสองเซียนมีกลยุทธ์ต่างกันโดยสิ้นเชิง ช่วยมาประชันกันหน่อยครับ ว่าได้ผลแตกต่างกันอย่างไร เป็นวิทยาทานให้เพื่อนๆนะ
-
- Verified User
- โพสต์: 97
- ผู้ติดตาม: 0
** อ้าว หุ้นอากู๋หลุด 10 บาทแล้วหรือนี่ **
โพสต์ที่ 46
วันนี้ผมซื้อไปเต็มๆที่6.15 อ่านที่postมาทั้งหมดแล้ว
ไม่แน่ใจว่าจะถือต่อดี หรือ โยนทิ้งดีนี่
ไม่แน่ใจว่าจะถือต่อดี หรือ โยนทิ้งดีนี่
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
** อ้าว หุ้นอากู๋หลุด 10 บาทแล้วหรือนี่ **
โพสต์ที่ 49
แปลกนะครับ หลายวันที่ผ่านมานี้ ไม่มีรายงานผู้ถือหุ้นรายใหญ่คนไหนของ GRAMMY ทีขายหุ้นเลยแม้แต่น้อย แรงขายของรายย่อยด้วยกันเองสามารถสร้างความรุนแรงได้ไม่น้อยเลยไม่เชื่ออย่าลบหลู่ 8)
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
** อ้าว หุ้นอากู๋หลุด 10 บาทแล้วหรือนี่ **
โพสต์ที่ 50
เกือบลืมไป ดูเหมือนจะยังไม่มีใครมาโพสต์
*** อ้าว... หุ้นอากู๋ หลุด 7 บาท แล้วหรือเนี่ย ***
*** อ้าว... หุ้นอากู๋ หลุด 7 บาท แล้วหรือเนี่ย ***
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- วัวแดง
- Verified User
- โพสต์: 1429
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Mr.Big Buy @ New High, วัวแดง Buy @ New Low
โพสต์ที่ 51
ซื้อตอนนิวไฮต้องเร็ว ถ้าตกจากนิวไฮแล้วต้องปล่อย ส่วนมากตอนนิวไฮหุ้นมักแพงกว่าความจริง ข่าวดีมากเกินไปjaychou เขียน:เห็นสองเซียนมีกลยุทธ์ต่างกันโดยสิ้นเชิง ช่วยมาประชันกันหน่อยครับ ว่าได้ผลแตกต่างกันอย่างไร เป็นวิทยาทานให้เพื่อนๆนะ
ซื้อตอนนิวโลว์ไม่ต้องรีบ โลว์แล้วอาจมีโลว์อีก ก็ทยอยซื้อไปเรื่อยๆ จนพอใจก็หยุดซื้อ ส่วนมากตอนนิวโลว์มีแต่ข่าวร้าย ถ้าข่าวร้ายหมด กำไรก็มาเอง
แต่ซื้อตอนประกาศกำไรออกมาดี แต่ราคากลับลง นี่ซิ สุดยอด บางคนว่าดีแล้ว แต่อยากให้ดีกว่านี้ เลยขายก็มี ทั้งๆที่ราคาก็ไม่ได้แพงกว่าความจริงเท่าไหร่ ก็มีเยอะ
แต่ให้ดีซื้อหุ้นที่มีน้อยๆ ถ้ากำไรออกมาดี ราคาไปไม่หยุดเพราะไม่มีใครยอมขายหุ้นออกมาเลย
รู้มั้ยทำไมgrammy ลงแรงกว่า gmmm
ทำไมเวลาขึ้น gmmm ขึ้นแรงกว่า grammy
พวกหุ้นหมุนเวียนเยอะๆ มันน่าเวียนหัวจริงๆๆ
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
** อ้าว หุ้นอากู๋หลุด 10 บาทแล้วหรือนี่ **
โพสต์ที่ 52
"แกรมมี่" ยักษ์ใหญ่บันเทิงวิกฤติ
เหตุ "อากู๋" ขยายธุรกิจที่ขาดความชำนาญส่งผลกระทบธุรกิจหลัก
ออกเป็นข่าวช็อควงการสื่อสารมวลชนพอควร ต่อกรณีแกรมมี่มีมติปิดคลื่นวิทยุ 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ของกองทัพบกในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 โดยทางผู้บริหารนำโดย นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริหาร บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกมาชี้แจงว่าธุรกิจส่วนใหญ่ของเครือแกรมมี่ยังมีกำไรและในสิ้นปีนี้รายได้จะไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ยกเว้นรายการวิทยุ "โอเพ่น เรดิโอ" คลื่น 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ที่ประสบปัญหาการขาดทุน และต้องยกเลิกรายการภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ทั้งนี้นโยบายของกลุ่มแกรมมี่ในขณะนี้หากพบว่าธุรกิจใดขาดทุนก็จะมีการตัดขาดทุนทันที เช่นการยกเลิกรายการวิทยุ
โดยการที่บริษัทจะยกเลิกรายการโอเพ่น เรดิโอภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้เนื่องจากในช่วง 4 - 5 เดือนที่ผ่านมาขาดทุนจากการเปิดสถานีดังกล่าว 20 - 30 ล้านบาทเพราะเปิดในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี แต่ก็จะมีการจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานตามความเหมาะสม
"เราดูแล้วเห็นว่า ตัวเลขขาดทุนน่ากลัว เพราะตั้งแต่เปิดโอเพ่น เรดิโอมา ขาดทุนไป 20 - 30 ล้านบาทก็น่าจะปิดดีกว่า" นายไพบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ทางจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ตัดสินใจยกเลิกสัญญาที่ทำไว้กับ RNT Television และจะคืนสัมปทานคลื่นความถี่ FM 88 MHz ซึ่งเป็นสถานีวิทยุสำหรับรถประจำทางหรือ Buzz FM ให้กับกรมประชาสัมพันธ์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2549หลังมีปัญหาติดตั้งอุปกรณ์และคลื่นความถี่ของสถานีติดขัด
ทั้งนี้เมื่อปี 2548 ที่ผ่านมาจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่มีกำไรสุทธิจำนวน 203.51 ล้านบาทและมีรายได้ 6.31 พันล้านบาท ส่วนการที่แกรมมี่มมีกำไรสุทธิไตรมาส 1 /49 จำนวน 5 แสนบาทนั้นนายไพบูลย์ชี้แจงว่าเป็นผลกระทบมาจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนกรณีที่ปล่อยกู้ให้กับบริษัทแกรมมี่เข้าไปลงทุนในไต้หวันแต่ถือเป็นผลกระทบที่เป็นตัวเลชทางบัญชีเท่านั้นเพราะหากค่าเงินบาทอ่อนตัวตัวเลขทางบัญชีดังกล่าวก็จะดีขึ้น
ในขณะที่บล.ไทยพาณิชย์ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า รายได้ในไตรมาส 1/49 ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บ่งชี้ว่าบริษัทสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับบมจ. อ.ส.ม.ท.(MCOT)
ทางด้านรายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดเผยว่า สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1 ประจำปี 2549 ณ สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2549 ของบมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นั้นบริษัทมีรายได้รวม จำนวน 1,438.6 ล้านบาท ซึ่งมากกว่ารายได้งวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13 คิดเป็นจำนวนเงิน 163.6 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมของไตรมาสเดียวกันของปี2549 ที่มีจำนวน 1,275.0 ล้านบาท ถึงแม้บริษัทจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเมืองตลอดระยะเวลาของไตรมาส 1 ปี 2549 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะให้ความสนใจทางด้านการเมืองมากขึ้น จึงมีผลทำให้มีการกระจายการรับข่าวสารข้อมูลจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์เพื่อการบันเทิงลดลงโดยให้ความสำคัญกับการรับข่าวสารข้อมูลทางการเมืองมากขึ้น
ดังนั้นบริษัทจึงปรับแผนการออกอัลบั้มเพลงใหม่ๆของบริษัทในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลุ่มบริษัทเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและเครือข่ายธุรกิจสื่อที่ครบวงจร ดังนั้นบริษัทจึงมุ่งพัฒนาบุคลากรของบริษัทและขยายการลงทุนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มบริษัทได้ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับช่องทางการขายผ่านระบบ Digital ขยายธุรกิจคาราโอเกะเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บลิขสิทธิ์ ขยายแนวเพลงในรูปแบบต่างๆ ให้หลากหลายมากขึ้น ขยายธุรกิจสื่อในด้านธุรกิจจัดกิจกรรมทางการตลาด และคลื่นวิทยุสถานีข่าว และลงทุนในสื่อหนังสือพิมพ์ ซึ่งการวางรากฐานดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มบริษัทในระยะยาว
อย่างไรก็ตามโดยสรุปกำไรของบริษัทและบริษัทย่อย สำหรับไตรมาส 1 สิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2549 มีจำนวน 0.5 ล้านบาท ลดลงจำนวน 44.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2548 ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 45.21 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดในแต่ละกลุ่มธุรกิจดังนี้
รายได้จากธุรกิจเพลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เป็นผลมาจากการเพิ่มรายได้จากยอดขายเพลงทั้งผ่านช่องทางปกติและผ่านธุรกิจ Digital รวมถึงการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงของกลุ่มบริษัทที่เพิ่มขึ้น ซึ่งธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง มีผลทำให้กำไรในไตรมาส 1 ปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนถึง 34.0 ล้านบาท นอกจากนั้นบริษัทยังมีการพัฒนาหน่วยงานบริหารศิลปิน โดยเป็นตัวแทนในการจัดหาศิลปินที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบการบริหารและจัดสรรงานให้กับศิลปินไทย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น และมีผลทำให้กำไรในหน่วยงานนี้เพิ่มขึ้นกว่ารอบระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน 10.8 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจที่มีรายได้ลดลงนั้นประกอบไปด้วย ธุรกิจภาพยนตร์ มีรายได้ลดลงเมื่อเทียบกับรอบระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน สืบเนื่องจากในไตรมาสที่1 ปี 2549 ไม่มีการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไปต่างประเทศ ในขณะที่ภาพยนตร์ใหม่ที่ออกฉายมีเพียง 1 เรื่องเช่นเดียวกับไตรมาส 1 ปี 2548 แต่มีอัตรากำไรที่ต่ำกว่ามีผลทำให้กำไรของธุรกิจภาพยนตร์ลดลงจากปีก่อน 30.5 ล้านบาท นอกจากนั้นผลตอบแทนจากธุรกิจสื่อลดลง อันเนื่องมาจากธุรกิจวิทยุมีรายได้ลดลง และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดตั้งคลื่นวิทยุสถานีข่าว ซึ่งเป็นคลื่นวิทยุใหม่ของกลุ่มบริษัท ถึงแม้ว่าบริษัทจะมีผลตอบแทนจากธุรกิจบริการจัดกิจกรรมทางการตลาดผ่านการลงทุนในกลุ่มบริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) ในอัตราร้อยละ 50 เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2548 เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จากการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจวิทยุ ทำให้บริษัทมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมากขึ้น มีผลทำให้ผลตอบแทนจากธุรกิจสื่อลดลง 30.5 ล้านบาท นอกจากนั้นบริษัทยังมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยในต่างประเทศจำนวน 20 ล้านบาท รวมทั้งยังมีมีดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้เพื่อการลงทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 16 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมานั้นบริษัทได้มีการอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการของบริษัท ประจำปี 2548 ในอัตรารวมหุ้นละ 0.35 บาท คิดเป็นจำนวนเงินรวม 171.5 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548 ในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 98 ล้านบาท ในขณะที่เงินปันผลที่จะจ่ายเพิ่มจากผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังของปี 2548 ในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท รวมเป็นเงิน 73.5 ล้านบาทนั้นกำหนดจ่ายวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลตามที่ปรากฏรายชื่อ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเป็นวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อสิทธิ์ในการรับเงินปันผล
นอกจากนั้นบมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ยังมีการลงทุนในบริษัท ลักษ์มิวสิค 999 จำกัด ในสัดส่วน 50% จากทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อขยายธุรกิจเพลง สำหรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นลักษ์มิวสิค 999 ประกอบไปด้วย บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ 50% นายเกียรติศักดิ์ อุดมนาค สัดส่วน 30% นายชัชวาล ปุกหุต สัดส่วน 20% และอื่นๆ 7%
อย่างไรก็ตามหากย้อนอดีตธุรกิจที่ผ่านมาของบริษัทฯจะเห็นได้ว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องมาตลอด มีทั้งที่ประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกันก็ล้มเหลวให้เห็นมาตลอด
"ฟอร์ มี" จุดเริ่มต้นเดินเกมพลาด
ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษในการปลุกปั้นอาณาจักรแกรมมี่ โดยมีจุดเริ่มจากธุรกิจเพลง กระทั่งแผ่กิ่งก้านสาขาเข้าครอบคลุมในธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์อย่างครบวงจรของ "อากู๋" ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม นั้น ต้องไม่ปฏิเสธว่าล้วนมาจากประสบการณ์และความเชี่ยวกรากในธุรกิจบันเทิงเมืองไทยชนิดหาตัวจับได้ยาก ตรงกันข้ามกับการแตกไลน์ธุรกิจใหม่ ที่ถึงแม้ อากู๋ เอง จะมองตลาดได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ตลอดจนมีความพร้อมทั้งในเรื่องเงินทุนและบุคลากรอยู่เป็นจำนวนมาก ทว่า สิ่งที่ต้องยอมรับอีกเช่นกันนั่นก็คือ การไม่มีประสบการณ์ตรงและรู้ไม่เท่าทันต่อกลเกมตลาดเฉพาะด้าน ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจในเนื้อแท้ของธุรกิจ สุดท้ายผลการดำเนินงานที่ออกมาจึงล้มหัวคะมำอย่างไม่เป็นท่า
การรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจบะหมี่สำเร็จรูปในปี 45 ที่มีมูลค่ารวมกว่าหมื่นล้านบาท ทั้งยังมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 10% ในแต่ละปี ที่สำคัญจำนวนผู้เล่นในตลาดมีไม่มาก เพราะมีเพียงแบรนด์มาม่า ไวไว และยำยำ สามยี่ห้อหลักเท่านั้นที่ขับเคี่ยวกันอยู่ ที่เหลือจะเป็นไม้ประดับอีกไม่เกิน 5 ยี่ห้อ องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนเป็นแรงดึงดูดให้ อากู๋ ตัดสินใจกระโดดเข้าร่วมวงไพบูลย์
ประการสำคัญการมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับ สหพัฒน์ กรุ๊ป กลุ่มธุรกิจที่นำพามาม่ายึดหัวหาดตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้มากกว่าครึ่ง ซึ่ง อากู๋ เคยเป็นศิษย์ก้นกุฏิของนายเทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้ง ทั้งยังประสานงานใกล้ชิดร่วมกันสมัยทำงานอยู่ที่บริษัท ฟาร์อีส แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด บริษัทเอเจนซี่อินเฮาส์ในเครือสหพัฒน์ ในช่วงเริ่มต้นชีวิตการทำงาน ซึ่งก็เข้าไปมีบทบาทในการปลุกปั้นแบรนด์มาม่า ให้เป็นที่รู้จักในยุคเริ่มแรก
จากปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการทุ่มเม็ดเงินจำนวน 200 ล้านบาท ในการจัดตั้งบริษัท 4 พีเพิล ฟูดส์ จำกัด นำเสนอบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์น้องใหม่ "ฟอร์ มี" พร้อมดึงผู้มีพระคุณกลุ่มสหพัฒน์เข้ามาร่วมถือหุ้นร้อยละ 40 ศิลปินในสังกัดร้อยละ 20 และที่เหลือเป็นสัดส่วนหุ้นของอากู๋
ขณะที่ แนวนโยบายในการแจ้งเกิด ฟอร์ มี นั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ การผลิตและจัดจำหน่าย จะเป็นความรับผิดชอบของสหพัฒน์ ส่วนแนวทางการสร้างแบรนด์ อากู๋ จะเป็นฝ่ายดูแล ในช่วงเวลานั้นจึงได้เห็นการนำเอาศิลปิน ดารา ในสังกัด โดยเฉพาะกลุ่มที่ร่วมลงขัน ไม่ว่าจะเป็น เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย, มอส ปฏิณาน, ไมค์ ภิรมย์พร หรือศิริพร อำไพพงษ์ มาร่วมสร้างสีสันในเอ็มวีโฆษณาทางโทรทัศน์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ "บะหมี่ของพวกเรา" ที่เน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ในทุกภูมิภาค
แต่แล้วการเสนอตัวเข้ามาเป็นทางเลือกใหม่ของ ฟอร์มี ก็มีอันต้องสิ้นสุดลง ภายในระยะเวลาราวครึ่งปีเท่านั้นหลังการเปิดตัว เนื่องเพราะข้อจำกัดในการมอบหมายให้สหพัฒนฯ เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ที่ไม่สามารถกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ จะเป็นเพราะโดยเจตนาหรือผลิตตามออเดอร์ไม่ทันการณ์ก็ตาม แต่คนพันธุ์บู๊สไตล์ อากู๋ ก็มองเห็นอนาคตแล้วว่า คงจะร่วงมากกว่ารอด จึงตัดสินใจขายหุ้นที่ถือครองอยู่พร้อมศิลปินรวม 60% ให้กับกลุ่มสหพัฒนฯทั้งหมด ปิดฉากเส้นทางของบะหมี่น้องใหม่ที่มีอายุการตลาดสั้นที่สุดในช่วงต้นปี 46 ลงอย่างถาวร
"ยู สตาร์ พลังดาราไร้แรงดึงดูด"
หลังจากอกหักในการปั้น ฟอร์ มี ได้ไม่นาน ระยะเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง แวดวงธุรกิจขายตรง ก็ต้องสั่นสะเทือน เมื่อ อากู๋ ควักเงินสด 400 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นทุนเปิดธุรกิจขายตรงชั้นเดียว (Single Level Marketing : SLM) ในชื่อ "U-Star" พร้อมกับลั่นวาจาว่าจะถล่มยักษ์ใหญ่อันดับ 2 คือ เอวอน ให้ได้ ก่อนจะเข้าชิงดำโค่นยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งคือ มิสทีน ที่อยู่วงการขายตรงชั้นเดียวมานาน ส่งผลให้นายดนัย ดีโรจน์วงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเบทเตอร์เวย์ ( ประเทศไทย ) จำกัด เจ้าของสโลแกน "มิสทีนมาแล้วคะ" ต้องลุกขึ้นมาต่อกรกับยู สตาร์อย่างรุนแรงและหนักหน่วง เพื่อสกัดความร้อนแรง
เพราะยู สตาร์ ประเดิมการเปิดธุรกิจขายตรงให้สาธารณชนรับรู้อย่างหวือหวา ด้วยการดึงเบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ , จินตรา พูนลาภ , นัท มีเรีย , แคททรียา อิงลิช มาพรีเซ็นเตอร์เปิดตัวผลิตภัณฑ์ พร้อมรีครูชสมาชิกมาจากหลายบริษัท ภายใต้โครงสร้างผลตอบแทนและอินเซนทีฟจูงใจในระดับสูง ขณะเดียวกันยังดึงนักการเมืองหญิงเก่ง "ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์" เข้ามานั่งแท่นบริหาร ถือเป็นอีกหนึ่งแม่เหล็กที่เสริมแรงดูดสมาชิกเข้าสังกัดให้ทรงพลังมากยิ่งขึ้น
แต่ ลดาวัลลิ์ ก็เข้ามาร่วมขบวนได้ไม่เท่าไรก็มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารคนใหม่มาเป็น " คุณธิติมา โอภาสวงศ์การ " ซึ่งเป็นบุคลกรที่คลุกคลีอยู่แต่ในวงการเอเจนซี่ ทั้งที่บริษัทลินตาส , ซาทชิแอนด์ซาทชิ มาก่อน เนื่องจากเป็นนโยบายของอากู๋ที่ต้องการดึงคนนอกที่ไม่ใช่วงการขายตรงมานั่งบริหาร ส่วนเหตุผลที่ลดาวัลลิ์ ต้องออกจากบริษัทไปก่อนเวลาอันควร เพราะต้องการลงไปเล่นการเมืองอีกครั้ง และ เมื่อเวลาผ่านไป 5-6 เดือน ธิติมา ก็ได้ยื่นใบลาออกจากยู สตาร์ ด้วยเหตุผลปัญหาด้านสุขภาพไม่เอื้ออำนวย สุดท้ายตำแหน่งผู้นำทัพ ก็ต้องตกไปเป็นของ "เซายู ดัลกริช" อดีตกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหไดเร็กชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ SDI บริษัทขายตรงในเครือสหพัฒน์
กระทั่งเมื่อปลายปี 48 ที่ผ่านมา เซายู ก็ยื่นใบลาออกจากยู สตาร์ แล้วบินออกไปนอกประเทศด้วยเหตุผลทำยอดขายให้ยู สตาร์ ได้ไม่ตรงตามเป้าที่วางไว้ รวมทั้งปัญหาภายในองค์กรหลาย ๆ อย่าง สุดท้ายก็เหลือแต่ "ภัทรา ทรัพยะประภา" ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ขึ้นมารับผิดชอบงานแทน และ ล่าสุดก็ได้ลาออกไปเนื่องจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ส่งผลให้อากู๋ ต้องลงมากำกับดูแลแทน เพราะยังหาบุคลกรมารับผิดชอบนั่งเป็นเอ็มดีไม่ได้
อย่างไรก็ดี กระแสความแรงของยู สตาร์ เริ่มแผ่วลง ตั้งแต่ช่วงที่คุณลดาวัลลิ์ ได้ลาออก จากนั้นก็ เงียบหายเข้าไปในกลีบเมฆไม่แรงเหมือนช่วงแรก ที่มีการประกาศตัวว่าจะโค่นยักษ์ใหญ่ขายตรงอันดับ 2 เหตุที่เป็นเช่นนั้นส่วนหนึ่งมาจากปัญหาภายในองค์กรซึ่งมีความไม่ลงตัวทั้งตัวแม่ทีมและตัวผู้บริหาร
ไปไม่ถึงฝั่งฝัน "ผู้ทรงอิทธิพลสื่อ"
เส้นทางการขับเคลื่อนธุรกิจในช่วงหลัง โดยเฉพาะ 1-2 ปีมานี้ ดูเหมือน อากู๋ จะยิ่งสับสนกับบทบาทระหว่างความเป็นนักธุรกิจและในฐานะนายทุนอยู่ไม่น้อย ยิ่งกับการอิงแอบไปกับการเมืองพรรคไทยรักไทย ที่ว่ากันว่าความสัมพันธ์ระหว่างอากู๋กับรักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร สนิทแนบแน่นในระดับมองตารู้ใจ จะให้สนับสนุนอุ้มชูหรือนำตัวเองเป็นบันไดพาดให้รักษาการนายกฯลง เมื่อคราวพลั้งพลาดได้อยู่บ่อยครั้ง
อย่างน้อยก็สองหนในรอบปีที่แล้วที่ อากู๋ ตกเป็นที่วิพากษ์ของสังคมทั้งๆที่ไม่น่าจะมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่แรก กรณีกระแสข่าวการซื้อสโมสร "ลิเวอร์พูล" สโมสรชั้นแนวหน้าของโลก ที่รักษาการนายกฯเอ่ยปากต้องการควักเงินส่วนตัวนับพันล้านเข้าไปถือหุ้นใหญ่ เพื่อหวังจะให้เป็นเรื่องทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ กลบมรสุมการเมืองที่ตัวเองถูกเล่นงานอยู่หลายเรื่อง เมื่อชนวนติดชนิดบานปลาย จนกลายเป็นเรื่องระดับชาติ โยนกลองไปถึงขั้นจะให้สมาคมฟุตบอลเข้ามามีเอี่ยว สุดท้าย อากู๋ ก็ทะลุกลางปล้องอาสาเข้ามารับเรื่องศึกษาถึงความเป็นไปได้ สุดท้ายก็กลายเป็นเรื่องโอละพ่อ
ฮือฮาไม่แพ้กัน ที่แกรมมี่ กรุ๊ป ของอากู๋ ขันอาสาเข้ารับงานด้วยความเต็มใจ กับการเปลี่ยนทำนองเพลงชาติไทย ที่คุ้นหูกันมานานหลายชั่วคน ให้เป็นทำนองใหม่ที่ทีมงานสร้างสรรค์ในเครือได้จัดทำขึ้นใหม่ถึง 6 เวอร์ชั่น โดยมีนักร้องคู่บุญ ธงไชย เมคอินไตย เป็นผู้ขับขาน ซึ่งก็เป็นไปตามคาดที่แกรมมี่ ได้รับก้อนอิฐมากกว่าดอกไม้ เนื่องเพราะอารมณ์ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในสังคม ย่อมรับไม่ได้ต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เข้าท่า แม้อากู๋จะออกโรงว่าเป็นเรื่องของแกรมมี่กับทางกองทัพบก แต่ก็ต้องไม่ปฏิเสธว่าได้รับไฟเขียวจากคนโตในรัฐบาลเช่นเดียวกัน และแน่นอนว่างานนี้ตัวอากู๋เองก็เสียรังวัดไปไม่น้อย
การเป็นคนคิดใหญ่และกล้าได้กล้าเสียของ อากู๋ ยังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ ยังเถลิดไปไกลถึงขั้น จะยกระดับองค์กรให้เป็นผู้ทรงอิทธิพลในวงการสื่ออย่างแท้จริง หลังจากเครือข่ายธุรกิจที่มีอยู่ยังพร่องไปแต่เพียงธุรกิจหนังสือพิมพ์ เท่านั้น ด้วยความมั่นใจในขีดความสามารถของตัวเองเต็มเปี่ยม ทั้งยังเป็นความใฝ่ฝันดั้งเดิม เพราะศึกษาจบคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการหนังสือพิมพ์ จากรั้วจามจุรี ฉะนั้นแล้วจึงเชื่อมั่นว่าในชีวิตนี้ต้องประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์อย่างจริงจัง จะด้วยแนวทางการร่วมทุนหรือเปิดหัวหนังสือพิมพ์ใหม่ก็ตามที
ก้าวแรกในการรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจที่ว่า คือ การเข้าไปถือหุ้นในกลุ่มโพสต์ พลับลิสซิ่ง ที่มีหนังสือพิมพ์อยู่ 2 หัว คือ บางกอกโพสต์และโพสต์ทูเดย์ ในสัดส่วนกว่า 20% จากนั้นก็ดอดเข้าซื้อหุ้นแบบไม่เป็นมิตรของกลุ่ม "มติชน" ซึ่งมีหนังสือพิมพ์ในเครือมากถึง 4 หัว คือ มติชนรายวัน, มติชนรายสัปดาห์, ข่าวสด และประชาชาติธุรกิจ ในสัดส่วนราว 32% ซึ่งจะเท่ากับการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ อากู๋ จะถูกตั้งแง่จากหลายฝ่ายว่าวิธีการปฏิบัติในลักษณะนี้เข้าข่าย เป็นการ "ฮุบกิจการสื่อ" ที่ถูกจัดเป็นองค์กรสื่อคุณภาพแห่งหนึ่งของไทย จึงเกิดแรงต้านจากหลายฝ่ายในสังคม สภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นักวิชาการ และคนชั้นกลาง ออกโรงประณามดีลดังกล่าวอย่างไม่มีชิ้นดี สุดท้าย อากู๋ จำต้องถอยเพราะทนแรงกดดันไม่ไหว ด้วยการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นเหลือเพียง 20% พร้อมกับขายหุ้นอีก 12% กลับคืนไปให้กับกลุ่มผู้บริหารมติชนให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 36%
เมื่อการสานฝันเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในยุทธจักรสื่อหนังสือพิมพ์ไม่สมบูรณ์ การเลี่ยงมารุกในสื่อวิทยุ ซึ่งเป็นช่องทางถนัดก็เป็นทางเลือกในอันดับต่อมา โดยได้เทเงินลงทุนเพิ่มอีก 150 ล้านบาท หันมาปั้นสถานีข่าว "Open Radio" คลื่น 94.0 ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.เป็นต้นมา เนื่องเพราะเล็งเห็นถึงแนวโน้มของคลื่นข่าวที่กำลังมาแรง ประกอบกับการได้ พิรุณ ฉัตรวินิจกุล เพื่อนรักสมัยเรียนอยู่จุฬาลงกรณ์ฯ เข้ามาเป็นแนวร่วม หลังจากที่ พิรุณ ได้ฟอร์มทีมงาน คนข่าวมืออาชีพ ได้อย่างพร้อมสรรพ ภายใต้การเปิดบริษัท ไทยเที่ยงธรรม จำกัด จัดตั้งสถานี ไทยไทม์นิวส์ คอยท่ารองรับไว้ก่อนหน้า พร้อมประกาศจุดยืนในการทำงานว่าจะปลุกปั้นสถานีให้เป็น รอยเตอร์ เมืองไทยในอนาคตอันใกล้
และทันทีที่ โอเพ่น เรดิโอ เริ่มออกอากาศตั้งแต่ต้นปีเรื่อยมา ก็เพิ่มสีสันให้คลื่นข่าวคึกคักขึ้นทันตาเห็น ด้วยแนวนโยบายการรายงานข่าวแบบวิเคราะห์เจาะลึก วิพากษ์วิจารณ์ตรงไปตรงมา พร้อมจัดวางทัพนักข่าวภาคสนามครอบคลุมในทุกพื้นที่ทั่วไทย เรียกได้ว่า 94.0 เป็นคลื่นข่าวดาวรุ่งที่มาแรง ชนิดที่คอการเมืองต้องปรับล็อคคลื่นติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์การแบ่งขั้วการเมืองออกเป็น 2 ฝ่ายเดือนก.พ.-มี.ค.ที่ผ่านมา ที่ โอเพ่น เรดิโอ ได้รายงานและเกาะติดสถานการณ์ กระทั่งสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลอยู่บ่อยครั้ง
การโต้ตอบของอำนาจรัฐที่ขึ้นชื่อในเรื่องการแทรกแซงสื่อต่อสถานีแห่งนี้มีมาโดยตลอดเช่นกัน ทั้งการสั่งปลดผู้ดำเนินรายการนักข่าวอาวุโส ยุวดี ธัญญศิริ หรือการดูดเสียงของวิทยากรร่วมรายการ และล่าสุดคือการมีคำสั่งจากคนโตพรรคไทยรักไทย ที่สนิทกับอากู๋ให้เลิกทำคลื่นข่าว ซึ่งเป็นหอกข้างแคร่รัฐบาลลงเสีย และการปฏิบัติก็เป็นไปตามคำร้องขอในทันที เมื่อคลื่น 94.0 จะเปลี่ยนจากการเป็นสถานีข่าว ไปเป็นคลื่นบันเทิง เช่นเดียวกับอีก 4 คลื่นในมือของแกรมมี่ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ศกนี้เป็นต้นไป
"ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่ทำรายการ "โอเพ่น เรดิโอ" ในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.เราไม่สามารถขายพื้นที่โฆษณาได้เลย ส่วนในช่วงหลังเราสามารถขายพื้นที่โฆษณาได้เพียง 10-20% เท่านั้น รวมถึงการโดนตัดงบโฆษณาด้วย และการลงทุนในการผลิตรายการก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากการผลิตรายการข่าวจะมีการลงทุนที่สูงกว่าการผลิตรายการบันเทิงมาก ไม่ว่าจะเป็นการเช่าพื้นที่ การจ้างบุคคลากร หรือเครื่องมือต่าง ๆ ส่วนเรื่องของสำนักข่าวไทยไทม์ที่ปิดตัวลงนั้น สาเหตุมาจากพิษเศรษฐกิจจริง ๆไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงอย่างที่เป็นข่าว และการปิดลงลงก็ถือเป็นเรื่องสมเหตุสมผล เพราะเราไม่มีความถนัดในการผลิตรายการประเภทนี้ เพราะที่ผ่านมาก็ผลิตแต่รายการบันเทิง" นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา กล่าว
นายพิรุณ ฉัตรวนิชกุล ผู้อำนวยการสำนักข่าวไทยไทม์ และโปรแกรมไดเร็กเตอร์ รายการโอเพ่น เรดิโอ กล่าวว่า ได้เข้ามาทำงานร่วมกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด ซึ่งทางไทยไทม์ได้บริหารในส่วนของเนื้อหา ซึ่งก็ตรงตามอุดมคติและความคิดอย่างที่ต้องการ เหตุนี้จึงได้มีการทำอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการจ้างบุคลากรที่มีประสบการณ์และความสามารถ ร่วมถึงผู้สื่อข่าวภาคสนาม เพื่อให้ข่าวที่ออกมานั้นมีคุณภาพ เพราะไม่ต้องการให้ข่าวในคลื่น 94 เป็นเพียงรายการข่าวที่เป็นการเล่าข่าวที่เอามาจากทางอินเตอร์เน็ตหรือหนังสือพิมพ์เพียงอย่างเดียว "ที่มีข่าวลงว่ารายการ โอเพ่น เรดิโอ มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรงนั้น ที่จริงไม่ใช่ เพราะหลักการทำงานของบริษัท คือ การนำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา อย่างกรณีที่ฝ่ายค้านมีข่าวแถลงหรือทางฝ่ายรัฐบาลจะมีการแถลง เราก็มีการนำเสนอกันอย่างเต็มที่ หรือการที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีปัญหาขัดแย้งกัน เราก็มีการเปิดให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาทำการชี้แจง ซึ่งถ้าเป็นการโดนปิด เพราะเกิดจากการวิพากษ์วิจารณ์ รัฐบาลนั้นไม่ใช่ แต่ที่ปิดเพราะเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจจริงๆ"
http://www.siamturakij.com/book/index.p ... ew&id=5701
เหตุ "อากู๋" ขยายธุรกิจที่ขาดความชำนาญส่งผลกระทบธุรกิจหลัก
ออกเป็นข่าวช็อควงการสื่อสารมวลชนพอควร ต่อกรณีแกรมมี่มีมติปิดคลื่นวิทยุ 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ของกองทัพบกในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 โดยทางผู้บริหารนำโดย นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริหาร บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกมาชี้แจงว่าธุรกิจส่วนใหญ่ของเครือแกรมมี่ยังมีกำไรและในสิ้นปีนี้รายได้จะไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ยกเว้นรายการวิทยุ "โอเพ่น เรดิโอ" คลื่น 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ที่ประสบปัญหาการขาดทุน และต้องยกเลิกรายการภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ทั้งนี้นโยบายของกลุ่มแกรมมี่ในขณะนี้หากพบว่าธุรกิจใดขาดทุนก็จะมีการตัดขาดทุนทันที เช่นการยกเลิกรายการวิทยุ
โดยการที่บริษัทจะยกเลิกรายการโอเพ่น เรดิโอภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้เนื่องจากในช่วง 4 - 5 เดือนที่ผ่านมาขาดทุนจากการเปิดสถานีดังกล่าว 20 - 30 ล้านบาทเพราะเปิดในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี แต่ก็จะมีการจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานตามความเหมาะสม
"เราดูแล้วเห็นว่า ตัวเลขขาดทุนน่ากลัว เพราะตั้งแต่เปิดโอเพ่น เรดิโอมา ขาดทุนไป 20 - 30 ล้านบาทก็น่าจะปิดดีกว่า" นายไพบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ทางจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ตัดสินใจยกเลิกสัญญาที่ทำไว้กับ RNT Television และจะคืนสัมปทานคลื่นความถี่ FM 88 MHz ซึ่งเป็นสถานีวิทยุสำหรับรถประจำทางหรือ Buzz FM ให้กับกรมประชาสัมพันธ์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2549หลังมีปัญหาติดตั้งอุปกรณ์และคลื่นความถี่ของสถานีติดขัด
ทั้งนี้เมื่อปี 2548 ที่ผ่านมาจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่มีกำไรสุทธิจำนวน 203.51 ล้านบาทและมีรายได้ 6.31 พันล้านบาท ส่วนการที่แกรมมี่มมีกำไรสุทธิไตรมาส 1 /49 จำนวน 5 แสนบาทนั้นนายไพบูลย์ชี้แจงว่าเป็นผลกระทบมาจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนกรณีที่ปล่อยกู้ให้กับบริษัทแกรมมี่เข้าไปลงทุนในไต้หวันแต่ถือเป็นผลกระทบที่เป็นตัวเลชทางบัญชีเท่านั้นเพราะหากค่าเงินบาทอ่อนตัวตัวเลขทางบัญชีดังกล่าวก็จะดีขึ้น
ในขณะที่บล.ไทยพาณิชย์ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า รายได้ในไตรมาส 1/49 ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บ่งชี้ว่าบริษัทสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับบมจ. อ.ส.ม.ท.(MCOT)
ทางด้านรายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดเผยว่า สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1 ประจำปี 2549 ณ สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2549 ของบมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นั้นบริษัทมีรายได้รวม จำนวน 1,438.6 ล้านบาท ซึ่งมากกว่ารายได้งวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13 คิดเป็นจำนวนเงิน 163.6 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมของไตรมาสเดียวกันของปี2549 ที่มีจำนวน 1,275.0 ล้านบาท ถึงแม้บริษัทจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเมืองตลอดระยะเวลาของไตรมาส 1 ปี 2549 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะให้ความสนใจทางด้านการเมืองมากขึ้น จึงมีผลทำให้มีการกระจายการรับข่าวสารข้อมูลจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์เพื่อการบันเทิงลดลงโดยให้ความสำคัญกับการรับข่าวสารข้อมูลทางการเมืองมากขึ้น
ดังนั้นบริษัทจึงปรับแผนการออกอัลบั้มเพลงใหม่ๆของบริษัทในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลุ่มบริษัทเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและเครือข่ายธุรกิจสื่อที่ครบวงจร ดังนั้นบริษัทจึงมุ่งพัฒนาบุคลากรของบริษัทและขยายการลงทุนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มบริษัทได้ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับช่องทางการขายผ่านระบบ Digital ขยายธุรกิจคาราโอเกะเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บลิขสิทธิ์ ขยายแนวเพลงในรูปแบบต่างๆ ให้หลากหลายมากขึ้น ขยายธุรกิจสื่อในด้านธุรกิจจัดกิจกรรมทางการตลาด และคลื่นวิทยุสถานีข่าว และลงทุนในสื่อหนังสือพิมพ์ ซึ่งการวางรากฐานดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มบริษัทในระยะยาว
อย่างไรก็ตามโดยสรุปกำไรของบริษัทและบริษัทย่อย สำหรับไตรมาส 1 สิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2549 มีจำนวน 0.5 ล้านบาท ลดลงจำนวน 44.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2548 ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 45.21 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดในแต่ละกลุ่มธุรกิจดังนี้
รายได้จากธุรกิจเพลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เป็นผลมาจากการเพิ่มรายได้จากยอดขายเพลงทั้งผ่านช่องทางปกติและผ่านธุรกิจ Digital รวมถึงการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงของกลุ่มบริษัทที่เพิ่มขึ้น ซึ่งธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง มีผลทำให้กำไรในไตรมาส 1 ปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนถึง 34.0 ล้านบาท นอกจากนั้นบริษัทยังมีการพัฒนาหน่วยงานบริหารศิลปิน โดยเป็นตัวแทนในการจัดหาศิลปินที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบการบริหารและจัดสรรงานให้กับศิลปินไทย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น และมีผลทำให้กำไรในหน่วยงานนี้เพิ่มขึ้นกว่ารอบระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน 10.8 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจที่มีรายได้ลดลงนั้นประกอบไปด้วย ธุรกิจภาพยนตร์ มีรายได้ลดลงเมื่อเทียบกับรอบระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน สืบเนื่องจากในไตรมาสที่1 ปี 2549 ไม่มีการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไปต่างประเทศ ในขณะที่ภาพยนตร์ใหม่ที่ออกฉายมีเพียง 1 เรื่องเช่นเดียวกับไตรมาส 1 ปี 2548 แต่มีอัตรากำไรที่ต่ำกว่ามีผลทำให้กำไรของธุรกิจภาพยนตร์ลดลงจากปีก่อน 30.5 ล้านบาท นอกจากนั้นผลตอบแทนจากธุรกิจสื่อลดลง อันเนื่องมาจากธุรกิจวิทยุมีรายได้ลดลง และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดตั้งคลื่นวิทยุสถานีข่าว ซึ่งเป็นคลื่นวิทยุใหม่ของกลุ่มบริษัท ถึงแม้ว่าบริษัทจะมีผลตอบแทนจากธุรกิจบริการจัดกิจกรรมทางการตลาดผ่านการลงทุนในกลุ่มบริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) ในอัตราร้อยละ 50 เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2548 เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จากการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจวิทยุ ทำให้บริษัทมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมากขึ้น มีผลทำให้ผลตอบแทนจากธุรกิจสื่อลดลง 30.5 ล้านบาท นอกจากนั้นบริษัทยังมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยในต่างประเทศจำนวน 20 ล้านบาท รวมทั้งยังมีมีดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้เพื่อการลงทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 16 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมานั้นบริษัทได้มีการอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการของบริษัท ประจำปี 2548 ในอัตรารวมหุ้นละ 0.35 บาท คิดเป็นจำนวนเงินรวม 171.5 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548 ในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 98 ล้านบาท ในขณะที่เงินปันผลที่จะจ่ายเพิ่มจากผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังของปี 2548 ในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท รวมเป็นเงิน 73.5 ล้านบาทนั้นกำหนดจ่ายวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลตามที่ปรากฏรายชื่อ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเป็นวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อสิทธิ์ในการรับเงินปันผล
นอกจากนั้นบมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ยังมีการลงทุนในบริษัท ลักษ์มิวสิค 999 จำกัด ในสัดส่วน 50% จากทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อขยายธุรกิจเพลง สำหรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นลักษ์มิวสิค 999 ประกอบไปด้วย บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ 50% นายเกียรติศักดิ์ อุดมนาค สัดส่วน 30% นายชัชวาล ปุกหุต สัดส่วน 20% และอื่นๆ 7%
อย่างไรก็ตามหากย้อนอดีตธุรกิจที่ผ่านมาของบริษัทฯจะเห็นได้ว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องมาตลอด มีทั้งที่ประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกันก็ล้มเหลวให้เห็นมาตลอด
"ฟอร์ มี" จุดเริ่มต้นเดินเกมพลาด
ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษในการปลุกปั้นอาณาจักรแกรมมี่ โดยมีจุดเริ่มจากธุรกิจเพลง กระทั่งแผ่กิ่งก้านสาขาเข้าครอบคลุมในธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์อย่างครบวงจรของ "อากู๋" ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม นั้น ต้องไม่ปฏิเสธว่าล้วนมาจากประสบการณ์และความเชี่ยวกรากในธุรกิจบันเทิงเมืองไทยชนิดหาตัวจับได้ยาก ตรงกันข้ามกับการแตกไลน์ธุรกิจใหม่ ที่ถึงแม้ อากู๋ เอง จะมองตลาดได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ตลอดจนมีความพร้อมทั้งในเรื่องเงินทุนและบุคลากรอยู่เป็นจำนวนมาก ทว่า สิ่งที่ต้องยอมรับอีกเช่นกันนั่นก็คือ การไม่มีประสบการณ์ตรงและรู้ไม่เท่าทันต่อกลเกมตลาดเฉพาะด้าน ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจในเนื้อแท้ของธุรกิจ สุดท้ายผลการดำเนินงานที่ออกมาจึงล้มหัวคะมำอย่างไม่เป็นท่า
การรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจบะหมี่สำเร็จรูปในปี 45 ที่มีมูลค่ารวมกว่าหมื่นล้านบาท ทั้งยังมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 10% ในแต่ละปี ที่สำคัญจำนวนผู้เล่นในตลาดมีไม่มาก เพราะมีเพียงแบรนด์มาม่า ไวไว และยำยำ สามยี่ห้อหลักเท่านั้นที่ขับเคี่ยวกันอยู่ ที่เหลือจะเป็นไม้ประดับอีกไม่เกิน 5 ยี่ห้อ องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนเป็นแรงดึงดูดให้ อากู๋ ตัดสินใจกระโดดเข้าร่วมวงไพบูลย์
ประการสำคัญการมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับ สหพัฒน์ กรุ๊ป กลุ่มธุรกิจที่นำพามาม่ายึดหัวหาดตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้มากกว่าครึ่ง ซึ่ง อากู๋ เคยเป็นศิษย์ก้นกุฏิของนายเทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้ง ทั้งยังประสานงานใกล้ชิดร่วมกันสมัยทำงานอยู่ที่บริษัท ฟาร์อีส แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด บริษัทเอเจนซี่อินเฮาส์ในเครือสหพัฒน์ ในช่วงเริ่มต้นชีวิตการทำงาน ซึ่งก็เข้าไปมีบทบาทในการปลุกปั้นแบรนด์มาม่า ให้เป็นที่รู้จักในยุคเริ่มแรก
จากปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการทุ่มเม็ดเงินจำนวน 200 ล้านบาท ในการจัดตั้งบริษัท 4 พีเพิล ฟูดส์ จำกัด นำเสนอบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์น้องใหม่ "ฟอร์ มี" พร้อมดึงผู้มีพระคุณกลุ่มสหพัฒน์เข้ามาร่วมถือหุ้นร้อยละ 40 ศิลปินในสังกัดร้อยละ 20 และที่เหลือเป็นสัดส่วนหุ้นของอากู๋
ขณะที่ แนวนโยบายในการแจ้งเกิด ฟอร์ มี นั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ การผลิตและจัดจำหน่าย จะเป็นความรับผิดชอบของสหพัฒน์ ส่วนแนวทางการสร้างแบรนด์ อากู๋ จะเป็นฝ่ายดูแล ในช่วงเวลานั้นจึงได้เห็นการนำเอาศิลปิน ดารา ในสังกัด โดยเฉพาะกลุ่มที่ร่วมลงขัน ไม่ว่าจะเป็น เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย, มอส ปฏิณาน, ไมค์ ภิรมย์พร หรือศิริพร อำไพพงษ์ มาร่วมสร้างสีสันในเอ็มวีโฆษณาทางโทรทัศน์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ "บะหมี่ของพวกเรา" ที่เน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ในทุกภูมิภาค
แต่แล้วการเสนอตัวเข้ามาเป็นทางเลือกใหม่ของ ฟอร์มี ก็มีอันต้องสิ้นสุดลง ภายในระยะเวลาราวครึ่งปีเท่านั้นหลังการเปิดตัว เนื่องเพราะข้อจำกัดในการมอบหมายให้สหพัฒนฯ เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ที่ไม่สามารถกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ จะเป็นเพราะโดยเจตนาหรือผลิตตามออเดอร์ไม่ทันการณ์ก็ตาม แต่คนพันธุ์บู๊สไตล์ อากู๋ ก็มองเห็นอนาคตแล้วว่า คงจะร่วงมากกว่ารอด จึงตัดสินใจขายหุ้นที่ถือครองอยู่พร้อมศิลปินรวม 60% ให้กับกลุ่มสหพัฒนฯทั้งหมด ปิดฉากเส้นทางของบะหมี่น้องใหม่ที่มีอายุการตลาดสั้นที่สุดในช่วงต้นปี 46 ลงอย่างถาวร
"ยู สตาร์ พลังดาราไร้แรงดึงดูด"
หลังจากอกหักในการปั้น ฟอร์ มี ได้ไม่นาน ระยะเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง แวดวงธุรกิจขายตรง ก็ต้องสั่นสะเทือน เมื่อ อากู๋ ควักเงินสด 400 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นทุนเปิดธุรกิจขายตรงชั้นเดียว (Single Level Marketing : SLM) ในชื่อ "U-Star" พร้อมกับลั่นวาจาว่าจะถล่มยักษ์ใหญ่อันดับ 2 คือ เอวอน ให้ได้ ก่อนจะเข้าชิงดำโค่นยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งคือ มิสทีน ที่อยู่วงการขายตรงชั้นเดียวมานาน ส่งผลให้นายดนัย ดีโรจน์วงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเบทเตอร์เวย์ ( ประเทศไทย ) จำกัด เจ้าของสโลแกน "มิสทีนมาแล้วคะ" ต้องลุกขึ้นมาต่อกรกับยู สตาร์อย่างรุนแรงและหนักหน่วง เพื่อสกัดความร้อนแรง
เพราะยู สตาร์ ประเดิมการเปิดธุรกิจขายตรงให้สาธารณชนรับรู้อย่างหวือหวา ด้วยการดึงเบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ , จินตรา พูนลาภ , นัท มีเรีย , แคททรียา อิงลิช มาพรีเซ็นเตอร์เปิดตัวผลิตภัณฑ์ พร้อมรีครูชสมาชิกมาจากหลายบริษัท ภายใต้โครงสร้างผลตอบแทนและอินเซนทีฟจูงใจในระดับสูง ขณะเดียวกันยังดึงนักการเมืองหญิงเก่ง "ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์" เข้ามานั่งแท่นบริหาร ถือเป็นอีกหนึ่งแม่เหล็กที่เสริมแรงดูดสมาชิกเข้าสังกัดให้ทรงพลังมากยิ่งขึ้น
แต่ ลดาวัลลิ์ ก็เข้ามาร่วมขบวนได้ไม่เท่าไรก็มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารคนใหม่มาเป็น " คุณธิติมา โอภาสวงศ์การ " ซึ่งเป็นบุคลกรที่คลุกคลีอยู่แต่ในวงการเอเจนซี่ ทั้งที่บริษัทลินตาส , ซาทชิแอนด์ซาทชิ มาก่อน เนื่องจากเป็นนโยบายของอากู๋ที่ต้องการดึงคนนอกที่ไม่ใช่วงการขายตรงมานั่งบริหาร ส่วนเหตุผลที่ลดาวัลลิ์ ต้องออกจากบริษัทไปก่อนเวลาอันควร เพราะต้องการลงไปเล่นการเมืองอีกครั้ง และ เมื่อเวลาผ่านไป 5-6 เดือน ธิติมา ก็ได้ยื่นใบลาออกจากยู สตาร์ ด้วยเหตุผลปัญหาด้านสุขภาพไม่เอื้ออำนวย สุดท้ายตำแหน่งผู้นำทัพ ก็ต้องตกไปเป็นของ "เซายู ดัลกริช" อดีตกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหไดเร็กชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ SDI บริษัทขายตรงในเครือสหพัฒน์
กระทั่งเมื่อปลายปี 48 ที่ผ่านมา เซายู ก็ยื่นใบลาออกจากยู สตาร์ แล้วบินออกไปนอกประเทศด้วยเหตุผลทำยอดขายให้ยู สตาร์ ได้ไม่ตรงตามเป้าที่วางไว้ รวมทั้งปัญหาภายในองค์กรหลาย ๆ อย่าง สุดท้ายก็เหลือแต่ "ภัทรา ทรัพยะประภา" ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ขึ้นมารับผิดชอบงานแทน และ ล่าสุดก็ได้ลาออกไปเนื่องจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ส่งผลให้อากู๋ ต้องลงมากำกับดูแลแทน เพราะยังหาบุคลกรมารับผิดชอบนั่งเป็นเอ็มดีไม่ได้
อย่างไรก็ดี กระแสความแรงของยู สตาร์ เริ่มแผ่วลง ตั้งแต่ช่วงที่คุณลดาวัลลิ์ ได้ลาออก จากนั้นก็ เงียบหายเข้าไปในกลีบเมฆไม่แรงเหมือนช่วงแรก ที่มีการประกาศตัวว่าจะโค่นยักษ์ใหญ่ขายตรงอันดับ 2 เหตุที่เป็นเช่นนั้นส่วนหนึ่งมาจากปัญหาภายในองค์กรซึ่งมีความไม่ลงตัวทั้งตัวแม่ทีมและตัวผู้บริหาร
ไปไม่ถึงฝั่งฝัน "ผู้ทรงอิทธิพลสื่อ"
เส้นทางการขับเคลื่อนธุรกิจในช่วงหลัง โดยเฉพาะ 1-2 ปีมานี้ ดูเหมือน อากู๋ จะยิ่งสับสนกับบทบาทระหว่างความเป็นนักธุรกิจและในฐานะนายทุนอยู่ไม่น้อย ยิ่งกับการอิงแอบไปกับการเมืองพรรคไทยรักไทย ที่ว่ากันว่าความสัมพันธ์ระหว่างอากู๋กับรักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร สนิทแนบแน่นในระดับมองตารู้ใจ จะให้สนับสนุนอุ้มชูหรือนำตัวเองเป็นบันไดพาดให้รักษาการนายกฯลง เมื่อคราวพลั้งพลาดได้อยู่บ่อยครั้ง
อย่างน้อยก็สองหนในรอบปีที่แล้วที่ อากู๋ ตกเป็นที่วิพากษ์ของสังคมทั้งๆที่ไม่น่าจะมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่แรก กรณีกระแสข่าวการซื้อสโมสร "ลิเวอร์พูล" สโมสรชั้นแนวหน้าของโลก ที่รักษาการนายกฯเอ่ยปากต้องการควักเงินส่วนตัวนับพันล้านเข้าไปถือหุ้นใหญ่ เพื่อหวังจะให้เป็นเรื่องทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ กลบมรสุมการเมืองที่ตัวเองถูกเล่นงานอยู่หลายเรื่อง เมื่อชนวนติดชนิดบานปลาย จนกลายเป็นเรื่องระดับชาติ โยนกลองไปถึงขั้นจะให้สมาคมฟุตบอลเข้ามามีเอี่ยว สุดท้าย อากู๋ ก็ทะลุกลางปล้องอาสาเข้ามารับเรื่องศึกษาถึงความเป็นไปได้ สุดท้ายก็กลายเป็นเรื่องโอละพ่อ
ฮือฮาไม่แพ้กัน ที่แกรมมี่ กรุ๊ป ของอากู๋ ขันอาสาเข้ารับงานด้วยความเต็มใจ กับการเปลี่ยนทำนองเพลงชาติไทย ที่คุ้นหูกันมานานหลายชั่วคน ให้เป็นทำนองใหม่ที่ทีมงานสร้างสรรค์ในเครือได้จัดทำขึ้นใหม่ถึง 6 เวอร์ชั่น โดยมีนักร้องคู่บุญ ธงไชย เมคอินไตย เป็นผู้ขับขาน ซึ่งก็เป็นไปตามคาดที่แกรมมี่ ได้รับก้อนอิฐมากกว่าดอกไม้ เนื่องเพราะอารมณ์ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในสังคม ย่อมรับไม่ได้ต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เข้าท่า แม้อากู๋จะออกโรงว่าเป็นเรื่องของแกรมมี่กับทางกองทัพบก แต่ก็ต้องไม่ปฏิเสธว่าได้รับไฟเขียวจากคนโตในรัฐบาลเช่นเดียวกัน และแน่นอนว่างานนี้ตัวอากู๋เองก็เสียรังวัดไปไม่น้อย
การเป็นคนคิดใหญ่และกล้าได้กล้าเสียของ อากู๋ ยังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ ยังเถลิดไปไกลถึงขั้น จะยกระดับองค์กรให้เป็นผู้ทรงอิทธิพลในวงการสื่ออย่างแท้จริง หลังจากเครือข่ายธุรกิจที่มีอยู่ยังพร่องไปแต่เพียงธุรกิจหนังสือพิมพ์ เท่านั้น ด้วยความมั่นใจในขีดความสามารถของตัวเองเต็มเปี่ยม ทั้งยังเป็นความใฝ่ฝันดั้งเดิม เพราะศึกษาจบคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการหนังสือพิมพ์ จากรั้วจามจุรี ฉะนั้นแล้วจึงเชื่อมั่นว่าในชีวิตนี้ต้องประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์อย่างจริงจัง จะด้วยแนวทางการร่วมทุนหรือเปิดหัวหนังสือพิมพ์ใหม่ก็ตามที
ก้าวแรกในการรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจที่ว่า คือ การเข้าไปถือหุ้นในกลุ่มโพสต์ พลับลิสซิ่ง ที่มีหนังสือพิมพ์อยู่ 2 หัว คือ บางกอกโพสต์และโพสต์ทูเดย์ ในสัดส่วนกว่า 20% จากนั้นก็ดอดเข้าซื้อหุ้นแบบไม่เป็นมิตรของกลุ่ม "มติชน" ซึ่งมีหนังสือพิมพ์ในเครือมากถึง 4 หัว คือ มติชนรายวัน, มติชนรายสัปดาห์, ข่าวสด และประชาชาติธุรกิจ ในสัดส่วนราว 32% ซึ่งจะเท่ากับการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ อากู๋ จะถูกตั้งแง่จากหลายฝ่ายว่าวิธีการปฏิบัติในลักษณะนี้เข้าข่าย เป็นการ "ฮุบกิจการสื่อ" ที่ถูกจัดเป็นองค์กรสื่อคุณภาพแห่งหนึ่งของไทย จึงเกิดแรงต้านจากหลายฝ่ายในสังคม สภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นักวิชาการ และคนชั้นกลาง ออกโรงประณามดีลดังกล่าวอย่างไม่มีชิ้นดี สุดท้าย อากู๋ จำต้องถอยเพราะทนแรงกดดันไม่ไหว ด้วยการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นเหลือเพียง 20% พร้อมกับขายหุ้นอีก 12% กลับคืนไปให้กับกลุ่มผู้บริหารมติชนให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 36%
เมื่อการสานฝันเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในยุทธจักรสื่อหนังสือพิมพ์ไม่สมบูรณ์ การเลี่ยงมารุกในสื่อวิทยุ ซึ่งเป็นช่องทางถนัดก็เป็นทางเลือกในอันดับต่อมา โดยได้เทเงินลงทุนเพิ่มอีก 150 ล้านบาท หันมาปั้นสถานีข่าว "Open Radio" คลื่น 94.0 ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.เป็นต้นมา เนื่องเพราะเล็งเห็นถึงแนวโน้มของคลื่นข่าวที่กำลังมาแรง ประกอบกับการได้ พิรุณ ฉัตรวินิจกุล เพื่อนรักสมัยเรียนอยู่จุฬาลงกรณ์ฯ เข้ามาเป็นแนวร่วม หลังจากที่ พิรุณ ได้ฟอร์มทีมงาน คนข่าวมืออาชีพ ได้อย่างพร้อมสรรพ ภายใต้การเปิดบริษัท ไทยเที่ยงธรรม จำกัด จัดตั้งสถานี ไทยไทม์นิวส์ คอยท่ารองรับไว้ก่อนหน้า พร้อมประกาศจุดยืนในการทำงานว่าจะปลุกปั้นสถานีให้เป็น รอยเตอร์ เมืองไทยในอนาคตอันใกล้
และทันทีที่ โอเพ่น เรดิโอ เริ่มออกอากาศตั้งแต่ต้นปีเรื่อยมา ก็เพิ่มสีสันให้คลื่นข่าวคึกคักขึ้นทันตาเห็น ด้วยแนวนโยบายการรายงานข่าวแบบวิเคราะห์เจาะลึก วิพากษ์วิจารณ์ตรงไปตรงมา พร้อมจัดวางทัพนักข่าวภาคสนามครอบคลุมในทุกพื้นที่ทั่วไทย เรียกได้ว่า 94.0 เป็นคลื่นข่าวดาวรุ่งที่มาแรง ชนิดที่คอการเมืองต้องปรับล็อคคลื่นติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์การแบ่งขั้วการเมืองออกเป็น 2 ฝ่ายเดือนก.พ.-มี.ค.ที่ผ่านมา ที่ โอเพ่น เรดิโอ ได้รายงานและเกาะติดสถานการณ์ กระทั่งสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลอยู่บ่อยครั้ง
การโต้ตอบของอำนาจรัฐที่ขึ้นชื่อในเรื่องการแทรกแซงสื่อต่อสถานีแห่งนี้มีมาโดยตลอดเช่นกัน ทั้งการสั่งปลดผู้ดำเนินรายการนักข่าวอาวุโส ยุวดี ธัญญศิริ หรือการดูดเสียงของวิทยากรร่วมรายการ และล่าสุดคือการมีคำสั่งจากคนโตพรรคไทยรักไทย ที่สนิทกับอากู๋ให้เลิกทำคลื่นข่าว ซึ่งเป็นหอกข้างแคร่รัฐบาลลงเสีย และการปฏิบัติก็เป็นไปตามคำร้องขอในทันที เมื่อคลื่น 94.0 จะเปลี่ยนจากการเป็นสถานีข่าว ไปเป็นคลื่นบันเทิง เช่นเดียวกับอีก 4 คลื่นในมือของแกรมมี่ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ศกนี้เป็นต้นไป
"ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่ทำรายการ "โอเพ่น เรดิโอ" ในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.เราไม่สามารถขายพื้นที่โฆษณาได้เลย ส่วนในช่วงหลังเราสามารถขายพื้นที่โฆษณาได้เพียง 10-20% เท่านั้น รวมถึงการโดนตัดงบโฆษณาด้วย และการลงทุนในการผลิตรายการก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากการผลิตรายการข่าวจะมีการลงทุนที่สูงกว่าการผลิตรายการบันเทิงมาก ไม่ว่าจะเป็นการเช่าพื้นที่ การจ้างบุคคลากร หรือเครื่องมือต่าง ๆ ส่วนเรื่องของสำนักข่าวไทยไทม์ที่ปิดตัวลงนั้น สาเหตุมาจากพิษเศรษฐกิจจริง ๆไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงอย่างที่เป็นข่าว และการปิดลงลงก็ถือเป็นเรื่องสมเหตุสมผล เพราะเราไม่มีความถนัดในการผลิตรายการประเภทนี้ เพราะที่ผ่านมาก็ผลิตแต่รายการบันเทิง" นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา กล่าว
นายพิรุณ ฉัตรวนิชกุล ผู้อำนวยการสำนักข่าวไทยไทม์ และโปรแกรมไดเร็กเตอร์ รายการโอเพ่น เรดิโอ กล่าวว่า ได้เข้ามาทำงานร่วมกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด ซึ่งทางไทยไทม์ได้บริหารในส่วนของเนื้อหา ซึ่งก็ตรงตามอุดมคติและความคิดอย่างที่ต้องการ เหตุนี้จึงได้มีการทำอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการจ้างบุคลากรที่มีประสบการณ์และความสามารถ ร่วมถึงผู้สื่อข่าวภาคสนาม เพื่อให้ข่าวที่ออกมานั้นมีคุณภาพ เพราะไม่ต้องการให้ข่าวในคลื่น 94 เป็นเพียงรายการข่าวที่เป็นการเล่าข่าวที่เอามาจากทางอินเตอร์เน็ตหรือหนังสือพิมพ์เพียงอย่างเดียว "ที่มีข่าวลงว่ารายการ โอเพ่น เรดิโอ มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรงนั้น ที่จริงไม่ใช่ เพราะหลักการทำงานของบริษัท คือ การนำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา อย่างกรณีที่ฝ่ายค้านมีข่าวแถลงหรือทางฝ่ายรัฐบาลจะมีการแถลง เราก็มีการนำเสนอกันอย่างเต็มที่ หรือการที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีปัญหาขัดแย้งกัน เราก็มีการเปิดให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาทำการชี้แจง ซึ่งถ้าเป็นการโดนปิด เพราะเกิดจากการวิพากษ์วิจารณ์ รัฐบาลนั้นไม่ใช่ แต่ที่ปิดเพราะเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจจริงๆ"
http://www.siamturakij.com/book/index.p ... ew&id=5701
-
- Verified User
- โพสต์: 2032
- ผู้ติดตาม: 0
** อ้าว หุ้นอากู๋หลุด 10 บาทแล้วหรือนี่ **
โพสต์ที่ 53
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ข้อมูลแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหาร (แบบ 59-2)
ประจำวันที่ 26 พ.ค. 2549
ชื่อบริษัท ชื่อผู้บริหาร ความสัมพันธ์ * ประเภทหลักทรัพย์ วันที่รับเอกสาร วันที่ได้มา/จำหน่าย จำนวน ราคา วิธีการได้มา/จำหน่าย หมายเหตุ
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บมจ.(GRAMMY) ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 26/05/2549 24/05/2549 87,000 6.25 ซื้อ
ได้เกือบ low ของวันเลย (6.15) :roll: