พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehmans se
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehmans se
โพสต์ที่ 1
ชัยชนะของชาวอังอังกฤษ ในการลงประชามติ
ออกจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit เมื่อวันพฤหัสฯที่ 23 มิถุนายน และรู้ผลไปแล้วเมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา ไม่เพียงเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ของประเทศแต่ยังเป็นการสร้างประวัติของทวีปยุโรป เพราะจะนำไปสู่การปฏิวัติทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมครั้งใหญ่ยุคหนึ่ง ที่ต้องกลับมาตรวจสอบการรวมตัวของสหภาพยุโรป เพราะหลังจากนี้อาจจะเกิดปฏิกิริยา ที่เป็นไฟไหม้ลามทุ่ง จากกระแสที่ประชาชนในอีกหลายชาติในสหภาพยุโรปต้องการให้มีประชามติ ทบทวนสถานภาพของตัวเอง ในสหภาพยุโรปตามมาเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกระแสจากฝรั่งเศสที่เรียกว่า Frexit หรือจากเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่า Nexit หรือจากเดนมาร์กที่เรียกว่า Dexit หรือแม้กระทั่ง Auxit ในออสเตรีย
แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงในอังกฤษนั้นนายเดวิด คาเมรอน กลับต้องจ่ายชดเชยด้วยต้นทุนทางการเมืองที่แสนแพง ด้วยการประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โดยจะลงจากตำแหน่งในเดือนตุลาคมนี้ เพียงเวลาไม่นานหลังจากที่คณะกรรมการเลือกตั้งของอังกฤษ ประกาศผลการลงประชามติอย่างเป็นทางการ จากประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิลงประชามติถึง 72.2% ของจำนวนผู้มีสิทธิ 46.5 ล้านคน ที่ลงคะแนนโหวตให้กับการ Leave ถึง 17.41 ล้านคน ขณะที่ 16.14 ล้านคนโหวตให้ Remain ทำให้คะแนนเสียงที่ฝ่าย Leave คือให้ออกชนะติดเป็นร้อยละ 51.9 ส่วนฝ่าย Remain พ่ายแพ้ด้วยคะแนนร้อยละ 48.1
อย่างไรก็ตาม ผลสะท้อนจาก Brexit ได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงกับตลาดการเงินทั่วโลกเกิดความปั่นป่วน โดยนักลงทุนพากันแตกตื่นเทขายสินทรัพย์การเงินทั่วโลก โดยเฉพาะเงินปอนด์ที่ได้รับผลกระทบดิ่งตัวลงมากที่สุดในช่วงเช้าถึง 9% จากวันก่อนหน้า โดยเงินปอนด์ร่วงจากระดับ 1.50 ดอลลาร์ต่อปอนด์ มาอยู่ที่ต่ำสุดในรอบ 31 ปีที่ระดับ 1.34 ดอลลาร์ที่ที่พยายามจะทรงตัวที่ 1.36 ดอลลาร์ในเวลาต่อมา ขณะที่ดัชนีหุ้นล่วงหน้าของ FT100 อังกฤษ ดิ่งลงกว่า 497 จุด หรือลบกว่า 5% ในการเทรดระหว่างวัน ฉุดเอาดัชนี DAX ล่วงหน้าของเยอรมันดิ่งลง 1,002 จุด และ CAC 40 ล่วงหน้าของฝรั่งเศสทรุดลง 490 จุด ไม่เว้นแม้กระทั่งฟากฝั่งเอเชียที่ดัชนีนิคเคอิญี่ปุ่นดิ่งลึก 8% ถึง 1,314 จุด เหตุจากเงินเยนที่แข็งค่าพุ่งเป็นจรวดแตะ 100 เยนต่อดอลลาร์ ขณะที่ดัชนีหั่งเส็งฮ่องกงทรุดลง 4.7% หรือร่วงลง 974 จุด รวมถึงดาวโจนส์ฟิวเจอร์สที่ดิ่งลึกถึง 800 จุด
แม้แต่เงินหยวนของจีนก็ยังร่วงลงแตะ 6.62 หยวนต่อดอลลาร์ รวมทั้งเงินบาทที่ร่วงลง 30 สตางค์จากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ 35.14 มาอยู่ที่ 35.46 บาทต่อดอลลาร์ โดยเฉพาะความผันผวนของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินปอนด์แม้จะแข็งค่ามากขึ้นจาก 51 บาทในวันก่อนหน้ามาอยู่ที่ 46 บาท ล้วนแต่สะท้อนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเร่งประเมิน Brexit ส่งกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินไทยผ่านช่องทางการค้าและความเชื่อมโยงของสถาบันการเงินนั้นคาดว่าจะค่อนข้างจำกัด เนื่องจากมีสัดส่วนการส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรเพียง 1.8% ในปี 2558 แต่ในทางอ้อมที่มีต่อตลาดเงินและตลาดทุนอาจต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดการเงินโลกในระยะสั้นที่เพิ่มสูงขึ้น โดยจะติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเงินโลกอย่างใกล้ชิด และพร้อมดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงินหากมีความจำเป็น
เมื่อ Brexit เขย่าทั้งโลกจนเป็นภาพหลอนของ Black Friday 24 มิถุนายนที่ย้อนกลับมาอีกวันหนึ่ง ซึ่งจากนี้ไปอาจจะส่งผลให้เกิดความผันผวนที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะความท้าทายที่จะเกิดขึ้น กับฐานะการเป็นศูนย์กลางทางการเงินในยุโรปของลอนดอน และเสถียรภาพของค่าเงินปอนด์ ที่จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และทิศทางการเคลื่อนย้ายของเงินทุนจะผันผวนเพิ่มมากขึ้นในที่สุด
-
ออกจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit เมื่อวันพฤหัสฯที่ 23 มิถุนายน และรู้ผลไปแล้วเมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา ไม่เพียงเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ของประเทศแต่ยังเป็นการสร้างประวัติของทวีปยุโรป เพราะจะนำไปสู่การปฏิวัติทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมครั้งใหญ่ยุคหนึ่ง ที่ต้องกลับมาตรวจสอบการรวมตัวของสหภาพยุโรป เพราะหลังจากนี้อาจจะเกิดปฏิกิริยา ที่เป็นไฟไหม้ลามทุ่ง จากกระแสที่ประชาชนในอีกหลายชาติในสหภาพยุโรปต้องการให้มีประชามติ ทบทวนสถานภาพของตัวเอง ในสหภาพยุโรปตามมาเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกระแสจากฝรั่งเศสที่เรียกว่า Frexit หรือจากเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่า Nexit หรือจากเดนมาร์กที่เรียกว่า Dexit หรือแม้กระทั่ง Auxit ในออสเตรีย
แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงในอังกฤษนั้นนายเดวิด คาเมรอน กลับต้องจ่ายชดเชยด้วยต้นทุนทางการเมืองที่แสนแพง ด้วยการประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โดยจะลงจากตำแหน่งในเดือนตุลาคมนี้ เพียงเวลาไม่นานหลังจากที่คณะกรรมการเลือกตั้งของอังกฤษ ประกาศผลการลงประชามติอย่างเป็นทางการ จากประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิลงประชามติถึง 72.2% ของจำนวนผู้มีสิทธิ 46.5 ล้านคน ที่ลงคะแนนโหวตให้กับการ Leave ถึง 17.41 ล้านคน ขณะที่ 16.14 ล้านคนโหวตให้ Remain ทำให้คะแนนเสียงที่ฝ่าย Leave คือให้ออกชนะติดเป็นร้อยละ 51.9 ส่วนฝ่าย Remain พ่ายแพ้ด้วยคะแนนร้อยละ 48.1
อย่างไรก็ตาม ผลสะท้อนจาก Brexit ได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงกับตลาดการเงินทั่วโลกเกิดความปั่นป่วน โดยนักลงทุนพากันแตกตื่นเทขายสินทรัพย์การเงินทั่วโลก โดยเฉพาะเงินปอนด์ที่ได้รับผลกระทบดิ่งตัวลงมากที่สุดในช่วงเช้าถึง 9% จากวันก่อนหน้า โดยเงินปอนด์ร่วงจากระดับ 1.50 ดอลลาร์ต่อปอนด์ มาอยู่ที่ต่ำสุดในรอบ 31 ปีที่ระดับ 1.34 ดอลลาร์ที่ที่พยายามจะทรงตัวที่ 1.36 ดอลลาร์ในเวลาต่อมา ขณะที่ดัชนีหุ้นล่วงหน้าของ FT100 อังกฤษ ดิ่งลงกว่า 497 จุด หรือลบกว่า 5% ในการเทรดระหว่างวัน ฉุดเอาดัชนี DAX ล่วงหน้าของเยอรมันดิ่งลง 1,002 จุด และ CAC 40 ล่วงหน้าของฝรั่งเศสทรุดลง 490 จุด ไม่เว้นแม้กระทั่งฟากฝั่งเอเชียที่ดัชนีนิคเคอิญี่ปุ่นดิ่งลึก 8% ถึง 1,314 จุด เหตุจากเงินเยนที่แข็งค่าพุ่งเป็นจรวดแตะ 100 เยนต่อดอลลาร์ ขณะที่ดัชนีหั่งเส็งฮ่องกงทรุดลง 4.7% หรือร่วงลง 974 จุด รวมถึงดาวโจนส์ฟิวเจอร์สที่ดิ่งลึกถึง 800 จุด
แม้แต่เงินหยวนของจีนก็ยังร่วงลงแตะ 6.62 หยวนต่อดอลลาร์ รวมทั้งเงินบาทที่ร่วงลง 30 สตางค์จากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ 35.14 มาอยู่ที่ 35.46 บาทต่อดอลลาร์ โดยเฉพาะความผันผวนของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินปอนด์แม้จะแข็งค่ามากขึ้นจาก 51 บาทในวันก่อนหน้ามาอยู่ที่ 46 บาท ล้วนแต่สะท้อนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเร่งประเมิน Brexit ส่งกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินไทยผ่านช่องทางการค้าและความเชื่อมโยงของสถาบันการเงินนั้นคาดว่าจะค่อนข้างจำกัด เนื่องจากมีสัดส่วนการส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรเพียง 1.8% ในปี 2558 แต่ในทางอ้อมที่มีต่อตลาดเงินและตลาดทุนอาจต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดการเงินโลกในระยะสั้นที่เพิ่มสูงขึ้น โดยจะติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเงินโลกอย่างใกล้ชิด และพร้อมดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงินหากมีความจำเป็น
เมื่อ Brexit เขย่าทั้งโลกจนเป็นภาพหลอนของ Black Friday 24 มิถุนายนที่ย้อนกลับมาอีกวันหนึ่ง ซึ่งจากนี้ไปอาจจะส่งผลให้เกิดความผันผวนที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะความท้าทายที่จะเกิดขึ้น กับฐานะการเป็นศูนย์กลางทางการเงินในยุโรปของลอนดอน และเสถียรภาพของค่าเงินปอนด์ ที่จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และทิศทางการเคลื่อนย้ายของเงินทุนจะผันผวนเพิ่มมากขึ้นในที่สุด
-
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 3
ผมมองเป็นโอกาส เก็บหุ้นดีๆ ครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- pookii
- Verified User
- โพสต์: 1840
- ผู้ติดตาม: 1
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 4
Paul Krugman ว่ายังไง
------------------------------
เศรษฐกิจของอังกฤษอาจจะแย่ แต่ไม่แย่มากอย่างที่หลายคนพูดกัน การเมืองสิจะแย่เอามากๆ แต่หลายๆ อย่างที่แย่นั้นมันก็เกิดขึ้นได้ถ้าอังกฤษยังคงอยู่ใน EU ต่อ
ใช่ ... Brexit จะทำให้อังกฤษจนลง แต่ขณะนี้ที่ทุกๆ คนพูดถึงมีแต่เรื่องเกี่ยวกับการเงิน ... ตลาดพัง .... Recession ในอังกฤษและอาจจะทั่วโลก บลาๆๆๆ
แต่ผมยังไม่เห็นมันเกิดขึ้นเลย
เงินปอนด์ดิ่งเหวลงก็จริง แต่เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤติในตลาดเกิดใหม่ ผมไม่เห็นว่าเงินปอนด์จะดิ่งเหวมากมายอะไร
ยิ่งเทียบกับช่วงทศวรรษ 70s ที่เกิดวิกฤติในอังกฤษจนค่าเงินตกลงในถึง 1 ใน 3 .... หรือตกลงไป 1 ใน 4 ในช่วงปี 1992 ที่อังกฤษออกจากระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา (Exchange Rate Mechanism)
เพราะขณะที่ผมเขียนอยู่ นี้เงินปอนด์ตกลงไปแค่ 8% จึงยังไม่ใช่การช็อคระดับโลกอย่างที่ว่ากัน
นอกจากนี้ อังกฤษก็เป็นชาติที่กู้ยืมด้วยสกุลเงินปอนด์ จึงไม่เกิด Balance Sheet Crisis จากการที่เงินปอนด์ลดค่าลง ซึ่งไม่เหมือนกรณีของอาร์เจนตินาที่เปโซพังเพราะกู้เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ
ดังนั้น ถ้าห่วงว่าจะเจอกับเงินทุนไหลออกแล้วทำให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นละก็ ... ผมยังไม่เห็นจะมีสัญญาณอย่างนั้นเลย
ตรงกันข้าม อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอังกฤษอายุ 10 ปี กลับลดลงซะอีก
แล้วการที่อัตราดอกเบี้ยและดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลง มันสะท้อนความตระหนกว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอจนทำให้ธนาคาร กลางหลายๆ แห่งต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินเอามากๆ ใช่หรือไม่
คำตอบหนึ่งของการที่อัตราดอกเบี้ยและดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงก็คือ “ความไม่แน่นอน” ซึ่งกดดันการลงทุน เพราะเราไม่รู้เลยว่ากระบวนการนำอังกฤษออกจาก EU จะเป็นอย่างไร
แต่ที่น่ากังวลมากกว่า น่าจะเป็นเรื่องการเมืองที่จะแย่เอามากๆ ทั้งที่อังกฤษและ EU
เพราะมันชัดเจนแล้วว่า EU กำลังอยู่ในความยากลำบาก และผมก็กังวลเรื่องอนาคตของ EU เป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม ความกังวลในเรื่องนี้ก็จะยังคงอยู่ อยู่ดี แม้อังกฤษจะลงประชามติให้ตนเองคงอยู่ใน EU ต่อไป
เพราะความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของการเกิด EU ก็คือ
---------------------------------------------------------------------
- ไม่มีการคิดให้รอบคอบว่าการรวมเงินสกุลต่างๆ เป็นยูโรสกุลเดียวจะเดินไปได้อย่างไรหากไม่ได้มีรัฐบาลกลาง
- การขาดความรับผิดชอบของประเทศทางตอนใต้ของกลุ่ม EU
- การปล่อยให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศกันได้อย่างเสรีโดยไม่คิดล่วงหน้าให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งๆ ที่คนแต่ละประเทศต่างมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณี และระดับรายได้
.
เมื่อเป็นอย่างนี้ Brexit จึงเป็นผลลัพธ์จากปัญหาเหล่านี้ต่างหาก แต่การออกจาก EU ก็ทำให้อังกฤษก็เสียเครดิตไปด้วย ทั้งๆ ที่อังกฤษมีสามัญสำนึกที่ดีที่จะไม่อยู่ร่วมกับ EU
และความเสียหายที่แท้จริงต่ออังกฤษก็คือ การเมืองภายใน ที่อาจจะนำไปสู่การแตกแยกของ Britain ... หาก Boris ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาอาจเป็นเพียงนายกรัฐมนตรีของ England เท่านั้น (ไม่ใช่ของ Britain)
ดังนั้น จงสงบลงได้แล้วถ้าห่วงเรื่องเศรษฐกิจในระยะสั้น เริ่มภาวนาให้ยุโรป และกังวลเรื่อง Britain แทน
.
จาก Blog ของ Paul Krugman
วรวรรณ ธาราภูมิ
25 มิถุนายน 2559
------------------------------
เศรษฐกิจของอังกฤษอาจจะแย่ แต่ไม่แย่มากอย่างที่หลายคนพูดกัน การเมืองสิจะแย่เอามากๆ แต่หลายๆ อย่างที่แย่นั้นมันก็เกิดขึ้นได้ถ้าอังกฤษยังคงอยู่ใน EU ต่อ
ใช่ ... Brexit จะทำให้อังกฤษจนลง แต่ขณะนี้ที่ทุกๆ คนพูดถึงมีแต่เรื่องเกี่ยวกับการเงิน ... ตลาดพัง .... Recession ในอังกฤษและอาจจะทั่วโลก บลาๆๆๆ
แต่ผมยังไม่เห็นมันเกิดขึ้นเลย
เงินปอนด์ดิ่งเหวลงก็จริง แต่เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤติในตลาดเกิดใหม่ ผมไม่เห็นว่าเงินปอนด์จะดิ่งเหวมากมายอะไร
ยิ่งเทียบกับช่วงทศวรรษ 70s ที่เกิดวิกฤติในอังกฤษจนค่าเงินตกลงในถึง 1 ใน 3 .... หรือตกลงไป 1 ใน 4 ในช่วงปี 1992 ที่อังกฤษออกจากระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา (Exchange Rate Mechanism)
เพราะขณะที่ผมเขียนอยู่ นี้เงินปอนด์ตกลงไปแค่ 8% จึงยังไม่ใช่การช็อคระดับโลกอย่างที่ว่ากัน
นอกจากนี้ อังกฤษก็เป็นชาติที่กู้ยืมด้วยสกุลเงินปอนด์ จึงไม่เกิด Balance Sheet Crisis จากการที่เงินปอนด์ลดค่าลง ซึ่งไม่เหมือนกรณีของอาร์เจนตินาที่เปโซพังเพราะกู้เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ
ดังนั้น ถ้าห่วงว่าจะเจอกับเงินทุนไหลออกแล้วทำให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นละก็ ... ผมยังไม่เห็นจะมีสัญญาณอย่างนั้นเลย
ตรงกันข้าม อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอังกฤษอายุ 10 ปี กลับลดลงซะอีก
แล้วการที่อัตราดอกเบี้ยและดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลง มันสะท้อนความตระหนกว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอจนทำให้ธนาคาร กลางหลายๆ แห่งต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินเอามากๆ ใช่หรือไม่
คำตอบหนึ่งของการที่อัตราดอกเบี้ยและดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงก็คือ “ความไม่แน่นอน” ซึ่งกดดันการลงทุน เพราะเราไม่รู้เลยว่ากระบวนการนำอังกฤษออกจาก EU จะเป็นอย่างไร
แต่ที่น่ากังวลมากกว่า น่าจะเป็นเรื่องการเมืองที่จะแย่เอามากๆ ทั้งที่อังกฤษและ EU
เพราะมันชัดเจนแล้วว่า EU กำลังอยู่ในความยากลำบาก และผมก็กังวลเรื่องอนาคตของ EU เป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม ความกังวลในเรื่องนี้ก็จะยังคงอยู่ อยู่ดี แม้อังกฤษจะลงประชามติให้ตนเองคงอยู่ใน EU ต่อไป
เพราะความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของการเกิด EU ก็คือ
---------------------------------------------------------------------
- ไม่มีการคิดให้รอบคอบว่าการรวมเงินสกุลต่างๆ เป็นยูโรสกุลเดียวจะเดินไปได้อย่างไรหากไม่ได้มีรัฐบาลกลาง
- การขาดความรับผิดชอบของประเทศทางตอนใต้ของกลุ่ม EU
- การปล่อยให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศกันได้อย่างเสรีโดยไม่คิดล่วงหน้าให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งๆ ที่คนแต่ละประเทศต่างมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณี และระดับรายได้
.
เมื่อเป็นอย่างนี้ Brexit จึงเป็นผลลัพธ์จากปัญหาเหล่านี้ต่างหาก แต่การออกจาก EU ก็ทำให้อังกฤษก็เสียเครดิตไปด้วย ทั้งๆ ที่อังกฤษมีสามัญสำนึกที่ดีที่จะไม่อยู่ร่วมกับ EU
และความเสียหายที่แท้จริงต่ออังกฤษก็คือ การเมืองภายใน ที่อาจจะนำไปสู่การแตกแยกของ Britain ... หาก Boris ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาอาจเป็นเพียงนายกรัฐมนตรีของ England เท่านั้น (ไม่ใช่ของ Britain)
ดังนั้น จงสงบลงได้แล้วถ้าห่วงเรื่องเศรษฐกิจในระยะสั้น เริ่มภาวนาให้ยุโรป และกังวลเรื่อง Britain แทน
.
จาก Blog ของ Paul Krugman
วรวรรณ ธาราภูมิ
25 มิถุนายน 2559
- pookii
- Verified User
- โพสต์: 1840
- ผู้ติดตาม: 1
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 5
Nouriel Rubini ว่ายังไง
-----------------------------
Brexit จะทำให้เศรษฐกิจของอังกฤษหยุดชะงัก และนำไปสู่ Recession เพราะคนจะช็อค ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะถูกทำลาย
การที่อังกฤษขาดดุลแฝด ทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการคลัง เป็นความเสี่ยงที่ค่าเงินปอนด์จะตกฮวบ และทำให้เงินทุนหยุดไหลเข้าประเทศ
.
จาก Blog ของ Nouriel Rubini
วรวรรณ ธาราภูมิ
25 มิถุนายน 2559
-----------------------------
Brexit จะทำให้เศรษฐกิจของอังกฤษหยุดชะงัก และนำไปสู่ Recession เพราะคนจะช็อค ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะถูกทำลาย
การที่อังกฤษขาดดุลแฝด ทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการคลัง เป็นความเสี่ยงที่ค่าเงินปอนด์จะตกฮวบ และทำให้เงินทุนหยุดไหลเข้าประเทศ
.
จาก Blog ของ Nouriel Rubini
วรวรรณ ธาราภูมิ
25 มิถุนายน 2559
- pookii
- Verified User
- โพสต์: 1840
- ผู้ติดตาม: 1
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 6
Marc Faber ว่ายังไง
-------------------------
อนาคตของโลกในเชิงเศรษฐกิจอยู่ที่เอเชีย .... อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในอินโดจีน และ Emerging Economies
ความสำคัญของโลกตะวันตกกำลังลดลงเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม Emerging Economies รวมถึงความสำคัญทางการเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ด้วย
.
จาก Blog ของ Marc Faber
วรวรรณ ธาราภูมิ
25 มิถุนายน 2559
-------------------------
อนาคตของโลกในเชิงเศรษฐกิจอยู่ที่เอเชีย .... อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในอินโดจีน และ Emerging Economies
ความสำคัญของโลกตะวันตกกำลังลดลงเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม Emerging Economies รวมถึงความสำคัญทางการเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ด้วย
.
จาก Blog ของ Marc Faber
วรวรรณ ธาราภูมิ
25 มิถุนายน 2559
- pookii
- Verified User
- โพสต์: 1840
- ผู้ติดตาม: 1
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 7
Brexit: "กรีนสแปน"เตือนผลกระทบ Brexit เลวร้ายยิ่งกว่าเหตุการณ์แบล็กมันเดย์ปี 1987
Source: IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ | Jun 24, 2016 23:53
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (24 มิ.ย. 59)--นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า การลงประชามติของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ในวันนี้ ได้นำมาซึ่งช่วงเวลาที่เลวร้ายยิ่งกว่าเหตุการณ์แบล็กมันเดย์ในเดือนต.ค.1987
"นี่เป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่ผมจำได้ นับตั้งแต่ที่ผมเข้ารับตำแหน่ง" เขากล่าว
"ไม่มีเหตุการณ์ครั้งไหนที่เลวร้ายเหมือนครั้งนี้ แม้แต่เหตุการณ์แบล็กมันเดย์ในเดือนต.ค.1987 ซึ่งดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลง 23% และผมคิดว่าเป็นจุดต่ำสุดของปัญหาทั้งหมด แต่ในครั้งนี้ ปัญหาจะฝังลึก และจะไม่หายไป"
นอกจากนี้ นายกรีนสแปนยังกล่าวว่า การลงประชามติของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป ถือเป็นเพียงปลายของยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ขณะที่รากเหง้าของปัญหาในอังกฤษได้ลุกลามออกไปมากกว่าที่เห็นอยู่
เขากล่าวว่า การทำประชามติในครั้งนี้ จะส่งผลให้พรรคแห่งชาติสก็อตจะพยายามเรียกร้องเอกราชสำหรับชาวสก็อต
นายกรีนสแปนยังกล่าวว่า สกุลเงินยูโรเป็นปัญหาเฉพาะหน้า แต่ปัญหาพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะชะงักงันของรายได้ที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ไขได้ง่ายๆ
Source: IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ | Jun 24, 2016 23:53
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (24 มิ.ย. 59)--นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า การลงประชามติของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ในวันนี้ ได้นำมาซึ่งช่วงเวลาที่เลวร้ายยิ่งกว่าเหตุการณ์แบล็กมันเดย์ในเดือนต.ค.1987
"นี่เป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่ผมจำได้ นับตั้งแต่ที่ผมเข้ารับตำแหน่ง" เขากล่าว
"ไม่มีเหตุการณ์ครั้งไหนที่เลวร้ายเหมือนครั้งนี้ แม้แต่เหตุการณ์แบล็กมันเดย์ในเดือนต.ค.1987 ซึ่งดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลง 23% และผมคิดว่าเป็นจุดต่ำสุดของปัญหาทั้งหมด แต่ในครั้งนี้ ปัญหาจะฝังลึก และจะไม่หายไป"
นอกจากนี้ นายกรีนสแปนยังกล่าวว่า การลงประชามติของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป ถือเป็นเพียงปลายของยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ขณะที่รากเหง้าของปัญหาในอังกฤษได้ลุกลามออกไปมากกว่าที่เห็นอยู่
เขากล่าวว่า การทำประชามติในครั้งนี้ จะส่งผลให้พรรคแห่งชาติสก็อตจะพยายามเรียกร้องเอกราชสำหรับชาวสก็อต
นายกรีนสแปนยังกล่าวว่า สกุลเงินยูโรเป็นปัญหาเฉพาะหน้า แต่ปัญหาพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะชะงักงันของรายได้ที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ไขได้ง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 9
โอกาสกำลังมาครับ เตรียมเงินไว้
-
- Verified User
- โพสต์: 245
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 11
ผมขอรบกวนสอบถาม คุณ KriangL หน่อยน่ะครับ พอดีผมติดตามอ่านคห.อยู่บ่อยๆ ตอนนี้พอมีสัญญานอะไรบ้างไหมครับ เพราะเห็นหุ้นแบงค์หลายๆตัวก็ร่วงมาหนักเหมือนกัน โดยเฉพาะเจ้า DB ขอบคุณครับKriangL เขียน:BREXIT คงแค่ทำให้ค่าเงินผันผวน แต่ถ้า Deutsche Bank ล้มคงดูไม่จืด ราคาหุ้นตอนนี้ยังต่ำกว่าตอน subprime อีก
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 12
เห็นด้วยครับ DB ภาคการเงินในอิตาลีหรือหนี้เสียในจีนเป็นปัญหาที่จับต้องได้มากกว่าเยอะKriangL เขียน:BREXIT คงแค่ทำให้ค่าเงินผันผวน แต่ถ้า Deutsche Bank ล้มคงดูไม่จืด ราคาหุ้นตอนนี้ยังต่ำกว่าตอน subprime อีก
ตลาดตอบสนองกับBrexitมากเกินไป เป็นโอกาสในการลงทุน
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1487
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 13
ผมก็ดูจากราคาหุ้น DB ครับ แสดงว่าคนจำนวนมากมองว่า balance sheet ของแบงค์นี้มีปัญหา การเกิด BREXIT เป็นเหมือน domino อาจส่งต่อให้เกิดเหตุการณ์อื่นๆตามมาทำให้แบงค์ล้มได้Tom Dwan เขียน:ผมขอรบกวนสอบถาม คุณ KriangL หน่อยน่ะครับ พอดีผมติดตามอ่านคห.อยู่บ่อยๆ ตอนนี้พอมีสัญญานอะไรบ้างไหมครับ เพราะเห็นหุ้นแบงค์หลายๆตัวก็ร่วงมาหนักเหมือนกัน โดยเฉพาะเจ้า DB ขอบคุณครับKriangL เขียน:BREXIT คงแค่ทำให้ค่าเงินผันผวน แต่ถ้า Deutsche Bank ล้มคงดูไม่จืด ราคาหุ้นตอนนี้ยังต่ำกว่าตอน subprime อีก
อันนี้เป็นตัวอย่างของข้อมูลในงบครับ
https://mishtalk.com/2016/06/24/dont-wo ... re-market/
ตัวเลขขนาดของ derivative อยู่ที่ 41.9 ล้านล้านยูโร แต่ net กันแล้วเหลือแค่ 18.2 พันล้านยูโร ความปั่นป่วนของค่าเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอาจทำให้ตัวเลขกลายเป็นขาดทุนมหาศาลได้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 14
เดิมพันครั้งนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของเศรษฐกิจเท่านั้น
เป็นเรื่องภายในของอังกฤษที่ประกอบด้วย อังกฤษ สก๊อตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ เวลส์ ด้วย
เมื่ออังกฤษออกจาก EU แต่ประเทศอื่นๆไม่ออก งานก็จะเข้าต่อ
และแถมแยกดินแดนออกจากเครือสหราชอาณาจักรด้วย
ผลมันส่งไปถึงเรื่องการเมืองด้วย
ส่วนเรื่องของธนาคารนั้น สังเกตไหมว่า วิกฤติยูโรโซนนั้น ไม่มีแบงค์ล้มเลย และควบรวมกิจการเลย
มองย้อนไล่ตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งที่บ้านเรา แบงค์ล้ม และควบรวมกิจการ
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แบงค์ล้มกันเป็นทิวแถว
แต่วิกฤติยูโรโซนไม่มีข่าวคราวเลย มันแปลก ดังนั้น เมื่อธนาคารมีปัญหา นั้นแหละที่ จุดต่ำสุดของวิกฤติ
แสดงว่า ใจกลางของวิกฤติยังไม่ได้รับการแก้ไข ถ้าได้รับการแก้ไข สิ่งที่เกิดใหม่จะได้เห็นเหมือน
นกฟินิกส์ที่บินออกกองเถ้าถ่านของตัวมันเอง
เป็นเรื่องภายในของอังกฤษที่ประกอบด้วย อังกฤษ สก๊อตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ เวลส์ ด้วย
เมื่ออังกฤษออกจาก EU แต่ประเทศอื่นๆไม่ออก งานก็จะเข้าต่อ
และแถมแยกดินแดนออกจากเครือสหราชอาณาจักรด้วย
ผลมันส่งไปถึงเรื่องการเมืองด้วย
ส่วนเรื่องของธนาคารนั้น สังเกตไหมว่า วิกฤติยูโรโซนนั้น ไม่มีแบงค์ล้มเลย และควบรวมกิจการเลย
มองย้อนไล่ตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งที่บ้านเรา แบงค์ล้ม และควบรวมกิจการ
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แบงค์ล้มกันเป็นทิวแถว
แต่วิกฤติยูโรโซนไม่มีข่าวคราวเลย มันแปลก ดังนั้น เมื่อธนาคารมีปัญหา นั้นแหละที่ จุดต่ำสุดของวิกฤติ
แสดงว่า ใจกลางของวิกฤติยังไม่ได้รับการแก้ไข ถ้าได้รับการแก้ไข สิ่งที่เกิดใหม่จะได้เห็นเหมือน
นกฟินิกส์ที่บินออกกองเถ้าถ่านของตัวมันเอง
- Lastpun
- Verified User
- โพสต์: 819
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 15
Brexit วันนั้นเพ่ อิตาลี่ ตลาด crash หนัก ไหนจะมีการคุยเรื่อง bail out อีก ผมว่า bank europe นี้งานเข้ากว่าเดิมเยอะ
เห็นด้วยว่าปัญหาภายในอังกฤษเองก็คงปวดหัวอีกเยอะไหนจะขอแยกตัว แต่ละที่ก็จะขอทำประชามติเองอีก คงไม่จบง่ายๆโซนนั้น อาจไม่กระทบโดยตรงในแง่เศรษฐกิจ แต่ผมว่าถ้าในแง่การเงินมีการ butterfly effect มาแน่
เห็นด้วยว่าปัญหาภายในอังกฤษเองก็คงปวดหัวอีกเยอะไหนจะขอแยกตัว แต่ละที่ก็จะขอทำประชามติเองอีก คงไม่จบง่ายๆโซนนั้น อาจไม่กระทบโดยตรงในแง่เศรษฐกิจ แต่ผมว่าถ้าในแง่การเงินมีการ butterfly effect มาแน่
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 16
ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมานั้น US ปล่อยเงิน ดอลล่าร์ ครั้งใหญ่มาจำนวน 3 ครั้ง
โดยจบการปล่อยเงินออกมาปี 2015 ซึ่งเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกตั้งแต่ 2008
ส่วน EU นั้น เผชิญปัญหาตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมาไล่ตั้งแต่ ไอซ์แลนด์ กรีซ โดยพึ่งมีการปล่อยเงินออกมาสู่ระบบ
หนักๆในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แล้วก็ที่สำคัญกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำติดดินในปีนี้ (เป็นลบเลย)
ส่วน ญี่ปุ่น นั้น ตั้งแต่ 1980 เป็นต้นมา ฟื้นบาง แต่ช่วงสั้นๆ จนกระทั่งปีนี้ ดอกเบี้ยติดลบไปอีกแห่งของโลก
ส่วนอังกฤษนั้น ปล่อยเงินออกมาเป็นระยะ เหมือนกัน แต่ Brexite แล้ว คงจะปล่อยออกมาชุดใหญ่
พี่มังกรเองก็ เงินเข้าสู่สากลมากขึ้น ก็มีการปล่อยออกมาในระบบเช่นกัน
รอดูต่อไปว่าเป็นเช่นไร
โดยจบการปล่อยเงินออกมาปี 2015 ซึ่งเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกตั้งแต่ 2008
ส่วน EU นั้น เผชิญปัญหาตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมาไล่ตั้งแต่ ไอซ์แลนด์ กรีซ โดยพึ่งมีการปล่อยเงินออกมาสู่ระบบ
หนักๆในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แล้วก็ที่สำคัญกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำติดดินในปีนี้ (เป็นลบเลย)
ส่วน ญี่ปุ่น นั้น ตั้งแต่ 1980 เป็นต้นมา ฟื้นบาง แต่ช่วงสั้นๆ จนกระทั่งปีนี้ ดอกเบี้ยติดลบไปอีกแห่งของโลก
ส่วนอังกฤษนั้น ปล่อยเงินออกมาเป็นระยะ เหมือนกัน แต่ Brexite แล้ว คงจะปล่อยออกมาชุดใหญ่
พี่มังกรเองก็ เงินเข้าสู่สากลมากขึ้น ก็มีการปล่อยออกมาในระบบเช่นกัน
รอดูต่อไปว่าเป็นเช่นไร
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: พี่ๆ น้อง ๆ คิดว่า. Brexited. จะมีผลรุนแรงขนาดใด lehman
โพสต์ที่ 18
เอเชีย อันตราย เนื่องจาก ไม่ได้ข่าวเรื่องการเพิ่มประเมินเงินเลย นอกจากจีนที่ปรับลดค่าเงินหยวนyoko เขียน:นวคบลภัทรมองว่ากองทุนทั่วโลกจะมีการจัดทัพใหม่
เอเซียจะได้ประโยชน์เต็มๆ
และ อินเดียที่ปีที่แล้วอยู่ๆ ก็ตลาดพังทลาย
เปราะบางมากๆ ณ ตอนนี้
เอเชียตอนนี้ เป้าหมายมิใช่ จีนอีกต่อไป เป้าหมายมุ่งหน้าเข้าไปที่ อินเดีย
อินเดียเองก็กำลังจะมีเรือบรรทุกเครื่องบินเพิ่มในปีไม่กี่ปีข้างหน้านี้