เรื่องน่ารู้
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องน่ารู้
โพสต์ที่ 1
เวลาผมหาข้อมูล เพื่อมาประเมินมูลค่าหุ้นแต่ละตัว จะเจอข้อมูลบางอย่างที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเป็นไปได้ เห็นว่าน่าสนใจดี เลยเอามาลองถามเพื่อนๆ ถ้าคนตอบมากๆ แล้วค่อยมาเฉลย หรือถกกัน ตอนหลังนะครับ
ถ้าผมคิดผิด เรื่องใหนช่วยแนะนำด้วยนะครับ
1. ราคาสร้างใหม่ปีที่แล้ว 2,500 - 2,690 ล้านบาท เอามาขายนักลงทุนปีที่แล้วได้มากกว่า 5 หมื่นล้านบาท สิ่งนี้คืออะไร
2. พื้นที่ให้เช่าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ (ผมเข้าใจว่าแพงที่สุดในประเทศไทย) ค่าเช่าเฉลี่ยขั้นต่ำ 34,451 บาท ต่อตารางเมตร ต่อเดือน อยู่ที่ใหน
3. เป็นไปได้ใหมที่ บริษัทแม่ ถือหุ้นบริษัทย่อยอยู่ 50% จะรับรู้กำไรในงบรวม 100 บาท และหากบริษัทแม่นั้นลดสัดส่วนการถือในบริษัทลูกลงจนเหลือ 25% จนกลายเป็น บริษัทร่วม จะยังคงรับรู้กำไรจากบริษัทร่วมนั้นอยู่ 100 บาทเช่นเดิม
4. วิธีทำให้โรงแรมซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าพักในแต่ละไตรมาสแตกต่างกันมาก มีกำไรในแต่ละไตรมาสใกล้เคียงกัน
ุ5. หนี้ประเภทใดที่ บริษัทอสังหาชอบ
6. Office ค่าเช่าเฉลี่ย(ผมเข้าใจว่าแพงที่สุดในประเทศไทย) ที่ 1,200 ต่อตารางเมตรต่อเดือน อยู่ที่ใหน
ถ้าผมคิดผิด เรื่องใหนช่วยแนะนำด้วยนะครับ
1. ราคาสร้างใหม่ปีที่แล้ว 2,500 - 2,690 ล้านบาท เอามาขายนักลงทุนปีที่แล้วได้มากกว่า 5 หมื่นล้านบาท สิ่งนี้คืออะไร
2. พื้นที่ให้เช่าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ (ผมเข้าใจว่าแพงที่สุดในประเทศไทย) ค่าเช่าเฉลี่ยขั้นต่ำ 34,451 บาท ต่อตารางเมตร ต่อเดือน อยู่ที่ใหน
3. เป็นไปได้ใหมที่ บริษัทแม่ ถือหุ้นบริษัทย่อยอยู่ 50% จะรับรู้กำไรในงบรวม 100 บาท และหากบริษัทแม่นั้นลดสัดส่วนการถือในบริษัทลูกลงจนเหลือ 25% จนกลายเป็น บริษัทร่วม จะยังคงรับรู้กำไรจากบริษัทร่วมนั้นอยู่ 100 บาทเช่นเดิม
4. วิธีทำให้โรงแรมซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าพักในแต่ละไตรมาสแตกต่างกันมาก มีกำไรในแต่ละไตรมาสใกล้เคียงกัน
ุ5. หนี้ประเภทใดที่ บริษัทอสังหาชอบ
6. Office ค่าเช่าเฉลี่ย(ผมเข้าใจว่าแพงที่สุดในประเทศไทย) ที่ 1,200 ต่อตารางเมตรต่อเดือน อยู่ที่ใหน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องน่ารู้
โพสต์ที่ 2
มาลงชื่อขอติดตามครับ ส่วนตัวเหมือนจะพอรู้ข้อเดียวคือข้อแรก 55
Risk Management = Risk Measurement + Risk Controlling+ Risk Taking
--------------------
--------------------
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องน่ารู้
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณ คุณดำที่แนะนำให้เปลี่ยนคำถามให้ง่ายขึ้นครับ แต่ผมขอคงคำถามไว้เหมือนเดิม เพราะคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ
ขอเฉลยข้อแรกก่อนนะครับ สินทรัพย์ชนิดใหนหนอ ที่สามารถขายได้กำไรเกิน 20 เท่า ….
เชื่อว่าทุกท่านที่ติดตามหุ้นแห่งทศวรรษ คงหาคำตอบได้ไม่ยาก ว่าราคา ประเมินมูลค่าของทรัพย์สินเส้นใยแก้วนำแสง ที่ JAS ขายให้ JASIF หากคิดด้วยวิธีต้นทุนทดแทน จะมีมูลค่า ราว 2,500 – 2,690 ล้านบาท และ หากคิดด้วยวิธี Income approach โดย IFA จะมีมูลค่าราว 7 หมื่นล้านบาทสุดท้ายแล้ว JASIF ถูกนำออกขายให้นักลงทุน ที่ 55,000 ล้านบาท
ถ้าผมผิดพลาดตรงใหน ช่วยแนะนำด้วยครับ
ขอเฉลยข้อแรกก่อนนะครับ สินทรัพย์ชนิดใหนหนอ ที่สามารถขายได้กำไรเกิน 20 เท่า ….
เชื่อว่าทุกท่านที่ติดตามหุ้นแห่งทศวรรษ คงหาคำตอบได้ไม่ยาก ว่าราคา ประเมินมูลค่าของทรัพย์สินเส้นใยแก้วนำแสง ที่ JAS ขายให้ JASIF หากคิดด้วยวิธีต้นทุนทดแทน จะมีมูลค่า ราว 2,500 – 2,690 ล้านบาท และ หากคิดด้วยวิธี Income approach โดย IFA จะมีมูลค่าราว 7 หมื่นล้านบาทสุดท้ายแล้ว JASIF ถูกนำออกขายให้นักลงทุน ที่ 55,000 ล้านบาท
ถ้าผมผิดพลาดตรงใหน ช่วยแนะนำด้วยครับ
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องน่ารู้
โพสต์ที่ 7
เฉลยข้อ 2 ครับ หุ้นเปลี่ยนชีวิตของใคร หลายๆคน AOT
พื้นที่ที่ค่าเช่าสูงๆ น่าจะเป็นพื้นที่ที่ ผู้คนที่ตั้งใจที่จะซื้อของอยู่แล้ว และมี การไหลเวียนของคนจำนวนมาก
โดย Terminal 1 ของดอนเมือง ก่อนเปิด Terminal 2 มีพื้นที่ให้เช่าเชิงพาณิชย์ (ผมเข้าใจว่าเฉพาะส่วนที่เป็นสัมปทานของค้าปลีกนะครับ เพราะส่วนอื่นๆค่าเช่าน่าจะถูกกว่านี้) ที่ไม่เกียวกับกิจการบินอยู่ 6,144 ตารางเมตร สร้างรายได้ ปีละ2,540 ล้านบาท ครับ ถ้าคิดต่อเดือน ก็จะได้เดือนละ 3 หมื่นกว่าบาทต่อตารางเมตร
พื้นที่ที่ค่าเช่าสูงๆ น่าจะเป็นพื้นที่ที่ ผู้คนที่ตั้งใจที่จะซื้อของอยู่แล้ว และมี การไหลเวียนของคนจำนวนมาก
โดย Terminal 1 ของดอนเมือง ก่อนเปิด Terminal 2 มีพื้นที่ให้เช่าเชิงพาณิชย์ (ผมเข้าใจว่าเฉพาะส่วนที่เป็นสัมปทานของค้าปลีกนะครับ เพราะส่วนอื่นๆค่าเช่าน่าจะถูกกว่านี้) ที่ไม่เกียวกับกิจการบินอยู่ 6,144 ตารางเมตร สร้างรายได้ ปีละ2,540 ล้านบาท ครับ ถ้าคิดต่อเดือน ก็จะได้เดือนละ 3 หมื่นกว่าบาทต่อตารางเมตร
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องน่ารู้
โพสต์ที่ 8
ข้อ 3 จะพูดเรื่องกำไร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ใช้เปรียบเทียบความถูกแพงของแต่ละบริษัท
ผมขอยกตัวอย่างกรณี บริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง ถือหุ้นบริษัทย่อยอยู่ 50% และบริษัทย่อยนั้นเป็น REITS ดังนั้นบริษัทใหญ่นั้นจึงต้องนำงบของ REITS มา consolidate เป็นงบรวมด้วย (สมมติว่าไม่มีรายการระหว่างกัน เพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ)
บริษัทใหญ่ ลงสินทรัพย์ ของ REITS นั้นเป็น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ และมีการตัดค่าเสื่อมราคา ดังนั้นกำไรที่แสดงในบริษัทใหญ่จึงเป็นกำไรที่เกิดขึ้นหลังจากหักค่าเสื่อมราคาแล้ว
บริษัทย่อยซึ่งมีสถานะเป็น REITS บันทึกสินทรัพย์ตัวเดียวกันนี้ เป็น เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามมูลค่ายุติธรรม ซึ่งไม่มีการหักค่าเสื่อมราคา ดังนั้นกำไรที่แสดงใน REITS จะเป็นกำไรที่ไม่ได้มีการหักค่าเสื่อมราคา
กำไรบริษัทใหญ่นี้ในงบรวม จะถูกหักโดยส่วนของกำไร ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมในบริษัทย่อย ซึ่งก็คือผู้ถือหุ้นอื่นอีก 50% ของกอง REITS
กอง REITS โดยปกติปันผลมากกว่า 90% ของกำไรซึ่งไม่ได้หักค่าเสื่อมราคา ดังนั้น เงินปันผลที่บริษัทใหญ่ได้รับ เมื่อเทียบกับ กำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ที่แสดงในงบ จะแตกต่างกันอย่างไร ???
และถ้าบริษัทใหญ่ นี้ลดการลงทุนในกอง REIT เหลือ 25% บริษัทใหญ่นั้น ก็ไม่ต้องนำงบของกอง Reits มา consolidate และสามารถรับรู้กำไรจากสัดส่วนที่ลงทุนใน กอง Reits ได้
ข้อนี้ ขอให้ไปคิดกันต่อเองนะครับ ยิ่งถ้าใครลองแกะงบ ทำตัวเลขประกอบ จะเห็นภาพมากขึ้น
ถ้าผมผิดพลาด เรื่องใหน ช่วยชี้แนะด้วยครับ
ผมขอยกตัวอย่างกรณี บริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง ถือหุ้นบริษัทย่อยอยู่ 50% และบริษัทย่อยนั้นเป็น REITS ดังนั้นบริษัทใหญ่นั้นจึงต้องนำงบของ REITS มา consolidate เป็นงบรวมด้วย (สมมติว่าไม่มีรายการระหว่างกัน เพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ)
บริษัทใหญ่ ลงสินทรัพย์ ของ REITS นั้นเป็น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ และมีการตัดค่าเสื่อมราคา ดังนั้นกำไรที่แสดงในบริษัทใหญ่จึงเป็นกำไรที่เกิดขึ้นหลังจากหักค่าเสื่อมราคาแล้ว
บริษัทย่อยซึ่งมีสถานะเป็น REITS บันทึกสินทรัพย์ตัวเดียวกันนี้ เป็น เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามมูลค่ายุติธรรม ซึ่งไม่มีการหักค่าเสื่อมราคา ดังนั้นกำไรที่แสดงใน REITS จะเป็นกำไรที่ไม่ได้มีการหักค่าเสื่อมราคา
กำไรบริษัทใหญ่นี้ในงบรวม จะถูกหักโดยส่วนของกำไร ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมในบริษัทย่อย ซึ่งก็คือผู้ถือหุ้นอื่นอีก 50% ของกอง REITS
กอง REITS โดยปกติปันผลมากกว่า 90% ของกำไรซึ่งไม่ได้หักค่าเสื่อมราคา ดังนั้น เงินปันผลที่บริษัทใหญ่ได้รับ เมื่อเทียบกับ กำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ที่แสดงในงบ จะแตกต่างกันอย่างไร ???
และถ้าบริษัทใหญ่ นี้ลดการลงทุนในกอง REIT เหลือ 25% บริษัทใหญ่นั้น ก็ไม่ต้องนำงบของกอง Reits มา consolidate และสามารถรับรู้กำไรจากสัดส่วนที่ลงทุนใน กอง Reits ได้
ข้อนี้ ขอให้ไปคิดกันต่อเองนะครับ ยิ่งถ้าใครลองแกะงบ ทำตัวเลขประกอบ จะเห็นภาพมากขึ้น
ถ้าผมผิดพลาด เรื่องใหน ช่วยชี้แนะด้วยครับ
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องน่ารู้
โพสต์ที่ 9
มีน้อง ท่านหนึ่ง PM ถามข้อที่ 3 มา ผมอ่านแล้วคิดว่าตัวเองควรเขียนกรณีปกติ ของการรับรู้กำไรก่อน ที่จะชี้ ไปถึงกรณีที่ทรัพย์สินตัวเดียวกัน แต่ลงบัญชีในงบรวม และงบบริษัทย่อยแตกต่างกัน จะได้ทำความเข้าใจกันง่ายขึ้น
ขออธิบายใหม่ทีละขั้นครับ
ในกรณีทั่วๆไปที่บริษัทใหญ่ ถือหุ้นในบริษัทย่อย ในระดับที่ควบคุมบริษัทย่อยได้ เช่น 50% และทั้งงบดุลในบริษัทย่อย และงบรวมของบริษัทใหญ่ ลงบัญชีทรัพสินย์นั้นเหมือนกัน เช่นลงเป็น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ ซึ่งในการคำนวนหากำไรจะมีการคิดค่าเสื่อมราคา เหมือนกัน ดังนั้น
กำไรที่บริษัทใหญ่รับรู้บริษัทย่อยในงบรวมจะเท่ากับ กำไรจากบ.ย่อย 100% - ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ซึ่งเท่ากับ 50% ของบริษัทย่อยนั่นเอง
ตัวอย่าง
สมมติว่า บริษัทใหญ่และ บริษัท ย่อยไม่มีรายการระหว่างกันเลย โดยบริษัทใหญ่มีกำไรจากบริษัทย่อยเท่านั้นและ บริษัทย่อยมีกำไร 200 บาท งบรวมจะแสดงกำไรงวดนั้น 200 บาท โดยแบ่งเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 100 บาท และ เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 100 บาท
หมายความว่า ถ้าเราที่เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 100% บริษัทเราจะได้รับกำไร 100 บาท ซึ่งเป็นส่วนของบริษัทใหญ่เท่านั้น ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไม่ใช่ของเรา
ในกรณีนี้ ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมมีกำไร 100 บาท ซึ่งเป็นกำไรหลังหักค่าเสื่อมราคา เหมือนกับ ส่วนที่เป็นกำไร 100 บาท ที่เป็นส่วนของบริษัทใหญ่
อธิบาย มาถึงจุดนี้แล้วขอถามว่า ผมอธิบายถูกใหมครับ ใครมีอะไรเสริมใหมครับ
ขออธิบายใหม่ทีละขั้นครับ
ในกรณีทั่วๆไปที่บริษัทใหญ่ ถือหุ้นในบริษัทย่อย ในระดับที่ควบคุมบริษัทย่อยได้ เช่น 50% และทั้งงบดุลในบริษัทย่อย และงบรวมของบริษัทใหญ่ ลงบัญชีทรัพสินย์นั้นเหมือนกัน เช่นลงเป็น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ ซึ่งในการคำนวนหากำไรจะมีการคิดค่าเสื่อมราคา เหมือนกัน ดังนั้น
กำไรที่บริษัทใหญ่รับรู้บริษัทย่อยในงบรวมจะเท่ากับ กำไรจากบ.ย่อย 100% - ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ซึ่งเท่ากับ 50% ของบริษัทย่อยนั่นเอง
ตัวอย่าง
สมมติว่า บริษัทใหญ่และ บริษัท ย่อยไม่มีรายการระหว่างกันเลย โดยบริษัทใหญ่มีกำไรจากบริษัทย่อยเท่านั้นและ บริษัทย่อยมีกำไร 200 บาท งบรวมจะแสดงกำไรงวดนั้น 200 บาท โดยแบ่งเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 100 บาท และ เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 100 บาท
หมายความว่า ถ้าเราที่เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 100% บริษัทเราจะได้รับกำไร 100 บาท ซึ่งเป็นส่วนของบริษัทใหญ่เท่านั้น ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไม่ใช่ของเรา
ในกรณีนี้ ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมมีกำไร 100 บาท ซึ่งเป็นกำไรหลังหักค่าเสื่อมราคา เหมือนกับ ส่วนที่เป็นกำไร 100 บาท ที่เป็นส่วนของบริษัทใหญ่
อธิบาย มาถึงจุดนี้แล้วขอถามว่า ผมอธิบายถูกใหมครับ ใครมีอะไรเสริมใหมครับ
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องน่ารู้
โพสต์ที่ 11
ถ้าบริษัทใหญ่ ถือหุ้นในบริษัทย่อย ในระดับที่ควบคุมบริษัทย่อยได้ เช่น 50% แต่งบดุลในบริษัทย่อย และงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่ ลงบัญชีทรัพสินก้อนนั้นต่างกัน เช่น ในบริษัทใหญ่ลงเป็น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ ซึ่งในการคำนวนหากำไรจะมีการคิดค่าเสื่อมราคา แต่ของบริษัทย่อย ลงเป็น เงินนลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามมูลค่ายุติธรรม
ในงบการเงินรวม กำไรที่บริษัทใหญ่รับรู้จากบริษัทย่อยจะเท่ากับ กำไรจากบ.ย่อยที่คำนวนได้ในงบการเงินรวม 100% - ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ซึ่งในกรณีนี้คือ 50% ของกำไรที่คำนวนในงบของบริษัทย่อยหรือเปล่าใช่ใหม
ตัวอย่าง
สมมติว่า บริษัทใหญ่และ บริษัท ย่อยไม่มีรายการระหว่างกันเลย โดยบริษัทใหญ่มีกำไรจากบริษัทย่อยเท่านั้นและ
ในงบกำไรขาดทุนของบริษัทย่อย บริษัทย่อยมีกำไร 300 บาท ( กำไรก้อนนี้ ไม่ได้ถูกหัก ค่าเสื่อมราคา ) แต่กำไรขาดทุนในงบการเงินรวมจะแสดงกำไรจากทรัพย์สินก้อนนั้น 200 บาท (น้อยกว่าบริษัทใหญ่ อยู่ 100 บาท ซึ่ง อาจเกิดจาก ค่าเสื่อมราคา, ภาษี และอื่นๆ) โดยแบ่งเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 50 บาท และ เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 150 บาท ( 150 บาท คือ 50% ของ 300 บาท ในงบกำไรขาดทุนของบริษัทย่อย )
หมายความว่า ถ้าเราที่เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 100% ซึ่งถือหุ้นในบริษัทย่อย 50%บริษัทเราจะได้รับกำไร 50 บาท ไม่ใช่ 50% ของ 200 บาท หรือ 50% ของ 300 บาท
เพื่อนคิดว่า การรับรู้กำไร ในกรณี นี้ มีอยู่จริงใหม หรือว่า ผมมโนไปเอง
ผมไม่ได้เป็น นักบัญชี ถ้ามีท่านใด มีคำแนะนำ จะขอบคุณมากครับ
ในงบการเงินรวม กำไรที่บริษัทใหญ่รับรู้จากบริษัทย่อยจะเท่ากับ กำไรจากบ.ย่อยที่คำนวนได้ในงบการเงินรวม 100% - ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ซึ่งในกรณีนี้คือ 50% ของกำไรที่คำนวนในงบของบริษัทย่อยหรือเปล่าใช่ใหม
ตัวอย่าง
สมมติว่า บริษัทใหญ่และ บริษัท ย่อยไม่มีรายการระหว่างกันเลย โดยบริษัทใหญ่มีกำไรจากบริษัทย่อยเท่านั้นและ
ในงบกำไรขาดทุนของบริษัทย่อย บริษัทย่อยมีกำไร 300 บาท ( กำไรก้อนนี้ ไม่ได้ถูกหัก ค่าเสื่อมราคา ) แต่กำไรขาดทุนในงบการเงินรวมจะแสดงกำไรจากทรัพย์สินก้อนนั้น 200 บาท (น้อยกว่าบริษัทใหญ่ อยู่ 100 บาท ซึ่ง อาจเกิดจาก ค่าเสื่อมราคา, ภาษี และอื่นๆ) โดยแบ่งเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 50 บาท และ เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 150 บาท ( 150 บาท คือ 50% ของ 300 บาท ในงบกำไรขาดทุนของบริษัทย่อย )
หมายความว่า ถ้าเราที่เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 100% ซึ่งถือหุ้นในบริษัทย่อย 50%บริษัทเราจะได้รับกำไร 50 บาท ไม่ใช่ 50% ของ 200 บาท หรือ 50% ของ 300 บาท
เพื่อนคิดว่า การรับรู้กำไร ในกรณี นี้ มีอยู่จริงใหม หรือว่า ผมมโนไปเอง
ผมไม่ได้เป็น นักบัญชี ถ้ามีท่านใด มีคำแนะนำ จะขอบคุณมากครับ
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องน่ารู้
โพสต์ที่ 12
เฉลยข้อ 4 ครับ
SPWPF คิดค่าเช่าโรงแรมจากบริษัทลูกของ CI ในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน โดยคิดค่าเช่าสูงในเดือนที่เป็น High season
ERWPF ก็คิดค่าเช่าแต่ละเดือนสูงต่ำต่างกัน แล้วแต่ว่าเป็นช่วง High หรือ Low season
รายละเอียดตามนี้ครับ
SPWPF คิดค่าเช่าโรงแรมจากบริษัทลูกของ CI ในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน โดยคิดค่าเช่าสูงในเดือนที่เป็น High season
ERWPF ก็คิดค่าเช่าแต่ละเดือนสูงต่ำต่างกัน แล้วแต่ว่าเป็นช่วง High หรือ Low season
รายละเอียดตามนี้ครับ
แนบไฟล์
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องน่ารู้
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณมากครับพี่ที่มาช่วยแชร์ความรู้ดีดี
Risk Management = Risk Measurement + Risk Controlling+ Risk Taking
--------------------
--------------------