MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบริหา

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 293
ผู้ติดตาม: 0

MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบริหา

โพสต์ที่ 1

โพสต์

MoneyTalk@SET16Oct16
หัวข้อ 1 "เปิดหุ้นเด่น โค้งสุดท้ายปี 59"
1)คุณณัฐนัย อนันตรัมพร กรรมการผู้จัดการ ITEL
2)นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานกรรมการ BCH
3)คุณทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TVD
4)คุณสมหะทัย พานิชชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AMATAV
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิช ดำเนินรายการ

เกริ่นนำ
หมอเค มี theme ในฐานะเป็นหมอสูติฯ เปรียบเทียบบริษัทที่รับเชิญวันนี้
BCH เหมือนสาวกำลังเติบโต TVD เป็นหญิงที่เพิ่งกำลังแต่งงาน (แต่งกับญี่ปุ่นและไต้หวัน) ITEL เป็นช่วงพึ่งมีลูก และสุดท้าย AMATAV เป็นลูกที่โตกว่าแม่

การดำเนินธุรกิจ

BCH
มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ 3 แบรนด์
กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฐ์ เป็นตลาดกลางบน 2170 เตียง
กลุ่มเวิลด์เมดิคอลเซนเตอร์ เป็นตลาดลูกค้าต่างชาติ 324 เตียง
กลุ่มโรงพยาบาลการุญเวช เป็นตลาดลูกค้าประกันสังคม 550 เตียง
มีขนาดรวมประมาณ 3500 เตียง
ทุนจดทะเบียน 2493 ล้านบาท ไม่เคยเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น แต่มีปันผลเพิ่มทุน
มีเกษมราษฐ์ 6 แห่ง โพลีด็อกเตอร์คลีนิค 2 แห่ง ตามด่านชายแดนประเทศ
มีศูนย์รับส่งต่อ จะมีการผ่าตัดหัวใจมากที่สุด

Health care ในไทยยังไปได้อีกไกล ผู้สูงอายุมีมากขึ้น และตลาดลูกค้าจากต่างชาติเดิมคือ ตะวันออกกลาง และปัจจุบันมีจาก CLMV
จุดแข็งของเรามีการกระจาย 3 ตลาด และมี economy scale เช่น เอา equipment มาใช้ระหว่างกันได้ แต่กลุ่ม high-end ทำไม่ได้
ให้บริการด้านสุขภาพ มีการรับรองมาตรฐาน มีผ่าน hospital accreditation ของไทย ทั้งหมด รวมถึง American Standard คือ JCI
เป็นโรงพยาบาลแรกที่ผ่าน European quality เป็นแห่งแรก ในเอเชียแปซิฟิค
อีกจุดแข็ง เราจะเลือกขยายไปชุมชนที่เจริญเติบโตเร็ว เข้าถึงได้งาน ขยาย 2 รูปแบบ คือซื้อกิจการที่มีศักยภาพ
และสร้างในตำแหน่งที่มีชุชนเจริญเติบโตสูง เช่น ในจุดที่ส่งเสริมการลงทุนต่างๆ
ปัจจุบันมีทั้งหมด 11 โรงพยาบาลใหญ่ 2 โรงพยาบาลเล็ก มีเตียงทั้งหมดราว 3500 เตียง
โรงพยาบาลเล็กที่แม่สายและเชียงแสน ลูกค้าส่วนใหญ่ข้ามจากท่าขี้เหล็ก
ในไทยคุณภาพการรักษาพยาบาลดีกว่า CLMV และย่อมเยากว่าสิงคโปร์
ปริมาณเตียงของเอกชน ประมาณ 30,000 เตียง ของเรา 10% น่าจะเป็นเบอร์ 2 รองจาก BDMS
ผู้ละทะเบียนประกันสังคมทั้งหมด 10.7 ล้านคน ของเราเกือบ 8 แสนคน คนลงทะเบียนสูงสุดต่อมาเป็น 10 ปีแล้ว
และกำลังจะได้โควต้าเพิ่ม คาดว่าอีกไม่เกิน 3 ปีจะมีผู้ลงทะเบียนของเราเกือบ 1 ล้านคน

AMATAV
อยู่ในเวียดนาม 22 ปี ทำธุรกิจแบบเดียวกับบริษัทแม่ AMATA ในไทย
AMATA ในไทยมีโครงการ 2 จังหวัดหลักๆ คือ ชลบุรี และระยอง
ทำนิคมอุตสาหกรรม ที่เราเรียกตัวเองว่า=> เมืองอุตสาหกรรม => เมืองอัจฉริยะ
วิธีทำงานเราไม่เคยบอกว่าเราเป็นอสังหาริมทรัพย์
แต่เป็นธุรกิจการให้บริการที่ไม่รู้จักจบ จึงชื่อว่าอมตะ
ที่ดินมี 3 หมื่นไร่ 1200 โรงงาน มีประชากร 2.5 แสนคน ผู้ลงทุนเป็นต่างชาติ 80%
ตลาดหลักของเรา คือ ญี่ปุ่น 60% และอื่นๆอีกกว่า 30 เชื้อชาติ
นอกจากโรงงาน สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เราทำเอง หรือร่วมทุน กับโรงไฟฟ้า/เทเลคอม เช่น AIS
การให้บริการอื่นๆ เช่น พาณิชยกรรม, โลจิสติกส์ รวมทั้งโรงพยาบาล
ในรูปแบบดำเนินธุรกิจนี้ในไทยมีอายุ 40 ปี ซึ่ง 22 ปีที่แล้วเราได้พบกับประธานธิบดีเวียดนาม จึงได้โอกาสดำเนินธุรกิจ
และได้ทำเลที่ดีที่สุด ซึ่งติด 2 ท่า ท่าเรือ (ขนส่งสินค้า) และท่าอากาศยาน (ขนส่งคนทำงาน)
และไม่ควรห่างไกลเมืองที่เป็นพาณิชยกรรม ซึ่งเราเลือกไปภาคใต้ (โฮจิมินส์) ในตอนนั้นเลือกพื้นที่ค่ายทหารอเมริกัน ในจังหวัด ด่องใน(Đồng Nai)
ซึ่งไม่ไกลท่าเรือน้ำลึก และมีพื้นดินแข็ง จนมาวันนี้มีพื้นที่ 3,000 ไร่ เราเป็นนิคมอุตสาหกรรมรายแรกที่บริหารโดยต่างชาติ
ลูกค้าทั้งหมด 145 โรงงาน มีคนทำงาน 5 หมื่นคน ในอำเภอเมืองจังหวัด ดองใน
ด่องใน เป็นจุดหมายการลงทุนต่างชาติ ซึ่งมักเลือกอยู่ใน 5 จังหวัดแรกที่เขาจะเลือก ห่างจากโฮจิมินส์ราว 35 km
เมื่อ 22 ปีก่อน ไม่สามารถลงทุนได้ 100% ด้วยกฏหมายจึงต้องจับมือรัฐวิสาหกิจ ชื่อโซนาเดซี่ แต่วันนี้เวียดนามเข้าสู่สมาชิก WTO
ก็เปิดโอกาสให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% ซึ่งวันนี้เรามีหุ้น 90% แล้ว และโครงการใหม่ๆ
ที่เวียดนามถือโดยการเวนคืนของรัฐบาล “จะต้อง” โอนที่ดินหรือย้ายทรัพย์สินประชาชนบริเวณนั้นออกไป
ปัจจุบันเวียดนามเจริญมากขึ้น GDP growth เฉลี่ย 3 ปีที่ผ่านมา 6.5% ปีนี้คาด 6.8%
เราขยายพื้นที่โครงการ 2 8000 ไร่ อยู่ใกล้ โฮจิมินส์มากขึ้น 18 km บนเส้นทางไฮเวยี่เสร็จแล้ว และต้องใช้เงินมากกว่าเดิม
เมื่อก่อน5000 ไร่ใช้เงิน 17 ล้านเหรียญ
2 ธุรกิจ 2500 ไร่ นิคม (ใช้เงิน 56 ล้านเหรียญ) ที่เหลือเป็น พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย ให้บริการ ได้ใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว กำลังเคลียร์ที่ดิน
นี่เป็นเหตุผลที่ต้องตัดสินใจนำ AMTAVN เข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อ ธ.ค.58

เราจะเชิญชวนนักลงทุนมาตัดขายพื้นที่(เช่า 50 ปี)
ของประเทศไทย ขายคือ free hold ให้ตลอดชีวิต
ของเวียดนาม เขาไม่ขาย แต่ให้เช่า ระยะยาว คือ 50 ปี หลังจากปี 51 มาว่ากันอีกที
ขายที่ดินว่างเปล่าที่มีสาธารณูปโภค แล้วเขาไม่สร้างโรงงานเอง
กับอีกส่วนเราทำโรงงานให้เช่า สำหรับลูกค้าที่ไม่อยากสร้างเอง และมีออฟฟิศให้เช่าด้วย
ให้บริการถนน ไฟฟ้า โทรศัพท์ และเราเก็บค่าอุปโภคบริโภค

นิคมสิ่งที่มีผลกระทบเร็วสุดคือ การเมือง
ในสายตาชาวโลกการตอบรับของนักลงทุนต่างชาติจะน้อยลง
ในขณะที่เวียดนามไม่มีความลำบากด้านนั้น ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาเพิ่งเปลี่ยนรัฐบาล
แต่ไม่มีสิ่งต้องประหลาดใจ นโยบายการสานต่อไม่มีติดขัด
เวียดนามยังต้องพัฒนาถนน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน จึงต้องการความช่วยเหลือจาก ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์
อย่างญี่ปุ่นให้เงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำปีละ 2 พันล้านเหรียญ อย่าง เช่น ฮานอยที่เพิ่งทำถนน ทำสนามบินเสร็จ
เมื่อก่อนใช้เวลา 1.5 ชั่วโมง ปัจจุบัน 40 นาทีก็ถึงแล้ว
นอกจากรัฐบาลที่มีความมั่นคง นโยบาย TPP เป็นสิ่งสำคัญมก เป็นตัวช่วยผลักดันสินค้าส่งออกเวียดนามไปสู่สวามชิก TPP อีก 12 ประเทศ
ช่วยต่อยอดให้กับหลายธุกิจ เช่น เครื่องนุ่งห่ม เครื่องจักร เพราะภาษีเป็น 0
จะส่งออกไป อเมริการญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย จะได้แต้มต่อ และทำให้เศรษฐกิจเวียดนามน่าสนใจ
และทำให้ AMATAV ได้อาณิสงค์ด้วย

TVD
ทำธุรกิจ multi screen เป็นบริษัทที่สอดรับกับเทคโนโลยี เราขายผ่าน direct marketing เราจะมียอดขายจาก 3 ส่วน
1. Direct shopping TV call center
2. ค้าปลีก เป็นการช่วยเสริมงบโฆษณา ทำให้คนไปซื้อที่สาขาได้ มี 71 สาขา
3. Online shopping กำลังเกิดขึ้นและเติบโตมากขึ้น เราสามารถส่งสินค้าให้กับ market place ได้เช่น Lazada
ซึ่งในสิ้นปีเราจะมี Market place แบบนี้ 6 แห่ง เช่น จากเกาหลี สิงคโปร์ อินโดนีเซีย รวมทั้งของไทยคือ central online
TV digital ที่ทำให้ สถานีเพิ่ม 24 สถานี ค้าปลีกยังโตติดต่อกัน ปีก่อนตกไปบ้างปีนี้เริ่มกลับมา
บริษัทลูก 4 แห่ง
1.เป็นโบรกเกอร์ประกัน ใช้รายชื่อที่เรามีโทรหาลูกค้า เพื่อทำความรู้จักกันมากขึ้น เช่น ถ้าลูกค้าซื้อเก้าอี้นวด อาหารเสริม
แสดงว่าเขาเป็นคนรักสุขภาพ เราทำ data mining และ analytic เพื่อทำ model ว่าเขาจะซื้ออะไรต่อไปในอนาคต
แล้วใช้ call center ติดต่อเข้าไป เริ่มทำธุรกิจนี้ตั้งแต่เดือน มิ.ย.58 ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนก่อน
และเก็บเกี่ยวจากค่าประกัน ดังนั้นใน Q4 จะเริ่มมีรับรู้รายได้นี้
2.TVD shopping ซึ่งเป็นธุรกิจ JV กับไต้หวัน
3.JML Direct JV กับ UK มีผู้ถือหุ้นใหม่ Thai state เป็น TV shopping อันดับ 1 ใน ญี่ปุ่น
แต่เขาไม่มีสินค้าตัวเอง แต่ให้บริการอย่างเดียว เขาจะมี call center มีการตลาดให้ ลูกค้าเขามี 150 กว่าเจ้า
มีค่าธรรมเนียมยอดขาย 9 พันกว่าล้านบาทในญี่ปุ่น
4.Share service ให้บริการ 4-5 บริษัทที่เรามี ทำงาน admin ทั้งหลาย เช่น hr เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
สินค้ามี 3 อย่าง sole distributor เช่น แชมพูป้าหวัง ลูกอมโกลเด้นโทรธ ,importer สินค้า เช่น เครื่องออกกำลังกาย
,ผลิตสินค้าเอง เช่น wellness เครื่องมือแพทย์ อาหารเสริม เครื่องสำอางค์
ประชากรไทยมี 67 ล้าน มี 20% เป็นผู้สูงอายุ ซื้อไม้เท้าไป 20 กว่าชิ้น
เนื่องจากเรามีกำแพงภาษี สิ่งที่ต้องคุยกับต่างชาติคือให้มาผลิตในไทย และขอรับรองคุณภาพ ทำให้ต้นทุนเราถูกลง
จึงทำให้เขาย้ายฐานผลิต เช่น เครื่องไล่หนู,แมลงสาบ ที่เดิมเคยผลิตที่ออสเตรเลีย ตอนนี้มาผลิตในไทยส่งออก 30-40 ประเทศทั่วโลก
ระยะเวลาการส่งสินค้า 60% ภายใน 24 ชั่วโมง 40% 3-5 วันทั่วประเทศ
จุดเด่นเราคือ วิธีสร้างสรรค์ในการขาย เรามีกระบวนการ knowhow technology ทำให้มองสินค้าได้หลากหลาย
และ media coverage เราเป็นเบอร์ 1 ในการซื้อ air time digital TV, Satellite TV

ITEL
เป็นบริษัทย่อยของ ILINK บริษัทแม่ซื้อสายสัญญาณมาขาย และเราไปรับติดตั้งให้ผู้บริการมือถือต่างๆ
ITEL สร้างธุรกิจให้บริการ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร
เราทำธุรกิจ 4 อย่างหลัก
60% ให้บริการการสื่อสาร ธุรกิจครัวเรือน หรือออฟฟิศ มีการสื่อสารเป็นปัจจัย 5 เราสร้างโครงข่ายไปทั่วประเทศ
เป็นถนน ICT ให้ข้อมูลเชื่อมโยงสื่อสารกันได้ เช่น ไปซื้อขายที่ห้าง ต้องมีส่งข้อมูลรู้ว่าของออกไปแล้วต้องเติม
ถ้าเดินออกไปตามถนน เห็นสายที่อยู่ตามสายไฟฟ้า ส่วนหนึ่งคือของเรา สายเป็นขีดสีทอง จะมี label อยู่
ธุรกิจนี้ต้องมีใบอนุญาต ซึ่งไม่ได้ยากมากในการขอ
เราจึงต้องสร้างความแตกต่าง
1. เราจึงเลือกที่จะลากผ่านทางรถไฟด้วย ข้อดีคือเป็น backup หรือ redundant กันได้ เช่นที่หาดใหญ่ มี 2 ทาง
วิ่งผ่านถนน หรือ รถไฟ ถ้าเกิดสึนามิ เสาไฟฟ้าหักหมด เราก็จะยังสื่อสารได้อยู่ ทำให้ คุณภาพ
หรือเสถียรภาพของเราดี ลูกค้าจำเป็นต้องใช้ได้ตลอดเวลา
2. ข้อมูลเพิ่มปริมาณทุกวัน bandwidth มีขนาดใหญ่ขึ้นทุกวัน โครงข่ายเดิมที่ลงทุนเมื่อ 10-20 ปีก่อนอาจไม่ตอบโจทย์
เราจึงเลือกลงทุน Fiber optic 100% แต่แรก ทำให้ไม่ต้องแบกต้นทุน 2 อัน ซึ่งจากที่บริษัทแม่เราทั้งขายและติดตั้ง
รวมกับการเลือกเทคโนโลยีทำให้เราลงทุนได้ค่อนข้างถูก
ใช้เงินลงทุนราว 1.8 พันล้าน เป็นระยะ 70,000กว่ากิโลเมตร ครอบคลุม 75 จังหวัด
สายทองแดง ปัจจุบันตกรุ่นแล้ว เพราะส่งไปได้ไม่เกิน 4MB
จึงทำให้ ADSL ทยอยเลิกใช้ เป็น FTTX ซึ่งเป็นความเร็วระดับแสง เป็นการลงทุนระยะยาว
ในอนาคตตู้ ATM จะเริ่มคุยกับเราได้ ปัจจุบันยัง bandwidth ไม่พอเก็บภาพจากกล้อง CCTV
3BB, True เป็นลูกค้าเรา เราไม่ทำธุรกิจทับซ้อนเขา แต่เขาใช้บริการเรา
ทำให้เขาไม่ต้องลงทุนเอง ไม่ต้องดูแลซ่อมบำรุงเอง
เรามีทำสัญญา True 10 ปี AIS 5 ปี ลูกค้าจะไม่ค่อยเปลี่ยนผู้ให้บริการ
เราเลือกปิดลูกค้าจากรายใหญ่ไปรายเล็ก ซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นลูกค้าเรา, แบงค์ 3 ใน 5 เป็นลูกค้าเรา
ธุรกิจอื่นๆ เอาคนที่มีไปดูแลเรื่องซ่อมบำรุง สร้างรายได้ 2-3 ร้อยล้านบาทต่อปี
Data center เราเป็นที่แรกที่สร้างโดยเฉพาะ เต็มหมดแล้ว ขายแบงค์ก่อน แล้วค่อยไปปิดลูกค้าอื่น

ผลดำเนินงาน
BCH
ช่วงนี้เป็นการ turn around ครึ่งปี 59 เทียบ 58 จะเห็นว่า
รายได้โต 15% 2721 เป็น 3121 ล้านบาท
EBITDA 630 เป็น 833 โต 33%
Net profit 193 เป็น 312 โต 62%
ธุรกิจให้บริการ Q3,4 ปกติจะเติบโตดีเป็นหน้าฝน
เกษมราษฎร์ โต 13% เวิลด์เมดิคอลเซนเตอร์โต 60% ลูกค้ามากจากออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง พม่า การุญเวชโต 7%
โตด้วยวิธีจัดการโรงพยาบาลที่ซื้อมา เช่น โรงพยาบาลที่ปทุมธานี
แบ่งตามลูกค้า OPD โต 9% ผู้ป่วยในโต 19%
คนไข้ประกันสังคม วิธีบันทึกโรค ที่เก่ง,ครบถ้วนจะทำให้เกิดกำไรสูง โต 5 หมื่นคน กำไรโต 17%
ศูนย์โรคหัวใจเราเติบโตอันดับ 1 ของประเทศ % รอดของเราศูนย์มากเพราะมี accredit ตลอดเวลา มีโรงพยาบาลเอกชน,รัฐส่งมาหาเรา
ศูนย์ของเราจดทะเบียนและมีค้ำประกัน 1 หน่วยน้ำหนักต้องค้ำประกันที่เรา 15,000 บาท
ยุคแรกมีคนส่งมาให้กว่า 40 โรงพยาบาล เนื่องจากไม่สามารถเปิดศูนย์ตรงนี้ได้ครบวงจร
เงินสดโตจาก WMC 4-5% EBITDA เป็นบวกแล้ว เชื่อว่าจะเป็น cash ใหญ่ในอนาคต ในต่างประเทศ เป็น high growth
ประเทศเพื่อนบ้านยังต้องการพัฒนาการให้พยาบาล มีโมเดลในการเข้าไปคือ
1.ยังไม่มีความชัดเจน – agency office เพื่อส่งคนไข้มาประเทศไทย
2. รับจ้างบริหาร – เพราะเขายังขาดมาตรฐานหรือยังไม่ผ่าน JCI
3. ลงทุนเอง – ถ้ากฏระเบียบและนโยบายการให้ลงทุนชัดเจน

โปรเจคใน pipeline
เรากำลังก่อสร้างเกษมราษฎร์รามคำแหง 135 เตียง 500 ล้านบาท Q1 ปี 18
อรัญประเทศ ตลาดไทยและเพื่อนบ้านฝั่งปอยเป็ด เปิดบริการ Q3 18 ลงทุน 500 ล้าน
เนื้อที่ราว 20 ไร่ อยู่ระหว่างออกแบบเพื่อสร้าง
กบินทร์บุรี ศณีมหาโพธิ เปิดปี 19 ตลาดประกันสังคม
เชียงขอม อยู่ตรงข้ามฝั่งห้วยทราย เป็นโรงบาลขนาดเล็ก 30 เตียง ลงทุน 60 ล้านบาท

อีกโปรเจคคือปรับปรุงโรงพยาบาลให้เป็นโรงแรม
-เกษมราษฎร์ฉะเชิงเทราที่เราซื้อมา จะใช้เงินปรับปรุง 60 ล้านบาท
-ศรีวรินทร์ เชียงราย จะเปิดศูนย์ผ่าตัดหัวใจครบวงจร แห่งแรกเชียงราย จะมีลูกค้าจากท่าขี้เหล็ก รัฐฉาง มีลูกค้าจากคุนหมิงบินมา
-รัตนาธิเบศร์ ตัวนี้เป็น high growth จะใช้เงิน 50 ล้าน ปรับปรุงเป็น เกษมราษฎร์ international ไม่มีลูกค้าประกันสังคม
-แม่สาย เปิดโรงพยาบาล 30 เตียง ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท
ทั้งหมดไม่มีการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น
ความเสี่ยง ธุรกิจสถาพยาบาลตอบโจทย์คนสูงอายุ แต่จะ mature เมื่อไรว่ากันอีกที ถ้าเปลี่ยนนิยามจาก 60 เป็น 65 ตัวเลขจะตก
ความเสี่ยงอีกอย่างคือ บุคคลากรขาดแคลน มีหมอ 3.9 ต่อหมื่นประชากร
พยาบาลเราผลิตได้ปีละ 8,000 – 12,000 แต่ฟิลิปปินส์ผลิตได้ 120,000 ต่อปี
Regulation ที่ยังไม่ค่อยชัดเจน อย่างโครงการ UC, หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
บางที่จะไม่เสี่ยง เราจะเลือกลงทุนบางจุดที่มีทีมงานพร้อม
เชื่อว่าภาระหนักเราผ่านไปแล้ว ผลประกอบการต่อไปจะดีขึ้น

AMATAV
เราเป็น Holding company ต้องอาศัยปันผลจากบริษัทลูก
อมตะซิตี้เบียนหัว ปีนี้ผลประกอบการลดลงเล็กน้อย ราว 10 ล้านบาท
เนื่องจากฤดูกาล ของเราจะขายดีมากไตรมาส 1 กับ 4 เป็นช่วงที่เริ่มงบการเงินใหม่
และลูกค้าจะเริ่มตัดสินใจ ซึ่งลำดับแรกคือซื้อที่ดิน แล้วจึงลงทุนต่อ
เวียดนามเคยมีปัญหาเรื่องเก็งกำไรที่ดิน จึงโดนผลกระทบกับนิคมอุตสาหกรรม
เมื่อก่อน ลูกค้าซื้อเสร็จเราสามารถบันทึกรายได้ แต่ตอนนี้ลูกค้าต้องซื้อและยื่นใบอนุญาต และส่งโฉนดให้เขา
จึงจะบันทึกรายได้ ทำให้รายได้ของ Q3 จึงต้องผลักออกไป Q4 แต่รวมแล้วน่าจะดีกว่าปีที่แล้ว 10-20%
บริษัทใหม่ Amata City Long Thanh
เราจะเริ่มจากพัฒนา green field คาดว่าปีนี้อย่างน้อยน่าจะรับรู้ได้ราวครึ่งหนึ่งของปัจจุบัน
โดยเป็นสัดส่วนจาก ที่ดิน 40-42% ,สาธารณูปโภค 20-25%,โรงงานให้เช่า 20-22%
ซึ่งมีการเติบโต 15-20%
สัดส่วนกำไรขั้นต้น 50% %EBIT 40% เรามีค่าเสื่อมน้อย แต่ปีหน้าและอนาคตน่าจะเปลี่ยนแปลง
เพราะเมื่อก่อนเราไม่เคยกู้เงิน เก็บเงินสดฝากรับดอกเบี้ย เคยได้ดอกเบี้ยสูงสุด 15% และลดลงมาเรื่อยๆ
จนปัจจุบัน ได้ไม่เกิน 5% และเจอปัญหาว่าเราต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มด้วย
REIT เรามองว่าโรงงานให้เช่าสามารถเอาเข้ากอง REIT ได้ ซึ่งเรามี AMATAR อยู่แล้ว
หรือไม่ก็ตั้งกอง REIT ของ AMATAV ขึ้นมาโดยเฉพาะ
อีกโปรเจค คือ ที่ภาคเหนือ ท่าเรือไฮฟอง จะเป็นน้องใหม่ของ amatav ที่จะเข้ามา เป็นแห่งที่ 4

TVD
ปี 58 ยอดขาย 3040 ล้าน ครึ่งปีแรก 1390 ล้าน
ปี 59 ครึ่งปี 1800 ล้าน โต 26-27% มีกำไร 20 ล้าน ครึ่งปีนี้ 55 ล้าน
สาเหตุเพราะธุรกิจ homeshopping เริ่มนิ่ง media supply digital TV มีพอ การหดตัวของ ทีวีดาวเทียม ดีกว่าที่เราคิดไว้
ทำให้การขายสินค้าในทีวีดาวเทียมที่ media ดียังทำได้ ร้านค้าปลีก sssg โตทุกตัว และที่สำคัญ online
ปีที่แล้วมี 70 ล้าน ปีนี้น่าจะแตะ 130 ล้าน รูปแบบได้ตั้งแต่ website, social commerce ไปถึง micro site ที่ส่ง link มาซื้อขายกัน
เรา supply ของให้กับ market place ต่อไปน่าจะโตเยอะมาก
ค่าใช้จ่ายเราควบคุมได้ 2 ปีที่ผ่านมาเราส่งของช้ากว่าคนอื่น เขาใช้ curry, dhl ปีที่ผ่านมาเราใช้ระบบใหม่ เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำใหม่
ครึ่งปีหลัง น่าจะสบายใจได้
เวลาที่มอง GDP growth อย่าลืมมอง size
GDP ไทย growth 3.5% แต่เศรษฐกิจเราใหญ่กว่าเวียดนามใหญ่กว่า 10 กว่าเท่า
หมอ 1 คนใช้เวลาเรียน 7 ปี (หมอเคบอกใช้ทุนอีก)
กว่าจะออกมาได้ ยากเย็นมาก เป็นเหตุให้ประเทศไทยมีหมอดีๆเยอะ
ระยะหลังมี social เยอะ มี ฟ้องร้องเยอะ หมอไม่อยากเสี่ยง
หมอรุ่นใหม่ๆไปผ่าจมูก ผ่าตา ผ่านมหมด
จะให้กำลังใจว่าหมอว่าทุ่มเทมาก

ITEL
รายได้เรายังเล็ก จึงมองเห็น high growth ได้
ครึ่งปีแรก 353 ล้าน เทียบปีก่อน 176 โต 80%
กำไร 17 ล้าน 35 โต เกือบ 100%
สาเหตุคือธุรกิจเราค่อยเก็บลูกค้า
อัตรายกเลิกของลูกค้า 1.3% ถือว่าน้อยมาก
พอใช้แล้วดูแลบริการให้ดี ลูกค้าจะไม่อยากเสี่ยงอยาก
เราเข้ามาในวันที่ technology เปลี่ยนพอดี จากช่วงที่เปลี่ยน bandwidth, ช่องสัญญาณพอดี
ในระยะยาว 3-5 ปี ฐานลูกค้าเราจะเพิ่มขึ้น
เราเลือกลงทุนแต่แรก 75 จังหวัด ซึ่งค่าเสื่อมราคาเราแบกไว้สูงตั้งแต่แรก ทำให้ %กำไรสุทธิ อยู่ที่ 8-11%
%ebitda อยู่ที่ 35% อนาคตผ่านไป จำนวนจังหวัดไม่เพิ่ม แต่รายได้เพิ่ม จึงคาดได้ว่า รายได้ และกำไรจะโตขึ้นได้
ธุรกิจที่มี 60% เป็นรายได้ต่อเนื่อง มีสัญญาระยะยาวอีกสิบปีข้างหน้าราว 980 ล้านบาท
มีงาน 40% เป็นงานที่เอาคนของเราไปรับงาน รับปีละ 200 ล้าน ครึ่งปีแรกรับรู้แล้ว 130 เหลือ backlog 140 ล้าน
ขณะเดียวกันจะมีงานใหม่ๆที่เข้าไปประมูลอีก อย่างเดือนนี้เน้นไปที่ True จะมี bid งาน มีโครงการประชารัฐทำเพื่อชาติ
แข่งขันกัน 6 เจ้า มีที่รอประมูล 5 งานในเดือน พ.ย. ถ้าได้จะทยอยประกาศตามช่องทางตลาดต่อไป
อีกส่วน เราสามารถเก็บค่าผ่านทางได้ พม่าอยากไปสิงคโปร์ต้องผ่านไป ลาวกัมพูชาอยากไปสิงคโปร์ต้องผ่านไทย


หัวข้อ 2 "เลือกหุ้นบริหาร Port แบบเซียน"
1) คุณวิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ. CIMB Principal
2) ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย
3) คุณอนุรักษ์ บุญแสวง (โจลูกอีสาน) อดีตนายก สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
4) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

เกริ่นนำ
อ.เสน่ห์ จัดพอร์ตยอดยากยิ่ง ไม่เซียนจริงยิ่งกว่ายาก จับมั่วชัวร์ลำบาก ฟังจากปากเซียนสุดคุ้น สมจินเซียนจัดทัพ
วินพร้อมรับเซียนกองทุน อนุรักษ์เซียนชอบหุ้นเซียนตลาดหุ้น เวศน์ VI ไพบูลย์คูณครบเซียน แม้เกษียณเซียนเชื่อได้ เสน่ห์เซียนหัวไว พร้อมจัดให้ ได้อย่างเซียน
มี 3 คำถามต่อท่าน


คำถาม 1 เลือกหุ้นคุณภาพอยากขอทราบแนววิธี ได้หุ้นได้ของดี แนะหน่อยซี เลือกอย่างไร ?
ดร.สมจินต์
ถ้านึกถึงเซียน ในเมืองไทย คือ อ.นิเวศน์ ถ้ามองในระดับโลก โจ เพอร์ซันลี เป็น global quality growth ของ เวลลิงตัน
คำว่า quality กับ growth มีความหมาย จะเลือกหุ้นมีคุณภาพและเติบโตอย่างมีคุภาพต้องมีเครื่องมืดวัด 4 อย่าง
1. วัดคุณภาพ
2. การเติบโต
3. ความคุ้มค่า
4. วัดผลตอบแทนในรูปตัวเงิน
ตัววัดเขาจะดู cash flow margin เวลาดูงบการเงิน งบกำไรขาดทุน ตัวเลขทางบัญชีกับกำไรทางเศรษฐศาสตร์แตกต่างกัน
จึงต้องดู cash flow margin เป็นส่วนต่างมูลค่าที่ขายได้กับต้นทุนรวม บริษัทผลิตสินค้า ขายได้ราคา ควบคุมต้นทุนได้ดี
เขาจะดูว่าเติบโตได้ดีไหม ดู organic growth คือตัวที่เป็นแกนหลักของธุรกิจ ไม่ใช่ M&A ที่ไม่ยั่งยืน
ดูผลตอบแทนซึ่งไปสู่นักลงทุน ถ้าจริงใจกับผู้ถือหุ้นต้องจ่ายปันผลหรือซื้อหุ้นคืน
สิ่งสำคัญคือต้องวัดได้ และมีกระบวนการคัดกรอง 3 พันหุ้นใน universe และจะลงลึก ทำ financial model ข้างหน้าไป 15 ปี
เวลาดูงบการเงินแล้วคนจำนวนมากจะถามว่า quarter ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร แต่เขาจะถามว่า 2 ปีข้างหน้า
อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเลื่อนธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า cash flow margin จะเป็นอย่างไร แล้วใช้ในการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ต
เป็นแนวความคิดแบบเวลลิงตันซึ่งเป็น global quality growth
ในมุมมองอื่น ที่เราซื้อหุ้นไทย เวลานึกถึงหุ้นกลางหรือเล็ก เพราะมีสถิติว่าให้ผลตอบแทนดีเป็นพิเศษ แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงสูงด้วย
ถ้าเป็นแบบนี้จะเลือกมุมมองเป็น portfolio มากกว่า และใช้ optimization model ให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด

คุณวิน
Cimb principle มีหลักเลือกหุ้น วงกลาม 3 วง ซึ่งทุกตัวต้องผ่านกระบวนการนี้
1. Fundameltal ปัจจัยพื้นฐานดี เติบโต กำไรมั่นคง
2. Valuation ราคาไม่แพงไป ต้องคำนึงถึง upside downside รายย่อยมักจะเน้นมอง upside
แต่มักลืม downside ซึ่งอาจทำให้เราเจ๊ง ได้ แนะนำให้พยายามมองด้วยว่าถ้าแย่จะเสียขนาดไหน
3. Expectation ความคาดหวัง หุ้นที่ดีมักจะเป็นสิ่งที่คนนึกไม่ถึง broker อาจจะไม่ได้ดูแลอยู่
ทีมงานต้องไป visit บริษัทเยอะมาก หรือไม่ก็เป็นตัวที่ถูก cover แล้วแต่คนมองแย่
ยกตัวอย่าง ปีก่อนมีหุ้นตัวหนึ่ง เป็นบริษัททำแผงวงจรรถยนต์ น้องในทีมไป visit บริษัท พบว่าขายให้รถยนต์ในยุโรป อเมริกา ซึ่งขายดีมาก
มองวงแรก fundamental ดีมาก เติบโตดี margin สูง ตอนซื้อ pe 8-9 เท่า valuation ไม่แพง
expectation คนมองว่าส่งออกแย่ ซึ่งเรามองว่าเป็นแพชรในตม
การเลือกหุ้นแบบนี้ข้อเสียคือ บางทีต้องทน กว่าคนจะเห็นต้องใช้เวลา

คุณโจ
ส่วนตัวรู้สึกว่าตัวเองคล้ายผู้จัดการกองทุน เพราะถือหุ้นเกือบ 100 ตัวแล้ว
หลักเลือกหุ้นไม่ได้ซับซ้อน คล้ายกับการลดความอ้วน มี 2 อย่าง คือ ลดอาหาร กับ ออกกำลังกาย
การซื้อหุ้นเหมือนกัน มี 2 ประเด็น คือ เลือกหุ้นดี ราคาไม่แพง
หุ้นที่ดี สำคัญสุดคือ ต้องเติบโต เพราะถ้ากำไรเติบโต ราคาหุ้นจะเติบโตด้วย เป็นความจริงของตลาดหุ้น
ยกเว้นถ้าซื้อหุ้นราคาแพงมากๆ เพราะมันแพงล่วงหน้าไปแล้ว
หุ้นลักษณะไหนที่เติบโต มีความสามารถในการแข่งขัน ผู้บริหารเก่ง หลายบริษัทก็น่าเสียดายที่ผู้บริหารไม่มีความทะเยอทยาน
งบการเงินดี บริษัทส่วนใหญ่เติบโตต้องใช้เงินทุน ถ้ามีหนี้สูง เติบโตต้องเพิ่มทุน ตัวหารก็มากขึ้น การเติบโตแบบนี้ไม่ค่อยมีประโยชน์
อย่างที่คุณวินพูด หุ้นที่ดี เราอย่ามองแค่ upside ให้มองความเสี่ยงด้วย เช่น หุ้นที่มีคดีความเยอะแยะ วันดีคืนดี ก็ถูกตัดสินมาแทบเจ๊ง
,หุ้นที่ใกล้หมดสัมปทาน ,หุ้นพลังงานทดแทน บางบริษัทรับรู้รายได้ adder มาแล้ว 5 ปี เหลืออีกแค่ 3 ปี แม้กำไรเติบโต แต่ราคาหุ้นก็อาจไม่ไปไหน
หุ้นบางตัวเป็นราคาของชาติหน้าหลายภพ ถึงบริษัทจะเติบโตได้ แต่ก็ต้องใช้เวลาหลายปี
การซื้อหุ้นแพงๆแสดงว่าเราไม่เปิดโอกาสให้ผิดพลาดต้องวิเคราะห์ถูกต้องเท่านั้น แต่ถ้าเราซื้อหุ้นถูก ถึงแม้วิเคราะห์ผิด เราก็ไม่ขาดทุน
ของดี ต้องราคาถูกด้วย
ช่วงหลังมีกระแสว่า ซื้อหุ้นไม่ต้องดู pe ขอให้ growth จริงๆ ส่วนตัวคิดว่าก็คงได้ทำกำไรได้จนกว่าจะถึงวันที่ความผิดพลาดเกิดขึ้น อาจเสียหายหนักๆ
การหาหุ้น อ่านข่าว ที่แจ้งในตลาดหลักทรัพย์ทุกวัน เช่น ขยายกำลังการผลิต 1 เท่าตัว ต้องเจาะตามรายละเอียดต่อ มีโอกาสสำเร็จไหม ทำได้จริงไหม
พวกโรงไฟฟ้ามักจะมีกำไรแน่นอน เพราะเริ่มเดินก็ขายได้ 100% ทันที แต่โดยทั่วไปสร้างโรงงานเสร็จ กว่าจะผลิตจน breakeven ต้องใช้เวลา
อื่นๆ ก็ดูหนี้สิน กระแสเงินสด ดูผู้บริหาร ดูความเสี่ยง บางทีซื้อ 1-2 ปีไม่ไปไหนก็มี มีหุ้นอยู่ตัวที่ถือมา 3 ปีแล้ว เพิ่งมาขึ้นปีนี้
หรือ อย่างปีก่อน ก็มีหุ้นของอ.นิเวศน์ ยู่ตัวที่ก็ไม่มีโอกาสได้ซื้อเลยช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา จนปีก่อนก็ตกลงมาได้โอกาสซื้อ ก็ได้กำไรดี

ถ้าเราเปิดโอกาสให้ตัวเอง ก็จะมองเห็น เหมือนคนที่ไม่มีแฟน เราได้เปิดโอกาสให้ตัวเองหรือเปล่า ถ้าเราเฝ้ามองตลอด ราคามันใช่ หรือพร้อมเมื่อไรก็ได้โอกาสซื้อ

หุ้น ipo แม้จะไม่มี track record ที่ยาวนาน แต่ถ้าอยู่ในวิสัยที่คาดการณ์ได้ก็น่าสนใจ เช่น หุ้นที่ผลิตไฟฟ้าซึ่งได้สัญญาขายชัดเจนแล้ว ราคาขายไม่แพง

การติดตามหุ้นอย่างใกล้ชิด คิดว่าใช้เวลาราว 2 ชั่วโมงต่อวัน คนส่วนใหญ่ focus ที่ราคาซึ่งไม่มีประโยชน์เท่าไร
ทุกวันนี้ตลาดหลักทรัพย์เข้มงวดขึ้น ในอดีตมีข่าวสารปั่นราคาเยอะ คิดว่าข่าวสารที่ดีสุดคือข่าวที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งทุกวัน
ทั้งบริษัทที่เราติดตามและไม่ได้ติดตาม ในแต่ละวันไม่ได้ใช้เวลามากมาย สมมติมีข่าว 100 ข่าว เราจะคลิกไปอ่านแค่ 5-6 ข่าวเท่านั้นเอง
ท่านเทียม โชควัฒนาเคยพูด สำหรับท่าน การทำงานคือการพักผ่อน
ถ้าเรารักที่จะทำอะไร จะไม่รู้สึกฝืนที่จะทำ ถ้าลงทุนแล้วรู้สึกฝืนก็แนะนำให้ฝากเงินเข้าในกองทุนดีกว่า

ดร.นิเวศน์
ตอนนี้มีหุ้นราวสิบกว่าตัว เป็นการซื้อหุ้นคนละแบบกับคุณโจ
จะคิดถึง10ปีข้างหน้าไม่ต้องขาย ถือไว้แล้วเจอกันที่ดาวอังคาร(จะมีค่ามากมหาศาล)
วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เราต้องจดจ่อมาก คือ เลือกแบบ super stock ซึ่งต้องใช้จินตนาการสูง ถ้าบอกว่าอีก 10 ปีเจอกัน จะไม่มีทางรู้
จึงต้องจินตนาการ อย่าง Elon Musk บอกว่าอีกสิบปีข้างหน้าจะส่งคนไปอยู่ดาวอังคาร ไปสร้างอาณาจักร เขามีกรอบวิธีคิดชัดเจน
บอกว่าถึงวันนั้นคนจะไปดาวอังคารต้องจ่าย 1 พันล้านเหรียญ คนที่ไปได้คือคนมีเงินและอยากไป ซึ่งอาจจะเหลืออยู่ 1 ล้านคน ซึ่งใน 40-50 ปีข้างหน้าจะมีภาพแบบไหน
มีอีกอย่างที่เขาคิด อีก 10-20 ปี ทั้งโลกจะต้องใช้รถยนต์ไฟฟ้า เราก็ต้องมาคิดว่าจะเป็นความจริงได้อย่างไร เช่น ราคาไฟฟ้าถูกลง ต้นทุนดูแลต่างๆถูกกว่า
สรุปวิธีการเลือกหุ้น คือ
1.อยู่ใน mega trend กิจการที่ทำจะมีการใช้เพิ่มเติมอีกนาน เช่น มือถือ
2.ต้องเป็นผู้ชนะ คือ มองแล้วรู้แล้ว ดูง่าย เขามียอดขายเยอะ ปริมาณขายเยอะกว่าคู่แข่งขาด ผู้ชนะที่ไม่มีคู่แข่งยิ่งดี แต่อาจจะไปตายเรื่องอื่นแทน
3.ต้องมีความเปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน คือ โครงสร้างได้เปรียบ เช่นต้นทุนถูกกว่า
อย่าง apple ไม่มีความได้เปรียบที่ยั่งยืน แม้ปัจจุบันเป็นผู้ชนะ วันหน้าเสี่ยวมี่ ซัมซุงอาจจะชนะ
4.มีผลดำเนินงานทางการเงินที่ดี roe มากกว่า 15% มี cashflow สูงๆ ต้องลงทุนมากตลอดเวลาไม่ดี
5.ราคาหุ้นยุติธรรมไม่แพงเกินไป ไม่ใช่แค่ปัจจุบัน มองไป 3 ปีข้างหน้า pe ไม่ควรเกิน 20-25 เท่า ถือว่าพอได้ ยิ่งต่ำยิ่งดี
ปกติแล้ว 4 ข้อแรกมักจะมี แต่ข้อ 5 จะหายากหน่อย
แถมตัวที่ 6. ปลอดภัยจากการทำลายทางเทคโนโลยี ถ้าตัวนั้นมีโอกาสโดนเทคโนโลยีทำลายก็ยังมีความเสี่ยง

คำถามที่ 2 จัดพอร์ตจัดให้แจ่ม ช่วยบอกแง้มถึงหลักการ จัดแล้วรับประทานไม่งุ่มง่ามเหมือน เงินงอกเงย
คุณวิน
ปีนี้เป็นบทเรียน ถ้าเราลงทุนตลาดเดียว หรือประเทศเดียวปีนี้เจ๊ง
จำได้ว่า ไม่มีใครเชียร์ทอง REIT หุ้นไทย กลายเป็นปี
การจัดพอร์ตจึงมีความสำคัญไม่มีใครรู้หรอกว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น
มีตัวอย่าง 4 portfolio
1) conservative เป็นตราสารหนี้ล้วน ผลตอบแทน YTD 1.3%
2) ผสม มีตราสารหนี้ 75% มี Property fund/REIT 15% หุ้นไทย 10% คาดหวังผลตอบแทน 10% ผลดำเนินงาน YTD 5.21%
3) Balance ตราสารหนี้ 40% prop 20% หุ้นปันผล 20% กองทุน (GSA) 10% GIF(Infrastructure) 10% ผลดำเนินงาน YTD 7.14%
4) Growth หุ้นล้วน หุ้นไทย 50% prop 15%gif 20% gsa 15% ผลดำเนินงาน YTD 8.72%
ถ้ามองอดีตย้อนไป 6 ปี ทำใจได้ไหมว่าเกิดเหตุการณ์กับตลาดหุ้นแล้วเงินหายไป
ถ้าลงทุนยาวๆเงินจะโตเร็วกว่า แต่จะเจอความผันผวนไปด้วย
พอร์ตอีกแบบเรียก Target date จัดพอร์ตตามอายุ เรามักกังวลเมื่อลงทุน หุ้นแย่ขาย หุ้นขึ้นซื้อตาม ซึ่งแทนที่จะปล่อยให้อารมณ์มาตัดสินใจ เราจัดพอร์ตตามอายุ
ถ้าอายุน้อยจะมีหุ้นครึ่งหนึ่งของพอร์ต พออายุเยอะก็ลดหุ้นลง ซึ่งในอนาคตภาครัฐจะส่งเสริมให้เราจัดพอร์ตมากขึ้น

ดร.สมจินต์
เชื่อในเรื่องการจัดทัพ ลงทุนโดยมุ่งวัตถุประสงค์
1. สร้างความมั่งคั่งในระยะยาว
2. บริหารเงินเพื่อสร้างสภาพคล่อง 1 ปี
3. มีเงินมาบริหารเสริมหน้าหรือหนุนหลัง
แบ่งเงินเป็นกองหน้า กองกลาง กองหลัง
เงินที่เป็นกองหน้า หุ้นยังให้ผลตอบแทนสูงที่สุด แต่ระหว่างทางจะมีความผันผวน จึงต้องเป็นเงินเย็น
และอยู่ได้ 1 วงจร เศรษฐกิจ(5-7 ปีขึ้นไป) เพื่อให้ผลตอบแทนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยระยะยาว
กองหลัง เงินที่ใช้ใน 6-12 เดือน ข้างหน้า ตราสารการเงิน กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ระยะกลาง
ได้ผลตอบแทนน้อยลง แต่เงินต้นอยู่ ให้สภาพคล่องกับเรา
กองกลาง เงินที่จะลงทุนได้ 2-4 ปี อดีตลงทุนในพันธบัตร ตราสารหนี้ ซึ่งตอนนี้ต่ำมาก ตอนนี้จึงขยับไปที่ตราสารหนี้ภาคเอกชน
หรือตราสารหนี้ต่างประเทศ mortgage back security จะมีผลตอบแทนขึ้น และมีโอกาสชนะเงินเฟ้อ รวมถึงกองทุนอสังหาริมทรัพย์
พวกที่มีค่าเช่า หรือกองทุนที่มีสาธารณูปโภคที่จำเป็นมีกระแสเงินสดเสถียรจะเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่อาจจะผันผวนมากกว่าตราสารหนี้บ้าง
ถ้าต้องการคำปรึกษา มีทีม call center 1725 มี investment consultant ที่มี license 13 คนให้บริการ

การลงทุนที่ระยะยาวขึ้น เช่น เพื่อเกษียณ หรือ หลังเกษียณ
ในแนวคิดของ Vanguard เราจะมองคน 20 40 60 เป็นเส้นเวลา 3 เส้น
ถ้าเราเริ่มลงทุน 20 จะมีสัดส่วนหุ้น 90% ตราสารหนี้ 10% แล้วมีสัดส่วนนี้จนอายุ 40 แล้วให้ลดสัดส่วนหุ้นลงเรื่อยๆจนถึงอายุ 60
ให้เหลือสัดส่วนหุ้น 50% แล้วหลังจากนั้นจนอายุ 67 ปี ลดสัดส่วนหุ้นเหลือ 30% คงไว้
สัดส่วนหุ้นเขาจะลงทุนประเทศตัวเอง 2 ใน 3 และต่างประเทศ 1 ใน 3
อย่างถ้าใช้กับไทย ตลาดหุ้นผันผวนเราอาจจะลดทอนลงมาใช้ 70-90%
ถ้าลงทุนกระจายอย่างดี โอกาสที่ลงทุนผลตอบแทนจะได้ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยมากขึ้น ตัวอย่างเช่น กอง set 50 เราจะลงทุนตามหุ้นขนาดใหญ่
หรือ กอง mid small ที่ลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็ก กระจายในหุ้น 40 ตัว และ optimization เพื่อให้ความเสี่ยงต่ำสุด ตามความผันผวน
ที่อ.นิเวศน์ พูดถึงหุ้น mega trend ถ้าเราไม่มีความรู้ และไม่มีเวลาติดตาม ซื้อกองทุนรวมดีกว่า แต่ถ้าเราอยากเรียนรู้ และสนใจหุ้นเติบโตอย่างมีคุณภาพ
จอห์น เพอซันลี่ ชอบอยู่ 3 sector กลุ่มที่ 1 อีโลโนอองโคโลจี เป็นยาที่รักษามะเร็งโดยศึกษาไปถึงภูมิคุ้มกันยีนของคนแต่ละคน
เป็นเทคโนโลยีกำลังไปได้ดี และกำลังขยาย มีแค่ 5 บริษัทที่ทำ กลุ่มที่ 2 software and service productivity ในเทคโนโลยีที่เปลี่ยน และแข่งขันสูง
สิ่งที่ต้องทำคือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน บริษัทที่ทำด้าน it ก็จะมีโอกาส กลุ่มที่ 3 secure mobile internet connectivity
บริษัทที่มีเทคโนโลยีป้องกันความเสี่ยงในเรื่องเหล่านี้จะได้ประโยชน์

คุณโจ
ลงทุนในหุ้นเกือบ 100% เคยอ่านงานวิจัย 100 ปีของ djia สินทรัพย์ให้ผลตอบแทนดีสุดคือหุ้น
ปีเตอร์ลินซ์บอกว่า การลงทุนในตราสารหนี้ สุดท้ายอาจพอๆกับเงินเฟ้อ และอีกเหตุผล เรามีความรู้ในเรื่องนี้
แล้วทำให้ดี ไม่ได้เก่งเรื่องตราสารหนี้ ทอง คอนโด
หลักการจัดพอร์ตคือ กินได้ นอนหลับ
ถ้าจัดพอร์ตไม่ดีมีโอกาสเจ๊งตั้งแต่ยังไม่เลือกหุ้น
1.พอร์ตอยู่ในชื่อแฟน อย่างดารา ทำธุรกิจร่วมกัน พอเลิกกันธุรกิจก็เจ๊ง ถ้าภรรยาอนุโลมได้
2.ห้ามถือหุ้นตัวเดียว ปีนี้มีเพื่อนนักลงทุนซื้อหุ้นตัวเดียว แล้วมีปัญหาขึ้นมาจึงเสียหายเยอะ ถ้าเราสำเร็จมาเป็นสิบครั้ง แต่ถ้าพลาดเราจบเลย
3. พอร์ตที่ใช้มาร์จิ้น หุ้นที่ใช้มาร์จิ้นลงแค่ 10-15% ก็เจ๊งแล้ว ในเมืองไทย บลจ.ปล่อยกู้เต็มที่ 1 เท่าตัว
แต่บางคนไปเปิดพอร์ตต่างประเทศ ปล่อยกู้ 3 เท่า พอหุ้นลง10 % โดน force sell วอร์เรน บอกว่าสิ่งที่น่ากลัวสุดคือการกู้มาลงทุน
บางทีเราอาจคิดถูก แต่มันผิดก่อน แล้วก็โดน force sell ไปแล้ว
3 อย่างเป็นศีลในการเล่นหุ้น
ทุกคนมีโอกาสผิด ส่วนตัวก็ผิดพลาด แต่ไม่ทำให้เสียหายมากมาย เพราะกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
จำนวนหุ้น สำหรับคนทั่วไปซื้อหุ้นห้ามน้อยกว่า 3 ตัว เป็นเหมือนเก้าอี้ 3 ขา หักไปขาก็ยังได้
และต้องไม่ใช่สิ่งที่ปัจจัยร่วมกัน เช่น พลังงานทดแทน มีปัจจัยร่วมคือน้ำมัน
จากประสบการณ์ เราลงทุนในหุ้นเป็นมวยวัดไม่ได้ ทำมั่วๆพอร์ตหนึ่งแบบนี้อีกพอร์ตแบบนั้น
สมองเราไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ต้องหาสไตล์ตัวเอง

ดร.นิเวศน์
ปกติจัดพอร์ต 100% มาตลอด หลักการวิชาการคิดจากข้อมูลอดีต
สมัยก่อนอายุ 60 ก็ตายแล้ว แต่สมัยนี้คนตาย 70 กว่า ต่อไปอาจจะ 80-90 หรือ 120 ปี
ดังนั้นความคิดต้องเปลี่ยน
เราไม่ได้ลงทุนเพื่อใช้ เพื่อเกษียณ แต่ลงทุนเพื่อการตาย เงินตรงนี้เป็นมรดกที่เราไม่ได้ใช้
ถ้าเรารู้สึกว่าเรายังห่างความตาย เราอายุเกินอายุเฉลี่ย 75 ปี แสดงว่าเราจะต้องอายุยาวไปถึง 80-90
เงินลงทุนก้อนนี้จะเป็นมรดก ไม่ได้เอามาใช้
ดร.สมจินต์เสริม
เห็นด้วยในมุมที่ว่าถ้าเรามีเยอะแบบอ.นิเวศน์แล้ว การลงทุนจะไม่ใช่การลงทุนเพื่อตัวเรา หรือเป็นการลงทุนเพื่อสาธารณชน
อย่าง บัฟเฟตต์ที่จะบริจาค 99% ให้สาธารณะ
แต่ถ้าคนทั่วไป ต้องเตรียมเงิน 20 เท่า ของเงินที่ต้องใช้ต่อปี ในวันที่เราเกษียณ เราน่าจะมีเงินพอใช้ไป 20-25 ปี โดยประมาณ
หลังเกษียณ ถ้าผลตอบแทนเรา 5% ขณะที่เงินเฟ้อ 3%
ถ้าเรามีพอร์ตหุ้น 30% แล้วมีผลตอบแทนตราสารนี้ที่ดีพอสมควรซัก 70% น่าจะพอทำผลตอบแทน 5% ได้
เป็นเหตุผลที่วัยเกษียณควรพอจะมีหุ้นในพอร์ตบ้าง

คำถามที่ 3 ควรซื้อเมื่อไรดี ต้องเร็วรี่หรือรอได้ ตอนขายทำอย่างไร ถึงกำไรได้งามๆ
คุณวิน
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตลาด ระยะยาวหุ้นชนะตราสารหนี้ ปีที่ผ่านมามีจังหวะหุ้นโดนเทขาย 3-4 รอบ แต่ระยะยาวจะชนะ
ถ้าลงทุน 100 บาทต้องมีเงิน 5-10 บาท เอาไว้ซื้อหุ้นวันที่คนหวาดกลัว
เมื่อทุกคนในตลาดกลัว ต้องทำตรงข้าม ต้องมั่นใจว่าเราทำดีแล้ว
หน้าที่เราคือทำการบ้าน และรอ
นักลงทุนสถาบัน ถือว่ากว้างมาก กองทุนรวมเป็นสถาบันแบบหนึ่ง ปริมาณรวม 4.5 ล้านๆ หุ้น 1 ล้านๆ สำรองเลี้ยงชีพมี 9 แสนล้าน มีหุ้น 20%
และกองทุนส่วนบุคคล เมื่อก่อนไม่ใหญ่ แต่โตเร็วมาก ปัจจุบัน 7 แสนล้าน เจ้าข่องเงินคือเศรษฐี บริษัที่มีเงินเหลือจ้างบริหาร, กบข. ประกันสังคม
ในส่วนที่เรารับผิดชอบ ถ้าลูกค้าไถ่ถอนหน่วยลงทุนหน้าที่คือขาย เพื่อเอาเงินสดรอไว้ ใน 3 วันทำการเงินต้องไปถึงมือลูกค้า เมื่อลูกค้าสั่งเราก็ต้องทำ
ในส่วนที่เราทำโดยลูกค้าไม่สั่งคือ เลือกหุ้น จากหุ้น 100 ตัวคัดมา 40-50 ตัว เมื่อทำการบ้านไว้แล้ว ราคาเหมาะสมเราก็ซื้อ
สิ่งที่ห้ามน้องๆไว้คือ ห้ามลงทุนตามข่าวลือ , ห้ามลงทุนตามข้อมูลภายใน

คุณโจ
เราอาจมีหลายเหตุผลในการขายหุ้น แต่เหตุผลซื้อหุ้นมีอย่างเดียว คือราคาต่ำกว่าที่ควรเป็น
การเข้าซื้อขึ้นกับ upside ถ้ามีน้อยอาจทยอยซื้อเพื่อรับเพิ่ม แต่ถ้าเจอหุ้นที่แน่ใจมาก ฆ่าควายอย่าเสียดายเกลือ ประหยัดเกลือแล้วเนื้อควายเน่าเสีย ไม่คุ้ม
บางทีเคาะ 5 ช่อง ตลาดหลักทรัพย์โทรมาถาม แต่ก็ไม่ว่าอะไร เพราะเราซื้อก็ไม่ได้ขายเลย เคยพลาดหลายครั้งที่ตอดเล็กน้อย แล้วก็ตกรถ

การซื้อถัวเฉลี่ย ถ้าปัจจัยพื้นฐานบริษัทไม่เปลี่ยน เราต้องถัวเฉลี่ย ตอนที่แพงกว่านี้ยังซื้อ ราคาลดมาทำไมจะไม่ซื้อ
ยกเว้นถ้าปัจจัยพื้นฐานบริษัทเปลี่ยนถาวร
บางคนบอกมีดหล่นอย่าเพิ่งไปรับ บางครั้งผลตอบแทนสูงๆต้องซื้อตอนเลือดนองตลาด แม้จะเป็นเลือดเราเอง แต่ระยะยาวแล้ว เวลาผ่านไปหุ้นก็จะขึ้น
การซื้อให้ได้ราคาต่ำสุด ขายได้สูงสุดแทบเป็นไปไม่ได้ ในชีวิตเคยทำได้แค่ครั้งเดียว
การขายทำเมื่อเกินมูลค่า,
การขายเพื่อเปลี่ยนตัว อย่างช่วงที่ตลาดลงมาก บางตัวก็ลงแรงเป็นโอกาส ถ้าลงลิฟท์ ต้องขึ้นจรวด ไม่ใช่ลงลิฟท์แล้วขึ้นบันได
ขายเมื่อคิดผิด ห้ามหลอกตัวเองว่าไม่ขายไม่ขาดทุน ทุกคนพยายามหลีกเลี่ยงความเสียใจและแสวงหาความภาคภูมิใจ

ดร.นิเวศน์
ซื้อหุ้นเมื่อราคาได้ pe 3 ปีข้างหน้าไม่เกิน 20-25 เท่า
จะเสริมคุณสมบัติการได้เปรียบที่ยั่งยืน ได้แก่
มีแบรนด์ที่มีมาก เช่น แอร์เมส
มี economy of scale บริษัทใหญ่ทำให้ต้นทุนต่ำลงเยอะ ต้นทุนโฆษณา หรือทำอะไรต่างๆก็ต่ำลง อย่างการทำ event ทำมากๆก็ไม่ได้เปรียบ
มี network ใหญ่โตกว่าคู่แข่งเยอะๆ เช่น facebook มีคนเป็นพันล้าน
Exit cost สูง เวลาคนใช้แล้วจะติด ไม่อยากย้ายโรงพยาบาล
National monopoly ในสถานที่นั้นมีอยู่เจ้าเดียว หรือใหญ่มาก
โดยรวมถ้าเจอหุ้นพวกนี้เข้าข่าย ต้องมี 4-5 ข้อ
อย่างโรงพยาบาลชั้นนำคุณสมบัติได้ แต่ราคาไม่เคยถูก
ส่วนขายเมื่อไร? ไม่ต้องขาย จนกว่าจะไปเจอที่ดาวอังคาร
วันแรกที่เราเข้าซื้อหุ้นตัวนั้นจะต้องรู้ว่าขายเมื่อไร เช่น หุ้นตัวนี้จะยึดครองทั้งประเทศ แต่ถ้าวันนี้ ครึ่งประเทศก็ไม่ขาย
หรืออย่างมือถือเมื่อก่อนคนใช้ 30 ล้านเลขหมาย ตอนนี้ใช้ 80 ล้านเลขหมายก็ไปถึงดาวอังคารแล้ว
ถ้าจะซื้อตอนนี้ก็จะไม่ใช่ super stock แล้ว อาจจะมองอีกแบบว่าผลตอบแทนใช้ได้

ดร.สมจินต์
คนทั่วไปหาจังหวะซื้อขาย ไม่ใช่เรื่องง่าย
มักแนะนำว่าจัดพอร์ตโฟลิโอที่ดีพอสมควร พอมีรายได้ก็ทยอยลงทุนเท่ากันไปเรื่อย ก็จะสามารถเอาชนะตลาดได้
ถ้าเดือนไหนหุ้นขึ้นแล้วแพง เราจะได้หุ้นน้อย แต่ถ้าเดือนไหนหุ้นลงเราจะได้หุ้นมากขึ้น ต้นทุนเฉลี่ยเราจะต่ำกว่าท้องตลาด
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราลงทุน tmb set 50 ซึ่งเพิ่งมีอายุ 15 ปีเต็มเมื่อ มี.ค.ที่ผ่านมา ถ้าเราลงทุนเดือนละ หมื่นบาท เงินลงทุน 1.8 ล้านบาท
เดือนมี.ค.ที่ผ่านมาจะมีเงินรวม 4.95 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ย 12.4% สิ่งที่น่าสนใจคือ ราคาเฉลี่ย 42.5 บาท แต่ต้นทุนเฉลี่ย 28.3 บาท
เพราะลงทุนเท่ากันไปเรื่อยๆ สิ่งที่ต้องเลือกคือ พอร์ตโฟลิโอที่เชื่อว่าระยะยาวจะดี เมื่อยามผันผวนก็คงวินัยลงทุนให้ต่อเนื่อง
ส่วนจะขายเมื่อไร คำตอบคล้าย อ.นิเวศน์ เราสะสมไปเรื่อย ถึงเวลาที่จะใช้เงินก็ค่อยเอาออกมา ทรัพย์สินตรงนี้ต่อไปก็จะถึงลูกหลานเราด้วย

อ.เสน่ห์กล่าวปิดท้าย ถวายความอาลัย และขอให้เราทุกคนภาคภูมิใจที่โชคดีที่มีพระเจ้าอยู่หัว เกิดใต้ร่มโพธิสมภาร
แม้เราจะสูญเสียสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ขอให้เรารวมพลังกันและมุ่งมั่นเดินหน้าต่อไป

ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ หมอเค พี่นุช พี่แป๋ม และทุกท่านๆที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งช่วยสนับสนุนการจัดสัมนาและให้ความรู้กับพวกเราอย่างดีเสมอมาด้วยครับ


MoneyTalk@SETครั้งต่อไป เสาร์ 19 พ.ย.59
เปิดจอง เสาร์ 12 พ.ย.59 7 โมง
หัวข้อ 1 จุดตัดของเส้นทางธรรมกับการลงทุนหุ้น
คุณณัฐพบธรรม,คุณเคน โสรัฐ,คุณชาย มโนภาส
ดำเนินรายการ ดร.ไพบูลย์, “น้องเมย์”

หัวข้อ 2 New Gen VI
คุณกวี ชูกิจเกษม, คุณณัฐชาต คำศิริตระกูล, คุณทิวา ชินทาดาพงศ์, น.พ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวาณิชย์
ดำเนินรายการ อ.เสน่ห์,อ.ไพบูลย์,อ.นิเวศน์

ธ.ค.59 เศรษฐกิจไทย,หุ้นไทย อยู่ระหว่างเชิญ
ม.ค.60 จองไว้แล้ว เป็นเรื่องของ VI มองหุ้นไทยปี 60
จะประกาศทาง facebook moneytalk ต่อไป
Go against and stay alive.
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณบิ๊กมากๆครับ
เดินทางปลอดภัยนะครับ
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1735
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากเลยค่ะน้องบิ๊ก

ต้องตื่นไปขึ้นเครื่อง 5.00 เพื่อไปทำงานที่ต่างจังหวัด
ยังอยู่ทำงานจนดึกเลย

เยี่ยมจริงๆ ค่ะ :bow:
donnyvi
Verified User
โพสต์: 466
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากๆ เลยครับ
"The Winners .... never Quit, The Quitters .... never Win"
หมอตี่VI
Verified User
โพสต์: 20
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคูณมากครับ
###ลงทุนแบบเหมือนวิ่งมาราธอน###
the pupil
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 365
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณพี่บิ๊กมากๆ เลยครับ :D :D :D
Be strong but not arrogant, Be courageous but not reckless, Be optimistic but remain realistic, Be patient and disciplined
ภาพประจำตัวสมาชิก
conseto
Verified User
โพสต์: 1184
ผู้ติดตาม: 1

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
ทำ..เพื่อไม่ต้องทำ
Equanimity
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 368
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
houng
Verified User
โพสต์: 54
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณมากค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนดูดาว
Verified User
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณมากครับ _/\_
TBOON
Verified User
โพสต์: 46
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณครับ
Adlerns
Verified User
โพสต์: 16
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16Oct16 เปิดหุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&เลือกหุ้นบ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณครับ
AdlerNS
โพสต์โพสต์