อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล”/ บากบั่น บุญเลิศ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 1
อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล”/ บากบั่น บุญเลิศ
โพสต์ที่ 1
อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล” / โดย : บากบั่น บุญเลิศ
http://www.thansettakij.com/content/192951
กลายเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่รู้จบว่า เศรษฐกิจไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในสถานการณ์ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างพรวดพราด
ผมไปดูดัชนีค่าเงินของรอยเตอร์เมื่อเทียบเคียงกับเงินดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาคนี้พบว่า ตอนนี้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นมากที่สุดเข้าไปแล้ว โดยนับตั้งแต่ต้นปี 2560
ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นมาแล้ว 7.78%
เงินวอนของเกาหลีใต้ที่ว่าแข็งค่ามากนั้นตอนนี้แข็งค่าแค่ 7.37% เท่านั้น
เงินดอลลาร์ไต้หวันแข็งค่า 6.70%
เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่า 6.66%
ค่าเงินรูปีของอินเดียแข็งค่า 6.65%
เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่า 6.28%
เงินริงกิตมาเลเซียแข็งค่าแค่ 4.86%
เงินหยวนของจีนแข็งค่า 3.35%
เงินดอลลาร์ฮ่องกงอ่อนค่า 0.79%
เงินเปโซของฟิลิปปินส์อ่อนค่าลง 0.85%
ค่าเงินบาทของไทยไปยืนหัวแถวในอัตราที่ถือว่าแข็งค่าเอามากๆ
แน่นอนว่า การแข็งค่าของค่าเงินบาทนั้นเป็นตัวสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจการคลังของประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่า ไทยจะได้เปรียบในด้านการค้า
อย่าลืมว่า ไทยนั้นเป็นประเทศที่พึ่งพาด้านการส่งออก ถ้าพิจารณาจากยอดการส่งออกแค่เดือนละ 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมา 7.78% หมายถึงว่า เม็ดเงินที่ได้จากการค้าขายข้างนอกมาหล่อเลี้ยงการซื้อขายสินค้าภายในประเทศ จะหายไปทันทีเดือนละ 1,478 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อแปลงเป็นเงินสกุลบาทหมายถึงว่า เม็ดเงินที่ได้จากการค้าขายจะหายไปทันทีเดือนละ 48,770 ล้านบาท
เงินรายได้ที่หายไปจากค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น มีผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยไม่น้อยทีเดียว เงินก้อนนี้คือหน่วยที่สร้างการจ้างงาน การผลิตสินค้า และสร้างกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจอย่างแข็งขันและทรงพลัง
ใครอย่าริอ่านมาบอกชาวบ้านเชียวว่า นั่นคือ ค่าเงินที่หายไปทางบัญชี..มิได้มีผลทางเศรษฐกิจ
ผมเจาะข้อมูลลงไปเพิ่มเติมเพื่อดูว่าเงินบาทที่แข็งค่านั้นมาจากมูลเหตุเงินทุนไหลเข้าใช่หรือไม่ พบว่าเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) นับจากต้นปีมาถึงปัจจุบันมีเงินไหลเข้ามาแล้วรวม 4,558 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินก้อนนี้ไหลเข้ามาลงทุนธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาง เข้ามาลงทุนในธุรกิจบริการทางการเงิน และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้อีก 4,657 ล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้ลงทุนในตลาดบอนด์ถึง 3,474 ล้านดอลลาร์ จะพบว่ามีเงินไหลเข้ารวม 9,215 ล้านดอลลาร์
อันนี้ยังไม่นับรวมเงินที่ทางกลุ่มธนาคาร CTBC จากประเทศไต้หวัน โอนเงินเข้าซื้อหุ้นบริษัท LH ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (LHBANK) จำนวน 16,595 ล้านบาท และเงินก้อนโตที่ทางบริษัทประกันภัย FWD นำเข้ามาสดๆ ร้อนๆ เพื่อจ่ายให้กับทางธนาคารทหารไทยในสัปดาห์นี้อีก 2 หมื่นล้านบาท
แต่เมื่อพิจารณาจากเม็ดเงินไหลออกของไทย ที่คนไทยนำไปลงทุนพบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือตกประมาณ 4.5 แสนล้านบาท
ไตรมาสแรกไหลออกสุทธิ 6,785 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไตรมาส 2 ไหลออกสุทธิอีก 6,893 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีเงินไหลออกสุทธิถึง 3,339 ล้านดอลลาร์ เงินทุนไหลออกไปลงทุนนอกประเทศมากกว่าเงินทุนไหลเข้า
ดังนั้น การกล่าวอ้างว่าเงินบาทที่แข็งค่ามาจากเงินทุนไหลเข้าจึงไม่ใช่คำตอบ...
แล้วคำตอบที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วอยู่ตรงๆ ไหน...
ผมไปตรวจสอบข้อมูลแล้วตกตะลึงพรึงเพริด เมื่อพบว่ายอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยนั้นก้อนโตมหาศาล โดยนับตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาไทยเกินดุลมาตลอด โดยถึงตอนนี้ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาแล้ว 23,522 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือตกประมาณ 787,987 แสนล้านบาท ตกประมาณ 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีเข้าไปแล้ว
เฉลี่ยไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนละ 3,000 ล้านดอลาร์สหรัฐ เดือนมกราคมเพียงเดือนเดียวเกินดุลไปกว่า 5,416 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 181,436 แสนล้านบาท
ดุลบัญชีเดินสะพัด (current account balance) ที่บวกมากขนาดนี้มาจากไหน ก็มาจากดุลการค้าที่เป็นบวก เรามีรายได้จากการส่งออกมากกว่ารายจ่าจากการนำเข้าสินค้า เรามีรายได้จากภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว บริการทางการเงิน และอื่นๆเข้ามามาก เรามีเงินโอน และเงินที่จ่ายแก่เจ้าของ เช่น ค่าดอกเบี้ย ค่าเช่า และกำไรส่งกลับประเทศน้อย
ตรงนี้แหละครับที่เป็นโจทย์ชวนให้คิดกันว่า ที่เราเกินดุลนั้น เพราะเราไม่ลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช่หรือไม่….อย่าหลงระเริงกับการเกินดุลจนเกินไปนะครับ...
ที่เราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก ไม่ใช่เพราะส่งออกได้มากขึ้นนะครับ แต่เป็นเพราะการนำเข้าที่หดตัวอย่างรุนแรง ทั้งจากราคาน้ำมันที่ลดลง การชะลอตัวของการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภค การนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ลดลงไปตามการผลิตและการลงทุน
นี่คือปัจจัยที่ทำให้ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแบบไม่คาดฝันใช่มั้ย....
และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเยอะๆ กำลังแปลว่า เรากำลังอยู่ในภาวะเงินออมล้นประเทศ เราใช้จ่ายในประเทศน้อยกว่าที่ประเทศหาได้ใช่หรือไม่….
คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อผมไม่รู้...ผมรู้แต่ว่าตอนนี้เศรษฐกิจไทยกำลังบิดเบี้ยวพิลึก อัตราดอกเบี้ย 10 ปีของรัฐบาลไทย อยู่ในระดับ 1.7-1.8% ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ย 10 ปีของสหรัฐเข้าไปแล้ว...มันเกิดอะไรขึ้น...
http://www.thansettakij.com/content/192951
กลายเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่รู้จบว่า เศรษฐกิจไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในสถานการณ์ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างพรวดพราด
ผมไปดูดัชนีค่าเงินของรอยเตอร์เมื่อเทียบเคียงกับเงินดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาคนี้พบว่า ตอนนี้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นมากที่สุดเข้าไปแล้ว โดยนับตั้งแต่ต้นปี 2560
ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นมาแล้ว 7.78%
เงินวอนของเกาหลีใต้ที่ว่าแข็งค่ามากนั้นตอนนี้แข็งค่าแค่ 7.37% เท่านั้น
เงินดอลลาร์ไต้หวันแข็งค่า 6.70%
เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่า 6.66%
ค่าเงินรูปีของอินเดียแข็งค่า 6.65%
เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่า 6.28%
เงินริงกิตมาเลเซียแข็งค่าแค่ 4.86%
เงินหยวนของจีนแข็งค่า 3.35%
เงินดอลลาร์ฮ่องกงอ่อนค่า 0.79%
เงินเปโซของฟิลิปปินส์อ่อนค่าลง 0.85%
ค่าเงินบาทของไทยไปยืนหัวแถวในอัตราที่ถือว่าแข็งค่าเอามากๆ
แน่นอนว่า การแข็งค่าของค่าเงินบาทนั้นเป็นตัวสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจการคลังของประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่า ไทยจะได้เปรียบในด้านการค้า
อย่าลืมว่า ไทยนั้นเป็นประเทศที่พึ่งพาด้านการส่งออก ถ้าพิจารณาจากยอดการส่งออกแค่เดือนละ 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมา 7.78% หมายถึงว่า เม็ดเงินที่ได้จากการค้าขายข้างนอกมาหล่อเลี้ยงการซื้อขายสินค้าภายในประเทศ จะหายไปทันทีเดือนละ 1,478 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อแปลงเป็นเงินสกุลบาทหมายถึงว่า เม็ดเงินที่ได้จากการค้าขายจะหายไปทันทีเดือนละ 48,770 ล้านบาท
เงินรายได้ที่หายไปจากค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น มีผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยไม่น้อยทีเดียว เงินก้อนนี้คือหน่วยที่สร้างการจ้างงาน การผลิตสินค้า และสร้างกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจอย่างแข็งขันและทรงพลัง
ใครอย่าริอ่านมาบอกชาวบ้านเชียวว่า นั่นคือ ค่าเงินที่หายไปทางบัญชี..มิได้มีผลทางเศรษฐกิจ
ผมเจาะข้อมูลลงไปเพิ่มเติมเพื่อดูว่าเงินบาทที่แข็งค่านั้นมาจากมูลเหตุเงินทุนไหลเข้าใช่หรือไม่ พบว่าเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) นับจากต้นปีมาถึงปัจจุบันมีเงินไหลเข้ามาแล้วรวม 4,558 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินก้อนนี้ไหลเข้ามาลงทุนธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาง เข้ามาลงทุนในธุรกิจบริการทางการเงิน และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้อีก 4,657 ล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้ลงทุนในตลาดบอนด์ถึง 3,474 ล้านดอลลาร์ จะพบว่ามีเงินไหลเข้ารวม 9,215 ล้านดอลลาร์
อันนี้ยังไม่นับรวมเงินที่ทางกลุ่มธนาคาร CTBC จากประเทศไต้หวัน โอนเงินเข้าซื้อหุ้นบริษัท LH ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (LHBANK) จำนวน 16,595 ล้านบาท และเงินก้อนโตที่ทางบริษัทประกันภัย FWD นำเข้ามาสดๆ ร้อนๆ เพื่อจ่ายให้กับทางธนาคารทหารไทยในสัปดาห์นี้อีก 2 หมื่นล้านบาท
แต่เมื่อพิจารณาจากเม็ดเงินไหลออกของไทย ที่คนไทยนำไปลงทุนพบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือตกประมาณ 4.5 แสนล้านบาท
ไตรมาสแรกไหลออกสุทธิ 6,785 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไตรมาส 2 ไหลออกสุทธิอีก 6,893 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีเงินไหลออกสุทธิถึง 3,339 ล้านดอลลาร์ เงินทุนไหลออกไปลงทุนนอกประเทศมากกว่าเงินทุนไหลเข้า
ดังนั้น การกล่าวอ้างว่าเงินบาทที่แข็งค่ามาจากเงินทุนไหลเข้าจึงไม่ใช่คำตอบ...
แล้วคำตอบที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วอยู่ตรงๆ ไหน...
ผมไปตรวจสอบข้อมูลแล้วตกตะลึงพรึงเพริด เมื่อพบว่ายอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยนั้นก้อนโตมหาศาล โดยนับตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาไทยเกินดุลมาตลอด โดยถึงตอนนี้ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาแล้ว 23,522 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือตกประมาณ 787,987 แสนล้านบาท ตกประมาณ 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีเข้าไปแล้ว
เฉลี่ยไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนละ 3,000 ล้านดอลาร์สหรัฐ เดือนมกราคมเพียงเดือนเดียวเกินดุลไปกว่า 5,416 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 181,436 แสนล้านบาท
ดุลบัญชีเดินสะพัด (current account balance) ที่บวกมากขนาดนี้มาจากไหน ก็มาจากดุลการค้าที่เป็นบวก เรามีรายได้จากการส่งออกมากกว่ารายจ่าจากการนำเข้าสินค้า เรามีรายได้จากภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว บริการทางการเงิน และอื่นๆเข้ามามาก เรามีเงินโอน และเงินที่จ่ายแก่เจ้าของ เช่น ค่าดอกเบี้ย ค่าเช่า และกำไรส่งกลับประเทศน้อย
ตรงนี้แหละครับที่เป็นโจทย์ชวนให้คิดกันว่า ที่เราเกินดุลนั้น เพราะเราไม่ลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช่หรือไม่….อย่าหลงระเริงกับการเกินดุลจนเกินไปนะครับ...
ที่เราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก ไม่ใช่เพราะส่งออกได้มากขึ้นนะครับ แต่เป็นเพราะการนำเข้าที่หดตัวอย่างรุนแรง ทั้งจากราคาน้ำมันที่ลดลง การชะลอตัวของการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภค การนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ลดลงไปตามการผลิตและการลงทุน
นี่คือปัจจัยที่ทำให้ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแบบไม่คาดฝันใช่มั้ย....
และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเยอะๆ กำลังแปลว่า เรากำลังอยู่ในภาวะเงินออมล้นประเทศ เราใช้จ่ายในประเทศน้อยกว่าที่ประเทศหาได้ใช่หรือไม่….
คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อผมไม่รู้...ผมรู้แต่ว่าตอนนี้เศรษฐกิจไทยกำลังบิดเบี้ยวพิลึก อัตราดอกเบี้ย 10 ปีของรัฐบาลไทย อยู่ในระดับ 1.7-1.8% ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ย 10 ปีของสหรัฐเข้าไปแล้ว...มันเกิดอะไรขึ้น...
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล”/ บากบั่น บุญเลิศ
โพสต์ที่ 2
สิ่งที่น่ากลัวคือ
ตอนเข้ามาก็ทำการ Short ค่าเงินบาทแล้วก็ซื้อดอลล่าร์ไว้ ตอนขาออก
แล้วเอาเงินที่เข้ามา ยืมหุ้นมา Short แล้วก็ Buy back แล้วก็ออกไป
สังเกตว่า ช่วงนี้เงินแข็งแล้วเจอะเจอแบบนี้เลย
คือ ตลาดหุ้นลงด้วย พร้อมกับเงินแข็ง
ตอนจะเอาเงินออก ตลาดหุ้นดี ค่าเงินอ่อน แสดงว่าเงินร้อนเข้ามาเกร็งกำไร
ตอนเข้ามาก็ทำการ Short ค่าเงินบาทแล้วก็ซื้อดอลล่าร์ไว้ ตอนขาออก
แล้วเอาเงินที่เข้ามา ยืมหุ้นมา Short แล้วก็ Buy back แล้วก็ออกไป
สังเกตว่า ช่วงนี้เงินแข็งแล้วเจอะเจอแบบนี้เลย
คือ ตลาดหุ้นลงด้วย พร้อมกับเงินแข็ง
ตอนจะเอาเงินออก ตลาดหุ้นดี ค่าเงินอ่อน แสดงว่าเงินร้อนเข้ามาเกร็งกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 348
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล”/ บากบั่น บุญเลิศ
โพสต์ที่ 3
เห็นคนเขียนมองในแง่ลบค่อนข้างมาก ผมว่า ลองมองว่า
1.เงินบาทแข็งขึ้น 7.78%เทียบกับต้นปี 2560 แต่จากต้นปีมาไม่ได้แข็งขึ้น 7.78%ตลอดการคิดความเสียหายมว่าไม่ค่อยถูกครับ
2.ลองมองในแง่การนำเข้าบางก็ได้ครับ สินค้าทุนหลายอย่าง น่าจะถูกลงทำให้ประเทศไม่น่าจะเสียหายมากตามที่คาด
ผมมองว่าการ บริหารการจัดการเงินที่เข้าและออก ต่างหาก ธปท.ต้องตั้งทีมดูว่าการแข็งค่าขึ้นมาจากตลาดหรือมาจาการเข้ามาเก็งกำไร หรือการพยายามของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในที่จะทำอะไรบ้างอย่างต้องเข้าไปสอบถาม การ take action ที่รวดเร็วและจริงจังของ รัฐบาลและ ธ.ชาติ จะส่งสัญญาณกับการเก็งกำไรในค่างเงินบาทให้หยุดได้ถ้าไม่ได้ต้องการมาทำอย่างอื่น
1.เงินบาทแข็งขึ้น 7.78%เทียบกับต้นปี 2560 แต่จากต้นปีมาไม่ได้แข็งขึ้น 7.78%ตลอดการคิดความเสียหายมว่าไม่ค่อยถูกครับ
2.ลองมองในแง่การนำเข้าบางก็ได้ครับ สินค้าทุนหลายอย่าง น่าจะถูกลงทำให้ประเทศไม่น่าจะเสียหายมากตามที่คาด
ผมมองว่าการ บริหารการจัดการเงินที่เข้าและออก ต่างหาก ธปท.ต้องตั้งทีมดูว่าการแข็งค่าขึ้นมาจากตลาดหรือมาจาการเข้ามาเก็งกำไร หรือการพยายามของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในที่จะทำอะไรบ้างอย่างต้องเข้าไปสอบถาม การ take action ที่รวดเร็วและจริงจังของ รัฐบาลและ ธ.ชาติ จะส่งสัญญาณกับการเก็งกำไรในค่างเงินบาทให้หยุดได้ถ้าไม่ได้ต้องการมาทำอย่างอื่น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 433
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล”/ บากบั่น บุญเลิศ
โพสต์ที่ 4
C/A จะเทียบได้กับ Saving - Investment
C/A ที่เกินดุลมหาศาล ก็พอจะบอกเป็นนัยๆ ได้อยู่แล้วว่าบ้านเราลงทุนไม่เพียงพอ, Domestic Demand น้อยเกินไป จนต้องไปใช้ Demand จากต่างประเทศ
C/A ที่เกินดุลมหาศาล ก็พอจะบอกเป็นนัยๆ ได้อยู่แล้วว่าบ้านเราลงทุนไม่เพียงพอ, Domestic Demand น้อยเกินไป จนต้องไปใช้ Demand จากต่างประเทศ