คุณจะแก้ตัวอย่างไร หากเป็นฝ่าย 'แพ้' วอร์เรน บัฟเฟตต์ / ชัชวนันท์ สันธิเดช
บทสรุปมหากาพย์การเดิมพันแห่งทศวรรษ อันน่าจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน
หลังจากวัดกันมาสิบปีเต็ม ก็จบลงแล้วอย่างเป็นทางการ สำหรับการท้าเดิมพันแห่งทศวรรษ ระหว่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ กับ ทอม เซเดส ผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์ ว่า 'กองทุนอิงดัชนี' ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำๆ กับ 'เฮดจ์ฟันด์' ที่คิดค่าธรรมเนียมแพงระยับนั้น อะไรจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่ากัน
ซึ่งผลก็ออกมาตามคาด โดยกองทุนอิงดัชนี S&P 500 ที่ปู่เลือกมา ทำผลตอบแทนทบต้นได้ปีละ 7.1% ขณะที่เฮดจ์ฟันด์หลายกองของฝ่ายผู้ท้าชิง ทำได้เพียงปีละ 2.2% แพ้ชนะกันขาดลอย
หลังจากปราชัย ฝ่ายผู้แพ้คือเซเดส ได้เขียนบทความสรุปความพ่ายแพ้ของตัวเองเป็นข้อๆ ลงในเว็บไซต์บลูมเบิร์ก ซึ่งผมขอเอามาสรุปไว้ให้ได้อ่านกัน ณ ที่นี้
ข้อแรก เซเดสบอกว่า ในปี 2008 ที่เขาเริ่มต้นเดิมพันกับปู่นั้น ดัชนี S&P 500 อยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับอดีต เขาจึงเชื่อว่าต่อมามันน่าจะปรับลดลง ซึ่งคงจะทำให้เฮดจ์ฟันด์ที่ทำกำไรได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง 'ชนะ'
แต่ปรากฏว่า ดัชนีกลับปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลายาวนานถึงเก้าปี จนปัจจุบันซื้อขายกัน ณ ระดับราคา 29 เท่าของกำไรเฉลี่ยในรอบสิบปีหลัง อันเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ข้อที่สอง ในช่วงตลาดหมี เฮดจ์ฟันด์มักทำผลงานได้ดีกว่าดัชนีตลาด เพราะมีเครื่องมือลดความเสี่ยง ดังนั้น พอวิกฤตการเงินผ่านพ้นไป ผลงานของเฮดจ์ฟันด์จึงปรับลดลงมา ข้อที่สาม เขาบอกว่า S&P 500 เป็น 'active bet' คือการลงทุนเชิงรุก ไม่ใช่ 'passive investing' อย่างที่คิดกัน เพราะกระจุกอยู่กับหุ้นตัวใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ อีกทั้งยังมีคนแห่เข้าไปลงทุนมากมาย
พูดง่ายๆ ก็คือ เขาอ้างว่า การลงทุนใน S&P 500 ไม่ใช่ไม่เสี่ยง แต่ 'เสี่ยง' แล้ว 'ชนะ' ต่างหาก
ข้อที่สี่ เหตุที่เฮดจ์ฟันด์ 'แพ้' ไม่ได้เกิดจากค่าธรรมเนียม โดยยกตัวอย่าง index fund ที่ลงทุนตาม MSCI All Country World Index ซึ่งค่า fee ถูกมาก ทั้งยังกระจายการลงทุนออกไปสุดๆ โดยชี้ให้เห็นว่าทำผลงานได้ไม่ต่างจากกองที่เขาเลือก ข้อที่ห้า เซเดสบอกในทำนองว่า การที่ S&P 500 ขึ้นมาขนาดนี้ เป็นเพียง 'เรื่องบังเอิญ' ที่เกิดได้
และข้อสุดท้าย เซเดสอ้างว่า ด้วยความที่ S&P 500 'เฟ้อ' ขนาดนี้ หากจะลงทุนกันให้ยาวขึ้น เช่น วัดกันไปอีกสิบปี โดยเพิ่มเงินเดิมพันเป็นสองเท่า เฮดจ์ฟันด์ของเขามีโอกาสงดงามสุดๆ ที่จะ 'กลับมา' เป็นฝ่ายชนะ
ทั้งหมดคือคำอธิบายของ 'ผู้แพ้' อย่างทอม เซเดส ซึ่งพอสรุปได้ว่า สาเหตุหลักที่บัฟเฟตต์ชนะ เกิดจากการ 'เลือกม้าถูกตัว' คือ 'S&P 500' ไม่ใช่ข้อสรุปว่ากองทุนอิงดัชนีน่าลงทุนกว่าเฮดจ์ฟันด์
แต่ผมขอย้อนถามกลับไปง่ายๆ ว่า เหตุใดผู้บริหารกองทุนอย่างเซเดสจึงไม่รู้ล่วงหน้าถึงปัจจัยต่างๆ ตามที่ยกมากล่าวอ้าง และหากไม่มีทางที่จะรู้ได้ ผู้ลงทุนอย่างเราๆ จะเสี่ยงลงทุนกับเฮดจ์ฟันด์ไปทำไม สู้ถือหางกองทุนอิงดัชนี (ซึ่งเขาอ้างว่ามีปัจจัยแทรกซ้อนโน่นนี่มาช่วยให้ชนะ) ต่อไปไม่ดีกว่าหรือ?
และนี่คือบทสรุปของมหากาพย์การเดิมพันแห่งทศวรรษ อันน่าจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนของเราได้บ้าง อย่างน้อยก็ในเชิงหลักการ แม้จะเป็นคนละประเทศกันก็ตาม
คุณจะแก้ตัวอย่างไร หากเป็นฝ่าย 'แพ้' วอร์เรน บัฟเฟตต์
- VALUEKUN
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณจะแก้ตัวอย่างไร หากเป็นฝ่าย 'แพ้' วอร์เรน บัฟเฟตต์
โพสต์ที่ 3
เหตุผลมันก็ฟังขึ้นประมาณนึง เพราะในการลงทุนมันก็มักจะมีเรื่อง Randomness และ ดวง มาเกี่ยวข้องด้วยจริงๆ ถ้าผมเป็นเค้า ผมก็ไม่รู้จะตอบยังไงให้มันดีกว่านี้เหมือนกัน
ปัญหาคือพอมองในภาพรวมแล้วมันฟังดูตลกๆ เพราะคนที่อยู่ใน Derivative Market มักจะบอกว่าตัวเองสามารถทำกำไรได้ทุกสภาวะตลาด หุ้นขึ้นผมก็ลอง Long หุ้นลงผมก็ Short (ซึ่งทำได้จริงแค่ไหนไม่รู้) แต่ตัวบัฟเฟตต์เองเค้าเชื่อว่าตลาดเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก มันมี Randomness เต็มไปหมด การไปพยายามจับจังหวะมากเกินไปจะเป็นตัวบ่อนทำลายผลตอบแทน ไม่ใช่เพิ่มขึ้นแบบที่เข้าใจ และมนุษย์เป็น Candidate ที่แย่มากในการพยากรณ์ตลาด
พอผลลัพท์มันออกมาว่า มนุษย์ที่เคลมว่าตัวเองจับจังหวะตลาดเก่งกว่าชาวบ้าน (และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแพงๆ) ดันทำได้แย่กว่า Passive Investment แล้วมาอ้างว่าตัวเองแพ้เพราะ Randomness, เพราะดวงไม่ดี มันเลยฟังดูตลกๆ เพราะจริงๆ นี่มันก็คือสิ่งที่บัฟเฟตต์เค้าเดิมพันไว้ไม่ใช่หรือ ว่าตลาดมันยากเกินกว่าจะคาดการณ์ และอย่าไปจับจังหวะมัน
ข้ออ้างมันเลยฟังดูคล้ายๆ เม่ารายย่อย ที่ตอนพลาดมักจะโทษดวง (แม้ว่ามันอาจจะจริงในบางครั้ง) แต่ตอนกำไรจะให้เครดิตฝีมือตัวเองเต็มๆ และบรรยายได้หมดจดว่ากำไรเพราะอะไร (ซึ่งอาจจะไม่จริงก็ได้)
ผมละแปลกใจ ว่าถ้าแกชนะขึ้นมา แกจะออกมาพูดไหมว่ามันเป็น Randomness และที่ชนะเป็นเพราะดวง (เอ่อ นี่ผมไม่ได้ว่าเค้าเม่านะครับ เข้าใจว่าเค้าเก่งแหละ แค่คิดว่าเหตุผลเค้ามันฟังดูคุ้นๆ ยังไงชอบกล)
แต่ถึงเหตุผลมันจะฟังดูตลกๆ แต่มุมนึงก็เข้าใจนะ ว่าเค้าไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะออกมายอมรับแบบไม่มีข้ออ้างใดๆ ได้ เพราะมีลูกค้าอีกหลายคนที่ไว้ใจเอาเงินให้เค้าดูแล ถ้าเค้ายังไม่คิดจะจบชีวิตการทำงานของตัวเอง มันก็คงต้องแบบนี้แหละ
ปัญหาคือพอมองในภาพรวมแล้วมันฟังดูตลกๆ เพราะคนที่อยู่ใน Derivative Market มักจะบอกว่าตัวเองสามารถทำกำไรได้ทุกสภาวะตลาด หุ้นขึ้นผมก็ลอง Long หุ้นลงผมก็ Short (ซึ่งทำได้จริงแค่ไหนไม่รู้) แต่ตัวบัฟเฟตต์เองเค้าเชื่อว่าตลาดเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก มันมี Randomness เต็มไปหมด การไปพยายามจับจังหวะมากเกินไปจะเป็นตัวบ่อนทำลายผลตอบแทน ไม่ใช่เพิ่มขึ้นแบบที่เข้าใจ และมนุษย์เป็น Candidate ที่แย่มากในการพยากรณ์ตลาด
พอผลลัพท์มันออกมาว่า มนุษย์ที่เคลมว่าตัวเองจับจังหวะตลาดเก่งกว่าชาวบ้าน (และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแพงๆ) ดันทำได้แย่กว่า Passive Investment แล้วมาอ้างว่าตัวเองแพ้เพราะ Randomness, เพราะดวงไม่ดี มันเลยฟังดูตลกๆ เพราะจริงๆ นี่มันก็คือสิ่งที่บัฟเฟตต์เค้าเดิมพันไว้ไม่ใช่หรือ ว่าตลาดมันยากเกินกว่าจะคาดการณ์ และอย่าไปจับจังหวะมัน
ข้ออ้างมันเลยฟังดูคล้ายๆ เม่ารายย่อย ที่ตอนพลาดมักจะโทษดวง (แม้ว่ามันอาจจะจริงในบางครั้ง) แต่ตอนกำไรจะให้เครดิตฝีมือตัวเองเต็มๆ และบรรยายได้หมดจดว่ากำไรเพราะอะไร (ซึ่งอาจจะไม่จริงก็ได้)
ผมละแปลกใจ ว่าถ้าแกชนะขึ้นมา แกจะออกมาพูดไหมว่ามันเป็น Randomness และที่ชนะเป็นเพราะดวง (เอ่อ นี่ผมไม่ได้ว่าเค้าเม่านะครับ เข้าใจว่าเค้าเก่งแหละ แค่คิดว่าเหตุผลเค้ามันฟังดูคุ้นๆ ยังไงชอบกล)
แต่ถึงเหตุผลมันจะฟังดูตลกๆ แต่มุมนึงก็เข้าใจนะ ว่าเค้าไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะออกมายอมรับแบบไม่มีข้ออ้างใดๆ ได้ เพราะมีลูกค้าอีกหลายคนที่ไว้ใจเอาเงินให้เค้าดูแล ถ้าเค้ายังไม่คิดจะจบชีวิตการทำงานของตัวเอง มันก็คงต้องแบบนี้แหละ