ทำไม่เศรษฐกิจโตตั้ง 4.8% แล้วเรารู้สึกว่า “ไม่ใช่อ่ะ” / ดร.ป
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 554
- ผู้ติดตาม: 1
ทำไม่เศรษฐกิจโตตั้ง 4.8% แล้วเรารู้สึกว่า “ไม่ใช่อ่ะ” / ดร.ป
โพสต์ที่ 1
ทำไม่เศรษฐกิจโตตั้ง 4.8% แล้วเรารู้สึกว่า “ไม่ใช่อ่ะ”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตัวเลขล่าสุดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แจ้งว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยายตัวที่อัตรา 4.8% สูงที่สุดในรอบ 5 ปี และยังปรับตัวเลขคาดการณ์ว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยน่าจะโตได้ถึง 4.2-4.7% แต่คนไทยจำนวนมากกลับตะโกนอยู่ในใจดังๆ ว่า เศรษฐกิจดีจริงหรือ (วะ)? ทำเงินในกระเป๋า (กู) ยังมีเท่าเดิมหรือบางทีลดลงด้วยซ้ำ? ตัวเลขหลอกรึเปล่า?
ผมยืนยันครับว่าตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขจริงครับ แต่มันสะท้อนความจริงหรือไม่ เป็นอีกเรื่องครับ ทั้งนี้เพราะมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศเกิดขึ้นจากการรวบรวมมูลค่าผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในประเทศ เอาเฉพาะที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการ ถูกต้องตามกฎหมาย มีการจดบันทึก ในระยะเวลาหนึ่งๆ ในที่นี้ก็คือไตรมาสที่ 1 ปี 2561 และบันทึกในระดับราคาที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ณ ระดับราคาในช่วงเวลานั้นๆ นั่นทำให้บางครั้งตัวเลขที่เกิดขึ้นกับมูลค่าจริงๆ อาจจะไม่ถูกต้องตรงกัน
แต่ผมคิดว่า ทาง สศช. เองก็มีความพยายามที่จะปรับตัวเลขมูลค่า GDP นี้ให้ถูกต้องสะท้อนความเป็นจริงให้มากที่สุด ซึ่งเมื่อนักเศรษฐศาสตร์ทำงานร่วมกับนักสถิติ เรื่องเหล่านี้ก็สามารถทำให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้ครับ หากแต่ที่มันยังค้านความรู้สึกของพวกเราก็เป็นเพราะ มันเป็นตัวเลขที่มองในระดับมหภาคครับ คือมองมูลค่าผลผลิต มองรายได้ และรายจ่ายของคนทั้งประเทศ ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ได้สะท้อนภาพของการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันครับ
รายได้ของทั้งประเทศที่ขยายตัว 4.8% ไม่ได้แปลว่า ทุกคนมีรายได้เพิ่มขึ้น 4.8% เท่ากันหมดแบบหน้ากระดานเรียงหนึ่ง หากแต่อาจจะมีคนบางกลุ่มรวยขึ้นอย่างมากมายมหาศาล ในขณะที่คนอีกจำนวนหนึ่งจนลงก็ได้ แต่โดยเฉลี่ยแล้วรายได้ในภายรวมมันสูงขึ้น 4.8% ก็เท่านั้นเอง
ซึ่งในกรณีของไทยนั้น การกระจายตัวของรายได้มันไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งครับ ปัญหาการกระจายรายได้ ในปี 2016 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 3 ของประเทศที่มีการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมมากที่สุดในโลก รองจากรัสเซีย และอินเดีย (Bangkok Post, 2016) และจากข้อมูลล่าสุดของ Forbes และ Credit Suisse ประมาณการณ์ทรัพย์สินรวมของประเทศไทยอยู่ที่ 434 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พบว่า คนไทยที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ที่ร่ำรวยมากที่สุดเพียงร้อยละ 1 (เทียบเท่ากับ 521,850 คน) ครอบครองทรัพย์สินถึงร้อยละ 56.2 ของทั้งประเทศ และเมื่อพิจารณาที่ร้อยละ 10 ของคนไทยวัยผู้ใหญ่ที่ร่ำรวยมากที่สุด คนกลุ่มนี้ครอบครองทรัพย์สินร้อยละ 78.7 ของประเทศ หรือมูลค่ากว่า 341.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ประชากรกว่าร้อยละ 90 หรือ 47 ล้านคน ครอบครองทรัพย์สินเพียงร้อยละ 21.3 หรือเพียง 92.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น (Credit Suisse, 2017)
และที่น่าตกใจมากกว่านั้นคือ ความมั่งคั่งกว่าร้อยละ 21.84 หรือประมาณ 94.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนเพียง 5 ตระกูลเท่านั้น อันได้แก่ ตระกูลเจียรวนนท์ กลุ่มธุรกิจเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ครอบครองทรัพย์สินประมาณ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตระกูลจิราธิวัฒน์ กลุ่มเซ็นทรัล ครอบครองทรัพย์สินประมาณ 21.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตระกูลอยู่วิทยา กลุ่มกระทิงแดง ครอบครองทรัพย์สินประมาณ 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตระกูลสิริวัฒนภักดี ครอบครองทรัพย์สินประมาณ 17.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และตระกูลศรีวัฒนประภา กลุ่ม King Power ครอบครองทรัพย์สินประมาณ 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนั่นหมายความว่า คนไทยจำนวนกว่า 47 ล้านคน มีทรัพย์สินรวมกันไม่เท่ากับสมาชิกของ 5 ตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศ (Forbes Thailand, 2018)
คำถามที่ตามมาคือ แล้วทำไมการกระจายรายได้ของไทยจึงเลวร้ายเช่นนี้ แน่นอนมีหลายสาเหตุครับ บางท่านอาจจะโทษเรื่องของนโยบายรัฐไทยที่เอาใจนายทุน บางท่านอาจจะโทษเรื่องของคอรับชั่นฉ้อราษฎรบังหลวง บางท่านอาจจะโทษไปถึงโครงสร้างของระบบทุนนิยม ฯลฯ แต่สำหรับผม ผมคิดว่าตัวการสำคัญที่มีผลไม่มากก็น้อยคือ ความที่สังคมไทยไม่สามารถปรับตัวให้เท่าทันกับ Technology Disruption ครับ
ตอนนี้เราพูดถึงเยอะมากในเรื่องของ Industry 4.0 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี 2009-2010 แต่ก่อนหน้า 4.0 เรากำลังพูดถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบที่ 3 หรือ Industry 3.0 ที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1970-1980 ที่คอมพิวเตอร์และระบบออร์โตเมชั่นเริ่มถูกนำมาใช้แทนกำลังคนในภาคการผลิตครับ ช่วงแรกๆ คนก็กลัวกันครับว่า คอมพิวเตอร์จะมาแย่งงานคนระดับล่าง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ในตอนนั้นคอมพิวเตอร์ยังทำความสะอาดบ้าน ยังขับรถส่งสินค้า ยังทำสวน ยังล้างห้องน้ำไม่ได้ครับ คอมพิวเตอร์ไม่ได้มาทดแทนคนงานระดับล่างครับ หากแต่มันมาทดแทนคนงานในระดับกลาง
จากทศวรรษ 1970 – 2010 เป็นเวลากว่า 40 ปีครับ ที่คอมพิวเตอร์มาแทนคนงานระดับกลางที่ทำงานประจำแบบ Routine ไม่ว่าจะเป็นงานเสมียน งานเลขานุการ งานจองตั๋ว งานนั่งโต๊ะต่างๆ สำนักงานสถาปนิกที่เคยต้องใช้ Draftsman เป็นร้อยๆ คนนั่งเขียนแบบ ถูกแทนที่ด้วย AutoCAD เพียงระบบเดียวที่ทำให้ดีไซเนอร์หนึ่งคนทำงานแทนคนงานที่จบอาชีวะเป็นร้อยๆ คนได้ ลักษณะงานแบบนี้เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ และทั่วทั้งโลกครับ
แน่นอนคนตรงกลางซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ถูกคอมพิวเตอร์แย่งงาน คำถามคือ พวกเขามีทางไปทางใดได้บ้าง คำตอบคือมี 2 ทางครับ ทางเลือกแรกคือเดินขึ้นชั้นบนพัฒนาตนเองจนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง เป็นผู้บริหาร และทางเลือกที่สองคือเดินลงข้างล่างไปทำงานแข่งกับพวกที่ด้อยฝีมือในลักษณะของการทำงานต่ำระดับ (Underemployment) ซึ่ง
แน่นอนว่าการเดินลงข้างล่างง่ายและสะดวกมากกว่าครับ
ทำให้ตลอด 30-40 ปีที่ผ่านมาเราเห็นงานจำนวนมากที่ใช้ทักษะระดับ ม.ปลายแต่เราจ้างคนจบป.ตรีมาทำ และเราเป็นคนจบ ป.โท จำนวนมากมาทำงานที่เอาจริงๆ เด็กจบป.ตรีก็ทำได้ นี่คือการทำงานต่ำระดับ และแน่นอนเมื่อทำงานในลักษณะนี้ พวกเขาก็จะได้ค่าแรงต่ำ และคนจำนวนมากก็มากองอยู่ในกลุ่มนี้ ในขณะที่คนตรงกลางไม่มีงานให้ทำหรือหายไปจากระบบ และคนชั้นบนก็มีจำนวนอยู่แค่หยิบมือเดียวที่เป็นเจ้าของกิจการ เป็นผู้บริหารระดับสูงที่สะสมความมั่งคั่งมาอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงไม่แปลกครับที่เราจะเห็นว่า แม้ตัวเลขเศรษฐกิจในภาพรวมจะโตขึ้น แต่มันกระจุกอยู่กับคนแค่ไม่กี่คน ในขณะที่คนจำนวนมากไม่ได้อานิสงค์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจเท่าไร
คำถามต่อไปและเป็นคำถามที่ใหญ่กว่าด้วย ก็คือ แล้ว Industry 4.0 ที่เกิดขึ้นหลังปี 2010 นี่ล่ะ เราจะเท่าทันหรือไม่ เพราะเที่ยวนี้ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์มันทำงานแทนได้ทั้งคนระดับกลาง ล่าง และบนแล้วครับ
#เศรษฐกิจไทยโตสูงสุดในรอบ5ปี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตัวเลขล่าสุดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แจ้งว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยายตัวที่อัตรา 4.8% สูงที่สุดในรอบ 5 ปี และยังปรับตัวเลขคาดการณ์ว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยน่าจะโตได้ถึง 4.2-4.7% แต่คนไทยจำนวนมากกลับตะโกนอยู่ในใจดังๆ ว่า เศรษฐกิจดีจริงหรือ (วะ)? ทำเงินในกระเป๋า (กู) ยังมีเท่าเดิมหรือบางทีลดลงด้วยซ้ำ? ตัวเลขหลอกรึเปล่า?
ผมยืนยันครับว่าตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขจริงครับ แต่มันสะท้อนความจริงหรือไม่ เป็นอีกเรื่องครับ ทั้งนี้เพราะมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศเกิดขึ้นจากการรวบรวมมูลค่าผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในประเทศ เอาเฉพาะที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการ ถูกต้องตามกฎหมาย มีการจดบันทึก ในระยะเวลาหนึ่งๆ ในที่นี้ก็คือไตรมาสที่ 1 ปี 2561 และบันทึกในระดับราคาที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ณ ระดับราคาในช่วงเวลานั้นๆ นั่นทำให้บางครั้งตัวเลขที่เกิดขึ้นกับมูลค่าจริงๆ อาจจะไม่ถูกต้องตรงกัน
แต่ผมคิดว่า ทาง สศช. เองก็มีความพยายามที่จะปรับตัวเลขมูลค่า GDP นี้ให้ถูกต้องสะท้อนความเป็นจริงให้มากที่สุด ซึ่งเมื่อนักเศรษฐศาสตร์ทำงานร่วมกับนักสถิติ เรื่องเหล่านี้ก็สามารถทำให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้ครับ หากแต่ที่มันยังค้านความรู้สึกของพวกเราก็เป็นเพราะ มันเป็นตัวเลขที่มองในระดับมหภาคครับ คือมองมูลค่าผลผลิต มองรายได้ และรายจ่ายของคนทั้งประเทศ ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ได้สะท้อนภาพของการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันครับ
รายได้ของทั้งประเทศที่ขยายตัว 4.8% ไม่ได้แปลว่า ทุกคนมีรายได้เพิ่มขึ้น 4.8% เท่ากันหมดแบบหน้ากระดานเรียงหนึ่ง หากแต่อาจจะมีคนบางกลุ่มรวยขึ้นอย่างมากมายมหาศาล ในขณะที่คนอีกจำนวนหนึ่งจนลงก็ได้ แต่โดยเฉลี่ยแล้วรายได้ในภายรวมมันสูงขึ้น 4.8% ก็เท่านั้นเอง
ซึ่งในกรณีของไทยนั้น การกระจายตัวของรายได้มันไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งครับ ปัญหาการกระจายรายได้ ในปี 2016 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 3 ของประเทศที่มีการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมมากที่สุดในโลก รองจากรัสเซีย และอินเดีย (Bangkok Post, 2016) และจากข้อมูลล่าสุดของ Forbes และ Credit Suisse ประมาณการณ์ทรัพย์สินรวมของประเทศไทยอยู่ที่ 434 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พบว่า คนไทยที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ที่ร่ำรวยมากที่สุดเพียงร้อยละ 1 (เทียบเท่ากับ 521,850 คน) ครอบครองทรัพย์สินถึงร้อยละ 56.2 ของทั้งประเทศ และเมื่อพิจารณาที่ร้อยละ 10 ของคนไทยวัยผู้ใหญ่ที่ร่ำรวยมากที่สุด คนกลุ่มนี้ครอบครองทรัพย์สินร้อยละ 78.7 ของประเทศ หรือมูลค่ากว่า 341.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ประชากรกว่าร้อยละ 90 หรือ 47 ล้านคน ครอบครองทรัพย์สินเพียงร้อยละ 21.3 หรือเพียง 92.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น (Credit Suisse, 2017)
และที่น่าตกใจมากกว่านั้นคือ ความมั่งคั่งกว่าร้อยละ 21.84 หรือประมาณ 94.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนเพียง 5 ตระกูลเท่านั้น อันได้แก่ ตระกูลเจียรวนนท์ กลุ่มธุรกิจเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ครอบครองทรัพย์สินประมาณ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตระกูลจิราธิวัฒน์ กลุ่มเซ็นทรัล ครอบครองทรัพย์สินประมาณ 21.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตระกูลอยู่วิทยา กลุ่มกระทิงแดง ครอบครองทรัพย์สินประมาณ 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตระกูลสิริวัฒนภักดี ครอบครองทรัพย์สินประมาณ 17.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และตระกูลศรีวัฒนประภา กลุ่ม King Power ครอบครองทรัพย์สินประมาณ 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนั่นหมายความว่า คนไทยจำนวนกว่า 47 ล้านคน มีทรัพย์สินรวมกันไม่เท่ากับสมาชิกของ 5 ตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศ (Forbes Thailand, 2018)
คำถามที่ตามมาคือ แล้วทำไมการกระจายรายได้ของไทยจึงเลวร้ายเช่นนี้ แน่นอนมีหลายสาเหตุครับ บางท่านอาจจะโทษเรื่องของนโยบายรัฐไทยที่เอาใจนายทุน บางท่านอาจจะโทษเรื่องของคอรับชั่นฉ้อราษฎรบังหลวง บางท่านอาจจะโทษไปถึงโครงสร้างของระบบทุนนิยม ฯลฯ แต่สำหรับผม ผมคิดว่าตัวการสำคัญที่มีผลไม่มากก็น้อยคือ ความที่สังคมไทยไม่สามารถปรับตัวให้เท่าทันกับ Technology Disruption ครับ
ตอนนี้เราพูดถึงเยอะมากในเรื่องของ Industry 4.0 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี 2009-2010 แต่ก่อนหน้า 4.0 เรากำลังพูดถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบที่ 3 หรือ Industry 3.0 ที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1970-1980 ที่คอมพิวเตอร์และระบบออร์โตเมชั่นเริ่มถูกนำมาใช้แทนกำลังคนในภาคการผลิตครับ ช่วงแรกๆ คนก็กลัวกันครับว่า คอมพิวเตอร์จะมาแย่งงานคนระดับล่าง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ในตอนนั้นคอมพิวเตอร์ยังทำความสะอาดบ้าน ยังขับรถส่งสินค้า ยังทำสวน ยังล้างห้องน้ำไม่ได้ครับ คอมพิวเตอร์ไม่ได้มาทดแทนคนงานระดับล่างครับ หากแต่มันมาทดแทนคนงานในระดับกลาง
จากทศวรรษ 1970 – 2010 เป็นเวลากว่า 40 ปีครับ ที่คอมพิวเตอร์มาแทนคนงานระดับกลางที่ทำงานประจำแบบ Routine ไม่ว่าจะเป็นงานเสมียน งานเลขานุการ งานจองตั๋ว งานนั่งโต๊ะต่างๆ สำนักงานสถาปนิกที่เคยต้องใช้ Draftsman เป็นร้อยๆ คนนั่งเขียนแบบ ถูกแทนที่ด้วย AutoCAD เพียงระบบเดียวที่ทำให้ดีไซเนอร์หนึ่งคนทำงานแทนคนงานที่จบอาชีวะเป็นร้อยๆ คนได้ ลักษณะงานแบบนี้เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ และทั่วทั้งโลกครับ
แน่นอนคนตรงกลางซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ถูกคอมพิวเตอร์แย่งงาน คำถามคือ พวกเขามีทางไปทางใดได้บ้าง คำตอบคือมี 2 ทางครับ ทางเลือกแรกคือเดินขึ้นชั้นบนพัฒนาตนเองจนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง เป็นผู้บริหาร และทางเลือกที่สองคือเดินลงข้างล่างไปทำงานแข่งกับพวกที่ด้อยฝีมือในลักษณะของการทำงานต่ำระดับ (Underemployment) ซึ่ง
แน่นอนว่าการเดินลงข้างล่างง่ายและสะดวกมากกว่าครับ
ทำให้ตลอด 30-40 ปีที่ผ่านมาเราเห็นงานจำนวนมากที่ใช้ทักษะระดับ ม.ปลายแต่เราจ้างคนจบป.ตรีมาทำ และเราเป็นคนจบ ป.โท จำนวนมากมาทำงานที่เอาจริงๆ เด็กจบป.ตรีก็ทำได้ นี่คือการทำงานต่ำระดับ และแน่นอนเมื่อทำงานในลักษณะนี้ พวกเขาก็จะได้ค่าแรงต่ำ และคนจำนวนมากก็มากองอยู่ในกลุ่มนี้ ในขณะที่คนตรงกลางไม่มีงานให้ทำหรือหายไปจากระบบ และคนชั้นบนก็มีจำนวนอยู่แค่หยิบมือเดียวที่เป็นเจ้าของกิจการ เป็นผู้บริหารระดับสูงที่สะสมความมั่งคั่งมาอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงไม่แปลกครับที่เราจะเห็นว่า แม้ตัวเลขเศรษฐกิจในภาพรวมจะโตขึ้น แต่มันกระจุกอยู่กับคนแค่ไม่กี่คน ในขณะที่คนจำนวนมากไม่ได้อานิสงค์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจเท่าไร
คำถามต่อไปและเป็นคำถามที่ใหญ่กว่าด้วย ก็คือ แล้ว Industry 4.0 ที่เกิดขึ้นหลังปี 2010 นี่ล่ะ เราจะเท่าทันหรือไม่ เพราะเที่ยวนี้ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์มันทำงานแทนได้ทั้งคนระดับกลาง ล่าง และบนแล้วครับ
#เศรษฐกิจไทยโตสูงสุดในรอบ5ปี
"A lot of times the question is harder than the answer. If you can properly phrase the question, then the answer is the easy part." Elon Musk
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไม่เศรษฐกิจโตตั้ง 4.8% แล้วเรารู้สึกว่า “ไม่ใช่อ่ะ” /
โพสต์ที่ 2
คำถามคือ ฐานมันต่ำหรือเปล่าที่บอกว่า 4.8%
เช่น ปีที่แล้ว 100 ปีนี้ได้ 104.9 ในช่วงเวลาเดียวกัน
แต่หากปีที่แล้ว 50 ปีนี้ได้ 52.4 ในเวลาเดียวกัน ก็ได้ เท่ากันคือ 4.8%
บางครั้งต้องกลับไปดูที่ตัวเลขก่อนการหารด้วยว่า เติบโตจริง หรือ เติบโตจากปีก่อนหน้าที่ติดลบ
เช่น ปีที่แล้ว 100 ปีนี้ได้ 104.9 ในช่วงเวลาเดียวกัน
แต่หากปีที่แล้ว 50 ปีนี้ได้ 52.4 ในเวลาเดียวกัน ก็ได้ เท่ากันคือ 4.8%
บางครั้งต้องกลับไปดูที่ตัวเลขก่อนการหารด้วยว่า เติบโตจริง หรือ เติบโตจากปีก่อนหน้าที่ติดลบ
- theerasak24
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 621
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไม่เศรษฐกิจโตตั้ง 4.8% แล้วเรารู้สึกว่า “ไม่ใช่อ่ะ” /
โพสต์ที่ 4
คนส่วนใหญ่ก็รู้สึกแบบนี้จริง นั่นแหละครับ
"เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะยังคงทำสิ่งต่างๆ ต่อไปตราบใดที่มันยังให้ความรื่นรมย์และคุณก็ทำมันได้ดี"
-
- Verified User
- โพสต์: 306
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไม่เศรษฐกิจโตตั้ง 4.8% แล้วเรารู้สึกว่า “ไม่ใช่อ่ะ” /
โพสต์ที่ 5
ผมสงสัยว่าตัวเลขอาจไม่ถูกต้องครับเพราะตัวเลขที่ออกมาสวนทางกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อีกทั้งช่วงนี้มีอะไรแปลกๆเกิดขึ้นเยอะจนน่าสงสัย ข่าวสารก็เหมือนจะถูกปิดกั้นให้ออกมาแต่ในแง่บวก ใครจะคัดค้านอะไรไม่ได้ งบประมาณก็ดูเหมือนกระจุกตัวอยู่ในบางหน่วยงานไม่กระจายอย่างทั่วถึง
"ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการลงทุนขออภัยด้วยครับ"
"ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการลงทุนขออภัยด้วยครับ"