อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 62361.html
ความคิดเห็นที่ 3  

นี่คือ สิ่งที่ผมอยากจะบอกแบงก์ชาติครับ

++ ที่จริงแล้ว ธปท. น่าจะลดดบ. มากกว่าขึ้น ดบ. นะครับ

ผมคิดว่าการใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายในการบริหารนโยบายการเงินไม่น่าจะเหมาะสม
เพราะเราก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว ที่จะควบคุมให้ต่ำกว่าระดับ 3% ในสภาพที่ราคาน้ำมันเป็นแบบนี้
ที่จริงเพื่อรักษาเสถียรภาพของศก.แล้ว
เราควรจะต้องดูว่า ศก.ไทย เติบโตต่ำกว่า หรือ สูงกว่า ศักยภาพการเติบโต (น่าจะอยู่ราว 5-6% ต่อปี)

ถ้าโตช้ากว่านั้น ก็ควรจะเหยียบคันเร่ง ด้วยนโยบายการเงินผ่อนปรน โดยเฉพาะการลดดบ.ช่วย
แต่ถ้าโตเร็วกว่านั้น ก็ควรจะเหยียบเบรก ด้วยนโยบายตึงตัว ด้วยการขึ้น ดบ.

ในเมื่อศก.ไทยจะโตเพียงระดับ 4% ในปีนี้ ที่จริงแล้วแบงก์ชาติควรช่วยเหยียบคันเร่ง ด้วยการลดดบ.ลงมากกว่านะครับ
ดีกว่าการขึ้น ดบ.เพื่อเพิ่มต้นทุนการเงิน เผลอๆ ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเสียอีก

ส่วนเงินจะไหลออกบ้าง ก็มีส่วนช่วยให้บาทอ่อน... ก็คงไม่เสียหายอะไรนัก เงินที่ทำฟอร์เวิร์ดไว้ก็อีกไม่น้อย

ที่จริงแล้วต้องโทษ FED มากกว่า เบน เบอร์นันเก้ บอกว่าจะทำให้ ศก.อเมริกา เข้าสู่ perfect landing แต่ผมรู้สึกว่าจะเป็น perfect storm ซะมากกว่า ทั้ง ฟองสบู่อสังหาฯ แตก ฟองสบู่ตลาดหุ้นแตก ราคาน้ำมันแพงเงินเฟ้อฉุดไม่อยู่
กระแสกดดันจากทุกด้านเข้ามาแบบนี้ ยังฝืนขึ้น ดบ.ไปอีก แล้วอ้างว่าสกัดเงินเฟ้อ..... ถ้ามีประธาน FED แบบนี้
เกรงว่า ศก.โลก อาจเข้าขั้นหายนะ

แล้วคนแบงก์ชาติที่บอกว่า ไม่มีต้นทุนใดที่สูงขึ้น หากไม่มีดีมานด์ ดังนั้น cost push inflation ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะดีมานด์จาก จีน และ อินเดีย เพิ่ม ก็จริงอยู่เพราะ 2 ประเทศนี้โตเร็วเกินไป ก็เป็นหน้าที่ที่เขาจะต้องขึ้น ดบ.เพื่อเบรกศก.เอาเอง.... ไม่ใช่หน้าที่ของไทยนี่ครับ

จากคุณ : เฟยหง  - [ 17 มิ.ย. 49 20:41:03 ]
ขออนุญาติคัดมาคับ
nanchan
Verified User
โพสต์: 2938
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ดอกเบี้ยเพิ่ม ราคาสินค้าก็แพงขึ้นตามดอกเบี้ย
คนลงทุนก็คาดหวังผลกำไรสูงขึ้น
ถ้าคนยังต้องใช้ต้องกินต้องซื้อ ก็คงหยุดเงินเฟ้อได้ยาก

ลดดอกเบี้ยไปเลย เงินไหลออกก็ช่างมัน ไม่ต้องลงทุนเพิ่มก็ดี
เพราะเครื่องจักรก็ต้องนำเข้าอยู่แล้ว ไม่ได้ผลิตเอง

ดอกเบี้ย15% เมื่อไร ปิดโรงงาน ขายทรัพย์สิน ฝากแบงค์กินดอกดีกว่า

ฮิ

อยากลดเงินเฟ้อจริงๆ ก็นี่เลย ลดดอกเบี้ย ลดค่าไฟ ลดค่าแก๊ส น้ำประปา
เพิ่มภาษีรถยนต์ (โดยเฉพาะพวกcc สูงๆ)เอามันทั้งรถเก่ารถใหม่เลย

มั่วๆไปเดี๋ยวถูกเอง ฮิ
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
booklover
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1063
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมเห็นด้วยนะครับว่าการแก้ปัญหา cost push inflation

เป็นการเกาไม่ถูกที่มากๆเลย ทำแบบนี้กลัวจะกลายเป็น

stagflation  แทนนะครับ เฮ้ออ :oops:
ดร.โหน่ง
Verified User
โพสต์: 877
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

แบกมาไกลขอรับ เส้นทางดิ่งชันลงยาวทำเอาโคลงเคลงแทบแย่

ขออนุญาตอภิวาทวางข้างๆ กางความคิดพี่ CK ที่ตรึงเปรี๊ยะ  พึ่งลงจากภูเขามา พอจะเข้าใจว่า ตาน้ำซ่อนอยู่ก้นหุบเขานี่เอง  ไม่ต้องปีนป่ายขึ้นไปสูงๆมองไกลถึงสุราษฏร์ เพียงเพื่อจะได้เห็นพื้นดินเบื้องล่างมีน้ำผุดออกมา เพื่อนๆลองบรรจงเอาขวดเปล่าจุ่มลงไปในแอ่งน้ำดู ขวดแล้วขวดเล่าก็ไม่เคยเหือดแห้ง บางทีอาจจะหัวเราะห่อผ้าแล้วแบกกลับบ้านอย่างกระผม ไม่ต้องกังวลว่าจะหาส่วนที่เหลือได้จากไหน Thaivi มีบรรยากาศแห่งการค้นพบ หวังว่าภูเขาแห่งความรู้นี้จะช่วยกระซิบคำตอบให้ในช่วงเวลาครึ้มฟ้าครึ้มฝนอย่างนี้ตลอดไป  


CK เขียน:fed rate ช่วยลด inflation ได้ แต่มันเหมือนการแทงสนุ๊ก 6 ชิ่งครับ

ผมเดาว่ามันเป็นแบบนี้

ขึ้น fed rate ทำให้เงินไหลไป fed reserve มากขึ้น

เงินไหลไป fed มากขึ้น เงินก็ short จากระบบ
ทำให้ bank ต่างๆ ต้องขึ้นดบ. ตาม เพื่อคงเงินไว้

เมื่อ bank ขึ้นดบ. ก็เกิดผลสองเด้ง คือชาวบ้านออมมากขึ้น
และนักลงทุนก็ชะลอการลงทุน

นักลงทุนชะลอการลงทุน ทำให้การจ้างงานลด

พอการจ้างงานลด กำลังซื้อชาวบ้านก็ลดตามไปด้วย

กำลังซื้อลด ชาวบ้านออมมากขึ้น การว่างงานเพิ่มขึ้น
ราคาสินค้าก็ต้องเริ่มลดลง เพื่อรักษายอดขาย

ราคาสินค้าลด CPI ก็จะลด

CPI ลด inflation ก็ลด

ระยะห่างของการลดดบ.กับผลลัพธ์ น่าจะห่างกัน 6 เดือนมังครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ภาวะ stagflation ในสหรัฐยุคปลาย 70 ถึงต้น 80 นั้นจบลงด้วยการขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นเป็น 15% ซึ่งส่งผลให้การว่างงานพุ่งขึ้นกว่า 10% แต่เงินเฟ้อเรื้อรังหายไปในที่สุดครับ เศรษฐกิจของสหรัฐหลังจากนั้นก็เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร็งและยั่งยืน

บางครั้งเราก็จำเป็นต้องทางเลือกที่มีผลเสียถ้าทางเลือกนั้นเป็นทางเลือกที่มีผลเสียน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับทางเลือกทั้งหมดที่มีอยู่
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เคยคิดไหมคับว่า

ทำไม

1.หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น  
2.หนี้กู้อสังหา และรถยนต์เพิ่มขึ้น
3.มูลค่าหนี้บัตรเครดิตสูงขึ้น

สาเหตุที่แท้จริง

เพราะต้นทุนทางการเงินในธุระกิจต่ำไป

ทำให้  การขยายตัวทางสินเชือข้อ1-3 ขยายตัว
มากกว่า  เงินออมที่ประชนชนมี
iambuffet
Verified User
โพสต์: 337
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ไม่รู้นะผมมองว่ามากไปก้ไม่ดี
น้อยไปก็ไม่ดี
ดอกเบี้ยเนี่ย
ต้องหาจุดพอดีที่ทุก ๆ คนไปได้


8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เคยคิดครับ จะว่าไปผมมีทฤษฎีของผมอยู่อย่างหนึ่งซึ่งไม่เหมือนกับตำราเศรษฐศาสตร์ทั่วไป คือ ผมคิดว่าประเทศไทยควรใช้นโยบายดอกเบี้ย สูง เพื่อกระตุ้นการลงทุนในระยะยาว ขอย้ำว่า สูง ไม่ใช่ ต่ำ ไม่ได้พิมพ์ผิดครับ

ถ้าใครค้าขายลองสังเกตดูครับ ช่วงทีดอกเบี้ยต่ำ ธุรกิจจะฟันราคากันอย่างรุนแรง เพราะต้นทุนการเงินของธุรกิจต่ำทำให้กำไรนิดๆ หน่อยๆ ก็เอาแล้ว แต่ถ้าลองยกดอกเบี้ยให้สูงปรากฏว่าการฟันราคากันจะลดลงเพราะคู่แข่งขันส่วนหนึ่งจะเอาเงินทุนหมุนเวียนไปฝากแบงก์กินดอกเบี้ยแทน

เมื่อการฟันราคาลดน้อยลง กำไรของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้น ทำให้ NPV ของโครงการลงทุนภาคธุรกิจต่างๆ เป็นบวกมากขึ้น ก็จะกระตุ้นในเกิดการลงทุนได้

ในทางตรงกันข้ามถ้าเราลดดอกเบี้ยให้ต่ำ แล้วใช้เงินภาษีสาดลงไปเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ภาคธุรกิจจะไม่ขานรับด้วยการลงทุนเพราะเวลานักธุรกิจจะลงทุนนั้นเขาต้องเห็นกำไรที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว กำไรที่เพิ่มขึ้นจากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นในระยะสั้นจึงไม่อาจดึงดูดในเจ้าของกิจการลงทุนระยะยาวเพิ่มขึ้นได้ พวกเขาจะเพียงแต่ใช้กำลังการผลิตส่วนเกินที่มีอยู่แล้วในการผลิตสินค้าออกมาขายเพิ่มขึ้นชั่วคราวเท่านั้นแต่จะไม่ลงทุนใหม่เพราะความไม่มั่นใจยังมีอยู่ การลดดอกเบี้ยแล้วกระตุ้นการใช้จ่ายนั้นจึงไม่ได้ผลเพราะไม่ก่อให้เกิดการลงทุนของภาคธุรกิจในระยะยาว  

อันนี้เป็นความคิดของผมเองเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย ซึ่งตรงข้ามกับในตำราครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ลุงทีม
Verified User
โพสต์: 689
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ลดดอกเบี้ย หรือไม่ก็ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ ไม่ต้องขึ้นตามเฟด...
ยังไงๆ ถ้าเทียบกับประเทศรอบข้างในอาเซียนแล้ว ประเทศไทย ก็ยังคงเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดอยู่ดี...ระยะยาวเงินน่าจะไหลเข้ามากกว่าไหลออกนะผมว่า... :roll:  :roll:  :roll:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ม้าเฉียว
Verified User
โพสต์: 350
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

สุมาอี้ เขียน:เคยคิดครับ จะว่าไปผมมีทฤษฎีของผมอยู่อย่างหนึ่งซึ่งไม่เหมือนกับตำราเศรษฐศาสตร์ทั่วไป คือ ผมคิดว่าประเทศไทยควรใช้นโยบายดอกเบี้ย สูง เพื่อกระตุ้นการลงทุนในระยะยาว ขอย้ำว่า สูง ไม่ใช่ ต่ำ ไม่ได้พิมพ์ผิดครับ

ถ้าใครค้าขายลองสังเกตดูครับ ช่วงทีดอกเบี้ยต่ำ ธุรกิจจะฟันราคากันอย่างรุนแรง เพราะต้นทุนการเงินของธุรกิจต่ำทำให้กำไรนิดๆ หน่อยๆ ก็เอาแล้ว แต่ถ้าลองยกดอกเบี้ยให้สูงปรากฏว่าการฟันราคากันจะลดลงเพราะคู่แข่งขันส่วนหนึ่งจะเอาเงินทุนหมุนเวียนไปฝากแบงก์กินดอกเบี้ยแทน

เมื่อการฟันราคาลดน้อยลง กำไรของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้น ทำให้ NPV ของโครงการลงทุนภาคธุรกิจต่างๆ เป็นบวกมากขึ้น ก็จะกระตุ้นในเกิดการลงทุนได้

ในทางตรงกันข้ามถ้าเราลดดอกเบี้ยให้ต่ำ แล้วใช้เงินภาษีสาดลงไปเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ภาคธุรกิจจะไม่ขานรับด้วยการลงทุนเพราะเวลานักธุรกิจจะลงทุนนั้นเขาต้องเห็นกำไรที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว กำไรที่เพิ่มขึ้นจากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นในระยะสั้นจึงไม่อาจดึงดูดในเจ้าของกิจการลงทุนระยะยาวเพิ่มขึ้นได้ พวกเขาจะเพียงแต่ใช้กำลังการผลิตส่วนเกินที่มีอยู่แล้วในการผลิตสินค้าออกมาขายเพิ่มขึ้นชั่วคราวเท่านั้นแต่จะไม่ลงทุนใหม่เพราะความไม่มั่นใจยังมีอยู่ การลดดอกเบี้ยแล้วกระตุ้นการใช้จ่ายนั้นจึงไม่ได้ผลเพราะไม่ก่อให้เกิดการลงทุนของภาคธุรกิจในระยะยาว  

อันนี้เป็นความคิดของผมเองเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย ซึ่งตรงข้ามกับในตำราครับ
ที่สุมาอี้ว่ามา ใช่ว่าจะไม่มีสอดคล้องกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์หรอกนะ
เพราะแนวคิดของสุมาอี้นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Growth (คำว่า Growth ในทางเศรษฐศาสตร์จริงๆแล้วไม่ใช่หมายถึงแค่ว่า เศรษฐกิจโตที่เห็นกันชัดๆจาก GDP หรอกนะ แต่เป็นเรื่องของ พัฒนาการทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้คนมีกินมีใช้มากขึ้น มีรายได้สูงขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น สังคมเป็นธรรมมากขึ้น คนมีสติปัญญาและอายุยืนขึ้น ซึ่งเรื่อง Growth นี้ถือเป็นประเด็นใหม่ของ Macroeconomics เลยหละ) ถ้าให้ตีตวามแนวคิดของสุมาอี้ ก็คิดว่าเป้าหมายของการคงดอกเบี้ยสูง เพื่อให้เกิดการลงทุน แล้วที่ว่าลงทุน มันคืออะไร

ลงทุน ก็คือ สิ่งที่สร้างและสะสมขึ้นในปัจจุบัน เพื่อเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่องในอนาคต

ดูนะครับว่า การลงทุนจริงๆแล้ว มีประเด็นสำคัญที่ต้องขบให้เข้าใจ คือ 1) เป็นสิ่งที่สร้างและสะสมขึ้นมาในวันนี้หรือปัจจุบันนี้
2)เพื่อเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคต (ซึ่งอาจจะเป็น รายได้ กำไร ส่วนแบ่งตลาด ชื่อเสียง อะไรก็ว่าไป)

เพราะฉะนั้น การลงทุนจึงเป็นเรื่องที่มีต้นทุน และต้องอาศัยระยะเวลายาวนาน เน้นนะครับว่าระยะยาว คำว่าระยะยาวนี่นะ 5 ปีก็อาจจะยังน้อยไปสำหรับการสะสมทุนซะด้วยซ้ำ

แล้วถามว่า การคงอัตราดอกเบี้ยไว้สูง จะช่วยให้เกิดการลงทุนไหม ผมว่า อาจจะเป็นไปได้สำหรับระบบเศรษฐกิจไทยที่การออมต่ำ (Marginal Propensity to Consume ประมาณ 0.75) แต่คงต้องไปศึกษาว่าระดับไหนจึงจะเหมาะสม
ส่วนดอกเบี้ยตำ่ ก็เกิดการลงทุนครับ แต่มากน้อยแค่ไหนนั้นเกินปัญญาของผม แต่ที่สามารถสังเกตได้คือ ผู้ผลิตของไทยชอบนำเข้าทุนมากกว่าสร้างขึ้นมาเองครับ

แล้วทีนี้เรื่องการเพิ่ม/ลดดอกเบี้ย ที่ได้ยินกันทุกเมื่อเชื่อวันจะหลายคนเบื่อ นี้ เป็นเรื่องของ Stability (เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ) ครับ

เพราะฉะนั้น มันคนละเป้าหมายกันครับ คือ สุมาอี้กำลังคิดเรื่อง Growth แต่ธนาคารกลางกำลังคิดเรื่อง Stability ครับ
กล้วยทอด
Verified User
โพสต์: 1468
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

[quote="ลุงทีม"]ลดดอกเบี้ย หรือไม่ก็ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ ไม่ต้องขึ้นตามเฟด...
ยังไงๆ ถ้าเทียบกับประเทศรอบข้างในอาเซียนแล้ว ประเทศไทย ก็ยังคงเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดอยู่ดี...ระยะยาวเงินน่าจะไหลเข้ามากกว่าไหลออกนะผมว่า... :roll:
..สักวันจะเก่งเหมือนพี่บ้าง..
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอถามเหมือนกล้วยทอดครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ผมเห็นด้วยกับท่านแม่ทัพครับ

ดอกเบี้ยต่ำ ต้นทุนเงินทุนที่ต่ำ สร้างและสะสมหนี้ ที่วันหนึ่งจะไม่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นการกระตุ้นให้คนใช้เงินแบบไม่กังวลมากนัก

ดอกเบี้ยสูง ต้นทุนเงินทุนสูง (ไม่รู้ว่าชาวบ้านจะรู้ไหม) จะระวังกันมากขึ้น การใช้ทรัพยากรณ์จะเริ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

มีเรื่องเล่าให้ฟัง สมันที่ผมเริ่มผ่อนบ้านนั้นดอกเบี้ยปาเข้าไป 14% และเพิ่มขึ้นแบบไม่น่าเชื่อถึง 20%กว่า น้องๆหลายๆคนคงไม่เคยเจอ เงินที่ผ่อนคือดอกเบี้ยครับ ไม่มีเงินต้น ผมถือว่าต้นทุนสูงมากทีเดียว พอช่วงดอกเบี้ยลดผมเตรียมการผ่อนหนักมือขึ้นจนหมด ทุกวันนี้ดอกเบี้ยไม่ใช่ปัญหาของผมแล้วครับ

ผมว่าBernakeมาถูกทางแล้วครับ เขารู้ดีว่าAmaricanนั้นฟุ่มเฟื่อยมาก ภาษาไทยเรียกว่าจมไม่ลง การจะทำให้พวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฟ่อพวกนี้รู้สึกตัวได้คือทำให้เจ็บแล้วจะคิดได้เอง

ส่วนในเมืองไทยผมเห็นอะไรบางอย่างแล้วครับ อสังหาฯเริ่มชลอตัว ยอดขายรถใหม่ลดรุนแรง หลายคนเริ่มประหยัด และอดใจ (คนไทยเพิ่งเจอของจริงมาไม่นาน) ไม่นานธ.ชาติคงหยุดขึ้นดอกเบี้ยครับ ใจจริงผู้ประกอบการไทยน่าจะสู้นะครับ เป็นโอกาสอันดีที่จะเร่งสร้างความแข็งแกร่งในช่วงนี้ครับ

คิดดูให้ดี ผู้ที่แข็งแกร่งเท่านั้นจะอยู่รอด และเราเป็นผู้เลือกว่าจะเอาคนไหนไว้ใช้ ดีจะตายไป ต้องห่วงอะไรอีก
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เคยคิดครับ จะว่าไปผมมีทฤษฎีของผมอยู่อย่างหนึ่งซึ่งไม่เหมือนกับตำราเศรษฐศาสตร์ทั่วไป คือ ผมคิดว่าประเทศไทยควรใช้นโยบายดอกเบี้ย สูง เพื่อกระตุ้นการลงทุนในระยะยาว ขอย้ำว่า สูง ไม่ใช่ ต่ำ ไม่ได้พิมพ์ผิดครับ

ถ้าใครค้าขายลองสังเกตดูครับ ช่วงทีดอกเบี้ยต่ำ ธุรกิจจะฟันราคากันอย่างรุนแรง เพราะต้นทุนการเงินของธุรกิจต่ำทำให้กำไรนิดๆ หน่อยๆ ก็เอาแล้ว แต่ถ้าลองยกดอกเบี้ยให้สูงปรากฏว่าการฟันราคากันจะลดลงเพราะคู่แข่งขันส่วนหนึ่งจะเอาเงินทุนหมุนเวียนไปฝากแบงก์กินดอกเบี้ยแทน
ผมกลับมองแตกต่างว่า

จุดที่เหมาะสมย่อมจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และการเวลา

ดอกเบี้ยสูงๆยาวนานอาจจะลดการแข่งขันลง แต่การออมก็จะเพิ่มขึ้น  การออมก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ก็เหมือนกับการพักเงิน  แต่บางจังหวะก็ต้องเพิ่มการลงทุน(ให้เงินทำงาน)

ร่างกายคนเราต้องการการพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  แต่เราก็ต้องการการออกกำลังกายเพื่อให้แข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บ

ตอนกลางวันเราก็ทำงานและออกกำลังกาย
ตกกลางคืนก็ต้องพักผ่อนอย่างพอเพียงจึงจะเป็นวัฏจักรที่สมดุล

ดอกเบี้ยก็ต้องมีสูงขึ้นและมีต่ำลงเพื่อปรับตัว(passive)และกระตุ้น(active)เศรษฐกิจ


การกินยานอนหลับหรือยาม้านั้น ไม่ดีในระยะยาว
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

แต่ถ้าใช้ยานอนหลับหรือยากระตุ้นในระยะสั้นๆให้ตรงกับโรคก็จะได้ผลดีครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ใครมีอัตราดอกเบี้ย RP ย้อนหลังเป็นสิบๆปีบ้าง

ที่ผมจำได้ mlr ที่ 8-9% เป็นตัวเลขที่ผมเห็นมาตลอด

ผมก็เลยเชื่อว่าที่อัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน เป็นภาวะดอกเบี้ยปกติสำหรับเมืองไทย

ดอกเบี้ยขึ้น ก็น่าจะช่วยทำให้ตลาดหุ้นคึกคัก เพราะบริษัทคงอยากเข้ามาระดมเงินทุนมากขึ้น
shanghai
Verified User
โพสต์: 401
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เเล้วทำไมดอกเบี้ยในญี่ปุ่นเเทบจะเป็นศูนย์อยู่เเล้ว รัฐบาลญี่ปุ่น ยังไม่กลัวเงินออกนอกประเทศเลย เรากลัวอะไรหรือครับ หรือว่ากลัวจ่ายดอกเบี้ยให้พวกที่ขายหุ้นออกหมดเเล้วน้อยเกินไป เงินต้น 7 หมื่นล้าน ดอกคงหลายพันล้าน
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

shanghai เขียน:เเล้วทำไมดอกเบี้ยในญี่ปุ่นเเทบจะเป็นศูนย์อยู่เเล้ว รัฐบาลญี่ปุ่น ยังไม่กลัวเงินออกนอกประเทศเลย เรากลัวอะไรหรือครับ หรือว่ากลัวจ่ายดอกเบี้ยให้พวกที่ขายหุ้นออกหมดเเล้วน้อยเกินไป เงินต้น 7 หมื่นล้าน ดอกคงหลายพันล้าน
:lol:
"Winners never quit, and quitters never win."
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ผมว่าเราอย่าด่าใครง่ายๆเลยนะครับ  ถ้าเราโดนบ้างเราจะรู้สึกอย่างไร  ก็เป็นแค่ความเห็นหนึ่งครับ......

ดอกเบี้ยเราไม่เหมือนญี่ปุ่นก็เพราะเราไม่เหมือนญี่ปุ่น

งั้นทำไมไม่ด่าอเมริกาบ้างว่า  ทำไมไม่คงดอกเบี้ยที่ 0% เหมือนญี่ปุ่น  ลองไปด่าเขาดูมั่งสิครับ

ไทยเราก็มีสิทธิเลือกว่าแบบไหนเหมาะกับไทย

เงินแค่เจ็ดหมื่นล้านเมื่อเทียบกับเงินไทยทั้งประเทศมันจิ๊บจ๊อยครับที่จะนำมากำหนดนโยบายประเทศ  แบงค์ชาติก็คนของ ปชป.ไม่ใช่หรือ  

เลิกเสียเถอะครับ  ขอบิณฑบาตรครับ......
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
DeepTVI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 441
ผู้ติดตาม: 1

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

สุมาอี้ เขียน:เคยคิดครับ จะว่าไปผมมีทฤษฎีของผมอยู่อย่างหนึ่งซึ่งไม่เหมือนกับตำราเศรษฐศาสตร์ทั่วไป คือ ผมคิดว่าประเทศไทยควรใช้นโยบายดอกเบี้ย สูง เพื่อกระตุ้นการลงทุนในระยะยาว ขอย้ำว่า สูง ไม่ใช่ ต่ำ ไม่ได้พิมพ์ผิดครับ

ถ้าใครค้าขายลองสังเกตดูครับ ช่วงทีดอกเบี้ยต่ำ ธุรกิจจะฟันราคากันอย่างรุนแรง เพราะต้นทุนการเงินของธุรกิจต่ำทำให้กำไรนิดๆ หน่อยๆ ก็เอาแล้ว แต่ถ้าลองยกดอกเบี้ยให้สูงปรากฏว่าการฟันราคากันจะลดลงเพราะคู่แข่งขันส่วนหนึ่งจะเอาเงินทุนหมุนเวียนไปฝากแบงก์กินดอกเบี้ยแทน

เมื่อการฟันราคาลดน้อยลง กำไรของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้น ทำให้ NPV ของโครงการลงทุนภาคธุรกิจต่างๆ เป็นบวกมากขึ้น ก็จะกระตุ้นในเกิดการลงทุนได้
ผมเห็นด้วยครับ แต่ถ้าสูงเกินไปอาจจะไม่มีการลงทุนเพิ่มนะครับ ผมว่าดอกเบี้ย MLR ควรอยู่ระหว่าง 10-12% น่าจะเหมาะสมนะครับ
กล้วยทอด
Verified User
โพสต์: 1468
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

DeepDown เขียน: ผมเห็นด้วยครับ แต่ถ้าสูงเกินไปอาจจะไม่มีการลงทุนเพิ่มนะครับ ผมว่าดอกเบี้ย MLR ควรอยู่ระหว่าง 10-12% น่าจะเหมาะสมนะครับ
ปัจจุบันสินเชื่อบ้าน MLR อยู่ราวๆ 7-8%
ดอกเบี้ย Fixed คงที่ หรือ ขั้นบันไดก็ไม่มีแล้ว
คนยังไม่อยากซื้อ หรือขอกู้ไม่ผ่านกันขนาดนี้  :shock:
..สักวันจะเก่งเหมือนพี่บ้าง..
ภาพประจำตัวสมาชิก
DeepTVI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 441
ผู้ติดตาม: 1

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

สุมาอี้ เขียน:เคยคิดครับ จะว่าไปผมมีทฤษฎีของผมอยู่อย่างหนึ่งซึ่งไม่เหมือนกับตำราเศรษฐศาสตร์ทั่วไป คือ ผมคิดว่าประเทศไทยควรใช้นโยบายดอกเบี้ย สูง เพื่อกระตุ้นการลงทุนในระยะยาว ขอย้ำว่า สูง ไม่ใช่ ต่ำ ไม่ได้พิมพ์ผิดครับ

ถ้าใครค้าขายลองสังเกตดูครับ ช่วงทีดอกเบี้ยต่ำ ธุรกิจจะฟันราคากันอย่างรุนแรง เพราะต้นทุนการเงินของธุรกิจต่ำทำให้กำไรนิดๆ หน่อยๆ ก็เอาแล้ว แต่ถ้าลองยกดอกเบี้ยให้สูงปรากฏว่าการฟันราคากันจะลดลงเพราะคู่แข่งขันส่วนหนึ่งจะเอาเงินทุนหมุนเวียนไปฝากแบงก์กินดอกเบี้ยแทน

เมื่อการฟันราคาลดน้อยลง กำไรของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้น ทำให้ NPV ของโครงการลงทุนภาคธุรกิจต่างๆ เป็นบวกมากขึ้น ก็จะกระตุ้นในเกิดการลงทุนได้
ผมเห็นด้วยครับ แต่ถ้าสูงเกินไปอาจจะไม่มีการลงทุนเพิ่มนะครับ ผมว่าดอกเบี้ย MLR ควรอยู่ระหว่าง 10-12% น่าจะเหมาะสมนะครับ
shanghai
Verified User
โพสต์: 401
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

พี่ศรราม ผมไม่ตั้งใจหมายถึงใครเลยอ่ะ หรือว่าพี่ก็คิดเเบบนั้น อิอิ 7 หมื่นล้านนี่ผมหมายถึง itv ที่ต้องจ่ายให้รัฐอีกต่างหาก อิอิ
ลุงทีม
Verified User
โพสต์: 689
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

นับเฉพาะประเทศที่ผมเคยไปมานะครับ ไม่นับ พม่า, ลาว, เขมร และ บูรไน ซึ่งประเทศเหล่านี้ คงจะไม่ใช่คู่แข่งของไทยอยู่แล้วแม้ในอนาคตอันไกล้...

1. ค่าครองชีพ: จากน้อยไปมาก
ไทย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโด สิงคโปร์
ค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของประชากร ไทย เวียดนาม มาเลเซียพอๆกันครับ แต่ ไทยยังคงถูกสุดในด้านของ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือพื้นฐาน เมื่อเทียบกันพื้นที่ต่อพื้นที่ที่ไกล้เคียงกัน
2. ปัญหาเชื้อชาติ และ ศาสนา แบ่งแยกดินแดน: น้อยไปมาก
สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโด
สิงคโปร์อาจจะมีประชากรหลักแบ่งเป็นสามเชื้อชาติ (จีน, มาเล และ อินเดีย)
แต่ก็ไม่ค่อยมีปัญหาด้านเชื้อชาติ เช่นเดียวกับเวียดนามซึ่งมีชนเผ่าเล็กน้อยอยู่เกือบร้อยแต่ก็ไม่เคยได้ยินปัญหาเหล่านี้ ตรงกันข้ามกับ 4 ประเทศหลัง ปัญหามันค่อนข้างเรื้อรัง แก้ยังไงก็ไม่ตกสำหรับประเทศเหล่านี้ แต่ไทยมันเพิ่งรุนแรงและคิดว่าน่าจะบรรเทาลงได้ง่ายกว่าประเทศเหล่านั้น เพราะ ไม่ใช่ปัญหาส่วนใหญ่ของประเทศ
มาเลเซีย ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีปัญหาแต่ ลึกๆ แล้วปัญหาเอารัดเอาเปรียบระหว่างเชื้อชาตินั้นค่อนข้างสูง (พูดง่ายๆว่า พร้อมจะมีปัญหาได้ตลอดเวลา) นี่ยังไม่รวมพวกแบ่งแยกดินแดนซึ่งยังมีให้ได้ยินอยู่บ้างในพื้นที่ติดชายแดนของไทย

ฟิลิปปินส์ คงเคยได้ยินข่าวนะครับ เมื่อก่อนเป็นไง ตอนนี้ก็เป็นยังงั้น บางพื้นที่ นี่ดุถึงขนาดคนฟิลิปปินส์ด้วยกันยังไม่กล้าไปเหยียบ
อินโด ปัญหา แบ่งแยกดินแดน, ความแตกแยกระหว่างชนต่างเผ่า,  ควมขัดแย้งด้านศาสนา (อินโดนับถือคริสต์กับมุสลิม) จัดว่ารุนแรง

3. คุณภาพชีวิต: สูงไปต่ำ
สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม อินโด ฟิลิปปินส์
ไทย มาเลเซีย และ เวียดนาม น่าจะพอๆกัน เวียดนามบ้านเมืองอาจจะแลดูเก่าๆโทรมๆแต่ ไม่ค่อยจะมีปัญหา อาชญากรรม ขั้นรุนแรง
แต่อินโด ฟิลิปปินส์ ถ้าคุณไปไหนคนเดียว นอกเขตเมืองนี่ก้อ ไม่ปลอดภัยแล้วครับ ขนาดคนโลคอลยังเตือนผมเลย ความแตกต่าง ระหว่างฐานะ อินโด กับ ฟิลิปปินส์ ดูเหมือนจะแย่มากๆครับ
4. ผลกระทบทางด้าน ภัยธรรมชาติ (แผ่นดินไหว น้ำท่วม): น้อยไปมาก
สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม (พายุ, น้ำท่วม) อินโด (แผ่นดินไหว, น้ำท่วม, ไฟป่า) ฟิลิปปินส์ (พายุ, แผ่นดินไหว, ไฟป่า) ฟิลิปปินส์ นี่รอยเคลื่อนของเปลือกโลก (fault line) นี่อยู่ใกล้ๆเมืองหลวงเลยครับ ไม่รู้ว่ามันจะถล่มมาเมื่อไหร่ ประเทศที่มีวงเล็บ ปัญหานั้นเกิดขึ้นเป็นประจำ และ ทุกปี
5. ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ
ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโด ฟิลิปปินส์
จิงๆแล้วถ้าดูจากภูมิศาสตร์, ขนาดของพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ ผมว่าไทยนี่สามารถจัดให้เป็นศูนย์กลางของย่านนี้ได้เลย จะมีเวียดนามที่จะเป็นคู่แข่ง แต่ปัญหาภัยธรรมชาติยังไงเค้าก็รุนแรงกว่าไทย ซึ่งน่าจะชลอการตัดสินพอสมควร
6. ภาษา
มีข้อนี้แหละที่ไทย จะดูเป็นรองกว่าเค้าเพื่อน แต่ไม่ใช่ปัญหาหลักหรอกครับ ถ้าเค้าจะมาลงทุนบ้านเราจิงๆ...เค้ามองภาพระยะยาวครับ
ลอง
7. ลักษณะนิสัยและวัฒนธรรม
ข้อนี้อธิบายยาก แต่อินโด กับ ฟิลิปปินส์นี่ดูจะแย่ที่สุด ทั้งเอารัดเอาเปรียบ และไม่เป็นมิตร (ทั้งนี้ไม่รวม พวกที่มีการศึกษา หรือ พวกเพื่อนคุณนะครับ เพราะพวกนี้ จะ friendly มากๆ)
8.ปัจจัยการเมือง
อันนี้ผมคงไม่อาจจะวิจารณ์ เพราะ ปัจจัยนี้ถือเป็นปัจจัยระยะสั้น ตามแต่นโยบายของแต่ละรัดบาลที่เปลี่ยนไป
มองแค่นี้ ถ้าไม่นับ สิคโปร์ ซึ่งค่าครองชีพแพง และ ดูเหมือนจะค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว มองยังไงๆ ไทยก็น่าสนใจที่สุด
:shock:  :shock:  :shock:
ภาพประจำตัวสมาชิก
nano
Verified User
โพสต์: 447
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ลุงทีม เขียน: มองแค่นี้ ถ้าไม่นับ สิคโปร์ ซึ่งค่าครองชีพแพง และ ดูเหมือนจะค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว มองยังไงๆ ไทยก็น่าสนใจที่สุด
เห็นด้วยกับลุงทีมครับ   ถ้าผมเป็นสิง    ผมก็จะมาลงทุนที่ประเทศไทยให้มาก
ไปมาก็สะดวก    มีความเสรีพื้นที่กว้างใหญ่พี่ไทยก็ใจดี   จึงไม่น่าแปลกใจเลย     ถ้าเสี่ยเล็กกระเป๋าตุงกับเสี่ยใหญ่กระเป๋าแห้งจะคบกัน   :D
ShexShy
Verified User
โพสต์: 577
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

กระทู้นี้ได้ความรู้เยอะขึ้นอีกมากเลยครับ

คุณภาพของการลงทุนของบ้านเรายังไม่ดีเท่าไรนัก
คือ ผมมองว่า การลงทุนของบ้านเรายังเป็นการลงทุนที่ได้ผมตอบแทนที่ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ย
ซึ่ง เป็นการลงทุนที่มี margin ค่อนข้างน้อย เช่น
ลงทุนในการตั้งบริษัทซื้อมาขายไป ลงทุนสร้างโรงงานที่ยังไม่มี know how ของตัวเอง
ซึ่ง การลงทุนในรูปแบบนี้ มูลค่าเพิ่มจะมีน้อย แล้วพอต้องมาเทียบกับอัตราดอกเบี้ย ก็แทบจะต้องคิดความเสี่ยงเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า  การมองอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้านาน ๆ ถือเป็นความเสี่ยงที่ต้องดูให้ดี ๆ เพราะต้องดูสถานการณ์ ต่างประเทศอยู่เนื่อง ๆ (ไม่เฉพาะ อเมริกา)
แถมหลัง ๆ ก็มีเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอีก

การที่ต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อเพิ่มการลงทุนในรูปแบบนี้ ... ไม่เป็นการสร้างเสถียรภาพเท่าไรนัก เพราะ พออัตราดอกเบี้ยขึ้น กำไรลดในสัดส่วนที่สูง หรือ อาจถึงขั้นขาดทุนได้ ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะ ถ้าเรามองดูอดีต อัตราดอกเบี้ย จะขึ้นลงค่อนข้างเร็ว (จาก 0.5 มา 5 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาไม่กี่ปี ไม่ถึง 10 ปี)

การลงทุนที่ไม่มีคุณภาพนี้ จะทำให้ทุนย้ายได้เร็วขึ้น (เพราะ สามารถขายทิ้ง และไปสร้างระบบที่อื่นได้ไม่ยาก เหมือน ต่างคนก็ย้ายฐานไปผลิตที่จีน)

ส่งที่จะทำให้การลงทุนมีคุณภาพคือ การใส่ Know How เพื่อเพิ่ม Margin ให้มีสัดส่วนที่ดอกเบี้ยมีผลน้อยมาก และเป็นการ Protect การย้ายฐานการผลิต

การให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง จะทำให้คนคิดถึงการลงทุนที่มีคุณภาพมากขึ้น  แต่ถ้าคนไทยเรา คิดไม่ออก ว่าจะลงทุนอะไร ก็ฝากเงินไว้ก่อน  ... การหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยในระดับสูง ก็จะส่งผลให้ธนาคาร มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องได้ (ไม่มีเงินมาจ่ายดอกเบี้ย เพราะไม่มีใครกู้มาลงทุนกัน)

ระบบทุนนิยม จึงต้องหาอะไรมาช่วยให้เกิดการหมุนเวียนเงินเสมอ เช่นตลาดหุ้น พันธบัตรรัฐบาล etc. ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือ ช่วยให้เกิด การหมุนเงิน ไปเรื่อย ๆ (จนบางครั้งช่วยดีเกินไป จนทำให้ Real Sector ไปไม่ทัน จนกลายเป็นการเก็งกำไรไป)

การให้อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะมกับ สภาวะของแต่ละประเทศจึงดีกว่า
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ดีใจที่ท่านเฟยหงไม่ได้อยู่แบงค์ชาติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

แหมกระทู้นี้เปิดโอกาสให้ผมได้เผยแพร่ลัทธิเศรษฐกิจมหภาคของผมซะแล้วสิ

ผมมีมุมมองเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยดังนี้ครับ

ในช่วงที่เกิดฟองสบู่ก่อนปี 40 นั้น ปริมาณการลงทุนจะสูงมากแต่เป็นการลงทุนแบบเกินตัว คือไม่มีความต้องการที่แท้จริงอยู่ คนซื้อซื้อไปเพื่อขายต่อกินหัวคิว ไม่ได้ต้องการใช้จริง ตราบใดที่ความมั่นใจยังมีอยู่ เศรษฐกิจก็จะขยายตัวต่อไปได้เรื่อยๆ ยิ่งขยายตัวคนก็ยิ่งมั่นใจ ยิ่งมั่นใจก็ยิ่งเข้ามาเก็งกำไรกันมากขึ้น  ธนาคารก็ปล่อยกู้ได้มากขึ้น แถมได้เร็วอีกต่างหาก นานๆ เข้าก็เริ่มเสียนิสัย เริ่มปล่อยกู้แบบไม่ต้องพิจารณา การปล่อยกู้เงินที่ง่ายขึ้นก็ยิ่งทำให้เก็งกำไรเพิ่มมากขึ้นอีกเพราะเงินหามาง่าย (กู้มา) เกิดเป็นวงจรแบบ positive feedbackการลงทุนของไทยในยุคฟองสบู่นั้นสูงมากถึง 40% ของ GDP (ปัจจุบันเหลือเพียง 20% เท่านั้น)

มะเร็งร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะฟองสบู่ก็คือ Excess Capacity เช่น อาคารสำนักงานที่ผุดขึ้นเต็มเมืองให้คนจองเก็งกำไร ธุรกิจที่แข่งกันขยายกำลังการผลิตแบบกู้ได้เท่าไรก็ขยายเท่านั้นไม่ต้องสนใจว่าจะขายได้หรือไม่

ทันทีที่มีเหตุการณ์ที่ทำให้คนตกใจ เช่น การลดค่าเงิน การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ฯลฯ ความมั่นใจที่หายไปจะทำให้วงจร positive feedback กลับตาลปัตรกลายเป็น negative feedback ธนาคารเข้มงวดเรื่องการปล่อยกู้ ยิ่งเข้มงวดก็ยิ่งทำให้หนี้เดิมกลายเป็นหนี้เสีย ยิ่งมีหนื้เสียมากขึ้นก็ยิ่งปล่อยกู้น้อยลง ธุรกิจก็ยิ่งขาดทุนมากขึ้น

เศรษฐกิจหลังฟองสบู่แตกนั้นผู้คนหมดความมั่นใจเพราะเพิ่งขาดทุนหนักๆ กันมา การลงทุนจึงลดลงอย่างฮวบฮาบ ประกอบกับ Excess Capacity ต่างๆ ที่สร้างไว้ในช่วงที่เกิดฟองสบู่มีมากจนล้นเหลือทำให้ไม่มีการลงทุนใหม่ๆ เพิ่มเติม ธนาคารก็มีหนี้เสียมาก ทำให้ไม่สามารถปล่อยกู้ได้ สภาพคล่องที่ตึงตัวจึงทำให้ธุรกิจไม่มีเงินลงทุน จึงกลายเป็นภาวะซบเซา

ภาวะซบเซานี้จะยาวนานขนาดไหนขึ้นอยู่กับว่า Excess Capacity และ NPL จะหมดไปเร็วแค่ไหน เมื่อ Excess Capacity หมดไป supply ก็จะเริ่มน้อยกว่า demand ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ เพือขยาย supply เศรษฐกิจก็จะขยายตัวขึ้นอีกครั้ง ในขณะเดียวกันถ้าธนาคารไม่มี NPL แล้ว ธนาคารก็จะกลับมาปล่อยกู้ได้ดังเดิม

ปกติแล้วถ้าเป็นภาวะซบเซาทั่วไปที่เกิดขึ้นจากวัฎจักรเศรษฐกิจปกติ ในเวลาไม่นานก็จะฟื้นได้ เพราะส่วนใหญ่แล้ว Excess Capacity เป็นแค่ Excess Inventory ลดแลกแจกแถมสักพักเดี่ยวก็หมด ก็เริ่มลงทุนใหม่ได้แล้ว แต่ในกรณีของฟองสบู่นั้นเป็น Excess Capacity ในรูปของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะกินเวลายาวนานมาก กว่าที่ อาคาร โรงงาน เครื่องจักรเหล่านั้นจะเสื่อมสภาพไปเอง

ปัญหาของเศรษฐกิจไทยนั้นมีลักษณะที่คล้ายกับปัญหาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเศรษฐกิจหลังภาวะฟองสบู่แตกเหมือนกัน จึงน่าจะมองสิ่งที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง

หลังฟองสบู่แตกนั้น ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายตามตำรา คือลดดอกเบี้ยให้เหลือ 0 เพื่อกระตุ้นการลงทุน แต่นโยบายดังกล่าวไม่ได้ผลอะไรเลย เพราะ Excess Capacity ที่ยังไม่ออกไปจากระบบ ทำให้ supply ยังล้นตลาด นักธุรกิจจึงไม่กล้าลงทุนเพิ่ม เพราะของเก่าก็ล้นตลาดขายไม่ได้ราคากันอยู่แล้วยังจะลงทุนเพิ่มให้เจ็บตัวเพิ่มขึ้นอีกทำไม คนจึงยอมรับดอกเบี้ยเงินฝากต่ำๆ ดีกว่ากู้มาลงทุนแล้วขาดทุนเพิ่ม

นโยบายอีกอย่างที่ญี่ปุ่นใช้ก็คือการแจกเงินเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นออก package กระตุ้นเศรษฐกิจขนาดมโหราฬไปแล้วหลายครั้ง ถึงขั้นแจกเงินให้วัยรุ่นทุกคนในประเทศก็เคยมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้ผลอะไรเลย เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังฟองสบู่ยังคงหดตัวยาวนานติดต่อกันถึง 15 ปี

เหตุผลที่นโยบายเหล่านี้ไม่ได้ผลเป็นเพราะ Excess Capacity ที่ยังไม่หายไปจากตลาดนั่นแหละ Excess Capacity จะหายไปช้าเป็นพิเศษถ้าเป็นฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์ เพราะสินทรัพย์ถาวรนั้นต้องใช้เวลานานกว่าจะเสื่อมสภาพไปเอง เรื่อง NPL ก็เช่นกัน วัฒนธรรมธุรกิจของญี่ปุ่นนั้นธนาคารมักเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ตนเองปล่อยสินเชื่อด้วย ดังนั้นการประนอมหนี้ NPL จึงมักไม่คืบหน้าเพราะมี conflict of interest อยู่

ตลอด 15 ปีที่ผ่านมานโยบายแก้ปัญหาของญี่ปุ่นไม่ได้ผลอะไรเลย หลังๆ ญี่ปุ่นเลยต้องเลิกใช้นโยบายหันมาอยู่เฉยๆ แทน พอมาปีที่แล้ว ไม่ได้ทำอะไรอยู่ดีๆ เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ฟื้นขึ้นมาได้เองอย่างแข็งแกร่งจนน่าตกใจ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

เหตุผลก็คือระยะเวลา 15 ปีนั้นเป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอที่จะทำให้ Excess Capacity ที่เป็นอสังหานั้นเสื่อมสภาพ ในขณะเดียวกันก็ยาวนานพอที่จะทำให้ลูกหนี้ NPL ท้อใจยอมหยุดยื้อความเป็นเจ้าของไว้ ธนาคารจึงลด NPL ลงได้ "เวลา" จึงเป็นตัวแก้ปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่แตกที่ดีที่สุด และไม่ต้องลงทุนอะไรเลย

ที่จริงแล้วผมคิดว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจหลังฟองสบู่แตกนั้นต้องแก้ที่ Excess Capacity เป็นสำคัญ ซึ่งมีวิธีแก้อยู่สองวิธี

1. ใช้ไม้แข็ง คือ ขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ ลดการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อ Deflate Economy วิธีนี้ Excess Capacity จะหายไปอย่างรวดเร็ว เพราะธุรกิจที่ผลิตภาพต่ำจะล้มละลายเป็นจำนวนมาก เหลือแต่ธุรกิจที่ผลิตภาพสูงจริงๆ เมื่อคู่แข่งหายไปจากตลาด กำไรของธุรกิจจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะดึงดูดให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ วิธีนี้แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่โหดเหี้ยมมาก เป็นวิธีการเดียวกับวิธีที่ IMF สอนให้เราทำ แต่ตอนหลังเราเลิกไปก่อน

2. ใช้ไม้อ่อน ก็คือ การอยู่เฉยๆ นานๆ เข้า Excess Capacity จะค่อยๆ หายไปเอง แต่วิธีนี้จะกินเวลานานมาก อย่างญีปุ่นนั้นต้องรอถึง 15 ปี แต่เป็นวิธีที่ดูมีมนุษยธรรมมากกว่าวิธีแรก ทนนานหน่อย แต่ไม่โหดร้าย รัฐอาจจะช่วยกระทุ้งด้วยการออกกฏหมายทีเอื้อให้การประนอมหนี้และการล้มละลายทำได้ง่ายและเร็วขึ้น รวมทั้งลดภาษีให้กับคนที่ซื้อตึกเก่าไปพัฒนา

ส่วนวิธีที่ผิดก็คือให้รัฐบาลใช้จ่ายมากๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะวิธีนี้เป็นการพยุง Excess Capacity ไว้ไม่ให้ออกไปจากตลาด ซึ่งจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้าลง สำหรับญี่ปุ่นนั้นไม่ได้ผลอะไรเลยเพราะ Govt Sector ของญี่ปุ่นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับเอกชน ส่วนไทยนั้นได้ผลมากกว่าเป็น Govt Sector ค่อนข้างใหญ่แต่ก็เป็นเพียงผลในระยะสั้น เมื่อใดที่เงินกระตุ้นเศรษฐกิจหมดลง เศรษฐกิจจะกลับไปซบเซาเหมือนเดิม แถมด้วยภาวะเงินเฟ้อ

นโยบายอยู่เฉยๆ แบบข้อ 2 นั้น ดูจะดีที่สุด แต่ในทางปฏิบัติจะทำได้ยาก เพราะการที่เศรษฐกิจซบเซาติดต่อกันนานๆ เป็น 10 ปีนั้น เป็นภาวะที่ผู้คนรู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง ถ้ารัฐบาลบอกว่าจะอยู่เฉยๆ จะมีแรงเสียดทานจากผู้คนมากดดันให้ในที่สุดแล้วรัฐบาลต้องออกมากระตุ้นการใช้จ่ายมิฉะนั้นจะถูกไล่ลง แต่กระตุ้นเท่าไรก็พบว่าการลงทุนก็ไม่ขานรับสักที เพราะมันยังไม่ถึงเวลาของมัน จนเงินคงคลังหมด ภาวะเงินเฟ้อก็จะตามมา รัฐบาลก็ต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีในการรักษาวินัยทางการคลังใหม่เพื่อให้กลับมามีเงินเหมือนเดิม พอรัฐบาลเริ่มมีเงินอีก ผู้คนก็จะออกมากดดันให้รัฐใช้จ่ายอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ซึ่งที่จริงแล้วจะยิ่งเกิดขึ้นช้าถ้ามีการอุ้ม Excess Capacity ไว้เป็นระยะๆ ด้วยการกระตุ้นการใช้จ่ายโดยรัฐบาลเป็นระยะๆ

อยู่เฉยๆ เถอะครับ ดีกว่าจริงๆ !!
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

แสดงว่าญี่ปุ่น อาจเลือก ทางเลือกที่จะขึ้นดอกเบี้ย
ได้หรือไม่คับ
ดร.โหน่ง
Verified User
โพสต์: 877
ผู้ติดตาม: 0

อ่านแล้วน่าคิดทำไม ถึงไม่ลดดอกเบี้ย เพื่อสู้เงินเฟ้อ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

รูปภาพ

        "กระผมเกาหัวอยู่ขอรับ ยังไม่เข้าใจ "
โพสต์โพสต์