คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
kirov
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 318
ผู้ติดตาม: 0

คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อยากทราบความเห็นของเพื่อนๆนักลงทุนว่า คิดว่าตอนนี้เราได้อยู่ในวิกฤติครั้งใหม่แล้วรึยังครับ?

ส่วนตัวคิดว่า เราอยู่ในวิกฤติแล้วครับ
- ดูจากหุ้นกลุ่มสุดท้ายก่อนตลาดปรับตัวลงมาคือ หุ้นกลุ่ม defensive โรงไฟฟ้าซึ่งแพงมากและขึ้นมานาน ตอนนี้ได้ถูกเทขายลงมาแล้ว
- หุ้นอเมริกาที่เป็นขาขึ้นมาอย่างยาวนานซึ่ง valuation ไม่ได้ถูก ได้เริ่มปรับตัวลงมาอย่างรุนแรง
- ไวรัสโคโรน่าซึ่งดูยืดเยื้อ และนักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ panic กันสุดๆ (คนรอบข้างผมหลายคนยังอยากช้อนหุ้นอยู่) / เศรษฐกิจโดนกระทบ นักท่องเที่ยวหยุดเกินทางและ แรงซื้อหด (ขนาดตัวผมเองยังไม่มี mood ที่จะ shoping เลยครับ) ไม่น่าฟื้นตัวกลับแบบ v shape มีโอกาสเข้าสู่ recession
-AOT ต้องลดค่าธรรมเนียม ส่วน MBK / platinum / Central ลดค่าเช่า
-การลดดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ไม่น่าช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ/การลงทุน จากการกระทบจากไวรัสโคโรน่า เพราะคนไม่ใช้จ่ายแบบเดิม บริษัทชะลอการลงทุน supply chain โดนกระทบ

ขอบคุณครับ
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ไวรัสโคโรน่าซึ่งดูยืดเยื้อ และนักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ panic กันสุดๆ (คนรอบข้างผมหลายคนยังอยากช้อนหุ้นอยู่)
ช้อความนี้บอกเราว่าเราอยู่ในวิกฤติอย่างไรครับ
kirov
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 318
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 3

โพสต์

yoko เขียน:
อาทิตย์ มี.ค. 01, 2020 10:15 am
ไวรัสโคโรน่าซึ่งดูยืดเยื้อ และนักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ panic กันสุดๆ (คนรอบข้างผมหลายคนยังอยากช้อนหุ้นอยู่)
ช้อความนี้บอกเราว่าเราอยู่ในวิกฤติอย่างไรครับ
ในส่วนของตลาดหุ้นนะครับ
ผมคิดส่วนตัวว่าตอนนี้ panic sell ยังอยู่ในวงจำกัดครับ
หากมองว่าตลาดหุ้นไม่สามารถฟื้นได้แบบ v shape / การพยายามควบคุมไวรัสโคโรน่าในประเทศไทยน่าจะยกระดับได้มากขึ้นกว่าปัจจุบันอยู่แล้ว ตามที่เห็นในต่างประเทศ
ตอนนี้รายย่อยยังไม่ได้ตื่นตระหนกกันจริงๆ (ยอด net buy มาโดยตลอด, ประกอบกับคนรอบข้าง) เพราะฉะนั้นเลยคิดว่าขาลงในตลาดหุ้นยังไม่น่าจะหยุดลงแค่นี้ครับ แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่ mass panic กันแล้ว (คนส่วนใหญ่กลัว+มองแง่ร้ายสุดๆ+คนส่วนใหญ่ขาย) คิดว่าตลาดน่าจะเริ่มหยุดลงและเริ่มมีสเถียรภาพ

พี่ๆมีความเห็นอย่างไรกันครับ รอบนี้เป็นวิกฤตครั้งใหม่รึเปล่าครับ :?:
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 4

โพสต์

นลทรายย่อยคงมองว่าเรื่องไวรัสคงเป็นเรื่องชั่วคราว
เขาคงช้อนซื้อหุ้นทีตกและคาดว่ามันไม่เกี่ยวกับไวรัสกระมังครับ
เรื่องวิกิด ลองอ่านบทความวันนี้ของอ นิเวศน์ ดูครับ น่าจะเป็นคำตอบ
ความน่าจะเป็นของตลาดหุ้นรอบนี้ครับ
AleAle
Verified User
โพสต์: 2141
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เปิดพอร์ตขึ้นมาดู อืม... ก็วิกฤติอยู่นะครับ :oops:
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อืมม...ของผมก็แดง ดูไม่จืดเลย555
วันนี้ผมได้ดูรายการ คู่หู นลท29/2/63
คุณกวีให้ข้อแนะนำในฐานะวีไอ น่าสนใจดีครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 7

โพสต์

แปะให้ครับ เผื่อจขกท.สนใจดูครับ

phpBB [video]
wk0966
Verified User
โพสต์: 494
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 8

โพสต์

วิกฤติเศรษฐกิจ นิยามว่างัยนะ ใครรู้บอกด้วย
“Survival of the fittest”
“รายได้เพิ่ม กำไรเพิ่ม ปันผลเพิ่ม”
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 9

โพสต์

wk0966 เขียน:
จันทร์ มี.ค. 02, 2020 6:10 pm
วิกฤติเศรษฐกิจ นิยามว่างัยนะ ใครรู้บอกด้วย
ขอลองเสนอมุมมองนะครับ
วิกฤติเศรษฐกิจ น่าจะหมายถึง การลดลงมูลค่าของสินทรัพย์(ฟองสบู่ของอะไรสักอย่างแตก)+หนี้ที่มีเพิ่มขึ้นเร็ว จนทำให้เสียสภาพคล่อง ทำให้เกิดการล้มกันเป็นโดมิโน่ของ หน่วยเศรษฐกิจ(ในประเทศ)นั้นๆ หรือเปล่าครับ

ถ้าผิดบอกได้นะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ส่วนของครั้งนี้น่าจะเป็น ศก.ชะลอตัวจากผู้ผลิต supply โลก หยุดชะงักจากโรคระบาด+ คนไม่ค่อยใช้จ่าย เพราะกลัวโรคระบาด
+ คนกลัวกันว่าโรคระบาดจะทำให้ศก.ชะลอตัวมากขึ้น จน GPD (ของไทย)จะติดลบ จากการส่งออกที่ลดและท่องเที่ยวที่ลดลง

พอคนกลัวกัน เลยทำให้ตลาดหุ้น panic ลงมาหรือเปล่าครับ (หรืออาจจะต้องเรียกว่า วิกฤติโรคระบาด=วิกฤติตลาดหุ้น?)
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 11

โพสต์

วันนี้ผมได้อ่านบทความเศรษฐศาสตร์บัณฑิตของดร บัณฑิต
ท่านให้มุมมองวิกิดปัจจุบันเปรียบเทียบกับปี40
น่าสนใจนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ไปอ่านมาคิดว่าน่าสนใจอยู่ครับ

ขอเอามาแปะให้คนอื่นได้อ่านกันนะครับ

https://www.bangkokbiznews.com/blog/blogger/89
ทําไมเศรษฐกิจปีนี้ อาจลําบากกว่าปี 40


ช่วงนี้ผมเจอคําถามบ่อยเรื่องเศรษฐกิจ คําถามไม่ใช่เศรษฐกิจจะดีหรือแย่ แต่คําถามคือเศรษฐกิจปีนี้จะแย่แค่ไหน

จะเป็นเหมือนตอนเกิดวิกฤติปี 40 หรือไม่ เพราะปัจจัยลบมีมากมายที่ประดังเข้ามากระทบเศรษฐกิจ ทั้งเศรษฐกิจโลก ไข้หวัดโควิด-19 ภัยแล้ง ความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ และปัญหาการเมืองภายในประเทศเอง
คําตอบของผมก็คือ ปีนี้เราคงไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเหมือนอย่างที่เกิดในปี 40 ที่เศรษฐกิจตกลงแบบหัวทิ่มจนอัตราการขยายตัวปี 40 ติดลบ จากการไหลออกฉับพลันของเงินทุนต่างประเทศ แต่ปีนี้เศรษฐกิจจะชะลอมาก อัตราการขยายตัวยังเป็นบวกแต่อาจตํ่ากว่า 1% แต่ผลกระทบจะกระจายตัวมากทําให้ความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ถูกกระทบ และสําหรับบางกลุ่มอาจลําบากกว่าปี 40 เพราะเศรษฐกิจที่ชะลอปีนี้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ขณะที่ความสามารถของคนส่วนใหญ่ที่จะปรับตัว หรือมีตัวช่วยจากภายนอก เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก หรือนโยบายเศรษฐกิจ มีน้อยกว่าเทียบกับปี 40 ทําให้ประชาชนและธุรกิจส่วนใหญ่ต้องพึ่งตัวเองมาก นี่คือประเด็นที่จะเขียนวันนี้
เทียบกับปี 40 มีสามเหตุผลที่จะทําให้ผลกระทบของเศรษฐกิจปีนี้ต่อคนทั่วไปจะต้องระมัดระวังมาก

1. วิกฤติปี 40 เกิดจากการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศอย่างฉับพลัน เกิดปัญหาสภาพคล่อง นําไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค่าเงินบาทที่อ่อนลงจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนทําให้ภาคธุรกิจที่มีหนี้มากโดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศขาดทุน เกิดปัญหาหนี้เสีย ที่ส่งผลกระทบต่อฐานะและความมั่นคงของสถาบันการเงิน ดังนั้น วิกฤติปี 40 จึงเป็นปัญหาที่เกิดในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และภาคการเงินเป็นหลัก และส่งผลกระทบต่อถึงส่วนที่เหลือของเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจก็ฟื้นเร็วเมื่อการส่งออกกลับมาขยายตัว เงินทุนต่างประเทศไหลกลับ และปัญหาในสถาบันการเงินคลี่คลาย
แต่ปีนี้ ภาคการเงินไม่มีปัญหา สภาพคล่องมีมาก และไม่มีฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ ปีนี้ปัญหาของเศรษฐกิจอยู่ที่ภาคเศรษฐกิจจริง หรือ real sector ที่อ่อนแอมาก เพราะเศรษฐกิจขยายตัวตํ่าต่อเนื่องมานานกว่าห้าปี ทําให้กําลังซื้อในประเทศไม่มี ประชาชนไม่ใช้จ่ายและหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ภาคธุรกิจไม่ลงทุน กระทบความสามารถในการแข่งขันและการจ้างงาน ที่สําคัญ เศรษฐกิจโลกที่จะชะลอมากปีนี้และผลจากการระบาดของไข้หวัดโควิด-19 จะกระทบรายได้ของประเทศจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ซํ้าเติมโดยภาวะภัยแล้งที่กระทบรายได้ของเกษตรกร
ความอ่อนแอเหล่านี้จะส่งผลกระทบกว้างขวางต่อทั้งระบบเศรษฐกิจ กระทบการมีงานทํารายได้และความเป็นอยู่ของคนในประเทศกว้างกว่าปี 40 โดยเฉพาะเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าของกิจการระดับเล็กและกลางและชนชั้นกลางที่มีหนี้แต่ไม่มีเงินออม ล่าสุดผลสํารวจของสวนดุสิตโพลรายงานว่า ประชาชนกว่า 63% ไม่มีรายได้พอใช้จ่าย ที่จะยังดีอยู่คือ ธุรกิจขนาดใหญ่ที่สายป่านยาวและบริษัทที่ใกล้ชิดหรือได้ประโยชน์จากงบประมาณและหรือค้าขายกับภาครัฐ

2. เศรษฐกิจปีนี้ไม่มีตัวช่วยเหมือนปี 40 ปี 40 ค่าเงินบาทที่อ่อนลงและเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวดีได้ช่วยให้การส่งออกฟื้นตัวเร็ว ดึงให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัว แต่ปีนี้เศรษฐกิจโลกชะลอและค่าเงินบาทไม่ได้อ่อนมาก ประโยชน์ต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวจึงไม่มี
ปี 40 เศรษฐกิจได้ประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นกอบเป็นกําต่อเนื่องไปถึงปีต่อๆ ไป เช่น โครงการมิยาซาว่า ขณะที่ปีนี้ งบประมาณรายจ่ายประจําปีล่าช้ามาก ทําให้การกระตุ้นเศรษฐกิจจะมีข้อจํากัด ปี 40 นโยบายการเงินมีพื้นที่ที่จะลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากเพราะอัตราดอกเบี้ยไม่ใกล้ศูนย์และหนี้ภาคครัวเรือนตํ่า แต่ปีนี้สถานการณ์ตรงกันข้าม
ปี 40 คนที่ตกงานหรือถูกกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจสามารถกลับไปภาคเกษตรเพื่อหารายได้ทดแทน แต่ปัจจุบันโอกาศดังกล่าวมีน้อยลงเพราะพื้นที่เกษตรมีน้อยลง คนที่ทํางานในเมืองอาจขายสวนขายที่ไปแล้ว ไม่มีพื้นที่เกษตรให้กลับไปหารายได้และยังเจอกับปัญหาภัยแล้ง ท้ายสุด วิกฤติปี 40 เกิดขึ้นหลังเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่สูงต่อเนื่องหลายปี ทําให้คนส่วนใหญ่มีกําลังที่จะปรับตัว แต่ปีนี้การชะลอตัวเกิดขึ้นท่ามกลางความอ่อนแอของภาคเศรษฐกิจจริงที่มีมาต่อเนื่อง สายป่านต่างๆ ที่ประชาชนพอมีได้ถูกใช้ไปเกือบหมดแล้วทําให้ความสามารถในการปรับตัวจะจํากัดเทียบกับปี 40

3. ปี 40 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทําอย่างจริงจัง ทั้งการปฎิรูประบบและการกระตุ้นเศรษฐกิจ เรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาได้เร็ว พร้อมกับการไหลกลับของเงินทุนต่างประเทศ ขณะที่การเมืองของประเทศในระบบประชาธิปไตยขณะนั้นมีเสถียรภาพ สร้างความมั่นใจในการทํานโยบาย
แต่ปัจจุบันความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อการทํานโยบายมีน้อยมาก เพราะการทํานโยบายให้ความสําคัญกับการจัดสรรผลประโยชน์มากกว่าการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ไม่มีการปฎิรูปเศรษฐกิจ ขณะที่นโยบายเศรษฐกิจกลับไปกลับมา (นักลงทุนใช้คําว่า flip flop) เอาแน่เอานอนไม่ได้ แม้แต่การผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปี ทําให้เศรษฐกิจไทยขณะนี้ไม่ได้อยู่ในเรดาห์ของนักลงทุนต่างชาติ ประเทศจึงเสียโอกาศจากเงินทุนต่างประเทศ เห็นได้จากดัชนีตลาดหุ้นที่ล่าสุดปรับลดลงตํ่ากว่าระดับ 1,400 จุด

นี่คือเหตุผลที่เศรษฐกิจปีนี้จะกระทบความเป็นอยู่ของคนในประเทศมาก ที่ห่วงก็คือ ปีนี้นอกจากปัญหาเศรษฐกิจ เราอาจมีปัญหาการเมืองและปัญหาสังคมเข้ามาซํ้าเติม

ปัญหาการเมืองทําให้เกิดความไม่แน่นอนด้านนโยบาย ส่วนปัญหาสังคมก็มาจากเรื่องการตกงาน ไม่มีรายได้ ไข้หวัดระบาด ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินจากภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า ทําให้ความเป็นอยู่ของคนไทยปีนี้ไม่ง่าย เครียด ต้องมีสติ ต้องระมัดระวัง และต้องพึ่งตัวเองมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Lastpun
Verified User
โพสต์: 819
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ผมว่า ตลาดก็ค่อยๆ Price in ไปครับ ช่วงนี้อาจจะยังเป็นช่วงแรก ยังไม่ยืดเยื้อมาก คนก็ยังพอจับนุ้นจับนี้หมุนได้อยู่

แต่ถ้ายืดเยื้อนาน มีอะไร Surprise หลายอย่าง ผมว่าจะยิ่งกว่านี้เข้าไปอีก เรื่องพวกนี้พูดยากครับอยู่ที่นิยามอย่างที่หลายคนพูดถึงว่าวัดจากอะไร GDP, ตลาดหุ้น, ตลาดอสังหา, หนี้ หลายสิ่งครับ

แต่ถ้าถาม ณ วันนี้ การท่องเที่ยวนี้ผมว่าสาหัสแล้วครับ ก็คงเป็น Survivor of fittest
kirov
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 318
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 14

โพสต์

(Bloomberg) -- The U.S. Federal Reserve delivered an emergency half-percentage point interest rate cut Tuesday in a bid to protect the longest-ever economic expansion from the spreading coronavirus. The vote for the emergency cut to a range of 1% to 1.25% was unanimous. The Fed also said in the statement that the “fundamentals of the U.S. economy remain strong.”
https://www.bloombergquint.com/global-e ... move-chart
ภาพประจำตัวสมาชิก
shumbrotta
Verified User
โพสต์: 290
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 15

โพสต์

kirov เขียน:
อาทิตย์ มี.ค. 01, 2020 1:26 pm
ในส่วนของตลาดหุ้นนะครับ
ผมคิดส่วนตัวว่าตอนนี้ panic sell ยังอยู่ในวงจำกัดครับ
หากมองว่าตลาดหุ้นไม่สามารถฟื้นได้แบบ v shape / การพยายามควบคุมไวรัสโคโรน่าในประเทศไทยน่าจะยกระดับได้มากขึ้นกว่าปัจจุบันอยู่แล้ว ตามที่เห็นในต่างประเทศ
ตอนนี้รายย่อยยังไม่ได้ตื่นตระหนกกันจริงๆ (ยอด net buy มาโดยตลอด, ประกอบกับคนรอบข้าง) เพราะฉะนั้นเลยคิดว่าขาลงในตลาดหุ้นยังไม่น่าจะหยุดลงแค่นี้ครับ แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่ mass panic กันแล้ว (คนส่วนใหญ่กลัว+มองแง่ร้ายสุดๆ+คนส่วนใหญ่ขาย) คิดว่าตลาดน่าจะเริ่มหยุดลงและเริ่มมีสเถียรภาพ

พี่ๆมีความเห็นอย่างไรกันครับ รอบนี้เป็นวิกฤตครั้งใหม่รึเปล่าครับ :?:
อยากสอบถามพี่ๆที่มีมุมมองว่าตลาดยังไม่หยุดลง จะลงต่ออีก มีวิธีการบริหาร Port ยังไงครับ Cut หมด(ล้าง Port) หรือ short against port หรือถือต่อไป(หาเงินมาเติม)เพราะหุ้นที่ถือไม่กระทบครับ
lukton2000
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 352
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอแสดงความคิดเห็นเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 ปัญหาเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น 1-2 ปีแล้ว แต่ยังไม่พังทลายลงมาเท่านั้นเอง แต่เมื่อเราถูกโจมตีค่าเงินบาท จนกระทั่งต้องลอยตัวค่าเงิน ทุกอย่างก็พังทลาย สถาบันการเงินล้มไปหลายแห่ง หรือในทางทฎษฏีแล้วล้มทุกแห่งเพราะหนี้เสียมหาศาล แต่รอดมาได้เพราะการแทรกแทรงช่วยเหลือจากรัฐบาล คนที่มีเงินฝากก็ตื่นตระหนก กลัวสูญเงิน ธุรกิจล้มต่อเป็นทอดๆ เพราะถูกเรียกหนี้คืน หรือไม่มีการปล่อยกู้ ใหม่ๆใดๆ บริษัทมากมายปิดตัว ปลดคน ลดเงินเดือน นักศึกษาจบใหม่ หางานยากมากๆ กำลังซื้อลดฮวบ รถยนต์ขายไม่ออก คอนโดต้องลดราคา 50 % คนเคยรวยต้องเอาของมาเปิดท้ายขายของ บรรยากาศหดหู่ ไม่รู้อนาคต ไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แล้วถามว่าเป็นแบบนี้นานไหม ถ้าผมจำไม่ผิด จากปี 40 Set Index ไหลลงไปต่ำสุด300-400 จุด ช่วงปี 42 แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยๆฟื้นตัว นั่นก็คือใช้เวลา 3-4 ปี เมื่อมาเทียบกับปัจจุปัน ผมว่ายังห่างไกล แต่โอกาสจะเจริญรุงเรืองขึ้น ก็ยาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 17

โพสต์

บทความน่าสนใจครับ ขอแชร์มาให้อ่านกัน
สรุปความคิด Ray Dalio ต่อ โคโรนาไวรัส /โดย ลงทุนแมน
ล่าสุด Ray Dalio ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดในโลก
ได้ออกมาเขียนบทความล่าสุดเรื่อง My Thoughts About the Coronavirus
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟังว่า
นักคิดระดับโลกผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง Principles เขามีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับโคโรนาไวรัส (ฝรั่งจะใช้คำว่า Coronavirus ไม่ใช่ COVID-19 เหมือนคนไทย ต่อไปนี้จึงจะขอใช้ทับศัพท์ว่าโคโรนาไวรัส)


เริ่มจาก Ray Dalio บอกว่า เขาไม่อยากจะเดิมพันในสิ่งที่เขาไม่เชี่ยวชาญ เขาจะไม่เดิมพันครั้งใหญ่ในครั้งเดียว

เขาต้องการหาวิธีทำตัวให้เป็นกลาง มากกว่าที่จะหาวิธีเดิมพันในเรื่องที่ยังไม่รู้แน่ชัด ซึ่งเขาเองก็ยอมรับว่าไม่ได้รู้จริงเกี่ยวกับ โคโรนาไวรัส

จนตอนนี้ตัว Ray Dalio เองก็ไม่สามารถบอกได้ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร และควรรับมือกับมันอย่างไร

ดังนั้น Ray Dalio ให้หมายเหตุไว้ก่อนเริ่มว่า บทความนี้เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวของเขา ซึ่งแล้วแต่วิจารณญาณของผู้อ่านเอง

และนี่คือความคิดเห็นของเขา..

จากมุมมองของ Ray Dalio เรื่องนี้มี 3 สิ่งที่เกี่ยวข้องกัน แต่ก็ต่างกันโดยสิ้นเชิง
1. ไวรัส
2. ผลกระทบของไวรัสที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ
3. ปฏิกิริยาของตลาด

โดยทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจาก “อารมณ์”
ซึ่งอาจเป็นเพราะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจรวมกันทั้งหมด ทำให้ตลาดปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
และตามมาด้วย การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่ผิด

และเรื่องนี้มันอาจไปกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมสลายของอีกอย่างหนึ่ง ซึ่ง Ray Dalio เคยพูดมาแล้วก็คือ
“ความเหลื่อมล้ำของ ความมั่งคั่ง และการปกครอง”

และนั่นจะเป็นจุดจบของวัฏจักรหนี้ครั้งใหญ่ ซึ่งหนี้ทั้งหมดในระบบตอนนี้ อยู่ในระดับที่สูงมาก
และธนาคารกลาง “กำลังหมดแรง” ที่จะกระตุ้นมัน

เริ่มด้วยเรื่องแรก
1) ไวรัส
ตัวไวรัสเองก็เกือบเป็นที่แน่นอนว่า
- มันเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาและก็จะผ่านไป
- สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงทางจิตใจหรืออารมณ์ ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวของตลาดอย่างรวดเร็ว
และไวรัส ก็นำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพ ที่ดูเหมือนจะควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ในทั่วโลก
ซึ่งเรื่องทั้งหมด ก็นับเป็นต้นทุนทางด้านมนุษย์ และเศรษฐกิจที่สูงมาก

ถึงแม้วิธีการรับมือ และผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่
(ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตลาดของประเทศนั้นๆ แตกต่างกันด้วย)

โดยการควบคุมไวรัสจะได้ผลดี และมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อ
- ผู้นำของประเทศมีศักยภาพในการตัดสินใจได้ถูกต้องและฉับไว
- ประชาชนปฏิบัติตามคำสั่ง
- ผู้นำสามารถบังคับให้หน่วยงานต่างๆ ทำได้ตามแผน
- ระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ในการบ่งชี้และรักษาผู้ติดเชื้อได้ดีและรวดเร็ว

เรื่องนี้ผู้นำต้องทำให้ “สังคมห่างกัน” ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ถ้ามีการระบาดเกิดขึ้นในสังคมนั้น (คำว่าสังคมห่างกันก็คือการลดการเจอกันของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกงาน ห้ามบุคคลออกนอกอาคาร หรือการปิดเมือง) และผู้นำต้อง “ถอน” การทำให้สังคมห่างกันโดยเร็วที่สุด ถ้าการระบาดนั้นลดลง

ซึ่ง Ray Dalio เขาเชื่อว่า จีนมีความสามารถในการทำเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
ส่วนประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ จะทำได้ดีน้อยกว่าจีน แต่ก็น่าจะถือว่าพอใช้ได้
สำหรับประเทศที่ทำได้แย่ ก็อาจจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ร้ายแรงตามมากับประเทศนั้น

ดังนั้นประเทศอื่นๆ ที่จัดการเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นได้ไม่ดี ก็จะทำให้โรคแพร่ระบาดไปได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่น เช่น อากาศ ซึ่งประเทศในเขตร้อนจะมีการระบาดของโรคไม่เท่าประเทศในภูมิภาคอื่น

ตอนนี้โรคกำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ รวมถึงตัวเลขผู้เสียชีวิตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

และในสหรัฐฯ จะมีการตรวจหาผู้ติดเชื้อมากขึ้นใน 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้
ซึ่งจะทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นตาม และก็น่าจะทำให้สังคมเกิดความกังวลมากขึ้นไปอีก โดยจะมีคนได้รับผลกระทบจากการทำให้ “สังคมห่างกัน”

ในโรงพยาบาลจะเกิดความตึงเครียดมากขึ้น และโรงพยาบาลจะรับมือกับเคสผู้ป่วยได้ยากลำบากขึ้น
สุดท้ายแล้ว แน่นอนว่าจะเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ในเร็วๆ นี้

2) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ปฏิกิริยาของเราต่อเหตุการณ์โรคระบาดจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวในระยะสั้น และตามมาด้วยการฟื้นตัวในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้จะไม่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว

จริงๆ แล้ว โรคระบาดที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่านี้ในประวัติศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น ไข้หวัดสเปน ก็สามารถนำมายกเป็น worst-case scenario ได้ดี

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เราวิตกกังวลมากเกินกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง ทำให้เราอาจสรุปได้ว่าเหตุการณ์ในรอบนี้ก็คงไม่ต่างกัน..

อย่างไรก็ตาม Ray Dalio ก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจถดถอยจะไม่เกิดขึ้น เพราะจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่มีต้นตอมาจาก

- ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง และการปกครอง
- ความขัดแย้งที่รุนแรง
- หนี้สินจำนวนมากและนโยบายการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ
- รวมถึงขั้วอำนาจใหม่ที่เกิดขึ้นมาท้าทายขั้วอำนาจเดิม

ซึ่งครั้งสุดท้ายที่เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ก็คือปี 1930 จนกลายเป็นที่มาของสงครามโลกครั้งที่ 2
และถ้าย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นก็คือ การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

แน่นอนว่า ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง และการปกครอง จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย
และมันจะถูกนำไปรวมเข้ากับเหตุการณ์โรคระบาดในครั้งนี้ ซึ่งจะเห็นผลใน การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขั้นต้น หรือ Super Tuesday

3) ผลกระทบต่อตลาด
ตอนนี้โลกกำลังอยู่ในช่วงกู้หนี้ยืมสินมานานด้วยเงินสดที่ล้นในระบบ

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพนักลงทุนส่วนใหญ่จะซื้อหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ด้วยวิธีการกู้ยืมส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้สินทรัพย์นั้นมา

การกู้ยืมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับผลตอบแทนคาดหวังของหุ้นที่มากกว่า

ผลกระทบจากไวรัสจะทำให้รายได้บริษัทลดลง แต่เมื่อเหตุการณ์จบ
รายได้ของบริษัทส่วนใหญ่ ก็จะฟื้นคืนกลับมาเหมือนเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบ V หรือ U Shaped

แต่สำหรับบริษัทที่กู้หนี้ยืมสินมาก จะเจอปัญหาและกลับมาไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ตลาดยังแยกไม่ออกว่าบริษัทไหนสามารถอยู่รอด
และบริษัทไหนจะไม่สามารถอยู่รอดได้

ตลาดกลับไปให้ความสนใจแต่เรื่องที่จะมาส่งผลกระทบต่อรายได้ชั่วคราว
แทนที่จะสนใจบริษัทที่กู้หนี้ยืมสินมาก

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ บริษัทที่มีเงินสดมากแต่ได้รับผลกระทบชั่วคราว กลับถูกตลาดลงโทษมากกว่า บริษัทที่ได้รับผลกระทบน้อยแต่มีหนี้สินมาก

ซึ่ง Ray Dailio สนใจที่ตัวหนี้สินของบริษัทมากกว่าผลกระทบชั่วคราว

และดูเหมือนว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ จะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์หายนะในรอบ 100 ปี ที่จะทำให้หลายฝ่ายต้องสั่นคลอนไปตามๆ กัน ทั้งผู้ที่เป็นคนรับประกันความเสี่ยงนี้ และคนที่ไม่สนใจจะปิดความเสี่ยงนี้

เพราะพวกเขาทำเหมือนมันเป็นความเสี่ยงหนึ่งที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริง อย่างเช่นพวกบริษัทประกัน หรือพวกที่ขาย Option ป้องกันความเสี่ยงนี้ (เพราะคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นจริง) เพื่อหาโอกาสกินเบี้ยประกันสูงๆ

และตอนนี้ตลาดก็กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากผู้เล่นเหล่านี้ ที่กำลังถูกบีบเรื่องปัญหาด้านกระแสเงินสด มากกว่าจะเป็นการวิเคราะห์ด้านปัจจัยพื้นฐาน

เรากำลังเห็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ และการเคลื่อนไหวของตลาดที่ดูไม่ค่อยมีเหตุมีผล

ที่น่าสนใจก็คือ หลายบริษัทในเวลานี้ให้กระแสเงินสดสูง และดูน่าสนใจขึ้นมาก ในขณะที่อีกหลายบริษัทกำลังเจอปัญหา และน่าจะล้มหายไป

สำหรับการลดอัตราดอกเบี้ย และเพิ่มสภาพคล่องจะไม่ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากนัก หากประชาชนเลือกที่จะอยู่แต่ในบ้าน ไม่จับจ่ายใช้สอยอะไร แม้ว่าจะช่วยให้สินทรัพย์เสี่ยงดูน่าสนใจมากขึ้น แต่ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยก็เข้าใกล้ศูนย์แล้ว

ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ประเทศเหล่านี้ได้หมดแรงที่จะลดดอกเบี้ยอีกต่อไปแล้ว

นั่นแสดงให้เห็นว่า นโยบายทางการเงินเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้
และมีความจำเป็นที่ต้องใช้นโยบายทางการคลังเข้าช่วย

เพราะฉะนั้น อย่าไปคาดหวังว่าการลดดอกเบี้ยจะช่วยอะไรได้มากนัก เพราะผลของมันได้เกิดขึ้นไปแล้ว
ด้วยการที่ yield ของพันธบัตรต่างๆ ลดลงไปแล้ว และราคาสินทรัพย์อื่นๆ รวมถึงหุ้น ก็สะท้อนเรื่องนี้ไปแล้ว

ดังนั้น สิ่งที่ Ray Dalio คาดหวังสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจในครั้งนี้ ก็คือการดำเนินนโยบายทางการเงินร่วมกับนโยบายทางการคลังให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น กับหน่วยงานที่มีปัญหาเรื่องหนี้สินและสภาพคล่อง
มากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ย และเพิ่มสภาพคล่องแบบเหมารวมกันทั้งหมด

และสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดที่เราควรเป็นห่วงในมุมมองของ Ray Dalio
ก็คือ “ตัวเราเองและครอบครัว”
ซึ่งไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
การลงทุนที่ดี เราควรประเมินกรณีที่เลวร้ายที่สุด หรือ worst-case scenario
เพื่อเตรียมตัวที่จะรับมือกับมัน ถ้ามันเกิดขึ้น..
———-

สรุปแล้วสิ่งที่ลงทุนแมนได้รู้จาก Ray Dalio ก็คือ เขาเชื่อมั่นว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว แต่ในระหว่างนี้บริษัทที่กู้หนี้ยืมสินมาก จะเจอปัญหาสภาพคล่อง

สำหรับประเทศที่มีประสิทธิภาพในการปกครอง จะสามารถควบคุมโรคนี้ได้มากกว่า และไม่น่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นในระยะยาว

เขาให้ความสำคัญมากๆ กับคำว่า ให้สนใจระยะยาว อย่าสนใจ ระยะสั้น

ดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะมองบริษัทที่ไม่มีหนี้สิน ให้กระแสเงินสดดี และมองความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องสำคัญ
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 18

โพสต์

อันนี้เป็นสรุปของอีกเจ้านึงครับ
ด่วน! เฮีย Ray Dalio ชวนวิเคราะห์ผลกระทบจากเรื่องโควิด 19
.
#ลงทุนนอกโลก โดยถามอีก กับอิก
.
ก่อนหน้านี้แกเคยให้ความเห็นไปรอบนึงแล้วสามารถอ่านย้อนหลังได้ที่นี่ครับ
.
https://www.facebook.com/Tam.eig/posts/ ... 563313901/
.
=========
.
มาวันนี้แกยอมรับว่า แกไม่ชอบเดิมพันอะไรก็ตามที่แกไม่คิดว่าตัวเองเก่งมากๆ และไม่ชอบเดิมพันด้วยเงินก้อนใหญ่ในการลงทุนแต่ละครั้ง
.
เบื้องต้น เฮีย Ray Dalio แบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆครับ
.
คือ 1.ไวรัส 2.ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากไวรัส และ 3.ปฏิกิริยาของตลาด
.
“ทั้งสามสิ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากอารมณ์ของนักลงทุน” เฮียบอกครับ โดยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง สาม อย่างอาจจะทำให้ตลาดกลายเป็นขาลง และอาจจะทำให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆมันผิดเพี้ยนไป และอาจจะประเมินมูลค่าผิดพลาดก็ได้
.
แต่จุดที่สำคัญมาก ที่เฮียแกค่อนข้างกังวลคือ อาจจะกระทบต่อ ความเหลื่อมล้ำ ทั้งด้านความมั่งคั่งและการเมือง และในท้ายที่สุดก็อาจจะถึงจุดจบของวัฏจักรหนี้ (ซึ่งตอนนี้ระดับหนี้ตอนนี้สูงมาก)
.
ในขณะที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆก็แทบจะไม่มีสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้แล้ว
.
=========
.
มาลุยอย่างแรกกันก่อนครับ “ไวรัส”
.
1.ไวรัส ด้วยตัวมันเองจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ชัวคราว) แล้วเดี๋ยวก็จะผ่านไป
.
2.ปัญหาไวรัสจะส่งผลกระทบรุนแรงต่ออารมณ์ของนักลงทุน ซึ่งก็มักจะทำให้ตลาดร่วงลงอย่างรุนแรง
.
3.นอกจากนี้ ไวรัสก็ยังจะทำให้เกิดวิกฤตสุขภาพ ที่แทบจะควบคุมไม่ได้ และจะทำให้เกิดต้นทุนของมนุษย์ (ทั้งป่วย และเสียชีวิต) รวมถึงส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
.
4.แม้ว่าการรับมือกับปัญหาและผลพวงจาก การควบคุมก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ แต่ละพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทิศทางตลาดการลงทุนที่อาจจะแตกต่างกันไป (ขึ้นอยู่กับผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศครับ)
.
5.ทั้งนี้การควบคุมไวรัส เช่น การลดการแพร่กระจาย จะมีประสิทธิภาพก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยครับ
.
“เช่น ผู้นำที่ต้องเก่งซึ่งสามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง และรวดเร็ว” “ประชาชนเองก็จะต้องทำตามคำสั่งของผู้นำ” “ระบบการบริหารจัดการที่จะช่วยบังคับและบริหารแผนงาน” และ “ระบบสาธารณสุขที่ดี เพื่อระบุว่าใครป่วย และสามารถรักษาได้อย่างดี และรวดเร็ว”
.
6.สิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้นำ คือ ต้องทำให้สังคมห่างกัน ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ (ความหมายน่าจะเป็นการแยกผู้ป่วย และไม่ให้คนมาแออัดกันในแต่ละพื้นที่)
.
ซึ่งควรจะทำตั้งแต่ก่อนที่ไวรัสจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และถ้าสถานการณ์คลี่คลายลง ก็จะต้องเร่งถอนมาตรการในการควบคุม หรือห้ามไม่ให้ประชาชนมาแออัดกัน โดยเร็วที่สุด
.
7.”ส่วนตัวผมเชื่อว่า จีนทำได้ดีมากๆในเรื่องนี้ ในขณะที่ตอนนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วในหลายประเทศทำได้ดีน้อยกว่าจีน แต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่โอเค”
.
แต่สำหรับประเทศที่แข็งแรงน้อยกว่า อาจจะแย่มากกว่าจีนและประเทศพัฒนาอีกครับ
.
8.เพราะฉะนั้นในหลายๆประเทศที่ควบคุมได้ไม่ดีมากพอ ก็อาจจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วมากๆ แต่จริงๆก็ยังมีปัจจัยอื่นอีกนะครับ เช่นเรื่องของสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อนในแถบเขตร้อน ก็จะมีการระบาดได้น้อยกว่าประเทศอื่นเป็นต้นครับ
.
9.และตอนนี้สิ่งที่เราเห็นคือ กำลังเกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในหลายประเทศและมีรายงานผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเช่นกัน
.
และถ้าติดตามข่าวก็จะเห็นว่า การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วเนี่ยแหละที่จะทำให้เกิดการตกอกตกใจได้ในตลาดลงทุนได้ ซึ่งในสหรัฐเองก็เช่นกันที่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า
.
“โดยมองว่าจะทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากครับ” และแน่นอนก็จะทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอย่างหนัก และจะมีมาตรการควบคุมให้สังคมแยกจากกัน ลดความแออัด ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาอีกเช่นกัน
.
10.เฮีย Ray Dalio มองว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างคือ โรงพยาบาลจะรับมือกับจำนวนผู้ป่วยได้ยากลำบากมากๆ และก็มีคนบอกเฮียแกด้วยว่า ปัญหากำลังจะหนักหน่วงมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
.
=========
.
พักหายใจสักแวบนึงแล้ว มาลุยต่อด้านที่ 2 ครับ “ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากไวรัส”
.
1.มาตรการที่ทำให้สังคมห่างกัน จะทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบในระยะสั้นอย่างรุนแรง แต่ก็จะมีการฟื้นตัวขึ้นมาได้บ้าง
.
2.แกมองว่า ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว
.
3.ข้อเท็จจริง คือ ในอดีตโรคระบาดที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจำนวนมาก มักจะทำให้เกิดความวิตกกังวล ส่งผลทางจิตใจ มากกว่าเศรษฐกิจเสียอีก
.
4.แกยกตัวอย่างไข้หวัดสเปน ที่เคยเกิดในอดีต ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 “ผมมองว่าน่าจะเป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุดที่เคยเกิดขึ้นแล้วแหละ“
.
“ส่วนตัวผมมองว่า ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว”
.
5.แต่เฮีย Ray Dalio ก็ยอมรับนะว่า แกก็ไม่สามารถรับประกันได้เพราะเหตุการณืในอดีตมันอาจจะเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน
.
“เช่น อาจจะมีความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งและทางการเมือง” และอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงระหว่างนักการเมืองฝ่ายซ้าย และฝ่ายขวา
.
“และอาจจะแย่ลงถ้าเกิดเศรษฐกิจขาลง ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง และทำให้เกิดความขัดแย้ง และทำให้เกิดปัญหาสำหรับการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ”
.
และอาจจะแย่ลงอีก ถ้าเป็นกรณีที่มีภาระหนี้สินอยางมาก และนโยบายการเงินที่ไร้ประสิทธิภาพ
.
และอาจจหนักอีก ถ้าเกิดขั้วอำนาจใหม่ที่พยายามขึ้นมาท้าทายประเทศมหาอำนาจเดิม
.
6.รอบที่แล้วที่เคยเกิดขึ้น คือเกิดขึ้นในช่วงปี 1930 ซึ่งในท้ายที่สุดก็ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และก่อนหน้านั้นก็เคยเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
.
7.และแน่นอนครับว่า ปัญหาที่แกย้ำมาโดยตลอดคือ ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งและปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองนี่แหละครับ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย ซึ่งก็น่าจะส่งผลต่อการเลือตั้งตัวแทนผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี Super Tuesday (ในวันนี้)
.
=========
.
โอเค ด้านสุดท้ายครับ “ปฏิกิริยาของตลาด” หรือของนักลงทุน
.
1.ต้องยอมรับว่าตอนนี้โลกของเราอยู่ในช่วงที่มีการกู้เงินมานาน ในขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่เองก็ซื้อหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆเข้าพอร์ต
.
“นักลงทุนมีหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงเต็มพอร์ต เพราะช่วงที่ผ่านมาดอกเบี้ยต่ำมาก เมื่อเทียบกับความคาดหวังผลตอบแทนในการลงทุนในหุ้น”
.
2.ทำให้การกู้ยืมเงิน มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่มากขึ้น
.
3.ทั้งนี้ไวรัส จะทำให้รายได้ของบริษัทลดลง แต่เมื่อเหตุการณ์จบลง ก็จะทำให้บริษัทมีรายได้ฟื้นกลับมาได้ แต่อาจจะเป็นรูปแบบ V shape หรือ U Shape เพียงแต่ไม่รุ้ว่าจะเมื่อไหร่
.
4.แต่อย่างไรก็ตาม การร่วงลงรอบนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือจะส่งผลกระทบต่อบริษัทที่มีหนี้สินจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยยะ
.
5.”ผมเดาว่า ตลาดจะแยกไม่ออกว่า บริษัทไหนที่จะสามารถอยู่รอดได้ หรือไม่สามารถอยู่รอด จากภาวะช็อคที่เกิดขึ้นในครั้งนี้”
.
6. เช่น บริษัทที่มีเงินสดมาก และได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมาก ก็จะได้รับผลกระทบที่น้อยกว่า บริษัทที่มีภาระหนี้สินมาก
.
7.ทั้งนี้ทั้งนั้นเฮีย Ray Dalio มองว่า นี่ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยหนัก แทบจะเรียกว่าเป็นหนึ่งในวิกฤตที่เกิดขึ้นหนักๆ ในรอบ 100 ปี อาจจะมีสักหนึ่งครั้ง
.
ทั้งนี้หลายฝ่ายก็อาจจะได้รับผลกระทบตามไป ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่รับประกันความเสี่ยง และคนที่ไม่สนใจจะปิดความเสี่ยง เพราะมันเหมือนเป็นความเสี่ยงที่ไม่เคยเกิดขึ้น
.
8.ยกตัวอย่างเช่น บริษัทประกัน ที่ไปรับประกันเพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น หรือบริษัทที่ขาย option ป้องกันความเสี่ยง เพื่อกินค่าพรีเมี่ยม
.
9.ตอนนี้ตลาดเองก็กำลังจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะตอนนี้กำลังเจอปัญหาถูกบีบอย่างหนัก และถูกบังคับเรื่องสภาพคล่อง มากกว่าการวิเคราะห์พื้นฐาน
.
10.พวกเรามองเห็นปัญหาเหล่านี้ ซึ่งมองว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติมากๆ และอาจจะมีการเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะไปในทิศทางไหน
.
11.สิ่งที่น่าสนใจคืออะไรครับ? คือ ตอนนี้หลายบริษัทกำลังให้ผลตอบแทนสูงทำให้น่าสนใจ และอีกผู้เล่นในตลาดหลายรายก็อาจจะล้มหายตายจากไป
.
12.สำหรับนโยบายของธนาคารกลางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดดอกเบี้ย และการเพิ่มสภาพคล่อง อาจจะไม่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
.
เพราะประชาชนก็อาจจะอยู่บ้าน ไม่ออกไปนอกบ้านไม่จับจ่ายใช้สอยข้างนอก
.
13.แต่ประเด็นคือตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น เพราะตอนนี้อัตราดอกเบี้ยต่ำเตี้ยเรี่ยดิน แทบจะติด 0% อยู่แล้ว ทำให้ยากที่จะใช้นโยบายการเงินให้มีประสิทธิภาพต่อไป
.
14.ในยุโรป เองตอนนี้ก็มีสิ่งที่น่าสนใจ คือต้องติดตามว่านโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังจะช่วยได้แค่ไหน ภายใต้ปัญหาการเมืองตอนนี้
.
15.แต่ก็อย่าไปหวังอะไรมากมาย ว่าการลดดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นเศรษบกิจได้ เพราะช่วงที่ผ่านมาก็มีการลดดอกเบี้ยแบบรัวๆกันหลายประเทศอยู่แล้ว สังเกตจากการที่ผลตอบแทนของพันธบัตรตอนนี้ลดไปอย่างมาก
.
“เช่นเดียวกับหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆที่ถูกเทหนักมาก”
.
16.เท่าที่เฮีย Ray Dalio มองคือ “การที่จะควบคุมไม่ให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบมาก ก็ยังต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างนโยบายการเงินและการคลัง โดยเฉพาะกรณีบริษัทที่มีปัญหาหนี้และปัญหาสภาพคล่อง”
.
มากกว่าการหว่านนโยบายด้วยการลดดอกเบี้ย และเพิ่มสภาพคล่องแบบกว้างๆไม่เฉพาะเจาะจง
.
17.และสิ่งที่สำคัญมากที่สุด คือการดูแลทั้งตัวคุณและสุขภาพของครอบครัวของคุณ
.
18.หลักคิดการลงทุนตามสไตล์ของเฮียแก คือ การคิดดูว่าอะไรคือ สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด แล้วเราก็ปกป้องความเสี่ยงเหล่านั้นซะ
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจรึยังครับ?

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ณ ตอนนี้เรานั่งกลางวิกฤติเรียบร้อยแล้วครับ แต่ตัวเลขยังไม่ออกมาเป็นทางการ
ทำไมบอกว่าเรานั่งท่ามกลางวิกฤติ ซึ่งวิกฤตินี้ไม่ใช่วิกฤติทางการเงิน แต่เป็นวิกฤติทางสาธารณสุข
ครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ 191x ครั้งที่ไข้หวัดใหญ่สเปนระบาด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เลยทีเดียว

ทำไมบอกแบบนี้ เพราะสถานการณ์ของไวรัสโควิค 19 นั้น ยังแพร่ระบาดในทุกทวีปยกเว้นแอฟริกา เท่านั้น ที่ยังไม่ค่อยได้ข่าว เมื่อเกิดการระบาดทำให้เกิดความกลัวของประชาชน นั้นเอง
ทำไมประชาชนกลัว เพราะติดแล้ว ไม่โดนกักกันตัว แยกรักษาทันที เพื่อไม่ให้คนอื่นติดเชื้อ และที่สำคัญคือ รูปที่เป็น CT Scanของปอดของผู้ป่วยออกมา รูปนั้นคือรู้ที่ทำให้คนกลัวมากๆ

ไวรัสโควิค 19 นั้น หยุดยังกระแสของโลกในการเดินทาง ท่องเที่ยว การเคลื่อนย้ายของประชาชนที่เสรี ไปไหนก็ได้ โดยใช้เครื่องบินเป็นพาหนะหลักในการเดินทางไกล พร้อมทั้งการทำลายล้างการท่องเที่ยวดังเดิมที่หรูหราอลังการงานสร้างคือ เรือสำราญ ที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัย 18xx ที่เดินทางระหว่างทวีป ที่เร็วที่สุดในเวลานั้น

เมื่อเกิดความกลัวก็ทำให้การจับจ่ายไม่เกิดขึ้น คนไม่เดินทาง อยู่กับบ้าน แต่ทว่าเมื่ออยู่กับบ้านทำอะไรได้บ้าง
สิ่งพื้นฐานที่จำเป็นคือ กิน,นอน และออกกำลักาย เรื่องนอน ไม่มีปัญหา แต่เรื่องกินกับเรื่องออกกำลังกายมีปัญหา
เรื่องกินก็สั่งผ่าน food delivery แทน ไม่ต้องไปที่ร้าน แล้วจ่ายเงินทางออนไลน์ โอนเอา
ส่วนออกกำลังกายก็ หาเครื่องออกกำลังมาตั้งไว้ที่บ้านเลย หรือ วิ่งรอบห้องแทน เพื่อรักษาความฟิตของร่างกาย

แต่สิ่งอื่นสิ่งใด เมื่อคนไม่เดินทาง ความรู้จะถ่ายทอดได้อย่างไร อันนี้ไม่ต้องบอก กันละ การถ่ายทอดความรู้ยุคนี้ผ่านอินเตอร์เน็ต และ การประชุมทางไกลได้ ดังนั้น ทำให้ยอดการใช้เพิ่มขึ้น เป็นเบื้องหลัง

ตัดภาพในส่วนการเงินการลงทุน นั้นที่เรารู้คือ ตลาดหลักทรัพย์ทุกประเทศลดลง อย่างน้อยๆ 10% ลงแบบแรงมากๆ
ทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศนั้น ก็ลดดอกเบี้ย และอัดฉีดเงินเข้าระบบ
ของไทยนี้ไม่ได้บอกมาตรง แต่ทว่า มาตราฐานการคือ เมื่อเงินหมุนในระบบแล้ว ก็ส่งคืนธนาคารแห่งประเทศไทย หรือคลังของแต่ละธนาคาร ต้องเก็บไว้ 14 วัน อันนี้คือ ต้องพิมพ์เพิ่ม ขึ้นอีกเพื่อรองรรับเงินที่หายไป 14 วัน ทำให้หมุนเวียนในระบบไม่ติดขัดนั้นเอง เอากันแบบง่ายๆแบบนี้เพราะว่า ไวรัสติดกับสิ่งของอยู่ได้ 14 วัน เลยเอาจุดนี้มาเป็นจุดที่อัดเงินเข้าระบบตรง โดยบอกว่า เก็บเข้าคลัง 14 วันแต่พิมพ์มาใหม่ เพิ่มในระบบ แต่ไม่บอกว่าปริมาณเท่าไร นั้นคือ เก็บไปทำความสะอาดเท่าไร ก็ต้องพิมพ์มาเท่านั้นเอง

ส่วนเรื่องการอัดฉีดเงินเข้ากระเป๋าประชาชน ก็คือรายการแจก แต่ทว่ากระแสไม่ให้แจกมันมาก อันนี้คนที่สร้างกระแสนี้ ไม่คิดเลยว่า ทุกคนในเศรษฐกิจมันกำลังจะตาย มาสร้างกระแสเพื่ออะไร เมื่อเศรษฐกิจหยุดชะงัก กว่าจะเคลื่อนที่ได้ มันจะใช้แรงในการเคลื่อนที่ครั้งแรกอย่างมหาศาล ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจยุบตัว มาตราการอัดฉีดเงินก็เลยต้องมา ไม่งั้น เมื่อหดตัวมากเกินไปมันจะปลุกไม่ได้ แต่ประชาชนมองว่า ไม่ดี แต่มันต้องแลกกันหน่อย เพราะรัฐก็ได้ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มอยู่แล้ว
แล้วเงินที่ลงไปมันก็ทวีคูณในระบบของเศรษฐกิจได้ ไม่ได้ยุบแล้วหายไป แต่ได้สะพัดหน่อย แต่มากหรือน้อยแล้วแต่
สิ่งหนึ่งที่กลัวกันคือ เมื่อเงินลงไป เจ้าหนี้ก็เคาะหน้าประตูบ้านเลยทันที อันนี้แหละที่ทำให้เงินไม่หมุนไปนั้นเอง
มันต้องเงินจะหมุนไป เงินจะหมุนไป ให้ภาคเศรษฐกิจโดยตรงให้ได้

ไปซักไกลเลย กลับเข้าเรื่องหน่อย ทุกวิกฤติเราไม่รู้ว่านั่งอยู่วิกฤติ จนกว่าตัวเลขบอกว่าเราอยู่บนวิกฤติ ตัวเลขนั้นคือ GDP ที่ติดลบ อัน2-3 ไตรมาสเป็นตัวบอก ว่าวิกฤตินั้นจริงหรือหลอก แต่หากดูกันไวไว ก็ไปดูตัวที่แสดงความกลัวในด้านการลงทุน คือ VIX Index ตัวนี้บอกได้ว่า นักลงทุนกล้าหรือกลัวในการลงทุน สะท้อนมา Option ที่เป็นเครื่องมือป้องกันการลงทุนแต่ปัจจุบันเป็นเครื่องมือการเกร็งกำไร หรือ หนทางรวยได้อย่างรวดเร็วแทน
ซึ่ง ณ ตอนนี้เพิ่มจากระดับ 1x ไปอยู่ที่ประมาณ 3x แล้ว เป็นการเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ประมาณวันที่ 24 เป็นต้นมา โดย ตำแหน่งสูงสุดของ VIX index นั้นคือ 6x ในช่วงปี 2008
จะเห็นว่าความกลัวเกิด การเทขายครั้งใหญ่ตามมา นั้นเอง
ซึ่งตลาดการลงทุนนั้นเป็นตัวชี้วัดหรือตัวนำหน้า เศรษฐกิจ ประมาณ 6-9 เดือนเป็นอย่างต่ำ นั้นเอง
หากนักลงทุนผ่านเหตุการณ์ไข้หวัด 2009 หรือ ไข้หวัดนก ก็รู้ว่า ช่วงที่หดตัวมันเพิ่มเริ่มขึ้นเท่านั้น แต่ทว่าช่วงที่กลับมาเราเองก็ไม่รู้เช่นกัน

ดังนั้น ใจเย็น undervalue มีให้เต็มตลาด เมื่อการเทกระจาด แต่ทว่า ใครที่ลงทุนระยะยาวก็หาหุ้นที่แข็งแกร่งกว่าตลาดจดไว้ ซึ่งในรอบก่อนหน้านี้คือ กลุ่มโรงพยาบาล ที่ได้รับอานิจสงฆ์ไปเต็มๆ เพราะว่า โรคภัยไข้เจ็บ บอกปุ๊บคนก็แห่ไปโรงพยาบาลทันที , บริษัทที่ขายเครื่องมือการแพทย์ (ในMAI มี 2 ตัวหากันเอง) ,บริษัทที่ผลิตสิ่งป้องกันในตลาดก็มี 2 แห่ง (บริษัทยางไปหากันเอาเอง แต่ไม่ได้บอกเรื่องธรรมภิบาลละกัน) พวกนี้คือกลุ่มที่รอบที่แล้วที่ไม่ยุบตัวแต่เป็นกลุ่มที่ PE เพิ่มขึ้นอย่างมากมายด้วยซ้ำไป แต่สถานการณ์ตอนนี้กลับกัน คือกลุ่มนี้ไปกับตลาดด้วย กลายเป็นกลุ่มยาใน US นำมาก่อนเลย เดี๋ยวใจเย็นๆ ละ

ส่วนพวกที่กระทบหนักๆ คำถามที่น่าถามตอนที่ undervalue คือ คุณสามารถทำธุรกิจนี้ด้วยเงินเท่าไร ในเมือ Market cap แค่นี้ และอนาคตมันจะหายไปไหม คนยังต้องการใช้ไหม มันแก้ไขโจทย์อะไรกับใครหนอ (เคร็ดลับของดันโด ซื้อในยามวิกฤติต้องใช้ตัวนี้ ถ้าตอบไม่ได้ไม่ต้องซื้อ แล้วเมื่อซื้อไปแล้ว นอนให้หลับละกัน)

แค่นี้แหละ
:)
โพสต์โพสต์