หุ้นสหรัฐ ความตาย และ Estate Tax
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
หุ้นสหรัฐ ความตาย และ Estate Tax
โพสต์ที่ 1
ผมกับภรรยาเป็นคนที่คิดถึงความตายบ่อยครับ เรามักจะพิจารณา และจำลองสถานการณ์กันว่าเมื่อคนใดคนหนึ่งตาย หรือ เกิดเหตุที่ตายพร้อมกันสองคนขึ้นมา มันมีภาระอะไรที่ต้องทำบ้าง ใครจะจัดการอะไรอย่างไรต่อบ้าง ผมกับภรรยาจึงมีการทำพินัยกรรมมาได้สัก 7 ปีแล้ว และพัฒนาวิธีการในการจัดการภาระหลังความตายมาเรื่อยๆ จนพอจะมีความรู้ระดับหนึ่งบ้าง หนึ่งในนั้นที่ผมอยากจะแชร์กับเพื่อนๆ ในวันนี้ คือ ภาระ Estate Tax หากลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ
สหรัฐฯ เป็นประเทศที่แปลกมา ที่สามารถบังคับให้เกือบทุกประเทศทั่วโลกส่งข้อมูลทางภาษีกลับไปให้ประเทศต้นทางเพื่อจะไล่เก็บภาษีประชาชนในชาติของเขาได้ เวลาเราเปิดบัญชีธนาคารในบ้านเรา เราจึงต้องมานั่งเซ็นเอกสารฉบับหนึ่ง ที่ยืนยันว่าเราไม่ได้เป็นประชาชนของประเทศสหรัฐฯ ในขณะที่ถ้าเราเป็นคนสหรัฐฯ ข้อมูลจะถูกส่งไปที่สรรพากรของเขา และการไม่จ่ายภาษีกับทางสรรพากรสหรัฐฯ นี่เค้าเล่นงานกันจริงๆ จังๆ ถึงคุกกันเลยทีเดียว ทำให้เรื่องภาษีเป็นเรื่องที่ใหญ่มากสำหรับคนในชาติเขา
ทีนี้ สหรัฐฯ ดันมีภาษีตัวหนึ่ง ที่เรียกว่า Estate Tax ซึ่งเป็นภาษีที่มีความพิเศษมากที่สรรพากรสหรัฐฯ บอกว่า หากเกิดการตายขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นประชาชนของสหรัฐฯ แต่ถ้าคุณมี อสังหาริมทรัพย์ หรือ หลักทรัพย์ของบริษัทในสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าเกิน $60,000 คุณต้องเสียภาษีมรดกให้กับสหรัฐฯ โดยภาระภาษีที่เกิดขึ้นอาจจะสูงได้ถึง 40% ของมูลค่าหุ้นเลยก็ได้ (สุดยอดมาก สามารถเก็บภาษีมรดกจากประเทศที่ไม่มีภาษีมรดกได้)
ประเทศที่จะไม่โดนภาษีนี้ คือ ประเทศที่มี Estate/Gift Tax Treaty กับสหรัฐฯ ซึ่งจะไปจ่าย Estate Tax ของประเทศตัวเองแทน (ประเทศไทยไม่ได้เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น)
เท่าที่ผมเข้าใจจากการอ่านข้อมูลจากโบรกที่สหรัฐฯ สมมติว่า เราตาย และเรามีเงินลงทุนอยู่กับโบรกเกอร์ ถ้าโบรกรู้ว่าเราตาย โบรกจะทำการ Freeze บัญชีของเราเอาไว้ จนกว่าเราจะแสดงเอกสารการพิสูจน์พินัยกรรม (Probate) และโชว์ Tax Return จากการชำระภาษีมรดกนี้ให้เรียบร้อยก่อน ถึงจะโอนทรัพย์สินเหล่านี้ไปให้ผู้รับมรดกตามศาลสั่ง
ถ้ามีอสังหาริมทรัพย์ที่สหรัฐฯ การพิสูจน์พินัยกรรมต้องทำที่ศาลสหรัฐฯด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก แต่ถ้ามีแค่หุ้น ผมเข้าใจว่าพิสูจน์พินัยกรรมในศาลไทยเรียบร้อยแล้ว ต้องเอาคำสั่งศาลไปแปลเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง แล้วไปยื่นชำระภาษี ค่อยเอาเอกสารไปให้โบรกดำเนินการต่อก็น่าจะโอเค
ที่เขียนมา คือ จะเห็นว่ามันยุ่งยาก ปวดหัวพอสมควร ผลที่ตามมา คือ โบรกเกอร์ที่สหรัฐฯ ในช่วงหลังๆ คือ จะไม่เปิดบัญชีให้กับทาง non-resident โดยตรง หรือคนที่มีบัญชี non-resident อยู่ในอดีต บางโบรกก็ทะยอยปิด ไล่ให้ไปกับสาขานอกสหรัฐฯ แทน หรือ Private Banking ที่ผมใช้บริการที่สิงคโปร์มีกฎว่า ผมจะไม่สามารถทำธุรกรรมอะไรกับเค้าได้ ถ้าเค้ารู้ว่าผมอยู่ที่สหรัฐฯ ผมเข้าใจว่ามันคงจะเกี่ยวข้องอะไรบางอย่างกับภาษี และข้อกำหนดอะไรบางอย่าง
IBKR หรือ TD Ameritrade ที่เราเปิดๆ กันอยู่ก็จะเป็นสาขาที่อยู่นอกสหรัฐฯ หมด
-------
คำถามที่สำคัญ คือ ภาษีนี้มีอยู่ แต่บังคับใช้ได้จริงไหม?
ผมคิดว่าบังคับใช้ไม่ค่อยได้ เพราะ เท่าที่ดูจากจำนวน Tax Return ของคนที่ยื่น Form 706-NA เข้ามามีน้อยมาก แถมจริงๆ แล้วถ้าไปดูยอดสินทรัพย์ขั้นต่ำที่จะเริ่มคิดภาษี Estate Tax ของ Non Resident จะค้างเติ่งอยู่ที่ $60,000 มาตั้งแต่ปี 1976 ในขณะที่ Estate Tax ของคนสหรัฐฯ มีการปรับเพิ่มขึ้นมาทุกปี จนล่าสุดยอดขั้นต่ำที่เริ่มคิดภาษีอยู่ที่ $11.7 ล้าน มันเลยเหมือนเป็นภาษีที่คนเค้าไม่ได้ยื่นกัน เพราะ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะไปบังคับคนนอกสหรัฐฯ ยังไงให้ยื่น และจ่ายภาษีตรงนี้ ตัวเลข $60,000 ของฝั่ง Non Resident เลยค้างอยู่อย่างนั้นมานานแสนนาน
แต่ก็ยังเห็นว่ามีการยื่นเข้ามาอยู่บ้าง แม้ว่าจะไม่มาก ซึ่งผมเข้าใจว่าอาจจะเป็นพวกคนที่มีอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ยื่นกัน หรือไม่ก็เป็นพวกที่พลาดไปโดน Broker Freeze Account จนถูกบังคับให้ยื่น
ผมเชื่อว่า โบรกเกอร์ไทย ที่เป็นตัวแทนเราไปลงทุนที่สหรัฐฯ ไม่น่าจะรู้เรื่องนี้เท่าไร หรือถึงรู้ก็ไม่น่าจะบังคับใช้ภาษีนี้กับเรา เพราะ เงินลงทุนของเราผ่านโบรกไทย จะเป็น Omnibus Account คือ หุ้นที่เราถือจริงๆ แล้วถือผ่านชื่อของโบรกเกอร์ไทยที่ไปเปิดบัญชีสถาบันกับที่ต่างประเทศ ไม่ได้เป็นชื่อของเราจริงๆ ในการบังคับใช้ภาษีนี้ก็ไม่น่าจะทำได้ ดังนั้นถ้าเรามีพอร์ตกับโบรกไทย ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ยกเว้นว่าโบรกไทยเจ้านั้นจะโรคจิตบังคับให้เราไปยื่น Form 706-NA กับทาง IRS สหรัฐฯ ซึ่งผมไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามถ้าเรามีบัญชีกับโบรกเกอร์ที่สหรัฐฯ โดยตรงนี้ผมว่าเค้าเอาจริงแน่ ถ้าเราดุ่มๆ ไปบอกว่า เจ้าของบัญชีตาย ต้องการให้โอนทรัพย์สินไปที่ผู้รับมรดก เท่าที่สัมผัสกับประเทศนี้มา ผมว่าเค้าทำตามกฎแน่ๆ ไม่งั้นเค้าโดนเล่นงานติดคุกแน่นอน วิธีแก้ปัญหา คือ
1) เป็นไปได้ไหมที่ก่อนจะตาย เราทำการขายหุ้นสหรัฐฯ ทั้งหมด เปลี่ยนให้เป็นเงินสด เพราะ ถ้าหุ้นกลายเป็นเงินสด ปัญหาเรื่อง Estate Tax จะหมดไปในพริบตา หลังจากนั้นจะโอนเงินไปที่บัญชีอื่น หรือ ยื่นเอกสาร Probate เพื่อโอนทรัพย์สินไปที่ผู้รับมรดกก็ง่ายกว่า
2) ถ้าไม่บอกว่าเค้าว่าเราตาย เรายังสามารถจัดการอะไรได้ขนาดไหน สามารถเอาทรัพย์สินกลับมาไทย โดยไม่ต้องปวดหัวกับเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อ Simplify การจัดการมรดกแค่ให้อยู่ในไทยได้ไหม
3) ปัญหานี้จะย้อนกลับไปที่โครงสร้างการจัดตั้งบัญชีว่า ถ้าเราถือหุ้นในนามของ Private Investment Company หรือ Trust แทนที่จะเป็นชื่อตัวบุคคล ปัญหาเรื่องนี้ก็จะหมดไป เพราะ การจัดการมรดกจะไปอยู่ที่ระดับผู้ถือหุ้นของ PIC หรือ ผู้รับผลประโยชน์ใน Trust ไม่ต้องปวดหัวไปกับขั้นตอนการส่งเอกสารการพิสูจน์พินัยกรรม แต่วิธีการแบบนี้ เป็นวิธีการสำหรับลูกค้าที่เป็น High Net Worth ที่มีเงินลงทุนมากๆ ถึงจะทำกัน เพราะ มันมีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและดำรง PIC หรือ Trust อยู่ (ซึ่ง Trust นี่ก็เป็นแหล่งทำมาหากินที่ Private Bank ชอบมาขาย เพื่อที่จะได้ Lock-in ลูกค้าไว้กับ Ecosystem ของเค้า)
สำหรับคนที่มีบัญชีที่สิงคโปร์นี่ ผมเคยถามกับ Private Banker ที่ Credit Suisse ว่าถ้าผมตายผมจะทำยังไง เค้าบอกว่า เค้าห้ามรู้เด็ดขาดว่าผมตาย บัญชีจะถูก Freeze ทันที สิ่งที่เค้าแนะนำแบบเทาๆ คือ แนะนำให้เปิดบัญชีเป็น Joint Account โดยคนที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการไม่ต้องบอกว่าผมตาย แต่จัดการทรัพย์สินให้เรียบร้อยก่อนที่จะไป Trigger กระบวนการ Probate และ Estate Tax
สุดท้าย สำหรับคนที่กำลังเจอสถานการณ์ในช่วงนี้ ผมขอแนะนำว่า ให้ปรึกษาที่ปรึกษาทางภาษีที่มีความเชี่ยวชาญให้ดีก่อน ติดต่อ และ ดำเนินอะไรต่อไป แต่สำหรับคนที่กำลังลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ อยู่ หรือคิดจะลงทุน ควรศึกษาเรื่องนี้ วางแผนเรื่องนี้เอาไว้บ้าง
สหรัฐฯ เป็นประเทศที่แปลกมา ที่สามารถบังคับให้เกือบทุกประเทศทั่วโลกส่งข้อมูลทางภาษีกลับไปให้ประเทศต้นทางเพื่อจะไล่เก็บภาษีประชาชนในชาติของเขาได้ เวลาเราเปิดบัญชีธนาคารในบ้านเรา เราจึงต้องมานั่งเซ็นเอกสารฉบับหนึ่ง ที่ยืนยันว่าเราไม่ได้เป็นประชาชนของประเทศสหรัฐฯ ในขณะที่ถ้าเราเป็นคนสหรัฐฯ ข้อมูลจะถูกส่งไปที่สรรพากรของเขา และการไม่จ่ายภาษีกับทางสรรพากรสหรัฐฯ นี่เค้าเล่นงานกันจริงๆ จังๆ ถึงคุกกันเลยทีเดียว ทำให้เรื่องภาษีเป็นเรื่องที่ใหญ่มากสำหรับคนในชาติเขา
ทีนี้ สหรัฐฯ ดันมีภาษีตัวหนึ่ง ที่เรียกว่า Estate Tax ซึ่งเป็นภาษีที่มีความพิเศษมากที่สรรพากรสหรัฐฯ บอกว่า หากเกิดการตายขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นประชาชนของสหรัฐฯ แต่ถ้าคุณมี อสังหาริมทรัพย์ หรือ หลักทรัพย์ของบริษัทในสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าเกิน $60,000 คุณต้องเสียภาษีมรดกให้กับสหรัฐฯ โดยภาระภาษีที่เกิดขึ้นอาจจะสูงได้ถึง 40% ของมูลค่าหุ้นเลยก็ได้ (สุดยอดมาก สามารถเก็บภาษีมรดกจากประเทศที่ไม่มีภาษีมรดกได้)
ประเทศที่จะไม่โดนภาษีนี้ คือ ประเทศที่มี Estate/Gift Tax Treaty กับสหรัฐฯ ซึ่งจะไปจ่าย Estate Tax ของประเทศตัวเองแทน (ประเทศไทยไม่ได้เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น)
เท่าที่ผมเข้าใจจากการอ่านข้อมูลจากโบรกที่สหรัฐฯ สมมติว่า เราตาย และเรามีเงินลงทุนอยู่กับโบรกเกอร์ ถ้าโบรกรู้ว่าเราตาย โบรกจะทำการ Freeze บัญชีของเราเอาไว้ จนกว่าเราจะแสดงเอกสารการพิสูจน์พินัยกรรม (Probate) และโชว์ Tax Return จากการชำระภาษีมรดกนี้ให้เรียบร้อยก่อน ถึงจะโอนทรัพย์สินเหล่านี้ไปให้ผู้รับมรดกตามศาลสั่ง
ถ้ามีอสังหาริมทรัพย์ที่สหรัฐฯ การพิสูจน์พินัยกรรมต้องทำที่ศาลสหรัฐฯด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก แต่ถ้ามีแค่หุ้น ผมเข้าใจว่าพิสูจน์พินัยกรรมในศาลไทยเรียบร้อยแล้ว ต้องเอาคำสั่งศาลไปแปลเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง แล้วไปยื่นชำระภาษี ค่อยเอาเอกสารไปให้โบรกดำเนินการต่อก็น่าจะโอเค
ที่เขียนมา คือ จะเห็นว่ามันยุ่งยาก ปวดหัวพอสมควร ผลที่ตามมา คือ โบรกเกอร์ที่สหรัฐฯ ในช่วงหลังๆ คือ จะไม่เปิดบัญชีให้กับทาง non-resident โดยตรง หรือคนที่มีบัญชี non-resident อยู่ในอดีต บางโบรกก็ทะยอยปิด ไล่ให้ไปกับสาขานอกสหรัฐฯ แทน หรือ Private Banking ที่ผมใช้บริการที่สิงคโปร์มีกฎว่า ผมจะไม่สามารถทำธุรกรรมอะไรกับเค้าได้ ถ้าเค้ารู้ว่าผมอยู่ที่สหรัฐฯ ผมเข้าใจว่ามันคงจะเกี่ยวข้องอะไรบางอย่างกับภาษี และข้อกำหนดอะไรบางอย่าง
IBKR หรือ TD Ameritrade ที่เราเปิดๆ กันอยู่ก็จะเป็นสาขาที่อยู่นอกสหรัฐฯ หมด
-------
คำถามที่สำคัญ คือ ภาษีนี้มีอยู่ แต่บังคับใช้ได้จริงไหม?
ผมคิดว่าบังคับใช้ไม่ค่อยได้ เพราะ เท่าที่ดูจากจำนวน Tax Return ของคนที่ยื่น Form 706-NA เข้ามามีน้อยมาก แถมจริงๆ แล้วถ้าไปดูยอดสินทรัพย์ขั้นต่ำที่จะเริ่มคิดภาษี Estate Tax ของ Non Resident จะค้างเติ่งอยู่ที่ $60,000 มาตั้งแต่ปี 1976 ในขณะที่ Estate Tax ของคนสหรัฐฯ มีการปรับเพิ่มขึ้นมาทุกปี จนล่าสุดยอดขั้นต่ำที่เริ่มคิดภาษีอยู่ที่ $11.7 ล้าน มันเลยเหมือนเป็นภาษีที่คนเค้าไม่ได้ยื่นกัน เพราะ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะไปบังคับคนนอกสหรัฐฯ ยังไงให้ยื่น และจ่ายภาษีตรงนี้ ตัวเลข $60,000 ของฝั่ง Non Resident เลยค้างอยู่อย่างนั้นมานานแสนนาน
แต่ก็ยังเห็นว่ามีการยื่นเข้ามาอยู่บ้าง แม้ว่าจะไม่มาก ซึ่งผมเข้าใจว่าอาจจะเป็นพวกคนที่มีอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ยื่นกัน หรือไม่ก็เป็นพวกที่พลาดไปโดน Broker Freeze Account จนถูกบังคับให้ยื่น
ผมเชื่อว่า โบรกเกอร์ไทย ที่เป็นตัวแทนเราไปลงทุนที่สหรัฐฯ ไม่น่าจะรู้เรื่องนี้เท่าไร หรือถึงรู้ก็ไม่น่าจะบังคับใช้ภาษีนี้กับเรา เพราะ เงินลงทุนของเราผ่านโบรกไทย จะเป็น Omnibus Account คือ หุ้นที่เราถือจริงๆ แล้วถือผ่านชื่อของโบรกเกอร์ไทยที่ไปเปิดบัญชีสถาบันกับที่ต่างประเทศ ไม่ได้เป็นชื่อของเราจริงๆ ในการบังคับใช้ภาษีนี้ก็ไม่น่าจะทำได้ ดังนั้นถ้าเรามีพอร์ตกับโบรกไทย ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ยกเว้นว่าโบรกไทยเจ้านั้นจะโรคจิตบังคับให้เราไปยื่น Form 706-NA กับทาง IRS สหรัฐฯ ซึ่งผมไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามถ้าเรามีบัญชีกับโบรกเกอร์ที่สหรัฐฯ โดยตรงนี้ผมว่าเค้าเอาจริงแน่ ถ้าเราดุ่มๆ ไปบอกว่า เจ้าของบัญชีตาย ต้องการให้โอนทรัพย์สินไปที่ผู้รับมรดก เท่าที่สัมผัสกับประเทศนี้มา ผมว่าเค้าทำตามกฎแน่ๆ ไม่งั้นเค้าโดนเล่นงานติดคุกแน่นอน วิธีแก้ปัญหา คือ
1) เป็นไปได้ไหมที่ก่อนจะตาย เราทำการขายหุ้นสหรัฐฯ ทั้งหมด เปลี่ยนให้เป็นเงินสด เพราะ ถ้าหุ้นกลายเป็นเงินสด ปัญหาเรื่อง Estate Tax จะหมดไปในพริบตา หลังจากนั้นจะโอนเงินไปที่บัญชีอื่น หรือ ยื่นเอกสาร Probate เพื่อโอนทรัพย์สินไปที่ผู้รับมรดกก็ง่ายกว่า
2) ถ้าไม่บอกว่าเค้าว่าเราตาย เรายังสามารถจัดการอะไรได้ขนาดไหน สามารถเอาทรัพย์สินกลับมาไทย โดยไม่ต้องปวดหัวกับเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อ Simplify การจัดการมรดกแค่ให้อยู่ในไทยได้ไหม
3) ปัญหานี้จะย้อนกลับไปที่โครงสร้างการจัดตั้งบัญชีว่า ถ้าเราถือหุ้นในนามของ Private Investment Company หรือ Trust แทนที่จะเป็นชื่อตัวบุคคล ปัญหาเรื่องนี้ก็จะหมดไป เพราะ การจัดการมรดกจะไปอยู่ที่ระดับผู้ถือหุ้นของ PIC หรือ ผู้รับผลประโยชน์ใน Trust ไม่ต้องปวดหัวไปกับขั้นตอนการส่งเอกสารการพิสูจน์พินัยกรรม แต่วิธีการแบบนี้ เป็นวิธีการสำหรับลูกค้าที่เป็น High Net Worth ที่มีเงินลงทุนมากๆ ถึงจะทำกัน เพราะ มันมีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและดำรง PIC หรือ Trust อยู่ (ซึ่ง Trust นี่ก็เป็นแหล่งทำมาหากินที่ Private Bank ชอบมาขาย เพื่อที่จะได้ Lock-in ลูกค้าไว้กับ Ecosystem ของเค้า)
สำหรับคนที่มีบัญชีที่สิงคโปร์นี่ ผมเคยถามกับ Private Banker ที่ Credit Suisse ว่าถ้าผมตายผมจะทำยังไง เค้าบอกว่า เค้าห้ามรู้เด็ดขาดว่าผมตาย บัญชีจะถูก Freeze ทันที สิ่งที่เค้าแนะนำแบบเทาๆ คือ แนะนำให้เปิดบัญชีเป็น Joint Account โดยคนที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการไม่ต้องบอกว่าผมตาย แต่จัดการทรัพย์สินให้เรียบร้อยก่อนที่จะไป Trigger กระบวนการ Probate และ Estate Tax
สุดท้าย สำหรับคนที่กำลังเจอสถานการณ์ในช่วงนี้ ผมขอแนะนำว่า ให้ปรึกษาที่ปรึกษาทางภาษีที่มีความเชี่ยวชาญให้ดีก่อน ติดต่อ และ ดำเนินอะไรต่อไป แต่สำหรับคนที่กำลังลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ อยู่ หรือคิดจะลงทุน ควรศึกษาเรื่องนี้ วางแผนเรื่องนี้เอาไว้บ้าง
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 38
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสหรัฐ ความตาย และ Estate Tax
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับ เป็นเรื่องที่ต้องเตรียมตัวจริงๆ เมื่อปีที่แล้วคุณยายผมเสียเลยจะมาแชร์ข้อมูลครับ
โดยคุณยายมีบัญชีหุ้นต่างประเทศกับโบรกไทย ส่วนใหญ่เป็นหุ้นอเมริกา (หลานๆดูแล) โดยสรุปคือไม่ต้องเสียภาษีครับ พอทางโบรกได้รับแจ้งว่าคุณยายเสีย ก็จะทำการโอนหุ้นเข้าบัญชีอื่นให้ครับ
โดยคุณยายมีบัญชีหุ้นต่างประเทศกับโบรกไทย ส่วนใหญ่เป็นหุ้นอเมริกา (หลานๆดูแล) โดยสรุปคือไม่ต้องเสียภาษีครับ พอทางโบรกได้รับแจ้งว่าคุณยายเสีย ก็จะทำการโอนหุ้นเข้าบัญชีอื่นให้ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: หุ้นสหรัฐ ความตาย และ Estate Tax
โพสต์ที่ 3
เหตุผลที่ผมไม่เปิดพอร์ตในตปท.โดยตรงเพราะหากตายแล้ว ปัญหาจะเยอะมาก เพราะเราต้องไปดำเนินการด้านกฎหมายภายใต้กฎระเบียบของต่างประเทศ
โดยกฎหมายแล้วถ้าเราตายทายาทต้องรวมกันจัดตั้งผจก.มรดกเพื่อให้มีอำนาจเข้าถึงบัญชีต่างๆได้ ดังนั้นตรงนี้จึงเป็นความยากที่จะไปติดต่อกับโบรกเกอร์ต่างประเทศรวมถึงกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับภาษีด้วย
ผมเลยตัดสินใจเลือกที่จะใช้โบรกเกอร์ไทยเราไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นโดยตรง ถ้าตายเราก็แค่ให้ทายาทติดต่อโบรกเกอร์ในไทยและเปลี่ยนชื่อบัญชีได้ไม่ยาก หรือให้ผจก.มรดกเป็นคนสั่งขายหุ้นกรณีที่ต้องเอาเงินไปแบ่งกันหลายคน
อีกทางคือให้ทายาทขายหุ้นออกไปหมดพอร์ตแล้วถอนแบบ online แล้วไม่ต้องไปดำเนินการทางศาล อันนี้เป็นทางลัดครับ ไม่มีขบวนการยุ่งยากแต่อาจจะผิดกฎหมายได้ และหากมีการฟ้องร้องระหว่างทายาท คนที่สั่งถอนเงินอาจจะถูกข้อหายกยอกทรัพย์หรือลักทรัพย์และพรบ.ด้านคอมพิวเตอร์มากมาย แก้ไขโดยให้ทายาททุกคนมาลงชื่อรวมกันเพื่อให้อำนาจคนหนึ่ง(กรณีไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก)สั่งขายหุ้นและนำเงินเข้ามาในบัญชีเงินฝากได้ ตรงนี้ต้องไม่ให้โบรกเกอร์รู้เพราะเขาจะไม่ยอม(แต่ไม่ผิดกฎหมายเพราะทายาทยินยอมทุกคนแล้ว และกฎหมายกำหนดไว้ว่า เมื่อเจ้ามรดกตายทรัพย์สินจะตกแก่ทายาททันที-ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้ศาลสั่ง) -- ผมจัดการให้คนรู้จักไป 1 รายแล้วครับแบบนี้
พอดีว่าเรียนกฎหมายมาครับเลยพอรู้ แต่ก็จบมานานแล้วอาจจะต้องไปดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันอีกที
โดยกฎหมายแล้วถ้าเราตายทายาทต้องรวมกันจัดตั้งผจก.มรดกเพื่อให้มีอำนาจเข้าถึงบัญชีต่างๆได้ ดังนั้นตรงนี้จึงเป็นความยากที่จะไปติดต่อกับโบรกเกอร์ต่างประเทศรวมถึงกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับภาษีด้วย
ผมเลยตัดสินใจเลือกที่จะใช้โบรกเกอร์ไทยเราไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นโดยตรง ถ้าตายเราก็แค่ให้ทายาทติดต่อโบรกเกอร์ในไทยและเปลี่ยนชื่อบัญชีได้ไม่ยาก หรือให้ผจก.มรดกเป็นคนสั่งขายหุ้นกรณีที่ต้องเอาเงินไปแบ่งกันหลายคน
อีกทางคือให้ทายาทขายหุ้นออกไปหมดพอร์ตแล้วถอนแบบ online แล้วไม่ต้องไปดำเนินการทางศาล อันนี้เป็นทางลัดครับ ไม่มีขบวนการยุ่งยากแต่อาจจะผิดกฎหมายได้ และหากมีการฟ้องร้องระหว่างทายาท คนที่สั่งถอนเงินอาจจะถูกข้อหายกยอกทรัพย์หรือลักทรัพย์และพรบ.ด้านคอมพิวเตอร์มากมาย แก้ไขโดยให้ทายาททุกคนมาลงชื่อรวมกันเพื่อให้อำนาจคนหนึ่ง(กรณีไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก)สั่งขายหุ้นและนำเงินเข้ามาในบัญชีเงินฝากได้ ตรงนี้ต้องไม่ให้โบรกเกอร์รู้เพราะเขาจะไม่ยอม(แต่ไม่ผิดกฎหมายเพราะทายาทยินยอมทุกคนแล้ว และกฎหมายกำหนดไว้ว่า เมื่อเจ้ามรดกตายทรัพย์สินจะตกแก่ทายาททันที-ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้ศาลสั่ง) -- ผมจัดการให้คนรู้จักไป 1 รายแล้วครับแบบนี้
พอดีว่าเรียนกฎหมายมาครับเลยพอรู้ แต่ก็จบมานานแล้วอาจจะต้องไปดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันอีกที
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
-
- Verified User
- โพสต์: 69
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสหรัฐ ความตาย และ Estate Tax
โพสต์ที่ 4
ตอนนี้ผมใช้ Charles Schwab เทรดหุ้นอเมริกาอยู่ครับ ก็ limit ไม่ให้เกิน $60,000 อยู่ กำลังดูโบรคอื่นอยู่ครับ และถ้าลงทุน ETF คิดว่าจะไปเทรด UCITS ETF ที่ตลาดลอนดอนแทน จะได้ไม่ต้องมากังวลเรื่อง Estate TaxIBKR หรือ TD Ameritrade ที่เราเปิดๆ กันอยู่ก็จะเป็นสาขาที่อยู่นอกสหรัฐฯ หมด
ผมลองดูของ Interactive Broker เหมือนว่าถ้าคนไทยไปเปิดบัญชี ก็จะเป็น US base หรือเปล่าครับ? https://www.interactivebrokers.com.hk/e ... en-account
ส่วน TD Ameritrade น่าจะเป็น base สิงคโปร์ ใช่มั้ยครับ ก็น่าจะไม่โดน Estate Tax ?
https://invest.tdameritrade.com.sg/tdaa ... penAccount
อีกเรื่องครับ ถ้าเป็นเงินในพอร์ตหุ้นที่เป็นโบรกเกอร์ในอเมริกา ก็เหมือนจะโดน Estate Tax ด้วยครับ แต่ถ้าเงินฝากธนาคาร จะไม่โดน และ ADR ก็ไม่โดน
(อันนี้อ่านจาก https://www.bogleheads.org/wiki/Nonresi ... n_taxation)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 1
Re: หุ้นสหรัฐ ความตาย และ Estate Tax
โพสต์ที่ 6
เท่าที่ผมรู้เกี่ยวกับ private banker ในไทยนะครับ พวกนี้เอาแต่โฆษนากองทุนที่ผมตอบแทนย้อนหลังดีให้กับลูกค้า ช่วงนี้กองตปท.จะเยอะมาก และ ให้ความรู้เกี่ยวกับ macro ที่ไม่ค่อยจะได้ประโยชน์เท่าไหร่ ส่วนพอถามเกี่ยวกับ family office และการตั้ง trust ก็จะโบ้ยให้ไปหา partner private banker ที่ตปท. ซึ่งมี requirement ที่สูงกว่ามาก (10M USD blah blah blah...) แว้วพอจะไปคุยกับ private banker ที่สิงคโปร์ ก็ดันมาเกิดไอ้ virus บ้านี่ซะก่อนครับ
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: หุ้นสหรัฐ ความตาย และ Estate Tax
โพสต์ที่ 7
Private Banker นี่... ผมเคยใช้ Credit Suisse ของไทย กับ ของสิงคโปร์ แล้วก็ Citi ที่ สิงคโปร์
ส่วน Broker นี่มีใช้ IBKR กับ TD Ameritrade ของฝั่ง APAC
พอดีปีนี้ผมไปอยู่อเมริกามาหลายเดือนเลยลองไปเปิด พอร์ตลงทุนกับ Citi ที่ US ดูเล่นๆ แต่ Auditor เค้าไม่เปิดให้ เห็นว่าเรามาจาก High Risk Country เค้าคงกลัวว่าเราจะเอาเงินไปฟอกที่สหรัฐฯ
ส่วนในไทยที่เคยใช้ก็มี Nomura, Asia Plus, SCB, KBANK แล้วก็ Phatra ปัจจุบันเหลือแค่ที่ ภัทร ที่อื่นไม่ได้ใช้แล้ว
ปัญหาของการใช้ Broker ในไทยที่ทำให้ต้องพยายามไปเปิดต่างประเทศหลักๆ คือ ในอดีต (ไม่รู้ว่าปัจจุบันเป็นยังไงนะครับ) เวลาขายหุ้น เงินมันจะเอากลับมาซื้อหุ้นไม่ได้ ต้องรอ Settle เงินก่อน ทำให้เวลาจะ Switch หุ้นมันทำได้ยาก แถมสมัยก่อนที่ลงทุนต่างประเทศ ข้อมูลในการลงทุนต่างประเทศไม่ได้เยอะเหมือนในปัจจุบัน ผมก็เลยคิดไปว่า ถ้าเราไปเปิด Private Bank เค้าคงจะมีข้อมูล Research ในเชิงลึกให้เรามากกว่ามั้ง
Credit Suisse Thailand เป็นที่แรกที่ผมเปิด พอเปิดแล้วได้ลองใช้บริการ ก็พบว่า Private Banker ของฝั่งยุโรปหลายๆ ที่ จะ Treat เรา เหมือนเป็นเศรษฐีที่เติบโตมาจากการทำธุรกิจ ไม่มีความรู้เรื่องการเงิน เค้าจะไม่ได้พยายามทำให้เราเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น แต่เค้าจะพยายามทำให้เรารู้สึกว่าเค้าเก่ง เค้าฉลาด แล้วปล่อยให้เค้าบริหารเงินให้ดีกว่า
ผมไปเปิดพอร์ตต่างประเทศ ด้วยความคาดหวังว่าจะได้เก่งขึ้น มีความรู้มากขึ้น แต่ด้วย Concept แบบนี้ เค้าจะให้เครื่องมือเครื่องไม้ Research Paper เราแบบง่อยๆ ที่เขียนให้คนเป็นง่อยอ่าน ไม่ได้ให้ Research Paper แบบ Institutional อ่าน
แล้วเค้าก็จะมาบอกว่า ถ้าอยากอ่าน Research Paper แบบเทพๆ ก็เอาเงินมาลงทุนกับเค้า $20 ล้านเหรียญสิ เราถึงจะให้บริการคุณแบบ Institutional
การเปิด Private Banker ในไทย จะมีข้อจำกัดในการ Access Product อยู่พอสมควร ถึงแม้ว่าจะทำ Product ได้มากกว่า Broker ไทย แต่ก็ยังไปไม่สุด จะกู้ Lombard Loan ก็ไม่ได้ จะทำ Futures ก็ไม่ได้ ทำได้แค่ ซื้อ Option อย่างเดียว เพราะ เค้าไม่สามารถให้วงเงินอะไรเราได้ และผลของการให้วงเงินกู้ไม่ได้ เลยทำให้ยังคงมีปัญหาในการเวลาขายหุ้น ต้องรอให้หุ้น Settle เงินเรียบร้อยก่อนถึงจะทำการซื้อหุ้นกลับเข้ามาได้ (ผมไม่รู้นะว่าปัจจุบันเป็นอย่างไรแล้ว อาจจะไม่มีปัญหาแล้วก็ได้)
ตั้งแต่ก่อนเปิดบัญชีกับ CS Thailand ทาง RM ก็สัญญากับผมตอนแรกว่าจะให้กู้ได้ ทำ Lombard Loan ได้ ผ่านไป ปีกว่าๆ ก็ยังทำไม่ได้ บอกว่า ธปท ไม่อนุมัติสักที เลยหาทางแก้ให้ผมไปเปิดใช้บริการ CS ที่สิงคโปร์แทน ก็เลยไปลองกับ CS Singapore ดู ก็ทำ Product ได้มากขึ้น กู้ได้ แก้ปัญหาอะไรได้มากขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาเหมือนเดิม คือ อยู่ด้วยแล้วก็ไม่เก่งขึ้น ไม่ฉลาดขึ้น เพราะ ไม่มีอะไรดีๆ ให้อ่าน
ในระหว่างตรงกลาง เคยคุยกับ LGT เป็น Private Bank ของประเทศ Liechtenstein ทาง Manager ที่เค้าเคยทำที่ Morgan Stanley มาก่อน คุยกับผมว่า นิสัยอย่างผม จริงๆ แล้ว ไม่ต้องมาใช้ Private Banker หรอก ใช้พวก Discount Broker แบบ IBKR หรือ TD Ameritrade นี่แหละ แล้วสมัครพวก Bloomberg หรือ Refinitiv เอาดีกว่า เพราะ ศึกษาเองได้ อะไรได้
ผมได้ทดลองไปคุยกับ CS ที่ Swiss ไป LGT ที่ Hong Kong ไปคุยกับผู้บริหารดู (Julius Bear ผมก็มีคุยเล็กน้อย) แต่ผมรู้สึกว่า ไม่น่ารอด เลยทดลองไปทางฝั่ง US บ้าง โดยติดต่อ Citi Private ผ่านทาง Citi Gold ก็พบว่าทางฝั่ง US เค้า Treat ลูกค้าคนละอย่างเมื่อเทียบกับฝั่ง Swiss
ที่ Citi Private เค้าจะ Treat เราเป็น Institutional Investor เค้าจะให้เราคุยกับ Hedge Fund Manager หรือ Private Equity ที่เข้ามาขายของเราโดยตรง Research Paper ก็จะให้ Access แบบเป็นลูกค้าสถาบันเลย เค้าจะให้เราเซ็นสัญญา ISDA (ถ้าเคยดูหนังเรื่อง Big Short จะเห็นว่า Michael Burry พยายามหาทางเซ็นสัญญาตัวนี้กับสถานบัน เพื่อที่จะได้ Trade CDS หรือ Derivatives แปลกๆ ได้) ซึ่งทำให้เราสามารถทำธุรกรรมได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเทียบกับทางแบงค์ Swiss พอดีหลังจากเปิดพอร์ตได้ไม่นาน เกิด Covid ขึ้น ผมเลยได้มีโอกาสลองซื้อ Protection ด้วย CDS ดู และก็มีโอกาสได้ฟังคนเก่งๆ มาพูดให้ฟังผ่าน Conference Call
ผมรู้สึกได้เลยว่า อยู่กับแบงค์ทาง US แล้วรู้สึกฉลาดขึ้นกว่าสมัยอยู่กับแบงค์ทางสวิส ปัญหา คือ Private Bank ของทาง US เค้าต้องการเงินลงทุนขั้นต่ำ $10 ล้านเหรียญ ซึ่งก็อาจจะเป็นข้อจำกัดอะไรหลายๆ อย่างของคนหลายๆ คน
อย่างไรก็ตาม Concept ของ Private Bank ก็ยังเหมือนเดิมครับ เค้าจะขายของที่เค้าอยากขาย เค้าไม่ได้ขายของที่เราอยากซื้อ ตอนก่อนเกิด Covid ผมอยาก Hedge พวก Tail Risk หรือ Black Swan Risk มากๆ ไปเจอ Hedge Fund อันนึงชื่อ Universa ของ Mark Spitznagel เข้า อยากเอาเงินไปลงทุนเพื่อ Hedge พอร์ต ไปถามทั้ง CS และ Citi สุดท้ายลงไม่ได้ทั้งคู่ พอเกิด COVID ขึ้น กองทุนกองนี้กำไรไป 4,xxx% (อ่านว่า สี่พันกว่าเปอร์เซ็นต์) กลายเป็นว่า เราก็อ่านตลาดและความเสี่ยงถูกนะ แต่พอจะ Execute กลับ Execute ไม่ได้ซะงั้น
และ พอเวลาผ่านไป ผมพบว่า ช่วง Covid เป็นช่วงพิเศษ ที่ Citi Private ให้ความรู้กับลูกค้ามากเป็นพิเศษ พอผ่านปี 2020 ไปเข้า 2021 ได้มีการเปลี่ยนทีมบริหาร เนื้อหา หรือ คนที่เอามาให้ฟังจากที่เคยเป็นคนนอก Citi ที่เทพๆ ก็กลายเป็นคนใน Citi กับพวกกองทุน
ในขณะเดียวกัน Covid ได้เกิด Information Disruption ครั้งใหญ่มากๆ ผมเห็นข้อมูลที่ไหลเวียนให้ Social Media และ Internet ที่เปลี่ยนไปมาก News/Media หลายๆ ผลิต Content เจ๋งๆ ลึกๆ ออกมาให้ Subscribe กันเยอะมากขึ้น ในคุณภาพที่สูงขึ้น Data Provider เจ้าใหม่ๆ เกิดขึ้นเต็มไปหมด หลังจากที่ได้ทดลองอะไรหลายๆ อย่างในตลาดมา ผมพอจะมีข้อสรุป สำหรับคนที่อยากจะลงทุนอย่างจริงจังในหุ้น Tech อย่างนี้ครับ
1) เอาเงินออกไปลงทุนผ่าน IBKR โดยตรงดีกว่าครับ ที่ IBKR ราคาถูก Access Product ได้เยอะ ส่งคำสั่งซื้อขายได้หลากหลาย เงินกู้ถูก ไม่เหมือน TD Ameritrade ที่ทำอะไรไม่ค่อยได้เท่าไร
2) ถ้าพอร์ตใหญ่ พอสู้ราคาไหว ควรหา Data Provider อย่างพวก Bloomberg, Refinitiv หรือ FactSet ที่ลองใช้แล้วถูกจริตมาใช้สักที่ เพราะ ท่ามกลางข้อมูลที่ท่วมสาดเต็มไปหมด การมี Data Provider ดีๆ สักที่ มันเป็นเพื่อนคู่ใจ ที่สามารถเอา Data พวกนี้มาใช้ประโยชน์ได้เร็วและมีประสิทธิภาพ
3) ควรกลับไป Review หลักการพื้นฐานในการลงทุน การ Valuation การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การวิเคราะห์ Industry ในเชิงลึก ให้แม่นๆ เพื่อเอาหลักการพวกนี้เข้าไปดึงข้อมูลจาก Data Provider ในข้อที่ 2 มาทำ Research Paper ของตัวเอง
อยากจะบอกว่า Research Paper ในเรื่อง Qualitative ทุกวันนี้ นักวิเคราะห์บ้านๆ อย่างพวกเรา สามารถทำได้ไม่ต่างจากพวก Sell-Side Analyst อย่างพวก House ใหญ่ๆ แล้วครับ แต่จุดอ่อนของทั้งฝั่ง Sell-Side Analyst หรือนักลงทุนบ้านๆ เขียนบทความในเน็ต ที่ผมเห็น คือ ความสามารถในการเอาข้อมูลจาก Data Provider มาทำ Valuation ครับ พอเรียน Valuation กับอาจารย์ Damodaran แล้วก็เลยเข้าใจเลยว่าบทวิเคราะห์ของ Analyst ที่เราเคยพยายามหา พยายามอ่าน พยายามยึดเอาเป็นที่พึ่งพวกนี้ จริงๆ แล้วมันมีจุดอ่อนตรงไหน และจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร
ยิ่งในวันที่ Sell-Side Analyst เหล่านี้ ถูกซื้อตัวไปทำ Start-Up หรือไปเป็น CFO ท่ามกลางกฎเกณฑ์ของ MiFID II ที่ไม่อนุญาตให้ Sell-Side เผยแพร่ Research Paper ได้ง่าย คุณภาพของ Research Paper บอกได้เลยว่ายิ่งวันยิ่งแย่ลง พึ่งพาไม่ค่อยได้แล้วครับ
ในอดีตช่วงสักปี 2010-2020 Thematic Research จาก House ใหญ่ๆ นี่ดีมากมาย เพราะ ในช่วงนั้นมันยังไม่เกิดการผลิบานของ Social Media และสื่อสมัยใหม่แบบนี้ หุ้นอย่าง NVDA ผมก็ได้มาจาก Thematic Research จาก Goldman Sachs เป็นต้น แต่ในยุคนี้ Thematic เป็นของเฝื่อๆ เกลื่อๆ มันไม่มีอะไรต่างกันแล้วครับ ระหว่าง House ใหญ่ๆ กับสิ่งที่คุยกันในตลาด
4) หา Data Source ที่ทำการวิเคราะห์แล้ว หรือเป็นข้อมูลในเชิงลึก หรือเป็น Inside หน่อยมาอ่านครับ ข้อมูลพื้นฐานๆ ของกิจการทุกวันนี้คนเค้ารู้กันหมด แปลกันหมดไปแล้วทั่ว Social Media ถ้าอยากจะแตกต่างจากคนอื่น ต้องยอมจ่าย Subscription ไปอ่านแหล่งข่าวในเชิงลึกแบบพวก The Information หรือ Business Insider ครับ ที่จะเอาพวก Leak หรือสัมภาษณ์คนที่อยู่ในวงในมาให้อ่าน จะได้เห็นสัญญาณอะไรก่อนคนอื่น เมื่อเห็นสัญญาณอะไร ก็เอาข้อมูลจาก Data Provider มาวิเคราะห์ได้
5) Crowd Sourcing เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องระวัง Herding Behavior ที่มาจาก Crowd ให้มาก ในช่วงที่ตลาดคึกคักแบบนี้ Absolute Valuation ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ที่จะทำให้เรามีที่ยึดเหนี่ยว ไม่ให้จิตใจเราแกว่งไปตามตลาดและ Crowd
สรุป คือ ไม่ต้องไป Private Bank หรอกครับ สำหรับพวกเรา เปิด Discount Broker ที่อยู่ต่างประเทศ แล้วเอาค่าธรรมเนียมแพงๆ ที่ต้องจ่ายให้ Private Banker หรือ Broker ในไทย มาซื้อ Data ดีๆ ที่ทำให้เราวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นดีกว่าครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?