บทความสำหรับมือใหม่ โดย คุณ ฮง สถาพร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
บทความสำหรับมือใหม่ โดย คุณ ฮง สถาพร
โพสต์ที่ 1
บทความสำหรับมือใหม่ตอน 1
(มีประมาณ 4ตอน)
พอดีมีเด็กรุ่นใหม่คือกลุ่มที่เพิ่งเรียนจบ แล้ว หลายคนถามผมเรื่องการลงทุนหรือการสร้างเนื้อสร้างตัวบทความ series นี้เลยเป็นบทความที่เขียนให้กลุ่มคนรุ่นใหม่อ่านนะครับ. คนที่อยู่ในตลาดมานานข้ามบทความนี้ไปได้เลยนะครับเพราะเป็นบทความอ่านเพลินๆ แนวบอกเล่ามากกว่าลงเนื้อหาจริงจัง
ตอนผมเริ่มลงทุนใหม่ใหม่ถ้าเทียบกับยุคนี้สิ่งที่ผมพอจำได้
1. ยุคที่ผมเริ่มต้นสมัยนั้นยังใช้วิธีการซื้อขายโดยการโทรหา Marketing เป็นหลังสมัยนั้นประมาณช่วงปี 2004 ถึง 2005 จำได้ว่า ยังไม่เคยเห็นคนซื้อขายหุ้นโดยไม่ผ่าน Marketing ผมเคยไปนั่งที่ห้องค้าด้วย เด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักห้องค้าแล้ว สมัยนั้นไปนั่นแหละ ก็เจอกับพวกลุงลุงป้าป้าเป็นส่วนใหญ่ จำได้ว่าวันที่หุ้นตกหนักมีป้าคนหนึ่งน้ำตาไหลออกมาหน้าจอเทรดเลย ตอนนั้นผมเพิ่งเข้าตลาดไม่กี่เดือน ผมรู้สึกทำไมมันดูโหดร้ายจังวะ ป้าเล่นมากี่ปีแล้วยังน้ำตาใหล แล้วกูจะรอดมั้ยนี่
จำได้ว่าสมัยนั้นอยากรู้ราคาหุ้นก็โทรถาม Marketing เวลาซื้อขายค่อนข้างร้อนรนนิดหน่อย เพราะถ้าตั้งบิดเอาไว้เราก็ไม่ได้ดูราคาที่ซื้อขายกันด้วยตัวเอง เพราะเราไม่ได้อยู่ที่ห้องค้าทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิเรียนเท่าไหร่เพราะไม่รู้ว่าเราซื้อหุ้นได้หรือขายหุ้นได้หรือยัง
ผมคิดว่าคนยุคนี้น่าจะจินตนาการภาพพวกนี้ไม่ออกแล้ว จำได้ว่า iPhone เครื่องแรกน่าจะออกมาประมาณปี 2007 แต่ผมน่าจะได้ใช้ iPhone เป็นครั้งแรกตอนปี 2010 แล้วก็รู้สึกว่าสะดวกสบายสุดยอดนี่เป็นอาชีพที่ไปไหนมาไหนก็ทำได้ โดยที่เราไม่ต้องคอยอารมณ์เสียว่า Marketing เราไม่รับโทรศัพท์สายไม่ว่าง ฮ่า
2. เรื่องของการเรียนรู้สมัยนั้นจำได้ว่ามีหนังสือของหุ้นออกมาน้อยมาก ตอนนั้นผมเคยซื้อหนังสือเล่มหนึ่งชื่อคัมภีร์หุ้นแล้วถ้าจำได้ ก็มีหนังสือของเครือตลาดหลักทรัพย์มั้ง ชื่ออยากรวยต้องรู้ สมัยนั้นการเรียนรู้หลักหลักคือต้องเข้าเว็บบอร์ดกับเดินทางออกไปสัมมนาเป็นหลัก เอาจริงๆยุคนั้นผมว่าคนไทยยังน่าจะเล่น YouTube กันไม่เยอะเลยยิ่งถ้าเป็น YouTube เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนไม่ต้องหาเลยแทบไม่มี ตอนนั้นเวลาไปเรียนที่ไหนจำได้พกเครื่องอัดเสียงเครื่องเล็กๆสีขาวๆไป ตอนนั้นยังใส่ถ่านอยู่เลยจำได้ว่าเคยไปอัดที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติแล้วแบตใกล้หมด แทบจะวิ่งหาซื้อตาเหลือกกลัวไม่ได้อัดเสียง สมัยนี้เรียนรู้ง่ายมากจริงๆกด YouTube ฟังซ้ำกี่รอบก็ได้ เครื่องอัดเสียงดูเหมือนเป็นอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นไปเลย
3.สมัยนั้น ออฟเดย์. ยังไม่มีการบันทึกคือ คนที่ไปฟังสดได้จะได้เปรียบมาก นักศึกษาอย่างผมก็ถือว่าพอไปฟังได้บ้างเป็นครั้งคราว ถ้าไม่ได้ไปบางทีก็รอในเว็บบอร์ดว่าคนที่ได้ไปจะมาอัพเดทว่ายังไง ในขณะที่ทุกวันนี้ยังไงคนก็ฟังสดได้พร้อมกัน ยุคสมัยนี้ผมคิดว่า YouTube น่าจะเป็นโรงเรียนสอนทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ คุณสามารถที่จะเรียนรู้อะไรได้เยอะมากโดยที่คุณไม่ต้องออกจากบ้านเลยก็ได้ ถ้ามองในแง่นี้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ควรจะสูงกว่าคนรุ่นเก่ามาก อย่างน้อยก็ไม่ต้องเสียเวลาอยู่บนท้องถนนเพื่อที่จะไปตามสถานที่ต่างๆหาความรู้
4 มูลค่าหุ้นช่วงที่ผมเข้ามาตลาดใหม่ใหม่ จำได้ว่าช่วงนั้นหุ้นที่อยู่ในตลาดเอ็มเอไอหลายตัวมีพีอีที่ต่ำมาก สี่ถึงห้าเท่าคือเป็นเรื่องปกติมากกำไร 1 บาทราคา4- 5 บาท เจอแบบนี้หลายตัวเงินปันผลในช่วงนั้นหาหุ้นปันผลมากกว่า 6% ไม่ได้ยากมาก ปันถึงระดับ 8% ก็พอหาได้ถ้าเทียบกับทุกวันนี้หุ้น ที่จะปันผลสูงส่วนใหญ่มักอยู่ในอุตสาหกรรมที่คนมองไม่ดี พีอีจึงต่ำ ส่วนหุ้นเติบโตส่วนใหญ่แทบไม่ต้องมองหาปันผล สำหรับยุคนี้ในขณะที่ยุคที่ผมเข้าตลาดใหม่ใหม่หุ้นเติบโตที่ยังมีปันผลระดับสี่ถึง 5% หาได้ค่อนข้างไม่ยากเลย
เรื่องการไปลงทุนต่างประเทศ สมัยผมเข้ามาลงทุนในไทยไม่น่ามีใครคิดเรื่องการออกไปลงทุนต่างประเทศเท่าไหร่ คือองค์ความรู้เรื่องการลงทุนในยุคนั้นเป็นยุควีไอเพิ่งเริ่มต้นไม่นานคนยังไม่ค่อยเข้าใจเลยว่าอะไรคือการลงทุนแบบเน้นคุณค่ายังไม่ต้องคิดถึงออกไปลงทุนนอกประเทศและในช่วงนั้นถ้าจะทำก็ไม่รู้จะออกทางช่องทางไหน
ที่ผมกล่าวมาเบื้องต้นผมเล่าสภาพแวดล้อมช่วงที่ผมลงทุนใหม่ใหม่ก่อน ต่อไปนี้คือความคิดเห็นของผมที่จะแนะนำคนรุ่นใหม่หรือคนรุ่นกลางที่พึ่งสนใจลงทุนในหุ้น
ดัชนีตลาดหุ้นผมคิดว่าระยะยาวจากค่อนข้างสัมพันธ์กับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจเติบโตได้ดีตลาดหุ้นของประเทศนั้นก็น่าจะมีอนาคตที่สดใสแต่ถ้าเศรษฐกิจเติบโตน้อยการจะทำผลตอบแทนได้สูง ผมคิดว่าเราต้องมีความสามารถในการขุดหุ้นหลายตัวที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนในตลาดมาก ซึ่งผมคิดว่าถ้าเราขยันมากพอก็ยังหาผลตอบแทนที่ดีได้ แต่อาจจะยากกว่าช่วงเวลาที่ผมลงทุนก่อนหน้านี้ การทำผลตอบแทนให้ดีในสภาวะแบบนี้
เราอาจจะต้องเจอหุ้นเติบโตเป็นคนแรกแรกหรือเราอาจจะซื้อหุ้นที่ตลาดมองว่าไม่ดีแต่ความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้แย่อย่างที่ตลาดคิดมุมมองสองอย่างนี้ผมคิดว่าเป็นปัจจัยกว่าในการที่เราจะทำผลตอบแทนได้มากกว่าดัชนีตลาด
แต่หัวข้อนี้เป็นหัวข้อแนะนำมือใหม่แบบกว้างกว้างดังนั้นผมจึงไม่อยากจำกัดอยู่ที่เพียงตลาดหุ้นไทยโดยรวม ทุกวันนี้การไปลงทุนต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นเวียดนามหุ้นจีนหุ้นอเมริกาผมคิดว่าโบรเกอร์ในไทยที่พร้อมจะให้บริการมีค่อนข้างจะเยอะ ผมคิดว่าโลกเปิดกว้างกว่าสมัยที่ผมเพิ่งมาลงทุนใหม่ใหม่เยอะ ถ้าให้เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ผมคิดว่าข้อดีของตอนที่ผมมาลงทุนคือตลาดหุ้นโดยรวมค่อนข้างถูกและคนเข้ามาลงทุนยังไม่มาก ผมจำได้ว่าตอนนั้นมีหุ้นอยู่ตัวนึง จ่ายปันผล 8% จ่ายทั้งหมดของกำไรที่ทำได้และประกาศกำไรเติบโต 60% หลังจากประกาศกำไรมาประมาณสองอาทิตย์ได้หุ้นยังไม่ค่อยขึ้นเลยอันนี้คือเหตุการณ์ซักประมาณปี 2548 นะครับ ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ทันทีที่งบออกจะมี Pages หุ้นเอามาลงแล้วคนก็จะรับรู้ทั่วถึงกันภายในเวลาสั้นมาก คือราคาเปิดอาจจะกระโดดไปในราคาที่ใกล้เคียงกับระดับกำไรที่ออกมาในเบื้องต้นเลย
ผมเล่ามาเบื้องต้นคุณอาจจะเริ่มเห็นภาพว่าสภาพแวดล้อมการลงทุนยุคที่ผมเริ่มเข้ามาในตลาดแตกต่างจากทุกวันนี้อย่างไร
สมัยผมยังเด็กการฝากเงินในแบงค์เคยได้ผลตอบแทนระดับ 15% คือถ้าคนมีเงินก้อนแค่ฝากแบงค์ไปเรื่อยเรื่อย คุณก็แทบไม่ต้องออกไปหางานทำแล้ว แต่ยุคที่ผมเข้ามาลงทุนตอนนั้นดอกเบี้ยน่าจะอยู่ระดับ2% ถึง 3% ได้ถ้าผมจำไม่ผิด
ตอนนั้นหาหุ้นที่จ่ายปันผลได้ดีได้ง่ายมากคำว่าดีคือ 5% ขึ้นไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ยุคนั้นคนสนใจเรื่องการลงทุนยังมีน้อยมากถ้าผมจำไม่ผิด(ไม่ชัว) ยุคที่ผมเพิ่งเริ่มลงทุนน่าจะมีคนเปิดบัญชีลงทุนในหุ้นทั้งประเทศซัก 5- 600,000 คน แต่ดูเหมือนล่าสุดจะมีคนเปิดบัญชีลงทุนในหุ้นประมาณ 4,000,000 กว่าคนสำหรับประเทศไทย คนเข้ามาซื้อหุ้นมากขึ้นผลตอบแทนจากเงินปันผลก็น้อยลงเพราะระดับราคาโดยรวมสูงขึ้น
สิ่งที่เปลี่ยนไปมากคือยุคนี้ผู้คนสนใจลงทุนกันเยอะมากจริงๆผมไปทำสปาที่โรงแรมห้าดาวพนักงานสปาก็ถามผมเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นตัวนี้ ไปหาหมอหมอก็ถาม ไปวัดโยมที่วัดก็ถาม
คือ ดอกเบี้ยออมทรัพย์ตอนนี้ 0.25% คือต่ำจนคนต้องหาทางเลือกใหม่ๆ ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนหันมาสนใจการลงทุนกันมากขึ้นเมื่อเทียบกับสมัยก่อนโดยเฉพาะถ้าย้อนไปถึงเมื่อซัก 30 ปีที่แล้วที่ดอกเบี้ยอยู่ซัก 15% ฝากเฉยเฉยได้มากขนาดนั้นคนเลย ไม่ได้สนใจเรื่องการลงทุนเยอะมาก
บทความนี้จริงๆเป็นบทความแยกภาคมาของบทความเต็มที่ผมจะเขียน คือตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับเรื่อง การหาเงินในโลกยุคปัจจุบัน พอจะเขียนแนวนี้ก็เลยต้องเขียนเกริ่นก่อนว่าในอดีตสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไรและปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างไรเพื่อให้คนเห็นภาพในการปรับตัวเข้าสู่แนวโน้มอนาคต
บทความต่อไปจะเป็นภาพรวมของการลงทุนในแนวทางอื่นๆด้วย และรวมถึง คำแนะนำเกี่ยวกับการมีมายด์เซ็ทและการหาแนวทางของตัวเอง
(มีประมาณ 4ตอน)
พอดีมีเด็กรุ่นใหม่คือกลุ่มที่เพิ่งเรียนจบ แล้ว หลายคนถามผมเรื่องการลงทุนหรือการสร้างเนื้อสร้างตัวบทความ series นี้เลยเป็นบทความที่เขียนให้กลุ่มคนรุ่นใหม่อ่านนะครับ. คนที่อยู่ในตลาดมานานข้ามบทความนี้ไปได้เลยนะครับเพราะเป็นบทความอ่านเพลินๆ แนวบอกเล่ามากกว่าลงเนื้อหาจริงจัง
ตอนผมเริ่มลงทุนใหม่ใหม่ถ้าเทียบกับยุคนี้สิ่งที่ผมพอจำได้
1. ยุคที่ผมเริ่มต้นสมัยนั้นยังใช้วิธีการซื้อขายโดยการโทรหา Marketing เป็นหลังสมัยนั้นประมาณช่วงปี 2004 ถึง 2005 จำได้ว่า ยังไม่เคยเห็นคนซื้อขายหุ้นโดยไม่ผ่าน Marketing ผมเคยไปนั่งที่ห้องค้าด้วย เด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักห้องค้าแล้ว สมัยนั้นไปนั่นแหละ ก็เจอกับพวกลุงลุงป้าป้าเป็นส่วนใหญ่ จำได้ว่าวันที่หุ้นตกหนักมีป้าคนหนึ่งน้ำตาไหลออกมาหน้าจอเทรดเลย ตอนนั้นผมเพิ่งเข้าตลาดไม่กี่เดือน ผมรู้สึกทำไมมันดูโหดร้ายจังวะ ป้าเล่นมากี่ปีแล้วยังน้ำตาใหล แล้วกูจะรอดมั้ยนี่
จำได้ว่าสมัยนั้นอยากรู้ราคาหุ้นก็โทรถาม Marketing เวลาซื้อขายค่อนข้างร้อนรนนิดหน่อย เพราะถ้าตั้งบิดเอาไว้เราก็ไม่ได้ดูราคาที่ซื้อขายกันด้วยตัวเอง เพราะเราไม่ได้อยู่ที่ห้องค้าทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิเรียนเท่าไหร่เพราะไม่รู้ว่าเราซื้อหุ้นได้หรือขายหุ้นได้หรือยัง
ผมคิดว่าคนยุคนี้น่าจะจินตนาการภาพพวกนี้ไม่ออกแล้ว จำได้ว่า iPhone เครื่องแรกน่าจะออกมาประมาณปี 2007 แต่ผมน่าจะได้ใช้ iPhone เป็นครั้งแรกตอนปี 2010 แล้วก็รู้สึกว่าสะดวกสบายสุดยอดนี่เป็นอาชีพที่ไปไหนมาไหนก็ทำได้ โดยที่เราไม่ต้องคอยอารมณ์เสียว่า Marketing เราไม่รับโทรศัพท์สายไม่ว่าง ฮ่า
2. เรื่องของการเรียนรู้สมัยนั้นจำได้ว่ามีหนังสือของหุ้นออกมาน้อยมาก ตอนนั้นผมเคยซื้อหนังสือเล่มหนึ่งชื่อคัมภีร์หุ้นแล้วถ้าจำได้ ก็มีหนังสือของเครือตลาดหลักทรัพย์มั้ง ชื่ออยากรวยต้องรู้ สมัยนั้นการเรียนรู้หลักหลักคือต้องเข้าเว็บบอร์ดกับเดินทางออกไปสัมมนาเป็นหลัก เอาจริงๆยุคนั้นผมว่าคนไทยยังน่าจะเล่น YouTube กันไม่เยอะเลยยิ่งถ้าเป็น YouTube เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนไม่ต้องหาเลยแทบไม่มี ตอนนั้นเวลาไปเรียนที่ไหนจำได้พกเครื่องอัดเสียงเครื่องเล็กๆสีขาวๆไป ตอนนั้นยังใส่ถ่านอยู่เลยจำได้ว่าเคยไปอัดที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติแล้วแบตใกล้หมด แทบจะวิ่งหาซื้อตาเหลือกกลัวไม่ได้อัดเสียง สมัยนี้เรียนรู้ง่ายมากจริงๆกด YouTube ฟังซ้ำกี่รอบก็ได้ เครื่องอัดเสียงดูเหมือนเป็นอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นไปเลย
3.สมัยนั้น ออฟเดย์. ยังไม่มีการบันทึกคือ คนที่ไปฟังสดได้จะได้เปรียบมาก นักศึกษาอย่างผมก็ถือว่าพอไปฟังได้บ้างเป็นครั้งคราว ถ้าไม่ได้ไปบางทีก็รอในเว็บบอร์ดว่าคนที่ได้ไปจะมาอัพเดทว่ายังไง ในขณะที่ทุกวันนี้ยังไงคนก็ฟังสดได้พร้อมกัน ยุคสมัยนี้ผมคิดว่า YouTube น่าจะเป็นโรงเรียนสอนทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ คุณสามารถที่จะเรียนรู้อะไรได้เยอะมากโดยที่คุณไม่ต้องออกจากบ้านเลยก็ได้ ถ้ามองในแง่นี้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ควรจะสูงกว่าคนรุ่นเก่ามาก อย่างน้อยก็ไม่ต้องเสียเวลาอยู่บนท้องถนนเพื่อที่จะไปตามสถานที่ต่างๆหาความรู้
4 มูลค่าหุ้นช่วงที่ผมเข้ามาตลาดใหม่ใหม่ จำได้ว่าช่วงนั้นหุ้นที่อยู่ในตลาดเอ็มเอไอหลายตัวมีพีอีที่ต่ำมาก สี่ถึงห้าเท่าคือเป็นเรื่องปกติมากกำไร 1 บาทราคา4- 5 บาท เจอแบบนี้หลายตัวเงินปันผลในช่วงนั้นหาหุ้นปันผลมากกว่า 6% ไม่ได้ยากมาก ปันถึงระดับ 8% ก็พอหาได้ถ้าเทียบกับทุกวันนี้หุ้น ที่จะปันผลสูงส่วนใหญ่มักอยู่ในอุตสาหกรรมที่คนมองไม่ดี พีอีจึงต่ำ ส่วนหุ้นเติบโตส่วนใหญ่แทบไม่ต้องมองหาปันผล สำหรับยุคนี้ในขณะที่ยุคที่ผมเข้าตลาดใหม่ใหม่หุ้นเติบโตที่ยังมีปันผลระดับสี่ถึง 5% หาได้ค่อนข้างไม่ยากเลย
เรื่องการไปลงทุนต่างประเทศ สมัยผมเข้ามาลงทุนในไทยไม่น่ามีใครคิดเรื่องการออกไปลงทุนต่างประเทศเท่าไหร่ คือองค์ความรู้เรื่องการลงทุนในยุคนั้นเป็นยุควีไอเพิ่งเริ่มต้นไม่นานคนยังไม่ค่อยเข้าใจเลยว่าอะไรคือการลงทุนแบบเน้นคุณค่ายังไม่ต้องคิดถึงออกไปลงทุนนอกประเทศและในช่วงนั้นถ้าจะทำก็ไม่รู้จะออกทางช่องทางไหน
ที่ผมกล่าวมาเบื้องต้นผมเล่าสภาพแวดล้อมช่วงที่ผมลงทุนใหม่ใหม่ก่อน ต่อไปนี้คือความคิดเห็นของผมที่จะแนะนำคนรุ่นใหม่หรือคนรุ่นกลางที่พึ่งสนใจลงทุนในหุ้น
ดัชนีตลาดหุ้นผมคิดว่าระยะยาวจากค่อนข้างสัมพันธ์กับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจเติบโตได้ดีตลาดหุ้นของประเทศนั้นก็น่าจะมีอนาคตที่สดใสแต่ถ้าเศรษฐกิจเติบโตน้อยการจะทำผลตอบแทนได้สูง ผมคิดว่าเราต้องมีความสามารถในการขุดหุ้นหลายตัวที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนในตลาดมาก ซึ่งผมคิดว่าถ้าเราขยันมากพอก็ยังหาผลตอบแทนที่ดีได้ แต่อาจจะยากกว่าช่วงเวลาที่ผมลงทุนก่อนหน้านี้ การทำผลตอบแทนให้ดีในสภาวะแบบนี้
เราอาจจะต้องเจอหุ้นเติบโตเป็นคนแรกแรกหรือเราอาจจะซื้อหุ้นที่ตลาดมองว่าไม่ดีแต่ความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้แย่อย่างที่ตลาดคิดมุมมองสองอย่างนี้ผมคิดว่าเป็นปัจจัยกว่าในการที่เราจะทำผลตอบแทนได้มากกว่าดัชนีตลาด
แต่หัวข้อนี้เป็นหัวข้อแนะนำมือใหม่แบบกว้างกว้างดังนั้นผมจึงไม่อยากจำกัดอยู่ที่เพียงตลาดหุ้นไทยโดยรวม ทุกวันนี้การไปลงทุนต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นเวียดนามหุ้นจีนหุ้นอเมริกาผมคิดว่าโบรเกอร์ในไทยที่พร้อมจะให้บริการมีค่อนข้างจะเยอะ ผมคิดว่าโลกเปิดกว้างกว่าสมัยที่ผมเพิ่งมาลงทุนใหม่ใหม่เยอะ ถ้าให้เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ผมคิดว่าข้อดีของตอนที่ผมมาลงทุนคือตลาดหุ้นโดยรวมค่อนข้างถูกและคนเข้ามาลงทุนยังไม่มาก ผมจำได้ว่าตอนนั้นมีหุ้นอยู่ตัวนึง จ่ายปันผล 8% จ่ายทั้งหมดของกำไรที่ทำได้และประกาศกำไรเติบโต 60% หลังจากประกาศกำไรมาประมาณสองอาทิตย์ได้หุ้นยังไม่ค่อยขึ้นเลยอันนี้คือเหตุการณ์ซักประมาณปี 2548 นะครับ ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ทันทีที่งบออกจะมี Pages หุ้นเอามาลงแล้วคนก็จะรับรู้ทั่วถึงกันภายในเวลาสั้นมาก คือราคาเปิดอาจจะกระโดดไปในราคาที่ใกล้เคียงกับระดับกำไรที่ออกมาในเบื้องต้นเลย
ผมเล่ามาเบื้องต้นคุณอาจจะเริ่มเห็นภาพว่าสภาพแวดล้อมการลงทุนยุคที่ผมเริ่มเข้ามาในตลาดแตกต่างจากทุกวันนี้อย่างไร
สมัยผมยังเด็กการฝากเงินในแบงค์เคยได้ผลตอบแทนระดับ 15% คือถ้าคนมีเงินก้อนแค่ฝากแบงค์ไปเรื่อยเรื่อย คุณก็แทบไม่ต้องออกไปหางานทำแล้ว แต่ยุคที่ผมเข้ามาลงทุนตอนนั้นดอกเบี้ยน่าจะอยู่ระดับ2% ถึง 3% ได้ถ้าผมจำไม่ผิด
ตอนนั้นหาหุ้นที่จ่ายปันผลได้ดีได้ง่ายมากคำว่าดีคือ 5% ขึ้นไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ยุคนั้นคนสนใจเรื่องการลงทุนยังมีน้อยมากถ้าผมจำไม่ผิด(ไม่ชัว) ยุคที่ผมเพิ่งเริ่มลงทุนน่าจะมีคนเปิดบัญชีลงทุนในหุ้นทั้งประเทศซัก 5- 600,000 คน แต่ดูเหมือนล่าสุดจะมีคนเปิดบัญชีลงทุนในหุ้นประมาณ 4,000,000 กว่าคนสำหรับประเทศไทย คนเข้ามาซื้อหุ้นมากขึ้นผลตอบแทนจากเงินปันผลก็น้อยลงเพราะระดับราคาโดยรวมสูงขึ้น
สิ่งที่เปลี่ยนไปมากคือยุคนี้ผู้คนสนใจลงทุนกันเยอะมากจริงๆผมไปทำสปาที่โรงแรมห้าดาวพนักงานสปาก็ถามผมเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นตัวนี้ ไปหาหมอหมอก็ถาม ไปวัดโยมที่วัดก็ถาม
คือ ดอกเบี้ยออมทรัพย์ตอนนี้ 0.25% คือต่ำจนคนต้องหาทางเลือกใหม่ๆ ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนหันมาสนใจการลงทุนกันมากขึ้นเมื่อเทียบกับสมัยก่อนโดยเฉพาะถ้าย้อนไปถึงเมื่อซัก 30 ปีที่แล้วที่ดอกเบี้ยอยู่ซัก 15% ฝากเฉยเฉยได้มากขนาดนั้นคนเลย ไม่ได้สนใจเรื่องการลงทุนเยอะมาก
บทความนี้จริงๆเป็นบทความแยกภาคมาของบทความเต็มที่ผมจะเขียน คือตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับเรื่อง การหาเงินในโลกยุคปัจจุบัน พอจะเขียนแนวนี้ก็เลยต้องเขียนเกริ่นก่อนว่าในอดีตสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไรและปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างไรเพื่อให้คนเห็นภาพในการปรับตัวเข้าสู่แนวโน้มอนาคต
บทความต่อไปจะเป็นภาพรวมของการลงทุนในแนวทางอื่นๆด้วย และรวมถึง คำแนะนำเกี่ยวกับการมีมายด์เซ็ทและการหาแนวทางของตัวเอง
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 14944
- ผู้ติดตาม: 2
Re: บทความสำหรับมือใหม่ โดย คุณ ฮง สถาพร
โพสต์ที่ 2
บทความสำหรับมือใหม่ตอนที่สอง by คุณ ฮง สถาพร
อิสรภาพการเงินและจริต
1. อิสรภาพทางการเงิน
ผมคิดว่าก่อนที่เราจะเริ่มลงทุนเราต้องมีเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนว่าเราจะลงทุนไปเพื่ออะไรคือถ้าเราไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเป้าหมายเราตั้งไว้ผิดผมคิดว่าเหมือนรถ ที่อาจจะมีเชื้อเพลิงแต่ไม่ขับไปสู่จุดมุ่งหมายขับๆหยุดๆบางทีก็ย้อนกลับเส้นทางเดิม
เป้าหมายของผมตั้งแต่เริ่มลงทุนผมก็คิดเรื่องอิสรภาพทางการเงินคำว่าอิสรภาพทางการเงินผมขยายความง่ายง่ายก็คือว่าถ้าคุณยังต้องตื่นไปทำงานที่คุณไม่ชอบเพราะคุณจะต้องนำเงินเดือนหรือรายได้จากงานหรือกำไรจากผลธุรกิจมาจ่ายเป็นค่าครองชีพแสดงว่าคุณยังไม่มีอิสระทีนี้คำว่าอิสรภาพทางการเงินของแต่ละคนผมคิดว่าไม่เหมือนกันในแง่ปริมาณเงิน การที่เราจะบอกว่าคนคนหนึ่งมีเงินเท่าไหร่ถึงจะมีอิสรภาพทางการเงิน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขรายบุคคล
ดังนั้นผมจึงคิดว่าแต่ละคนจำนวนเงินที่จะทำให้เราถึงอิสรภาพทางการเงินจะไม่เท่ากันเลยมีคนแนะนำขึ้นมาว่าเราควรจะดูค่าใช้จ่ายรายเดือนของเราว่าเดือนละเท่าไหร่แล้วมูลค่าพอร์ตทรัพย์สินของเรา(ผมใช้คำว่าทรัพย์สินเนื่องจากจะได้ไม่จำกัดอยู่ที่การลงทุนในหุ้นเพียงแค่อย่างเดียวอาจจะเป็นหุ้นกู้หรือตึกอาคารให้เช่าที่มีรายรับต่อเดือนสม่ำเสมอหรือแม้แต่คนที่เข้าใจ defi มากพอ และมีการกระจายความเสี่ยงในหลายแพลตฟอร์มแล้วได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ แต่สำหรับโลกdefi ความเสี่ยงมากกว่าหุ้นกู้แบบเทียบกันไม่ได้ผลตอบแทนก็สูงกว่ามากจึงอาจจะไม่ควรนำเงินทั้งหมดไปตรงนี้ควรจะนำไปแค่ส่วนเดียว และต้องมีความรู้เรื่อง cyber security ขั้นสูง)
ตัวเลขตรงนี้ผมคิดว่าแล้วแต่ใครจะกำหนดก็ได้แต่สำหรับผมผมกำหนดซักประมาณ 300 เท่า ของค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่นสมมติถ้าค่าใช้จ่ายรายเดือนประมาณ 20,000 บาทก็น่าจะมีทรัพย์สินโดยรวมผ่านช่องทางต่างๆประมาณ 6,000,000 บาท แต่ถ้าค่าใช้จ่ายรายเดือนประมาณ 30,000 บาทก็น่าจะมีประมาณซักเก้าล้านบาท
แต่ค่าใช้จ่ายรายเดือนตรงนี้คุณอาจจะนำค่าใช้จ่ายรายปีบางอย่างที่จ่ายปีละครั้งหารเฉลี่ยต่อเดือนด้วยอย่างเช่นค่าประกันรถยนต์ที่ต้องจ่ายทุกปีหรือค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ในบ้านที่ชำรุดเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นพักพัก
ดังนั้นถ้าคุณมีค่าของชีพไม่สูงมีชีวิตที่เรียบง่ายชอบทำกับข้าวกินเองที่บ้านไม่ชอบ Shopping ของหรูหราคุณก็จะมีอิสรภาพทางการเงินง่ายกว่าคนอื่น เราเลยไม่ควรเปรียบเทียบอิสรภาพทางการเงินกับคนอื่นเนื่องจากแต่ละคนมีเป้าหมายชีวิตลักษณะการดำรงชีพหรือความรับผิดชอบแตกต่างกัน บางคนมีลูกอิสรภาพทางการเงินของคุณก็ต้องรับผิดชอบไปจนถึงชีวิตของลูกด้วยกว่าจะเรียนจบโตเป็นผู้ใหญ่แต่ถ้าคุณเป็นคนโสดไม่มีลูกคุณก็เผื่อเงินเอาไว้ดูแลพยาบาลตัวเองตอนแก่แทน
ทีนี้พอคุณรู้แล้วว่าเป้าหมายของคุณคือต้องมีเงินประมาณเท่าไหร่คุณก็จะได้ วางแผนถูกว่าคุณจะต้องออมเงินเดือนละเท่าไหร่แล้วได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณเท่าไหร่คุณถึงจะไปถึงเป้าหมายได้
ทีนี้ถ้าคุณไม่มีเป้าหมายทางการมีอิสรภาพทางการเงินไม่ว่าคุณจะลงทุนช่องทางไหนก็ตามคุณอาจจะดีใจที่คุณกำไรเล็กน้อยโดยที่จริงๆแล้วคุณอาจจะมีโอกาสที่จะทำกำไรต่อเนื่องมากพอ ที่จะเป็นอิสรภาพทางการเงินเลยก็ได้
ดังนั้นเมื่อลงทุนอะไรซักอย่างอย่าคิดว่าหาค่ากับข้าวหนึ่งวันสองวันแต่คิดว่ามันคือแผนการระยะยาวที่จะซื้ออิสระให้กับชีวิต
หลายคนรู้สึกว่าตัวเองไม่เหมาะสมกับเรื่องการเงินการลงทุนเพราะเริ่มต้นแล้วอ่านไม่เข้าใจผมอยากให้ดูภาพที่อยู่ด้านล่างบทความนี้ ภาพจากเพจ success pictures ผมรู้สึกว่าสิ่งที่อยู่ในภาพค่อนข้างจะเป็นความจริงมากเมื่อเราเริ่มต้นจะทำอะไรซักอย่างมันจะยากมากแต่เมื่อผ่านขั้นตอนแรกไปแล้วมันจะดูไม่ยากเหมือนช่วงแรก
อย่างผมเพิ่งมาศึกษาตลาดคริปโต ประมาณสามวันแรกผมรู้สึกว่าไม่น่าจะใช้โลกของผมเพราะผมเจอคำศัพท์ที่ผมไม่เข้าใจแทบทุกคำ เช่น defi ,farming, smart contract ,staking,gov token,cosmos chain เป็นต้นคือถ้าผมอ่านบทความหนึ่งบทความผมน่าจะต้องต่อยอดกลับไปทำความเข้าใจคำศัพท์แต่ละคำในบทความนั้นอีกหลาย 10 คำ แต่หลังจากอดทนผ่านมาได้ไม่กี่อาทิตย์ผมก็เริ่มอ่านและฟังเข้าใจโดยไม่ต้องย้อนกลับไปนั่งทำความเข้าใจคำศัพท์
เพิ่มเติมอีกนิดจริงๆแล้วถ้าคุณมีความสุขกับงานที่ทำแล้วงานนั้นอย่างน้อยมีรายได้เพียงพอที่จะทำให้คุณเหลือเงินเก็บ หลังจากหักค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายรายเดือน
ผมคิดว่าเรื่องอิสรภาพทางการเงินก็อาจเป็นเรื่องรอง เพราะอย่างน้อยคุณก็มีความสุขที่ได้ทำงานนั้นทุกวันถ้าเป็นแบบนั้นแม้ว่าคุณมีเงินแล้วคุณก็อาจจะยังคงทำงานนั้นอยู่ดีหมายความว่ามันเป็นสิ่งที่คุณเลือก เป็นสิ่งที่ใจอยากทำแม้ว่าจะไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงิน
เพื่อให้เห็นภาพการวางแผนทางการเงินระยะยาวผมเลยไปขอความช่วยเหลือเพื่อนคนนึง  พอดีเพื่อนของผมคนนี้เมื่อก่อนเค้าก็เคยทำงานประจำแล้วเขาก็ศึกษาเรื่องการลงทุนจนสามารถทำกำไรและเป็นอิสรภาพทางการเงินได้ตอนช่วงเค้าลงทุนใหม่ใหม่เค้าก็ได้ทำไฟล์เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินเอาไว้ผมเลยไปขอเค้ามาเพื่อเอามาแชร์ต่อตอนแรกผมจะให้เครดิตเค้าแต่เค้าบอกว่าไม่อยากเอ่ยถูกเอ่ยชื่อ
จากในรูปผมให้ดูตัวอย่างถ้าสมมุติคุณมีเงินเก็บเดือนละ 5000 บาทแล้วลงทุนไปเรื่อยเรื่อย ภายใต้ผลตอบแทน 5% 10% แล้วก็ 15% คุณจะ มีเงินเท่าไหร่ในปีที่เท่าไหร่ อันนี้คือรูปที่เขียนว่าเงินออมหนึ่ง
ผมลองวงเอาไว้ที่ปีที่ 23 ถ้าได้ผลตอบแทนปีละ 15% จากการออมเงินเดือนละ 5000 จะมีเงินมากกว่าสิบล้าน
บางคนอาจจะคิดว่าผลตอบแทนทำไมดูน้อยจัง 15% แต่ 15% เฉลี่ย 20 กว่าปีผมว่าเยอะนะครับเราต้องลงทุนได้เก่งกว่าดัชนีตลาดระยะยาวนะถึงจะทำได้
ส่วนรูปเงินออมสองคือรูปที่สมมุติฐานทุกอย่างเหมือนเดิมแต่เป็นข้อมูลสำหรับคนที่มีเงินออมได้เดือนละ 10,000
2. การหาจริตที่เหมาะสมกับตัวเอง ผมเล่าเรื่องส่วนตัวของผมเป็นตัวอย่างจริงๆแล้วช่วงแรกๆที่ผมเข้ามาลงทุนแล้วผมยังทำกำไรไม่ได้ตอนเรียนมหาลัยผมเคยไปทำธุรกิจขายตรง ตอนนั้นเพื่อนผมมาชวนไปทำเค้าก็พาไปดูแม่ทีมระดับติดหนึ่งใน 10 ของบริษัทที่มีรายได้วันละหลายพันบาทเดือนละหลักแสน ผมก็รู้สึกว่าดูเป็นรูปแบบธุรกิจที่ลงทุนน้อยดีเพราะซื้อสินค้าทีเดียวก็ได้เป็นคนทำธุรกิจเครือข่ายแล้ว เวลาบริษัทจ่ายเงินจะจ่ายแบบจับคู่ก็คือว่าถ้าผมชวนคนมาซื้อสินค้าต่อจากผมผมก็อาจจะเอาไปลงในระบบแล้วคนซื้อสินค้าคนที่สองก็ลงจับคู่กับคนแรก พอจับคู่กันบริษัทก็จะจ่ายเงินให้ผมจำไม่ได้แล้วว่าเท่าไหร่ต่อคู่ถ้าจำไม่ผิดน่าจะซัก 500 บาท แล้วถ้าสองคนนี้ชวนคนมาจับคู่ต่อไปได้อีกผมก็จะได้อีกคู่ละ 500 แต่บริษัทจำกัดเอาไว้ว่าแนวลึกไม่เกินกี่ขั้นลงไปถ้าเกินบริษัทก็จะจ่ายลิมิต
ตอนนั้นเพื่อนสนิทผมที่ชวนทำบอกว่ามึงก็แค่หาคนที่คิดอย่างมึงซักสองคนมึงก็ไม่ต้องทำงานแล้ว(ก็คือสองคนนั้นชวนคนซื้อสินค้าต่อแล้วก็จับคู่ไปเรื่อยเรื่อย) ผมลองทำดูเกือบหนึ่งปีเสียทรัพยากรทั้งเงินและเวลาค่อนข้างพอสมควรเลยเมื่อเทียบกับสถานภาพผมในตอนนั้น ผมไปอบรมตั้งแต่เช้าแปด 9 โมงน่าจะเลิกประมาณสองสามทุ่มแล้วก็ไปอบรมแบบที่ต้องไปนอนค้างอีกหลายครั้ง
ผมทำอยู่เกือบหนึ่งปีให้เดาว่าผมมีdown lineกี่คน 50 คน 100 คน?
ถูกต้องครับมีสามคนใครบ้าง 1.แม่ 2.เพื่อนสนิท3.เพื่อนไม่สนิท
ระหว่างที่ทำตอนนั้นผมก็ศึกษาเรื่องหุ้นไปด้วยเรื่อยเรื่อยจนกระทั่งเริ่มจับจุดการลงทุนได้ก็เลยย้อนกลับมาลงทุนเต็มที่ที่ผมพูดมาผมไม่ได้จะบอกว่าธุรกิจขายตรงไม่ดีผมเลิกทำไปเป็น 10 ปีแล้วและชีวิตนี้คงไม่กลับไปทำอีกแน่นอนเพราะไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงิน แต่ผมจะบอกว่าผมอาจจะเป็นคนที่มีบุคลิกไม่เหมาะกับธุรกิจขายตรงเหมือนเสื้อตัวหนึ่งสวยแต่ว่ารูปร่างและสีผิวของเราไปใส่แล้วไม่สวยเสื้อตัวเดียวกันนี้จะสวยต่อเมื่ออีกคนหนึ่งสวมใส่ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่เราต้องรู้ว่าเราเป็นคนแบบไหน ผมเป็นคนชอบอ่านมาตั้งแต่เด็กชอบเข้าร้านหนังสือผมชอบตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆและหาคำตอบ ผมอาจจะเป็นคนไม่สามารถจูงใจคนได้เหมือนแม่ทีมขายตรง ดังนั้นงานที่เหมาะกับผมอาจจะเป็นงานที่ต้องอ่านและวิเคราะห์ผมก็เลยเลือกอาชีพที่เหมาะกับความเป็นตัวตนของผม
กลับมาเรื่องการลงทุนผมเคยรู้จักรุ่นพี่บางคนเค้าจะเป็นคนขี้ตกใจขี้กังวลขี้กดดันกับราคาหุ้นมากเขาไม่สามารถที่จะทนถือหุ้นแบบผมได้เวลาที่หุ้นเหวี่ยงดังนั้นเค้าเลย มักจะขายหุ้นเร็วมากถ้าหุ้นขึ้นแรงแรงวันแรก ผมสอนเขาว่าถ้าทำแบบนั้นจะไม่ได้คำใหญ่ให้อดทนมากกว่านั้นก่อน แต่พอมีข่าวสารอะไรนิดหน่อยเขาก็จะตกใจขายไปอีก พอเห็นแบบนี้ผมก็เลยไม่ได้แนะนำอะไรต่อแล้วก็บอกเขาว่าให้ทำตามความสบายใจของเค้า เค้าก็อาจจะชอบดูกราฟผมก็คิดว่าอาจจะเหมาะกับเค้าดีคือสิ่งที่ผมทนได้เป็นสิ่งที่อาจจะทำให้เขานอนไม่หลับดังนั้นแนวทางของผมไม่ได้เหมาะกับเขา การที่คุณลงทุนคุณจะยังไม่รู้หรอกว่าคุณจะมีสไตล์การลงทุนแบบไหนเมื่อคุณลงทุนไปแล้วคุณจะค่อยค่อยรู้เองคำแนะนำของผมก็คืออย่าไปทำตามใครเพราะแต่ละคนมีลักษณะความอดทนความกล้าได้กล้าเสียเป้าหมายทางการเงินที่ไม่เหมือนกันการพยายามไปเป็นแบบคนอื่นคือการนำเสื้อที่คนอื่นใส่แล้วสวยมาใส่เราอาจจะใส่แล้วสวยก็ได้ถ้าเรามีสีผิวความสูงน้ำหนักใกล้เคียงกับเขา แต่โอกาสที่ใส่แล้วจะไม่สวยน่าจะมีเยอะกว่า
ดังนั้นคุณจะลงทุนแนวไหนตลาดไหนหุ้นไทยหุ้นต่างประเทศคริปโต forex ผมคิดว่าตอนแรกคุณอาจจะต้องลองศึกษาหลายแนวเพื่อที่จะดูว่าคุณอาจจะเหมาะกับแบบไหนน่าจะต้องใช้เวลาสักพักหนึ่ง
แล้วพอเริ่มจับทางได้ ว่าคุณชอบตลาดไหนก็ให้คุณมุ่งเน้นไปที่แนวทางนั้นเลย เหมือนบทความก่อนที่ผมเคยเขียนเรื่องรู้ให้ลึกมากกว่ารู้ให้กว้าง แต่ก่อนที่เราจะลงลึกในแนวทางไหนเราอาจต้องใช้เวลาในช่วงแรกหาก่อนว่าเราเหมาะกับแบบไหนแล้วเราก็ค่อยมุ่งเน้น
เนื่องจากว่าจริตความคาดหวังของผู้ลงทุนไม่เท่ากันดังนั้นเราจึงไม่ควรซื้อหุ้นตามเซียน เพราะเราไม่รู้ว่าเขาคาดหวังผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหนและเขาทนกับความผันผวนได้มากน้อยแค่ไหนเราทนได้แค่ไหน
ภาพสุดท้ายที่แนบมาด้วยเป็นภาพจากเพจ
ทำเรื่องเล่นให้เป็นเรื่องใหญ่ ในหนัง sky castle
ซีรีเรื่องนี้ถ้าใครดูจบแล้วประเด็นจะประมาณว่าผู้ปกครองต่างอยากให้ลูกของตัวเองสอบได้คะแนนสูงสุดเพื่อเป็นหมอ แล้วการที่เอาแต่แข่งขันกันเรื่องแบบนั้นก็ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่นทะเลาะกัน ในขณะที่บางบ้านที่ไม่ได้พยายามทำให้ลูกของตัวเองเป็นเหมือนคนอื่นค่อนข้างจะมีความสุขในครอบครัว ดังนั้นการหาเงินผมคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับใครคนมีเงินมากกว่าเราไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีชีวิตที่มีความสุขมากกว่า 
สุดท้ายนี้ ขอฝากนิด มีคนบอกว่ามีคนไปแอบอ้างว่ามีคนเปิดกรุ๊ป LINE แล้วบอกต้องเสียเงินเข้าแล้วมีผมอยู่ในนั้นโดยผมจะแนะนำเรื่องการลงทุน อันนี้ขอบอกว่าไม่เป็นความจริงนะครับ ไลน์ส่วนตัวผมคุยกับเพื่อนสนิทแค่ไม่กี่คนและผมไม่ได้เข้ากลุ่มหุ้นกลุ่มไหนนอกจากเพื่อนสนิทกลุ่มสองกลุ่ม ในกลุ่มมีคนอยู่แค่ไม่กี่คน ปกติผมให้แนวคิดหรือความรู้ผ่านทาง fb คุณไม่มีค่าใช้จ่ายในการอ่านครับ ผมเขียนให้อ่านฟรี ดังนั้นเวลามีคนมาอ้างว่ารู้จักกับผมหรือสนิทกับผม คุณก็อย่าไปเชื่อครับ บางทีพวกนี้เค้าอาจจะไปหลอกหาผลประโยชน์กับคุณก็ได้ ผมคิดว่านักลงทุนรายใหญ่คนอื่นน่าจะถูกคนแอบอ้างแบบนี้เหมือนกัน เพื่อนผมไม่มีใครชอบประกาสว่าสนิทกับผมนะ พวกที่ชอบบอกแบบนี้ส่วนใหญ่ผมไม่รู้จักด้วยมีคนมาถามผมว่า รู้จักคนนี้ไหม เขาอ้างว่าสนิทกับผม ผมยังงงเลยว่าเขาเป็นใคร
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 14944
- ผู้ติดตาม: 2
Re: บทความสำหรับมือใหม่ โดย คุณ ฮง สถาพร
โพสต์ที่ 3
หัวข้อสำหรับมือใหม่ภาคที่ 3 (by คุณ ฮง สถาพร)
มีคนรู้จักมาถามผมว่าการลงทุนถ้าเค้าคาดหวังให้เขามีกำไรเป็นประจำทุกเดือนผมมีความคิดเห็นว่าอย่างไร ผมก็เลยตอบเขาไปว่าการลงทุนไม่ได้มีธรรมชาติแบบนั้น การได้รายได้ประจำเป็นธรรมชาติของคนที่ทำงานประจำหรือเก็บดอกเบี้ยกินค่าเช่ามากกว่าไม่ใช่จากการลงทุนในหุ้น ยกเว้นว่าคำนวณไว้ว่าได้เงินปันผลต่อปีเท่าไหร่แล้วหารเฉลี่ยว่ามีรายได้จากเงินปันผลใช้ต่อเดือนเท่าไหร่อันนั้นถึงจะคำนวณได้แต่ถ้าส่วนต่างจากราคาหุ้นไม่มีทางที่จะประเมินได้ว่าจะได้ต่อเดือนเท่าไหร่ ดีไม่ดีบางเดือนขาดทุนด้วยซ้ำ ผมไม่แน่ใจว่ามีคนคิดแบบเพื่อนผมคนนี้อีกมากน้อยแค่ไหนก็เลยเป็นที่มาของบทความนี้
คำเตือน หุ้นที่ผมยกตัวอย่างทั้งหมดในบทความนี้เป็นหุ้นที่ผมเคยซื้อและขายไปแล้วไม่ได้ติดชื่อผู้ถือหุ้นแล้วในตอนนี้ ดังนั้นเป็นการเขียนเพื่อให้เห็นภาพจากบทความเท่านั้น
สิ่งที่การลงทุนแตกต่างจากงานประจำคือการลงทุนมันไม่สนว่าคุณจะใช้เวลากับมันมากน้อยแค่ไหน การลงทุนถ้าคุณทำมันได้แย่ต่อให้คุณใช้เวลาในการดูราคาหุ้นและนั่งติดตามข่าวสารทั้งวัน คุณก็จะขาดทุนไปตลอดซึ่งแตกต่างจากการที่คุณใช้แรงงานในการทำงานประจำซึ่งคุณก็จะได้ผลตอบแทนตามที่ตกลงกับบริษัทไว้
ผมยกตัวอย่างตัวของผมในปีที่แล้ว(2020)สี่เดือนแรกค่อนข้างเป็นช่วงเวลาที่หฤโหดมากช่วงที่ผมท้อใจอยู่ช่วงหนึ่งตอนที่หุ้นเซอร์กิตเบรค เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากพอสมควรสำหรับผม ครึ่งปีแรกพอร์ตของผมติดลบและในจุดต่ำสุดของช่วงเดือน 3-4 ในปี 2020 พอตผมลดจากปลายปี 2019 ประมาณ 40 ถึง 45% ตอนนั้นผมไปออกรายการเวลมีอัพพอดีคุณเฟิร์นที่เป็นพิธีกรถามว่าพอร์ตผมเสียหายเยอะไหม ผมก็บอกเค้าไปว่าติดลบประมาณนี้และผมก็บอกไปว่าผมเชื่อว่าหลังจากนั้นพอร์ตของผมจะทำจุดสูงสุดใหม่
แล้วพอร์ตของผมก็ทำจุดสูงสุดใหม่ในการลงทุนได้ในช่วงไตรมาสสี่ของปี 2020 โดยหุ้นที่ทำกำไรได้หลักๆในตอนนั้นคือ ivl และตัวอื่นๆหลายตัวเช่น ner noble rcl scgp thre
ประเด็นที่ผมอยากสื่อคือแม้ว่าปีที่แล้วพอร์ตของผมจะ +แต่ว่าช่วงขึ้นอย่างมีนัยยะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ตรงข้ามสี่เดือนแรกที่ค่อนข้างย่ำแย่มาเกือบครึ่งปี ผมถึงไม่เคยคิดว่าการลงทุนเป็นรายได้ประจำคุณอาจจะขาดทุนอยู่หลายเดือนแล้วคุณก็อาจจะพลิกสถานการณ์มากำไรม้วนเดียว ทำให้การขาดทุนกลายเป็นกำไรโดยรวมได้ แต่มันไม่ใช่ว่าผมกำไรในหุ้นทุกเดือนเท่ากันเหมือนได้เงินเดือนประจำ(ปีนี้สถานการณ์ค่อนข้างตรงข้ามกับปีที่แล้วคือสามเดือนแรกของปีค่อนข้างดีมากหลังจากนั้นค่อนข้างจะทรงทรงลงลง) สิ่งที่ผมต้องการสื่อคือความยากของการลงทุนในช่วงเวลาที่คุณย่ำแย่คุณยังเชื่อหรือเปล่าว่าคุณมีศักยภาพพอที่จะดียิ่งกว่าจุดที่คุณเคยเป็น
ถ้าในช่วงที่ย่ำแย่ถ้าคุณเริ่มไม่มั่นใจในความสามารถตัวเองผมว่านั่นจะทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมากลายเป็นหนังคนละม้วน ดังนั้นการอยู่ในสภาพแวดล้อมของคนที่มองโลกในแง่บวกเป็นเรื่องสำคัญมาก
ประเด็นต่อมาคือคุณก็ต้องมีความสามารถที่จะทำให้พอร์ตนิวไฮได้จริงด้วยไม่ใช่คุณแค่นั่งนั่งนอนนอนแล้วก็เชื่อว่าถ้าตัวเองเชื่อจะทำให้ตัวเองพอร์ทนิวไฮได้ ผมเชื่อเรื่องของการลงมือทำไม่เชื่อในเรื่องของการคาดหวังลมๆแล้งๆ
การลงทุนคนมักพูดแค่ว่าต้องทำยังไงเพื่อหาหุ้นได้ดีแต่ประเด็นก็คือแล้วช่วงเวลาที่ไม่ดีมีกี่คนที่ถอดใจแล้วล้มเลิกไปแล้วไม่ได้กอบโกยกลับมา
ข้อแนะนำของผมสำหรับนักลงทุนมือใหม่ถ้าอยากกำไรระยะยาวให้คุณคิดไว้เลยว่าการลงทุนในหุ้นจะต้องมีช่วงเวลาที่ยากลำบากและการที่คุณขาดทุนในบางครั้งไม่ได้หมายความว่าคุณแพ้ มีคำกล่าวว่าแพ้ศึกได้แต่ขอให้ชนะสงคราม หมายความว่าการเล่นหุ้นหลายตัวคุณอาจจะมีลงทุนผิดพลาดบ้าง แต่ครั้งที่ผิดพลาดการขาดทุนเป็นเปอร์เซ็นต์ขอให้น้อยหรือเป็นสัดส่วนที่ไม่ได้ลงอย่างมีนัยยะ แต่ครั้งที่ได้กำไรให้ได้มากกว่าเปรียบเหมือนกับคุณอาจจะรบแพ้ในบางเมืองแต่สุดท้ายชนะสงครามโดยรวมคุณยึดพื้นที่มาได้เยอะกว่าแม้ว่าอาจจะเสียพื้นที่บางส่วนไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วคือภาพใหญ่คุณชนะ แพ้ศึกในบางเมืองแต่ไม่ได้เสียเอกราช ดังนั้นเวลาคุณเป็นนักลงทุนมือใหม่แล้วคุณเลือกหุ้นบางตัวในพอร์ตผิดพลาด คุณควรจะมองภาพรวมของพอร์ตทั้งหมดมากกว่ามองแค่หุ้นตัวที่ขาดทุนสมมุติว่าจบปีคุณทำผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายระยะยาวแล้วผลตอบแทนของคุณชนะตลาดผมคิดว่าการมีหุ้นที่แพ้บ้างในพอร์ตไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ผมยังนึกถึงตอนที่ผมขาดทุนครั้งแรกแรกตอนผมอยู่มหาลัยความรู้สึกมันเลวร้ายสิ้นหวังหดหู่มาก ถามว่าทุกวันนี้บางครั้งเวลาขาดทุนยังรู้สึกแย่ไหมก็ยังมีรู้สึกแย่บ้าง แต่ไม่ได้รู้สึกรุนแรงเท่าสมัยก่อนเหมือนรูปที่อยู่ด้านล่าง( credit ภาพจากใน fb ขออภัยจำเพจไม่ได้) ดังนั้นสำหรับมือใหม่หลายคนที่ท้อแท้ในช่วงนี้คุณเข้าใจไว้เลยครับว่าการขาดทุนเป็นส่วนนึงของการลงทุน
ประเด็นต่อมาคือคำคมคำหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากก็คือการลงทุนในตัวเองเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ผมยกตัวอย่างของตัวเองเพื่อให้เห็นภาพสมัยประมาณปี 2008 ผมเคยมีโอกาสไปอบรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์หุ้นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกับ tvi ตอนนั้นจริงๆแล้วผมไม่ได้ไปอบรมเพราะผมคิดว่าหุ้นปิโตรจะดีนะเพราะตอนนั้นหุ้นปิโตรกำลังจะเข้าสู่ขาลงมากกว่า เพราะมันดีมาหลายปีมากแล้ว ผมแค่อยากรู้ว่าหุ้นกลุ่มนี้ต้องวิเคราะห์ยังไง ไม่ต้องทำกำไรก็ได้แต่เราอยากวิเคราะห์ให้เป็น ไม่น่าเชื่อว่าการลงทุนทางความรู้ตัวเองในวันนั้นจะทำให้ในอนาคตต่อมาผมมีโอกาสได้ซื้อหุ้นเปลี่ยนชีวิตของผมคือ ptl ในตอนปี 2010 และมีโอกาสซื้อหุ้น ivl และ ivl-w2ในช่วงปลายปี 17 และยังได้ลงทุน ivl แถว 23 ตอนปี 2020 เรียกว่าได้กำไรจากหุ้นกลุ่มนี้แบบมีนัยยะกับพอร์ตการลงทุนมากๆ
ดังนั้นถ้าคุณหวังจะให้การลงทุนเลี้ยงชีพได้คุณต้องลงทุนในความรู้ของตัวคุณเองให้มากถึงมากที่สุดแล้ววันหนึ่งความรู้บางอย่างที่คุณลงทุนไว้จะสามารถได้ผลตอบแทนกลับมาคุ้มค่าอย่างที่คุณคาดไม่ถึง
แต่แน่นอนว่ามีความรู้อีกเยอะมากๆที่ผมลงทุนไปแล้วผมไม่ได้ใช้ทำเงินได้ ยกตัวอย่างเช่นความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ หรือความรู้เกี่ยวกับหุ้นประกันชีวิต ที่ผมศึกษานานมากๆและเคยทุ่มเล่นไปแต่ขายขาดทุนออกมา เพราะงบที่ประกาศออกมาผิดจากที่คาดเอาไว้อย่างมีนัยยะ หรือหุ้นโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ผมใช้เวลานั่งศึกษานานมาก แต่ราคาที่ผมซื้อก็อาจจะเป็นราคาที่ตลาดมีความคาดหวังในอนาคตไปเยอะมาก และโครงการของบริษัทหลังจากนั้นก็ได้ค่าไฟที่ต่ำกว่าโครงการแรกแรกอย่างมีนัยยะทำให้มาจิ้นลดลง ผมก็ขายขาดทุนไปหลาย 10% ดังนั้นผมก็ไม่รู้ว่า องค์ความรู้ไหนบ้างจะทำเงินได้ เวลาที่คุณพยายามหาความรู้เป็นเวลานานและลงทุนไปแล้วได้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม คุณจะรู้สึกว่าโลกนี้มันโหดร้าย มันเปรียบเหมือนกับว่าคุณตั้งใจทำงานเต็มที่แต่พอคุณจะเบิกค่าแรงบริษัทปิดตัวหนีไป
ดังนั้นผมเองต่อให้ลงทุนในความรู้ตัวเองมามากแค่ไหน ผมก็ยังคงมีหุ้นที่ซื้อแล้วขาดทุน ผมไม่ใช่เทพเทวดาที่ไหนที่จะซื้อขายหุ้นทุกครั้งแล้วไม่ขาดทุน ดังนั้นการมีความรู้และมีวินัยทางการลงทุนอาจจะเป็นตัวการันตีว่าระยะยาวพอร์ตของคุณจะนิวไฮได้แต่ไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าคุณจะไม่มีการขาดทุนเกิดขึ้นในพอร์ต
เหตุผลของการที่มีความรู้แล้วยังขาดทุนได้มีหลายอย่างยกตัวอย่างเช่นความรู้ที่คุณมีจริงๆแล้วคุณไม่ได้รู้อย่างถ่องแท้ทำให้เวลาคุณประเมินกิจการคุณประเมินแบบผิดสมมุติฐานต่อสภาวะความเป็นจริงปรากฏขึ้นคุณก็ขาดทุน เช่นตอนที่ผมขาดทุนหุ้นประกันชีวิตเมื่อหลายปีก่อน
หรือคุณอาจจะประเมินถูกแต่มีสถานการณ์บางอย่างที่เกินคาดมาทำให้คุณผิด เช่น มีใครคาดคิดว่าจะมีโรคระบาดขนาดนี้จนกระทั่งคนออกจากบ้านไม่ได้แล้วหลายกิจการก็ต้องกระทบอย่างหนักตรงนี้ต่อให้คุณเข้าใจกิจการดีคุณก็ขาดทุน
บริษัททำผลงานได้แย่กว่าที่คุณคิดเกิดจากสภาพการแข่งขันที่รุนแรงกว่าที่คิด หรือ ผบห แย่กว่าคิด อันนี้ก็มีหลายตัวที่หลังจากผมซื้อไปบริษัทและผู้บริหารทำผลงานได้แย่ผมก็ขาดทุน
บทความซีรี่ย์สำหรับมือใหม่ภาคต่อไปจะเป็นภาคสุดท้ายแล้วนะครับ 
.
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: บทความสำหรับมือใหม่ โดย คุณ ฮง สถาพร
โพสต์ที่ 4
บทความตอนที่4
คำแนะนำเรื่องการลงทุนแบบสั้นสั้น
(บางข้อมาจากคำแนะนำของ peter lych,howard mark บางข้อมาจากประสบการณ์ผมเอง)
1. การลงทุนเป็นการวิ่งมาราธอนไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร อย่าไปสนใจกับการตัดสินผลลัพธ์ในช่วงเวลาสั้นสั้นการที่คุณวิ่งนำตอนออกตัวสำหรับการวิ่งมาราธอนระยะไกลไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นผู้ชนะที่เส้นชัย
2. การลงทุนไม่ใช่การวิ่งหนีความเสี่ยงแต่เป็นการยอมรับความเสี่ยงได้เมื่อผลตอบแทนที่คาดหวังคุ้มค่าค่าความเสี่ยงมากๆ
3. ถ้าไม่สามารถทนค่อยๆรวยได้คุณมักจะจนอย่างรวดเร็วแทน
4. คนส่วนใหญ่คือตลาด การทำตามคนส่วนใหญ่จะไม่ได้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด
5. ผู้ที่อดทนในสิ่งที่คนทนได้ยาก ผู้นั้นจะได้ผลลัพธ์ที่คนจำนวนน้อยถึงจะได้รับ(ผมสังเกตุจากคนพอตใหญ่หลายคนจะมีนิสัยการลงทุนที่แปลกกว่านักลงทุนทั่วไปมาก)
6.การไม่เข้าใจธรรมชาติตลาดคือการลงสนามรบที่ไม่รู้จำนวนและอาวุธข้าศึก เป็นสงครามที่แพ้แน่นอน
7.การมีความฉลาดระดับปานกลาง และมีการบริหารความเสี่ยงดี มีโอกาสรอดในตลาดหุ้นมากกว่าคนฉลาดมากๆแต่บริหารความเสี่ยงได้แย่
8.ถ้าคุณแยก ผู้บริหารที่ซื่อสัตย์กับขี้โกงไม่ออก คุณมีโอกาสหมดตัวจากหุ้นที่งบการเงินดี
พอดีบทความก่อนๆมีคนเม็นเขียนยาวไปอ่านไม่ไหว เลยเขียนสั้นๆแบบไม่ขยายความให้แทน ฮ่าๆ
คำแนะนำเรื่องการลงทุนแบบสั้นสั้น
(บางข้อมาจากคำแนะนำของ peter lych,howard mark บางข้อมาจากประสบการณ์ผมเอง)
1. การลงทุนเป็นการวิ่งมาราธอนไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร อย่าไปสนใจกับการตัดสินผลลัพธ์ในช่วงเวลาสั้นสั้นการที่คุณวิ่งนำตอนออกตัวสำหรับการวิ่งมาราธอนระยะไกลไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นผู้ชนะที่เส้นชัย
2. การลงทุนไม่ใช่การวิ่งหนีความเสี่ยงแต่เป็นการยอมรับความเสี่ยงได้เมื่อผลตอบแทนที่คาดหวังคุ้มค่าค่าความเสี่ยงมากๆ
3. ถ้าไม่สามารถทนค่อยๆรวยได้คุณมักจะจนอย่างรวดเร็วแทน
4. คนส่วนใหญ่คือตลาด การทำตามคนส่วนใหญ่จะไม่ได้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด
5. ผู้ที่อดทนในสิ่งที่คนทนได้ยาก ผู้นั้นจะได้ผลลัพธ์ที่คนจำนวนน้อยถึงจะได้รับ(ผมสังเกตุจากคนพอตใหญ่หลายคนจะมีนิสัยการลงทุนที่แปลกกว่านักลงทุนทั่วไปมาก)
6.การไม่เข้าใจธรรมชาติตลาดคือการลงสนามรบที่ไม่รู้จำนวนและอาวุธข้าศึก เป็นสงครามที่แพ้แน่นอน
7.การมีความฉลาดระดับปานกลาง และมีการบริหารความเสี่ยงดี มีโอกาสรอดในตลาดหุ้นมากกว่าคนฉลาดมากๆแต่บริหารความเสี่ยงได้แย่
8.ถ้าคุณแยก ผู้บริหารที่ซื่อสัตย์กับขี้โกงไม่ออก คุณมีโอกาสหมดตัวจากหุ้นที่งบการเงินดี
พอดีบทความก่อนๆมีคนเม็นเขียนยาวไปอ่านไม่ไหว เลยเขียนสั้นๆแบบไม่ขยายความให้แทน ฮ่าๆ
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 14944
- ผู้ติดตาม: 2
Re: บทความสำหรับมือใหม่ โดย คุณ ฮง สถาพร
โพสต์ที่ 5
หัวข้อสำหรับมือใหม่ภาค 4 (ภาคจบ) โดย คุณ ฮง สถาพร
การลงทุนให้ประสบความสำเร็จเป็นองค์ประกอบโดยรวมของสิ่งเหล่านี้คือ
1.การเลือกหุ้น หรือ stock selections
2.การจัดพอต หรือ portfolio management
3.จังหวะ หรือ timing
4.จิตวิทยา หรือ psychology
เท่าที่ผมอยู่ในวงการมานักลงทุนมือใหม่มักจะให้ความสนใจกับสองเรื่องคือการเลือกหุ้นและจังหวะสังเกตจากเพจหุ้นต่างๆจะพูดถึงการวิเคราะห์งบหรือกราฟเทคนิค แต่เรื่องของการจัดพอร์ตและจิตวิทยาเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงน้อยกว่าอย่างมากแต่เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน
ถ้ามีการตั้งคำถามว่าสี่อย่างที่ผมกล่าวมาอะไรสำคัญที่สุดผมก็อาจจะตั้งคำถามกลับไปว่าในร่างกายของคุณหัวใจกับสมองอะไรสำคัญกว่ากันถ้าขาดบางอย่างคุณยังดำเนินชีวิตได้หรือไม่ ถ้ามีหัวใจกับสมองแต่ไม่มีไตในการฟอกของเสียจะดำเนินชีวิตได้หรือไม่ บางครั้งโลกเรามันไม่ได้ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแต่สิ่งที่สมบูรณ์มันเกิดจากองค์ประกอบที่ดีร่วมกัน
ในความคิดเห็นของผมนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจะมีองค์ประกอบของสี่อย่างนี้โดยรวมแล้วทุกข้อ เดี๋ยวผมจะขยายความว่าถ้าคุณขาดคุณสมบัติบางข้อไปการลงทุนนั้นจะมีรูปแบบหน้าตาประมาณไหน
-ถ้าคุณเลือกหุ้นเป็นแต่คุณไม่มีจังหวะคุณอาจจะไปซื้อหุ้นที่แม้ว่าจะดีในระยะยาวแต่ระยะสั้นราคาหุ้นไม่ไปไหน เหมือนเข้าไปซื้อหุ้นแล้วอาจจะโดนแช่ระยะยาวกว่าหุ้นจะขึ้น อาจจะต้องถือมาแล้วครึ่งปีหรือหนึ่งปี แต่ถ้าเป็นคนที่เข้าถูกจังหวะเข้าไปซื้อหุ้นไม่นานแล้วราคาหุ้นอาจจะขึ้นเลยคุณจะสามารถที่จะหมุนทำรอบของเงินได้มากกว่าผมยกตัวอย่าง ถ้าคุณซื้อหุ้น xyz แล้วเก้าเดือนแรกราคาไม่ไปไหนสามเดือนสุดท้ายราคาค่อยขึ้น 20% กับเพื่อนของคุณไปซื้อหุ้น xx ได้ผลตอบแทนมาแล้ว 20% ได้หกเดือนแล้วเค้าก็ขายเอาเงินมาซื้อหุ้น xyz อีกหกเดือนเค้าก็จะได้ผลตอบแทน 20% ทบต้นสองครั้ง โดยการรอคอยหุ้น xyz คุณต้องรอหนึ่งปีเพื่อได้ 20% แต่เค้ารอหกเดือนเพื่อได้ 20% ถ้าเป็นแบบนี้ในระยะยาวมากกว่า 10 ปีขึ้นไปผลตอบแทนของเพื่อนคุณจะมากกว่าคุณมหาศาลแบบเทียบกันไม่ได้ จริงๆแล้ว timing มองอีกมุมหนึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของ sock selection เพราะการที่เราจะจับจังหวะการซื้อขายหุ้นได้ถูกต้องเราต้องเข้าใจหุ้นตัวนั้นดีมากๆแต่เวลาบริหารพอร์ตเราต้องเข้าใจให้ดีหลายหลายตัวและบริหารเงินก้อนเดียวกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
-แล้วการบริหารพอร์ตมีความสำคัญอย่างไร ถ้าเรานึกภาพเป็นสงครามการรบการที่เราจะไปยึดพื้นที่ของศัตรูเรามีทหารและทรัพยากรอาวุธอยู่จำนวนนึงเราจะบริหารอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุดอันนี้ใครคล้ายกับการจัดพอร์ตสมมุติว่า สมมุติว่านักลงทุนมือใหม่มีพอร์ตอยู่ 100,000 ถ้าเค้ามีหุ้นอยู่ห้าตัวประเด็นคือในห้าตัวนั้นมีตัวที่เขาเลือกผิดสองตัวและตัวที่ไม่ไปไหนหนึ่งตัวและสองตัวที่อยู่หุ้นวิ่ง กรณีนี้ถ้าเค้าจัดพอร์ตโดยลงน้ำหนักหุ้นทั้งห้าตัวเท่ากันเค้าน่าจะไม่ได้ไม่เสียอะไร
แต่ถ้าการจัดพอร์ตของเค้าลงน้ำหนักเยอะไปที่สองตัวที่ขึ้นผลตอบแทนของพอร์ตก็จะเริ่มบวก แล้วถ้าหลังจากลงทุนไปสักพักเค้ายอมตัดขาดทุนตัวที่ขาดทุน เพราะเริ่มมองเห็นว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้พื้นฐานไม่ดีอย่างที่เขาคิดและนำไปลงในตัวที่มีแนวโน้มจะวิ่งได้ดีกว่าจากปัจจัยเรื่องสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจหรือพื้นฐานที่ติดตามว่ามีพัฒนาการ แบบนี้ผลลัพธ์ก็จะเป็นอีกแบบ คือดียิ่งกว่ากรณีก่อนหน้า
ดังนั้นการจัดพอร์ตในเมื่อเราเลือกหุ้นหลายตัวเราจะลงน้ำหนักตัวไหนมากสุดและเมื่อเวลาผ่านไปเราจะลดตัวไหนเพิ่มตัวไหนยังคงถือตัวไหนอันนี้ก็จะส่งผลต่อผลตอบแทน
ผมเคยนั่งดูหุ้นที่นักลงทุนรายใหญ่คนนึงในประเทศไทยติดชื่อผู้ถือหุ้นขออนุญาตไม่เอ่ยนามเขามีหุ้นตัวเล็กตัวน้อยหลายตัวที่ผมดูตอนเค้าเพิ่งติดชื่อกับตอนที่ชื่อเขาหลุดออกไปเค้าขาดทุนค่อนข้างจะเยอะบางตัวมากกว่า 50% แต่ตัวหลักๆที่เขาลงเขาได้หลายเท่า ทำให้พอร์ตของเค้าใหญ่มากแม้ว่าชื่อที่เค้าติดหุ้นหลายตัวจะมีราคาที่ลดลงอย่างน่าใจหายแต่ผลตอบแทนของพอร์ตเขาถือว่าดีเพราะเค้าลงน้ำหนักมากที่สุดไปกับหุ้นตัวที่ขึ้นเยอะมากส่วนตัวอื่นๆแม้ว่าหลายตัวขาดทุนแต่ลงปริมาณเงินน้อย อันนี้ก็จะย้อนกลับไปในบทความภาคสามเรื่องว่าแพ้ศึกได้แต่ชนะสงคราม
และก็มีในด้านตรงกันข้ามก็คือมีนักลงทุนบางคนที่กำไรหุ้นมาหลายตัวมากและปกติไม่ได้ลงตัวไหนแบบ all in แต่ครั้งที่เค้ามั่นใจจนทุ่มเต็มที่กับเป็นครั้งที่ได้รับผลตอบแทนที่แย่มากๆกลายเป็นว่าตัดสินใจถูกมาตั้งหลายครั้งแต่การผิดพลาดครั้งเดียวอาจถึงขั้นล้มกระดาน ดังนั้นแม้ว่าเราจะมีหุ้นชุดที่น่าสนใจแล้วแต่แค่การให้น้ำหนักผิดถูกผลลัพธ์ก็เหมือนเหรียญคนละด้าน
ข้อสุดท้ายที่เป็นองค์ประกอบที่ถ้าขาดสิ่งนี้ไป ระยะยาวคุณมีโอกาสที่จะไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุนค่อนข้างสูง ซึ่งก็คือจิตใจ ปีเตอร์ลินนักลงทุนระดับโลกบอกว่าไม่ว่าคุณจะเฉลียวฉลาดแค่ไหนก็ตามถ้าคุณเป็นคนขี้ตกใจให้เอาเงินออกจากตลาดอย่าเข้ามาในตลาดหุ้น
ไม่ว่าคุณจะเลือกหุ้นมาดีแค่ไหนจัดพอร์ตดีอย่างไรหรือ จังหวะดีอย่างไรถ้าเกิดคุณเจอวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหญ่ความน่าจะเป็นร้อยละ 90% คุณมีโอกาสที่พอร์ตจะติดลบยกเว้นคุณเป็นพวกถือเงินสดช่วงนั้น แต่มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมากที่คุณลงทุนตลอดเวลาแล้วช่วงนั้นจะถือเงินสดพอดีผมเลยยกไว้เป็นกรณีพิเศษขอพูดถึงกรณีส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าคุณเลือกหุ้นมาอย่างดีแต่อยู่ในช่วงที่ตลาดปรับตัวอย่างรุนแรงหุ้นของคุณก็ลงไปด้วยแถมลงหนักบางครั้งลงหนักทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานไม่เปลี่ยนถ้าใครเคยผ่านตลาดตอนช่วง ปี 2008 จะเข้าใจสิ่งนี้ดีมากหุ้นหลายตัวราคาทดถอยจากจุดสูงสุด 60 ถึง 70% ทั้งที่กำไรยังเติบโตอยู่เลย ถ้าคุณลงทุนแล้วคุณดูมาอย่างดีแต่คุณขาดทุนมากกว่า 50% คุณจะเริ่มรู้สึกว่าคุณคิดผิดแน่นอนไม่งั้นทำไมขาดทุนขนาดนี้แต่ในบางครั้งคุณไม่ได้คิดผิดสมมุติว่าหุ้นตัวที่คนลงทุนกำไรและกระแสเงินสดยังคงเติบโตและไม่ได้มีความเสี่ยงอะไรเข้ามาใหม่อย่างมีนัยยะสุดท้ายพอหลังจากตลาดหายตกใจหุ้นเหล่านั้นจะกลับขึ้นมาแรงมาก เหมือนหุ้นอสังหาริมทรัพย์หลายตัวที่ราคาลดลงอย่างหนักในปี 2008 และเป็นหุ้นที่สามารถทำผลตอบแทนระดับ 700 ถึง 800% ในช่วงปี 2009 ถึง 2010 กรณีพวกนี้ผมเคยลงข้อมูลไว้ในงานวิจัยส่วนตัวว่าเราจะวิเคราะห์อย่างไรบ้างและทำไมถึงเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น
ถ้าคุณเป็นคนขี้ตกใจแม้ว่าคุณเลือกหุ้นเหล่านี้ถูกต้องแต่คุณอาจจะเป็นคนที่เลิกลงทุนหรือขายหุ้นเหล่านี้ขาดทุนออกไปตอนปลายปี 2008 และถือครองเงินสดพร้อมสาปแช่งให้โลกนี้วิบัติชิบหายเพราะคุณจะได้ซื้อหุ้นถูกกว่าราคาที่คุณขายออกไปแต่ตลาดก็เป็นซุปเปอร์กระทิงในรอบเป็น 10 ปี ดังนั้นถ้าในภาวะปกติเรื่องของจิตใจจิตวิทยาอาจจะดูไม่ได้มีความสำคัญอะไรมาแต่ในภาวะไม่ปกติเมื่อไหร่มันจะเป็นตัวชี้เป็นชีทตายแบบสุดสุดให้กับการลงทุนของคุณถ้าคุณขาดคุณสมบัติข้อนี้ไปแค่ข้อเดียวผมคิดว่าคุณไม่ค่อยเหมาะกับการเข้ามาในตลาดหุ้น
เรื่องส่วนตัวเลยคือผมมีโอกาสรู้จักกับคนที่เป็นคนขี้ตกใจและไม่ว่าเค้าจะผ่านเหตุการณ์อะไรมาแล้วมากแค่ไหนเค้าก็ยังคงเป็นคนขี้ตกใจลึกลึกผมอยากบอกให้เขาหยุดลงทุนซะแต่ผมก็ไม่กล้าพูดเดี๋ยวมันจะหักหารน้ำใจกันเกินไปแต่ผมดูพอร์ตของเค้าระยะยาวแล้วผมคิดว่าถ้าเค้าไม่ลงทุนเลยแล้วใช้ชีวิตทำอย่างอื่นผมว่าสุขภาพจิตกับคุณภาพชีวิตของเค้าดีกว่าที่เค้าลงทุนมาตลอดและขี้ตกใจมาตลอด
ในคุณสมบัติสี่อย่างที่ผมบอกมาผมคิดว่าสามอย่างเป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้ตามประสบการณ์แต่เฉพาะเรื่องจิตใจเป็นเรื่องที่เหมือนฝึกฝนกันยากมากผมค่อนข้างคิดว่าเป็นเรื่อง born to be ในระดับหนึ่งเพราะผมเคยเจอบางคนที่ลงทุนครั้งแรกแรกเค้าก็มีจิตใจที่มั่นคงทั้งที่ประสบการณ์ลงทุนน้อยแต่หลายคนประสบการณ์ลงทุนสูงมากเคยฟังนักลงทุนเก่งเก่งมาก็มาแต่ก็ยังขี้ตกใจ สำหรับคนที่อยากทำสิ่งนี้ได้ดีขึ้นมีตัวช่วยก็คือเรื่องการฝึกสติแต่ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่งไม่ใช่ช่วยได้ทั้งหมด
จริงๆแล้วองค์ประกอบสี่อย่างนี้การเลือกหุ้นเป็นคุณสมบัติหลักอย่างแรกก่อนเพราะการเลือกหุ้นเราต้องเข้าใจหุ้นที่เราเข้าไปซื้อดีพอและเมื่อเราเข้าใจดีพอถ้าเรามองออกว่าช่วงไหนที่กำไรของบริษัทน่าจะกระโดดก็จะเกี่ยวกับเรื่องของการหาจังหวะต่อมาหรือถ้าเราเข้าใจหลายตัวมากพอเราก็จะบริหารจัดการพอร์ตได้ดีดังนั้นการเลือกหุ้น หรือการเข้าใจพื้นฐานของหุ้นมากพอก็จะต่อยอดมาที่จังหวัดกับการบริหารพอร์ตเป็นองค์ประกอบต่อเนื่อง
สำหรับนักลงทุนมือใหม่ผมคิดว่าเราควรพัฒนาคุณสมบัติทั้งสี่ข้อนี้ให้ดี บางครั้งเราไม่รู้ด้วยว่าองค์ประกอบอะไรที่สำคัญเราก็ไปคิดว่าสิ่งที่สำคัญเป็นการเลือกหุ้นหรือการหาจังหวะอย่างเดียวแต่การที่พอร์ตจะเติบโตได้ดีในระยะยาวผมคิดว่าต้องมีคุณสมบัติโดยรวมของสี่อย่างนี้เป็นอย่างดี
ขอจบ series มือใหม่ไว้เท่านี้ครับ
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 1
Re: บทความสำหรับมือใหม่ โดย คุณ ฮง สถาพร
โพสต์ที่ 6
การจับจังหวะให้ถูกนั้นมันยากกว่า การฝึก psychology ผมมองว่ามันเป็นการเล่นเก็งกำไรมากกว่าการลงทุน ถ้าพลาดก็แย่ถ้าคุณเลือกหุ้นเป็นแต่คุณไม่มีจังหวะคุณอาจจะไปซื้อหุ้นที่แม้ว่าจะดีในระยะยาวแต่ระยะสั้นราคาหุ้นไม่ไปไหน เหมือนเข้าไปซื้อหุ้นแล้วอาจจะโดนแช่ระยะยาวกว่าหุ้นจะขึ้น อาจจะต้องถือมาแล้วครึ่งปีหรือหนึ่งปี แต่ถ้าเป็นคนที่เข้าถูกจังหวะเข้าไปซื้อหุ้นไม่นานแล้วราคาหุ้นอาจจะขึ้นเลยคุณจะสามารถที่จะหมุนทำรอบของเงินได้มากกว่าผมยกตัวอย่าง ถ้าคุณซื้อหุ้น xyz แล้วเก้าเดือนแรกราคาไม่ไปไหนสามเดือนสุดท้ายราคาค่อยขึ้น 20% กับเพื่อนของคุณไปซื้อหุ้น xx ได้ผลตอบแทนมาแล้ว 20% ได้หกเดือนแล้วเค้าก็ขายเอาเงินมาซื้อหุ้น xyz อีกหกเดือนเค้าก็จะได้ผลตอบแทน 20% ทบต้นสองครั้ง โดยการรอคอยหุ้น xyz คุณต้องรอหนึ่งปีเพื่อได้ 20% แต่เค้ารอหกเดือนเพื่อได้ 20% ถ้าเป็นแบบนี้ในระยะยาวมากกว่า 10 ปีขึ้นไปผลตอบแทนของเพื่อนคุณจะมากกว่าคุณมหาศาลแบบเทียบกันไม่ได้ จริงๆแล้ว timing มองอีกมุมหนึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของ sock selection เพราะการที่เราจะจับจังหวะการซื้อขายหุ้นได้ถูกต้องเราต้องเข้าใจหุ้นตัวนั้นดีมากๆแต่เวลาบริหารพอร์ตเราต้องเข้าใจให้ดีหลายหลายตัวและบริหารเงินก้อนเดียวกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด