ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 1

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 31

โพสต์

อยากเล่าจากประสบการณ์สั้นๆ แค่ว่าถ้ามองผลตอบแทนโดยเทียบระหว่างเวลาที่ใช้กับผลตอบแทนที่ได้ เทียบกับหุ้นไทย ผมว่าหุ้นไทยดีกว่าเยอะครับ ใช้เวลาน้อย ขอแค่เวลาตรงนั้นเข้าถึง inside สำคัญบางอย่างก็พอ

หุ้นต่างประเทศมันเยอะมาก มองออกจากประเทศไทยไปมีประเทศมากมาย หลายธุรกิจ หลายวัฒนธรรม บาง sector เช่นพวก SAAS หรือ Deep Tech นี่จะเป็นคนไทย หรือคนอเมริกาทั่วไปก็คงไม่รู้เรื่องพอๆ กัน

การจะไปหา alpha หา cream ในที่ๆ ยากกว่า และมีคนเก่งกว่าเรามากมายขนาดนี้ และการเข้าถึงข้อมูลก็มีราคาที่ต้องจ่าย(ไม่เหมือนหุ้นไทย ไปฟังผบห.บางทีเขาเลี้ยงข้าว ให้ของติดมือกลับมาด้วยเอ้า) ผมคิดว่าถ้าต้องการไปเพราะหวังผลตอบแทนที่ดีขึ้นในระยะสั้น-กลาง ส่วนตัวคิดว่าไม่คุ้มค่าเหมือนกันครับ

ส่วนตัวผมไปลงทุนต่างประเทศด้วยเหตุผล 3 ข้อ
1. มองระยะยาวแล้ว ผมคิดว่าเศรษฐกิจไทยน่าเป็นห่วง เพราะไทยเป็นประเทศแก่และโตช้า ตลาดดูจะกลายเป็น zero-sum หรือ positive-sum อ่อนๆ
2. ผมเบื่อหน่ายวิธีการหา alpha ในตลาดหุ้นไทย ผมเป็นคนเกลียด connection ช่วงระหว่างเป็นนักลงทุนไทยก็ฝืนตัวเองอยู่หลายปี (พอมาลงทุนต่างประเทศเต็มตัวแล้วรู้สึกสบายใจขึ้นมาก) ซึ่งพอเชื่อว่าตลาดเป็นแค่ positive-sum อ่อนๆ ถ้าเราจะลงทุนแบบไม่ CV ไม่โทรหา IR แบบนี้คงจะยากที่จะหา alpha ดีๆ แบบที่ผ่านมาได้
3. ผมเริ่มต้นด้วย passion เพราะผมชอบอ่าน success story ของบริษัทหรือผบห.เทพๆ อ่านแล้วรู้สึกอิ่มใจ รู้สึกอยากมีส่วนร่วมไปกับเขา ผมจึงไปศึกษาธุรกิจในต่างประเทศ หาบริษัทดีๆ ผู้บริหารเทพๆ ที่กำลังช่วยกันทำให้โลกนี้ดีขึ้น
ผมไปศึกษากิจการของเขา ไปร่วมลงทุนกับเขาแล้ว รู้สึกอิ่มใจ มีไบแอส(เข้าข้างตัวเองว่า) เออ อย่างน้อยเราก็เป็นปรสิตคุณภาพ กว่าตอนเป็นนักลงทุนไทย ที่เปลี่ยนบริษัทแทบจะทุก 1-2 ไตรมาส

ซึ่งก็ไม่รู้ครับว่าระยะยาวจะหา alpha เจอจากตลาดหุ้นต่างประเทศมั้ย แต่นับถึงวันนี้มีความสุขดีมากๆ ครับ

ส่วนวิธีการเข้าถึงข้อมูลว่าช่องทางไหนดี ช่องทางไหนมีประสิทธิภาพสูง ส่วนตัวคิดว่าไม่มีทางลัดครับ ถามคนในนี้แต่ละคน ก็คงได้คำตอบไม่เหมือนกัน เพราะแนวทางการลงทุนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

วิธีที่ผมใช้คือผมพยายามหาหุ้นที่อยู่ใน area ที่การแข่งขันต่ำๆ มีเหตุผลบางอย่างให้คน overlook อุตสาหกรรมหรือบริษัทนั้นอยู่่ ซึ่งก็หาเจอบ้างไม่เจอบ้าง มั่วบ้าง เป็นประจำครับ เลยคิดว่าตัวเองไม่ qualify ที่จะสอนใคร

เพียงแต่อยากมาแชร์ประสบการณ์ของตัวเองสั้นๆ เท่านี่ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4562
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 32

โพสต์

nayut เขียน:
พุธ ก.พ. 09, 2022 2:39 pm


Twitter - These are some of the accounts that are interesting to me kub. For more accounts, you can refer to the list of good “fintwits” accounts that I shared earlier.

@michaelxpettis | good thoughts on China economy and its debt bubble

@modestproposal1 | stats, excerpts, and thoughts from news, institutional research reports, transcripts, etc.

@Paulkrugman | economic Nobel laureate | some very good tweets on the economy

@patrick_oshag | popular fintwit account | often share insightful information

@muddywatersresearch | a short fund | interesting short ideas

@citronresearch | mostly short ideas

@GavinSBaker | CIO at Atreides | comments on tech, consumer companies, and markets

@TidefallCapital | PM at Tidefall Capital | comments on tech companies and markets

@Post_Market | comments on tech and consumer companies | long and short ideas

@S_curvecap | comments on tech companies

@borrowed_ideas | writer of MBI Deep Dives | company-focused threads | quarterly earnings recaps

@JohnHuber72 | PM at Saber Capital | comments on tech companies mostly

@PreparedRemarks | observations on consumer internet companies

@realdennishong | CIO at ShawSpring Partners | interesting stats and charts

@AltaFoxCapital | Founder of Alta Fox Capital | small-cap ideas

@Josh_Young_1 | PM at Bison Interests | comments on oil & gas industry
วันหยุด เพิ่งมีโอกาสมานั่งไล่อ่าน แต่ละ อย่างที่คุณ nayut เสียสละเวลาอันมีค่า มาโพสต์ให้นะครับ

บทความแต่ละอัน เปิดโลกมากสำหรับผม และ ส่วน twitter ก็เป็น list ที่ผมไม่เคยติดตามมาก่อน เดิมพอผมเข้าสาย brian feroldi ก็จะได้ กลุ่มอีกกลุ่มนึง แต่ดีมากๆเลยครับ ขอบคุณมาก เดี๋ยวผมไล่อ่านบทความแล้วจะมา discuss กลับคุณ nayut เพิ่ม ถ้า ไม่รบกวนเกินไปนะครับ

หรือ ถ้าคุณ nayut สะดวก ให้ผมพิมพ์ ภาษาอังกฤษ ผมก็จะ พยายาม ด้วยความสามารถภาษาระดับ snake fish ๆ ต่อนะครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4562
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 33

โพสต์

A27290 เขียน:
จันทร์ ก.พ. 07, 2022 10:22 am
The Little Book That Builds Wealth เขียนโดยผู้เขึยนคนเดียวกัน ก็อ่านเข้าใจง่ายดีครับ อีกเล่มที่แนะนำคือ 7 Powers นอกจากนี้ก็มีหนังสือที่เพิ่งออกมาใหม่ของ อ. Jeff Towson ครับ ชื่อ Moat and Marathon ผมแนะนำให้ subscribe งานจองอาจารย์ด้วยครับ
ขอบคุณสำหรับแนะนำหนังสือมากๆครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 34

โพสต์

crazyrisk เขียน:
ศุกร์ ก.พ. 11, 2022 12:58 pm
...
1. บริหารจัดการการศึกษาหุ้นอย่างไร ให้ได้ประสิทธิภาพที่สุดเหรอครับ
การไปลงทุนในต่างประเทศของผม เริ่มต้นด้วยคำว่าประสิทธิภาพครับ

ในตอนที่ผมเริ่มไปลงทุนต่างประเทศช่วงปี 2012-2013 ผมรู้สึกว่า พอร์ตผมใหญ่พอที่จะเกษียณได้แล้ว ผมเป็นคนที่ถึงเป้าแล้ว ไม่ได้ปรับเป้า ถึงเป้าแล้วก็เลิก ไม่อยากเสียเวลาไปกับความพยายามในการหาเงินมากไปกว่านี้ อยากที่จะใช้เวลากับการลงทุนให้น้อยลง จะได้เอาเวลาไปใช้กับการปฏิบัติธรรม

คือ ในตอนปี 2010 ผมได้เริ่มปฏิบัติธรรม และผมรู้ชัดเลยว่า ถ้าอยากก้าวหน้า เอาดีในทางธรรมได้ เราต้องห่างจากทางโลก ยิ่งห่างจากความฟุ้งซ่าน วุ่นวายได้มากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสก้าวหน้าได้มากเท่านั้น และระหว่างการปฏิบัติธรรม ปกติในเส้นทางที่ผมเดิน อาจจะมีช่วงเวลาหลายเดือน หรืออาจจะเป็นปี ที่ความทุ่มเท มุ่งมั่นทั้งหมดของชีวิตจะโฟกัสไปที่การฝึกจิต ขัดเกลาจิต โดยไม่สนใจเรื่องหุ้นเลย ซึ่งในมุมมองของผม การลงทุนต่างประเทศเป็นทางออก

ถ้าเคยศึกษาพุทธพจน์ หรือพระสูตรมาบ้าง จะพบว่าจะมีหลายๆ เหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าพูดถึงเส้นทางเดินของชีวิตคน ว่าท่านเหมือนเห็นคนๆ หนึ่งกำลังเดินอยู่บนเส้นทางหนึ่ง ท่านรู้ว่าเส้นทางนั้นนำไปสู่จุดหมายอะไร แล้วท่านก็ไปทำอะไรอย่างอื่น เวลาผ่านไปนาน กลับมาดูคนนั้นใหม่ ก็เห็นว่าคนๆ นั้นไปถึงจุดหมายนั้นแล้ว กำลังเสพสุข หรือกำลังเสวยทุกข์ อยู่กับจุดหมายที่ไปถึง

ผมคิดว่าอาชีพนักลงทุนก็เหมือนกับพุทธพจน์เหล่านี้ คือ เราในฐานะนักลงทุน เราศึกษาและเข้าใจว่า Founder ผู้บริหาร และกิจการกำลังเดินไปที่ตรงไหน เราเลือกที่จะลงทุน ระหว่างทาง เราก็เอาเวลาไปทำอะไรอื่น นานแสนนาน แล้วเราก็กลับมาดูอีกที การลงทุนของเราก็ได้ผลตอบแทนที่งอกเงยตามที่คาดหมาย เราไม่จำเป็นต้องใช้เวลาอะไรกับการลงทุนมากเลย

การที่เรารู้ข้อมูลมากหรือข้อมูลน้อย มันไม่มีผลต่อการดำเนินงานของกิจการเลย ถ้าเราไม่ได้เป็น Activist Investor กิจการก็จะดำเนินของมันต่อไป ตามปัจจัยเชิงคุณภาพที่สุดท้ายจะเปลี่ยนมาเป็นปัจจัยเชิงปริมาณ แต่ความเป็นจริงที่ผมเจอ คือ ผมใช้เวลาไปกับการเสียเวลารู้เรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง คือ รู้เพิ่มขึ้นให้สบายใจ หรือ กังวลใจไปอย่างนั้น โดยไม่ได้เปลี่ยนความเป็นจริงของกิจการเลยแม้แต่น้อย

หมอเคเป็นหมอ เวลารักษาโรคให้กับคนไข้ หมอเคก็รู้ว่า โรคกับการรักษามันต้องใช้เวลาของมันตามเหตุปัจจัย การที่เราไปเก็บข้อมูลคนไข้มากขึ้นไปก็เท่านั้น มันไม่ได้ช่วยอะไรให้คนไข้หายเร็วขึ้นเลยแม้แต่น้อย ดีไม่ดี จะยิ่งทำให้ Paranoid ไปทั้งคนไข้และหมอ จนทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงด้วยซ้ำ

นั่นจึงเป็นที่มาของการกำหนดเป้าหมายในชีวิตของผมว่า มันเป็นไปได้ไหมที่ผมแค่รู้เรื่องที่ผมควรรู้ แล้วใช้เวลากับมันให้น้อยๆ ยกตัวอย่างเช่น แค่รู้ลักษณะอาการของโรค รู้วิธีรักษา แล้วก็จ่ายยา หลังจากนั้นก็รู้ว่าต้องใช้เวลานานเท่าไรค่อยให้เช็คผล แล้วปรับการรักษา แล้วก็ให้ข้อสังเกตกับคนไข้หรือพยาบาลไปว่า ถ้าเมื่อไรที่ตัวเลขนี้ตกถึงจุดนี้ ค่านี้เป็นแบบนี้ หรือมีอาการเจ็บปวดที่จุดนี้ ให้ติดต่อกลับมาหานะ จะได้ Take Action ได้ถูก

ในช่วงแรกผมพยายามหาหุ้นดีๆ ที่ Runway ยาวๆ มีความแข่งแกร่ง พัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นความพยายามในการมองหาหุ้น 100 ปี เพราะ ถ้าผมลงทุนในกิจการที่ดี และอยู่ต่อเนื่องไปเป็นร้อยปีได้ ไอ้สิ่งที่เกิดขึ้นในระดับรายไตรมาส บางทีเรายังไม่ต้องสนใจเลย วิเคราะห์พื้นฐานสักปีละครั้งก็พอ และหา Critical Indicator ที่จำเป็นต้องดูเป็นระยะก็พอ ไม่ต้องตื่นขึ้นมาอ่านข่าว ฟังคลิป ฟัง Oppday แกะงบ ถาม IR อะไรก็ได้ เพราะ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในภาพใหญ่ มันใหญ่กว่าเรื่องราวรายวัน ที่จะเข้ามารบกวนเวลาในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับครอบครัว หรือสิ่งที่ตัวเองรัก ซึ่งสำหรับผมในขณะนั้น คือ การปฏิบัติธรรม และใช้ชีวิตกับครอบครัว

หุ้นร้อยปี สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ผมเชื่อ ก็คือ Moat แต่คำถาม คือ Moat มันเกิดขึ้นจากอะไร และพัฒนาขึ้นมาอย่างไร ซึ่งในประเด็นนี้ VC ที่ผมประทับใจมาก คือคุณ James Currier แห่ง nfx.com ที่อธิบาย Defensibility ได้อย่างน่าประทับใจ ที่ช่วยให้ผมเข้าใจว่า บริษัทจะเติบโตไปพร้อมๆ กับการสร้าง Moat อย่างไร

ในการลงทุนในกิจการที่มี Moat ที่แข็งแรงอยู่แล้ว ใครๆ ก็รู้กัน แถม Defensibility ก็ไม่ได้ขยายเพิ่มขึ้น หุ้นพวกนี้ตามปกติมีราคาแพง Upside ต่ำ แถมมีความเสี่ยงที่จะถูกคนอื่นเค้า Disrupt หรือโดนโจมตี

กิจการที่สุดยอดสำหรับผมิ คือ กิจการที่ Moat ดีระดับหนึ่งแล้ว แต่กำลังเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ พร้อมๆ กับการสร้าง Moat ให้กว้างขึ้นไปเรื่อยๆ พร้อมๆ กัน ผมขอยกตัวอย่างหุ้นตัวแรกที่ผมลงทุนอย่าง Google ก็แล้วกัน

Business Model ของ Google น่าสนใจมากตรงที่ Google เป็น Free Service ที่พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของ AI ในวันที่ผมทำ Presentation Google ให้หมอเคฟังเมื่อปี 2012 ในวันนั้น Google เริ่มที่จะนำ AI เข้ามาใช้แรกๆ อย่างจริงๆ จังๆ มีการ Launch Knowledge Graph มีการตั้งหน่วยงาน Google Brain มีการทดสอบรถ Self-Drive Car ในช่วงปีก่อนๆ หน้า

ผลของ AI ที่พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ หมายความว่าคุณภาพของ Search ใน Google จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ นั่นหมายถึง Consumer Surplus ก็สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้าของ AI และทำให้ Moat ของ Google ขยายออกไปเรื่อยๆ ลูกค้ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจากการได้รับคำตอบที่ต้องการดีขึ้นทุกๆ ครั้งที่ใช้บริการ คือ แค่ให้ใช้ฟรีก็ดีจะตายอยู่แล้ว แต่นี่ฟรีไม่พอ แต่ทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ เดือน ทุกๆ ปี

ในขณะที่ Revenue Model ของ Google เป็น Ads Base ที่เครื่องมือ AI ของ Google ทำให้ ROI ของ Advertiser สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา ผลที่ตามมือ คือ User จะใช้บริการ Search ของ Google มากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งก็หมายถึงจำนวนของ Impression Supply ที่จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ในขณะที่คุณภาพของ AI ที่ทำให้ Conversion Rate สูงขึ้น ก็ทำให้ Advertiser พร้อมที่จะจ่ายเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นตามมา เราก็พอจะเห็นได้ว่า Revenue เป็น Function ของ Search Volume กับ Cost-Per-Click ซึ่ง AI ที่ Google ทำ จะทำให้ Revenue โตขึ้นไปเรื่อยๆ

ดังนั้นถ้าเรามองยาวๆ ไป 100 ปี เราจะเห็นได้เลยว่า ถ้า AI ยังไม่ไปถึงจุดที่เป็น AGI (Artificial General Intelligence) ที่ฉลาดกว่ามนุษย์มากๆ Google จะยังมี Growth Potential ให้โตได้อีก เราเลยเห็น Google Shopping, Google Travel หรือ Google Maps ที่ทำอะไรได้มากขึ้นเรื่อยๆ และในอดีตสิ่งที่ Google เดินหน้าไป ถ้า AI ของ Google ไปถึงจุด AGI สิ่งที่ Google จะทำก็คือ เป็นยักษ์จินนี่ ที่ผู้ใช้ต้องการอะไร Google ก็พร้อมจะนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุด ในราคาที่ดีที่สุด ให้ผู้ใช้เลือก ผลที่ตาม Moat ของ Google ก็จะกว้างมากมากขึ้นไปเรื่อยๆ เสียจนไม่น่าจะมีใครทำลายได้ในรอบ 100 ปี

ในมุมของ Computing Platform ก็จะเห็นได้ว่า ในอนาคตถ้าโลก Shift จาก Smartphone ไปเป็น VR/AR/MR หรือ Ubiquitous Computing (เรื่องนี้ผมก็มี Present ให้หมอเคฟังเมื่อปี 2012 เนอะ) เราก็พอจะเดาได้ว่า คนจะยิ่งต้องการ Search มากยิ่งขึ้น เพราะ คนจะถาม Google ว่า "Google ฉันหาเสื้อเชิร์ตสีฟ้าที่ใส่เมื่อเดือนที่แล้วไม่เจอ ฉันเอามันไปไว้ตรงไหน?" จะเห็นได้ว่า Apple อาจจะมีความเสี่ยงตอนที่ Platform Shift แต่ Google ไม่มีความเสี่ยงตรงนี้เลย ถ้า Search ของ Google ยังอยู่ในใจของคนทั้งโลก

และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในการลงทุนนับตั้งแต่ปี 2012 ก็คือ ผมฟัง Conference Call แบบชิวมากๆ อยากฟังก็ฟัง ไม่อยากฟังก็ไม่ฟัง ว่างเมื่อไรก็ค่อยฟัง ราคาหุ้นก็ขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ผมไม่เคยขาย Google หมดพอร์ตเลย มีแต่ขายเอาเงินไปซื้อตัวอื่นบ้าง เพราะ สัดส่วนของ Google มันเยอะเกินไป ผมสามารถใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการ คือ ไปปฏิบัติธรรมเป็นเดือนโดยไม่ดูหุ้นเลยแม้แต่วันเดียว ไปเที่ยวอเมริกาใต้ ขับรถบ้านไป Camping ที่ นิวซีแลนด์ ที่ซึ่งไม่มีแม้แต่สัญญาณมือถือ และราคาหุ้นให้ดู

ย้อนกลับมา คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดเวลาผมซื้อหุ้น ไม่ใช่เรื่องที่ว่าหุ้นตัวนี้จะ Perform จะทำให้ผมชนะคนอื่น ชนะตลาดได้ไหม แต่มันคือเรื่องที่ว่า ผมสามารถที่จะซื้อ แล้วไม่ต้องติดตามมันหลายๆ เดือนได้ไหมเสียมากกว่า

อันนี้ คือ ประสิทธิภาพของผมนะครับ ผมคิดว่า ผมใช้เวลาในการลงทุนน้อย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนอย่างที่ผมได้ในปัจจุบัน

ผมเชื่อว่า โลกกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในระดับเดียวกับช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่ง Investment Cycle รอบนี้ใหญ่โตมโหฬารมาก ในขณะที่ Inflation นี่ผมเห็นแล้วไม่เป็นห่วงเลย เมื่อมองไปถึง Demographic ของประชากรในปัจจุบัน ที่ Covid ทำให้อัตราการเกิดของ Gen-Alpha ต่ำลง บวกกับ Technology ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จนเป็นปัจจัยกดดันไม่ให้เงินเฟ้อไปได้ไกลมากนัก และน่าจะเป็นห่วงเรื่องเงินฝืดมากกว่าในระยะกลางๆ

ซึ่งผมเชื่ออย่างสุดหัวใจเลยว่า ถ้าการเปลี่ยนแปลงมันรุนแรงขนาดนี้ มันมีหุ้นร้อยปีที่ทำให้ผมอาจจะต้องขยันมากหน่อยในช่วงนี้ เพื่อที่จะได้ขี้เกียจยาวๆ ไปอีก 100 ปี
2. ในแง่ของ portfolio management ผมว่า หุ้นไทย เองมีความผันผวนมากกว่า ผมสังเกตว่า หุ้น super stock ในไทย ก็จะมี การเปลี่ยนแปลง 2 ปี ขึ้น 100% อีก ปี ลงเกิน 50% ดังนั้น หลายๆครั้ง หุ้นไทยจะเหมาะกับการเล่นเป็น theme มากกว่า (ไม่นับรวม port longterm)
ในช่วงที่เกิด Uncertainty และ Volatility สูงมากๆ อย่างในช่วงนี้ ผมจะบริหารพอร์ตโดยการทำมิติของการ Valuation ออกมาหลากหลายมาก และปรับสัดส่วนที่ Dynamic มากๆ โดย Take Action ตาม Technical

ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่า หุ้นตัวหนึ่งผมว่าคุณภาพทุกอย่างมันได้แล้ว ผมพร้อมที่จะถือมันในระยะยาว แต่อาจจะมี Micro Economic Uncertainty บางอย่างที่ทำให้ Valuation เหวี่ยง ผมจะกำหนดสัดส่วนที่เป็นค่ากลางในการถือ เช่น ตัวนี้ผมอยากที่จะถือ 10% ของพอร์ต ผมจะให้ Range ของสัดส่วนในพอร์ตแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ 5% 7.5% 10% 12.5% 15%

ถ้าหุ้นเป็นขาขึ้น Technical ยังไม่เสีย Fundamental ดูแล้วยัง Support ผมก็จะปล่อยมันไหลขึ้นไปจนถึง 15% ถึงเกิน 15% ก็อาจจะ Trim ออก และถ้าในระยะสั้น Technical อาจจะ Overbought หรือทำท่าจะ Peak ก็อาจจะมี Trailing Stop เพื่อลดสัดส่วนลงมาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คือ กลับมาที่ 10%

แต่ถ้า Graph เสียกลายเป็นขาลง พร้อมๆ กับ Fundamental เริ่มมี Question บางอย่างที่เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน ก็อาจจะปรับลดลงมาเหลือ 5% เป็นต้น

ค่ากลางแรกที่ 10% ผมจะคิดในเชิงเปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ ในพอร์ต โดยคำนึงถึงปัจจัย 4 อย่าง คือ 1) Quality & Impact Delta 2) Growth Potential 3) Valuation และ 4) ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาในปัจจุบัน

ซึ่งก็อาจจะได้ออกมาว่า ตัวนี้ 10% ตัวนี้ 5% ตัวนี้ 2.5% ตัวนี้ต่ำกว่า 1%

ผมยอมรับว่าวิธีการบริหารช่วงนี้ ผมจำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าปกติ เพราะ โลกกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยน ฝุ่นทุกอย่างมันตลบไปหมด Uncertainty มันสูงมาก คงต้องใช้เวลาอีกสัก 2-3 ปี กว่าที่จะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ว่าทิศทางและแนวโน้มต่อไปมันจะเป็นอย่างไร ระหว่างทาง ทุกอย่างมันจะมั่วไปหมด ผมคิดว่า หุ้นหลายๆ ตัวที่ผมเข้าลงทุนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มี Noise อยู่เยอะมาก จนทำให้ Valuation ที่ผมคำนวณได้มีช่วงกว้างมาก และต้องใช้เวลาอีกสักพัก กว่าจะเห็นตัวเลขจริงๆ ที่นิ่งหน่อยในการทำ Valuation
3. วีไอ การจับจังหวะ ตลาด เป็นของแสลง แต่ผมเชื่อว่า หลายๆคนก็ประเมิน เรื่อง market direction ในไทยนั้น จะเห็นว่า หุ้นที่เป็น best stock gainer แต่ละปี ก็ไปตาม theme ต่างๆ เช่น ปี 2014-2016 หุ้นนักท่องเที่ยวจีนมา ปี 2020-2021 พวก digital transformation มา
อ. Damodaran บอกว่า ทุกคนที่ลงทุน มีความเป็น Market Timer อยู่ในตัวทั้งนั้น เพียงแต่ว่าเป็น Implicit หรือว่า Explicit

ตัว VI เองที่ซื้อหุ้นตอนถูกๆ มี MOS อันนี้ก็สะท้อนถึงความเป็น Market Timer อยู่บ้างไม่มากก็น้อย ดังนั้นผมคิดว่าถ้าเรา Identify ว่าตัวเองเป็นนักลงทุน ยอมรับความเป็นจริงเถอะครับ ว่าเราจับจังหวะตลาดอยู่บ้าง เพียงแต่ว่ามากหรือว่าน้อย

ความแตกต่างที่สำคัญ ผมว่าน่าจะอยู่ที่ระยะเวลาที่จะลงทุนมากกว่า ถ้ามองระยะเวลาการลงทุนที่ยาวเป็น 10 ปี สิ่งที่เราต้องมองหา คือ Mega Trend หรือ Structural Change อะไรบางอย่างในพฤติกรรมของผู้ผลิต ผู้บริโภค หรือ เทคโนโลยี

แต่ถ้าเรามองระยะเวลาการลงทุนแค่ 1-2 ปี เราก็อาจจะไปหากิจการที่จะได้ประโยชน์จากความไม่สมดุลของ Supply-Demand ในระยะสั้น

แต่ถ้าเรามองการลงทุนแค่จะเอาปีนี้ ให้ชนะคนอื่น การเข้าถึงข้อมูลก่อนคนอื่น รู้งบล่วงหน้า และมีอิทธิพลที่สามารถขายฝันให้คนอื่นซื้อหุ้นตามเรา ซึ่งอาจจะใช้ได้ในตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างในไทย แต่เป็นเรื่องยากมากที่จะทำได้สำหรับในหุ้นสหรัฐฯ เพราะ ทุกคนกำลังเล่นเกมส์ 1 ปีกันหมด โอกาสชนะเลยมีน้อย

ผมเชื่ออย่างสุดหัวใจเลยว่า ถ้าผมจะอยู่รอดในตลาดต่างประเทศระยะยาวได้ ผมต้องมองแตกต่างจากคนอื่นดังนี้
1) มองให้ยาวกว่าคนอื่น เล่นในเกมส์ที่คนอื่นไม่เล่น คนส่วนใหญ่มอง 1 ปี ส่วนส่วนน้อยมอง 10 ปี ถ้าผมมอง 100 ปี ผมเชื่อว่าเกมส์ๆ นี้มีคนเล่นกับผมน้อยมากๆ

2) มองให้ลึกกว่าคนอื่น ว่า Impact ที่เกิดขึ้นจริงๆ ของกิจการ ที่เกิดขึ้นกันคนจริงๆ มันอยู่ที่ตรงไหน และสามารถเปลี่ยนเป็นรายได้ กำไร หรือ Moat ได้อย่างไร

3) อดทนให้ได้มากกว่าคนอื่น ถ้าเจอ Drawdown ไป 75-80% ก็จะไม่เกลียดหุ้น เกลียดใคร เกลียดอะไร ยังคงรักษาความสงบ วิเคราะห์ พิจารณาสิ่งต่างๆ ให้ได้ตามความเป็นจริง

4) มีวินัย เมื่อทำผิด ยอมรับผิดให้เร็ว อย่าดอง อย่าสุ่มปัญหา อย่าปิดตา แล้วหวังว่าสิ่งต่างๆ จะผ่านไปโดยไม่พิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างแยบคาย

5) อ่อนน้อมถ่อมตนต่อตลาด ต่อคนรอบๆ ตัว พร้อมที่จะตื่นขึ้นมาพบกับความผิดพลาด (อีกแล้ว) แล้วก็พร้อมที่จะเรียนรู้ และทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น
4. อีกประเด็นนึง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสุด คือ การวิเคราะห์ ผบห
ข้อดีของการลงทุนต่างประเทศ คือ อุตสาหกรรมมันใหญ่มากๆ ดังนั้น เวลาฟังผู้บริหารกิจการหนึ่งๆ ก็ไปฟังผู้บริหารกิจการคู่แข่ง หรือ ที่ใกล้เคียง

สิ่งที่ผมมองหาจากผู้บริหาร คือ Just Cause ผมมองหาผู้บริหารที่รู้สึกว่าตัวเองกำลังทำบางสิ่งบางอย่างที่ใหญ่กว่าตัวเอง ที่พร้อมที่จะทุ่มเทชีวิตเพื่อเป้าหมายบางอย่างที่เค้าเชื่อและฝัน ผู้บริหารแบบนี้แหละ ที่จะสร้าง Culture ขององค์กร และดึงดูดให้คนที่ฝันแบบเดียวกันเข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน

ยกตัวอย่างผมฟัง Conference Call ของ Coursera เทียบกับ 2U และ Udemy ผมจะพบว่าความฝันของ Jeff Maggioncalda ของ Coursera เค้าใหญ่มาก และมันก็เปลี่ยนมาเป็นรายละเอียด เป็น Product ที่ทำให้เรารู้สึกอยากที่จะฝันไปร่วมกับเค้า ในขณะที่ 2U กับ Udemy จะเน้นไปที่ตัวเลข และการแก้ปัญหา เวลาพูดถึงการเอา AI มาใช้ก็จะพูดแบบลอยๆ เป็น Buzzword ไปอย่างนั้น ในขณะที่เวลา Jeff พูด เค้ามาเป็นตัว Product เลยว่า Product ตัวนี้จะช่วยลูกค้าอย่างไร ให้ชีวิตลูกค้าเค้าดีขึ้น

ผมเป็นคนที่ลงทุนด้วยหัวใจ เวลาผมฟังพูดบริหารบางคนพูด ผมจะรู้สึกถึงความสว่าง บางคนพูดนี่เล่นเอาทำให้ผมน้ำตาซึม ฟังก็ครั้งก็ซึมทุกครั้ง ในขณะที่ผู้บริหารบางบริษัทอย่าง Google นี่ต้องวัดกันที่การกระทำ เพราะ Google จะเปิดเผยข้อมูลน้อยมาก เวลาพูด จะไม่ได้พูดสไตล์ Build อารมณ์ แต่จะพูดแบบเย็นๆ เรื่อยๆ แต่ถ้า Jensen Huang ของ Nvidia นี่เล่นใหญ่ มาเต็มตลอด

โดยส่วนตัวถ้าบริษัทฯ ยังเล็กอยู่ ผมชอบผู้บริหาร หรือ Founder ที่ Inner แรงๆ หน่อย เพราะ เราต้องการคนมีไฟในการสร้างบริษัทฯ ให้มันใหญ่ แต่ถ้าบริษัทใหญ่แล้ว ผมชอบผู้บริหารที่เงียบๆ เย็นๆ มากกว่า เพราะ เวลาบริษัทใหญ่และเป็นที่จดจ้อง คนพร้อมที่จะรุมสกรัมอยู่แล้ว อย่างพี่ Mark นี่ อยากจะบอกว่าถ้าเบาได้ ก็ช่วยเบาลงนิดนึงก็จะดี

ในเชิงเปรียบเทียบกับบริษัทไทย ผมคิดว่า คนไทยโกหกเก่งครับ ดังนั้นผู้บริหารไทย เราจะเปลืองเวลาไปกับการจับโกหก ในขณะที่ผู้บริหารของหุ้นต่างประเทศ พวกนี้ไม่ค่อยโกหกแล้วครับ แต่เราต้องอ่านพวก Mentality ของคนพวกนี้มากกว่า เพราะ เหมาะสมไหมกับ Business Life Cycle และสภาพการแข่งขัน

อย่าง PTON นี่ มันไม่เกี่ยวกับผู้บริหารไหมครับ? คือ ถ้าคุณเป็นคนออกกำลังกายจริงจัง ก็พอจะรู้พฤติกรรมของลูกค้า กับตลาดอยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น ธุรกิจมันไม่ได้ Sustain อยู่แล้ว เจ้าที่เดิมก็มีเติมไปหมด Les Mill ก็มี Subscription จะโหลด Video มาดูฟรี ออกกำลังกายฟรีก็มีเต็มไปหมด จักรยานเลียนแบบจากจีนแป๊บเดียวก็ทำออกมาอีกเพียบ

ผลประกอบการดีชั่วคราว ราคาขึ้น เราก็เข้าใจไปเองว่าผู้บริหารเทพ ทั้งๆ ที่เอาจริงๆ แล้วเราไม่ได้เข้าใจกิจการมันเลยแม้แต่น้อย
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 35

โพสต์

แต่ทั้งหมดนี้ที่เขียนมาทั้งหมด ผมก็ได้ผลตอบแทนแค่ต่ำเตี้ยติดดิน สู้เพื่อนๆ นักลงทุนที่ลงทุนในไทยคนอื่นๆ ไม่ได้หรอกนะครับ แถมทั้งหมดที่เขียนบางอย่างก็ทำได้ บางอย่างก็ทำไม่ได้ บางอย่างก็อยู่ในระหว่างการทดสอบและพัฒนา

ถ้าวัดผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์และตัวเงิน ผมคิดว่าผมแพ้เพื่อนๆ นักลงทุนไทย ถ้าวัดที่ชื่อเสียงที่ได้รับ ผมก็คิดว่าผมแพ้เพื่อนๆ นักลงทุนไทย ถ้าวัดกันที่ความสุขจากเงิน ข้าวของ และชื่อเสียง ผมก็คิดว่าผมแพ้เพื่อนๆ นักลงทุนไทย

ถ้าคิดที่จะลงทุนต่างประเทศ คำถาม คือ เราสามารถเป็นผู้แพ้ที่มีความสุขได้ไหม

สำหรับผมแล้ว พอดี ความสุขที่ได้จากการลงทุนในกิจการที่ผมชอบ กับผู้บริหารที่ผมเชื่อ มันแค่ไม่มีอยู่ในประเทศไทย เพราะ ถ้ามันมีในประเทศไทย ผมคงไม่ต้องเสียเวลาไปกับการลงทุนต่างประเทศ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4562
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 36

โพสต์

picatos เขียน:
จันทร์ ก.พ. 14, 2022 6:50 am
แต่ทั้งหมดนี้ที่เขียนมาทั้งหมด ผมก็ได้ผลตอบแทนแค่ต่ำเตี้ยติดดิน สู้เพื่อนๆ นักลงทุนที่ลงทุนในไทยคนอื่นๆ ไม่ได้หรอกนะครับ แถมทั้งหมดที่เขียนบางอย่างก็ทำได้ บางอย่างก็ทำไม่ได้ บางอย่างก็อยู่ในระหว่างการทดสอบและพัฒนา

ถ้าวัดผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์และตัวเงิน ผมคิดว่าผมแพ้เพื่อนๆ นักลงทุนไทย ถ้าวัดที่ชื่อเสียงที่ได้รับ ผมก็คิดว่าผมแพ้เพื่อนๆ นักลงทุนไทย ถ้าวัดกันที่ความสุขจากเงิน ข้าวของ และชื่อเสียง ผมก็คิดว่าผมแพ้เพื่อนๆ นักลงทุนไทย

ถ้าคิดที่จะลงทุนต่างประเทศ คำถาม คือ เราสามารถเป็นผู้แพ้ที่มีความสุขได้ไหม

สำหรับผมแล้ว พอดี ความสุขที่ได้จากการลงทุนในกิจการที่ผมชอบ กับผู้บริหารที่ผมเชื่อ มันแค่ไม่มีอยู่ในประเทศไทย เพราะ ถ้ามันมีในประเทศไทย ผมคงไม่ต้องเสียเวลาไปกับการลงทุนต่างประเทศ

ขอบคุณอาจารย์ตี่ สำหรับ คำตอบทุกข้อ ที่ ตั้งใจกลั่นกรอง เป็นประสบการณ์และความรู้ที่ดีมากๆครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 37

โพสต์

เงิน หรือ ทรัพย์สมบัติ
หัวโขน หรือ ชื่อเสียง
บางทีมันก็ทำตัวคล้ายๆ Google Map

จู่ๆ มันก็บอกให้เราเลี้ยวซ้าย
เลี้ยวขวา
เอ้า... เลยแล้ว ไปกลับรถข้างหน้า

เผลอหน่อย
มันก็บอกว่าเราถึงเป้าหมายแล้ว

พอมองออกไปรอบๆ
มันใช่เป้าหมายของเราจริงๆ หรือเปล่า ?

เมื่อหลายๆ ปีก่อน :mrgreen:
ตอนเรียนหนังสือจบเริ่มต้นหางานใหม่ๆ

มีคนเล่าว่า ถ้าถูกเรียกให้ไปทำงานสองที่
จะเลือกไปทำงานที่ไหน

ผมสงสัย นั่นสิ ผมควรจะเลือกไปทำงานที่ไหน

เขาตอบว่า ที่ไหนให้ตังค์เยอะกว่า
ก็เลือกไปทำงานที่นั่นนะแหละ

แฮ่ม... มาฝากเนื้อฝากตัวครับ
หลังจากแอบอ่านหุ้นต่างประเทศมานาน
ช่วงนี้เริ่มเอา Annual Report
บริษัทต่างประเทศมาอ่านบ้าง
หลังจากไม่เคยสนใจเลย

ใช้ Google Translate แปลบ่อยมาก
เพราะภาษาปะกิดไม่แข็งแรง
แต่ก็สนุกดี

แวะมาขอบคุณทุกท่านครับ :)
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <⁠(⁠ ̄⁠︶⁠ ̄⁠)⁠> ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 38

โพสต์

อันที่จริงผมว่าการที่หุ้นไทยเราได้คุยกับผบห.นี่คุ้มค่ามาก ๆ เลยนะครับ

แค่เดินทางไป AGM หรือ Oppday ก็คุยได้แล้ว เราได้ฟังไอเดียคนทำธุรกิจจริง ๆ

เอามาประยุกต์ใช้กับชีวิตได้อีก

ยังเสียดายไปลงทุนต่างประเทศคุยไม่ได้ ติดที่เราอยู่ไกล และภาษาเราก็ไม่ดี

แต่การคุยกับผบห.ส่วนมากจะเป็น bias นะครับ เพราะธุรกิจมันวัดที่รายละเอียดอื่น ๆ ที่เยอะกว่ามาก

และภาพไกล ๆ นั้น ผบห.บางครั้งก็มองไม่ออกเหมือนเรานี่แหละครับ เผลอ ๆ นักลงทุนนี่แหละที่มองภาพกว้างกว่า มองออกก่อนเสียอีก
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
Holmes
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 39

โพสต์

อยากสอบถาม อ.ตี่ ช่วยชี้แนะ conference call ไหนที่ฟังแล้วน้ำตาซึมบ้างครับ อยากฟังบ้างครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 40

โพสต์

พึ่งได้รับทราบว่าสิ่งผมโพสต์พาดพิงถึงหมอเค ได้ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นกับหมอเค

ผมไม่มีเจตนาที่จะทำอะไรไม่ดีกับหมอเค

ผมเสียใจกับข้อความของผม

ผมขอโทษด้วยนะครับ

ขอบคุณสำหรับพี่ที่มาสะกิดเตือน และขอบคุณสำหรับ feedback จาก หมอเค ที่ทำให้รู้ว่าผมเป็นคนที่มีปัญหาขนาดไหน

ผมจะพยายามทำตัวให้ดีขึ้น ไม่ไปทำสิ่งแย่ๆ แบบนี้กับคนอื่นอีก
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?

โพสต์ที่ 41

โพสต์

picatos เขียน:
จันทร์ ก.พ. 14, 2022 6:13 am
เราต้องอ่านพวก Mentality ของคนพวกนี้มากกว่า เพราะ เหมาะสมไหมกับ Business Life Cycle และสภาพการแข่งขัน
ต้องฝึกนานไหมครับ จนกว่าจะอ่านได้