Value investing และการ disruption

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สวัสดีครับ นี่เป็น post ใหม่ ถ้าผม post ผิดที่ ขออภัยครับ แต่ถ้ามีบางอย่างที่ผมให้ข้อมูลไม่ตรง ช่วย post แก้ด้วยครับ ส่วนถ้าใครไม่เห็นด้วยก็ช่วย reply แบบ meaningful discussion and disagreement (วิธีของ Ray Dalio) ผมจะได้มองกว้างขึ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------

ในช่วงที่ผ่านมา ผมได้ลองอ่านหนังสือหลายๆ เล่มที่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น One Up on Wall Street, Intelligent Investor, Manias Panics and Crashes: A History of Financial Crises, Principles (Ray Dalio), Beating The Street, etc. โดยส่วนใหญ่จะพูดถึงการลงทุนในพื้นฐานของหุ้นต่างๆ ในราคาที่เหมาะสม (P/E อาจถูกหรือแพงก็ได้ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและสถานการณ์) ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นในอดีต ผมเห็นด้วยกับการลงทุนแบบ value and fundamental เพราะมันเป็นการลงทุนโดยใช้เหตุผลและข้อมูลเพื่อป้องกันความเสี่ยง

ณ ตอนนี้โลกการลงทุนได้เปลี่ยนไปมาก โดยมี start-up เกิดขึ้นมากมายซึ่งบางที่มีการระดมทุนเป็น IPO ทั้งๆที่ยังขาดทุนอยู่ ในความเห็นของผม ผมคิดว่า start-up พวกนี้ต้องมีส่วนแบ่งตลาดมากๆ ถึงจะทำกำไรได้เช่น Facebook, Google, Tesla, Netflix, Amazon, etc. และต้องมีการแย่งลูกค้าจากอุตสาหกรรมเก่าโดยการ disrupt บริษัท growth พวกนี้ (Tesla, Netflix, Xiaomi) จะค่อนข้างแพงและผันผวนสูงและไม่สามารถนำ value investing มาใช้ได้บางที่ก็แพงมากจนผมก็ไม่รู้ว่ามันอยู่ประมาณไหน ส่วนกำไรของบริษัทที่โดน disrupt ก็จะค่อยๆ หายไปจนขาดทุน ราคาหุ้นก็จะลดลงเรื่อยๆ เพราะพื้นฐานแย่ลง เวลาผมร่อนตะแกลงหาหุ้น ก็ต้องใส่ความเสี่ยงจาก disruption เพิ่มเข้าไป (เช่นโดนจีนตีตลาด เพราะจีนมี manufacturing lineที่ทันสมัยกว่า ทำให้ค่าการผลิตถูกลง) ทำให้ยิ่งหายาก ส่วนบริษัทที่ยังมีกำไรอยู่ที่มีพื้นฐานดีก็โดนนักลงทุนคนอื่นจับจองกันหมด จนราคาสูงมาก (i.e. บวกค่า premium) ทำให้บริษัทที่มีลักษณะแบบนี้ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่ มันเหมือนทรัพยากรณ์ที่มีจำกัดแต่ถูกคนจำนวนมากแย่งกันใช้ ทำให้มันแพงแล้ว ยังมีแพงกว่านี้ นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผมคิดว่า value investing กำลังจะถูก disrupt

ผมลองอ่าน article ต่างๆ ก็ได้สาเหตุประการหนึ่งว่า FED มีการลดดอกเบี้ยและมีการทำ stimulus (พูดง่ายๆ ว่าพิมพ์เงินมาแจก) ทำให้เงินไหลเข้าตลาดหุ้น (โดยส่วนใหญ่) เป็นที่แรก ทำให้หลายบริษัทราคาแพงมาก (ราคาไม่เหมาะสมกับพื้นฐานและสถานการณ์) ผมเชื่อว่าถ้า FED ทำอย่างนี้ต่อ ก็อาจจะทำให้ value investing ถูก disrupt ได้ เรื่องถัดมาที่ผมคิดถึงคือฟองสบู่ ผมก็ศึกษาดู article ต่างๆเกี่ยวกับฟองสบู่ แต่มันกลับสร้างความสับสน เนื่องจากมีหลาย article ที่มีการใช้เหตุผลที่ sound แต่พอนำไปเปรียบกับอีกที่ก็ดัน conflict กันอีก ยกตัวอย่างเช่น (สรุปคร่าวๆนะครับ) มีที่หนึ่งบอกว่า Tesla valuation แพงมาก โดยการเพิ่มขึ้นของหุ้นมันมากเกินไปของการเพิ่มขึ้นของกำไร แต่อีกที่หนึ่งบอกว่า Tesla ยังแพงกว่านี้ได้อีกเพราะว่า ยังไม่ได้ขยายตลาดไปบางที่ และรวมถึงมีข้อมูลการจราจรและถนนครอบคลุมหลายที่ทั่วโลกที่ processed โดย AI

ตอนนี้ผมก็สับสนไปหมดว่าจะเลือกลงทุนแบบไหนกันแน่ ไม่ว่าจะเป็น value, growth, หรือ speculation อยากให้ทุกคนลองแสดงความคิดเห็นกับเรื่องนี้ครับ

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เท่าที่อ่านๆ ดู เหมือนยังงงๆ กับหลักปรัชญาการลงทุนอยู่ value investing ถึงสามารถถูก disrupt ได้ ทั้งๆ ที่มันไม่มีตัวมีตนให้ถูก disrupt ลองเรียน class นี้ดูครับ น่าจะช่วยให้สามารถค้นหาหลักการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองได้

phpBB [video]

http://pages.stern.nyu.edu/~adamodar/Ne ... nvphil.htm

แต่ถ้าให้ตอบอย่างย่อ คือ ถ้าคุณเข้าใจกิจการจริงๆ คุณมีความรู้ที่เหมาะสม คุณจะสามารถทำการประเมินมูลค่าหุ้นที่คุณเชื่อมั่นได้ มูลค่าที่ประเมินได้ ถ้ามีส่วนลดจากราคาตลาดในระดับที่มี MOS คุณก็สามารถลงทุนได้ โดยเรียกมันว่า value investing

เพียงแต่ว่า กิจการในยุคนี้ที่เป็น start up ที่ขาดทุนอยู่ คุณต้องลงแรงหา intrinsic value ด้วย DCF และถ้ามันมีความไม่แน่นอนสูง คุณอาจต้องทำ Monte Carlo simulation และถ้ามีโอกาสเจ๊ง คุณต้องใส่ truncate risk probability เข้าไปด้วย
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ตอนผมจำความได้
พ่อแม่สอนว่า
การเป็นคน
ต้องทำตัวยังไง

เต่า
ตอนมันเกิด
ผมก็ไม่รู้นะ
ว่าตัวมันรู้หรือเปล่า
ว่าตัวมันเป็นเต่า
เพราะมันไม่น่าจะมีพ่อแม่มาคอยบอก

ตัวผมเอง
ความรู้น้อยนิด
การลงทุนก็อ่านมาไม่กี่เล่ม

แต่ผมรู้ตัว
ว่าแบบเล่มนั้นเล่มนี้
มันไม่ใช่ตัวผม

ผมก็แค่ไม่ได้เอาแนวคิดนั้นไปใช้
ทั้งๆ ที่
เป็นแนวคิดที่ผมเห็นคนอื่น
เอาไปใช้จนประสบความสำเร็จตั้งมากมาย
และสามารถติดตามได้
จากยูทูป
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <⁠(⁠ ̄⁠︶⁠ ̄⁠)⁠> ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
odin
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 112
ผู้ติดตาม: 0

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถ้าอ่านปีเตอร์ ลินช์มา คงจะพอแยกออกใช่ไหมครับ ว่าหุ้นมีหลายประเภท

หลักการนี้ยังใช้ได้อยู่ในปัจจุบันนะครับ ซึ่ง หุ้นบริษัท Start up ก็คือหุ้นโตเร็วประเภทหนึ่ง ที่ไปกินมาร์เก็ตแชร์คนอื่น และเมื่อโลกไร้พรมแดนมากขึ้นบริษัทเหล่านี้ก็เข้ามาแข่งได้โดยง่าย เช่น เฟสบุ๊ค กูเกิ้ล แอบเปิ้ล แกร๊บ ซึ่งสมัยก่อนนั้น จะมีธุรกิจของต่างชาติ แค่ไม่กี่บริษัทที่ทำได้ เช่น โค้ก , เคเอฟซี , แม็คโดนัลด์ และอื่นๆ

เพียงแต่เราจะได้รับข่าวสารไวกว่าสมัยก่อนมากๆ จึงทำให้เราได้ยินได้เห็น หุ้นที่เป็นกระแสร้อนแรงในปัจจุบัน อย่าง เทสล่า อามาซอน ที่ตลาดทั้งโลกให้คุณค่าว่าเป็นหุ้นโตเร็ว ซึ่งเอาจริงๆแล้ว หุ้นCPALL ในสมัยก่อน ก็ถูกมองว่าแพงมากเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นในขณะนั้น ใช้หลักการประเมินมูลค่าคล้ายๆกัน

กลับมาที่หลักการ จริงๆ การลงทุนนั้นเราไม่ได้ถูกบังคับให้เลือกหุ้นโตเร็วที่เป็นกระแสโลกเท่านั้น ปีเตอร์ ลินช์ ยังชอบธุรกิจที่โตแบบเงียบๆ คืออุตสาหกรรมไม่ค่อยโต แต่ตัวบริษัทดันไปกินมาร์เก็ตแชร์ ในอุตสาหกรรมนั้น ซึ่ง ถ้าเราลองหาดู ในตลาดหุ้นของไทยก็น่าจะยังพอมี หรือ ตลาดหุ้นของประเทศที่เป็น Emerging Market ก็ยังพอมี

นอกจากหุ้นโตเร็วแล้ว ปีเตอร์ ลินช์ ยังบอกด้วยว่า ยังมีหุ้นอีกหลายประเภท เช่น Asset play , Turnaround และ เราสามารถลงทุน10เด้ง จากหุ้นประเภท Turnaround และ Cyclical (แต่คงต้องใช้ความชำนาญ)

ฉะนั้น ต้องเข้าใจกันก่อน ว่าแนวทางVIจะถูกdisrupt? เราแค่ทำความเข้าใจในหลักการ และถ้าสื่อภายนอกมันทำให้สับสน ก็ลองปิดๆลงบ้าง ราคาหุ้นมันทำให้สับสน ก็ปิดจอหุ้น

แต่ต้องยอมรับว่า ปัจจุบัน หาหุ้นลงทุนแบบสมัยก่อนนั้น ไม่ง่าย และทำใจลำบากมากกว่าเดิม
“Compound interest is the eighth wonder of the world. He who understands it, earn it ; he who doesn’t, pays it.”
A33410

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 5

โพสต์

การประเมิณมูลค่าหุ้น มีหลายวิธีครับ ต้องเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับหุ้นตัวนั้นๆครับ เช่น DCF อาจจะเหมาะกับการประเมิณหุ้น tech มากกว่า เพราะเป็นช่วงบริษัทพยายามสร้างการเติบโตรายได้ ก่อนการทำกำไร DCF เป็นการคำนึงถึงอนาคตที่ออกไปยาวๆ มากกว่า การประเมิณความถูกหรือแพง โดยใช้อดีตปีเดียวอย่าง p/e เป็นต้น

ก่อนหน้าที่เราจะประเมิณมูลค่าได้ ต้องมี inputs มากมาย ไม่ว่าจะ ต้องดูเรื่องความสามารถในการแข่งขัน เทียบกับคู่แข่ง ดูขนาดตลาด ดูปัจจัยเรื่องการเติบโต จะขยายตลาด ลูกค้า ผู้ใช้งานอย่างไร อื่นๆอีกมากมาย อย่าง asset ในบริษัทที่ tangible intangible คืออะไร มูลค่าเท่าไหร่ อีกมากมาย

สุดท้าย เมื่อเรามูลค่าที่เราประเมิณออกมา ต่ำกว่า มูลค่าที่ซื้อขายกันในตลาด และเราลงทุนโดยยึดหลักตามนั้น ผมว่าเราก็ยึดตามหลักการ value investing แล้วนะครับ

โดยรวมๆคือ เป็นการให้นักลงทุนในตลาดหุ้น มองหุ้น เป็นบริษัท ที่มีสินค้าบริการจริงๆ ไม่ได้เป็นเพียง ticker หุ้น ที่ขึ้นๆลงๆ เพียงอย่างเดียว

เข้าใจว่า วิชา value investing ตอนถือกำเนิดขึ้นใหม่ๆ ตอนนั้น ผู้เล่นในตลาด ไม่ได้มองพื้นฐานของกิจการ ดูกันแค่ราคาขึ้นลง เป็นหลักมากกว่า ครับ ผมมองว่าหลักการนี้ คนคงไม่เลิกใช้ไปง่ายๆ ยังไงก็ต้องมองพื้นฐานกันอยู่ อยู่ดีนะครับ
A33410

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอเสริมนิดหน่อยนะครับ

ผมมองว่า ตลาดหุ้นมีความแปลกประหลาดอยู่อย่างหนึ่งนะครับ คือผู้คนสามารถบอกได้ทันทีอย่างรวดเร็วว่า หุ้นตัวนี้แพงไป เหมือนชำเลืองด้วยหางตาก็ตัดสินใจได้แล้ว

แต่หากเราไล่ถามคำถามเค้าต่อไปว่า แล้วราคาที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไหร่ วิธีการประเมิณมูลค่าใช้วิธีอะไร เหตุใดใช้วิธีนั้น สมมติฐานต่างๆที่เป็นที่มาของตัวเลขต่างๆ เช่น growth rate เท่าไหร่ มีปัจจัยอะไรที่เป็นแปร ต่อ ยอดขายและต้นทุนบ้าง ผมเชื่อว่าจะมีน้อยที่คนจะตอบคำถามได้

ดังนั้นหากมีคนมาพูดว่า ตัวนี้ตัวนั้นไม่น่าสนใจหรอกมัน มันแพงเกินไปแล้ว สิ่งแรกที่เราควรสงสัยไว้ก่อนคือ คนๆนั้นเค้าได้ศึกษา ติดตาม เข้าใจธุรกิจ การแข่งขัน แล้วทำประเมิณมูลค่าออกมาจริงๆหรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งที่เค้าคิดขึ้นมาลอยๆ ซึ่งเราไม่ควรให้ความสำคัญอะไรต่อความเห็นเหล่านี้

จริงในหลายๆครั้งเราก็อาจจะเป็นคนๆนั้นเองก็ได้ มีกี่ครั้งที่เราใช้ความรู้สึก หรือ ดูตัวเลขเพียงไม่กี่ตัว แล้วรีบตัดสินใจ ออกไปว่าถูกหรือแพง

แล้ววันนี้ เรามีหุ้นกี่ตัว ที่เรา สามารถบอกได้จริงๆ ว่า มันถูกหรือแพง
ฝากคำถามนี้ไว้ด้วยนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 7

โพสต์

A33410 เขียน:
เสาร์ ก.พ. 13, 2021 8:24 am
ขอเสริมนิดหน่อยนะครับผมมองว่า ตลาดหุ้นมีความแปลกประหลาดอยู่อย่างหนึ่งนะครับ คือผู้คนสามารถบอกได้ทันทีอย่างรวดเร็วว่า หุ้นตัวนี้แพงไป เหมือนชำเลืองด้วยหางตาก็ตัดสินใจได้แล้ว แต่หากเราไล่ถามคำถามเค้าต่อไปว่า แล้วราคาที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไหร่ วิธีการประเมิณมูลค่าใช้วิธีอะไร เหตุใดใช้วิธีนั้น สมมติฐานต่างๆที่เป็นที่มาของตัวเลขต่างๆ เช่น growth rate เท่าไหร่ มีปัจจัยอะไรที่เป็นแปร ต่อ ยอดขายและต้นทุนบ้าง ผมเชื่อว่าจะมีน้อยที่คนจะตอบคำถามได้ ดังนั้นหากมีคนมาพูดว่า ตัวนี้ตัวนั้นไม่น่าสนใจหรอกมัน มันแพงเกินไปแล้ว สิ่งแรกที่เราควรสงสัยไว้ก่อนคือ คนๆนั้นเค้าได้ศึกษา ติดตาม เข้าใจธุรกิจ การแข่งขัน แล้วทำประเมิณมูลค่าออกมาจริงๆหรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งที่เค้าคิดขึ้นมาลอยๆ ซึ่งเราไม่ควรให้ความสำคัญอะไรต่อความเห็นเหล่านี้จริงในหลายๆครั้งเราก็อาจจะเป็นคนๆนั้นเองก็ได้ มีกี่ครั้งที่เราใช้ความรู้สึก หรือ ดูตัวเลขเพียงไม่กี่ตัว แล้วรีบตัดสินใจ ออกไปว่าถูกหรือแพงแล้ววันนี้ เรามีหุ้นกี่ตัว ที่เรา สามารถบอกได้จริงๆ ว่า มันถูกหรือแพงฝากคำถามนี้ไว้ด้วยนะครับ
สมัยก่อนผมไม่ค่อยเชื่อว่าตลาดมีประสิทธิภาพ ยิ่งตอนแรกๆ ที่ลงทุนแรกๆ ในไทย ในช่วงปี 2003 เพราะ เรารู้สึกว่าเราเข้าใจพื้นฐานคนไทย ได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดไทย ในการลงทุนช่วงนั้น ผมคิดว่าการลงแรง เข้าไปแกะ ไปศึกษา จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการลงทุน และถูกเปลี่ยนมาเป็นผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติเหนือตลาดได้

เวลาผ่านไป พอได้ไปลงทุนต่างประเทศ แรกๆ ในช่วงปี 2012-2013 เราก็ไปด้วยความคิดเห็นแบบนี้ คิดว่าถ้าเราลงทุนในกิจการที่เราอิน และ เข้าใจจริงๆ เราจะมีข้อได้เปรียบแบบนี้อยู่

ผลลัพธ์กลับไม่เหมือนกัน ตลาดที่ US เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าตลาดไทยมาก เท่าที่ผมสัมผัสมา ถ้าเป็นหุ้น big cap ที่คนลงทุนกันเยอะๆ ถ้ามันไม่ใช่จุดเปลี่ยนของกิจการ ที่มี uncertainty สูงๆ จริงๆ มันเป็นเรื่องยากพอสมควร ที่คุณจะชนะตลาดได้มากๆ แบบในไทย บางปีคุณอาจจะชนะบ้าง บางปีคุณอาจจะแพ้บ้าง แต่โดยรวมๆ การที่จะชนะได้อย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย

ผมชอบที่อ. Aswath สอนว่า ถ้าคุณจะทำ valuation คุณควรที่จะกระโดดลงไปทำในพื้นที่ๆ มี uncertainty สูงๆ เพราะ payoff ที่เกิดขึ้นตรงนั้น เป็นที่ๆ มีโอกาสเกิดได้มากที่สุด มันเป็นพื้นที่ๆ อาจารย์ถึงกับเขียนหนังสือที่เรียกว่า dark side of valuation เพื่อมาให้คำแนะนำว่า เราจะหาโอกาสจากพื้นที่ตรงนี้อย่างไร

โดยส่วนตัวผมไม่ได้ใช้วิธีแบบที่นักลงทุนโดยส่วนใหญ่ที่เห็นในช่วงนี้ใช้ ที่เลือกที่จะกระจายเงินเดิมพันของตัวเองออกเป็นก้อนเล็กๆ รู้กว้างๆ มีส่วนร่วมหมด แต่ไม่มีความรู้มากเพียงพอว่าจริงๆ แล้ว มูลค่าของกิจการนี้ ที่ตัวเองเชื่อจริงๆ มันอยู่ที่เท่าไร

ผมยังคงเชื่อ และคิดว่ากิจการที่เราควรลงทุน ควรเป็นกิจการที่เราอินกับมัน อยากที่จะศึกษามัน รู้จักมัน จนสามารถประเมินมูลค่าออกมา แบบที่เราไม่หวั่นไหว เวลาตลาดหุ้นถูกเทขายหนักๆ ผมเชื่อว่าที่ตรงนั้นจะเป็นพื้นที่ๆ เรามีความได้เปรียบ และอาจจะได้ผลตอบแทนที่ดีได้

ผมเน้นเลือกกิจการที่เรามี passion และจมดิ่งลึกลงไปในสิ่งนั้นมากกว่าที่จะรู้อะไรกว้างๆ ผมอยากที่จะรู้ว่า ภายใต้ความไม่แน่นอน story ของหุ้นใน scenario ต่างๆ จะมีมูลค่าเท่าไรบ้าง แล้วเลือกจัดสัดส่วนการลงทุนตามหน้าไพ่ ตามความน่าจะเป็นของ risk/reward ที่ออกมาตามนั้น

พอร์ตของผม ผมเลือกที่จะมีหุ้นแข็งแรง ผสมกับกองทุน ผสมกับหุ้นตีแตก เพื่อที่ว่าเราจะได้ balance ความเสี่ยง การแบ่งงานและหน้าที่ในการติดตาม ไม่ให้มีภาระในชีวิตมากเกินไป ไม่ใช่มีแต่หุ้นยากๆ ไซส์เล็กๆ ที่มี correlation สูงๆ ทั้งพอร์ต ซึ่งยากในการบริหารจัดการ

ผมคิดว่านอกจากผมควรที่จะรู้ลึกจนรู้ว่าหุ้นถูกหรือแพง การบริหารหน้าตัก บริการความเสี่ยง ตลอดจนบริหารอารมณ์ ก็เป็นเรื่องที่ผมอยากศึกษาเพิ่มเติมมากๆ ผมคิดว่าหลังจากศึกษาเรื่องการประเมินมูลค่าหุ้นจบ ผมคงจะไปศึกษาเรื่องการบริหารความน่าจะเป็น และการตัดสินใจในการจัดสรรหน้าตักเพิ่ม ซึ่งถ้าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ พอจะแนะนำได้ว่าผมควรที่จะอ่านอะไร ไปเรียนกับใคร ผมก็รบกวนขอคำแนะนำด้วยนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
PUMMANU
Verified User
โพสต์: 30
ผู้ติดตาม: 0

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เห็นด้วยกับความคิดเห็นข้างบนครับ มูลค่าหุ้นเท่าไหร่สุดท้ายต้องมาดูพื้นฐานกิจการ ความสามารถในการทำกำไร และการเติบโต

และแต่ละกิจการมีตัวเลขบางตัวที่มีผลต่อการดำเนินงานกิจการ และตัวเลขบางตัวอาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงแต่มีผลต่อมูลค่าของกิจการ บางคนมองเห็นมูลค่าส่วนนี้แล้วเปลี่ยนออกมาเป็นตัวเลขที่ถูกกว่าราคาหุ้นก็เป็นหุ้นถูกเหมือนกัน

อย่างปีเตอร์ ลินซ์ ซื้อหุ้นบางตัวเพราะมีเงินสดเยอะ ซื้อกิจการที่มีสินทรัพย์มากเพราะบริษัทกำลังจะปลดล็อกสินทรัพย์นั้น ไม่ใช่ซื้อเพราะมีสินทรัพย์มากแต่บริษัทไม่ได้ใช้สินทรัพย์นั่นเลย

ซื้อหุ้นที่มีผู้บริหารซื้อ ทั้งที่ผ่านมา 5 ปีไม่เคยซื้อเลย

อะไรทำนองนี้ก็เป็นมูลค่าแฝงที่ทำให้ราคาหุ้นนั้นต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นได้เหมือนกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
odin
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 112
ผู้ติดตาม: 0

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 9

โพสต์

การลงทุนผมเชื่อว่าเป็นศิลปะการต่อสู้อย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนจะมีวิชาความสามารถแตกต่างกันไปตามแต่เราจะยึดเหนี่ยว ซึ่งแต่ละคนจะมีแบบอย่างที่เราชื่นชอบ ชื่นชม เคารพนับถือหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่เราอยากใช้วิชาของคนคนนั้นมาใช้กับเรื่องราวของเราในปัจจุบัน

ซึ่งจะเรียกว่าอาจารย์ก็ได้ หรือจะอ่านจากหนังสือมาก็ได้ ทุกๆวิชาความรู้ เราจะนำมารวมกันเป็นความสามารถของเรา เพียงแต่นี่ไม่ใช่วิชาต่อสู้ทางร่างกาย แต่มันคือสมองและจิตใจ ที่รวมเอาความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมาตลอดชีวิตเข้าด้วยกันอย่างแยกไม่ออก โดยคำที่ปู่ชาร์ลี มังเกอร์ใช้เรียก คือ ตัวแบบทางจิตใจ

ผมคิดว่า ศาสตร์การลงทุน มันกว้างมาก แคบลงมาหน่อยก็คือ VI ก็ยังมีความหลากหลาย เราไม่สามารถใช้ทักษะความรู้แบบเดียวในการลงทุน ดังนั้น ผมคิดว่าการถูกDisrupt มันคงไม่ได้ง่าย เพราะ VI ก็มีทางเลือกในการลงทุนมากมาย ไม่ได้ถูกบังคับให้ลงทุนในหุ้นโตเร็วเพียงอย่างเดียว

:idea:
“Compound interest is the eighth wonder of the world. He who understands it, earn it ; he who doesn’t, pays it.”
drsp
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 1

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 10

โพสต์

หลักการของ value investing คือ

คุณใช้ความพยายามหามูลค่า (value) ของหุ้นเทียบกับราคาตลาด (price)

ถ้าpriceตํ่ากว่าvalueมากจนมี margin of safety คุณก็ซื้อ

ถ้าpriceเกินvalueมากคุณก็ขาย



หุ้น start up ที่กิจการยังขาดทุน และคุณก็ไม่แน่ใจว่าจะกําไรเมื่อไหร่

หรือหุ้นเทคโยโลยีที่ราคาไปไกลแล้วและคุณไม่รู้ว่า growth จะมาทันราคได้อย่างไร

แสดงว่าคุณไม่สมารถหา value ของมันได้

ตามหลักการก็ไม่ควรไปยุ่งกับมัน

ผมเล่นหุ้นมาสิบกว่าปี ผมก็ยังประเมินราคาหุ้นพวกนี้ไม่ได้

บนโต๊ Buffett มีตะกร้าใส่แฟ้มที่เขียนว่า too hard

วีไอทุกคนก็ควรมีตะกร้าแบบนี้ของตัวเอง



ตลาดหุ้นไทยยังมีหุ้นที่ทํากําไรสมํ่าเสมอ จ่ายปันผลดีอีกจํานวนมากมาย

ซึ่งสามารถใช้หลักการวีไอประเมินราคาได้ไม่ยากเกินไป

โดยเฉพาะช่วงนี้มีหุ้นดีๆที่ราคาตกเพราะโควิดมากมาย

ทั้งโรงแรมสายการบินโรงพยาบาลฯลฯ

ผมว่ามีโอกาสอยู่ไม่น้อย ถ้าคุณมีทักษะในการประเมินราคาและขยันหาข้อมูล

ผมเชื่อว่าจะได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจในความเสี่ยงที่ยอมรับได้



ทักษะการประเมินราคาหุ้นเป็นสิ่งที่ต้องทุมเทและฝึกฝนยาวนาน

เซียนวีไอหลายท่านที่ไปลุยหุ้นต่างประเทศ

ล้วนลงทุนหุ้นไทยประสพความสําเร็จมาอย่างยาวนาน

จนบางท่านมองว่าตลาดหุ้นไทยโอกาสน้อยและไม่ท้าทายพอ

แต่ถ้าทักษะเรายังไม่สูงขนาดนั้น

แล้วพยายามไปลงทุนหุ้นที่ตัวเองประเมินราคาอย่างมั่นใจไม่ได้

ก็เหมือนกับออกจาก circle of competence ของตัวเอง

ระดับBuffettยังไม่กล้าทํา

ออกจากวงกลมนี้แล้วก็มีแต่โชคที่ช่วยคุณได้
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ผมอยากแวะมาบอกว่าผมได้เรียนจบแล้ว ใช้เวลาสามเดือนเศษ เป็น course ที่ทำให้มองการลงทุนได้กว้างขึ้นมาก แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้นี้หากต้องการจะให้ซึมซับและเพิ่มความเข้าใจ มันจะต้องถูกนำไปใช้และ apply ต่อในเวลาต่อมา ผมมองว่าการมีความรู้จะเพิ่มโอกาสการลงทุนได้มากขึ้นจากโชคที่มีอยู่
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 12

โพสต์

Will it ever worked?

I adopted Value Investing as my method of making money a few years ago, buying cheap good stocks at bargain price. I started from the usual low P/E low P/BV high %Yield strategies. Then "good" means a company with at least a thin moat (and well known) while generate satisfactory earning growth and having a healthy balance sheet.

Now, as I tried to find those stocks I ended up almost nothing on my shopping list. For example, I went to scan the several developed markets for such kind. Those stocks that passed my filter are like cyclical commodities stocks with temporary high profits and the other are in a position of decline (commonly known as sunset business) with extremely bad fundamentals and no moat at all. What a waste of time.

At this point, I start to believe that everything are priced in and the market is efficient in itself. I have made several observations,
  1. Thinking about stocks as limited resources while there are flux of new investors every year (especially in 2020-21) coming to find good stocks (and hold on for dear life) like me, and of course many of them are much advanced than myself such as using an advance algorithm, having much higher IQ/EQ, have exclusive access to several research papers, can perform scuttlebutt research perfectly etc. Eventually, there are those who get in first at lower valuation and start to fill up to a much higher valuation of such a stock, which may lead to a perfectly priced issue.
  2. There's also main players in the market which are institutions and they are armed with best of the best researchers/analysts with the most advanced algorithm (I imagine a computer listen over the Fed's chair Powell speak and using its AI algorithm based on trillions of data points to predict the interest rate sentiment or an algorithm that gets the financial result immediately after its released and funnelled through its DCF algorithm and revalue such a company present value within few seconds).
  3. We are no longer living in Graham and Doddsville or Peter Lynch era where there are boring companies at good priced. As Internet connects everything and everyone together, information reaches every investor very quickly when it is released and you can do most of your research at home without going over to the library/company like in the 70's or 80's.
  4. The use of DCF model: Although it did not accurately predict the future price but in my opinion, it reduces the chance of being wrong (I don't know by what magnitude, as it can be from 98% to 50% or just 98% to 97%!). The DCF model itself are widely used by several investors, its result shows present value which is an equivalent to intrinsic value in which I assumed that for a good stock like NVIDIA or Tesla, for instance, have no gap or the difference between average DCF values (made by their investors) and its actual price, as those who finds its PV lower than current price will keep buying.
  5. Other high-risk-high-return low valuation stocks are classified as gambling.
One example I can point out for these observations above is an industry with high return but no moat, those who get in early take large return and eventually new entrants appear, leading to intense price competition and thus shrinking margin. Imagine this situation happens with Value Investing.

What's your take?
Green
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2846
ผู้ติดตาม: 1

Re: Value investing และการ disruption

โพสต์ที่ 13

โพสต์

Peter1011 เขียน:
พุธ ก.ย. 07, 2022 7:08 pm
Will it ever worked?
....
...
..
.
What's your take?
เห็นด้วยว่า สมัยนี้
นักลงทุนขยันๆ เข้ามาตลาดมากขึ้น ทั้งรายย่อยที่เจาะลึก สถาบันที่มีเครื่องไม้เครื่องมือ มากขึ้น
ข้อมูลต่างๆ เข้าถึง และรับรู้ กันในตลาดกันได้รวดเร็วขึ้น

แต่มันคงไม่ได้ถึงขนาดว่าหลักการมันใช้ไม่ได้ไปเลย ทุกอย่างก็ต้องปรับตัว พัฒนา กันไปตามยุคสมัย

สมัยที่ ตลาดยังเต็มไปด้วยการเก็งกำไร คนเล่นหุ้นไม่ได้ ดูพื้นฐาน Graham ใช้ value investing สร้าง edge ของตัวเอง
สมัยที่ไม่มี อินเตอร์เนต คนยังไม่ได้ เจาะลึก รายละเอียดหุ้นมากนัก Philip fisher ใช้ วิธีขุดเจาะ รายละเอียด สร้างจุดต่าง
ฺBuffet & Murger เอาหลัก VI มาต่อยอด หา บริษัทที่ยอดเยี่ยม ที่เติบโตไปได้ อย่างยาวนาน สร้าง edge ของตัวเอง

ยิ่งตลาดข้อมูลถึงกันเร็วแบบนี้ มันมองได้อีกแง่ คือ แทนที่ ราคาต่างๆ มันจะ effectively priced-in ไป

การเข้าถึงข้อมูล ที่รวดเร็ว อาจจะ ช่วยโหม ให้ เกิดความโลภของ ฝูงชน อย่างรุนแรง หรือ ความกลัวอย่างรุนแรง แทนก็เป็นไปได้ มั้ยครับ

แทนที่หุ้น จะถูก priced-in ตามความจริง กลายเป็น บางช่วง สูงเกินไปมากๆ หรือ บางช่วงอาจจะ ต่ำกว่า พื้นฐานไปมากๆ ก็ได้
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.

Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
โพสต์โพสต์