ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 121

โพสต์

Peter1011 เขียน:
อังคาร ม.ค. 25, 2022 10:13 pm
ถ้าจำไม่ผิด ผมได้ยินคนที่บอร์ดนี้พูดว่าเคยซื้อ google ที่ P/E ประมาณ 10 ผมอยากรู้ว่าตอนนั้นบ.โดนอะไรมารึเปล่าครับ
ผมซื้อครับ กลางปี 2012 ที่ forward P/E ประมาณ 12 เท่าครับ ถ้าตัดเงินสดออก P/E ต่ำกว่า 10 ช่วงนั้นไม่มีอะไรมากครับ ตลาดยังซึมๆ หลัง subprime และการเติบโตลดลง ทั้งๆ ที่ พึ่งเปลี่ยน CEO และมี innovation เกิดขึ้นมากมายใน Google
เป็นหุ้นต่างประเทศตัวแรกที่ซื้อ และยังถืออย่างมีนัยสำคัญมาจนถึงทุกวันนี้

ในช่วงเดียวกันดูอีกตัวเอาไว้ คือ Netflix แต่ไม่ได้ซื้อ เพราะ ทำ valuation ไม่เป็น แล้วก็คิดว่า streaming วันหนึ่งน่าจะเกิดสงคราม streaming ปรากฎว่ากลัวเร็วไป 10 ปี และพึ่งจะมา valuation เป็นเมื่อปีที่แล้ว

ถ้าย้อนกลับไปองค์ความรู้เป็นแบบทุกวันนี้ คงซื้อ Netflix ด้วยอย่างแน่นอน ช่วงนี้เลยพยายามซื้อหุ้นแบบ Netflix ในวันนั้นอยู่ แทนที่จะซื้อ Google แบบในวันนี้

เพราะ ถ้าเทียบ P/S กันในวันนั้น Google 5 เท่า แต่ Netflix แค่ 1 เท่า ในวันนั้นพอดียังติดอยู่ในโลกของ P/E ยังไม่มีความเข้าใจว่า ธุรกิจ Tech จะเปลี่ยน S ให้กลายเป็น E ได้อย่างไร

ดังนั้นช่วงนี้ผมเลยพยายามแก้ไขความผิดพลาดในอดีตของตัวเอง ผมเชื่อว่าหุ้นที่ผมซื้อในวันนี้มีคุณภาพที่ดีกว่า Netflix ในวันนั้นมาก เพราะ Netflix ไม่ค่อยมี Network Effect แถม Impact ก็งั้นๆ แต่หุ้นในวันนี้มี Network Effect และ Impact ที่ดีกว่ามาก ผมเชื่อว่า Sales ที่เห็นในวันนี้จะสามารถเปลี่ยนเป็น Earning และ Impact ที่ดีในอนาคตได้อย่างแน่นอน

กิจการเล็กๆ ที่กำลังเปลี่ยนโลก pay-off สูงกว่า กิจการใหญ่ๆ ที่ดีๆ เยอะครับ บริษัทมี focus มากกว่า วิเคราะห์ง่ายกว่า impact ชัดเจนกว่า แถมราคาช่วงนี้ ก็น่ารักมาก xoxo
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 122

โพสต์

ภาพปลากรอบ ดูขำๆ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 123

โพสต์

คนที่มาลงทุนต่างประเทศปีที่แล้ว น่าจะเป็นปีที่แย่ที่สุด เพราะเข้าไปตอนเสียเปรียบสุด ๆ

ผมเห็นคนเลิก หรือ ถอดใจจำนวนมาก

ขอบันทึก draw down ปัจจุบันไว้หน่อย แต่ผมเชื่อว่าระยะเวลาที่ยาวพอจะออกดอกออกผลแน่นอน

หุ้นเวียดนามผมก็เคยท้อ แต่ก็ไม่ได้ถอย รอไปเรื่อย ๆ ผ่านไปสี่ปี สุดท้ายก็ออกดอกออกผล

หุ้นอเมริกาผมว่ายากกว่าอีก อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า แต่ก็ขอพยายามตามรอยอ.ตี่ไปนะครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 124

โพสต์

Linzhi เขียน:
พุธ ก.พ. 23, 2022 8:30 am
คนที่มาลงทุนต่างประเทศปีที่แล้ว น่าจะเป็นปีที่แย่ที่สุด เพราะเข้าไปตอนเสียเปรียบสุด ๆ

ผมเห็นคนเลิก หรือ ถอดใจจำนวนมาก

ขอบันทึก draw down ปัจจุบันไว้หน่อย แต่ผมเชื่อว่าระยะเวลาที่ยาวพอจะออกดอกออกผลแน่นอน

หุ้นเวียดนามผมก็เคยท้อ แต่ก็ไม่ได้ถอย รอไปเรื่อย ๆ ผ่านไปสี่ปี สุดท้ายก็ออกดอกออกผล

หุ้นอเมริกาผมว่ายากกว่าอีก อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า แต่ก็ขอพยายามตามรอยอ.ตี่ไปนะครับ
อย่ามาตามผมเลย เดี๋ยวได้ตายไปด้วยกัน

ไปตามพี่ wj หรือพี่โจดีกว่าครับ ดูแล้วปลอดภัยกว่าเยอะ VI ของจริง ของผมมันพันธุ์ทาง เป็นหมาวัด
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 125

โพสต์

ตามที่หลายๆท่านในนี้ได้พูดถึงความยากที่จะชนะตลาดหุ้นโดยรวมโดยเฉพาะที่ US ในขณะเดียวกันตลาด US นั้นโดยรวมทำผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีในระดับที่น่าพอใจในระยะยาวมากตั้งแต่ยุค 50 ผมเองก็พยายามที่จะเข้าไปซื้อ ETF หลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้ซื้อซักที

Prof. Damodaran เคยพูดในทำนองว่าตลาด US นั้นเป็น survivorship bias ด้วยเหตุผลที่เอาชนะตลาดอื่นๆอีกหลายๆที่ (อ.เค้าไม่ได้เจาะจงว่าเป็นที่ไหน) ซึ่งจะส่งผลต่อการประเมินมูลค่า... (จำไม่ได้ครับว่าอยู่ในบทไหน) ทำให้ผมสงสัยว่าอะไรที่ทำให้ที่นี่มีลักษณะที่เป็นผู้ชนะในระยะยาว

ปัจจัยสนับสนุน corporate earning เท่าที่พอรู้คือ
1. มีการแข่งขันสูงในทุก sector ทำให้หลายบ. มี R&D department คอยที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่
2. มีการเปิดเสรีทางการค้าในเกือบทุก sector
3. ประชาชนมีการใช้จ่ายสูง มี animal spirit อยากซื้ออะไรก็จ่ายแม้ว่าจะมีหนี้ตามมา (ใครช่วย confirm อีกทีครับ)
4. เป็นแหล่งรวม/หาโอกาสของคนเก่งๆ จากทั่วโลกเช่น Ivy League
5. indefinite optimistic attitude (Zero to One, p76-77)

ปัจจัยสนับสนุน index growth เท่าที่พอรู้คือ
1. US-centric books/investment articles ที่ได้รับความสนใจจากนลท. ต่างประเทศที่มากขึ้น
2. US dollar เป็นสกุลเงินที่ได้รับความน่าเชื่อถือมายาวนาน
3. Dividend Tax ที่แพงและส่งผลให้หลายที่เริ่มใช้ share buyback/reinvest ทำให้มี earning growth และราคาอาจปรับขึ้น

ความรู้ผมยังน้อยนิด ผมต้องการที่จะเปิดประเด็นในเรื่องพื้นฐานของ US เพื่อที่จะพูดคุยและปรับความเข้าใจก่อนที่ผมจะเข้าไปลงทุนใน ETF ต่างๆไม่ว่าจะเป็น S&P 500/Russell 3000/Dow 30 แม้ว่ามันเป็น ETF แต่เวลามันลงหนักๆจะได้หาที่เกาะให้แน่นโดยใช้เหตุผลพวกนี้ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 126

โพสต์

โดยส่วนตัวคิดว่าปัจจัยที่ทำให้ US แตกต่างจากประเทศอื่น มาจากวิธีการเกิดขึ้นของประเทศนี้ ที่เป็น land of opportunities ที่ให้คนอพยพเข้ามาอยู่ในช่วงตั้งประเทศ และมี free speech เป็นแก่นหลักของประเทศ

ถ้าที่แห่งนั้นเป็นที่ๆ คนที่ใส่ความพยายามอะไรลงไปแล้วสามารถออกดอกออกผลได้ มีค่านิยมที่ชื่นชมคนที่กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ มีตลาดการค้าและการเงินที่รองรับ และมีความสมเหตุสมผลที่สุดในโลกในเชิงเปรียบเทียบ ผมเชื่อว่าประเทศนั้นก็ยังเติบโตต่อไปได้อีกไกล

เท่าที่ศึกษาประเทศหลายๆ ประเทศ ผมรู้สึกว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่พิเศษจริงๆ ครับ

โดยส่วนตัวเชื่อว่า COVID ได้เปิดประตูแห่งโอกาสให้คนทั้งโลกได้มีโอกาสที่จะใส่ความพยายามและได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความพยายามทั้งการศึกษาและการทำงาน เป็นการ unlock ขีดความสามารถให้กับคนทั้งโลก ให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

ซึ่งโอกาสการที่เกิดขึ้น ในการระดมทุนนี้ ผมเชื่อว่าจะเป็นการระดมทุนผ่านทางตลาดทุนของสหรัฐฯ จึงทำให้ถึงแม้ว่าการเติบโตของธุรกิจในรอบนี้ที่ผมเชื่อว่าเป็นการเติบโตของคนตัวเล็กๆ ในประเทศเล็กๆ แต่บริษัทที่ทำ platform เหล่านี้ยังคงจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ และมีโอกาสสูงที่ index ของ US จะทำผลงานได้ดีในระยะยาว มากกว่าตลาดหุ้นของ local ในแต่ละประเทศ ที่มีแต่เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่

สุดท้าย ผมเชื่อว่าผลตอบแทนที่เกิดขึ้นมันจะเป็นไปตาม value creation ที่เกิดขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่า value creation สูงที่สุดที่เกิดขึ้นในยุคถัดไปมันจะเกิดจาก platform business model ที่มี network effect สูงๆ AI และ Metaverse ซึ่งเท่าที่ส่องดูทั้งโลกแล้ว สหรัฐฯ น่าจะเป็นผู้นำ เพราะ
1) ลักษณะธุรกิจเน้นไปที่ global network effect ซึ่งจีนทำได้แค่ local ของตัวเอง

2) AI research ที่ advance ที่สุดอยู่ที่สหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น open AI ของ MSFT หรือ deep mind ของ alphabet

3) Metaverse ของทางจีนไม่น่าจะรอด เพราะ แค่เด็กจะเล่นเกมส์ยังเล่นกันไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่เด็ก gen alpha นี่แหละจะเป็นคนสร้าง Metaverse ให้เกิดขึ้น
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 127

โพสต์

Peter1011 เขียน:
อาทิตย์ มี.ค. 06, 2022 5:20 pm
...
ความรู้ผมยังน้อยนิด ผมต้องการที่จะเปิดประเด็นในเรื่องพื้นฐานของ US เพื่อที่จะพูดคุยและปรับความเข้าใจก่อนที่ผมจะเข้าไปลงทุนใน ETF ต่างๆไม่ว่าจะเป็น S&P 500/Russell 3000/Dow 30 แม้ว่ามันเป็น ETF แต่เวลามันลงหนักๆจะได้หาที่เกาะให้แน่นโดยใช้เหตุผลพวกนี้ครับ
ส่วนเหตุผลที่จะใช้ในการถือ ETF ให้ไปดู asset allocation มากกว่าครับ ว่า risk/return จาก cash และ fixed income เป็นอย่างไร เพื่อเทียบกับ equity

ผมคิดว่าราคา ณ ขณะนี้ในระยะยาวมันสะท้อน return จาก risk free rate กับ equity risk premium อยู่ที่เกือบๆ 6-7% ซึ่งน่าจะสูงกว่าผลตอบแทนที่ได้จาก fixed income จาก demographic ของโลกที่มีคนแก่ตัวลง การเพิ่มของประชากรที่ลดลง และ saving rate สูง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดัน inflation ในระยะกลางไปถึงระยะยาว

สุดท้ายก็ลองไปทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาดูแล้วกันครับ ว่าระดับของ risk aversion เรามีมากน้อยขนาดไหน ในการจัด asset allocation ให้เหมาะสม

https://www.riskprofiling.com/nytfreetest
https://pfp.missouri.edu/research/inves ... ssessment/

เพราะ ผมเชื่อว่าปัญหาของคุณ Peter 1011 น่าจะอยู่ที่การเข้าใจระดับการรับความเสี่ยงของตัวเองมากกว่า ตลาด หรือ ธุรกิจ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 128

โพสต์

เพราะ ผมเชื่อว่าปัญหาของคุณ Peter 1011 น่าจะอยู่ที่การเข้าใจระดับการรับความเสี่ยงของตัวเองมากกว่า ตลาด หรือ ธุรกิจ
ต้องนับถือความรู้ของอ.ตี่ ขอบคุณที่มาตอบให้ทุกโพสท์ครับ เรื่อง asset allocation ผมไม่มีปัญหามาต้องแต่ลงทุนครั้งแรกแล้วครับ ระดับการรับความเสี่ยงของตัวเองผมก็ไม่มีปัญหา หากผมไม่ไปใน uncharted territories หรือพูดง่ายๆว่านอก circle of competence


ผมสงสัยอย่างหนึ่งตามภาพข้างบนว่า ในอดีตนั้นก็มีมหาอำนาจในช่วงต่างๆ ซึ่งก็ล่มสล่ายหรือลดขนาดเล็กลงเช่น Ottoman Empire และ British Empire สังเกตได้จากการเปลี่ยนไปของ reserve currency ในช่วงนั้นๆ

ณ ตอนนี้ US เป็นมหาอำนาจหลักล่วงมาเกือบ 100 ปีแล้ว ผมจะไม่ทำนายหรือ suggest ว่าความเป็นมหาอำนาจและความเป็น land of freedom, free speech, and opportunity ของอเมริกานั้นจะลดทอนลงในอนาคต

ผมอยากจะเปิดประเด็นสนทนาในเรื่องของ threat ที่จะมีโอกาสบั่นทอนความเป็น freedom และ opportunity ของอเมริกาและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ earning sustainability ของ Corporate America

ที่ผมสังเกตเห็น (เอาคร่าวๆนะครับ ถ้าลงลึกกว่านี้มันจะไม่ใช่การลงทุนแล้ว)

สิ่งแรกคือ freedom of speech ที่ถูก abuse ทั้งการพูดด่ากัน การยุยงให้เกลียดกัน การเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน หรือ propaganda ที่แฝงมาบน social media platform ต่างๆ อาจทำให้เกิดความเครียดและ productive น้อยลง
สิ่งที่สองคือ inflation ใน Corporate America โดยเฉพาะ healthcare และ education ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำยิ่งขึ้น ที่มีผลจากการ wage increase rate ที่น้อยกว่ากลุ่มนี้ นักเรียนหลายคนในอเมริกาต้องติดหนี้เพราะต้องการเรียนให้จบเพื่อที่จะหางานได้ (ในยุค 50 นี่เป็นคนละเรื่องกันเลย) ผมสงสัยว่าเรื่องแบบนี้มันส่งผลต่ออัตราอาชญากรรมหรือไม่ และส่งผลต่อ productivity และ innovation หรือไม่

สิ่งที่สามคือบทบาท "ตำรวจโลก" ของอเมริกา โดยมีการทุ่มทุนกับการทำสงคร... (ไม่เขียนต่อครับ เดี๋ยวกระทู้ปลิว)

สิ่งที่สี่คือ earning ของ Corporate America นั้น sustainable แค่ไหน โดยปัจจัยของ growth foundation นั้นถูก define ด้วยอะไร เช่นตอบโจทย์ environmental friendly และ shareholder's value ไปพร้อมๆกันได้หรือไม่ (ตาม impact investing model ของ Cohen) ผมเคยเห็นโรงแรมในอเมริกาบางที่ ที่ไป charge ลูกค้าเพิ่มเช่น compulsory resort fee http://killresortfees.com/thestory

ใครมีประเด็นอะไรก็มาคุยกันได้ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 129

โพสต์

Peter1011 เขียน:
เสาร์ มี.ค. 12, 2022 9:33 pm
ต้องนับถือความรู้ของอ.ตี่ ขอบคุณที่มาตอบให้ทุกโพสท์ครับ เรื่อง asset allocation ผมไม่มีปัญหามาต้องแต่ลงทุนครั้งแรกแล้วครับ ระดับการรับความเสี่ยงของตัวเองผมก็ไม่มีปัญหา หากผมไม่ไปใน uncharted territories หรือพูดง่ายๆว่านอก circle of competence
...
กราบขออภัย หากเข้าใจปัญหาของคุณ Peter1011 ผิด และ ขอโทษด้วยนะครับ หากความเห็นของผมไปกระทบกระทั่งอะไรกับคุณ Peter1011 เข้า

พอดีช่วงนี้ผมศึกษาเรื่องความเสี่ยง และระดับในการรับความเสี่ยงของตัวเอง กับผลกระทบจาก Social Media เยอะ แล้วก็รู้สึกว่าระดับในการรับความเสี่ยงของตัวเองเปลี่ยนไป มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับตัวเอง จนต้องกลับมาศึกษาอะไรหลายๆ อย่างเพิ่ม เพื่อทำความเข้าใจตัวเองใหม่

เท่าที่ศึกษามา ทฤษฎีความเสี่ยงเป็นเรื่องของการใช้ Outsider View ในการนำเครื่องมือทางสถิติมาวิเคราะห์ความจริงที่เกิดขึ้น ในการวัดระดับความเสี่ยง ซึ่งในทางสถิติที่เกิดขึ้นตามปัจจัยพื้นฐานแล้ว ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีประสิทธิภาพมากกว่าตลาดอื่นๆ เพราะ มีจำนวนหุ้น นักลงทุน และเม็ดเงินลงทุน สูงกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ทำให้ความเสี่ยงโดยรวมแล้วต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ และหุ้นรายตัว

ในมุมของ Asset Allocation เวลาเราจะ Take ความเสี่ยงใน Equity เราเริ่มต้นจากความเสี่ยงในตลาดหุ้นที่ต่ำที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ แล้วก็ค่อยๆ ไล่ไปที่ตลาดที่ความเสี่ยงสูงขึ้น อย่าง Emerging Market แล้วไปที่กลุ่มหุ้นในราย Sector สุดท้ายค่อยไปจบที่หุ้นรายตัว

ในขณะที่ Circle of Competence เป็น Insider View ที่มี Familarity Bias ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในวัยเด็กและการศึกษา ว่าเป็นอย่างไร ในการทำความเข้าใจอุตสาหกรรม และธุรกิจรายตัว ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเอามาใช้เลือกหุ้นรายตัว

ในทางทฏษฎีความเสี่ยงแล้ว การเลือกหุ้นรายตัว ความเสี่ยงมันสูงกว่าการถือ ETF ของตลาด เพราะ ผลของการกระจายความเสี่ยง เราสามารถลดความเสี่ยงเฉพาะกิจการออกไปได้ หากถือหุ้นกระจายในหลายๆ อุตสาหกรรมมากกว่า 20 ตัวขึ้นไปได้ ซึ่งนักลงทุนส่วนบุคคล เท่าที่เคยเห็นคนที่กระจายได้มากๆ ก็มีพี่โจลูกอีสาน กับ อาจารย์ Damodaran ที่ถือกัน 50 ตัวขึ้นไป นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่กระจายความเสี่ยงไม่มากพอ มักจะถือหุ้นน้อยตัวเกินไป และมี Correlation ต่อกันมากจนเกินไป

(ลองอ่าน Blog Post นี้ประกอบดูนะครับ )

ดังนั้นในมุมของความเสี่ยงในทางสถิติแล้ว ถึงแม้ว่าเราจะสบายใจในแง่ที่เราลงทุนอยู่ใน Circle of Competence แต่เราอาจจะกำลังรับความเสี่ยงที่ใหญ่โตมโหฬารอย่างที่เราไม่คาดคิด ซึ่งต้องใช้เครื่องมือทางสถิติมาจับถึงจะเห็นความจริงนี้ หรือ ไม่ก็ต้องโดนลงโทษจากตลาด เล่นจริงเจ็บจริง เราถึงจะเห็นความเป็นจริงว่า จริงๆ แล้วอะไรมันเสี่ยงมากกว่ากัน

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงทางสถิติ กับความเข้าใจตัวเองว่ารับความเสี่ยงได้ขนาดไหน กับความเสี่ยงที่รับได้จริงไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

ความเสี่ยงที่เรากำลังรับอยู่จริงๆ มันคือ อาการเสียวๆ ท้อง มวนๆ ท้องเวลาเห็นหุ้นตก เวลารู้สึกคิดวนอยู่ในหัวจนนอนไม่ค่อยหลับ หรือ อาการใจผวาที่รู้ข่าวว่าเพื่อนเราขายหุ้นไปหมดพอร์ต แล้วเห็นหุ้นตก จนอยากจะกดขายตามให้หมดพอร์ต

ถ้าผมจำไม่ผิด เหมือนจะมีคำพูดของบัฟเฟตที่บอกว่าถ้าเข้าไปเล่นหุ้นรายตัว ต้องเตรียมใจที่จะทนเห็นหุ้นตัวเองตกไป 50% ให้ได้ เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเรารับความเสี่ยงจริงๆ ได้เท่าไหร่ จนกว่า Asset Allocation ที่เราเชื่อว่าเรารับได้ ได้รับการทดสอบจริง Stress Test ด้วยของจริงที่เกิดขึ้นในตลาด

ซึ่งในการทดสอบจริงกับตลาดครั้งนี้ คุณ Peter1011 อาจจะไม่มีปัญหา แต่ผมมีปัญหาครับ ด้วยความคิดในมุมแคบๆ ของผมที่เป็น Tunnel Vision และเหมารวมมี Bias ก็เลยคิดว่าคุณ Peter1011 ก็อาจจะมีปัญหาเหมือนกับผม เลยเป็นที่มาของการโพสต์อะไรที่เผลอไปล่วงเกินคุณ Peter1011 ซึ่งก็ต้องกราบขอโทษคุณ Peter1011 อีกหลายๆ ครั้งที่จุดนี้ ซึ่งก็หวังว่าคุณ Peter1011 จะให้อภัยผมกับความเข้าใจผิดของผมในครั้งนี้นะครับ


ความเสี่ยงที่ผมคิดว่าตัวเองรับได้ พอผมเจอการทดสอบครั้งนี้ มันกลับไม่ใช่อย่างนั้น...

ความรู้สึกบีบคั้นที่เกิดขึ้นข้างในมันหนักกว่าที่คิดครับ ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผมซื้อหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น Valuation ยากขึ้นเข้ามาในพอร์ต ผลกระทบจาก Social Media ที่ทำให้ระดับความผันผวนและความเสี่ยงของหุ้นมีมากขึ้น ในขณะที่ Life Style ในช่วงที่ผ่านมาของผมเอง ที่ใช้ App และ Smartphone ทำให้ระดับความอดทนมีต่ำลง ประกอบกับปริมาณข้อมูลจากสื่อ Social ที่มีมากขึ้น ทำให้ผมรู้สึกว่าความหนัก ความบีบคั้น ในการทนกับความเสี่ยงในครั้งนี้แตกต่างจากในช่วง Subprime ผมรู้สึกว่าครั้งนี้บีบคั้นและหนักกว่ามาก ทั้งๆ ที่ความเสี่ยงในทางสถิติแล้ว ในช่วง Subprime ผม Take ความเสี่ยงหนักกว่าครั้งนี้หลายเท่าตัว

มันทำให้ผมตระหนักเลยว่า ความเสี่ยงที่รับจริง ความเสี่ยงที่คิดว่าตัวเองรับได้ กับความเสี่ยงที่รับได้จริงๆ มันเป็นคนละเรื่องกันเลย

มันเลยทำให้ผมต้องกลับมาศึกษา และทบทวนหลักการอีกครั้ง เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า การลงทุนระยะยาวคืออะไร สัดส่วนในการลงทุนที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ ความเสี่ยงคืออะไร การบริหารความเสี่ยงควรทำอย่างไร เราควร Take มุมมอง และจัดการกับสภาพจิตใจของตัวเองอย่างไร เราจะตัดอิทธิพลของตลาดในระยะสั้นอย่างไร การรับข้อมูลที่เหมาะสมคืออะไร และเท่าไร ฯลฯ

ผมยังมีปัญหา และผมก็ยังพยายามเรียนรู้ในเรื่องนี้อยู่ แม้ว่าตัวเองจะฝึกทำ Simulation ทางความรู้สึกเอาไว้แล้ว แต่พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง บ่อยครั้งที่สิ่งที่จินตนาการกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็อาจจะไม่ตรงกัน

แต่จะกลัวเท่าไร มันก็เป็นอารมณ์หนึ่งๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป จะบีบคั้นมาก บีบคั้นน้อย จะยาว จะสั้น ถึงจุดหนึ่งมันก็ดับไป มันไม่ได้ตั้งอยู่อย่างจีรังไม่มีวันสิ้นสุด

ในขณะนี้ผมเข้าใจว่า ความเสี่ยงที่รับได้จริงๆ คือ ความสามารถที่จะอดทนต่อความบีบคั้นชั่วคราวที่เกิดขึ้นจากความกลัว ที่จะรักษาแผนการลงทุนระยะยาวที่ตั้งใจเอาไว้ได้ โดยไม่ล้มกระดาน พับแผนที่วางเอาไว้ทิ้ง จะเป็นการปรับสัดส่วนพอร์ตให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับจริงให้มากขึ้นก็ได้ แต่ไม่ใช่การล้างพอร์ต ล้มแผนระยะยาวของเรา

ในทางอารมณ์ เราควรที่จะกินอิ่ม นอนหลับได้อย่างเพียงพอ และมีอารมณ์ที่มีเสถียรภาพพอที่จะไม่ไปฟาดงวง ฟาดงา ใส่ใคร แน่นอนล่ะมันจะบีบคั้นแน่นอน มันมีผลกระทบแน่ๆ ล่ะ แต่มันไม่ควรบีบคั้นจนทำให้ชีวิตด้านอื่นพัง


สุดท้ายแล้ว หุ้นที่ตกมากเกินไปวันหนึ่งก็กลับมาขึ้น หุ้นที่ขึ้นมากไปวันหนึ่งก็กลับมาตก คำถามคือ เรามีไม้บรรทัด มีเครื่องคิดเลข มีวิธีการคำนวณ มีความกล้าหาญ และความเป็นกลางที่จะวัดค่าออกมาได้ไหม ว่าไอ้ที่ว่ามากเกินไป ค่าที่ควรจะเป็นจริงๆ มันคือเท่าไรกันแน่

และเมื่อวัดค่าออกมาแล้ว เรามีความเชื่อ มีศรัทธาในปรัชญาการลงทุนของเราไหม ที่จะ Take Action ตามสิ่งที่เราเชื่อ

สุดท้าย (ผมบอกกับตัวเองนะครับ) ถ้าเราสามารถจัดการกับความเสี่ยงและอารมณ์ได้แล้ว สามารถพิจารณาการลงทุนได้อย่างเป็นกลางแล้ว เราทำทุกอย่างที่ควรทำได้ไปหมดแล้ว

มันก็เป็นช่วงเวลาที่ผมต้องอดทนกับความกลัวที่เกิดขึ้น ซึ่งก็ไม่นานหรอก ที่ความกลัวนี้จะดับไป เรายังอยู่บนเส้นทางตามแผนระยะยาวของเรา

มันเป็นช่วงเวลาที่ผมต้องอดทนกับความโลภที่อยากจะแก้แค้น อยากจะเอาคืน ซึ่งก็ไม่นานหรอก ที่ความโลภนี้จะดับไป เรายังอยู่บนเส้นทางตามแผนระยะยาวของเรา

มันเป็นช่วงเวลาที่เราต้องรักษาใจตัวเองของเราไว้ ไม่ให้เผลอไปเบียดเบียนคนใกล้ๆ ตัวที่เรารัก และไม่ภาระให้เค้าต้องเป็นห่วงเรามากจนเกินไป

มันเป็นช่วงเวลาที่หากเรารักษาใจเราได้แล้ว มันจะดีกว่าไหม ที่เราจะเผื่อแผ่ความเข้มแข็งทางจิตใจนี้ไปให้กับคนที่กำลังต้องการที่พึ่งในเวลานี้

ผมยังคงมีความสุขกับการตอบคำถาม แชร์ความคิดเห็น ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ในเว็บ ThaiVI เหมือนกับวันแรกที่ผมเดินเข้ามาเป็นสมาชิกในที่แห่งนี้ ถึงแม้ว่าผมจะเป็นมนุษย์เจ้าปัญหา ที่แสดงความคิดเห็นแบบเกรียนๆ ทำให้ใครหลายคนไม่ชอบใจในหลายๆ ครั้ง แต่ผมก็พยายามทำ โดยเชื่อว่าสิ่งที่ผมพยายามกลั่นกรองออกมาเป็นข้อความนี้จะมีประโยชน์ต่อใครสักคนหนึ่ง ที่บังเอิญมีโอกาสได้เข้ามาอ่าน

ตัวผมเองคงต้องเรียนรู้ ยังมีปัญหาของตัวเองอีกเยอะแยะที่ต้องแก้ ยังเป็นนักเรียนที่กำลังพยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจโลกแห่งการลงทุนแห่งนี้ ผมไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นผู้รู้ เป็นอาจารย์อะไร ผมรู้สึกกับตัวเอง เหมือนเป็นแค่เด็กคนหนึ่ง ที่มีความสงสัย ใคร่รู้สิ่งต่างๆ ในโลก และเวลาได้เรียนอะไรสนุกๆ มา ก็อยากแชร์ แบ่งปันให้กับเพื่อนๆ เหมือนกับที่ผมได้รับสิ่งดีๆ ที่อาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ที่ร่วมแชร์แบ่งปัน สร้างสังคมแห่งนี้ขึ้นมา

บ่อยๆ ครั้ง ที่ผมก็รำคาญตัวเองเหมือนกัน ที่จะเขียนอะไรเยอะแยะ แสดงความเห็นอะไรมากมาย บางครั้งก็เกลียดตัวเองที่ตัวเองเป็นแบบนี้ อยากจะเป็นคนที่พูดน้อยๆ เขียนน้อยๆ สำรวมคำพูดให้ได้มากกว่านี้ จะได้สงบมากกว่านี้ จะได้ฟุ้งซ่านน้อยกว่านี้ ผมอยากทำได้ ผมพยายามทำ แต่พอดีผมยังทำไม่ได้ครับ ผมพยายามเลิกเล่น ThaiVI หลายรอบมาก แต่สุดท้ายก็ยังทำไม่ได้ หวังว่าวันหนึ่งจะทำได้ แต่ระหว่างที่ผมยังทำไม่ได้ ก็รบกวนช่วยอดทนกับผมหน่อยแล้วกันนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 130

โพสต์

ขอบคุณอ.ตี่อีกทีครับ ที่ได้มาเล่าอธิบายเรื่องความเสี่ยง และเตือนถึง bias (ขออภัยอย่างสูง หากผมได้เขียนกระทบผู้อื่นในโพสท์นี้) หลายคนอาจจะคิดว่าผม (ซึ่งเป็นสมาชิกหน้าใหม่) บ้า ที่กล้าเสนอความคิดที่อาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ก็เลยอยากมาถามในนี้ เพราะมีหลายๆท่าน (รวมถึงอ.ตี่) ที่มีทั้งความรู้และประสบการณ์ที่ดีกว่าผมหลายเท่า

เรื่องของ Circle of Competence นั้นผมเห็นด้วยกับอ.ตี่ครับ ผมไม่ไช่ American ผมเลยไม่คุ้นกับความเป็นอเมริกันและตลาดทุนของอเมริกา แม้ว่ามีความเสี่ยงในตลาดหุ้นที่ต่ำที่สุด เลยมี familiarity bias กับที่ๆคุ้นกว่าก็คือ SET ตอนเริ่มไปดูหุ้นต่างประเทศแทนที่จะเริ่มที่อเมริกาก่อน ผมดันไปเริ่มในที่ๆมีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นไทยและอเมริกาเสียอีกเพราะแค่ relative valuation มันถูกกว่า มันน่าจะเป็นเหตุผลที่แย่ (แม้ว่าผลกระทบมันยังไม่ค่อยจะมีผลมากเท่าไหร่ต่อผมเอง)

ถ้าเหตุผลที่ผมไปลงทุนใน S&P 500 ETF คือผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ผมก็ต้องหาต่อไปว่ามันจะยาวไปอีกแค่ไหน มันไม่น่าจะมีคำตอบ มีแค่ debatable topics เท่านั้นเอง ถ้าเหตุผลที่ผมไปลงทุนเปลี่ยนไปเป็น เช่น innovation ใหม่ของหุ้นเปลี่ยนโลก ผมก็ต้องหา supporting reason ในอีกประเด็นที่ต่างกันครับ

ผมว่ามันต้องมีประเด็นอะไรซักอย่างที่ผมเข้าใจผิด และผมต้องรีบแก้ก่อนที่จะเป็น black swan ที่คุณหลินเคยพูดถึง
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 131

โพสต์

Linzhi เขียน:
พุธ ธ.ค. 08, 2021 1:52 pm
ปีนี้เป็นปีที่โหดแท้สำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะหุ้นสายเทคเลยครับ อเมริกา จีน ญี่ปุ่น ยุโรป ทุกทวีปอาการเดียวกันหมด

ผมรู้สึกว่าเรียนรู้อะไรเยอะมาก ๆ รู้สึกว่าตัวเองโง่มาก ถ้ามองกลับไปที่ตัวเองตอนต้นปี

และตอนนี้ยังไม่รู้สึกว่าจะฉลาดพอที่จะแข่งขันได้ ก็เดินทาง เรียนรู้ กันต่อไปครับ

แต่ถึงยังไงโลก digital ก็เดินหน้าแบบไม่หวนกลับ

เราก็เลือกได้ว่าจะตามมันไปด้วยการ unlearn และ relearn ใหม่

หรือ ลองหาของเก่าที่ classic ไม่ถูก disrupt ที่ยังใช้ตำราเดิมๆได้ 100%

การลงทุนต่างประเทศยังไงก็คือทางสายเอกทางเดียว

ที่ทำให้เรามองเห็นว่า เราอยากเลือกทางไหนที่เหมาะกับเราที่สุด

ทั้งเวลาที่ใช้ ทั้งผลตอบแทนที่ได้ รวมไปถึงความสุขที่เราจะมีในระหว่างทาง

ผมก็ยังยืนยันแบบนี้
เรียนถามประสบการณ์ของพี่หลินครับ (รบกวนดู post ข้างบนด้วยครับ เผื่อมี comment) ผมสงสัยเรื่องของการแข่งขันระหว่างนักลงทุนมาค่อนข้างนานแล้ว เราแข่งขันเรื่องอะไรบ้างที่นอกจากผลตอบแทน (กับตลาดโดยรวม) และ ความเร็วในการรับข่าวสาร ส่วนการแข่งขันในกลุ่มนักลงทุนหุ้นเปลี่ยนโลกและกลุ่มที่ไม่ใช่มันต่างกันยังไงครับ

สัดส่วนระหว่างข้อมูลพื้นฐาน (10-K/56-1/URD & financial statements) และข่าวที่มาจากบริษัทเอง และ ข้อมูลเพิ่มเติม (ทั้งแบบ scuttlebutt ที่ทำเองและจากที่อื่นเช่น seekingalpha/wsj/twitter/youtube/analyst coverage/discord) ควรจะมีประมาณ (qualitatively) ไหนสำหรับ หุ้นเปลี่ยนโลกและกลุ่มที่ไม่ใช่หุ้นเปลี่ยนโลก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 132

โพสต์

ไม่ได้โพสต์นานมากเลย ผมอ่านคุณ pete1011 ผมคิดว่าการมองภาพใหญ่มาก ๆ มันวิเคราะห์ยิ่งยากครับ
ยิ่งเราจะไปคาดการณ์มหาอำนาจโลก World Changing Order อะไรพวกนั้น ผมคิดว่าอาจจะไม่จำเป็นมากนักสำหรับอาชีพนักลงทุนอย่างพวกเรา

หรือถ้าจะเลือกลงทุน ETF ในเชิง Country เราไม่ควรเลือกแค่เต็งตัวเดียวหรือสองตัว
เราก็ควรจะกระจาย ไปในทุกภูมิภาคที่มีการเติบโต หรือมีที่ ๆ มีราคาถูกเนื่องจากปัญหาชั่วคราว

มันน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า


ส่วนการลงทุนหุ้น เราเลือกได้ครับว่าจะลงทุนหุ้นแบบไหน ซึ่งในแต่ละแบบก็มีวิธีการ ซื้อ ถือ และขายแตกต่างกัน

ถ้าเป็นหุ้นคุณภาพสูง ๆ และเราซื้อมาไม่แพง ถึงแม้ราคาจะขึ้นมาสู่มูลค่าที่เหมาะสมแล้ว
แต่ถ้าเราพอใจผลตอบแทนหุ้นเท่ากับ ROIC ธุรกิจ ก็ถือตลอดชีวิตแบบบัฟเฟตต์ได้

ถ้าเป็นหุ้นคุณภาพต่ำหน่อย เราก็ควรจะขาย ถ้าราคาวิ่งไปสู่มูลค่าที่เหมาะสมแล้ว
เพราะถ้าถือต่อ ROIC ธุรกิจพวกนี้จะมากกว่า WACC ไม่มาก
การถือยาวก็ทำให้ผลตอบแทนพอร์ตหุ้นระยะยาวของเราลดลง


ส่วนเรื่องผลตอบแทนการลงทุนนั้น (เพื่อให้ชนะตลาด, Seeking Alpha) ตัดสินกันที่สามอย่างหลัก ๆ ครับ

1. ข้อมูล ถูกต้องกว่า เร็วกว่า ครบถ้วนกว่า (ขยัน)

2. การวิเคราะห์ ดีกว่า ไกลกว่า ลึกซึ้งกว่า (ชาญฉลาด)

3. การตัดสินใจ ที่ไม่มีอคติ เป็นอิสระ และอดทนกว่า (สติ)

เราจำเป็นต้องมี 3 อย่างให้ครบ เราถึงจะเหนือกว่านายตลาดมาก ๆ ได้
ผมไม่คิดว่าเรามีแค่อย่างใดอย่างหนึ่งจะเพียงพอในการทำเงินในตลาดหุ้นได้

คนมักจะคิดว่าขอให้มี ข้อมูลดีกว่า (Insightful information, ไม่ใช่ Insider information นะครับ)
หรือ รู้ข้อมูลเร็วกว่าคนอื่น ก็จะชนะแล้ว ผมคิดว่าไม่จริงครับ

หุ้นต่างประเทศหรือหุ้นไทย ผมคิดว่าไม่มีอะไรต่างกัน


แต่ประสบการณ์ที่ผมเจอคือนักลงทุนตลาดอเมริกาโดยค่าเฉลี่ย มักจะมี 3 สิ่งนี้เหนือกว่าค่าเฉลี่ยในฝั่งตลาดหุ้นไทยครับ
ดังนั้น Alpha จะหายากกว่า (แม้ Alpha จะกว้างกว่าไทยมาก) และในขณะเดียวกัน Beta ก็จะเยอะกว่าด้วย

ตลาดต่างประเทศเหมาะกับผู้ที่มีฝีมือช่ำชองครับ ผมลงมาร่วม 18 ปีแล้วยังเหนื่อยเลย พูดจริง ๆ อิอิ

ผมไปลุย ขอไปกรุยทางไว้ตามอ.ตี่ :) มีอะไรก็จะมาแชร์ให้ทุกคนฟังทาง youtube หรือในเวป ThaiVI นี่แหละครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 133

โพสต์

สำหรับทุกคนอ่านมาถึงตรงนี้ แล้วความรู้สึกต่อหุ้นต่างประเทศในตอนนี้ทั้งหมด

คงต้องใช้กระทู้ที่มีอายุย้อนไปหกปีที่แล้วมาตอบครับ

viewtopic.php?f=1&t=59573

ขอบคุณอ.ตี่อีกครั้งด้วยครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 134

โพสต์

รีวิว ARK funds https://ark-funds.com และรีวิวการลงทุนหุ้นเทค
.
จากการติดตามเคธี่มาตั้งแต่ต้นปี 2020 ระยะหลังผมเริ่มตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อย ๆ กับ ARK ของเคธี่ วู๊ด
.
ผมเหมือนหลาย ๆ คนที่ได้แรงบันดาลใจในการลงทุนหุ้นเปลี่ยนโลกจากเธอ ด้วยความที่อยากเรียนรู้จากผู้ที่เก่งกว่า นี่อาจจะเป็นข้อสังเกตเล็ก ๆ ของผมที่ผมติดตาม action เธอทุกวันมาตลอดสองปี
.
1. Research ประจำปีที่ผมเคยชอบมาก ๆ แต่เริ่มมาคิดว่ามันเป็นจินตนาการที่เกินความรู้รึเปล่า บนสมมุติฐานที่หลวมไปรึเปล่า (ไม่มีใครรู้เบื้องหลังตัวเลข) และอาจจะไม่ได้ตอบคำถามสำคัญที่สุดของการลงทุนคือ 1. ใครจะเป็นผู้ชนะในอุตสาหกรรมดาวรุ่ง 2. วิธีที่ได้มาซึ่งการประเมินมูลค่าราคาที่เหมาะสม การมองหาแต่อุตสาหกรรมดาวรุ่งนั้นให้ผลเสียมากกว่าด้วยซ้ำ
.
2. วิธีการเลือกหุ้นซึ่งเป็นหัวใจเคธี่ไม่ค่อยพูดถึง (แต่มักจะพูดถึงแต่ macro economics) ผมสงสัยว่า ARK คิดอะไรเวลาเลือกหุ้น จนมาถึงบัดนี้ผมก็ยังไม่ได้คำตอบนัก ต่างจากการลงทุนของเซียนหุ้นคนอื่น ๆ ที่ผมพอจะมองออกบ้าง ต้องเรียกว่ายังเข้าไม่ถึง
.
3. วิธีการปรับพอร์ต เมื่อคิดผิด ถ้าใครติดตาม ARK จะพบการถัวเฉลี่ยขาลงตลอดเวลาซึ่งอันที่จริงเป็นบาปหนึ่งของการลงทุน และในระยะสองปีที่ผ่านมาก็จะพบว่า ARK จะ Cut หุ้นทิ้งที่จุดต่ำสุดของหุ้นที่ยังไม่ทำกำไร การเติบโตรายได้ที่มาจากการเผาเงิน หุ้นเกิดกระแสเงินสดติดลบมาก ๆ จนเงินสดเริ่มหมด
.
4. ไม่มีการทำ Risk Management เลย การที่กองทุนถือหุ้นในแต่ละธุรกิจจนมีสัดส่วนมากจนเกินไป ไม่มีประโยชน์อะไรเลย มีแต่ข้อเสีย โดยเฉพาะหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง
5. การเปิดเผยการซื้อขายทุกวัน ไม่มีข้อดีอะไรเลย ยกเว้นแต่การดึงให้เกิดกระแสการเก็งกำไร สิ่งที่ดีกว่าคือ พยายามอธิบายว่าซื้อหุ้นเพราะอะไร ขายเพราะอะไร
.
6. ต้องยอมรับว่าการเป็นนักลงทุนที่ชนะตลาดตลอดเวลาในการลงทุน Innovator company นั้นเป็นไปได้ยากมาก คุณต้องดื้อและบ้าสุด ๆ จนชนะ หรือ จนพัง และต้องเจอโจทย์ยากที่เปลี่ยนใหม่ได้ตลอดเวลา ผมสังเกตว่าไม่มีเซียนหุ้นคนไหนที่ทำได้เลยในระยะหลัง อาจจะได้หุ้นบางตัวดังเป็นพลุแตก แต่สุดท้ายพอร์ตก็แตก ....
.
7. สำหรับนักลงทุนทั่วไป ความเสียหายที่รุนแรงที่สุด คือการเลือกอาจารย์ผิดคน ผมรู้สึกว่า ผมน่าจะเลือกอาจารย์ผิดคนสำหรับตัวผมไปแล้ว ไม่ใช่เธอไม่เก่ง แต่กระบวนท่าแห่งอาร์คนั้น เป็นเส้นทางที่มันผันผวนเกินกว่าที่ผมเลือกอยากจะเดิน แต่ผมก็จะยังติดตามเธออยู่เสมอ
.
8. Time frame horizon ของเคธี่นั้น หุ้นหลาย ๆ ตัวอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะตัดสิน โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจมหภาคที่ Growth stocks ค่อนข้างโดนกดดันมาก ๆ แต่ที่ต้องระวังคือการลงทุนที่คาดหวัง "อนาคต" ไกลมาก ๆ หรือต่างจากจุดปัจจุบันมาก ๆ การลงทุนแบบนี้ส่วนมากจะขาดทุน จะมีแค่ส่วนน้อยที่จะกำไร
.
9. สำหรับนักลงทุนกองทุน ผมว่ากองนี้ต้องมีสัดส่วนน้อยของพอร์ต เพราะ Risk สูง ให้ผมแนะนำดีกว่าน่าจะเลือก Index Fund อย่าง QQQ, S&P500 ดีกว่า
10. สำหรับนักลงทุน Global VI หลังจากหาคำตอบมายาวนาน อ่านและฟังบทความจำนวนมาก ผมเจอแล้วว่าใครเป็นอาจารย์ที่ดีที่สุด
.
คำตอบคือตัวเราเอง ผมคิดอย่างนี้จริง ๆ
.
ใช้ประสบการณ์ความรู้ ฟังเสียงตัวเอง วิเคราะห์เอง และเลือกลงทุนโดยไม่ได้ไปอ่าน Twitter กาว ๆ ที่สุดท้าย เราก็รู้ว่าจะนำไปสู่เส้นทางอะไร
.
หวังว่าแฟนคลับ ARK คงไม่มาว่าผม และอย่าถามว่าควรจะซื้อหรือถือหรือขาย เพราะ คำตอบที่ดีที่สุดนั้น อยู่ที่คำตอบที่เราคิดเอง ครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
mukmemail
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 135

โพสต์

รบกวนสอบถามเพื่อนๆพี่ๆนักลงทุน VI ค่ะ
ในเรื่องของ Growth Stock กับ Value Stock

สมมุติฐานของการเป็นนักลงทุนสาย Value คือ นักลงทุนที่ต้องการซื้อหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของกิจการ
ด้วย Market Mispricing ทำให้ซื้อบริษัทได้ในราคา discount
โดยมีมูลค่ากิจการและราคาที่ถูกเป็นหลักประกันในการปกป้อง downside risk ต่างๆ

ซึ่งต่างกับ Growth Stock ที่นักลงทุนซื้อกิจการเพราะ story ของการเติบโต
ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของรายได้ หรือยอดขายในอัตราเร่ง
ล้วนเป็นที่นิยมและทำให้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหุ้นเทคโนโลยีราคาเพิ่มขึ้นสูงมาก
สงสัยว่าถ้ากิจการไม่เติบโตเป็นอย่างที่หวัง
แล้วอะไรคือหลักประกันที่จะ protect downside risk ของนักลงทุนที่มุ่งเน้น growth ได้ค่ะ
ในเมื่อบางกิจการยังมีกระแสเงินสดที่ติดลบ และยังไม่มีกำไร
เราควร valuation อย่างไรเพื่อที่จะปกป้องเงินลงทุนตั้งต้นได้ค่ะ

รบกวนพี่ๆช่วยคลายความสงสัยค่ะ
หรือว่าเราควรหาหุ้นที่เป็น Growth Value Stock ในเวลาเดียวกัน
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 136

โพสต์

ห้องนี้เงียบขึ้นเยอะ เป็นยังไงบ้างครับ ตลาดก็ผันผวนน่าดู แต่มันก็ไม่ได้กระทบผมมาก สำหรับคนที่จะรอซื้ออย่างเดียว เดือนก่อนผมถือว่าโชคดีที่ได้คุยและฟังท่านอื่นใน discord ทั้งคุณหลิน คุณมานะ คุณเมฆ เกี่ยวกับหุ้นเปลี่ยนโลก ซึ่งก็เข้าใจปนงงๆ บ้างตามประสาคนมือใหม่ ขอบคุณคุณมานะที่ชวนไปห้องนี้ ได้ความรู้ใหม่ๆครับ

=========================================================

กลับมาที่หุ้นต่างประเทศ ผมได้มีโอกาสไปประชุมผถห.ของบริษัทหนึ่ง บรรยากาศการประชุมก็คล้ายๆกับในเมืองไทยแต่มีเลี้ยง cocktail ด้วยครับและไม่มีใครใส่หน้ากากเลย โชคดีมากครับที่มีคนแปลเป็นอังกฤษให้ไม่งั้นก็เสียเที่ยว (ผมแอบขำผถห.ท่านหนึ่งที่ดูไม่พอใจกับ share buyback แล้วแอบงอน) นี่เป็นประสบการณ์ที่หาค่อนข้างยาก เพราะว่าต้องส่ง request ไปที่ IBKR เพื่อขอ safekeeping certificate (ต้องไปขุดหา record date อีก ไม่ใช่จะหาง่ายๆนะครับ) แล้วเอาต้องส่งไปให้ registrar อีกให้วุ่นวายไปหมด แต่ก็คุ้มกับประสบการณ์ครับ
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 137

โพสต์

picatos เขียน:
อาทิตย์ มี.ค. 13, 2022 5:25 am
กราบขออภัย หากเข้าใจปัญหาของคุณ Peter1011 ผิด และ ขอโทษด้วยนะครับ หากความเห็นของผมไปกระทบกระทั่งอะไรกับคุณ Peter1011 เข้า

...

ความเสี่ยงที่เรากำลังรับอยู่จริงๆ มันคือ อาการเสียวๆ ท้อง มวนๆ ท้องเวลาเห็นหุ้นตก เวลารู้สึกคิดวนอยู่ในหัวจนนอนไม่ค่อยหลับ หรือ อาการใจผวาที่รู้ข่าวว่าเพื่อนเราขายหุ้นไปหมดพอร์ต แล้วเห็นหุ้นตก จนอยากจะกดขายตามให้หมดพอร์ต

ถ้าผมจำไม่ผิด เหมือนจะมีคำพูดของบัฟเฟตที่บอกว่าถ้าเข้าไปเล่นหุ้นรายตัว ต้องเตรียมใจที่จะทนเห็นหุ้นตัวเองตกไป 50% ให้ได้ เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเรารับความเสี่ยงจริงๆ ได้เท่าไหร่ จนกว่า Asset Allocation ที่เราเชื่อว่าเรารับได้ ได้รับการทดสอบจริง Stress Test ด้วยของจริงที่เกิดขึ้นในตลาด

ซึ่งในการทดสอบจริงกับตลาดครั้งนี้ คุณ Peter1011 อาจจะไม่มีปัญหา แต่ผมมีปัญหาครับ ด้วยความคิดในมุมแคบๆ ของผมที่เป็น Tunnel Vision และเหมารวมมี Bias ก็เลยคิดว่าคุณ Peter1011 ก็อาจจะมีปัญหาเหมือนกับผม เลยเป็นที่มาของการโพสต์อะไรที่เผลอไปล่วงเกินคุณ Peter1011 ซึ่งก็ต้องกราบขอโทษคุณ Peter1011 อีกหลายๆ ครั้งที่จุดนี้ ซึ่งก็หวังว่าคุณ Peter1011 จะให้อภัยผมกับความเข้าใจผิดของผมในครั้งนี้นะครับ

ความเสี่ยงที่ผมคิดว่าตัวเองรับได้ พอผมเจอการทดสอบครั้งนี้ มันกลับไม่ใช่อย่างนั้น...

ความรู้สึกบีบคั้นที่เกิดขึ้นข้างในมันหนักกว่าที่คิดครับ ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผมซื้อหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น Valuation ยากขึ้นเข้ามาในพอร์ต ผลกระทบจาก Social Media ที่ทำให้ระดับความผันผวนและความเสี่ยงของหุ้นมีมากขึ้น ในขณะที่ Life Style ในช่วงที่ผ่านมาของผมเอง ที่ใช้ App และ Smartphone ทำให้ระดับความอดทนมีต่ำลง ประกอบกับปริมาณข้อมูลจากสื่อ Social ที่มีมากขึ้น ทำให้ผมรู้สึกว่าความหนัก ความบีบคั้น ในการทนกับความเสี่ยงในครั้งนี้แตกต่างจากในช่วง Subprime ผมรู้สึกว่าครั้งนี้บีบคั้นและหนักกว่ามาก ทั้งๆ ที่ความเสี่ยงในทางสถิติแล้ว ในช่วง Subprime ผม Take ความเสี่ยงหนักกว่าครั้งนี้หลายเท่าตัว

มันทำให้ผมตระหนักเลยว่า ความเสี่ยงที่รับจริง ความเสี่ยงที่คิดว่าตัวเองรับได้ กับความเสี่ยงที่รับได้จริงๆ มันเป็นคนละเรื่องกันเลย

มันเลยทำให้ผมต้องกลับมาศึกษา และทบทวนหลักการอีกครั้ง เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า การลงทุนระยะยาวคืออะไร สัดส่วนในการลงทุนที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ ความเสี่ยงคืออะไร การบริหารความเสี่ยงควรทำอย่างไร เราควร Take มุมมอง และจัดการกับสภาพจิตใจของตัวเองอย่างไร เราจะตัดอิทธิพลของตลาดในระยะสั้นอย่างไร การรับข้อมูลที่เหมาะสมคืออะไร และเท่าไร ฯลฯ

...
ที่จริงผมอยากกลับมาตอบตรงนี้ตั้งแต่โพสท์ข้างบน แต่ยังร่างหาคำพูดไม่ได้ซักที บางทีก็อยากละเลงเป็นภาษาอังกฤษเพราะมันพิมพ์ง่ายกว่าแต่กลัวคนหมั่นไส้ ก็เลยรอไปก่อน

จากที่คุณ picatos ได้อธิบายเอาไว้ ผมคิดผิดเรื่องความเสี่ยงที่ผมรับได้ แต่เรื่องนี้มันดันไม่ได้มาจากหุ้นตก ซึ่งหุ้นตกหนักๆเคยเจอมาแล้วบ้างและยังพอรับมือได้บ้าง (ที่จริงก็ต้องทำใจเหมือนกับ เวลามันไปตำ่กว่าคาดอีก ซื้อที่ p/b 0.5 แล้วมันลงไป p/b 0.2) ผมไม่ได้ ไม่เคยเจอและไม่เคยมองเรื่อง workload มาก่อน เพราะคิดว่าทำได้ตั้งแต่แรก

แต่กลายเป็นว่าพอเริ่มลง detail ในหุ้นมากขึ้น ผมต้องยอมรับว่าหุ้นบ.ในต่างประเทศนั้นที่ผมไปลงทุนมันมี detail มากกว่าหุ้นไทยในพอร์ทผม เพราะเป็น multi-national เกือบทุกที่ มี product มากมาย trading update นี่ยาวเป็นว่าเล่นพอๆกับปตท. (เช่น 548 และ GSK) และมีบางที่ๆใส่ metric แปลกๆ เช่น AER CER like-for-like growth book/bill ratio etc... ทำให้ต้องไปหาข้อมูลเพิ่มและแผนที่ทำทุกอย่างก็ delay ไปหมด แล้วผลร้ายที่ตามมาก็เป็นเรื่อง fatigue สร้างปัญหาต่อร่างกายและจิตใจ อย่าไปทำความเข้าใจทั้งหมด เดี๋ยวหัวก็ระเบิดพอดี

สิ่งที่ผมต้อง unlearn ก็คืออดทนสู้ความลำบากทุกอย่างแบบที่บ้านคนจีนส่วนใหญ่มักจะปลูกฝังให้ลูกหลาน และ relearn ก็คือบางสนามรบถ้าเราคิดว่าได้ไม่คุ้มเสียก็ยอมแพ้เก็บแรงไปสู้ที่ๆมีโอกาสดีกว่านี้ครับ และแล้วผมก็ต้องกลับมาทบทวนแผนการลงทุนใหม่ทั้งหมด ด้วยการลด ละ หุ้นที่ไม่สำคัญออก เป็นการตอกย้ำการจัดการความเสี่ยงอีกครับ

ผมอาจจะยังไม่เห็นความสำคัญจากที่คุณ picatos ได้ share เอาไว้ตอนนั้น แต่ผมเชื่อว่านี่เป็น timeless article และซักวันก็จะมีประโยชน์ต่อคนหลายๆ คนรวมถึงตนเองด้วย
wj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1399
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 138

โพสต์

Peter1011 เขียน:
ศุกร์ มิ.ย. 10, 2022 5:09 pm
ห้องนี้เงียบขึ้นเยอะ เป็นยังไงบ้างครับ ตลาดก็ผันผวนน่าดู แต่มันก็ไม่ได้กระทบผมมาก สำหรับคนที่จะรอซื้ออย่างเดียว เดือนก่อนผมถือว่าโชคดีที่ได้คุยและฟังท่านอื่นใน discord ทั้งคุณหลิน คุณมานะ คุณเมฆ เกี่ยวกับหุ้นเปลี่ยนโลก ซึ่งก็เข้าใจปนงงๆ บ้างตามประสาคนมือใหม่ ขอบคุณคุณมานะที่ชวนไปห้องนี้ ได้ความรู้ใหม่ๆครับ

=========================================================

กลับมาที่หุ้นต่างประเทศ ผมได้มีโอกาสไปประชุมผถห.ของบริษัทหนึ่ง บรรยากาศการประชุมก็คล้ายๆกับในเมืองไทยแต่มีเลี้ยง cocktail ด้วยครับและไม่มีใครใส่หน้ากากเลย โชคดีมากครับที่มีคนแปลเป็นอังกฤษให้ไม่งั้นก็เสียเที่ยว (ผมแอบขำผถห.ท่านหนึ่งที่ดูไม่พอใจกับ share buyback แล้วแอบงอน) นี่เป็นประสบการณ์ที่หาค่อนข้างยาก เพราะว่าต้องส่ง request ไปที่ IBKR เพื่อขอ safekeeping certificate (ต้องไปขุดหา record date อีก ไม่ใช่จะหาง่ายๆนะครับ) แล้วเอาต้องส่งไปให้ registrar อีกให้วุ่นวายไปหมด แต่ก็คุ้มกับประสบการณ์ครับ
ที่ห้องเงียบผมว่าส่วนหนึ่งก็มาจากสภาวะตลาดที่ตกมาก ทำให้ต้องใช้เวลามากขึ้นในการทำการบ้านเพื่อหา Growth Value Stock ที่โอกาสน้อยครั้งจะเกิดที และผมเองก็ต้องถือโอกาสลดสัดส่วนหุ้น value บางตัวออกไปบ้างครับ เป็นการ switch ไปในตัว growth เพื่อรอการฟื้นของเศรษฐกิจที่น่าจะมี 2 ปีจากนี้
ผมเองก็ขาดทุนในปีนี้แต่ว่าค่าเงินทำให้ไม่ขาดทุน(ยังหวังว่าปลายปีพอร์ตจะกลับมาเป็นบวก) ยังมองว่าหุ้นที่ดียังคงหาโอกาสยากที่จะซื้อในราคาถูกๆ ผมคงยังไม่ได้ให้น้ำหนักกับหุ้น hyper-growth ที่ขาดทุนหรือแค่เริ่มมีกำไร แต่รอบนี้ก็ได้ติดมือมาบ้างเล็กน้อย ทุกครั้งที่หุ้นตกแรงๆผมเองมองเป็นโอกาสในการลงทุน เพียงแต่ผมจะอดทนรอนานได้เพราะมาทางแนว value มากกว่า growth และไม่ซื้อหุ้นที่ยังเพิ่มเริ่มแข่งขันกัน อยากได้ตอนที่ธุรกิจเริ่มมีกำไรซึ่งอาจจะต้องจ่ายแพงแต่ผมก็มองว่าคนอื่นที่ได้ราคาต่ำกว่าอาจจะแลกกับหลายๆอย่างรวมถึงอาจจะมีหุ้นบางตัวที่มีราคาใกล้ 0 บาทอยู่ในมือเขาด้วย ทุกอย่างมีราคาที่ต้องจ่ายของมันเอง เราถนัดอะไรก็ทำแบบนั้นไปครับ
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 139

โพสต์

อินเดีย กำลัง เข้าประจำการ เรือบรรทุกเครื่องบิน ตอนนี้กำลังทดสอบเรืออยู่
อินเดีย สร้างเรือนานมาก คือประมาณ 10 ปีกว่าปีเลย
จีนสร้างเรื่องบรรทุกเครื่องบินใช้เวลาลำละ 5 ปีเข้าประจำการ
US รุ่นใหม่ล่าสุด ใช้เวลา 10 ปีกว่าๆ ในการเข้าประจำการ
อินเดียใช้เวลา 10+ ปีในการทดสอบ
ส่วน สิงคโปร์ เป็นชาติที่สองที่ได้ เรือบรรทุกเครื่องบินประจำการ และ มี เครื่องบิน F35C เข้าประจำการ (F35C คือ Short take off และ ขึ้นลงในแนวดิ่งเป็นพวกเหล่านาวิกโยธิน ใช้งาน ซึ่งถ้า US ใช้งานก็อยู่ในพวกที่ เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น อเมริกา หรือ Wassp นั้นเอง)
ดังนั้น ณ ตอนนี้ จำตาดู ศก ของ อินเดีย ดีๆ ว่า น้ำมันซื้อราคาถูกจากรัสเซียมา เพื่อหมุนไปทางไหน หรือ มาใช้ในประเทศอย่างเดียว
กองทุนก็เร่งซื้อ ทั้งเครื่องบินประจำการ ทดแทน มิก 29 หรือเครื่องบินรบเก่าๆ ทั้งหลาย
เรื่อบรรทุกเครื่องบิน และเรือดำน้ำ ด้วย

คุยนอกเรื่องแต่ มันคือเรื่องที่น่าคยในการลงทุนเหมือนกัน เพราะสุดท้าย กำลังทหาร เพื่อแสวงหาทรัพยากร เหมือนในอดีต นั้นเอง
:)
:)
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 140

โพสต์

ตลาดโหดดีครับ เอาปลากรอบมาฝากครับ

Treasury:
Fixed Income:
S&P500:
China:
Deutschland:
Value:
Tech:
Moat:

จากโพสท์ก่อนมาถึงตอนนี้ ก็ยังไม่ได้ซื้ออะไร.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
ksanasen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 50
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 141

โพสต์

ผมเคยลงทุน ตปท. ผ่านพวกกองทุน offshores ครั้งแรกเมื่อประมาณกลางปี 2016 ครับ โดยหลัก ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง และด้วยคิดว่าฝาก ผจก. กองทุนมืออาชีพ ช่วยดูแลไว้ก่อน ระหว่างที่ผมกำลังจะเริ่มกลับมาศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนด้วยตัวเอง แล้วค่อยมาว่ากันอีกที (เลยได้มาเริ่มศึกษา/อ่านหนังสือแนว VI และ behaviorial finance ตอนนั้น)

แรก ๆ ก็พยายามดูแนวทางของ portfolio models ที่ธนาคารผู้แทนจำหน่ายกองทุน เขาแนะนำไว้ ว่า asset class และ/หรือ region ไหน ควรจะเป็นกี่ % ซึ่งขึ้นอยู่กับ risk profile หรือ aggresiveness อะไรพรรณนั้น อีกซักพัก ลองคิดเองว่า ผสมเรื่อง sectors ที่เราชอบเข้าไปด้วยดีกว่า เช่น healthcare, technology, และ financial ในขณะที่แบ่งตาม region ก็จะเหลือแต่หุ้น Asia/China น่าเสียดายที่ผมจำเป็นจะต้องใช้เงิน เลยขายกองออกมาก่อนปีที่จะมี us stocks & tech rally ขึ้นไปแรง ๆ ก็เลยไม่ค่อยได้อะไรฮะ

ผมพอจะคุ้นเคยกับหุ้น US นิดหน่อยครับ คือตอนที่ไปเรียนหนังสือที่ US บริษัท Amazon เพิ่งเข้าตลาดได้ไม่นานและยังทำแต่ธุรกิจ online bookstore จำได้ว่าส่งการบ้านให้คุณครูไปในวิชาวิเคราะห์งบฯ ออกมาได้ราว $97... ผ่านไป 20 กว่าปี ราคามันวิ่งไปไกลเลยครับ : )

เพิ่งจะพอมีเงินเก็บ กลับไปทดลองลงทุนหุ้น ตปท อีกทีก็เมื่อประมาณเดือน ก.ย. ปีที่แล้วครับ ตอนนี้อ่วมมากฮะ 555
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 142

โพสต์

เดี๋ยวผมจะมาสรุป และเริ่มหากลยุทธ์การลงทุนใหม่ ตอนนี้ยังอ่วมแต่เริ่มประคองได้บ้าง

อันนี้จดหมายของ Mark, META คิดว่าตอนนี้เจ็บกันหมดก็เริ่มต้นเรียนรู้กันใหม่ครับ

How did we get here?

At the start of Covid, the world rapidly moved online and the surge of e-commerce led to outsized revenue growth. Many people predicted this would be a permanent acceleration that would continue even after the pandemic ended. I did too, so I made the decision to significantly increase our investments. Unfortunately, this did not play out the way I expected. Not only has online commerce returned to prior trends, but the macroeconomic downturn, increased competition, and ads signal loss have caused our revenue to be much lower than I’d expected. I got this wrong, and I take responsibility for that.

In this new environment, we need to become more capital efficient. We’ve shifted more of our resources onto a smaller number of high priority growth areas — like our AI discovery engine, our ads and business platforms, and our long-term vision for the metaverse. We’ve cut costs across our business, including scaling back budgets, reducing perks, and shrinking our real estate footprint. We’re restructuring teams to increase our efficiency. But these measures alone won’t bring our expenses in line with our revenue growth, so I’ve also made the hard decision to let people go.
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 143

โพสต์

PlayBook การลงทุนต่างประเทศในช่วงนี้ของผม


1. ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เราเชี่ยวชาญ ถ้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ต้องค่อย ๆ ศึกษา อย่ารีบ

2. พยายามสร้าง Watched List และติดตามหุ้นกลุ่มนั้นไปเรื่อย ๆ แบบไม่ห่างเกินไป และไม่ใกล้ชิดเกินไป

3. เลือกลงทุนใน Quality Company คือ Growth ใช้ได้ Moat ดี อยู่ในอุตสาหกรรมน้อยที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย ไม่แฟชั่น และมีขอบเขตแห่งการแข่งขันชัดเจน

4. การลงทุนใน Hyper Growth Company นั้นยาก จริง ๆ Risk/Reward กว้างมาก (ชนะได้ เจ๊งหมดตัว) โดยเฉพาะ Business Model หรือ Industry ที่ยัง Dynamic มาก ๆ

5. ลงทุนในไอเดียของ VI คือ อัตราชนะต้องสูง ถ้าแพ้ก็ไม่เสียอะไรมาก ถ้าเราไปลงในไอเดีย VC คือแพ้หมดตัว ขอได้บางตัว ผมคิดว่าไม่เพียงพอสำหรับการทำให้พอร์ตดีในระยะยาว สาเหตุคือ equity market ไม่เหมือนตลาด startup ที่มี upside 100X แต่หุ้นนั้นอย่างมากก็ 10X+ หา 100X ยากมาก

6. ลงทุนในจังหวะที่ตลาดนั้น หรือ หุ้นตัวนั้น ๆ เกิดวิกฤตชั่วคราว และเข้าซื้อในราคาที่เหมาะสม ได้เปรียบตลาด

7. คาดหวังน้อยลง ถ้ายังไม่ไหวก็ซื้อ ETF ไปก่อน humble ขึ้น แต่ก็พยายามวิ่งในจังหวะที่เราคิดว่าเหมาะสม คิดว่าเกมหุ้นนี้ยาว กลับไปข้อ 1 คือไม่ต้องรีบ

ความเข้าใจผิดของนักลงทุนไทยในตลาดต่างประเทศ


1. คิดว่าเข้าใจว่าธุรกิจทำอะไร อ่าน earning call ดู youtube อ่านบทวิเคราะห์ เพียงพอจะได้เงินจากตลาดหุ้นต่างประเทศ

2. คิดว่าซื้อกระจาย ๆ และรอแจ๊กพอตในหุ้นบางตัว แล้วจะได้ผลตอบแทนระยะยาวที่ดีได้

3. คิดว่าหุ้นต่างประเทศรันเวย์ยาว จนซื้อแล้วแทบจะไม่ต้องดูได้

4. คิดว่าหุ้นต่างประเทศคุณภาพดีกว่า และระยะยาวจะทำให้เราได้ Return ดีกว่าตลาดหุ้นไทยได้

5. คิดว่าหุ้นต่างประเทศดูเหมือนหุ้นไทย จริง ๆ มีมิติอื่น ๆ ที่เราต้องดูเยอะกว่ามาก

ข้อสรุปของผมคือ จริง ๆ วิถีที่จะเปลี่ยนชีวิตจากหุ้นได้

ก็คือชนะจากหุ้นไม่กี่ตัว การ Focus หาหุ้นตีแตกในจังหวะที่ได้เปรียบมาก ๆ เราเข้าใจมาก ๆ
ก็ยังเป็น Playbook ของนักลงทุนระดับโลกในต่างประเทศ

ใครคิดเห็นเหมือนต่างกัน คุยกันได้ครับ ใกล้จบปีแล้ว ปีนี้หุ้นต่างประเทศเหนื่อย แต่ก็เรียนรู้เยอะมาก
ยังไงใครไปก็อย่าเพิ่งถอดใจ พยายามศึกษาหาความรู้ไว้ครับ

จำไว้ว่า ความหวังคือสิ่งที่อันตรายที่สุดในตลาดหุ้น ความรู้คือสิ่งที่ปลอดภัยที่สุดครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
metapona
Verified User
โพสต์: 42
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 144

โพสต์

ขอบคุณมากครับพี่หลิน ประโยคสุดท้ายคมอีกแล้วครับพี่ ชอบๆ มีคลังคำคมนายกหลินเก็บไว้มั้ยครับ จะเอามาเก็บไว้อ่านเตือนใจ หุๆ

เห็นด้วยกับทุกข้อเลยครับ ผมกลับมาดูโน๊ตตัวเอง ก็เคยจดอยู่ว่า 2022 ควรจะแก้ไขอย่างไรบ้าง หรืออะไรผิดพลาดบ้าง จริงๆ ก็ซ้ำๆ กับพี่หลายข้อ

- คิดถึง Downside เสมอ ถ้ามันไม่โตอย่างที่คิดหุ้นจะโดนแค่ไหน ถ้า Downside เยอะก็ต้องหวัง Upside เยอะๆ (แต่ราคาหุ้นเทคที่ผ่านมาไม่ใช่แบบนี้)
- พี่หลินเคยให้ไอเดียว่า ถ้า Downside 50% Upside ที่ต้องการต้องมากกว่า 100% เป็นต้น
- ห้าม Extrapolate การเติบโตว่าปีนี้โต 30% ปีหน้าก็ต้องได้ประมาณนี้ โดยไม่มีข้อมูลมาแบ็คอัพเท่าที่ควร (จะพลาดทั้ง upside และ downside)
- เรียนรู้ Macro บ้าง Zoom out ออกมาหน่อย.. เรื่องดอกเบี้ย เรื่อง market mood ไรงี้ (ใช้ Howard Mark's checklist ช่วยที่ตลาดลง หรือขึ้นเยอะๆ ก็น่าจะพอเห็นภาพ)
- พยายามค่อยๆ แตกแขนงความรู้ไปในเรื่องที่ใกล้เคียง จะได้เห็นภาพกว้างขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะศึกษาไปทุกเรื่อง (ที่ผ่านมาไปเรื่อยเลย fintech cloud E-com EV adtech ฮ่าๆ ยับ) มองย้อนกลับไปผมเชื่อใน Megatrend EV ผมควรจะดูว่าโอกาสในอุตสาหกรรมใกล้เคียงหรือใน Supply Chain อยู่ที่ไหนบ้าง แทนที่จะตามแต่บริษัท Tesla และคู่แข่งซ้ำไปเรื่อยๆ ถ้าดูดีๆ "อาจจะ" ไม่พลาดโอกาสการโตของ Lithium หรือ SiC ตั้งแต่ 2021
- อย่ากลัวที่จะโยนใส่ตะกร้า "too hard" โดยเฉพาะกับหุ้นที่อ่านเยอะๆ แล้วก็ไม่ได้เข้าใจมากเท่าไหร่อยู่ดี ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ เราจะเคลิ้มไปกับกาว และกลิ่นกาวนั้นมีอยู่ตลอดเวลาในหุ้นทุกตัวจริงๆ
- อย่าตั้งความหวังสูงเกิน แต่เวลาซื้อให้เผื่อ margin of safety เยอะๆ
- Peer valuation ไม่เวิร์คถ้าทุกอย่างกำลังแพงไปหมด (e.g. Cloud/SaaS ช่วง 50x Price to Sales กันยกแถว)
- โชคดีที่ไม่ได้ Leverage
- การถือหุ้นตัวเดียวยิ่งเยอะ ยิ่งกังวลขึ้นทวีคูณ แต่เวลาหุ้นมันขึ้น อาจไม่ได้ดีใจขึ้นทวีคูณขนาดนั้น Net แล้วอาจจะไม่คุ้มสภาพจิตใจและความผันผวนที่เพิ่มขึ้นมา
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 145

โพสต์

ดีใจที่ได้เห็นพี่หลินโพสท์อีกครับ

1. คำว่า "คิดว่า" นั้นเป็นการไม่ทำการบ้าน
2. คำว่า "รอแจ๊กพอต" นั่นคือการพนัน
3. ถ้าคุณเชื่อประโยค "คิดว่าหุ้นต่างประเทศคุณภาพดีกว่า และระยะยาวจะทำให้เราได้ Return ดีกว่าตลาดหุ้นไทยได้" นั้นแปลว่า คุณอาจจะได้ปล่อยให้พวกนักวิแคระห์ นักวิชาเกรียน เซียนหุ้น ทำการบ้านแทนคุณ (พูดกันอยู่ได้ โดยเฉพาะปีที่แล้ว)
4. อย่าซื้อ ETF แม้ว่าจะเป็น passive ก็ตาม แบบมั่วๆ ปล่อยทิ้งไป
5. ผมอยู่ตรงนี้ครับ
ปล. ผมดันไปอ่านประโยคสุดท้ายของพี่ว่า "สิ่งที่อันตรายที่สุดในตลาดหุ้น คือสิ่งที่ปลอดภัยที่สุดครับ"
ภาพประจำตัวสมาชิก
ksanasen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 50
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 146

โพสต์

ผมชักจะเริ่ม สว. เลยขี้เกียจกลับไปทบทวนหัดทำ valuation models ใหม่ (หนังสือ Valuation ของ McKinsey & Co. Inc. และ Investment Valuation ของ Damodaran และเล่มอื่น ๆ ตั้งแต่จบ ป.โท มาใหม่ ๆ ยังค้างอยู่ในตู้มา 20 กว่าปีแล้ว) พอมาเริ่มศึกษาแนว VI แล้วเจอะ cloning model ของคุณ Monish Prabai ที่เขียน The Dhandho Investor ซึ่งบอกว่าหาก investment ideas ไหนต้องใช้ spreadsheet ทำ แสดงว่าอาจจะเป็นท่ายากเกินไป ก็เลยรู้สึกเข้าทางผมพอดีครับ 555

ปีกว่า ๆ ที่ผ่านมา จึงเริ่มต้นโดยการแก่แล้วเรียนลัด ทำตัวเป็น copycat สร้าง watchlist หุ้น ตปท. ที่นักลงทุน/กองทุนแนว VI ที่ผมชื่นชอบเขา screened มาให้แล้ว ๆ หากมีเวลา ก็ว่าจะค่อย ๆ เจาะลึกเข้าไปศึกษาอุตสาหกรรมและบริษัทนั้น ๆ อีกที นอกจากนั้น ก็จะคอยตามอ่านและดูว่า เซียนพวกนี้เขามีเหตุผลอะไร อย่างไร ในการเข้าซื้อหรือขาย ซึ่งถึงแม้เหตุการณ์จะผ่านไปแล้วซัก 1-2 quarters แต่เนื่องด้วยมุมองของนักลงทุนแนว VI เหล่านั้น เขามองยาวไปข้างหน้าหลายปี ก็น่าจะไม่เป็นการสายเกินไป (มั้ง?) ผม track พวกที่ผมชอบแนวคิดเขาอยู่ 13 คน/กองทุน ดังนี้ครับ

Bill Nygren & David Herro / Oarkmark Funds
Charlie Munger / Daily Journal
Chuck Akre / Akre Capital
Daniel Loeb / Third Point
Guy Spier / Aquamarine Capital
Howard Marks / Oaktree
Li Lu / Himalaya Capial
Michael Burry / Scion Capital
Monish Pabrai / Pabrai Fund
Ruane, Cunniff & Goldfarb / Sequoia Fund
Robert Vinall / RV Capital
Seth Klarman / Baupost Group
Warren Buffett / Berkshire Hathaway

สำหรับหุ้น US ที่กองทุนพวกนี้ถือและมี movements และต้องทำ filing แบบ 13F เป็น public info ก็จะมีเว็บต่าง ๆ ทำสรุปไว้ให้ เช่น www.dataroma.com แต่ถ้าเป็น holding หุ้นในประเทศอื่น ๆ บางเว็บเช่น www.tikr.com ก็อาจจะพอเข้าไปส่องดูได้ฮะ

แต่ถ้าเป็น letters / commentaries / memos / videos รายงวด ที่เขาเขียนรายงานสื่อสารกับลูกกอง ก็คงต้องเข้าไปหาดูใน hedge funds เหล่านั้นอีกทีครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 147

โพสต์

ไม่ได้อัพเดทนานเลย วันนี้มาให้กำลังใจน้อง ๆ คอร์สไทยวีไอรุ่น 19 เลยมาพิมพ์อัพเดทหน่อยครับ

ผมไปอเมริกา หุ้นที่ลงทุนส่วนใหญ่คือหุ้นเทค และผมพยายามคิดเหตุผลที่ผมผิดพลาดนะครับ

1. หุ้นเทคโนโลยีหลายตัว กลายเป็น commodity เร็วกว่าที่คิด (อัตรากำไรลดลงเร็วมาก)

2. หุ้นเทคโนโลยีหลายตัว มี TAM/ขนาดตลาด ที่เล็กลงเร็วกว่าที่คิด ไม่ได้ไปได้ทั้งโลก หรืออุตสาหกรรม niche มาก

3. หุ้นเทคโนโลยีหลายตัว มีการแข่งขันรุนแรงรวดเร็วกว่าที่คิด ที่ดีเพราะเป็น first mover เฉย ๆ

4. หุ้นเทคโนโลยีหลายตัว มี value proposition น้อยกว่าที่คิด โตได้เพราะแจกเงิน

5. หุ้นเทคโนโลยีหลายตัว ผู้บริหาร พนักงาน เอาเปรียบนักลงทุนมากกว่าที่คิด

6. หุ้นเทคโนโลยีหลายตัว กำไร (ระยะยาว) น้อยกว่าที่คิด เพราะถ้าลด R&D จะถูกตามทันทันที

ปีนี้ตลาดหุ้นแนสแดกดีมาก ๆ ผมแพ้ตลาด
ตลาดหุ้นไทยแย่กว่าที่คิดมาก แต่ผมชนะตลาด

ดังนั้น ไม่ใช่ตลาดหุ้นที่สำคัญ แต่คือตัวเราเองที่สำคัญ เพราะเราโง่กว่าที่คิด T_T
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
A69722

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 148

โพสต์

ผมเห็นสภาพตลาดหุ้นไทยตอนนี้แล้วรู้สึกว่ามันไม่ต่างไปจากบ่อนการพนัน เช่น

(1) มีหุ้นที่โดนปั่นมาคุมดัชนีเพื่อเป็นผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มที่เล่นกิน TFEX
(2) มีหุ้นลมบางตัวที่ให้ ......... (กรุณาใส่ชื่อสัตว์) มาบริหารแล้วยังบริหารได้ซื่อตรงกว่าผู้บริหารปัจจุบันอีก
(3) มีการใช้ insider อย่างกว้างขวาง ทำให้ราคาไม่สะท้อนงบ แต่งบจะสะท้อนราคา
(4) การถือยาวจะขาดทุน แต่การเล่นรอบจะได้กำไรเป็นเด้ง (ถ้าหากไม่โดนเจ้ามือกินเสียก่อน)
(5) หุ้นที่แพงเต็มไปหมด ถือแล้วมีแต่ downside สู้ถือเงินสดไม่ดีกว่าหรอ
(6) ส่วนหุ้นที่ถูกก็ไม่ได้ดีจริงๆ เพราะงบมันสะท้อนราคาไปแล้ว
(7) ถ้าคุณคัทหรือ SAP มันจะเด้งกระแทกหน้าคุณ แต่ถ้าคุณไม่คัทมันจะลงไปเรื่อยๆจนคุณต้องร้องขอชีวิต แล้วอยากจะเขวี้ยงปันผลไปคืน
(8) ให้จ่าเฉยมาทำงานแทนก็น่าจะดีกว่า ............. (กรุณาใส่ชื่อหน่วยงาน) ครับ

หุ้น VI ในตลาดไทยมันหมดไปแล้ว

มาอยู่ในตลาดแบบนี้ระวังตัวด้วยนะครับ ถ้าใครมีโอกาสลองไปหาหุ้นต่างประเทศดู แล้วคุณอาจจะประทับใจ
ohm150
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2092
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 149

โพสต์

สมมติ
TH : ตลาด +0% ชนะตลาด +10% = ผลตอบแทน 10%
US/VN/CN: ตลาด +10% ชนะตลาด 0 % = ผลตอบแทน 10%

ไม่แน่ใจควรเลือกแบบไหน ?

ถ้าลองทำ Poll ThaiVI ผมเดาว่า
ที่ลงทุนในตลาดไทย >50% อาจจะชนะตลาด
ที่ลงทุนในตลาดตปท. >50% อาจจะแพ้ตลาด

ส่วนตัวเลยสรุปได้ว่า
ถ้ามีเวลาชอบลงรายตัวยังควรลงทุนหุ้นไทย
ถ้าจะไปตปท. ควรต้องมี edge ในความรู้บางอย่างเช่น tech/global brand หรือลง index เกาะตลาดไป

ถ้าลงรายตัวในไทยแล้วแพ้ตลาดนานๆ (สัก 2-3 ปี) ควรหาทางไปลง index fund ตปท. ที่เติบโตดีกว่าไทย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 150

โพสต์

ohm150 เขียน:
เสาร์ มิ.ย. 17, 2023 10:26 am
สมมติ
TH : ตลาด +0% ชนะตลาด +10% = ผลตอบแทน 10%
US/VN/CN: ตลาด +10% ชนะตลาด 0 % = ผลตอบแทน 10%

ไม่แน่ใจควรเลือกแบบไหน ?

ถ้าลองทำ Poll ThaiVI ผมเดาว่า
ที่ลงทุนในตลาดไทย >50% อาจจะชนะตลาด
ที่ลงทุนในตลาดตปท. >50% อาจจะแพ้ตลาด

ส่วนตัวเลยสรุปได้ว่า
ถ้ามีเวลาชอบลงรายตัวยังควรลงทุนหุ้นไทย
ถ้าจะไปตปท. ควรต้องมี edge ในความรู้บางอย่างเช่น tech/global brand หรือลง index เกาะตลาดไป

ถ้าลงรายตัวในไทยแล้วแพ้ตลาดนานๆ (สัก 2-3 ปี) ควรหาทางไปลง index fund ตปท. ที่เติบโตดีกว่าไทย
เห็นด้วยกับข้อสรุปนะครับ

แต่คำถามนี้น่าสนใจดีครับ

สำหรับผม

คิดว่าผลตอบแทนของตลาดนั้นไม่สำคัญอะไรเลย

เพราะตลาดไหนผลตอบแทนสูง และไม่มี barrier to entry ย่อมดึงดูดการแข่งขันจากนักลงทุนจำนวนมาก

ตัวอย่างคือตลาดอเมริกา ที่ผลตอบแทนอันดับหนึ่งของโลก ก็มีการแข่งขันที่ดุเดือดเอามาก ๆ

ดังนั้น ในแง่ VI เราควรหาตลาดที่เติบโตได้ระดับนึง และเรามีความสามารถในเชิงแข่งขัน และตลาดควรจะมี barrier to entry บางอย่าง

เช่นตลาดไทย (มีเรื่องภาษาไทยเป็น barrier to entry ที่ทำให้คนต่างชาติเข้ามายาก) นี่เป็นเหตุผลว่า VI ไทยได้ผลตอบแทนชนะกองทุนตปท.เก่ง ๆ ได้

ส่วนตลาดอื่น ๆ หรือหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ เราก็มองหาเองว่ามันอยู่ตรงไหนครับ ถ้าไม่มีก็ยากที่เราจะชนะตลาดได้

ถ้าหวังผลตอบแทนสูง ก็มีวิธีเดียวคือเรารับความเสี่ยงสูงขึ้น คือเราเพิ่ม beta แต่ไม่ได้เพิ่ม alpha

ระยะยาว ๆ จะส่งผลให้พอร์ตจะเหวี่ยงมาก ๆ ครับ โอกาส black swan จะสูงโดยที่เราไม่รู้ตัว
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.