อวสานของตลาดทุน?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

อวสานของตลาดทุน?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

นโยบายทางด้านเศรษฐกิจและการเงินของพรรคการเมืองผู้นำที่กำลังพยายามจัดตั้งรัฐบาลในช่วงนี้นั้น ก่อให้เกิดความกังวลต่อตลาดทุนโดยเฉพาะตลาดหุ้นไม่น้อย เหตุผลก็เพราะว่ามีการเสนอให้เปลี่ยนแปลงแนวทางหรือปรัชญาทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยใช้มานานและ “ได้ผลดี” ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้ “เจริญเติบโต” ต่อเนื่องมายาวนาน นั่นก็คือ เศรษฐกิจแบบ “ทุนนิยมเสรี” ซึ่งก็ทำให้รายได้ของประชาชนสูงขึ้นและส่วนใหญ่ก็ “พ้นจากเส้นขีดของความยากจน”

อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนหรือข้อเสียที่เกิดขึ้นก็คือ “คนรวย” นั้นรวยขึ้นมาก “เกินไป” ส่วนคนจนนั้นมีรายได้และทรัพย์สมบัติน้อยเกินไป ความแตกต่างนั้นสูงลิ่ว ทำให้เกิดความไม่พอใจในคนจำนวนมากที่ต้องการลดช่องว่างนี้

แนวทางใหม่ที่เสนอก็คือ การเก็บภาษีธุรกิจที่ “คนรวย” เป็นเจ้าของมากขึ้น เก็บภาษีกิจกรรมที่คนรวยทำมากขึ้น และเก็บ “ภาษีทรัพย์สิน” ของคนที่รวยหรือมีความมั่งคั่งมากกว่าปกติมาก นอกจากนั้น ก็จะ “จัดการ” กิจการของคนรวยที่ “ผูกขาด” การทำธุรกิจที่เอารัดเอาเปรียบคนที่รวยน้อยกว่าหรือเป็นธุรกิจรายย่อย แล้วใช้เงินที่ได้เอามา “แจกจ่าย” หรือเป็น “สวัสดิการ” ให้แก่คนจน หรือมองในทางวิชาการก็คือ จะเปลี่ยนแนวทางหรือปรัชญาทางเศรษฐกิจให้เป็นแบบ “สังคมนิยม” ที่เน้น “ความเท่าเทียม” ทางเศรษฐกิจของประชาชนแทนที่การเน้นการเติบโตอย่างที่ทำติดต่อกันมายาวนาน



แต่คนรวยและรวยมากในประเทศไทยส่วนใหญ่และน่าจะมากกว่า 90% ของทั้งหมดที่ไม่ได้มาจากการทำผิดกฎหมายนั้น ก็มักจะมาจากการ “ลงทุน” ทำธุรกิจ และในระยะหลัง ๆ ก็เป็นธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น ว่าที่จริง มูลค่าความมั่งคั่งของ “คนรวย” ที่อยู่ในตลาดหุ้นนั้นสูงถึงเกือบ 20 ล้านล้านบาท หรือมากกว่ารายได้ต่อปีของประชาชาติไปแล้ว ดังนั้น เป้าหมายของการเรียกเก็บภาษีจึงเน้นไปที่หุ้นในตลาดหลักทรัพย์

ตัวอย่างภาษีที่มีการประกาศแล้วว่าอาจจะเก็บก็เช่น ภาษีนิติบุคคลของบริษัทขนาดใหญ่ที่จะเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 23% ภาษีกำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ การจัดการกับการ “ผูกขาด” ของบริษัทขนาดใหญ่มากที่ส่วนใหญ่ก็อยู่ในตลาดหุ้น และการเก็บภาษีความมั่งคั่งสำหรับคนที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเกินกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งจำนวนมากก็เป็นคนที่ถือหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

ทั้งหมดนั้นมีผลต่อผลประกอบการของบริษัทและการประเมินมูลค่าหุ้นอย่างแน่นอนและอาจจะรุนแรงซึ่งอาจจะทำให้หุ้นตกซึ่งจะส่งผลให้การระดมทุนเพื่อขยายกิจการไม่เติบโตและในบางกรณีก็อาจจะมีการ “ถอนทุน” ออกจากประเทศไทยไปด้วย โดยคนที่ถอนอาจจะเป็นนักลงทุนต่างประเทศที่อาจจะมองว่าตลาดหุ้นไทยไม่เติบโตและให้ผลตอบแทนต่ำกว่าคู่แข่งที่เป็นตลาดที่เติบโตเร็วกว่าและให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรืออาจจะเป็นนักลงทุนไทยเองที่หันไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ และนั่นก็จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ลดลง ซึ่งก็จะทำให้เม็ดเงินภาษีที่จะเก็บได้ลดน้อยลง ไม่เพียงพอต่อการให้สวัสดิการที่จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในอนาคต



การตกลงของดัชนีตลาดหุ้น ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของผลประกอบการเพราะการเก็บภาษีในระดับสูง และการเพิ่มขึ้นของ “ต้นทุน” ของการซื้อ-ขายหุ้นเนื่องจากภาษีกำไรจากการลงทุนและอื่น ๆ นั้น ยังส่งผลต่อ “คนชั้นกลาง” จำนวนมาก อาจเป็นหลายล้านคน ที่ลงทุน “ออมหุ้น” เพื่อการเกษียณ พวกเขาเหล่านั้นต่างก็ลงทุนในหุ้นเองหรือผ่านกองทุนรวมหรือกองทุนต่าง ๆ ที่ลงทุนในหุ้นที่เป็นทรัพย์สินที่ “ให้ผลตอบแทนสูงสุด” เมื่อเทียบกับการลงทุนอื่น ๆ โดยเฉพาะการฝากเงินในธนาคาร แต่ถ้าหากว่าหุ้นไทย “ตกลงต่อเนื่องระยะยาว” อันเป็นผลจากนโยบายที่ “ไม่สนับสนุนตลาดทุน” ของรัฐ อนาคตของพวกเขาจะเป็นอย่างไร? พึ่งพาสวัสดิการหรือ?

ทางเลือกหนึ่งของรัฐบาลที่จะทำได้ก็คือ การเพิ่มภาษี VAT แทน ซึ่งจะได้เม็ดเงินเพิ่มตามจำนวนที่ต้องการและ “ไม่ผิดพลาด” มาใช้ในการทำสวัสดิการที่ต้องการ และไม่เกิด “ผลข้างเคียง” มาก ว่าที่จริงภาษี VAT ของไทยก็ยังต่ำกว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลก ในขณะที่ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนนั้น โอกาสที่เม็ดเงินจะผิดพลาดนั้นสูงมาก เนื่องจากทรัพย์สินที่อิงกับราคาหุ้นหรือปริมาณการซื้อขายหุ้นจะมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในทางที่ลดลง ประสบการณ์ในต่างประเทศที่มีการเก็บภาษีที่ไทยกำลังคิดนำมาใช้นั้น “น่าผิดหวัง” หลายประเทศต้องเลิกเก็บภาษีดังกล่าวด้วยซ้ำ

อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ การปรับลดงบประมาณของประเทศในส่วนงานอื่นที่มีความจำเป็นน้อยกว่า เพื่อที่จะนำเงินส่วนที่เหลือมาใช้ในงบสวัสดิการ นี่ก็อาจจะเป็นสิ่งที่รัฐบาลใหม่จะทำอยู่ แต่จะทำได้มากน้อยแค่ไหนก็ยังไม่รู้ อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นที่จะต้องให้สวัสดิการเต็มที่ทันทีก็ไม่ได้มากถึงขนาดนั้น การค่อย ๆ “ปรับ” งบค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ดีนักก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจจะเหมาะสมกว่า



ในอีกด้านหนึ่ง เป้าหมายที่จะลดความเหลื่อมล้ำอย่างรวดเร็วนั้น ก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก เพราะอาจจะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงและไม่พึงประสงค์ได้ ตัวอย่างเช่น อาจจะทำให้ตลาดทุนตกต่ำลงซึ่งส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจรุนแรง ซึ่งจะกลับมาส่งผลต่อเม็ดเงินที่จะใช้ในการแก้ปัญหาความยากจนและความเท่าเทียมและลดเม็ดเงินที่จะลงทุนในกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งก็จะลดการลงทุนของเอกชนในตลาด กลายเป็น “วัฏจักรแห่งความเลวร้าย” ซึ่งน่าจะเคยเกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในโลกที่ใช้นโยบาย “สุดโต่ง” เกินไป และจนถึงวันนี้ก็ยังไม่ฟื้นจาก “วิกฤติ” ที่ร้ายแรงของประเทศ

เป้าหมายที่เป็นทางเลือกอย่างหนึ่งแทนที่ความเท่าเทียมเป็นหลักก็คือ การลดจำนวนประชากรที่ยังอยู่ “ใต้ขีดความยากจนของประเทศ” ให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย พูดง่าย ๆ ทุกคนสามารถใช้ชีวิตที่ดีเพียงพออย่าง “มีศักดิ์ศรี” ตามเกณฑ์ของสหประชาชาติ มีสวัสดิการรองรับในด้านของความเจ็บป่วย การศึกษาและการตกงาน เป็นต้น โดยเป้าหมายนี้ยังเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยความเชื่อที่ว่า เมื่อประเทศรวยจนถึงระดับหนึ่ง เช่น กลายเป็นสังคมที่มี “รายได้สูง” แล้ว การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะง่ายขึ้นมาก เพราะรัฐจะมีเงินมากพอ เช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ที่มีความมั่งคั่งพอที่จะจ่ายภาษีในอัตราที่สูงได้ และนี่ก็คงเป็นโมเดลของประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปหลายประเทศ

หลายคนอาจจะคิดว่าการพูดว่าตลาดทุนหรือตลาดหุ้นจะ “พัง” หรือมีประสิทธิภาพลดลงมากจนไม่สามารถช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้นั้น อาจจะมองโลกในแง่ร้ายเกินไป แต่ผมคิดว่าในโลกยุคปัจจุบันนั้น “ความเชื่อสำคัญเท่า ๆ กับความจริง” กล่าวคือถ้าคน “เชื่อ” ว่าประเทศเราไม่สนับสนุนตลาดทุนหรือตลาดหุ้น หรือเราจะเป็น “สังคมนิยม” เขาก็จะตัดสินใจไม่มาลงทุนหรือถอนการลงทุนออกไป อาจจะโดยการขายหุ้นในตลาดอย่างต่อเนื่อง นั่นก็จะทำให้คนอื่นต้องทำตามเพราะกลัวหุ้นตก และในที่สุดก็ทำให้ตลาดทุนและตลาดหุ้นตกต่ำลง ความเชื่อก็กลายเป็นความจริง



สุดท้ายที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือ หลายคนอาจจะคิดว่า ผมอาจจะมี Bias หรือความลำเอียงในฐานะของคนในตลาดหุ้นที่จะต้องเสียภาษีหนัก คำตอบของผมก็คือ ถ้าคำนวณว่าสุดท้ายผมต้องเสียภาษีเทียบกับความมั่งคั่งไม่เกินปีละ 0.5-1% ต่อปี ผมก็คงไม่เดือดร้อนหรอก ถ้าตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 7-8% และผมอาจจะทำได้ดีกว่านั้นด้วย
สิ่งที่ผมกลัวก็คือ ตลาดหุ้นและตลาดทุนจะ “วาย” ลงทุนแล้วดัชนีมีแต่จะตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ เรากำลังผ่าน “ทศวรรษที่หายไป” ในปีนี้ และก็หวังว่าเราจะเริ่มฟื้นตัวสู่ “ทศวรรษแห่งความรุ่งเรือง” หรืออย่างน้อยเป็น “ทศวรรษแห่งความยั่งยืน” หรือทศวรรษปกติ แต่ถ้ามันไม่ใช่ นี่ก็อาจจะเป็น “อวสานของตลาดหุ้น” ที่นักลงทุนจะต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไร
wj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1399
ผู้ติดตาม: 1

Re: อวสานของตลาดทุน?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมไม่เห็นด้วยเลยครับกับ ดร.
การเก็บภาษีจาก 20% เป็น23%ของบริษัทไม่ได้เยอะอะไรเลยถ้าเทียบกับประเทศอื่น เรามีสิทธิทางภาษีเพื่อช่วยจูงใจในการลงทุนอยู่แล้วจะเพิ่มตรงนี้ในส่วนที่เหมาะสมก็ได้ ส่วนตัวเสนอเป็นขั้นบันไดสูงสุด 30%สำหรับธุรกิจในประเทศ ส่งออกเพื่อการแข่งขันก็ดูประเทศคู่แข่งให้สมน้ำสมเนื้อ

ส่วนจะมาเก็บvatมากขึ้นมันเป็นการพลักภาระให้คนส่วนใหญ่ ตลาดหุ้นอื่นยังไม่วายเลย สมัยก่อนภาษี30%ตลาดยังไม่พังเลยแม้ว่าจะอยู่ในบริบทที่แต่ต่างกัน ประเทศญี่ปุ่นดัชนีไม่ไปไหนยังไม่อวสานเลย ไม่เห็นว่าชาวบ้านจะอดตาย มันแต่ฟองสบู่แตกมานานจากซื้อขายแพงมาขายถูก แต่บริษัทก็ยังเจริญเติบโต

ผมอยู่บ้านนอกเสียภาษีก็ปกติ แต่ไร้ซึ่งความเจริญอย่างกทม. แม้แต่น้ำประปายังไม่มีเลย มีแต่น้ำดิบแต่ท่อน้ำยังต้องไปต่อเข้าบ้านเอง คนรวยส่วนใหญ่คงไม่เคยรู้ว่าความเหลื่อมล้ำมันเยอะ ถ้าไม่เก็บจากคนรวยจะไปเก็บกับใคร ให้คนจน-คนชั้นกลางแบกประเทศเหรอครับท่าน อย่าไปห่วงเรื่องราคาหุ้นมากห่วงคุณภาพประเทศดีกว่า ทุกวันนี้มันแย่ไม่โตเพราะบริหารประเทศห่วย/โกงกิน/กินรวบ ที่711+makro+lotusได้มันเพระกฎหมายห่วย ถ้าประเทศเจริญแล้วมันจะทำได้เหรอครับ

ยุโรป vat 2x% แต่คนเขาไม่เหลื่อมล้ำ ภาษีบุคคล30-50%มีสวัดิการ
จีนvat น่าจะ10% tax25% ไทยมันทำไม่ทันแล้วมันก็ต้องค่อยๆเรื่ม ภาษีนิติบุคคลคือทางออกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการลดเหลื่อมล้ำทางธุรกิจด้วยขั้นบันได 20-30% นักนักลงทุนที่มีเงินเดือน,รายได้น้อยเคริตคืนได้อยู่แล้วไม่กระทบ ส่งออกไม่กระทบเพราะใช้taxใกล้คู่แข่ง ลงทุนมีboi บริษัทเทคชั้นสูงขนาดเล็ก10-15% ส่วนvatค่อยเพิ่มก็ได้หากมีสวัสดิการปชช.เพิ่มและความเหลื่อมล้ำลดลง

ถ้าแบบที่ผมเสนอก็มีแต่พวก aot cpall ptt ธนาคาร ขนาดใหญ่ในประเทศ ที่ต้องจ่ายเพิ่ม มันจะไปอวสานตรงไหน แต่อวสานคนที่รวยมากๆเป็นเจ้าของธุรกิจผูกขาดในประเทศแล้วยังโลภแค่นั้นแลหะครับ กับคนรวยบ้าหุ้นจนbias ขึ้นสมองเท่านั้นเอง

และถ้า tax พวกบริษัทผูกขาดเป็น30% หุ้นที่โดนลง50% นี่คือทางรอดของนักลงทุนรายย่อยจะได้ซื้อหุ้นถูกและได้เครดิตภาษีคืนเต็มๆ
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
wj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1399
ผู้ติดตาม: 1

Re: อวสานของตลาดทุน?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

สมัยก่อนนานมากที่อเมริกา นายทุนพยายามมีแนวคิดรวมกิจการผูกขาดทุน(น้ำมัน เหล็ก….)ทำให้ชาติปชช.เสียหาย ต่อมามีแนวคิดที่จะทำลายทุนผูกขาด แต่พวกนายทุนเหล่านี้ก็ต่อสู้ จนในที่สุดก็ทลายกลุ่มผูกขาดได้ ทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันมีผู้เล่นจำนวนมาก และรวมถึงการมีกฎหมายผูกขาด ประเทศก็ยังเจริญได้ แม้ว่าapple google amz จะใหญ่และกินตลาด แต่ก็เป็นการใหญ่ทั้งโลกไม่ได้กินจากปชช.ในประเทศอย่างเดียวและยังคงโดนปรับต่อเนื่อง
ถ้าเราปล่อยให้บางเจ้ากินรวบตลาดค้าปลีก(ที่อเมริกาศาลเพิ่งจะให้ค้าปลีกเจ้าหนึ่งแบ่งขายกิจการ) ขยายไปทั่วชุมชน สุดท้ายรายเล็กรายน้อยตายกันหมด ชีวิตผู้คนตกต่ำ แบบนี้คุณรวยแต่คนอื่นหายนะ
ผมว่าไปอ่านแนวคิด warren ได้เรื่องภาษีคนรวยนักลงทุนเหมือนกัน vi ต้นฉบับ ไม่ใช่แค่รวย ศีลธรรมต้องมีด้วย
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: อวสานของตลาดทุน?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

จริงๆตอนนี้สำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย ทุกอย่างโอเคอยู่แล้วในทางเศรษฐกิจ ตลาดทุน-ตลาดเงิน ภาษีกิจการต่างๆ รวมถึงยังพอมีความน่าสนใจในการลงทุนจากต่างประเทศ เพียงแต่ว่ากว่าที่เราจะหาทางออกจากความวุ่นวายทางการเมืองมาได้ ก็ดันมาติดในบางเรื่องของนโยบายทางเศรษฐกิจที่นำเสนอโดยฝั่งประชาธิปไตยที่ชนะมา

ทำไมเรื่องนโยบายถึงถูกนำมาพูดถึงโดยผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ก็เพราะพวกเขาเห็นผลกระทบว่าจะส่งผลไม่ดีในอนาคต ถ้าไม่ฟังกันเลย ประเทศจะก้าวไปได้อย่างไร ทำอย่างไรถึงจะเห็นแนวทางที่ไปด้วยกันได้ และได้รับการยอมรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ประเทศจะได้เดินหน้าได้ การก้าวจากประเทศรายได้ปานกลาง จนไปเป็นประเทศรายได้สูงเป็นประเทศพัฒนาแล้ว มันมีตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้วว่าได้ผลโดยนโยบายเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว แม้แต่ จีน เวียดนาม ที่เป็นสังคมนิยม ก็หันมาใช้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจเป็นตัวนำ ทำไมไทยจะไม่ใช้ตาม

เรื่องทุนผูกขาด ก็ต้องดูหลายเรื่อง เช่น ความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรม ขนาดตลาด จำนวนผู้เล่นที่เหมาะสม กิจการต่างชาติที่เข้ามาแข่งขัน รวมถึงจำนวนเงินลงทุนของกิจการบางอย่างที่มากจนกิจการรายเล็ก กลาง ไม่สามารถลงทุนได้ ไม่คุ้ม เพราะไม่เกิดการประหยัดจากขนาด ดูอย่างช่วงทีวีดิจิตอลบูม กสทช.ออกเร่ขายในอนุญาติ หลายเจ้าก็แห่กันเข้ามา แต่ในที่สุดขนาดตลาดที่เหมาะสมจะกำหนดผู้เล่นเอง ทีวีดิจิตอลหลายช่อง ในที่สุดก็ปรับตัวจนเหลือแต่ช่องที่ทำกำไรอยู่ได้เท่านั้น นี่คือประสิทธิภาพของตลาด หลายช่องต้องอาศัยความดราม่า เพื่อสร้างเรทติ้ง ดูรายการเล่าข่าวต่างๆ เล่นกับกระแสต่างๆ เพื่อเรตติ้ง เพื่อความอยู่รอด จริยธรรมสื่อ นี่แทบเก็บเอาไว้ก่อน เพราะปากท้องสำคัญกว่า ตรงนี้น่าเป็นห่วงรัฐควรมาเช็คหน่อย

กิจการธนาคารเองก็โดนเรื่องฟรีค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเจ้าหนึ่งเป็นผู้เริ่มต้น แต่เขาก็มีเหตุผลเพื่อเพิ่มต้นทุนของพวกฟินเทคที่จ้องเข้ามาอยู่ แต่ผู้บริโภคก็ได้รับประโยชน์ เพราะมีการเกิดขึ้นของแอพฯการเงินที่ทันสมัย มีความคล่องตัว เกิดการขยายตัวในการใช้งาน ถึงแม้แบงค์จะเสียประโยชน์แต่เขาก็ต้องปรับตัวหารายได้จากทางอื่นแทน

สมัยโน้ตบุ๊ค อุปกรณ์คอมฯ กล้องดิจิตอลบูมๆ แต่เมื่อมีสมาร์ทโฟนเข้ามาและมีประสิทธิภาพดีขึ้นๆ จนได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะมีฟีเจอร์ต่างๆใกล้เคียงหรือดีกว่า โน้ตบุ๊คยอดขายก็ตกลง ส่งผลถึงอุปกรณ์คอมฯ กล้องดิจิตอลไปด้วย อย่างพันทิปประตูน้ำก็ได้รับผลกระทบหนักจนต้องปรับตัวมาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีกิจการหลายเจ้าได้ประโยชน์ตรงนี้ สามารถปรับตัวรับกระแสที่เปลื่ยนแปลง ผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์ มีสินค้าให้เลือกมากขึ้นในราคาที่สมเหตุผล กิจการที่ได้รับผลกระทบก็มีหลายเจ้า ก็ปรับตัวกันไป กิจการร้านหนังสือ สำนักพิมพ์เองก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะผู้บริโภคหันมานิยมเสพสื่อทางออนไลน์มากขึ้น ผ่านมือถือได้โดยตรง ส่งผลให้สื่อสังคม โซเชียลมีเดีย ซึ่งมีข้อดีคือเสรี มีเนื้อหาที่ผู้บริโกคเลือกได้เองตามความชอบ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และก็ส่งผลต่อความคิด ความรู้สึกของผู้คนมากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาใหม่ขึ้นมา เกิดการให้ข้อมูลเท็จ หลอกลวง ล่อลวง บูลลี่ออนไลน์ ทัวร์ลง การใช้ภาษาที่ก้าวร้าว หยาบคาย ด่าทอกันสนุกปาก การเสพข่าวสารต่างๆ ก็ถูกส่งต่อสั้นกระชับเกินไป บางสื่อแค่ไม่กี่วินาที ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ไม่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงบ้าง การตรวจสอบก็เป็นไปได้ยาก

ค้าปลีก กับ สื่อสาร ส่วนสำคัญคือทุนต่างชาติถอนตัวไปเพราะสู้ไม่ไหว อาจจะด้วยเรื่องคุณภาพที่ด้อยกว่า หรือเป็นเพราะนโยบายของบริษัทแม่ในเรื่องการลงทุน ความคุ้มค่า หรือโอกาสลงทุนทางธุรกิจในภูมิภาคอื่นๆ แต่มันก็แสดงให้เห็นถึงความสามารถของทุนในประเทศ

โรงไฟฟ้าเองก็มีหน่วยงานกำกับดูแล ถึงแม้บางกิจการจะประมูลโรงไฟฟ้าได้มาด้วยความดูน่ากังขาสำหรับหลายคน แต่ด้วยการปรับราคาพลังงานต่างๆลงเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในช่วงฟื้นตัวหลังโควิด 19 และจากราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นมากจากการเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ในที่สุดก็ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ทำให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาก ค่าไฟจึงเพิ่มขึ้นมาก แต่ในช่วงฤดูถัดไปของปี ด้วยต้นทุนพลังงานที่ลดลงแล้ว จะทำให้ค่าไฟลดลงเอง

ยังมีตัวอย่างอีกหลายธุรกิจที่ปรับตัวไปตามสภาพตลาด บางเจ้าหดหายไป บางเจ้าเล็กลง หรือ เกิดเจ้าใหม่ขึ้นมา หรือเจ้าที่ทำได้ดีกว่ายังคงอยู่รอดและทำได้ดียิ่งขึ้น การที่รัฐจะไปควบคุมต้องดูให้ดี ไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่ต้องดูนักลงทุนต่างประเทศด้วย เขาอาจเห็นว่ามาลงทุนแล้วไม่คุ้ม เพราะต้นทุนสูง ไม่ต้อนรับเขา เขาไปที่อื่นดีกว่า กิจการในประเทศเองอาจหมดแรงจูงใจ อยู่ไปแบบแกนๆ ไม่พัฒนา อย่างนี้ในระยะยาวจะแย่เอาทั้งประเทศ ตอนนี้ระบบเศรษฐกิจของไทยเปิดกว้างมาก มันกระทบกับไปทุกภาคส่วน ถ้าทำอะไรไม่คิดหน้าคิดหลัง มันก็มีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ แต่ประโยชน์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับประเทศไหมเป็นคำตอบที่สำคัญที่สุด ตรงนี้คือสิ่งที่มือที่มองไม่เห็นจัดสรร

ส่วนเรื่องอื่นที่มือที่มองเห็นต้องดูแล เพราะจะเกิดความไม่เป็นธรรมต่างๆขึ้น เช่น เรื่องความเหลื่อมล้ำ เรื่องการแก้คอร์รัปชั่น การตรวจสอบงบของกระทรวงต่างๆให้รัดกุม การดูแลสวัสดิการให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและอนาคตของประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ดุลพินิจให้รอบคอบ เพราะจะส่งผลกระทบหลายด้านเป็นภาระการคลังผูกพันยาวนาน ทำให้ประเทศอ่อนแอในระยะยาว รัฐบาลควรจัดระเบียบราชการในเรื่องต่างๆ กฏหมายต่างๆให้คล่องตัว ทั้งเรื่องความโปร่งใสในการประมูลงานรัฐ สัมปทานต่างๆ รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนต่างประเทศ เพราะเรายังต้องพึ่งพาพวกเขาอยู่มาก รัฐบาลกลางต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น เล็กลง มีการกระจายอำนาจออกไปสู่ระดับจังหวัดมากขึ้น

รัฐบาลต้องเน้นเรื่องช่วยการเจรจาค้าขายกับต่างประเทศ นำรายได้เข้าประเทศ ดึงการลงทุนต่างประเทศเข้ามา สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ยกระดับอุตสหกรรมเดิม ใช้ประโยชน์จากตลาดทุน-ตลาดเงินให้เป็น มีการส่งเสริมนักธุรกิจ-นักลงทุนในประเทศ เพิ่มการกระตุ้นการบริโภคไปยังจังหวัดต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดกระจายการค้า การลงทุนตามมา ตรงนี้จะทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดต่างๆขยายตัว ส่งผลถึงค่าแรงโดยรวมให้ปรับขึ้น และส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศขยายตัว รวมถึงการเปิดรับแรงงานหนุ่มสาวจากต่างประเทศเข้ามาทำงานอยู่อาศัยทั้งระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง ใครเข้ามาทำประโยชน์ให้ประเทศ ต้องดูแลเขาอย่างดี มีสวัสดิการที่เหมาะสม แต่ก็ต้องมีกฏ ระเบียบต่างๆชัดเจนให้ไม่เอาเปรียบคนในประเทศ ต่อมาเขาเข้ามาอยู่นานๆเข้า ด้วยธรรมชาติของมนุษย์เขาก็ต้องปรับตัว ยิ่งอาศัยอยู่นานเขาก็ชินและกลายเป็นคนในชาตินั้นไป เพราะเกิดความผูกพันและมีต้นทุนในการย้ายไปที่อื่นสูง คนเราอยู่ที่ไหนสบายกายสบายใจ มีโอกาสในการทำงาน สามารถยกระดับความเป็นอยู่อย่างเหมาะสมกับฐานะ เขาก็อยู่ การนำเข้าแรงงานถาวรจะช่วยแก้ไขปัญหาการเกิดน้อยและปัญหาประชากรแก่ตัวลงได้ ซึ่งยุคนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่ไทยต้องรีบเร่งก่อนที่จะมีการแย่งแรงงานกันเกิดขึ้นในอนาคต
A69722

Re: อวสานของตลาดทุน?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

พูดตรงๆเลยว่าในฐานะนักลงทุน ดร.ไม่ควรเอาเรื่องการเมืองมาพูด และไทยวีไอไม่ควรเอาบทความที่เกี่ยวกับการเมืองมาลง โดยเฉพาะที่เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล เนื่องจากผิดกติกาของบอร์ด

A66667

Re: อวสานของตลาดทุน?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

A69722 เขียน:
อาทิตย์ มิ.ย. 11, 2023 3:46 pm
พูดตรงๆเลยว่าในฐานะนักลงทุน ดร.ไม่ควรเอาเรื่องการเมืองมาพูด และไทยวีไอไม่ควรเอาบทความที่เกี่ยวกับการเมืองมาลง โดยเฉพาะที่เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล เนื่องจากผิดกติกาของบอร์ด1.png
อันนี้พูดเรื่อง นโยบาย น่าจะไม่เกี๋ยวนะครับ ไม่งั้นก็ต้องห้ามพูดเรื่อง นโยบายเศรษฐกิจด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

Re: อวสานของตลาดทุน?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

phpBB [video]
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <⁠(⁠ ̄⁠︶⁠ ̄⁠)⁠> ...
rusterz
Verified User
โพสต์: 47
ผู้ติดตาม: 0

Re: อวสานของตลาดทุน?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

การที่ ดร. ยกตัวเลข 20% > 23% มันทำให้น่ากลัวเกินจริงครับ

ขอหยิบยก นโยบายจริงๆทั้งหมดครับ
  • ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล SMEs ให้เหลือ 0-15%
    • ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ SMEs (ช่วงกำไร 3 แสนบาท ถึง 3 ล้านบาท) จาก 15% เป็น 10%
    • ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ SMEs (ช่วงกำไร 3 ล้านบาท ถึง 30 ล้านบาท) จาก 20% เป็น 15%
    • เพิ่มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับทุนใหญ่ (ช่วงกำไรเกิน 300 ล้านบาท) จาก 20% เป็น 23%
ดังนั้นบริษัทขนาดเล็กหรือกลางใน set/mai ก็จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
โพสต์โพสต์