ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
sunnyvi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 186
ผู้ติดตาม: 0

ต้องเทียบกับ Modern trade

โพสต์ที่ 31

โพสต์

ผมเคยมี  BGH อยู่จำนวนหนึ่ง  แต่ขายไปเรียบร้อยแล้ว

ตั้งแต่ราคาพุ่งเป็นเท่าตัวช่วงแรกๆ

ยัง โทรไปบอกมาร์  ว่า  ถ้าตกลงมาจะรับอีก

คือ กะว่าไม่น่าจะPE สูงได้นาน  เดี่ยวผลประกอบการผสมกับรพ.อื่นออกมา  กำไรจะตามไม่ทัน  ราคาจะตกอีก  

ผลคือไม่ได้กลับไปซื้ออีกเลย


อยากแชร์เรื่องความเสี่ยงกับคุณลูกอีสานอย่างหนึ่งก็คือ

ผมได้ฟังผู้อำนวยการรพ.ของรัฐแห่งหนึ่ง  เริ่มทำเรื่องขอเปิดตรวจผู้ป่วยนอกเวลาราชการ  สำหรับแพทย์ของรัฐ  โดยค่ารักษาผู้ป่วยจะต้องจ่ายเอง  ทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของรพ.รัฐมีรายได้เพิ่ม  ไม่ต้องลาออกไปอยู่เอกชน

ซึ่งจะเป็นคู่แข่งของรพ.เอกชนในจังหวัดนั้นๆ  เพราะเดิมรพ.เอกชนในต่างจังหวัด  ก็ใช้แพทย์นอกเวลาจากรพ.ของรัฐอยู่แล้ว

ณ ราคานี้  ส่วนตัวคิดว่าต้องมาเทียบกับหุ้น โมเดิรนเทรด  ว่าระยะยาวแล้วใครเสี่ยงกว่า  และใครจะมีการเติบโตของกำไร ดีกว่ากัน
เดินให้ถึงจุดหมาย
อย่างมีความสุข
ภาพประจำตัวสมาชิก
เพื่อน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1832
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 32

โพสต์

HVI เขียน: สมมติว่าเราลงทุนหุ้นโรงพยาบาลเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
โอกาสที่ได้ผลตอบแทนเป็นเท่าตัวมีสูงมาก ถึงแม้จะปาเป้าก็ตาม
แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า
ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ยังคงดีเหมือนเดิม (ณ P/E ของ Sector ที่สูงที่สุดของตลาด)
น้องHVI  ผมลงมา2ปี cap.gainเพิ่ม ก็70%แล้วครับ(ปันผลอีกต่างหาก)  แต่ก็คาดอย่างที่HVIว่าเหมือนกันว่า หลังจากนี้คงขึ้นไม่เยอะ เลยไม่กล้าซื้อเพิ่มอีกสักที...เสียดายเหมือนกัน

ส่วนBH แค่ลองซื้อมาศึกษานิดหน่อยได้ไม่กี่เดือน ก็เกิน100% ไปแล้ว เสียดายที่ไม่ได้ซื้อจริงจังเหมือนกัน

ที่จริงก็มอง KH และ TNH อยู่นานแล้วเหมือนกัน แต่ไม่ชอบKHเป็นการส่วนตัวครับ และTNHก็ยังกังวลๆเรื่องมูลค่าทรัพย์สินอยู่ เลยชวดทั้ง2ค่ายนี้ไปเลย ราคาตอนนี้ก็คงต้องคิดมากกว่าเดิมซะแล้ว
HVI เขียน: ที่ผมคิดออกอีกประเด็นหนึ่งคือความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องจากคนไข้ครับ
เดี๋ยวนี้คนไข้ฟ้องหมอกันมาก
ผมเห็นด้วยว่ากรณีนี้น่าห่วงที่สุดของโรงพยาบาล โดยเฉพาะพวกข่าวลือ(หรืออาจจะจริง)เรื่องโรคติดต่อบางอย่างที่ไปแพร่ภายในโรงพยาบาล เหมือนก่อนหน้านี้ที่มีข่าว เรื่องเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งค่อนข้างร้ายแรง ในโรงพยาบาลรัฐ(ถ้าจำไม่ผิด)แห่งหนึ่ง

ส่วนเหตุผลที่โรงพยาบาลเป็นที่สนใจอันดับต้นๆ ในมุมมองส่วนตัวผมเอง ก็เพราะผมเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่า หากเกิดเหตุวิกกฤตอะไรขึ้นมาสักอย่าง หุ้นกลุ่มไหนที่ดูปลอดภัยที่สุด ไม่ฟุบไปตามเหตุการณ์นั้นๆหรือฟุบแต่เพียงน้อยๆ น่ารักๆ.....คำตอบที่ผมคิดได้ตอนนั้นก็คือโรงพยาบาล นิ
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

Re: ต้องเทียบกับ Modern trade

โพสต์ที่ 33

โพสต์

[quote="suirya"]
อยากแชร์เรื่องความเสี่ยงกับคุณลูกอีสานอย่างหนึ่งก็คือ

ผมได้ฟังผู้อำนวยการรพ.ของรัฐแห่งหนึ่ง
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 34

โพสต์

มีเพื่อนๆแสดงความเห็นในกระทู้อื่นๆทำนองว่า
หุ้นในกลุ่มนี้ได้รับความสนใจมากไปหรือเปล่า และราคาตอบสนองไปแล้วใช่หรือไม่ การซื้อหุ้น hot ในอุตสาหกรรมที่ hot จะทำให้ติดดอยหรือไม่

เพราะเราเคยมีบทเรียนไม่นานมานี้ ว่าการซื้อหุ้นวัฎจักรในตอนที่รุ่งเรือง มักจะเจ็บตัว เช่น หุ้นอสังหา กลุ่มยานยานยนต์ กลุ่มเรือ กลุ่มปิโตรเคมี ราคาหุ้นทำนิวไฮท์ และส่วนใหญ่ไม่เคยกลับไปที่ราคานั้นอีกเลย

ส่วนตัวผมก็ไม่ทราบว่าที่ราคาตอนนี้จะเป็นดอยหรือเปล่า แต่มีข้อสังเกตุอย่างนี้ครับ

1.หุ้นวัฎจักรที่ทำให้นักลงทุนเจ็บตัว เกิดจากการที่ความต้องการ และกำลังการผลิต ไม่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดความผันผวนของราคา บางช่วงความต้องการสูง แต่ไม่มีสินค้า บางช่วงความต้องการเหือดหาย และกำลังการผลิตเท่าเดิม สินค้าก็ล้น ราคาก็ตก แต่ความต้องการการรักษาพยาบาล เป็นวัฎจักรหรือเปล่า ผมคิดว่าไม่ ที่จริงน่าจะเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ จากเหตุผลที่โพสต์มาแล้ว

ทางด้านปริมาณสถานพยาบาล เพิ่มขึ้นหรือไม่ หลังวิกฤตเศรษกิจแทบไม่เพิ่มขึ้นเลย แต่ถึงตอนนี้คงมีการเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ต้นทุนก็สูงขึ้นมาก ทั้งวัสดุก่อสร้าง ที่ดิน นอกจากนั้น รพ.ก็มักไม่ตั้งติดกัน หรือแข่งขันกันตัดราคา เหมือนดิสเค้าสโตร์

2.ธุรกิจการแพทย์ที่เน้นลูกค้าต่างชาติที่มีกำลังซื้อ ทำให้ รพ.ที่เน้นลูกค้าเหล่านี้มีกำไรเพิ่มขึ้นมาก และกำลังซื้อก็ดูไม่มีขีดจำกัด  เพราะมีลูกค้าจากทั่วโลก ดังนั้นนักลงทุนก็เริ่มสนใจหุ้นในกลุ่มนี้ และยอมรับพีอีที่สูงขึ้น

3.นักลงทุนเริ่มรับรู้ว่า ธุรกิจ รพ. มีข้อดี เด่นหลายอย่างที่น่าจะทำให้เป็นหุ้น vi เช่น ธุรกิจรับเงินสด มีอำนาจต่อรองด้านราคาสูงมาก มีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตสูง โดยเฉพาะเครือข่ายโรงพยาบาลขนาดใหญ่  นอกจากนั้นยังเป็นธุรกิจที่ไม่ผันผวน  แนวโน้มลูกค้าเพิ่มขึ้นจากประชากรยุคเบบี้บูม ตามกำลังซื้อ คุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น   จะหาธุรกิจที่ดีอย่างนี้ในตลาดหุ้น ผมคิดว่าหาไม่ง่ายเลยครับ




หุ้นตัวที่ 3 ที่จะพูดถึง น่าจะเป็นหุ้นที่ราคาเพิ่มขึ้นมากถึงมากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาเพิ่มขึ้น 30 เท่าใน 5 ปี  :shock: โดยที่พีอีไม่เพิ่มขึ้นเลย  ที่เป็นอย่างนั้นเพราะรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี  โดยที่รายได้เพิ่มขึ้นติดต่อกันแทบทุกไตรมาส ใน 4 ปี หรือ 16-18 ไตรมาสที่ผ่านมา
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
ไม่บังอาจ
Verified User
โพสต์: 29
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 35

โพสต์

ลูกอิสาน เขียน:มีเพื่อนๆแสดงความเห็นในกระทู้อื่นๆทำนองว่า
หุ้นในกลุ่มนี้ได้รับความสนใจมากไปหรือเปล่า และราคาตอบสนองไปแล้วใช่หรือไม่ การซื้อหุ้น hot ในอุตสาหกรรมที่ hot จะทำให้ติดดอยหรือไม่
ต้องขอบคุณเพื่อนๆเหล่านั้นนะครับ ผู้อ่านกระทู้หรือนักลงทุนหุ้นโรงบาลโปรดอย่าเข้าใจเจตนาเขาผิด คิดว่าเขามากระแนะกระแหน่
แต่มันเป็นการเตือนสติให้เราฉุกคิด และช่วยกันระดมสมอง ช่วยกันตรวจสอบกันให้หนักขึ้นว่า ความสอดคล้องของราคาที่พุ่งแรงและพื้นฐานกิจการมีมากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่เอาแต่นั่งอิ่มอกอิ่มใจครับ

ปล. ข้อสังเกตของคุณลูกอีสานนั้นมีประโยชน์มาก ขอบคุณครับ นับถือ
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 36

โพสต์

หุ้นตัวที่ 3 เป็นหุ้นโรงพยาบาลที่ถูกลืม

แม้ว่าราคาจะขึ้นมา 30 เท่าไม่รวมปันผล แต่มีการพูดถึงใน tvi น้อยมาก แต่น่าจะมีนักลงทุนที่รวยกับหุ้นตัวนี้ และซื้อเพิ่มตลอดเวลา ทำให้สภาพคล่องแทบไม่มี หุ้นตัวนี้คือ ram ครับ



ข้อเด่น..

1.เป็นเครือข่ายโรงพยาบาลอันดับ 3 ของประเทศรองจาก bh bgh แต่เทรดที่ pe 13 เท่า :shock:  ในขณะที่ผู้นำเทรดที่ pe สูงกว่านี้มาก  โดย ram มีโรงพยาบาลในเครือข่ายประมาณ 16 แห่งยอดขายในกลุ่ม 5,000 ล้าน แต่ในงบการเงินจะรวมงบของ ram จะรวมงบแค่ 3 โรง คือตัวรามเอง รามวิภา และชัยภูมิราม(เปิดกิจการปลายปีนี้)


2.บริษัทร่วมที่ ram ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ(ประมาณ 40% ทุกบริษัท) และมีศักยภาพค่อนข้างดีหลายแห่ง เช่น เชียงใหม่ราม ขอนแก่นราม สินแพทย์  สุขุทวิท เสรีรักษ์  หาก ram ซื้อหุ้นเพิ่มอีกไม่กี่ % ก็สามารถที่จะรวมงบได้ ทำให้กำไรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ  ดังนั้นระยะหลังๆจะเห็นได้ว่า ram พยายามที่จะซื้อหุ้นบริษัทร่วมที่กิจการมีกำไร บ่อยๆครั้ง เช่น เชียงใหม่ ซึ่งเป็น รพ.อันดับ 1 ที่เชียงใหม่ มียอดขายสูงมาก

(พี่มนของเราชอบ รพ.สินแพทย์ ที่จริง รพ.นี้ถือหุ้นโดย ram ประมาณ 43% ครับ)

3. ram กำลังสร้างตึกใหม่เพื่อรองรับลูกค้าทีเพิ่มขึ้นมาก จะเปิดให้บริการปี 50 ตอนนี้กำลังก่อสร้าง นอกจากนั้นบริษัทร่วมก็ขยายอาคารเพิ่มเช่น รพ.สินแพทย์ รพ.ชัยภูมิ และนอกจากนั้นยังจะสร้าง รพ.มะเร็ง ขนาดใหญ่ บริเวณสุขาภิบาล 3 แต่คงอีก3-4 ปีกว่าจะแล้วเสร็จ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 37

โพสต์

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2129   09 ก.ค.  - 12 ก.ค. 2549    

           ร.พ.รามฯซุ่มเงียบ ปรับแผนธุรกิจ ขึ้นชั้นผู้นำบริการ
           
           ร.พ.รามคำแหงวางเป้าขอขึ้นผู้นำร.พ.ที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย
           ซุ่มปรับการบริหารจัดการใหม่ทุกด้าน ทั้งลงทุนเทคโนโลยี บุคลากร
           สถานที่ และพัฒนาเครือข่าย ชี้อนาคตการแข่งขันของธุรกิจ


           จะอยู่ที่อารมณ์ของผู้บริโภค มั่นใจปีนี้ทั้งกลุ่มขยายตัวต่อเนื่อง


           นพ.ศิริพงศ์ เหลืองวารินกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ร.พ.รามคำแหง
           จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ร.พ.รามคำแหง
           กำลังเร่งดำเนินนโยบาย เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
           คือการพัฒนายกศักยภาพขึ้นเป็นร.พ.ที่ดีที่สุดในกรุงเทพมหานคร
           และของประเทศไทย ทั้งนี้จะเห็นว่าในช่วง 5-7 ปีที่ผ่านมา
           ร.พ.รามคำแหงได้มีการปรับใหญ่ในหลายๆเรื่อง อาทิ
           ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ การบริหารจัดการ และสถานที่


           โดยทางด้านเทคโนโลยีการแพทย์นั้น
           ร.พ.ได้ลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆในทุกสาขาโรค และคลินิกเฉพาะทาง เช่น
           โรคหัวใจ โรคกระดูก และโรคสมอง โดยนำเข้าเครื่อง MRI
           เครื่องตรวจและแสดงภาพอวัยวะต่างๆ เครื่อง CT 64 Slice
           หรือเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เครื่อง CATH LAB
           ใช้ขยายหลอดเลือดหัวใจ และล่าสุดได้นำเข้าเครื่อง GATO
           ซึ่งใช้รักษาการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
           ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้ง โดยร.พ.รามคำแหงถือเป็น
           ร.พ.เอกชนแห่งแรกที่นำเข้าเครื่องมือนี้ และเตรียมนำเข้าเครื่อง IVUS
           หรือเครื่องวัดขนาดของหลอดเลือดเพื่อทำบอลลูน
           รวมถึงเครื่องฉายแสงรักษามะเร็ง Linear Acecrator ด้วย


           ทำให้ปัจจุบันร.พ.เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์
           ที่มีการลงทุนติด 1 ใน 3 อันดับแรกของร.พ.เอกชนไทย
           และมีเป้าหมายชัดเจนคือให้บริการลูกค้าคนไทย ซึ่งในส่วนการแพทย์นั้น
           ร.พ.จะขยายคลินิกเฉพาะทางให้มากขึ้นอีก
           เพื่อทำให้ร.พ.สามารถรักษาโรคได้ครอบคลุมทุกโรค
           ขณะเดียวกันก็จะมีการส่งบุคลากรทางการแพทย์ไปอบรมยังต่างประเทศ
           เพื่อเรียนรู้วิธีการรักษาโรคใหม่ๆเพื่อเสริมศักยภาพของร.พ.


           อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบว่า
           มีร.พ.หลายแห่งแข่งขันกันด้วยโปรดักส์และความทันสมัยของเทคโนโลยีกันมากขึ้น
           ทำให้ภาพความแตกต่างระหว่าง ร.พ.ลดลง ฉะนั้นในอนาคต
           ร.พ.จะต้องเปลี่ยนจากการแข่งขันทางอิมเมจแบรนด์มาเป็นการแข่งขันกันที่ประสบการณ์
           อารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า คือความเชื่อของลูกค้าที่ว่า
           ร.พ.นี้มีเทคโนโลยีที่ดีสำหรับเขา และพร้อมที่จะมอบความอบอุ่นให้
           โดยสิ่งที่จะทำให้เกิดสิ่งนั้นได้ก็คือ แพทย์และพยาบาล
           ฉะนั้นร.พ.จะต้องลงทุนด้านนี้ ด้วยการฝึกอบรม แพทย์และพยาบาล
           เพื่อเทคแคร์คนไข้ให้ดีขึ้นด้วยความเต็มใจให้บริการ


           "การแข่งขันในอนาคตมันจะเปลี่ยนการแข่งขัน จากการพยายามซื้อเครื่องมือ
           หรือ พยายามออกคลินิกพิเศษใหม่ ๆ มาเป็นทำอย่างไรจะให้คนไข้มีอารมณ์
           ว่า ร.พ.นี้ มีความสามารถจริง ๆ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีโรงพยาบาลไหนทำได้
           แต่ขณะนี้หลายโรงพยายามเริ่มทำแล้ว สิ่งที่รามคำแหงทำตอนนี้ก็คือ
           เราทำให้คนไข้รู้ว่าเราได้ใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการรักษาเขา
           และเราก็เทคแคร์ดูแลเขาด้วยความอบอุ่นอย่างดีที่สุด" น.พ.ศิริพงศ์ กล่าว


           ทั้งนี้ปัจจุบัน กลุ่ม ร.พ.รามคำแหง มีเครือข่ายทั้งหมด 16 โรง
           โดยร.พ.รามคำแหง (กรุงเทพฯ)เป็นโรงพยาบาลขนาด 300 เตียง
           ให้บริการรักษาโรคทั่วไปทุกสาขา และมีคลินิกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
           อาทิ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคกระดูก
           มีผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกถึงวันละ 2,000 คน
           และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่
           ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับผู้ป่วยในเพิ่มได้อีก 200 เตียง
           โดยในปีที่ผ่านมา ร.พ.มีรายได้ประมาณ 1,600 ล้านบาท
           มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 20 ในจำนวนนี้เป็นคนไข้ต่างชาติประมาณ 10 %
           และคาดว่าปีนี้จะมีอัตราเติบโตเท่ากับปีที่ผ่านมาโดยมีรายได้อยู่ที่
           2,000 ล้านบาท และมีรายได้รวมทั้งกลุ่มกว่า 5,000 ล้านบาท
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 38

โพสต์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2123   18 มิ.ย. - 21 มิ.ย. 2549  

           รพ.รามฯขยายอาณาจักร +ทุ่มงบตั้งโรงพยาบาลมะเร็งยึดกทม.ฝั่งตะวันออก
           
           กลุ่ม รพ.รามคำแหง ซุ่มลงทุนอีกละลอก ทั้งขยายเครือข่ายพันธมิตร
           สร้างตึกใหม่ และเครื่องมือแพทย์ ล่าสุดซื้อที่ดินอีก 14 ไร่
           บริเวณถนนสุขาภิบาล 3 เตรียมผุด รพ.โรงพยาบาลศูนย์มะเร็ง
           ตอกย้ำความเป็นเจ้าธุรกิจพยาบาลที่มีเครือข่ายมากที่สุดในพื้นที่กรุงเทพฝั่งตะวันออก
           ขณะที่คาดปีนี้รายได้ของกลุ่มจะขยับเพิ่มจากปีที่แล้ว


           นพ.ศิริพงศ์ เหลืองวารินกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท
           โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"
           ถึงทิศทางและนโยบายการดำเนินงานของโรงพยาบาลในกลุ่มรามคำแหง ว่า
           ขณะนี้ทางกลุ่มกำลังมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
           ทั้งในเรื่องของพื้นที่การให้บริการผู้ป่วยที่มีการก่อสร้างอาหารใหม่
           การลงทุนเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์
           และการขยายเครือข่ายทางพันธมิตรทำให้ปัจจุบันทางกลุ่มมีโรงพยาบาลในสังกัด
           16 โรง อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด

           โดยในส่วนของการก่อสร้างอาคารใหม่นั้น
           ที่โรงพยาบาลรามคำแหง(กรุงเทพ)บริษัทได้มีการก่อสร้าง ตึกใหม่ ขนาด 200
           เตียง วงเงินลงทุนประมาณ 700 ล้านบาท
           มีกำหนดเปิดให้บริการได้ปีหน้านี้(2550)
           เพื่อรองรับคนไข้ที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากโดยเฉพาะในส่วนของศูนย์หัวใจ
           ที่โรงพยาบาลมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีเทคโนโลยี เครื่องมือทางการแพทย์
           ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย

           ที่โรงพยาบาลสินแพทย์มีการก่อสร้างตึกผู้ป่วยใหม่ขนาด 180 เตียง
           เงินลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท มีกำหนดเปิดให้บริการได้ปีนี้(2549)
           ทั้งนี้เพื่อเสริมภาพความเป็นโรงพยาบาลที่มีความชำนาญด้านโรคเด็ก
           และการผ่าตัดสูตินารีเวช เช่นเดียวกับที่ จ.ชัยภูมิ
           บริษัทได้มีการลงทุนในโรงพยาบาลชัยภูมิราม ประมาณ 500 ล้านบาท
           และมีกำหนดเปิดให้บริการปีนี้เช่นกัน


           นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมลงทุนก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ เป็นอาคารสูง
           17 ชั้น บนพื้นที่ประมาณ 14 ไร บริเวณถนนสุขาภิบาล 3
           โดยใช้เงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท
           เพื่อก่อสร้างเป็นโรงพยาบาลศูนย์รักษาโรคมะเร็งที่ทันสมัยที่สุด
           เป็นเซ็นเตอร์ของกรุงเทพฯฝั่งตะวันออกและรองรับการขยายตัวของสนามบินสุวรรณภูมิ
           ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้เร็วที่สุดในปีครึ่งถึง2
           ปีข้างหน้านี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการเขียนแบบ
           นอกจากนี้บริษัทยังมีการลงทุนในโรงพยาบาลย่อยอีกหลายโรงพยาบาล เช่น
           โรงพยาบาลเสรีรักษ์ ที่สุขาภิบาล 2 และที่ลำลูกกา จ.ปทุมธานี


           "ตอนนี้เราต้องการสื่อให้รู้เรามีความชำนาญ อย่างโรงพยาบาลรามคำแหง
           เราชำนาญและเป็นเซ็นเตอร์เรื่องการรักษาโรคหัวใจ
           เพราะเรามีเทคโนโลยีที่ทันสมัยครบวงจรรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
           ส่วนที่สินแพทย์ เราก็เป็นโรงพยาบาลที่รักษาโรคเด็ก สูตินารีเวช
           เด็กหลอดแก้ว และที่สุขาภิบาล 3
           เราก็จะเป็นเซ็นเตอร์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง"


           นพ.ศิริพงศ์ กล่าวว่า ผลประกอบการที่ผ่านมาของกลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง
           มีรายได้อยู่ที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
           ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ทันสมัยที่สุดในจ.เชียงใหม่
           มีอัตราการขยายตัวสูงสุดที่ 23 % หรือมีรายได้รวมอยู่ที่ 700 ล้านบาท
           อันดับ 2. โรงพยาบาลรามคำแหง(กรุงเทพฯ)มีอัตราการขยายตัว 18 %
           และมีรายได้อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท และอันดับ 3.โรงพยาบาล สินแพทย์
           มีอัตราการขยายตัวที่ 15 % มีรายได้รวมประมาณ 800 ล้านบาท


           อย่างไรก็ตามหลังจากที่ปีนี้ทางกลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหงได้มีการปรับตัวทั้งด้านเทคโนโลยี
           บุคลากรทางการแพทย์
           และการก่อสร้างตึกใหม่เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นนั้น
           จะทำให้โรงพยาบาลมีศักยภาพที่พร้อมรองรับกับตลาดและมีผลประกอบการไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา
           ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของธุรกิจด้านสุขภาพขณะนี้


           ทั้งนี้นพ.ศิริพงศ์ มองว่าการแข่งขันในธุรกิจโรงพยาบาลในอนาคต
           นอกจากการอาศัยความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตรที่สามารถแชร์ความรู้ร่วมกัน
           ทั้งด้านแพทย์ เครื่องมือ และระบบบริหารจัดการแล้ว
           สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้เทคโนโลยี ก็คือการทำให้คนไข้ไว้วางใจ
           และเกิดความอบอุ่นในการใช้บริการ
           ซึ่งไม่มีชาติไหนในโลกทำได้ดีเท่ากับหมอและพยาบาลในประเทศไทย
           แต่ที่ผ่านมายังไม่มีโรงพยาบาลไหนสื่อจุดแข็งนี้ออกไป
           ซึ่งโรงพยาบาลรามคำแหงกำลังทำด้านนี้อยู่
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 39

โพสต์

naris เขียน:ปล.ขอเสริมของคุณลูกอิสานอยู่นิดหนึ่งว่า เงินที่เพิ่มมาจากประกันสังคมและ30บาทอย่าลืมหักในส่วนผู้ถือหุ้นส่วนน้อย(ที่มีอยู่เฉลี่ยประมาณ50%)ออกก่อนนะครับ :D
เพิ่งเข้าใจ :D  พี่นริศสหมายถึงว่า รายได้ที่เพิ่มสมมุติว่า 100 บาท จะส่งผลให้กำไรเพิ่มขึ้น 100 บาท แต่ผู้ถือหุ้น kh จะได้รับประมาณ 84% อีก 16% ต้องแบ่งให้กับผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

ขอบคุณครับ ลืมคิดถึงประเด็นนี้ไป :D
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 40

โพสต์

ข้อเสียของ ram ครับ..

1.หนี้ค่อนข้างสูง แม้จะไม่สูงมาก de ประมาณ 1.1 เท่า และด้วยภาระการลงทุนที่สูง ผมฟันธงว่าภายใน 1-3 ปีนี้ ram จะเพิ่มทุนไม่ทางใดก็ทางนึง เช่นอาจจะขายหุ้นเพิ่ม ออกวอร์ และหากทำอย่างนั้น ก็อาจจะแตกพาร์เพื่อจูงใจผู้ถือหุ้นด้วยครับ ดังนั้นถ้าใครที่กลัวการเพิ่มทุน  ไม่ควรซื้อหุ้น ram ครับ

2.บริษัทร่วมบางแห่งมีผลการดำเนินงานที่ไม่ดี เช่น พะเยาะราม เมืองเลยราม แต่บริษัทก็ไม่ได้บันทึกส่วนได้ส่วนเสียแล้ว(ที่จริงหยุดบันทึกเพราะมากกว่าเงินลงทุน :lol: )  ดังนั้นไม่มีผลต่องบครับ แต่สำหรับชัยภูมิรามที่จะเปิดใหม่ บริษัทบันทึกเงินลงทุนประมาณ 147 ล้าน  ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าหากเปิดกิจการจะขาดทุนหรือเปล่า ดังนั้นต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยครับ



กลายเป็นกระทู้แนะนำหุ้นไปอีกแล้ว ไม่รู้จะเบื่อกันหรือเปล่า ที่จริงไม่ตั้งใจนะครับ แต่มีเพื่อนๆถาม ผมก็ไม่ขัดครับ   และที่สำคัญฟังข้อมูลแล้ว ถ้าสนใจอย่าลืมไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นจริงหรือเปล่า หรือมีความเสี่ยงอื่นๆอีกหรือไม่ หากเพื่อนๆตัดสินใจแล้ว ก็ต้องยอมรับผลการตัดสินใจของตัวเองด้วยนะครับ :lol:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 41

โพสต์

มารอฟังตัวสุดท้ายครับ ...  :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
david
Verified User
โพสต์: 852
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 42

โพสต์

[quote="chatchai"]โรงพยาบาลก็เหมือนโรงงานที่ต้องมีกำลังการผลิต


ซื้อหุ้นที่มี PE สูง
1.My Facebook page, https://www.facebook.com/pages/Kitichai ... 5514051589.
2.U may follow my stock comment via http://twitter.com/value_talk
3.กระทู้ที่โพสท์นี้เป็นความเห็นส่วนตัว การซื้อขายหุ้นขึ้นอยู่กับการใช้วิจารณญาณของแต่ละคน
pipo
Verified User
โพสต์: 31
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 43

โพสต์

อยากแชร์เรื่องความเสี่ยงกับคุณลูกอีสานอย่างหนึ่งก็คือ

ผมได้ฟังผู้อำนวยการรพ.ของรัฐแห่งหนึ่ง  เริ่มทำเรื่องขอเปิดตรวจผู้ป่วยนอกเวลาราชการ  สำหรับแพทย์ของรัฐ  โดยค่ารักษาผู้ป่วยจะต้องจ่ายเอง  ทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของรพ.รัฐมีรายได้เพิ่ม  ไม่ต้องลาออกไปอยู่เอกชน

ซึ่งจะเป็นคู่แข่งของรพ.เอกชนในจังหวัดนั้นๆ  เพราะเดิมรพ.เอกชนในต่างจังหวัด  ก็ใช้แพทย์นอกเวลาจากรพ.ของรัฐอยู่แล้ว

ณ ราคานี้  ส่วนตัวคิดว่าต้องมาเทียบกับหุ้น โมเดิรนเทรด  ว่าระยะยาวแล้วใครเสี่ยงกว่า  และใครจะมีการเติบโตของกำไร ดีกว่ากัน
เท่าที่ทราบนะครับ

รพ.ในกทม. ค่าตอบแทนของคุณหมอที่ได้จากคลีกนิคพิเศษนอกเวลามักจะสู้ที่ได้จากรพ.เอกชน
ไม่ได้ครับ คุณหมอที่มาตรวจนอกเวลาที่รพ.เอกชนอยู่แล้วก็น่าจะยังคงออกตรวจที่เดิมต่อ
เพราะฉะนั้นคนไข้ที่เคยตรวจกับคุณหมอท่านนั้นที่รพ.เอกชน ก็น่าจะยังคงไปรักษาที่เดิมต่อ  
แต่อาจมีคุณหมอบางคนแบ่งเวลามาตรวจนอกเวลาให้รพ.รัฐที่สังกัดอยู่บ้าง เพราะเป็นนโยบายรพ.ที่ต้องการเพิ่มรายได้ของรพ.
และลดความแออัดของผู้ป่วยในเวลากลางวัน

รพ.ในต่างจังหวัด  คุณหมอที่อยู่มานานและมีชื่อเสียงเป็นที่ชนับถือของคนไข้นั้น ส่วนมาก (หรือเกือบทั้งหมด)
จะมีclinic เป็นของตนเอง (เป็นคู่แข่งที่หน้ากลัวของรพ.เอกชนอยู่แล้ว) จึงไม่มาตรวจนอกเวลาให้รพ.
ดังนั้นคุณหมอที่มาตรวจนอกเวลาจึงมักจะเป็นคุณหมอที่มาประจำใหม่ ยังไม่มีคนไข้ประจำมากนัก

โดยสรุปจากทั้ง 2 กรณี ผมคิดว่าไม่น่าจะกระทบต่อรายได้มากนัก

ผมรู้มาเท่านี้ครับ ถ้าท่านใดมีความเห็นเพิ่มเติมชี้แนะด้วยครับ :wink:
charun
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 360
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 44

โพสต์

ความเห็นของคุณ invisible_hand  ครับ
Posts : 87
Replies : 1863


 « Reply #2 เมื่อ 23/09/2006 , 00:48:25 » Edit
--------------------------------------------------------------------------------
RAM เป็น รพ .ที่อยู่บน ถ. รามคำแหง ฝั่งเดียวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นรพ. ที่จับตลาดกลางบน ( ไม่รับทั้ง 30 บาทและประกันสังคม ) มีระดับคุณภาพการให้บริการที่ดีใช้ได้ทีเดียว ทำเลที่ตั้งก็อยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นสูง ครอบคลุมลูกค้าที่อยู่ในย่านรามคำแหง ลาดพร้าว และสุขาภิบาล 3 รพ. คู่แข่งก็จะมี รพ. เกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 ( ซึ่งไม่ใช่คู่แข่งที่จับ segment เดียวกัน ) รพ. ลาดพร้าว รพ. เวชธานี รพ. กรุงเทพ RAM ถือว่าเป็น รพ. ในกลุ่มพันธมิตรเดียวกับ BGH และ VIBHA ครับ

รพ. รามคำแหง อาคารผู้ป่วยในปัจจุบันเริ่มแน่นแล้ว จึงกำลังก่อสร้างอาคารผู้ป่วยแห่งใหม่ ในพื้นที่เดียวกับ รพ. เดิม ซึ่งจะเสร็จประมาณปี 2551-2552 เมื่อสร้างเสร็จก็น่าจะมีความสามารถในการรองรับผู้ป่วยมากขึ้น และจะมีการเปิดศูนย์เฉพาะทางมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ ( รู้สึกว่า รพ. ระดับกลางถึงกลางบน ช่วงนี้จะมี trend เรื่องการเปิดศูนย์เฉพาะทางกันมากขึ้นครับ )

รพ. รามคำแหง ยังมีบริษัทในเครือที่เป็น รพ. รามคำแหง ถือหุ้น ในกรุงเทพฯ คือ รพ. สินแพทย์ วิภาราม และ รพ. สุขุมวิท ในต่างจังหวัด เช่น รพ. เชียงใหม่ราม รพ. เมืองเลยราม รพ. ชัยภูมิราม รพ. พะเยาราม ซึ่ง รพ. เชียงใหม่รามน่าจะดู ok แต่จังหวัดอื่นๆ ผมเองไม่ค่อยมั่นใจว่าปัจจุบันมีกำไรหรือไม่ครับ และ ram เลือกจังหวัดที่เข้าไปลงทุนอย่างไร

โดยรวม RAM ก็เป็น รพ. หนึ่งที่มีศักยภาพดีใช้ได้ และมีแนวโน้มเติมโตตามภาวะธุรกิจ รพ. ที่มีการเติบโตค่อนข้างสูง ส่วนปัจจัยที่ควรตระหนักคงจะเป็นเรื่องการลงทุนในบริษัทในเครือที่บางไตรมาสก็มีการตั้งสำรองเงินให้กู้หรือเงินลงทุน และบางไตรมาสมีการกลับรายการ ทำให้งบไตรมาสหรือกระทั่งงบปีของ RAM จะมีรายการพิเศษให้เห็นตลอด

โดยสรุปแล้วผมคิดว่าปัจจุบันมีหุ้น รพ. ประมาณ 7 บริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตค่อนข้างดี และมีการบริหารจัดการที่ผ่านเกณฑ์ โดย RAM และ NTV ก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ
NURINGRX
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ผมทายว่า ตัวสุดท้าย คือ NTV
ใช่ไหมครับคุณลูกอีสาน
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 46

โพสต์

NURINGRX เขียน:ผมทายว่า ตัวสุดท้าย คือ NTV
ใช่ไหมครับคุณลูกอีสาน
ไม่ใช่ครับ ตัวนี้ก็น่าสนใจเช่นกัน
แต่ผมไม่ได้ศึกษารายละเอียดเลยครับ
เลยไม่ทราบว่าดีหรือเปล่า


กรณีของ tnh ram หากเพื่อนๆไปดูงบดุล

จะพบว่ามีหนี้สินหมุนเวียน มากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน หากเป็นบริษัททั่วไปก็น่าเป็นห่วงเรื่องสภาพคล่องครับ แต่หากดูให้ดีหนี้สินหมุนเวียนทั้ง 2 บริษัทจะรวมเงินกู้ระยะสั้นจากพวกกรรมการ ผู้ถือหุ้นด้วย(รพ.บางแห่งมักกู้เงินจากกรรมการเพราะง่ายกว่า จ่ายดอกเบี้ยต่ำ นี่แสดงว่าส่วนใหญ่แพทย์จะรวยนะครับ :lol: )  ซึ่งจริงๆแล้วหนี้เงินกู้เหล่านี้มักต่อสัญญา roll over ไปเรื่อยๆ เสมือนเงินกู้ระยะยาว ไม่ได้ต้องจ่ายคืนจริงๆ ที่ผู้กู้มักต่อสัญญาปีต่อปี เพื่อลดความเสี่ยงครับ ผมเข้าใจอย่างนี้นะครับ :o
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 47

โพสต์

ตัวสุดท้ายครับ..

AHC



เป็นหุ้นรพ.ที่น่าจะมี pe ต่ำที่สุด และมีจุดเด่นคล้ายๆ tnh คืออยู่ในเมืองที่ขยายตัวสูง เป็นการมองการไกลของผู้นำกลุ่มวานิช ที่เห็นโอกาสการเติบโตตาม easthern seabord ของรัฐบาล เมื่อ 20 ปีที่แล้ว  โดยเจ้าของคุณพจนาเป็นพี่สาวของคุณอภิรักษ์ประธานของ uvan  โดยที่ท่านจบมาโดยตรงทางด้านการบริหารกิจการ รพ.

จุดด้อยคือ เนื้อที่อาคารค่อนข้างจำกัดแล้ว ต้องขยายเพิ่มเติม โดยไปซื้อ รพ. npl ห่างจากเดิม 8 กม. แต่ปรากฎว่ามีปัญหาฟ้องร้อง จากผู้ถือหุ้นรายอื่นของ รพ.แห่งนั้น ตอนนี้กำลังอยู่ในชั้นศาล

บริษัทคาดว่าจะชนะ  แต่หากเลวร้ายสุด ผมคิดว่าก็ต้องคืนสถานพยาบาลนั้นไป และรับเงินคืน  แต่ถ้าไม่ได้รับคืนก็ตัวใครตัวมัน :roll:   แต่ถึงอย่างนั้นงบการเงินก็ดีมาก เพียงพอรับความเสียหายได้  หุ้นตัวนี้พี่ๆ tvi ของเราติดอันดับผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วยนะครับ :D
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
prin
Verified User
โพสต์: 133
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 48

โพสต์

อืม ถามคุณลูกอิสาน ครับ
เกี่ยวกับ TNH
1. การขยายเพื่อรองรับการเติบโต สามารถทำได้มากแค่ไหนครับ ดูๆแล้วเค้าก็เกือบจะเต็มความสามารถแล้วกระมังครับ ทั้งเรื่องพื้นที่ บุคลากร
2. การยืมเงินกรรมการ ไม่แน่ใจว่าสามารถนำดอกเบี้ยจ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แค่ไหนครับเมื่อเทียบกับการกู้จากสถาบันการเงิน
ขอบคุณครับ
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 49

โพสต์

prin เขียน:อืม ถามคุณลูกอิสาน ครับ
เกี่ยวกับ TNH
1. การขยายเพื่อรองรับการเติบโต สามารถทำได้มากแค่ไหนครับ ดูๆแล้วเค้าก็เกือบจะเต็มความสามารถแล้วกระมังครับ ทั้งเรื่องพื้นที่ บุคลากร
2. การยืมเงินกรรมการ ไม่แน่ใจว่าสามารถนำดอกเบี้ยจ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แค่ไหนครับเมื่อเทียบกับการกู้จากสถาบันการเงิน
ขอบคุณครับ
1.ผมไปดูในหนังสือชี้ชวนอัตราการใช้กำลังการบริการ

ผู้ป่วยนอก ปี 2544-48 ~ 34-39%
ผู้ป่วยใน ปี 2544-48 ~ 35%

ดูแล้วยังรองรับได้อีกมากครับ

ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ ผมคิดว่าในกรุงเทพไม่น่าจะมีปัญหาการขาดแคลนครับ แหล่งข่าวจากพี่นริศก็บอกว่า รพ.ค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่ดีกับหมอ พยาบาท

2.ผมคิดว่าน่าจะหักได้เหมือนกู้ธนาคารนะครับ เข้าใจอย่างนั้น
กู้กรรมการดอกเบี้ยถูกครับ
บริษัทฯมีเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกรรมการในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน บวกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (MOR-1%) หาร 2 ต่อปีและจากผู้บริหารของบริษัทฯในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.0-5.5 ต่อปี

บริษัทฯมีวงเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่งจำนวน 250 ล้านบาท ซึ่งคิดดอกเบี้ย                 ในอัตราร้อยละ 5.75-7.25 ต่อปี เงินกู้ยืมดังกล่าวไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยตามสัญญาเดิมบริษัทฯ           จะผ่อนชำระคืนเงินต้นให้หมดสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2548 ผู้ให้กู้ได้มีการขยายเวลาการชำระหนี้คืนเงินกู้ยืมระยะยาว โดยกำหนดให้ชำระคืนเงินกู้ที่คงค้างอยู่                  ณ วันที่มีการทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเงินกู้จำนวน 30 ล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ส่วนที่เหลือให้ชำระภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
sittc
Verified User
โพสต์: 109
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 50

โพสต์

ตรงกันครับ 3 ลำดับแรก  :D

ว่าแต่ว่า คุณลูกอิสานไม่สน BH, BGH เลยหรือครับ
ผมเองชอบนะ เกี่ยงแต่ว่าราคาแพงไป แต่ก็ไม่ยักกะลงมาซะที  :evil:
stockms
Verified User
โพสต์: 920
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 51

โพสต์

ผมเห็นด้วยกับคุณฉัตรชัยครับว่ากลุ่มโรงพยาบาลมีค่า PE ที่ได้บวกความคาดหวังการเติบโตเข้าไปแล้วพอสมควร กลุ่มโรงพยาบาลควรเติบโตได้จากการขึ้นราคาค่าบริการซึ่งน่าจะอยู่ที่ 5-10% ต่อปีแล้วแต่ชื่อเสียงและบริการ บวกกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5-10% ต่อปี หากโรงพยาบาลนั้นยังไม่ได้บริการเต็มหรือเกิน 100% แล้ว บางโรงพยาบาลจึงได้เริ่มสร้างโรงพยาบาลแห่งให่ม ในขณะที่บางโรงใช้วิธีซื้อโรงพยาบาลเก่ามารีแบนด์ จำนวนหมอที่ผลิตจากสถาบันอุดมศึกษาไทยในแต่ละปีคงจะเพิ่มขึ้นในอัตรา 5-10% ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ และการที่รายได้ของหมอประจำโรงพยาบาลบใหญ่ที่เพิ่มสูงขึ้นมาคงมีหมอที่จบใหม่หลายคนที่สนใจทำงานโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้นเมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่นิยมเปิดคลีนิค โรงพยาบาลจึงน่าจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10-20% ต่อปีในช่วง 5-10 ปีต่อไปนี้ หุ้นโรงพยาบาลที่มี PE ต่ำกว่า 15 จึงน่าจะมีความน่าสนใจอยู่บ้างในการลงทุน ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะมีน่าจะมาจากความซื่อสัตย์ของผู้บริหารเป็นหลัก การเติบโตอาจไม่ปรากฏไม่เห็นหากผู้บริหารไม่ซื่อสัตย์ และอีกปัจจัยหนึ่งน่าจะมาจากกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคหากได้รับการพัฒนามากขึ้นจะทำให้โรงพยาบาลและหมอมีโอกาสถูกฟ้องมากขึ้นและเป็นจำนวนเงินที่สูงขึ้นตามค่าบริการ ซึ่งเหล่านี้นับเป็นค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่จะต้องเพิ่มขึ้น
ป.ล. ผมเองก็เหลือหุ้นโรงพยาบาลกับเขา 1 ตัว หลังจากที่ขายหมูไปแล้ว 2 ตัว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 52

โพสต์

[quote="sittc"]ตรงกันครับ 3 ลำดับแรก
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 53

โพสต์

เหนื่อยครับ เชียร์หุ้นพร้อมกันทั้ง 4 ตัว
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกันคำพูดที่ว่า

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง


เพราะถ้าทุกคนคิดอย่างนั้นกันหมด
เวปบอร์ดก็ไม่พัฒนา
ว่าที่จริง หุ้นที่ผมถือส่วนใหญ่
ก็ได้มาจากเพื่อนๆในเวปบอร์ดเกือบทั้งนั้น
ดังนั้น ถ้ามีโอกาส ผมก็ต้องพูดถึงหุ้นที่ผมเห็นว่าดีบ้าง
โพตส์ไปแล้ว ใครสนใจก็ไปศึกษาต่อ ไม่สนใจ ก็ไม่ต้องทำอะไร
อย่างนี้ประโยชน์ก็ตกอยู่กับทุกคน ใช่ใหมครับ


ดังนั้น ถ้ามีหุ้นเด็ดๆ กระซิบบอกกันบ้างครับ :D
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
sunnyvi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 186
ผู้ติดตาม: 0

เพิ่มเติมเรื่อง คลินิกนอกเวลาครับ

โพสต์ที่ 54

โพสต์

คุณpipo
เป็นความจริงที่แพทย์ที่มาตรวจนอกเวลาน่าจะเป็นแพทย์ที่จบใหม่

เพราะแพทย์ที่จบมานานสามารถเปิดคลินิกได้จนเลยเกษียณ  และผู้ป่วยมักเชื่อถือ เพราะมีชื่อเสียงมานาน  ทำให้บางจังหวัดแพทย์ที่จบผู้เชี่ยวชาญมาใหม่ไม่อยากเปิดคลินิก iรวมทั้งเงินเดือนของแพทย์จบใหม่น้อย ทำให้ส่วนหนึ่งลาออกย้ายจังหวัดไปอยู่รพเอกชน

สำหรับคลินิกนอกเวลาของรพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ยังทำได้ไม่เต็มที่  เพราะไม่มีระเบียบรองรับเรื่องเก็บเงินผป.เป็นค่าตรวจที่เบิกไม่ได้
(รพ.ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย  หรือกรมการแพทย์ในกทม.ทำได้ ทำอยู่แล้ว  และได้รับความนิยมมาก)

ถ้าระเบียบสามารุถทำไดจริง  รพ.เอกชนในจังหวัดที่ไม่ใหญ่  จะได้รับผลกระทบแน่  รพ.ที่ที่เปิดใหม่จะใช้เวลาคืนทุนนานขึ้น
เดินให้ถึงจุดหมาย
อย่างมีความสุข
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 55

โพสต์

ลูกอิสาน เขียน:เหนื่อยครับ เชียร์หุ้นพร้อมกันทั้ง 4 ตัว
ไว้หายเหนื่อยแล้วเอาตัวที่ 4 มาเล่าต่อนะครับ ...  :D
nanchan
Verified User
โพสต์: 2938
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 56

โพสต์

เป็นกำลังใจให้คุณลูกอีสานหละกันครับ
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 57

โพสต์

น่าจะรวบรวมหุ้นกลุ่มโรงบาลไว้เป็นหมวดหมู่ก็ดีนะครับ

ข้อมูลเหล่านี้ถ้าอยู่กระจัดกระจายก็จะค้นหาได้ยาก  เสียดายข้อมูลดีๆถ้าจะหลุดหายไป  เห็นแล้วก็เหนื่อยแทนน้องลูกอิสานครับ

พี่ปรัชญาครับ  ผมจำได้แม่นอยู่ครับว่าเคยคอมมเมนต์กลุ่มรพ.เหมือนกัน  จำได้ว่าหลายตัวพอสมควร  และก็ลงรายละเอียดไปเยอะเหมือนกันอ่ะครับ

ถ้าให้เขียนใหม่เกรงว่าจะเก็บรายละเอียดได้ไม่หมด(ที่จริงก็เพราะขี้เกียจหน่อยๆ อิอิ)  ลองเสริชหาก็ไม่เจอเหมือนกัน  กำจริงๆครับ......
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 58

โพสต์

อ้อ......เจอแล้วครับ

http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... c&start=30
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 59

โพสต์

ไปเจอคอมเมนต์ของพี่หมอสามัญชนเกี่ยวกับ ahc ครับ
เป็นมุมมองอีกด้าน ใครที่สนใจตัวนี้ ควรอ่านด้วยครับ :D
โรงพยาบาลเอกชล ( AHC ) มีคู่แข่งที่น่ากลัวคือ รพ. ศูนย์ชลบุรี ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นโรงเรียนแพทย์ไปเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีนิสิตแพทย์ ปี 4 6 จากจุฬาบางส่วนมาเรียนที่นี่

   
ดังนั้นที่นี่จึงพรั่งพร้อมไปด้วยอาจารย์แพทย์ที่เก่ง ๆ และเครื่องมือที่ทันสมัยครบชุด ชาวบ้านทั้งจนทั้งรวยนิยมมารักษาที่นี่ อาจจะมีประชาชนบางกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคไม่หนักนัก และขี้เกียจรอนานถึงจะไป รพ.เอกชล นอกจากนี้ด้วยทำเลที่อยู่ใกล้กันจึงทำให้รพ.เอกชลเสียเปรียบ เพราะการไป รพ.ศูนย์ไม่ได้ลำบากกว่าแต่อย่างใด ถ้าไปยืนอยู่บนตึกผู้ป่วยในของ รพ.เอกชล จะสามารถมองเห็น รพ.ศูนย์ได้สบาย ๆ

   
รพ.ศูนย์ชลบุรี ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ รพ.ที่รักษาโรคยาก ๆ ได้ มีอาจารย์แพทย์เก่ง ๆ ผู้ป่วยก็ไม่แน่นมากนัก เนื่องจากมีสถานที่กว้างขวางใหญ่โต และคนเมืองชล ( ที่อยู่ในตัวเมือง และอำเภอใกล้เคียง ) ก็ไม่ได้มีมากนัก

นั่นเป็นเรื่องของผู้ป่วยใน ในเรื่องของผู้ป่วยนอก รพ.เอกชลก็เจอคู่แข่งที่น่ากลัวและมีโอกาสจะชนะได้น้อยมาก ก็คือ อาจารย์แพทย์เกือบทั้งหมด ( มีอาจารย์บางท่าน มีหุ้นอยูในรพ.เอกชลด้วย ) ทุกท่านนิยมที่จะเปิดคลินิคส่วนตัวกันมาก เรียกได้ว่าแทบจะทำคลินิคส่วนตัวกันทั้งหมด และก็เป็นที่นิยมของผู้ป่วยมาก สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำทั้งนั้นเลย จนกระทั่งรายการตามไปดู เคยไปถ่ายทำรายการออกทีวี และตั้งสมญานามถนนเส้นในของจังหวัดชลบุรี ว่าเป็นถนนคลินิคแพทย์ เนื่องจากมีคลินิคแพทย์ตั้งเรียงรายกันมากที่สุดในประเทศไทย


ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชลเองกลับมีเพียงแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ( ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางและเปิดคลินิคสู้เขาไม่ได้ ) มานั่งตรวจผู้ป่วยนอก นอกเวลาราชการ จึงไม่มีโอกาสที่จะสู้ได้เลย

ในขณะที่อาจารย์แพทย์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยก็ไม่ชอบที่จะมานั่งตรวจใน รพ. เพราะทำคลินิคของตัวเองได้กำไรมากกว่า

อย่างไรก็ตามด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็ทำไห้ผลประกอบการของ รพ.เอกชลดีขึ้นเรื่อย ๆ โดย ROE ในช่วงสองสามปีนี้สามารถทำได้ที่ระดับ 16 20 % มาตลอด แต่จะทำได้ถึง 30 40 % ผมว่าเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าจะรักษาระดับ 20 % ผมว่าไม่ยากเลย และก็ถือว่าที่ระดับนี้เป็นระดับที่สูงน่าพอใจพอสมควร ถ้าเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
Luty97
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1552
ผู้ติดตาม: 0

ผมเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า ถือหุ้นโรงพยาบาล

โพสต์ที่ 60

โพสต์

ลูกอิสาน เขียน: พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง


เพราะถ้าทุกคนคิดอย่างนั้นกันหมด
เวปบอร์ดก็ไม่พัฒนา
ว่าที่จริง หุ้นที่ผมถือส่วนใหญ่
ก็ได้มาจากเพื่อนๆในเวปบอร์ดเกือบทั้งนั้น
ดังนั้น ถ้ามีโอกาส ผมก็ต้องพูดถึงหุ้นที่ผมเห็นว่าดีบ้าง
โพตส์ไปแล้ว ใครสนใจก็ไปศึกษาต่อ ไม่สนใจ ก็ไม่ต้องทำอะไร
อย่างนี้ประโยชน์ก็ตกอยู่กับทุกคน ใช่ใหมครับ


ดังนั้น ถ้ามีหุ้นเด็ดๆ กระซิบบอกกันบ้างครับ :D
เห็นด้วยครับ ใครที่มีของดีอย่าเก็บไว้นะครับ แบ่งๆกันศึกษาเพื่อประโยชน์สูงสุดครับ  :D
หลักของความสมดุล