การเปลี่ยนแปลงการบันทึกเบี้ยประกันภัยต่อ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
การเปลี่ยนแปลงการบันทึกเบี้ยประกันภัยต่อ
โพสต์ที่ 2
เพิ่มเติม
การเปลี่ยนแปลงการบันทึกอันนี้มีผลต่อบริษัทประกันภัยโดยตรงในไตรมาสที่สามที่จะประกาศน่าครับ
ต้องศึกษาไว้ก่อนครับ
ว่ามันเปลี่ยนแปลงกันอย่างไง มีการตั้งสำรองอะไรหรือเปล่าครับ
ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ
การเปลี่ยนแปลงการบันทึกอันนี้มีผลต่อบริษัทประกันภัยโดยตรงในไตรมาสที่สามที่จะประกาศน่าครับ
ต้องศึกษาไว้ก่อนครับ
ว่ามันเปลี่ยนแปลงกันอย่างไง มีการตั้งสำรองอะไรหรือเปล่าครับ
ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
การเปลี่ยนแปลงการบันทึกเบี้ยประกันภัยต่อ
โพสต์ที่ 3
ที่ บช.49/258 วันที่ 26 กันยายน 2549
เรื่อง แจ้งผลกระทบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัย
ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทฯ
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่ กรมการประกันภัย ได้แจ้งข้อหารือกับสภาวิชาชีพบัญชี เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
วิธีการบันทึกเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทฯ ตามหนังสือเวียน
ของกรมการประกันภัยที่ พณ.0505/วง.957 ลงวันที่ 7 กันยายน 2549 นั้น บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่า
ปัจจุบัน บริษัทฯ มีการบันทึกเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่มีการเอาประกันภัยต่อกับบริษัทต่าง
ประเทศไว้ครบถ้วนอยู่แล้ว
ผลจากหนังสือฉบับนี้ จะทำให้บัญชีสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทฯ
ลดลง โดยจะไปเพิ่มในส่วนของกำไรสะสม-ยังไม่ได้จัดสรร และทำให้กำไรสุทธิสำหรับงวด
เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะแสดงผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในงบการเงินไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30
กันยายน 2549
ขอแสดงความนับถือ
(นายวรวิทย์ โรจน์รพีธาดา)
กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ
เรื่อง แจ้งผลกระทบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัย
ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทฯ
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่ กรมการประกันภัย ได้แจ้งข้อหารือกับสภาวิชาชีพบัญชี เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
วิธีการบันทึกเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทฯ ตามหนังสือเวียน
ของกรมการประกันภัยที่ พณ.0505/วง.957 ลงวันที่ 7 กันยายน 2549 นั้น บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่า
ปัจจุบัน บริษัทฯ มีการบันทึกเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่มีการเอาประกันภัยต่อกับบริษัทต่าง
ประเทศไว้ครบถ้วนอยู่แล้ว
ผลจากหนังสือฉบับนี้ จะทำให้บัญชีสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทฯ
ลดลง โดยจะไปเพิ่มในส่วนของกำไรสะสม-ยังไม่ได้จัดสรร และทำให้กำไรสุทธิสำหรับงวด
เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะแสดงผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในงบการเงินไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30
กันยายน 2549
ขอแสดงความนับถือ
(นายวรวิทย์ โรจน์รพีธาดา)
กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
การเปลี่ยนแปลงการบันทึกเบี้ยประกันภัยต่อ
โพสต์ที่ 4
เท่าที่เข้าใจ
เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ ถือเป็นหนี้สินในงบดุล
หลังเปลี่ยนแปลงวิธีลงบัญชี ให้โอนจากหนี้สินมาบันทึกในส่วนของกำไรสะสม-ยังไม่ได้จัดสรร ซึ่งอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลเหมือนกัน
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้บริษัทประกันภัยมีหนี้สินน้อยลง และมีกำไรสะสมมากขึ้น Book Valueสูงขึ้น PB ratioลดลงครับ
เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ ถือเป็นหนี้สินในงบดุล
หลังเปลี่ยนแปลงวิธีลงบัญชี ให้โอนจากหนี้สินมาบันทึกในส่วนของกำไรสะสม-ยังไม่ได้จัดสรร ซึ่งอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลเหมือนกัน
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้บริษัทประกันภัยมีหนี้สินน้อยลง และมีกำไรสะสมมากขึ้น Book Valueสูงขึ้น PB ratioลดลงครับ
"Price is what you pay. Value is what you get."
- Little Boy
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1318
- ผู้ติดตาม: 0
การเปลี่ยนแปลงการบันทึกเบี้ยประกันภัยต่อ
โพสต์ที่ 6
ที่ ตลท.23/2549 19 กันยายน 2549
เรื่อง แจ้งผลกระทบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชี
เงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่หนังสือเวียนของกรมการประกันภัย ที่ พณ 0505/ว 2957 ลงวันที่ 7 กันยายน 2549 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท ที่กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัย จัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยต่อ ในกรณี
ที่มีการเอาประกันภัยต่อ กับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศนั้น
บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทฯ มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ประมาณการหนี้สินเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และคาดว่าส่งผลในทิศทางบวกต่อบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงทางบัญชีเท่า
นั้น โดยจะมีผลต่องบการเงินสำหรับไตรมาสที่สามสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2549
เรื่อง แจ้งผลกระทบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชี
เงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่หนังสือเวียนของกรมการประกันภัย ที่ พณ 0505/ว 2957 ลงวันที่ 7 กันยายน 2549 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท ที่กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัย จัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยต่อ ในกรณี
ที่มีการเอาประกันภัยต่อ กับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศนั้น
บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทฯ มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ประมาณการหนี้สินเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และคาดว่าส่งผลในทิศทางบวกต่อบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงทางบัญชีเท่า
นั้น โดยจะมีผลต่องบการเงินสำหรับไตรมาสที่สามสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2549
ความรู้..อาจมีขอบเขตจำกัด แต่จินตนาการ..ไร้ขีดจำกัด
-
- Verified User
- โพสต์: 84
- ผู้ติดตาม: 0
การเปลี่ยนแปลงการบันทึกเบี้ยประกันภัยต่อ
โพสต์ที่ 8
ตามความเห็นของผม ธุรกิจประกันภัยหรือประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่ตลาดหลักทรัพย์ฯและสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ น่าจะเพิ่มการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจรวมทั้งการวิเคราะห์ธุรกิจ การวิเคราะห์งบการเงินให้กับนักวิเคราะห์หรือนักลงทุนนะครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจอยากเข้าฟังครับ
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
การเปลี่ยนแปลงการบันทึกเบี้ยประกันภัยต่อ
โพสต์ที่ 10
เข้าใจว่าพูดถึง เงินสำรองเบี้ยประกัน หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Unearned premium ซึ่งถ้าเป็นตัวนี้ละเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าควรอยู่ในกำไรสะสม ไม่ใช่ในส่วนหนี้สิน
ต้องท้าวความก่อนว่า เงินสำรองเบี้ยประกัน (ไม่เหมือนกับเบี้ยประกันภัยต่อนะครับ คนละส่วนกัน อันนั้นคือเอาเบี้ยประกันไปให้เจ้าอื่นเพื่อลดความเสี่ยงของตัวเอง) คือ ส่วนของเบี้ยประกันรับหักกับเบี้ยประกันที่ได้รับการคุ้มครองไปแล้ว เช่น เบี้ยประกันอายุ 1 ปี เริ่มเดือนมิถุนายน เบี้ยประกัน 1,000,000 บาท เมื่อถึงเดือน ธันวาคม จะมีเบี้ยประกันที่ต้องสำรองไว้คือ 1,000,000 x 6/12 (เหลือความคุ้มครองอีก 6 เดือน) แสดงว่าจะต้องมีเงินสำรองเบี้ยประกันอยู่ 600,000 บาท
แสดงว่าเงินสำรองเบี้ยประกัน ยิ่งมีมากแสดงว่าบริษัทมีเบี้ยประกันรับจำนวนมากเช่นกัน หากเอาไว้ในส่วนหนี้สินก็แสดงว่ายิ่งขายกรมธรรม์ได้มากๆ ดันจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้น :?: แปลกแต่จริงคับ
ดังนั้นการย้ายมาให้ลงในส่วนกำไรสะสม ไม่น่าจะผิดหลักทางบัญชีและยังทำให้การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทประกันทำได้ง่ายขึ้นด้วยครับ
ต้องท้าวความก่อนว่า เงินสำรองเบี้ยประกัน (ไม่เหมือนกับเบี้ยประกันภัยต่อนะครับ คนละส่วนกัน อันนั้นคือเอาเบี้ยประกันไปให้เจ้าอื่นเพื่อลดความเสี่ยงของตัวเอง) คือ ส่วนของเบี้ยประกันรับหักกับเบี้ยประกันที่ได้รับการคุ้มครองไปแล้ว เช่น เบี้ยประกันอายุ 1 ปี เริ่มเดือนมิถุนายน เบี้ยประกัน 1,000,000 บาท เมื่อถึงเดือน ธันวาคม จะมีเบี้ยประกันที่ต้องสำรองไว้คือ 1,000,000 x 6/12 (เหลือความคุ้มครองอีก 6 เดือน) แสดงว่าจะต้องมีเงินสำรองเบี้ยประกันอยู่ 600,000 บาท
แสดงว่าเงินสำรองเบี้ยประกัน ยิ่งมีมากแสดงว่าบริษัทมีเบี้ยประกันรับจำนวนมากเช่นกัน หากเอาไว้ในส่วนหนี้สินก็แสดงว่ายิ่งขายกรมธรรม์ได้มากๆ ดันจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้น :?: แปลกแต่จริงคับ
ดังนั้นการย้ายมาให้ลงในส่วนกำไรสะสม ไม่น่าจะผิดหลักทางบัญชีและยังทำให้การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทประกันทำได้ง่ายขึ้นด้วยครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ