รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ของ RATCH
-
- Verified User
- โพสต์: 11
- ผู้ติดตาม: 0
รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ของ RATCH
โพสต์ที่ 1
1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 652,500,000 45.00%
2 กลุ่มบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) 217,400,000 14.99%
3 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน กฟผ. 48,485,396 3.34%
4 ธนาคาร ออมสิน 38,000,000 2.62%
5 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 31,326,300 2.16%
6 MORGAN SANLEY & CO INTERNATIONAL LIMITED 26,888,000 1.81%
7 HSBC (SINGAPORE) NOMINEE PTE LTD 24,104,500 1.66%
8 กองทุนบำเหน็ดบำนาญข้าราชการ 11,219,000 0.77%
9 OVERSEA-CHINESE BANK NOMINESS PTE LTD 5,301,300 0.37%
10 บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด 5,000,000 0.34%
รวม 1,060,224,496 73.06%
2 กลุ่มบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) 217,400,000 14.99%
3 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน กฟผ. 48,485,396 3.34%
4 ธนาคาร ออมสิน 38,000,000 2.62%
5 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 31,326,300 2.16%
6 MORGAN SANLEY & CO INTERNATIONAL LIMITED 26,888,000 1.81%
7 HSBC (SINGAPORE) NOMINEE PTE LTD 24,104,500 1.66%
8 กองทุนบำเหน็ดบำนาญข้าราชการ 11,219,000 0.77%
9 OVERSEA-CHINESE BANK NOMINESS PTE LTD 5,301,300 0.37%
10 บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด 5,000,000 0.34%
รวม 1,060,224,496 73.06%
-
- Verified User
- โพสต์: 11
- ผู้ติดตาม: 0
รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ของ RATCH
โพสต์ที่ 2
กฟผ. จะขายหุ้น EGCOMP จํ านวน 24.99% ให้กับ BANPU ที่ราคาหุนละ 82.5832 บาท ก่อนที่จะทํ า IPO ในเดือน
เม.ย. นี้ ในขณะเดียวก น BANPU จะแลกเปลี่ยนด้วยการขายหุ้น RATCH จํ านวน 15% ให้กับ กฟผ. ที่ราคาหุ้นละ
43.8589 บาท ส่งผลให้ กฟผ. ต้องทําการเสนอซื้อหุ้น RATCH ที่เหลืออีก 40% จากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ กฟผ. จะขายหุ้นที่ถืออยู่ใน EGCOMP
ในที่สุด กฟผ. ก็ตัดสินใจลดสัดส่วนการถือหุ้นใน EGCOMP ลง ก่อนการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชน (IPO) โดยคณะกรรมการบริหารได้อนุมัติการขายหุ้น EGCOMP ให้กับ BANPU และ CLP Power Projects (Thailand) ที่ราคาหุ้นละ82.5832 บาท ในขณะเดียวกัน BANPU จะขายหุ้น RATCH ที่ถืออยู่ 15% ให้กับ กฟผ. กลับคืนที่ราคาหุนละ 43.8589 บาท
การถือหุ้น RATCH ของ กฟผ. จะเพิ่มขึ้นเป็น 60% และมีผลให้ กฟผ. ต้องทํ าการเสนอซื้อหุ้น RATCH ที่เหลืออีก 40%
จากผู้ถือหุ้นอื่น ๆ ที่ราคาเดียวกัน และในที่สุด กฟผ. จะนํ า RATCH ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลให้แง่บวก
ตอนที่ กฟผ. จะเข้าตลาดในเดือน เม.ย. 47 ปจจุบัน กฟผ. และ BANPU ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) แล้ว
ซึ่งน่าจะมีข้อสรุปภายในสิ้นเดือน กพ
ิ
ํผมว่า EGAT จะต้องซื้อหุ้นจากรายย่อยต้องมากกว่า 82.5832 บาทถึงจะเหมาะสมเพราะสิ่งที่ egat-bunpu ทำนั้น ได้ประโยชน์ทั้งคู่ โดยไม่ยังไม่ได้คำนึงถึงรายย่อยที่ได้ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผมว่า egat ควร จะซื้อคืนจากรายย่อยจริงๆมากกว่าราคาดังกล่าว พวกพี่ๆมีความคิดเห็นอย่างไรครับ
เม.ย. นี้ ในขณะเดียวก น BANPU จะแลกเปลี่ยนด้วยการขายหุ้น RATCH จํ านวน 15% ให้กับ กฟผ. ที่ราคาหุ้นละ
43.8589 บาท ส่งผลให้ กฟผ. ต้องทําการเสนอซื้อหุ้น RATCH ที่เหลืออีก 40% จากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ กฟผ. จะขายหุ้นที่ถืออยู่ใน EGCOMP
ในที่สุด กฟผ. ก็ตัดสินใจลดสัดส่วนการถือหุ้นใน EGCOMP ลง ก่อนการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชน (IPO) โดยคณะกรรมการบริหารได้อนุมัติการขายหุ้น EGCOMP ให้กับ BANPU และ CLP Power Projects (Thailand) ที่ราคาหุ้นละ82.5832 บาท ในขณะเดียวกัน BANPU จะขายหุ้น RATCH ที่ถืออยู่ 15% ให้กับ กฟผ. กลับคืนที่ราคาหุนละ 43.8589 บาท
การถือหุ้น RATCH ของ กฟผ. จะเพิ่มขึ้นเป็น 60% และมีผลให้ กฟผ. ต้องทํ าการเสนอซื้อหุ้น RATCH ที่เหลืออีก 40%
จากผู้ถือหุ้นอื่น ๆ ที่ราคาเดียวกัน และในที่สุด กฟผ. จะนํ า RATCH ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลให้แง่บวก
ตอนที่ กฟผ. จะเข้าตลาดในเดือน เม.ย. 47 ปจจุบัน กฟผ. และ BANPU ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) แล้ว
ซึ่งน่าจะมีข้อสรุปภายในสิ้นเดือน กพ
ิ
ํผมว่า EGAT จะต้องซื้อหุ้นจากรายย่อยต้องมากกว่า 82.5832 บาทถึงจะเหมาะสมเพราะสิ่งที่ egat-bunpu ทำนั้น ได้ประโยชน์ทั้งคู่ โดยไม่ยังไม่ได้คำนึงถึงรายย่อยที่ได้ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผมว่า egat ควร จะซื้อคืนจากรายย่อยจริงๆมากกว่าราคาดังกล่าว พวกพี่ๆมีความคิดเห็นอย่างไรครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ของ RATCH
โพสต์ที่ 3
ส่วนตัวคิดว่า กฟผ. จะเอา Ratch ออกจากตลาดไปทำไม
ไม่เห็นมีเหตุผลอะไร
นอกจากการมีหุ้นมากถึง 60 % ทำให้ต้องทำ tender offer ตามหลักเกณของตลาด ก็เท่านั้นเอง
แต่ไม่เห็นแรงจูงใจในการที่จะต้องเอา Ratch ออกจากตลาด
ไม่เห็นมีเหตุผลอะไร
นอกจากการมีหุ้นมากถึง 60 % ทำให้ต้องทำ tender offer ตามหลักเกณของตลาด ก็เท่านั้นเอง
แต่ไม่เห็นแรงจูงใจในการที่จะต้องเอา Ratch ออกจากตลาด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ของ RATCH
โพสต์ที่ 4
ราคาที่ tender offer ได้จากคำนวณ จากที่ปรึกษาทางการเงิน
โดยสามารถคำนวณได้หลายๆ วิธี เช่น ..
-Discount cash flow (DCF)
-ราคาตลาดย้อนหลัง
-Book value
ผมไม่แน่ใจว่า กรณีทั้ง RATCH และ EGCOMP
ใช้วิธีใด อาจจะเป็นวิธีราคาตลาดย้อนหลัง
ที่ราคา 82 บาท สำหรับ EGCOMP
มี BV เกือบๆ 2 เท่า ซึ่งถือว่าไม่ถูกนะครับ
หากพิจารณาราคา tender ที่ 43 บ และ 82 บาท
เปรียบเทียบกับราคาก่อนหน้านี้ 4-5 เดือน ที่ประมาณ
30 บ และ 60 บาท ก็ถือว่าไม่น้อยนะครับ
ซึ่งน่าจะเป็นที่พอใจสำหรับผู้ถือหุ้นที่ได้ถือหุ้น มานานแล้ว
แต่หากท่านใด ได้ซื้อที่ต้นทุนสูง ในช่วงที่มีการไล่ราคา
อาจจะผิดหวังบ้างครับ
(ผมเข้าใจว่าจะทำ tender เฉพาะ RATCH นะครับ ส่วน EGCOMP ไม่น่าจะทำ tender นะครับ เพราะยังไม่ถึงจุดบังคับที่ 25 %)
โดยสามารถคำนวณได้หลายๆ วิธี เช่น ..
-Discount cash flow (DCF)
-ราคาตลาดย้อนหลัง
-Book value
ผมไม่แน่ใจว่า กรณีทั้ง RATCH และ EGCOMP
ใช้วิธีใด อาจจะเป็นวิธีราคาตลาดย้อนหลัง
ที่ราคา 82 บาท สำหรับ EGCOMP
มี BV เกือบๆ 2 เท่า ซึ่งถือว่าไม่ถูกนะครับ
หากพิจารณาราคา tender ที่ 43 บ และ 82 บาท
เปรียบเทียบกับราคาก่อนหน้านี้ 4-5 เดือน ที่ประมาณ
30 บ และ 60 บาท ก็ถือว่าไม่น้อยนะครับ
ซึ่งน่าจะเป็นที่พอใจสำหรับผู้ถือหุ้นที่ได้ถือหุ้น มานานแล้ว
แต่หากท่านใด ได้ซื้อที่ต้นทุนสูง ในช่วงที่มีการไล่ราคา
อาจจะผิดหวังบ้างครับ
(ผมเข้าใจว่าจะทำ tender เฉพาะ RATCH นะครับ ส่วน EGCOMP ไม่น่าจะทำ tender นะครับ เพราะยังไม่ถึงจุดบังคับที่ 25 %)
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ของ RATCH
โพสต์ที่ 6
หากอีแกต ต้องการเอา RATCH ออกจากตลาด ต้องซื้อหุ้นให้ได้มากกว่า 90-95 % (ตัวเลขไม่แน่ใจครับ) ซึ่งจะทำให้ RATCH ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นบริษัทจดทะเบียนคุณลูกอีสานครับ ถ้า egat ไม่อยากเอา ratch ออกจากตลาด egat ต้องทำอย่างไรครับ
แต่ดูๆ ไปแล้วคงเป็นไปได้ยากที่จะซื้อหุ้นได้มากขนาดนั้น ที่ราคาเสนอซื้อที่ 43 บาท
ให้เดาเอา ทั้ง RATCH และ EGCOMP ก็คงยังเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นครับ แค่โครงสร้างของผู้ถือหุ้นใหญ่เปลี่ยนไป ซึ่งผมคิดว่าในระยะยาวมีผลกระทบต่อ EGCOMP พอสมควรครับ
ที่มีการแลกเปลี่ยนหุ้นกัน ก็คงเนื่องจากต้องการลด การขัดแย้งทางผลประโยชน์ครับ เพราะหากโครงสร้างการถือหุ้นยังเหมือนเดิม อีแกต จะทำธุรกิจ แข่งขันกับบริษัทลูกทั้งสองราย นะครับ การสวอปหุ้น ทำให้ลดการแข่งขัน และโครงสร้างผูืถือหุ้นมีความชัดเจนขึ้นครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 11
- ผู้ติดตาม: 0
รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ของ RATCH
โพสต์ที่ 7
สวัสดีครับ พี่ jeng พี่ ลูกอีสาน
ผมว่าเรื่องนี้ไม่ค่อยแฟร์สำหรับผู้ถือรายย่อยสักเท่าไร เพราะปล่อยให้มีการไล่ราคากัน ช่วงปลายปีที่แล้ว พอต้นปีถึงประกาศข้อมูลออกมา ซึ่งมีคนภายในก็ได้ผลประโยชน์ไป ถ้ามีการออกข่าวมาก่อนก็จะทำให้ มีรายย่อยบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อนึ่ง ผมมีต้นทุนที่ 42 บาทครับ และจะถือจนข้อมูลแน่ชัดและรอรับปันผลซึ่งคิดว่าประมาณ หนึ่งบาทครับ
ขอแก้เป็น ราคาหุนละ 43.8589 บาท ครับ
ขอบคุณครับ
ผมว่าเรื่องนี้ไม่ค่อยแฟร์สำหรับผู้ถือรายย่อยสักเท่าไร เพราะปล่อยให้มีการไล่ราคากัน ช่วงปลายปีที่แล้ว พอต้นปีถึงประกาศข้อมูลออกมา ซึ่งมีคนภายในก็ได้ผลประโยชน์ไป ถ้ามีการออกข่าวมาก่อนก็จะทำให้ มีรายย่อยบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ด้าน นายบุญชู ดิเรกสถาพร กรรมการผู้จัดการ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) กล่าวยืนยันว่า การขายหุ้น RATCH ออกไปจำนวน 2.9 หมื่นหุ้น จากที่ถืออยู่ 9.8 หมื่นหุ้น และล่าสุดยังคงเหลือ 6.9 หมื่นหุ้นนั้น เป็นการขายด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยไม่รู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือกฟผ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ RATCH 45% ได้ซื้อหุ้น RATCH จากบมจ.บ้านปู (BANPU) เพิ่มเป็น 60% โดยตนได้ขายหุ้น RATCH ออกไป 2 ลอตในวันที่ 30 ธ.ค. และ 31 ธ.ค. 2546 ที่ราคาเฉลี่ย 48.3 บาท และ 49.72 บาท ซึ่งหลังจากนั้นได้แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรับรู้ แต่เนื่องจากเป็นวันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่ การเปิดเผยต่อสาธารณะจึงเกิดขึ้นในวันเปิดทำการซื้อขายหุ้น ต้นปี 2547 ซึ่งเป็นจังหวะที่กฟผ.ได้แจ้งถึงการเข้าถือหุ้นใน RATCH เพิ่มขึ้นและขอให้ RATCH ขอร้องตลาดหลักทรัพย์ ให้มีคำสั่งห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ของ RATCH เป็นการชั่วคราวเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 47 ก่อนที่จะเปิดทำการซื้อขายอีกครั้งในวันที่ 6 ม.ค. 47
นายบุญชู กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน การถือหุ้น RATCH ของตนนั้นมีต้นทุนที่ 10 บาท จำนวน 8,000 หุ้น ซึ่งมาจากการถือหุ้นในสัดส่วนของพนักงานบริษัท ส่วนที่เหลือมีต้นทุนกว่า 10 บาท ซึ่งเป็นการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ผู้ถือหุ้น RATCH พิจารณาผลตอบแทนจากการถือหุ้น ซึ่งนับจากนี้อีกไม่นาน บริษัทจะจ่ายปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิ รวมทั้งหากกฟผ. ทำคำเสนอซื้อ (Tender Offer) หุ้น RATCH เท่ากับราคาของ BANPU ที่ 43.85 บาท ผู้ถือหุ้นรายย่อย จะมีกำไรมากกว่าการขายหุ้น RATCH ออกไปในวันนี้
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ํผมว่า EGAT จะต้องซื้อหุ้นจากรายย่อยต้องมากกว่า 82.5832 บาทถึงจะเหมาะสม
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 11
- ผู้ติดตาม: 0
รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ของ RATCH
โพสต์ที่ 8
ข่าววันนี้ครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
กฟผ.ยืนยัน RATCHยังอยู่ในตลท.
กฟผ.ยืนยัน RATCH จะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป พร้อมย้ำการแข่งขันทั้ง กฟผ.และ RATCH มีกำหนดกฎเกณฑ์และกติกาการแข่งขันที่ชัดเจน ส่วนการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมอยู่ระหว่างการจัดทำในรายละเอียด
นายสิทธิพร รัตนโนภาส ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีข่าวว่า กฟผ.จะให้บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) หรือ RATCH ออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน(บจ.) นั้น ทาง กฟผ. ขอยืนยันว่าบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ ต้องอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เป็น บจ. ต่อไป เนื่องจาก กฟผ.ยังมีความต้องการบริษัทราชบุรี ซึ่งเป็นฝ่ายภาคเอกชนที่สามารถแข่งขันได้เป็นแขน- ขาของ กฟผ.ที่จะทำการแข่งขันร่วมกันกับ กฟผ.ที่จะเข้าเป็น บจ.ในตลาดหุ้นเร็วๆ นี้ ซึ่งในส่วนของ กฟผ.ที่จะเข้าตลาดหุ้น ยังอยู่ระหว่างรอความชัดเจนในส่วนของคณะกรรมการ กฟผ. ที่อยู่ระหว่างศึกษาขั้นตอนและระเบียบต่างๆ ในการที่จะให้หุ้น กฟผ.เข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กฟผ. จะมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ ในวันที่ 23 มกราคมที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตาม ที่หลายฝ่ายเกรงว่า การที่หุ้นราชบุรีและ กฟผ. ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯแล้ว อาจเกิดปัญหาการแข่งขันกัน เรื่องดังกล่าว ทั้ง กฟผ.และโรงไฟฟ้าราชบุรีมีกำหนดกฎเกณฑ์และกติกาการแข่งขันที่ชัดเจน ซึ่งจะมีการประกาศในอนาคตต่อไป เช่น อาจให้โรงไฟฟ้าราชบุรีแข่งขันภายในประเทศ ส่วน กฟผ.แข่งขันต่างประเทศก็ได้ ซึ่งตรงนี้ เป็นรายละเอียดที่คงต้องมีการพิจารณาให้ชัดเจนอีกครั้ง
"วันนี้ กฟผ.ขอยืนยันว่า บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ จะต้องอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป และไม่น่าเป็นห่วงว่าการแข่งขันจะทำให้เกิดได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกันเพราะในเชิงธุรกิจแม้ กฟผ.จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แต่การแข่งขันในทางธุรกิจก็มีทั้งได้เปรียบและเสียเปรียบ แต่ทุกอย่างจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและความโปร่งใส"
นายสิทธิพร กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีการเจรจาที่จะมีการขายหุ้นและซื้อหุ้นราชบุรีเพิ่มเติมของ กฟผ.นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำข้อตกลงคาดว่า น่าจะเห็นความชัดเจนได้ประมาณปลายเดือนมกราคมนี้ ซึ่งสัดส่วนในการที่ กฟผ.จะซื้อและขายหุ้นก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการ กฟผ. เพราะ กฟผ.รัฐบาลยังถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 แม้หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯแล้วก็ตาม เพราะหุ้นของ กฟผ. ถือเป็นหุ้นสาธารณูปโภค จะดำเนินการสิ่งใดหรือขายหุ้นก็ต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งแตกต่างจากการบริหารของบริษัทเอกชนที่การจะดำเนินการขายหุ้นหรือทำในสิ่งใดเพียงผ่านการพจิารณาของคณะกรรมการบริษัทก็สามารถดำเนินการได้แล้ว ดังนั้น กฟผ.ยังมีความจำเป็นให้บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ยังอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 11
- ผู้ติดตาม: 0
รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ของ RATCH
โพสต์ที่ 9
ข่าววันนี้ครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
กฟผ.ยืนยัน RATCHยังอยู่ในตลท.
กฟผ.ยืนยัน RATCH จะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป พร้อมย้ำการแข่งขันทั้ง กฟผ.และ RATCH มีกำหนดกฎเกณฑ์และกติกาการแข่งขันที่ชัดเจน ส่วนการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมอยู่ระหว่างการจัดทำในรายละเอียด
นายสิทธิพร รัตนโนภาส ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีข่าวว่า กฟผ.จะให้บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) หรือ RATCH ออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน(บจ.) นั้น ทาง กฟผ. ขอยืนยันว่าบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ ต้องอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เป็น บจ. ต่อไป เนื่องจาก กฟผ.ยังมีความต้องการบริษัทราชบุรี ซึ่งเป็นฝ่ายภาคเอกชนที่สามารถแข่งขันได้เป็นแขน- ขาของ กฟผ.ที่จะทำการแข่งขันร่วมกันกับ กฟผ.ที่จะเข้าเป็น บจ.ในตลาดหุ้นเร็วๆ นี้ ซึ่งในส่วนของ กฟผ.ที่จะเข้าตลาดหุ้น ยังอยู่ระหว่างรอความชัดเจนในส่วนของคณะกรรมการ กฟผ. ที่อยู่ระหว่างศึกษาขั้นตอนและระเบียบต่างๆ ในการที่จะให้หุ้น กฟผ.เข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กฟผ. จะมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ ในวันที่ 23 มกราคมที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตาม ที่หลายฝ่ายเกรงว่า การที่หุ้นราชบุรีและ กฟผ. ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯแล้ว อาจเกิดปัญหาการแข่งขันกัน เรื่องดังกล่าว ทั้ง กฟผ.และโรงไฟฟ้าราชบุรีมีกำหนดกฎเกณฑ์และกติกาการแข่งขันที่ชัดเจน ซึ่งจะมีการประกาศในอนาคตต่อไป เช่น อาจให้โรงไฟฟ้าราชบุรีแข่งขันภายในประเทศ ส่วน กฟผ.แข่งขันต่างประเทศก็ได้ ซึ่งตรงนี้ เป็นรายละเอียดที่คงต้องมีการพิจารณาให้ชัดเจนอีกครั้ง
"วันนี้ กฟผ.ขอยืนยันว่า บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ จะต้องอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป และไม่น่าเป็นห่วงว่าการแข่งขันจะทำให้เกิดได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกันเพราะในเชิงธุรกิจแม้ กฟผ.จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แต่การแข่งขันในทางธุรกิจก็มีทั้งได้เปรียบและเสียเปรียบ แต่ทุกอย่างจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและความโปร่งใส"
นายสิทธิพร กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีการเจรจาที่จะมีการขายหุ้นและซื้อหุ้นราชบุรีเพิ่มเติมของ กฟผ.นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำข้อตกลงคาดว่า น่าจะเห็นความชัดเจนได้ประมาณปลายเดือนมกราคมนี้ ซึ่งสัดส่วนในการที่ กฟผ.จะซื้อและขายหุ้นก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการ กฟผ. เพราะ กฟผ.รัฐบาลยังถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 แม้หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯแล้วก็ตาม เพราะหุ้นของ กฟผ. ถือเป็นหุ้นสาธารณูปโภค จะดำเนินการสิ่งใดหรือขายหุ้นก็ต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งแตกต่างจากการบริหารของบริษัทเอกชนที่การจะดำเนินการขายหุ้นหรือทำในสิ่งใดเพียงผ่านการพจิารณาของคณะกรรมการบริษัทก็สามารถดำเนินการได้แล้ว ดังนั้น กฟผ.ยังมีความจำเป็นให้บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ยังอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป