ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 1
ผมว่าคุยกันไปแบบไม่เห็นเนื้อหาจะตีความผิดๆถูกๆ ไม่เป็นผลดีแน่นอน
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 3
*(เพิ่มเติม) "ปรีดิยาธร"เผยให้เวลาบริษัทต่างชาติปรับตัวตามกม.ต่างด้าวใหม่
Source - IQ Biz
Tuesday, 09 January 2007 16:15
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า ภายใต้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ที่ได้ผ่านความเห็นชอบหลักการจากคณะรัฐมนตรีในวันนี้นั้น ทางการจะให้เวลาระยะหนึ่งเพื่อให้บริษัทต่างชาติปรับตัวให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับใหม่ดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติ และสิทธิการออกเสียง(โหวต)
ร่างแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ มีคำนิยามชัดเจนมากขึ้น ทั้งบริษัทต่างชาติ, บริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ หรือต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% รวมทั้งบริษัทที่ต่างชาติให้คนไทยถือแทนหรือนอมินีด้วย และกำหนดให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติจะต้องมีสิทธิออกเสียงไม่เกิน 50%
กรณีของสิทธิการโหวตนั้นบริษัทในบัญชีที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่ต้องรอความพร้อมของคนไทย หากเป็นบริษัทที่ตั้งในประเทศไทยมานานแล้ว จะต้องแจ้งสิทธิการโหวต(Voting Right) ภายใน 1 ปี เนื่องจากเป็นอาชีพที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง หรืออาชีพที่ต้องสงวนไว้สำหรับคนไทย ส่วนบริษัทเข้าใหม่ก็ต้องทำตามกฎ Voting Right ให้ถูกต้อง
บริษัทในบัญชี 1 และ 2 ซึ่งเป็นธุรกิจเฉพาะที่สงวนไว้สำหรับคนไทย ให้เวลามาแจ้งภายใน 1 ปี และให้โอกาสในการปรับตัวให้ถูกต้องภายใน 2 ปี
ส่วนประเด็นนอมินี หากเป็นธุรกิจในบัญชีที่ 3 ให้เวลามาแจ้งภายใน 90 วัน แล้วให้สามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่ต้องลดสัดส่วนนอมินีลง แต่ถ้าเป็นธุรกิจในบัญชี 1 และ 2 ให้มาแจ้งภายใน 90 วัน และทยอยลดสัดส่วนนอมินีลงเหลือ 50% ภายใน 1 ปี
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า สำหรับบริษัท กุหลาบแก้ว เข้าข่ายธุรกิจในบัญชี 2 หากกฎหมายดังกล่าวผ่านสภาแล้ว กุหลาบแก้วก็ต้องดำเนินการตามทั้ง 2 เรื่อง คือ Voting Right และ นอมินีให้ถูกต้อง
เท่าที่รู้
บัญชีที่1คือ กลุ่มสินค้าเกษตร
บัญชีที่2คือ กลุ่มที่เกี่ยวกับความมั่นคง เช่นการสื่อสาร
บัญชีที่3คือ กลุ่มที่มีการแข่งขันสูง เช่น อิเล็ก และ ยานยนต์
ผลกระทบทางตรงจะเกิดจากการต้องขายหุ้นออกมาจากกลุ่ม1และ2 ที่มีการถือหุ้นเกิน50% ก็ต้องไปตรวจดูบมจ.ที่ตนเองถืออยู่ว่ามีชื่อที่เป็นกองทุนต่างชาติและชื่อฝรั่งเข้ามาถือหรือเปล่า กับ ผู้บริหารเป็นผู้ถือหุ้นที่เป็นนอมินี หรือเปล่า โดยดูความเป็นไปได้จากรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่กับผู้บริหารเป็นชุดเดียวกันหรือเปล่า
ส่วนกลุ่มที่3นี่กระเทือนทางอ้อมทางความรู้สึกครับ และถ้าบมจ.ที่ไม่มีนอมินี ก็คงกระเทือนทางอ้อมจากที่setลงครับ
ส่วนหุ้นของผมเช็คแล้วโดนแต่ทางอ้อมครับ ไม่รู้จะรุนแรงแค่ไหนเท่านั้นเอง :lol:
Source - IQ Biz
Tuesday, 09 January 2007 16:15
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า ภายใต้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ที่ได้ผ่านความเห็นชอบหลักการจากคณะรัฐมนตรีในวันนี้นั้น ทางการจะให้เวลาระยะหนึ่งเพื่อให้บริษัทต่างชาติปรับตัวให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับใหม่ดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติ และสิทธิการออกเสียง(โหวต)
ร่างแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ มีคำนิยามชัดเจนมากขึ้น ทั้งบริษัทต่างชาติ, บริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ หรือต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% รวมทั้งบริษัทที่ต่างชาติให้คนไทยถือแทนหรือนอมินีด้วย และกำหนดให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติจะต้องมีสิทธิออกเสียงไม่เกิน 50%
กรณีของสิทธิการโหวตนั้นบริษัทในบัญชีที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่ต้องรอความพร้อมของคนไทย หากเป็นบริษัทที่ตั้งในประเทศไทยมานานแล้ว จะต้องแจ้งสิทธิการโหวต(Voting Right) ภายใน 1 ปี เนื่องจากเป็นอาชีพที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง หรืออาชีพที่ต้องสงวนไว้สำหรับคนไทย ส่วนบริษัทเข้าใหม่ก็ต้องทำตามกฎ Voting Right ให้ถูกต้อง
บริษัทในบัญชี 1 และ 2 ซึ่งเป็นธุรกิจเฉพาะที่สงวนไว้สำหรับคนไทย ให้เวลามาแจ้งภายใน 1 ปี และให้โอกาสในการปรับตัวให้ถูกต้องภายใน 2 ปี
ส่วนประเด็นนอมินี หากเป็นธุรกิจในบัญชีที่ 3 ให้เวลามาแจ้งภายใน 90 วัน แล้วให้สามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่ต้องลดสัดส่วนนอมินีลง แต่ถ้าเป็นธุรกิจในบัญชี 1 และ 2 ให้มาแจ้งภายใน 90 วัน และทยอยลดสัดส่วนนอมินีลงเหลือ 50% ภายใน 1 ปี
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า สำหรับบริษัท กุหลาบแก้ว เข้าข่ายธุรกิจในบัญชี 2 หากกฎหมายดังกล่าวผ่านสภาแล้ว กุหลาบแก้วก็ต้องดำเนินการตามทั้ง 2 เรื่อง คือ Voting Right และ นอมินีให้ถูกต้อง
เท่าที่รู้
บัญชีที่1คือ กลุ่มสินค้าเกษตร
บัญชีที่2คือ กลุ่มที่เกี่ยวกับความมั่นคง เช่นการสื่อสาร
บัญชีที่3คือ กลุ่มที่มีการแข่งขันสูง เช่น อิเล็ก และ ยานยนต์
ผลกระทบทางตรงจะเกิดจากการต้องขายหุ้นออกมาจากกลุ่ม1และ2 ที่มีการถือหุ้นเกิน50% ก็ต้องไปตรวจดูบมจ.ที่ตนเองถืออยู่ว่ามีชื่อที่เป็นกองทุนต่างชาติและชื่อฝรั่งเข้ามาถือหรือเปล่า กับ ผู้บริหารเป็นผู้ถือหุ้นที่เป็นนอมินี หรือเปล่า โดยดูความเป็นไปได้จากรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่กับผู้บริหารเป็นชุดเดียวกันหรือเปล่า
ส่วนกลุ่มที่3นี่กระเทือนทางอ้อมทางความรู้สึกครับ และถ้าบมจ.ที่ไม่มีนอมินี ก็คงกระเทือนทางอ้อมจากที่setลงครับ
ส่วนหุ้นของผมเช็คแล้วโดนแต่ทางอ้อมครับ ไม่รู้จะรุนแรงแค่ไหนเท่านั้นเอง :lol:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 4
ต่างชาติขู่ถอนลงทุนไทย ยื่นค้านกฎหมาย"นอมินี"
Source - ข่าวหุ้น
Tuesday, 09 January 2007 04:06
"หอการค้าต่างประเทศ"ขู่ลั่นถอนการลงทุนในไทยทันที หากพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจต่างด้าวฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้สร้างความเสียหายมหาศาลต่อเศรษฐกิจไทย ยื่นเสนอถอดจากวาระครม.วันนี้ เพื่อนำมาแก้ไขใหม่ พร้อมเชิญนักลงทุนต่างประเทศเข้าร่วมถกด้วย
นายปีเตอร์ จอห์น แวน ฮาเรน ประธานสภาหอการค้าต่างประเทศในไทย แถลงข่าวร่วมกับ 28 หอการค้าและตัวแทนสถานฑูตต่างประเทศในไทยว่า ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ชะลอความเห็นชอบการปรับปรุงพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอเข้าคณะรัฐมนตรีวันนี้(9ม.ค.)ไปก่อน เพราะหากพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้จะส่งผลต่อการลงทุนในประเทศไทย
โดยเฉพาะข้อบังคับเรื่องการมีสิทธิออกเสียงที่ให้คนไทยต้องมีสิทธิมากกว่า 51% ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากกฎหมายเดิมที่กำหนดไว้ ส่งผลให้นักลงทุนส่วนใหญ่ ระบุว่าเป็นการบีบให้ถอนการลงทุน ดังนั้นการลงทุนใหม่และการลงทุนเก่าอาจต้องถอนทุนหรือย้ายจากประเทศไทย
"เชื่อว่าหากพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในไทยอย่างแน่นอนหรืออาจต้องมีการถอนเรื่องการลงทุน รวมทั้งการบังคับขายหุ้นด้วย ซึ่งขณะนี้ยังไม่เห็นความชัดเจนเกี่ยวกับพ.ร.บ.ดังกล่าวว่า จะมีผลบังคับเฉพาะรายเก่าหรือรายใหม่ แต่เชื่อว่าน่าจะได้รับผลกระทบเหมือนกันทั้งหมด โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีเม็ดเงินลงทุนจำนวนมาก"นายปีเตอร์ กล่าว
ทั้งนี้ขอเสนอให้รัฐบาลกลับมาทบทวนพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าวกันใหม่โดยใช้ระยะเวลาทบทวนอย่างน้อย 6 เดือนรวมทั้งควรเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าหารือเกี่ยวกับการกำหนด พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้นักลงทุนทุกคนยินดีที่จะให้ความร่วมมือแก่ภาครัฐอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม หอการค้าต่างประเทศฯได้เดินทางยื่นหนังสือถึงนายสุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมาเพื่อขอให้ชะลอการตัดสินใจโดยควรตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของนักลงทุน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
นายปีเตอร์ กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่ยอมทบทวนพ.ร.บ.ดังกล่าวใหม่ หอการค้าต่างประเทศฯอาจต้องทำการเตือนนักลงทุนต่างชาติ ที่จะเข้ามาลงทุนในไทยเกี่ยวกับการระมัดระวังกฎหมายดังกล่าวด้วย รวมทั้งบอกถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกฎหมายที่อาจปรับเปลี่ยนอีกในอนาคต ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักลงทุนด้วยว่า จะเข้ามาลงทุนในไทยต่อหรือไม่
ทั้งนี้เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินมูลค่าการเสียหาย ที่เกิดจากการแก้กฎหมาย ดังกล่าวได้ เนื่องจากต้องรอดูความชัดเจนก่อนว่าจะผลตัดสินจะเป็นอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตาม อยากขอร้องให้รัฐบาลทบทวนกฎหมายดังกล่าวอีกครั้ง เพราะหากมีผลบังคับใช้ย่อมส่งผลกระทบต่อการลงทุนในไทยอย่างแน่นอน
"หอการค้าต่างประเทศฯพร้อมที่จะเป็นกรรมการและให้ข้อมูลแก่รัฐบาล พร้อมทั้งได้เสนอให้รัฐบาลยกเลิกเรื่องบัญชีแนบท้ายบัญชีที่ 3 และแก้ไขบัญชี 2 เพื่อเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ด้วยในส่วนของบัญชีที่สงวนไว้สำหรับคนไทยนั้น ควรครอบคลุมเฉพาะกิจการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติและวัฒนธรรมประเพณีเท่านั้น"นายปีเตอร์กล่าว
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นในไทยนั้น นายปีเตอร์ กล่าวว่า ภาวะปัจจุบันที่ไทยต้องประสบปัญหาหลายด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องระเบิดหลายจุดในเขตกรุงเทพฯรวมทั้งมาตรการสกัดการเก็งกำไรจากต่างชาติ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนในไทยดังนั้นส่วนตัวเห็นว่าหากจะมีการแก้กฎหมายประกอบธุรกิจคนต่างด้าวอีก ย่อส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ตามเชื่อว่าทำให้ความเชื่อมั่นถดถอยลงไปอีก
อย่างไรก็ตามยังได้ระบุในหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีด้วยว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(เอฟดีไอ)มีผลดีต่อประเทศไทยมาก ทั้งในส่วนของหการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการจัดการที่ทันสมัยการเพิ่มมาตรฐานการศึกษาทักษะด้านภาษาอังกฤษ รายได้จากภาษีอากร เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งมีผลประโยชน์ต่อผู้บริโภคคนไทยและช่วยส่งเสริมการส่งออกด้วย
Source - ข่าวหุ้น
Tuesday, 09 January 2007 04:06
"หอการค้าต่างประเทศ"ขู่ลั่นถอนการลงทุนในไทยทันที หากพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจต่างด้าวฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้สร้างความเสียหายมหาศาลต่อเศรษฐกิจไทย ยื่นเสนอถอดจากวาระครม.วันนี้ เพื่อนำมาแก้ไขใหม่ พร้อมเชิญนักลงทุนต่างประเทศเข้าร่วมถกด้วย
นายปีเตอร์ จอห์น แวน ฮาเรน ประธานสภาหอการค้าต่างประเทศในไทย แถลงข่าวร่วมกับ 28 หอการค้าและตัวแทนสถานฑูตต่างประเทศในไทยว่า ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ชะลอความเห็นชอบการปรับปรุงพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอเข้าคณะรัฐมนตรีวันนี้(9ม.ค.)ไปก่อน เพราะหากพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้จะส่งผลต่อการลงทุนในประเทศไทย
โดยเฉพาะข้อบังคับเรื่องการมีสิทธิออกเสียงที่ให้คนไทยต้องมีสิทธิมากกว่า 51% ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากกฎหมายเดิมที่กำหนดไว้ ส่งผลให้นักลงทุนส่วนใหญ่ ระบุว่าเป็นการบีบให้ถอนการลงทุน ดังนั้นการลงทุนใหม่และการลงทุนเก่าอาจต้องถอนทุนหรือย้ายจากประเทศไทย
"เชื่อว่าหากพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในไทยอย่างแน่นอนหรืออาจต้องมีการถอนเรื่องการลงทุน รวมทั้งการบังคับขายหุ้นด้วย ซึ่งขณะนี้ยังไม่เห็นความชัดเจนเกี่ยวกับพ.ร.บ.ดังกล่าวว่า จะมีผลบังคับเฉพาะรายเก่าหรือรายใหม่ แต่เชื่อว่าน่าจะได้รับผลกระทบเหมือนกันทั้งหมด โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีเม็ดเงินลงทุนจำนวนมาก"นายปีเตอร์ กล่าว
ทั้งนี้ขอเสนอให้รัฐบาลกลับมาทบทวนพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าวกันใหม่โดยใช้ระยะเวลาทบทวนอย่างน้อย 6 เดือนรวมทั้งควรเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าหารือเกี่ยวกับการกำหนด พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้นักลงทุนทุกคนยินดีที่จะให้ความร่วมมือแก่ภาครัฐอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม หอการค้าต่างประเทศฯได้เดินทางยื่นหนังสือถึงนายสุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมาเพื่อขอให้ชะลอการตัดสินใจโดยควรตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของนักลงทุน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
นายปีเตอร์ กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่ยอมทบทวนพ.ร.บ.ดังกล่าวใหม่ หอการค้าต่างประเทศฯอาจต้องทำการเตือนนักลงทุนต่างชาติ ที่จะเข้ามาลงทุนในไทยเกี่ยวกับการระมัดระวังกฎหมายดังกล่าวด้วย รวมทั้งบอกถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกฎหมายที่อาจปรับเปลี่ยนอีกในอนาคต ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักลงทุนด้วยว่า จะเข้ามาลงทุนในไทยต่อหรือไม่
ทั้งนี้เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินมูลค่าการเสียหาย ที่เกิดจากการแก้กฎหมาย ดังกล่าวได้ เนื่องจากต้องรอดูความชัดเจนก่อนว่าจะผลตัดสินจะเป็นอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตาม อยากขอร้องให้รัฐบาลทบทวนกฎหมายดังกล่าวอีกครั้ง เพราะหากมีผลบังคับใช้ย่อมส่งผลกระทบต่อการลงทุนในไทยอย่างแน่นอน
"หอการค้าต่างประเทศฯพร้อมที่จะเป็นกรรมการและให้ข้อมูลแก่รัฐบาล พร้อมทั้งได้เสนอให้รัฐบาลยกเลิกเรื่องบัญชีแนบท้ายบัญชีที่ 3 และแก้ไขบัญชี 2 เพื่อเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ด้วยในส่วนของบัญชีที่สงวนไว้สำหรับคนไทยนั้น ควรครอบคลุมเฉพาะกิจการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติและวัฒนธรรมประเพณีเท่านั้น"นายปีเตอร์กล่าว
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นในไทยนั้น นายปีเตอร์ กล่าวว่า ภาวะปัจจุบันที่ไทยต้องประสบปัญหาหลายด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องระเบิดหลายจุดในเขตกรุงเทพฯรวมทั้งมาตรการสกัดการเก็งกำไรจากต่างชาติ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนในไทยดังนั้นส่วนตัวเห็นว่าหากจะมีการแก้กฎหมายประกอบธุรกิจคนต่างด้าวอีก ย่อส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ตามเชื่อว่าทำให้ความเชื่อมั่นถดถอยลงไปอีก
อย่างไรก็ตามยังได้ระบุในหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีด้วยว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(เอฟดีไอ)มีผลดีต่อประเทศไทยมาก ทั้งในส่วนของหการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการจัดการที่ทันสมัยการเพิ่มมาตรฐานการศึกษาทักษะด้านภาษาอังกฤษ รายได้จากภาษีอากร เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งมีผลประโยชน์ต่อผู้บริโภคคนไทยและช่วยส่งเสริมการส่งออกด้วย
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 92
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 5
รัฐบาลเปิดทำเนียบพรุ่งนี้แจงหอต่างชาติ สาเหตุแก้กฎหมายนอมินี
9 มกราคม 2550 17:47 น.
รัฐบาลเปิดทำเนียบพรุ่งนี้ชี้แจงหอการค้าต่างประเทศ"ปรีดิยาธร"ระบุ เหตุที่ต้องแก้กฎหมายธุรกิจต่างด้าว เพื่อให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้น ชี้"กุหลาบแก้ว"ต้องปฏิบัติตามกติกาใหม่
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแถลงว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติการแก้ไขพ.ร.บ.ธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อแก้ไขปัญหานักลงทุนต่างชาติหลีกเลี่ยงกฎหมายในการถือหุ้นธุรกิจในประเทศไทย หลังจากมีการร้องเรียนกรณีการถือหุ้นแทนหรือนอมีนีในบริษัทกุหลาบแก้วเกิดขึ้น และจะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาในวันพรุ่งนี้(10 ม.ค.)
โดยก่อนที่จะเสนอเข้าที่ประชุมครม.กระทรวงพาณิชย์ ได้ใช้เวลาประมาณ 60 วันในการพิจารณาแก้ไขร่วมกับภาคเอกชน โดยมีสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำในหารือร่วมกับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง
ทั้งนี้ ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542ได้มีการแก้ไขคำจำกัดความของคำว่า บริษัทต่างชาติให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเขียนให้ชัดว่า บริษัทต่างชาติ คือ บริษัทใดที่ต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% ก็แปลว่าเป็นบริษัทต่างชาติ ซึ่งรวมถึงที่ให้คนไทยถือหุ้นแทนด้วย และ 2.กรณีต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 50% แต่ใช้สิทธิออกเสียงเกิน 50% หรือเรียกว่า voting right ซึ่งสามารถครอบงำบริษัทได้เหมือนเดิม วิธีนี้ก็คือ ให้สิทธิออกเสียงก็ไม่เกิน 50% เช่นกัน
เขากล่าวว่า เมื่อแก้ไขคำจำกัดความให้ชัดเจนแล้ว บริษัทที่อยู่ในเมืองไทยมานานก็มีโอกาสผิดกฎหมายในข้อ 1 หรือ 2 วิธีการแก้ไข คือ ถ้าผิดเรื่องการออกเสียง ถ้าเป็นธุรกิจในลิสต์ที่ 3 คือ ธุรกิจบริการทั่วไปให้แจ้งภายใน 1 ปี จากนั้น ก็สามารถทำธุรกิจต่อได้ ถ้าอยู่ในลิสต์ 1 คือ อาชีพสงวนของคนไทย คือ เกษตรกรรม และตัดผม เป็นต้น และลิสต์ที่ 2 คือ อาชีพที่เกี่ยวกับความมั่นคง ให้แจ้งภายใน 1 ปี เมื่อแจ้งแล้ว มีโอกาสปรับแก้ voting right และสัดส่วนการถือหุ้นให้อยู่ใน 50% ภายใน 2 ปี นับจากกฎหมายออกและรวมปีที่แจ้งด้วย ส่วนกรณีของนอมินีหรือรวมแล้วถือเกิน 50% ถ้าเป็นลิสต์ที่ 3 ให้มาแจ้งภายใน 90 วัน จากนั้น ก็ให้เดินธุรกิจต่อโดยไม่ต้องลดหุ้น แต่ถ้าเป็นลิสต์ที่ 1 และ 2 ให้มาแจ้งภายใน 90 วัน จากนั้นต้องทยอยแก้ไข โดยลดจำนวนหุ้นลงให้เหลือภายใน 50%ในเวลา 1 ปี
"กรณีที่ถือหุ้นไม่เกิน 50% ไม่มีนอมินี แต่ผิดที่ออกเสียงเกิน ตรงนี้ เราบอกว่า ถ้าเป็นบริษัทในลิสต์ที่ 3 คือ ธุรกิจบริการทั่วไป บริษัทกลุ่มนี้สามารถมาแจ้งว่า ถือปฏิบัติมานานแล้วใน 1 ปี ถ้าแจ้งในเวลาดังกล่าว เราถือว่าให้ปฏิบัติต่อไปได้ โดยไม่ต้องลดสิทธิการออกเสียงลง ทั้งนี้ ธุรกิจในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่อันตราย เป็นธุรกิจที่รอความพร้อมของคนไทย แต่เมื่อเขาเข้ามาอยู่ในเมืองไทยนาน ก็แค่มาแจ้งให้เราทราบ ดังนั้น กลุ่มนี้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่กระเทือน แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่เข้ามาใหม่หรือภายหลังกฎหมายอนุมัติต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด"เขากล่าว
เขากล่าวว่า ที่รัฐบาลทำไปทั้งหมด ก็เพื่อให้ธุรกิจต่างชาติที่เคยเข้าลงทุนในไทยนานแล้ว แต่เราไม่เคยใช้กฎหมายบังคับนี้มา ให้เขาสามารถเดินต่อไปได้ และกฎหมายฉบับเคยมีการแก้ไขและมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2542 และเมื่อเป็นกฎหมายแล้วปรากฎว่ามีการใช้คนไทยถือหุ้นแทนหรือเรียกว่านอมินี แต่ไม่มีการร้องเรียน จึงไม่มีการตีความตามกฎหมายว่าใครผิดใครถูก เรื่องก็คาราคาซังเรื่อยมา
นอกจากนี้ หลายบริษัทต่างชาติได้ทำตามคำแนะนำของนักกฎหมาย ซึ่งพยายามทำให้ตัวเองตรงคำในกฎหมาย คือ ถือไม่เกิน 51% แต่ที่จริงก็ยังครอบงำบริษัท โดยทำให้สิทธิการออกเสียงหุ้นไม่เท่ากันหรือ voting right คือ ต่างชาติสามารถออกเสียงได้มากกว่า ทั้งสองอันเป็นเทคนิคในการเลี่ยงกฎหมาย ซึ่งเดิมก็ไม่มีการร้องเรียน จนเกิดกรณีกุหลาบแก้ว ซึ่งมีการร้องเรียนขึ้น ทางกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมธุรกิจการค้าก็พิจารณาตีความและส่งเรื่องให้ตำรวจสอบสวน ทำให้บริษัทจำนวนมากอกสั่นขวัญแขวนว่าจะโดนด้วยหรือเปล่า
"เราได้พิจารณาบรรยากาศการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญ จริงอยู่มีกลเม็ดที่ไม่ถูกกฎหมายจริง แต่เราปล่อยมานาน ฉะนั้น จำเป็นต้องรักษาบรรยากาศการลงทุน คือ เขียนกฎหมายให้ชัด และ ถ้าบังเอิญเขาอยู่มานาน ก็ต้องให้โอกาสเขาแก้ตัว ให้เวลาปรับให้เข้ากับกฎหมาย เพื่อบรรยากาศการลงทุนจะได้ไม่เสีย ถ้าไม่ทำและปล่อยไปนักลงใหม่ก็ไม่กล้าเข้ามา ส่วนที่เราคุมในบัญชี 1,2,3 นั้นถือว่า เป็นกลุ่มธุรกิจไม่เยอะเมื่อเทียบกับที่ไม่คุมที่มีเป็นแสนๆบริษัท และที่เราทำก็ถือว่า เป็นหลักสากลที่ต่างประเทศเขาก็ใช้"ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
รมว.คลัง กล่าวว่าในวันพรุ่งนี้(10 มกราคม)เวลา 11.00 น.จะชี้แจงถึงรายละเอียดของการแก้ไขพ.ร.บ ดังกล่าวต่อสภาหอการค้าต่างประเทศ ที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย เขากล่าวว่า ส่วนกรณีบริษัทกุหลาบแก้วนั้น ซึ่งเป็นธุรกิจที่อยู่ในบัญญชีที่ 2 ก็ต้องปฎิบัติตามกฎหมาย โดยต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นลง ส่วนในแง่การสอบสวนก็ต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งเราได้เสนอให้สภาฯได้พิจารณาในกรณีนี้ด้วย สำหรับธุรกิจประกันชีวิต และ สถาบันการเงิน ได้แยกออกมา เพราะถือว่า มีกฎหมายเฉพาะ
กรุงเทพธุรกิจ
9 มกราคม 2550 17:47 น.
รัฐบาลเปิดทำเนียบพรุ่งนี้ชี้แจงหอการค้าต่างประเทศ"ปรีดิยาธร"ระบุ เหตุที่ต้องแก้กฎหมายธุรกิจต่างด้าว เพื่อให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้น ชี้"กุหลาบแก้ว"ต้องปฏิบัติตามกติกาใหม่
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแถลงว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติการแก้ไขพ.ร.บ.ธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อแก้ไขปัญหานักลงทุนต่างชาติหลีกเลี่ยงกฎหมายในการถือหุ้นธุรกิจในประเทศไทย หลังจากมีการร้องเรียนกรณีการถือหุ้นแทนหรือนอมีนีในบริษัทกุหลาบแก้วเกิดขึ้น และจะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาในวันพรุ่งนี้(10 ม.ค.)
โดยก่อนที่จะเสนอเข้าที่ประชุมครม.กระทรวงพาณิชย์ ได้ใช้เวลาประมาณ 60 วันในการพิจารณาแก้ไขร่วมกับภาคเอกชน โดยมีสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำในหารือร่วมกับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง
ทั้งนี้ ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542ได้มีการแก้ไขคำจำกัดความของคำว่า บริษัทต่างชาติให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเขียนให้ชัดว่า บริษัทต่างชาติ คือ บริษัทใดที่ต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% ก็แปลว่าเป็นบริษัทต่างชาติ ซึ่งรวมถึงที่ให้คนไทยถือหุ้นแทนด้วย และ 2.กรณีต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 50% แต่ใช้สิทธิออกเสียงเกิน 50% หรือเรียกว่า voting right ซึ่งสามารถครอบงำบริษัทได้เหมือนเดิม วิธีนี้ก็คือ ให้สิทธิออกเสียงก็ไม่เกิน 50% เช่นกัน
เขากล่าวว่า เมื่อแก้ไขคำจำกัดความให้ชัดเจนแล้ว บริษัทที่อยู่ในเมืองไทยมานานก็มีโอกาสผิดกฎหมายในข้อ 1 หรือ 2 วิธีการแก้ไข คือ ถ้าผิดเรื่องการออกเสียง ถ้าเป็นธุรกิจในลิสต์ที่ 3 คือ ธุรกิจบริการทั่วไปให้แจ้งภายใน 1 ปี จากนั้น ก็สามารถทำธุรกิจต่อได้ ถ้าอยู่ในลิสต์ 1 คือ อาชีพสงวนของคนไทย คือ เกษตรกรรม และตัดผม เป็นต้น และลิสต์ที่ 2 คือ อาชีพที่เกี่ยวกับความมั่นคง ให้แจ้งภายใน 1 ปี เมื่อแจ้งแล้ว มีโอกาสปรับแก้ voting right และสัดส่วนการถือหุ้นให้อยู่ใน 50% ภายใน 2 ปี นับจากกฎหมายออกและรวมปีที่แจ้งด้วย ส่วนกรณีของนอมินีหรือรวมแล้วถือเกิน 50% ถ้าเป็นลิสต์ที่ 3 ให้มาแจ้งภายใน 90 วัน จากนั้น ก็ให้เดินธุรกิจต่อโดยไม่ต้องลดหุ้น แต่ถ้าเป็นลิสต์ที่ 1 และ 2 ให้มาแจ้งภายใน 90 วัน จากนั้นต้องทยอยแก้ไข โดยลดจำนวนหุ้นลงให้เหลือภายใน 50%ในเวลา 1 ปี
"กรณีที่ถือหุ้นไม่เกิน 50% ไม่มีนอมินี แต่ผิดที่ออกเสียงเกิน ตรงนี้ เราบอกว่า ถ้าเป็นบริษัทในลิสต์ที่ 3 คือ ธุรกิจบริการทั่วไป บริษัทกลุ่มนี้สามารถมาแจ้งว่า ถือปฏิบัติมานานแล้วใน 1 ปี ถ้าแจ้งในเวลาดังกล่าว เราถือว่าให้ปฏิบัติต่อไปได้ โดยไม่ต้องลดสิทธิการออกเสียงลง ทั้งนี้ ธุรกิจในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่อันตราย เป็นธุรกิจที่รอความพร้อมของคนไทย แต่เมื่อเขาเข้ามาอยู่ในเมืองไทยนาน ก็แค่มาแจ้งให้เราทราบ ดังนั้น กลุ่มนี้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่กระเทือน แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่เข้ามาใหม่หรือภายหลังกฎหมายอนุมัติต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด"เขากล่าว
เขากล่าวว่า ที่รัฐบาลทำไปทั้งหมด ก็เพื่อให้ธุรกิจต่างชาติที่เคยเข้าลงทุนในไทยนานแล้ว แต่เราไม่เคยใช้กฎหมายบังคับนี้มา ให้เขาสามารถเดินต่อไปได้ และกฎหมายฉบับเคยมีการแก้ไขและมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2542 และเมื่อเป็นกฎหมายแล้วปรากฎว่ามีการใช้คนไทยถือหุ้นแทนหรือเรียกว่านอมินี แต่ไม่มีการร้องเรียน จึงไม่มีการตีความตามกฎหมายว่าใครผิดใครถูก เรื่องก็คาราคาซังเรื่อยมา
นอกจากนี้ หลายบริษัทต่างชาติได้ทำตามคำแนะนำของนักกฎหมาย ซึ่งพยายามทำให้ตัวเองตรงคำในกฎหมาย คือ ถือไม่เกิน 51% แต่ที่จริงก็ยังครอบงำบริษัท โดยทำให้สิทธิการออกเสียงหุ้นไม่เท่ากันหรือ voting right คือ ต่างชาติสามารถออกเสียงได้มากกว่า ทั้งสองอันเป็นเทคนิคในการเลี่ยงกฎหมาย ซึ่งเดิมก็ไม่มีการร้องเรียน จนเกิดกรณีกุหลาบแก้ว ซึ่งมีการร้องเรียนขึ้น ทางกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมธุรกิจการค้าก็พิจารณาตีความและส่งเรื่องให้ตำรวจสอบสวน ทำให้บริษัทจำนวนมากอกสั่นขวัญแขวนว่าจะโดนด้วยหรือเปล่า
"เราได้พิจารณาบรรยากาศการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญ จริงอยู่มีกลเม็ดที่ไม่ถูกกฎหมายจริง แต่เราปล่อยมานาน ฉะนั้น จำเป็นต้องรักษาบรรยากาศการลงทุน คือ เขียนกฎหมายให้ชัด และ ถ้าบังเอิญเขาอยู่มานาน ก็ต้องให้โอกาสเขาแก้ตัว ให้เวลาปรับให้เข้ากับกฎหมาย เพื่อบรรยากาศการลงทุนจะได้ไม่เสีย ถ้าไม่ทำและปล่อยไปนักลงใหม่ก็ไม่กล้าเข้ามา ส่วนที่เราคุมในบัญชี 1,2,3 นั้นถือว่า เป็นกลุ่มธุรกิจไม่เยอะเมื่อเทียบกับที่ไม่คุมที่มีเป็นแสนๆบริษัท และที่เราทำก็ถือว่า เป็นหลักสากลที่ต่างประเทศเขาก็ใช้"ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
รมว.คลัง กล่าวว่าในวันพรุ่งนี้(10 มกราคม)เวลา 11.00 น.จะชี้แจงถึงรายละเอียดของการแก้ไขพ.ร.บ ดังกล่าวต่อสภาหอการค้าต่างประเทศ ที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย เขากล่าวว่า ส่วนกรณีบริษัทกุหลาบแก้วนั้น ซึ่งเป็นธุรกิจที่อยู่ในบัญญชีที่ 2 ก็ต้องปฎิบัติตามกฎหมาย โดยต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นลง ส่วนในแง่การสอบสวนก็ต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งเราได้เสนอให้สภาฯได้พิจารณาในกรณีนี้ด้วย สำหรับธุรกิจประกันชีวิต และ สถาบันการเงิน ได้แยกออกมา เพราะถือว่า มีกฎหมายเฉพาะ
กรุงเทพธุรกิจ
- nana
- Verified User
- โพสต์: 209
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 6
http://www.bangkokbiznews.com/viewNews. ... sid=146178
เปิดร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
9 มกราคม 2550 15:37 น.
ข้อเสนอ
กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ที่ได้ปรับปรุงตามความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) เป็นประธานกรรมการ มาเพื่อดำเนินการ
ข้อเท็จจริง
กระทรวงพาณิชย์เสนอว่า
1. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานพอสมควร จึงมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เเหมาะสมกับสภาวการณ์ทางการค้าและการลงทุนในปัจจุบัน และมีปัญหาในการปฏิบัติโดยเฉพาะคำนิยามของคนต่างด้าว ซึ่งยังไม่ครอบคลุมและรัดกุมเพียงพอทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นบัญชีประเภทธุรกิจท้ายพระราชบัญญัติบางประเภทธุรกิจก็ยังไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรได้รับการแก้ไขปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
2. กระทรวงพาณิชย์จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการศึกษา พิจารณายกร่างแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติและประเภทธุรกิจตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) เป็นประธานได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่กระทรวงพาณิชย์เสนอตามข้อ 2.1 ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2549 แล้วมีประเด็นอภิปรายและมติดังนี้
4.ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน การแก้ไขนิยาม "คนต่างด้าว" ให้ครอบคลุมถึงนิติบุคคลที่มีคนต่างด้าวมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้นด้วย จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการปรับปรุงบัญชีประเภทธุรกิจท้ายพระราชบัญญัติก็นับว่าเหมาะสมและจะเป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
5. ที่ประชุม รับทราบว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมการเจรจาในส่วนที่อาจเกี่ยวข้องกับข้อผูกพันของไทยในองค์การการค้าโลกด้วย
6.ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ให้เวลาในการปรับตัวจนไม่อยู่ในข่ายที่เป็นการฝ่าฝืนหรือเลิกประกอบธุรกิจที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 35 หรือมาตรา 36 ของร่างพระราชบัญญัติ แต่ไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ฝ่าฝืนที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวนหรือศาล (มาตรา 9 วรรค 2) ซึ่งที่ประชุมพิจารณาว่าอาจเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นคนต่างด้าวหรือประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นการเลือกปฏิบัติ หากมีการคงข้อบัญญัตินี้ไว้ในร่างพระราชบัญญัติ หรือหากตัดออกไปก็อาจมีผลเป็นการนิรโทษกรรมผู้ที่อยู่ในข่ายฝ่าฝืนซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวนหรือศาล
7. ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบที่อาจมีต่อการค้าและการลงทุนเนื่องจากการแก้ไขนิยาม "คนต่างด้าว" รวมทั้งผลในด้านการถือครองที่ดินของคนต่างด้าว และให้กระทรวงพาณิชย์ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ในส่วนที่เกี่ยวกับบทกำหนดโทษและกำหนดเวลาในการปรับตัว เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎหมาย
ร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขคำนิยาม "คนต่างด้าว" โดยกำหนดให้ครอบคลุมถึงนิติบุคคลที่มีคนต่างด้าวมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้นด้วย เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงกฎหมายให้หลุดพ้นจากการเป็นคนต่างด้าวโดยการกำหนดบุริมสิทธิให้คนต่างด้าวมีสิทธิออกเสียงเหนือกว่าคนไทยหรือในทางกลับกันกำหนดให้คนไทยมีสิทธิออกเสียงน้อยกว่าคนต่างด้าว (ร่างมาตรา 4)
2. แก้ไขปรับปรุงบทกำหนดโทษ มาตรา 35 มาตรา 36 และมาตรา 37 โดยเพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการกระทำความผิดสำหรับโทษจำคุกคงเดิม
3. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปรับปรุงบทนิยาม "คนต่างด้าว" ให้ผู้ประกอบธุรกิจอยู่ก่อนแล้วตามกฎหมายเดิมได้รับสิทธิประกอบธุรกิจต่อไปได้ โดยให้มาแจ้งเพื่อขอหนังสือรับรองภายในเวลาที่กำหนดและหากเป็นการประกอบธุรกิจในบัญชีสามจะประกอบธุรกิจได้ตลอดไป สำหรับการประกอบธุรกิจในบัญชี 1 และบัญชี 2 จะประกอบธุรกิจต่อไปได้อีก 2 ปี และกำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นได้มีโอกาสปรับตัวและปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
4. ปรับปรุงบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดย
+ ยกเลิกธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะกำกับดูแลอยู่แล้วได้แก่ธุรกิจนำเที่ยว
+ ยกเว้นธุรกิจที่หน่วยงานที่กำกับโดยตรงขอให้ยกเว้น
+ ตัดข้อกำหนดเรื่องทุนขั้นต่ำของธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งออกซึ่งมีผลให้ผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งทุกรายต้องขออนุญาต
ความเห็น
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอตามข้อ 1 เป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางการค้าและการลงทุนในปัจจุบันประกอบกับคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ได้พิจารณาแล้ว และกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามความเห็นคณะกรรมการกลั่นกรองฯ แล้ว จึงสมควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันอังคารที่ 9 มกราคม 2550 หากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เห็นควรให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ....)พ.ศ.......
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ดังต่อไปนี้
(1) แก้ไขเพิ่มเติมคำนิยาม "คนต่างด้าว" ในกรณีเป็นนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยให้รวมถึงกรณีที่คนต่างด้าวมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้นด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4)
(2) แก้ไขโทษในมาตรา 35 มาตรา 36 และมาตรา 37 โดยเพิ่มโทษปรับและโทษปรับรายวันให้สูงขึ้น และในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดให้กรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลต้องรับโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นด้วย (แก้ไขมาตรา 41)
(3) กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปรับปรุงคำนิยาม "คนต่างด้าว" (ร่างมาตรา 8)
(4) กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปรับปรุงบทกำหนดโทษมีระยะเวลาปรับตัวเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย (ร่างมาตรา 9)
(5) แก้ไขปรับปรุงบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 (ยกเลิก (18) แก้ไขเพิ่มเติม (13) (14) (15) และ (21))
เหตุผล
โดยที่ในปัจจุบันได้มีคนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจที่สงวนไว้ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยการออกหุ้นบุริมสิทธิให้คนต่างด้าวที่ลงทุนไม่ถึงกึ่งหนึ่งแต่มีสิทธิลงคะแนนเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงกฎหมาย และบทกำหนดโทษสำหรับความผิดของคนต่างด้าวที่ฝ่าฝืนประกอบธุรกิจสงวนกำหนดไว้ต่ำ ทำให้ไม่เกรงกลัว ประกอบกับธุรกิจในบัญชีสงวนท้ายพระราชบัญญัติบางธุรกิจมีกฎหมายควบคุมดูแลอยู่แล้ว จึงต้องปรับปรุงแก้ไขบทนิยามคนต่างด้าวเพื่อให้ครอบคลุมถึงเรื่องสิทธิในการออกเสียงเพิ่มบทกำหนดโทษเกี่ยวกับความผิดกรณีฝ่าฝืนประกอบธุรกิจสงวนให้สูงขึ้น และแก้ไขปรับปรุงบัญชีท้ายพระราชบัญญัติเพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในการกำกับดูแล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว(ฉบับที่...) พ.ศ....
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ...."
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกคำนิยาม "คนต่างด้าว" ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"คนต่างด้าว" หมายความว่า
(1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
(2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
(3) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย และมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) นิติบุคคลซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอำนาจตามกฎหมายหรือตามข้อบังคับหรือตามข้อตกลงในการออกเสียงลงคะแนนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(ข) ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลตาม (1)
(4) "นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น
เพื่อประโยชน์แห่งคำนิยามนี้ให้ถือว่าหุ้นของบริษัทจำกัดที่มีใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเป็นหุ้นของคนต่างด้าว เว้นแต่จะได้มีกฎกระทรวงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น"
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 35 คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจใดตามพระราชบัญญัตินี้หากร่วมทำธุรกิจอันเป็นของคนต่างด้าวรายอื่นซึ่งมิได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัตินี้หรือประกอบธุรกิจที่คนต่างด้าวรายอื่นนั้นเป็นเจ้าของร่วมโดยแสดงออกว่าเป็นธุรกิจของตนแต่ผู้เดียว เพื่อให้คนต่างด้าวรายอื่นนั้นหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกการร่วมทำธุรกิจหรือการประกอบธุรกิจนั้นเสีย หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่"
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 36 ผู้มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่มิใช่คนต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือร่วมประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อันเป็นธุรกิจที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้โดยคนต่างด้าวนั้นมิได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว หรือร่วมประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวโดยแสดงออกว่าเป็นธุรกิจของตนแต่ผู้เดียวหรือถือหุ้นแทนคนต่างด้าวในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งคนต่างด้าวซึ่งยินยอมให้ผู้มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่มิใช่คนต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้กระทำการดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งให้เลิกการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือสั่งให้เลิกการร่วมประกอบธุรกิจ หรือสั่งให้เลิกการถือหุ้น หรือการเป็นหุ้นส่วนนั้นเสีย แล้วแต่กรณี หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่"
มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 37 คนต่างด้าวผู้ใดประกอบธุรกิจโดยฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 หรือมาตรา 8 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกการประกอบธุรกิจ หรือเลิกกิจการ หรือสั่งเลิกการเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนแล้วแต่กรณี หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่"
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 41 ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 หรือมาตรา 37 กรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลซึ่งรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดนั้น หรือมิได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้น ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นด้วย"
มาตรา 8 นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่ไม่เป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 แต่เป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และประกอบธุรกจประเภทที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะประกอบธุรกิจนั้นต่อไป ให้ดำเนินการแจ้งต่ออธิบดีเพื่อขอหนังสือรับรองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อได้รับหนังสือรับรองแล้ว ให้ประกอบธุรกิจนั้นต่อไปได้ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นธุรกิจตามบัญชีสาม ให้ประกอบธุรกิจนั้นต่อไปได้จนกว่าจะเลิกประกอบธุรกิจ
(2) ถ้าเป็นธุรกิจตามบัญชีหนึ่งหรือบัญชีสอง ให้ประกอบธุรกิจนั้นต่อไปได้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง หากมิได้แจ้งขอหนังสือรับรองภายในระยะเวลาที่กำหนดและยังฝ่าฝืนประกอบธุรกิจนั้นต่อไป หรือกรณีเป็นะรกิจตามบัญชีหนึ่งหรือบัญชีสองยังฝ่าฝืนประกอบธุรกิจนั้นต่อไปเมือ่พ้นกำหนดระยะเวลาสองปีให้ถือว่าประกอบธุรกิจนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 9 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 หรือมาตรา 8 ซึ่งกำหนดโทษไว้ตามมาตรา 37 หรือฝ่าฝืนมาตรา 35 หรือมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าได้แจ้งถึงการกระทำดังกล่าวต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องจนไม่อยู่ในข่ายที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 35 หรือมาตรา 36 หรือเลิกประกอบธุรกิจที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตราดังกล่าว แล้วแต่กรณี ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับผู้นั้นไม่ต้องรับโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับกับผู้ฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 35 หรือมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวนหรือศาล
มาตรา 10 ให้ยกเลิก (18) ของบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542
มาตรา 11 ให้ยกเลิกความใน (13) (14) (15) และ (21) ของบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ยกเว้น การซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า
(14) การค้าปลีกสิค้าทุกประเภท
(15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภท
(21) การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้น
(ก) ธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
(ข) ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจอนุพันธ์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ค) ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ง) ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(จ) ธุรกิจบริการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง"
Markets can remain irrational longer than you can remain solvent. -John Maynard Keynes
- nana
- Verified User
- โพสต์: 209
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 7
เพื่อความสมบูรณ์ ข้าพเจ้าขอให้ตามไปอ่านกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฉบับปัจจุบัน
http://www.dbd.go.th/thai/law/foreign_prb.pdf
http://www.dbd.go.th/thai/law/foreign_prb.pdf
Markets can remain irrational longer than you can remain solvent. -John Maynard Keynes
-
- Verified User
- โพสต์: 306
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 8
ตลาดหลักทรัพย์ เขายืนยันมาว่างี้ครับ
หลักทรัพย์ SET
หัวข้อข่าว SET News Release :ตลท.ระบุการแก้ไขคำนิยามคนต่างด้าวมีผลต่อบจ
วันที่/เวลา 09 ม.ค. 2550 18:15:43
ข่าว SET ฉบับที่ 4 / 2550
9 มกราคม 2550
ตลท.ระบุการแก้ไขคำนิยามคนต่างด้าวมีผลต่อบจ.เพียงส่วนน้อย
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จาก
การประเมินข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนอันเนื่องมาจากการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคน
ต่างด้าว พ.ศ.2542 นั้น พบว่าธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่อยู่ในบัญชี 3 ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบ
จากการแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าวนี้ ธุรกิจที่อาจต้องมีการแก้ไขการถือหุ้นให้สอดคล้องกับการแก้ไขคำ
นิยามของคนต่างด้าวได้แก่ ธุรกิจที่อยู่ในบัญชี 1 และบัญชี 2 เท่านั้น
จากการประเมินในเบื้องต้นพบว่าบริษัทจดทะเบียนจำนวนไม่เกิน 15 บริษัทที่อาจต้องมีการปรับ
โครงสร้างการถือหุ้นให้สอดคล้องกับการแก้ไขคำนิยามดังกล่าว ส่วนธุรกิจที่อยู่ในบัญชี 3 ไม่ต้อง
ดำเนินการใด ๆ ทั้งนี้ ขอให้บริษัทศึกษาถึงความชัดเจนของคำนิยามที่มีการแก้ไขใหม่ถึงความ
เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทและหากบริษัทจดทะเบียนใดต้องการชี้แจงว่าบริษัทไม่ได้รับผลกระทบหรือ
ต้องการชี้แจงข้อมูลให้ผู้ลงทุนทราบถึงแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขคำนิยามคนต่างด้าว
ที่ระบุในพ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อให้ความชัดเจนกับผู้ลงทุนก็สามารถส่งข้อมูลมายังระบบข้อมูลของ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้
ทำให้ผมรู้สึกว่า ออกพ.ร.บ.มาเพื่อเล่นงานใครบางคน
หลักทรัพย์ SET
หัวข้อข่าว SET News Release :ตลท.ระบุการแก้ไขคำนิยามคนต่างด้าวมีผลต่อบจ
วันที่/เวลา 09 ม.ค. 2550 18:15:43
ข่าว SET ฉบับที่ 4 / 2550
9 มกราคม 2550
ตลท.ระบุการแก้ไขคำนิยามคนต่างด้าวมีผลต่อบจ.เพียงส่วนน้อย
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จาก
การประเมินข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนอันเนื่องมาจากการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคน
ต่างด้าว พ.ศ.2542 นั้น พบว่าธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่อยู่ในบัญชี 3 ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบ
จากการแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าวนี้ ธุรกิจที่อาจต้องมีการแก้ไขการถือหุ้นให้สอดคล้องกับการแก้ไขคำ
นิยามของคนต่างด้าวได้แก่ ธุรกิจที่อยู่ในบัญชี 1 และบัญชี 2 เท่านั้น
จากการประเมินในเบื้องต้นพบว่าบริษัทจดทะเบียนจำนวนไม่เกิน 15 บริษัทที่อาจต้องมีการปรับ
โครงสร้างการถือหุ้นให้สอดคล้องกับการแก้ไขคำนิยามดังกล่าว ส่วนธุรกิจที่อยู่ในบัญชี 3 ไม่ต้อง
ดำเนินการใด ๆ ทั้งนี้ ขอให้บริษัทศึกษาถึงความชัดเจนของคำนิยามที่มีการแก้ไขใหม่ถึงความ
เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทและหากบริษัทจดทะเบียนใดต้องการชี้แจงว่าบริษัทไม่ได้รับผลกระทบหรือ
ต้องการชี้แจงข้อมูลให้ผู้ลงทุนทราบถึงแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขคำนิยามคนต่างด้าว
ที่ระบุในพ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อให้ความชัดเจนกับผู้ลงทุนก็สามารถส่งข้อมูลมายังระบบข้อมูลของ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้
ทำให้ผมรู้สึกว่า ออกพ.ร.บ.มาเพื่อเล่นงานใครบางคน
- Lady
- Verified User
- โพสต์: 45
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 10
ครม.ไฟเขียวกม.ต่างด้าว ลงดาบ"นอมินี"-ทุนนอกกระเจิง "กุหลาบแก้ว"ไม่รอด-หุ้นรูด17จุด
Source - เว็บไซต์แนวหน้า (Th)
Wednesday, January 10, 2007 01:19
ครม.เห็นชอบหลักการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ระบุ ธุรกิจโทรคมนาคม-เกษตร-ขนส่ง -สิ่งพิมพ์ -ที่ดิน อ่วมหนัก ติดโผบัญชี 1 และ 2 กุหลาบแก้วไม่รอดพ.ร.บ.ต่างด้าวใหม่ ส่วนค้าปลีกรอดตัว เหตุอยู่ในบัญชี ที่3
"ก้องเกียรติ" ชี้ต่างชาติจะไม่มีการลงทุนใหม่ และทยอยถอนเงินหนีไทย หุ้นตกใจร่วง 17 จุด ส่วนตลาดหุ้นยันมีแค่ 15 บจ.เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ส่วนนักวิชาการออกโรงหนุน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่9 ธ.ค.ได้เห็นชอบร่างแก้ไข พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว โดยได้ข้อสรุปว่า
1.ได้ทำคำจำกัดความชัดเจนว่าบริษัทต่างชาติ คือ บริษัทที่มีชาวต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% โดยจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงกรณีที่ให้ชาวไทยถือหุ้นแทนหรือที่เรียกว่านอมินีด้วย
2. กรณีที่นักกฎหมายเคยสอนชาวต่างชาติหลบเลี่ยงกฎหมายโดยที่ให้ถือหุ้นไม่เกิน 50% แต่มีสิทธิออกเสียง หรือVoting Right มากกว่าผู้ถือหุ้นชาวไทยนั้น ขณะนี้ได้ทำให้ชัดเจนว่าหากเป็นบริษัทสัญชาติไทยนั้นสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติก็ต้องไม่เกิน 50% เช่นกัน โดยเชื่อว่าเมื่อพิจารณาตามกฎเกณฑ์แบบใหม่แล้ว บริษัทต่างๆ ที่จดทะเบียนในประเทศไทยจะต้องผิดข้อใดข้อหนึ่งแน่นอน
ดังนั้นรัฐบาลจึงมีวิธีให้บริษัทที่ทำผิดเกณฑ์ใหม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 1.ในกรณีที่ถือหุ้นไม่เกิน 50% ไม่มีนอมินี แต่ผิดตรงสิทธิออกเสียงของชาวต่างชาติเกิน 50% นั้น หากเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจในบัญชีที่ 3 เช่น บริการทั่วไป ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง นั้นจะต้องมาแจ้งกับกระทรวงพาณิชย์ภายใน 1 ปี และหลังจากนั้นก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยไม่ต้องทำการไปลดสั่ดส่วนหุ้นที่เป็นนอมินี หรือการออกเสียงของชาวต่างชาติแต่อย่างใด
ดังนั้นบริษัทใดก็ตามที่อยู่ประกอบกิจการในบัญชีที่ 3 ไม่ได้รับผลกระเทือนใดๆ แน่นอน "ถือว่าบริษัทที่ประกอบธุรกิจที่อยู่ในบัญชีที่ 3 ไม่อันตราย ไม่ใช่ธุรกิจด้านความมั่นคง หรืออาชีพสงวนให้คนไทย แต่เป็นอาชีพที่รอควาพร้อมของคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่นั้นทำอยู่มานานแล้ว ไม่ได้มีความตั้งใจเลวร้ายเมื่อแจ้งแล้วก็ดำเนินการต่อไป แต่ถ้าหากเป็นบริษัทที่อยู่ในบัญชี 3 แต่เข้ามาจดทะเบียนภายหลังที่การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแล้ว ก็จะต้องทำตามกฎใหม่
แต่บริษัทที่อยู่ในบัญชีที่ 1 คืออาชีพสงวนคนไทย เช่น ด้านการเกษตรกร วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ ค้าที่ดิน ทำนาทำไร่ สกัดสมุนไพร และบัญชีที่ 2 ได้แก่ ธุรกิจประเภทที่กระทบกับความมั่นคง เช่น การขนส่งทางน้ำ อากาศ บก กิจการการบินในประเทศ โทรคมนาคม อาวุทธยุทปกร มีสิทธิในการออกเสียงของชาวต่างชาติเกิน 50% นั้นต้องมาแจ้งกับกระทรวงพาณิชย์ภายใน 1 ปี และจะต้องดำเนินการปรับลดสัดส่วนการออกเสียงให้ไม่เกิน 50% ภายใน 2 ปี ส่วนกรณีมีนอมินีถือหุ้นเกิน 50% นั้นจะต้องมาแจ้งให้กระทรวงพาณิชย์ทราบภายใน 90 วัน และทยอยลดหุ้นให้เหลือไม่เกิน 50% ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎหมายออก
นอกจากนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรยังยืนยันว่า ในปัจจุบันบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในธุรกิจบัญชีที่ 1-3 มีจำนวนเพียงไม่เกิน 2 หมื่นบริษัทเท่านั้น ซึ่งไม่มีธุรกิจการผลิดขนาดใหญ่ๆ อยู่ในทั้ง 3 บัญชีดังกล่าวเลย พร้อมระบุอีกว่าในทางตรงกันข้ามกลับมีบริษัทที่ไม่ถูกบรรจุอยู่ในทั้ง 3 บัญชีถึง 5.4 แสนบริษัท ที่นักลงทุนชาวต่งชาติสามารถเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือจะถือหุ้นทั้ง 100% เลยก็ได้ และประเทศอื่นๆ ต่างก็ใช้กฎเกณฑ์แบบเดียวกันนี้มาแล้วทั้งสิ้น
ส่วนเรื่องของระยะเวลาการปรับตัวที่เหมาะสม หรือให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายนั้นไม่มีใครสามารถบอกได้ แม้ชาวต่างชาติอยากขอเวลาปรับตัว 3 ปี แต่นักลงทุนไทยบอกควรให้แค่ 6 เดือน เราจึงคิดว่าเวลาที่ออกมาเป็นกลางที่สุดแล้ว เพราะเชื่อว่าเวลา 1 ปี ก็น่าจะทยอยขายหุ้นให้เข้าเกณฑ์ใหม่ได้
----------- ข่าวเยอะมาก อ่านจนตาลาย เลยเอามาบางส่วนค่ะ เพราะที่เหลือเป็นข่าวการซื้อขายหุ้น ----------------
Source - เว็บไซต์แนวหน้า (Th)
Wednesday, January 10, 2007 01:19
ครม.เห็นชอบหลักการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ระบุ ธุรกิจโทรคมนาคม-เกษตร-ขนส่ง -สิ่งพิมพ์ -ที่ดิน อ่วมหนัก ติดโผบัญชี 1 และ 2 กุหลาบแก้วไม่รอดพ.ร.บ.ต่างด้าวใหม่ ส่วนค้าปลีกรอดตัว เหตุอยู่ในบัญชี ที่3
"ก้องเกียรติ" ชี้ต่างชาติจะไม่มีการลงทุนใหม่ และทยอยถอนเงินหนีไทย หุ้นตกใจร่วง 17 จุด ส่วนตลาดหุ้นยันมีแค่ 15 บจ.เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ส่วนนักวิชาการออกโรงหนุน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่9 ธ.ค.ได้เห็นชอบร่างแก้ไข พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว โดยได้ข้อสรุปว่า
1.ได้ทำคำจำกัดความชัดเจนว่าบริษัทต่างชาติ คือ บริษัทที่มีชาวต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% โดยจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงกรณีที่ให้ชาวไทยถือหุ้นแทนหรือที่เรียกว่านอมินีด้วย
2. กรณีที่นักกฎหมายเคยสอนชาวต่างชาติหลบเลี่ยงกฎหมายโดยที่ให้ถือหุ้นไม่เกิน 50% แต่มีสิทธิออกเสียง หรือVoting Right มากกว่าผู้ถือหุ้นชาวไทยนั้น ขณะนี้ได้ทำให้ชัดเจนว่าหากเป็นบริษัทสัญชาติไทยนั้นสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติก็ต้องไม่เกิน 50% เช่นกัน โดยเชื่อว่าเมื่อพิจารณาตามกฎเกณฑ์แบบใหม่แล้ว บริษัทต่างๆ ที่จดทะเบียนในประเทศไทยจะต้องผิดข้อใดข้อหนึ่งแน่นอน
ดังนั้นรัฐบาลจึงมีวิธีให้บริษัทที่ทำผิดเกณฑ์ใหม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 1.ในกรณีที่ถือหุ้นไม่เกิน 50% ไม่มีนอมินี แต่ผิดตรงสิทธิออกเสียงของชาวต่างชาติเกิน 50% นั้น หากเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจในบัญชีที่ 3 เช่น บริการทั่วไป ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง นั้นจะต้องมาแจ้งกับกระทรวงพาณิชย์ภายใน 1 ปี และหลังจากนั้นก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยไม่ต้องทำการไปลดสั่ดส่วนหุ้นที่เป็นนอมินี หรือการออกเสียงของชาวต่างชาติแต่อย่างใด
ดังนั้นบริษัทใดก็ตามที่อยู่ประกอบกิจการในบัญชีที่ 3 ไม่ได้รับผลกระเทือนใดๆ แน่นอน "ถือว่าบริษัทที่ประกอบธุรกิจที่อยู่ในบัญชีที่ 3 ไม่อันตราย ไม่ใช่ธุรกิจด้านความมั่นคง หรืออาชีพสงวนให้คนไทย แต่เป็นอาชีพที่รอควาพร้อมของคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่นั้นทำอยู่มานานแล้ว ไม่ได้มีความตั้งใจเลวร้ายเมื่อแจ้งแล้วก็ดำเนินการต่อไป แต่ถ้าหากเป็นบริษัทที่อยู่ในบัญชี 3 แต่เข้ามาจดทะเบียนภายหลังที่การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแล้ว ก็จะต้องทำตามกฎใหม่
แต่บริษัทที่อยู่ในบัญชีที่ 1 คืออาชีพสงวนคนไทย เช่น ด้านการเกษตรกร วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ ค้าที่ดิน ทำนาทำไร่ สกัดสมุนไพร และบัญชีที่ 2 ได้แก่ ธุรกิจประเภทที่กระทบกับความมั่นคง เช่น การขนส่งทางน้ำ อากาศ บก กิจการการบินในประเทศ โทรคมนาคม อาวุทธยุทปกร มีสิทธิในการออกเสียงของชาวต่างชาติเกิน 50% นั้นต้องมาแจ้งกับกระทรวงพาณิชย์ภายใน 1 ปี และจะต้องดำเนินการปรับลดสัดส่วนการออกเสียงให้ไม่เกิน 50% ภายใน 2 ปี ส่วนกรณีมีนอมินีถือหุ้นเกิน 50% นั้นจะต้องมาแจ้งให้กระทรวงพาณิชย์ทราบภายใน 90 วัน และทยอยลดหุ้นให้เหลือไม่เกิน 50% ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎหมายออก
นอกจากนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรยังยืนยันว่า ในปัจจุบันบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในธุรกิจบัญชีที่ 1-3 มีจำนวนเพียงไม่เกิน 2 หมื่นบริษัทเท่านั้น ซึ่งไม่มีธุรกิจการผลิดขนาดใหญ่ๆ อยู่ในทั้ง 3 บัญชีดังกล่าวเลย พร้อมระบุอีกว่าในทางตรงกันข้ามกลับมีบริษัทที่ไม่ถูกบรรจุอยู่ในทั้ง 3 บัญชีถึง 5.4 แสนบริษัท ที่นักลงทุนชาวต่งชาติสามารถเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือจะถือหุ้นทั้ง 100% เลยก็ได้ และประเทศอื่นๆ ต่างก็ใช้กฎเกณฑ์แบบเดียวกันนี้มาแล้วทั้งสิ้น
ส่วนเรื่องของระยะเวลาการปรับตัวที่เหมาะสม หรือให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายนั้นไม่มีใครสามารถบอกได้ แม้ชาวต่างชาติอยากขอเวลาปรับตัว 3 ปี แต่นักลงทุนไทยบอกควรให้แค่ 6 เดือน เราจึงคิดว่าเวลาที่ออกมาเป็นกลางที่สุดแล้ว เพราะเชื่อว่าเวลา 1 ปี ก็น่าจะทยอยขายหุ้นให้เข้าเกณฑ์ใหม่ได้
----------- ข่าวเยอะมาก อ่านจนตาลาย เลยเอามาบางส่วนค่ะ เพราะที่เหลือเป็นข่าวการซื้อขายหุ้น ----------------
- bigshow
- Verified User
- โพสต์: 730
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 11
15 บริษัทหุ้นเข้าข่ายธุรกิจต่างด้าว [10 ม.ค. 50 - 05:16]
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า ผลจากการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว จากการสำรวจพบว่า มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่เข้าข่ายการเป็นธุรกิจต่างด้าว ประมาณ 15 บริษัท โดยบางแห่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจสื่อสารและอสังหาริมทรัพย์ โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ในประเภทบัญชี 6 ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ดังกล่าว ขณะที่บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในประเภทบัญชี 1 และบัญชี 2 ที่อาจต้องปรับโครงสร้างการถือหุ้นนั้นมีไม่เกิน 15 บริษัท ทั้งนี้ ธุรกิจในบัญชี 1 และ 2 เป็นธุรกิจเฉพาะที่สงวนไว้สำหรับคนไทยและธุรกิจที่เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง หรือมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติของไทย ส่วนธุรกิจในบัญชีที่ 3 เป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันกับคนต่างชาติ
นางภัทรียายังกล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ยังต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการแบ่งประเภทธุรกิจที่เข้าข่ายบัญชีแต่ละประเภท และขณะนี้คงบอกรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายไม่ได้ เพราะต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงพาณิชย์ก่อน แต่บริษัทที่เข้าข่ายต้องไปตรวจเช็กกับกระทรวงพาณิชย์ว่าต้องดำเนินการอย่างไร อย่างไรก็ตาม อยากฝากไปถึงนักลงทุนว่า ควรมีความเชื่อมั่นในการลงทุน เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้กระทบกับนักลงทุนทั่วไป แต่อาจกระทบการลงทุนของต่างชาติที่อาจเข้าเกณฑ์ ซึ่งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย อาจกระทบการลงทุนของต่างชาติบ้าง แต่รัฐบาลควรให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจ ขณะที่ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์เองยังไม่มีมาตรการใดๆที่จะออกมารองรับกรณีที่ตลาดหุ้นอาจปรับตัวลงอีก แต่เชื่อว่าขณะนี้นักลงทุนสถาบันบางกลุ่มยังรอซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เมื่อราคาอ่อนตัวลงมาต่ำเกินไป
ผู้สื่อข่าวรายงาน บมจ.ยูไนเต็ดคอมมูนิเคชั่น (UCOM) น่าจะเป็น 1 ในบริษัทที่เข้าข่ายต้องแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้น ขณะที่ บล.นครหลวงไทยระบุว่า จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า บริษัทที่เข้าข่ายมีต่างชาติถือเกิน หรือถือหุ้นต่ำกว่าแต่มีสิทธิโหวตมากกว่าเช่น บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT), บมจ.ปูนซิเมนต์นครหลวง (SCCC), บมจ.ผาแดง อินดัสตรี้(PDI), บมจ.ทิปโก้ แอสฟัลท์ (TASCO), บมจ.อาบิโก้ ไฮเทค (AH) EGCOMP บมจ.ไรมอนแลนด์( RAIMON) เป็นต้น และบริษัทอิเล็กทรอนิกส์อีกหลายบริษัท แต่ธุรกิจนี้อาจได้รับการยกเว้น.
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า ผลจากการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว จากการสำรวจพบว่า มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่เข้าข่ายการเป็นธุรกิจต่างด้าว ประมาณ 15 บริษัท โดยบางแห่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจสื่อสารและอสังหาริมทรัพย์ โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ในประเภทบัญชี 6 ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ดังกล่าว ขณะที่บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในประเภทบัญชี 1 และบัญชี 2 ที่อาจต้องปรับโครงสร้างการถือหุ้นนั้นมีไม่เกิน 15 บริษัท ทั้งนี้ ธุรกิจในบัญชี 1 และ 2 เป็นธุรกิจเฉพาะที่สงวนไว้สำหรับคนไทยและธุรกิจที่เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง หรือมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติของไทย ส่วนธุรกิจในบัญชีที่ 3 เป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันกับคนต่างชาติ
นางภัทรียายังกล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ยังต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการแบ่งประเภทธุรกิจที่เข้าข่ายบัญชีแต่ละประเภท และขณะนี้คงบอกรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายไม่ได้ เพราะต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงพาณิชย์ก่อน แต่บริษัทที่เข้าข่ายต้องไปตรวจเช็กกับกระทรวงพาณิชย์ว่าต้องดำเนินการอย่างไร อย่างไรก็ตาม อยากฝากไปถึงนักลงทุนว่า ควรมีความเชื่อมั่นในการลงทุน เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้กระทบกับนักลงทุนทั่วไป แต่อาจกระทบการลงทุนของต่างชาติที่อาจเข้าเกณฑ์ ซึ่งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย อาจกระทบการลงทุนของต่างชาติบ้าง แต่รัฐบาลควรให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจ ขณะที่ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์เองยังไม่มีมาตรการใดๆที่จะออกมารองรับกรณีที่ตลาดหุ้นอาจปรับตัวลงอีก แต่เชื่อว่าขณะนี้นักลงทุนสถาบันบางกลุ่มยังรอซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เมื่อราคาอ่อนตัวลงมาต่ำเกินไป
ผู้สื่อข่าวรายงาน บมจ.ยูไนเต็ดคอมมูนิเคชั่น (UCOM) น่าจะเป็น 1 ในบริษัทที่เข้าข่ายต้องแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้น ขณะที่ บล.นครหลวงไทยระบุว่า จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า บริษัทที่เข้าข่ายมีต่างชาติถือเกิน หรือถือหุ้นต่ำกว่าแต่มีสิทธิโหวตมากกว่าเช่น บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT), บมจ.ปูนซิเมนต์นครหลวง (SCCC), บมจ.ผาแดง อินดัสตรี้(PDI), บมจ.ทิปโก้ แอสฟัลท์ (TASCO), บมจ.อาบิโก้ ไฮเทค (AH) EGCOMP บมจ.ไรมอนแลนด์( RAIMON) เป็นต้น และบริษัทอิเล็กทรอนิกส์อีกหลายบริษัท แต่ธุรกิจนี้อาจได้รับการยกเว้น.
เป็นคนเลว ในสายตาคนอื่น ดีกว่าโกหกตัวเอง ให้เทิดทูนบูชา ติดกับมายาคติ ที่กะลาครอบ
- Muffin
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 12
บัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
บัญชีหนึ่ง
ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ
(1) การทำกิจการหนังสือพิมพ์การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานี วิทยุโทรทัศน์
(2) การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน
>
> (3) การเลี้ยงสัตว์
>
> (4) การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
>
> (5)
>การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจ
>
> จำเพาะของประเทศไทย
>
> (6) การสกัดสมุนไพรไทย
>
> (7) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย
>หรือที่มีคุณค่าทาง
>
> ประวัติศาสตร์ของประเทศ
>
> (8) การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร
>
> (9) การค้าที่ดิน
>
>
>
>
>บัญชีสอง
>
>
>
>
>ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบ
>
> ต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน
>หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
>
>
>
> หมวด 1 ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ
>
> (1) การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุง
>
> (ก) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ดินปืน
>วัตถุระเบิด
>
> (ข) ส่วนประกอบของอาวุธปืน
>เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด
>
> (ค) อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือ อากาศยาน
>หรือยานพาหนะทางการทหาร
>
> (ง)
>อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท
>
> (2) การขนส่งทางบก ทางน้ำ
>หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบิน
>
> ในประเทศ
>
>
>
> หมวด 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี
>และหัตถกรรมพื้นบ้าน
>
> (1) การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุ
>ซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย
>
> (2) การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
>
> (3) การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย
>การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลาย
>
> ผ้าไหมไทย
>
> (4) การผลิตเครื่องดนตรีไทย
>
> (5) การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม
>เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน
>
> (6)
>การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย
>
>
>
> หมวด 3 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม
>
> (1) การผลิตน้ำตาลจากอ้อย
>
> (2) การทำนาเกลือ รวมทั้งการทำเกลือสินเธาว์
>
> (3) การทำเกลือหิน
>
> (4) การทำเหมือง รวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน
>
> (5)
>การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย
>
>
>
>
>บัญชีสาม
>
>
>
>
>ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคน
>
> ต่างด้าว
>
> (1) การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
>
> (2) การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
>
> (3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก
>
> (4) การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด
>หรือฮาร์ดบอร์ด
>
> (5) การผลิตปูนขาว
>
> (6) การทำกิจการบริการทางบัญชี
>
> (7) การทำกิจการบริการทางกฎหมาย
>
> (8) การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
>
> (9) การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม
>
> (10) การก่อสร้าง ยกเว้น
>
> (ก)
>การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการ
>
>
>สาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี
>
>
>หรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคน
>
>
>ต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
>
> (ข)
>การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
>
> (11) การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
>
> (ก)
>การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับ
>
>
>การซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือ
>
> หลักทรัพย์
>
> (ข)
>การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็น
>
>
>ต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
>
> (ค) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย
>จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหา
>
>
>ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิต
>
>
>ในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะ เป็นการประกอบ
>
> ธุรกิจระหว่างประเทศ
>โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้าน
>
> บาทขึ้นไป
>
> (ง)
>การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
>
> (12) การขายทอดตลาด ยกเว้น
>
> (ก)
>การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศ
>
>
>ที่มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงาน
>
> ศิลปกรรม หัตถกรรม
>หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทาง
>
> ประวัติศาสตร์ของประเทศ
>
> (ข)
>การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
>
> (13)
>การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มี
>
> กฎหมายห้ามไว้
>
> (14)
>การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อย
>
> ล้านบาท
>หรือที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
>
> (15)
>การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อย
>
> ล้านบาท
>
> (16) การทำกิจการโฆษณา
>
> (17) การทำกิจการโรงแรม
>เว้นแต่บริการจัดการโรมแรม
>
> (18) การนำเที่ยว
>
> (19) การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
>
> (20)
>การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
>
> (21) การทำธุรกิจบริการอื่น
>ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง
>
>
>
>
>
> ________________
>
> หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
>โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ
>
> ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
>ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ออกใช้บังคับมาเป็น
>
> เวลานานแล้ว และมีหลักการบางประการไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
>การลงทุน และ
>
> การค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวเสียใหม่
>เพื่อส่งเสริมให้มีการ
>
> แข่งขันในการประกอบธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
>ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย
>
> โดยส่วนรวม
>ทั้งยังเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
>
> ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
บัญชีหนึ่ง
ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ
(1) การทำกิจการหนังสือพิมพ์การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานี วิทยุโทรทัศน์
(2) การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน
>
> (3) การเลี้ยงสัตว์
>
> (4) การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
>
> (5)
>การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจ
>
> จำเพาะของประเทศไทย
>
> (6) การสกัดสมุนไพรไทย
>
> (7) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย
>หรือที่มีคุณค่าทาง
>
> ประวัติศาสตร์ของประเทศ
>
> (8) การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร
>
> (9) การค้าที่ดิน
>
>
>
>
>บัญชีสอง
>
>
>
>
>ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบ
>
> ต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน
>หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
>
>
>
> หมวด 1 ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ
>
> (1) การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุง
>
> (ก) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ดินปืน
>วัตถุระเบิด
>
> (ข) ส่วนประกอบของอาวุธปืน
>เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด
>
> (ค) อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือ อากาศยาน
>หรือยานพาหนะทางการทหาร
>
> (ง)
>อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท
>
> (2) การขนส่งทางบก ทางน้ำ
>หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบิน
>
> ในประเทศ
>
>
>
> หมวด 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี
>และหัตถกรรมพื้นบ้าน
>
> (1) การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุ
>ซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย
>
> (2) การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
>
> (3) การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย
>การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลาย
>
> ผ้าไหมไทย
>
> (4) การผลิตเครื่องดนตรีไทย
>
> (5) การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม
>เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน
>
> (6)
>การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย
>
>
>
> หมวด 3 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม
>
> (1) การผลิตน้ำตาลจากอ้อย
>
> (2) การทำนาเกลือ รวมทั้งการทำเกลือสินเธาว์
>
> (3) การทำเกลือหิน
>
> (4) การทำเหมือง รวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน
>
> (5)
>การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย
>
>
>
>
>บัญชีสาม
>
>
>
>
>ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคน
>
> ต่างด้าว
>
> (1) การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
>
> (2) การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
>
> (3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก
>
> (4) การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด
>หรือฮาร์ดบอร์ด
>
> (5) การผลิตปูนขาว
>
> (6) การทำกิจการบริการทางบัญชี
>
> (7) การทำกิจการบริการทางกฎหมาย
>
> (8) การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
>
> (9) การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม
>
> (10) การก่อสร้าง ยกเว้น
>
> (ก)
>การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการ
>
>
>สาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี
>
>
>หรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคน
>
>
>ต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
>
> (ข)
>การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
>
> (11) การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
>
> (ก)
>การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับ
>
>
>การซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือ
>
> หลักทรัพย์
>
> (ข)
>การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็น
>
>
>ต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
>
> (ค) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย
>จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหา
>
>
>ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิต
>
>
>ในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะ เป็นการประกอบ
>
> ธุรกิจระหว่างประเทศ
>โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้าน
>
> บาทขึ้นไป
>
> (ง)
>การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
>
> (12) การขายทอดตลาด ยกเว้น
>
> (ก)
>การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศ
>
>
>ที่มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงาน
>
> ศิลปกรรม หัตถกรรม
>หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทาง
>
> ประวัติศาสตร์ของประเทศ
>
> (ข)
>การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
>
> (13)
>การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มี
>
> กฎหมายห้ามไว้
>
> (14)
>การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อย
>
> ล้านบาท
>หรือที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
>
> (15)
>การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อย
>
> ล้านบาท
>
> (16) การทำกิจการโฆษณา
>
> (17) การทำกิจการโรงแรม
>เว้นแต่บริการจัดการโรมแรม
>
> (18) การนำเที่ยว
>
> (19) การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
>
> (20)
>การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
>
> (21) การทำธุรกิจบริการอื่น
>ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง
>
>
>
>
>
> ________________
>
> หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
>โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ
>
> ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
>ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ออกใช้บังคับมาเป็น
>
> เวลานานแล้ว และมีหลักการบางประการไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
>การลงทุน และ
>
> การค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวเสียใหม่
>เพื่อส่งเสริมให้มีการ
>
> แข่งขันในการประกอบธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
>ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย
>
> โดยส่วนรวม
>ทั้งยังเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
>
> ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
-
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณทุกท่านครับ ได้ความชัดเจนดีมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 15
Impossible is Nothing
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 16
http://202.149.104.46/settrade/newsstor ... 5E5F615740
*(เพิ่มเติม) "ปรีดิยาธร"เปิดช่องผ่อนผันเวลาปรับตัว กม.ต่างด้าวแต่ต้องรับหลักการก่อน
Source - IQ Biz
Wednesday, 10 January 2007 11:18
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า ในวันนี้จะชี้แจงทำความเข้าใจกับหอการค้าต่างประเทศเกี่ยวกับร่างแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) รับหลักการไปเมื่อวานนี้(9 ม.ค.) โดยทางการยังเปิดช่องให้ภาคธุรกิจปรับตัวทั้งในด้านการถือครองหุ้นและสิทธิการออกเสียงให้เป็นไปตามหลักการของกฎหมายฉบับดังกล่าวในระยะ 1-2 ปี และอาจผ่อนปรนอีกได้ แต่ที่สำคัญจะต้องยอมรับในหลักการของกฎหมายดังกล่าวก่อน
"เขาต้องยอมรับหลักการก่อน ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรค่อยว่ากัน" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวให้สัมภาษณ์กับรายการวิทยุเช้านี้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ให้เกิดความชัดเจน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรณีการถือครองหุ้นแทนต่างชาติ(นอมินี)ของบริษัท กุหลาบแก้ว ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดี ซึ่งยังมีบริษัทที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกันมาเป็นเวลานานแล้วอีกกว่า 10 แห่ง เพราะตามข้อกฎหมายเดิมที่มีอยู่ตีความได้หลายอย่าง
"น่าจะเอาให้ชัดไปเลยว่าอะไรผิดอะไรถูก ถ้าผิดจะให้ปรับตัวอย่างไร...ถ้าเอาหมดทุกอย่างเป็นบรรทัดฐานเดี๋ยวจะสะเทือนการลงทุนของต่างชาติในเมืองไทย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวจะช่วยให้เกิดความชัดเจนและไม่เกิดความวุ่นวายสับสน เพราะผลของคดีบริษัท กุหลาบแก้ว จะถูกนำมาเป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายทันที
อย่างกรณีเรื่องการครอบงำกิจการตามกฎหมายที่แก้ไขปรับปรุงใหม่จะระบุชัดเจนคือ การถือหุ้นรวมกับนอมินีแล้วเกิน 50% และการจัดโครงสร้างการออกเสียงเกิน 50% ส่วนการครอบงำด้านบริหารจัดการไม่สามารถที่จะวัดได้
โดยธุรกิจในบัญชีแนบท้ายที่ 3 หรือบัญชีการประกอบธุรกิจที่คนไทยยังแข่งขันไม่ได้ และต่างชาติเข้าถือหุ้นมีสิทธิ์ออกเสียงเกิน 50% จะต้องแจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปตามปกติ
ส่วนธุรกิจในบัญชีแนบท้ายที่ 1-2 ซึ่งเป็นธุรกิจเฉพาะที่สงวนไว้สำหรับคนไทย และธุรกิจเกี่ยวกับความมั่นคง วัฒนธรรม โทรคมนาคม และทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน 49% หรือมี Voting Right เกินไม่ว่ากรณีใดๆ จะต้องแจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ และปรับ Voting Right ให้เหลือต่ำกว่า 50% ภายใน 2 ปี
แต่หากถือหุ้นเกินหรือเข้าข่ายถือหุ้นแทน(นอมินี) จะต้องแจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ภายใน 90 วัน และให้เวลาปรับสัดส่วนหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 50% ภายใน 1 ปี
"ทั้งหมดเป็นการปรับระบบให้ชัดเจน ให้เขารู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ไม่ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายไปตีความ และให้เวลาปรับตัวด้วย ไม่ได้ตั้งใจแกล้งใครเลย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เชื่อว่า หลังจากตัวแทนหอการค้าต่างประเทศได้รับฟังคำชี้แจงในเรื่องนี้แล้วจะมีความเข้าใจในเจตนาของรัฐบาล ซึ่งหากยอมรับในหลักการของกฎหมายดังกล่าวแล้วก็สามารถเจรจาเรื่องการขอขยายเวลาในการดำเนินการลักษณะต่าง ๆ ออกไปได้บ้าง
"ก็จะคุยกับเขา ถ้าเขายอมรับหลักการก็คุยกันได้เล็กๆ น้อยๆ แต่จะให้ยกเลิก Voting Right คงไม่ได้เพราะเป็นหลักการใหญ่" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
*(เพิ่มเติม) "ปรีดิยาธร"เปิดช่องผ่อนผันเวลาปรับตัว กม.ต่างด้าวแต่ต้องรับหลักการก่อน
Source - IQ Biz
Wednesday, 10 January 2007 11:18
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า ในวันนี้จะชี้แจงทำความเข้าใจกับหอการค้าต่างประเทศเกี่ยวกับร่างแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) รับหลักการไปเมื่อวานนี้(9 ม.ค.) โดยทางการยังเปิดช่องให้ภาคธุรกิจปรับตัวทั้งในด้านการถือครองหุ้นและสิทธิการออกเสียงให้เป็นไปตามหลักการของกฎหมายฉบับดังกล่าวในระยะ 1-2 ปี และอาจผ่อนปรนอีกได้ แต่ที่สำคัญจะต้องยอมรับในหลักการของกฎหมายดังกล่าวก่อน
"เขาต้องยอมรับหลักการก่อน ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรค่อยว่ากัน" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวให้สัมภาษณ์กับรายการวิทยุเช้านี้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ให้เกิดความชัดเจน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรณีการถือครองหุ้นแทนต่างชาติ(นอมินี)ของบริษัท กุหลาบแก้ว ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดี ซึ่งยังมีบริษัทที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกันมาเป็นเวลานานแล้วอีกกว่า 10 แห่ง เพราะตามข้อกฎหมายเดิมที่มีอยู่ตีความได้หลายอย่าง
"น่าจะเอาให้ชัดไปเลยว่าอะไรผิดอะไรถูก ถ้าผิดจะให้ปรับตัวอย่างไร...ถ้าเอาหมดทุกอย่างเป็นบรรทัดฐานเดี๋ยวจะสะเทือนการลงทุนของต่างชาติในเมืองไทย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวจะช่วยให้เกิดความชัดเจนและไม่เกิดความวุ่นวายสับสน เพราะผลของคดีบริษัท กุหลาบแก้ว จะถูกนำมาเป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายทันที
อย่างกรณีเรื่องการครอบงำกิจการตามกฎหมายที่แก้ไขปรับปรุงใหม่จะระบุชัดเจนคือ การถือหุ้นรวมกับนอมินีแล้วเกิน 50% และการจัดโครงสร้างการออกเสียงเกิน 50% ส่วนการครอบงำด้านบริหารจัดการไม่สามารถที่จะวัดได้
โดยธุรกิจในบัญชีแนบท้ายที่ 3 หรือบัญชีการประกอบธุรกิจที่คนไทยยังแข่งขันไม่ได้ และต่างชาติเข้าถือหุ้นมีสิทธิ์ออกเสียงเกิน 50% จะต้องแจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปตามปกติ
ส่วนธุรกิจในบัญชีแนบท้ายที่ 1-2 ซึ่งเป็นธุรกิจเฉพาะที่สงวนไว้สำหรับคนไทย และธุรกิจเกี่ยวกับความมั่นคง วัฒนธรรม โทรคมนาคม และทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน 49% หรือมี Voting Right เกินไม่ว่ากรณีใดๆ จะต้องแจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ และปรับ Voting Right ให้เหลือต่ำกว่า 50% ภายใน 2 ปี
แต่หากถือหุ้นเกินหรือเข้าข่ายถือหุ้นแทน(นอมินี) จะต้องแจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ภายใน 90 วัน และให้เวลาปรับสัดส่วนหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 50% ภายใน 1 ปี
"ทั้งหมดเป็นการปรับระบบให้ชัดเจน ให้เขารู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ไม่ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายไปตีความ และให้เวลาปรับตัวด้วย ไม่ได้ตั้งใจแกล้งใครเลย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เชื่อว่า หลังจากตัวแทนหอการค้าต่างประเทศได้รับฟังคำชี้แจงในเรื่องนี้แล้วจะมีความเข้าใจในเจตนาของรัฐบาล ซึ่งหากยอมรับในหลักการของกฎหมายดังกล่าวแล้วก็สามารถเจรจาเรื่องการขอขยายเวลาในการดำเนินการลักษณะต่าง ๆ ออกไปได้บ้าง
"ก็จะคุยกับเขา ถ้าเขายอมรับหลักการก็คุยกันได้เล็กๆ น้อยๆ แต่จะให้ยกเลิก Voting Right คงไม่ได้เพราะเป็นหลักการใหญ่" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
เสียงอ่อนลงนิดนึงม.ร.ว.ปรีดิยาธร เชื่อว่า หลังจากตัวแทนหอการค้าต่างประเทศได้รับฟังคำชี้แจงในเรื่องนี้แล้วจะมีความเข้าใจในเจตนาของรัฐบาล ซึ่งหากยอมรับในหลักการของกฎหมายดังกล่าวแล้วก็สามารถเจรจาเรื่องการขอขยายเวลาในการดำเนินการลักษณะต่าง ๆ ออกไปได้บ้าง
"ก็จะคุยกับเขา ถ้าเขายอมรับหลักการก็คุยกันได้เล็กๆ น้อยๆ แต่จะให้ยกเลิก Voting Right คงไม่ได้เพราะเป็นหลักการใหญ่" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 17
ต่อยอดจากคุณ woody...Page 17 เลยครับ
ลองมาไล่ดู บริษัทใน SET&MAI แบบว่ายังไม่ดูว่าตอนนี้มีสัดส่วนเกินหรือยังนะครับ ใส่ heading เป็น X.Y โดย X= บัญชี Y = กลุ่ม
ผมรู้จักหุ้นไม่เยอะ เอาเท่าที่นึกออกละกัน ขาดเกินอย่างไร ขออภัยล่วงหน้า
1.1 POST MATI NMG SPORT ITV MCOT GRAMMY(?)
1.2
1.3 CPF GFPT
1.4
1.5 TUF
1.6
1.7
1.8
1.9
บัญชี 2 ขอเพิ่มเป้น X.Y.Z
2.1.1
2.1.2 เดินเรือทั้งก๊ก THAI
2.2.N
2.3.4 PDI THL
2.3.5 FANCY
3.1 PRG
3.2 เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งหมด
3.3
3.4 ผมว่ามีใน MAI นะ แต่จำ Quote ไม่ได้
3.5
3.6
3.7
3.8
3.9 ILINK MFEC AIT
3.10 น่าจะเยอะ
3.11 Broker รอดตัวไป
3.12
3.13 ตีความไม่ออก
3.14 ค้าปลีกเล็กๆป่ะ? CP7-11
3.15 ค้าส่งเล็กๆ...แปลกเฮะ มีแต่กำหนดทุนขั้นต่ำ
3.16 CMO CHUO
3.17 ตรึม
3.18 บริษัทลูกทำเช่น APRINT MBK โดนด้วยไหมเนี่ย
3.19 SSC OISHI S&P MKSUKI(ถ้ามาจริง)
3.20
3.21
ดูเหมือนเยอะ แต่หลายๆตัวก็ถือหุ้นใหญ่ด้วยคนไทยอยู่แล้ว
ดีซะอีก ต่างชาติ จะมาบุกก็โดนปิดกั้น
I do not sleep. I dream.
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 18
I do not sleep. I dream.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 189
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 19
"ธาริษา" ชี้ กม.ธุรกิจคนต่างด้าวไม่เกี่ยวต่างชาติถือหุ้นในแบงก์ไทย
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 10 มกราคม 2550 17:05 น.
"ธาริษา วัฒนเกส" ชี้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่มีการแก้ไข ไม่เกี่ยวข้องกับการถือหุ้นของต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ของไทย เพราะกรณีดังกล่าวจะยึดกฎหมายการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ซึ่ง ธปท.ได้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ชี้แจงการถือหุ้นทั้งทางตรงทางอ้อมและการถือหุ้นแทนไว้ไม่เกินร้อยละ 49 อยู่แล้ว
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงร่างแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ที่ออกมากระทบนักลงทุนต่างชาติน้อยกว่าที่คาดไว้ในครั้งแรก และเรื่องนี้ไม่กระทบกับการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ไทย เนื่องจากตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้มีข้อกำหนดในการถือหุ้นของต่างชาติอยู่แล้ว และมีการดูแลในเรื่องการถือหุ้นแทน (นอมีนี) ไว้ชัดเจน โดยแต่ละรายไม่สามารถถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ยกเว้นจะมีการขออนุญาตจาก ธปท.เป็นราย ๆ และต้องรายงานการถือหุ้นแทนให้ ธปท.ทราบ
ขณะที่นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. สายกำกับสถาบันการเงิน กล่าวว่า ในกรณีสถาบันการเงินอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของ ธปท.ซึ่งตาม พ.ร.บ.ฉบับเดิมนั้น อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ไทยไม่เกินร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนรวมและแต่ละรายไม่สามารถถือหุ้นได้เกินร้อยละ 5 ยกเว้นจะขออนุญาตเป็นราย ๆ จาก ธปท.ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์จะมีการขออนุญาต เพื่อให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49 แทบทุกธนาคารอยู่แล้ว ซึ่ง ธปท.ก็อนุญาต เพราะใน พ.ร.บ.สถาบันการเงินฉบับใหม่ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ธปท.ได้ขอขยายสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเป็นร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนรวมอยู่แล้ว
ในช่วงที่ต่างชาติมาขอถือหุ้นเพิ่ม ธปท.ได้ชี้แจงแล้วว่าจะต้องแจ้งการถือหุ้นทั้งในส่วนการถือหุ้นทางตรงการถือหุ้นทางอ้อมและการถือหุ้นแทน ดังนั้น จึงไม่มีปัญหา เพราะการถือหุ้นของต่างชาติร้อยละ 49 ได้รวมสัดส่วนการถือหุ้นแทนต่างชาติไว้แล้ว นอกจากนั้นในการดูแลเรื่องนี้ ธปท.ยังดูเรื่องสิทธิการออกเสียงของต่างชาติและอำนาจการบริหารงานควบคู่ไปด้วย นายสามารถ กล่าว
สำหรับการถือหุ้นของต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ไทยในลักษณะของใบแสดงสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) ซึ่งมีจำนวนสูงมากในแต่ละธนาคารและเมื่อรวมกับหุ้นอื่นจะทำให้หุ้นที่ต่างชาติถือในธนาคารพาณิชย์ไทยสูงกว่าร้อยละ 49 นายสามารถ กล่าวว่า ในส่วนนี้ ธปท.ไม่คิดว่าเป็นการถือหุ้นแทน แต่เห็นว่าเป็นการกู้เงินจากต่างชาติเข้ามาเท่านั้น เพราะหุ้นในส่วนนี้ไม่มีสิทธิการออกเสียง ไม่มีสิทธิในการบริหารและบางส่วนได้เงินปันผลบางส่วนไม่ได้ จึงไม่นำมาคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ไทย 8)
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 10 มกราคม 2550 17:05 น.
"ธาริษา วัฒนเกส" ชี้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่มีการแก้ไข ไม่เกี่ยวข้องกับการถือหุ้นของต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ของไทย เพราะกรณีดังกล่าวจะยึดกฎหมายการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ซึ่ง ธปท.ได้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ชี้แจงการถือหุ้นทั้งทางตรงทางอ้อมและการถือหุ้นแทนไว้ไม่เกินร้อยละ 49 อยู่แล้ว
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงร่างแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ที่ออกมากระทบนักลงทุนต่างชาติน้อยกว่าที่คาดไว้ในครั้งแรก และเรื่องนี้ไม่กระทบกับการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ไทย เนื่องจากตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้มีข้อกำหนดในการถือหุ้นของต่างชาติอยู่แล้ว และมีการดูแลในเรื่องการถือหุ้นแทน (นอมีนี) ไว้ชัดเจน โดยแต่ละรายไม่สามารถถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ยกเว้นจะมีการขออนุญาตจาก ธปท.เป็นราย ๆ และต้องรายงานการถือหุ้นแทนให้ ธปท.ทราบ
ขณะที่นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. สายกำกับสถาบันการเงิน กล่าวว่า ในกรณีสถาบันการเงินอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของ ธปท.ซึ่งตาม พ.ร.บ.ฉบับเดิมนั้น อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ไทยไม่เกินร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนรวมและแต่ละรายไม่สามารถถือหุ้นได้เกินร้อยละ 5 ยกเว้นจะขออนุญาตเป็นราย ๆ จาก ธปท.ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์จะมีการขออนุญาต เพื่อให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49 แทบทุกธนาคารอยู่แล้ว ซึ่ง ธปท.ก็อนุญาต เพราะใน พ.ร.บ.สถาบันการเงินฉบับใหม่ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ธปท.ได้ขอขยายสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเป็นร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนรวมอยู่แล้ว
ในช่วงที่ต่างชาติมาขอถือหุ้นเพิ่ม ธปท.ได้ชี้แจงแล้วว่าจะต้องแจ้งการถือหุ้นทั้งในส่วนการถือหุ้นทางตรงการถือหุ้นทางอ้อมและการถือหุ้นแทน ดังนั้น จึงไม่มีปัญหา เพราะการถือหุ้นของต่างชาติร้อยละ 49 ได้รวมสัดส่วนการถือหุ้นแทนต่างชาติไว้แล้ว นอกจากนั้นในการดูแลเรื่องนี้ ธปท.ยังดูเรื่องสิทธิการออกเสียงของต่างชาติและอำนาจการบริหารงานควบคู่ไปด้วย นายสามารถ กล่าว
สำหรับการถือหุ้นของต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ไทยในลักษณะของใบแสดงสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) ซึ่งมีจำนวนสูงมากในแต่ละธนาคารและเมื่อรวมกับหุ้นอื่นจะทำให้หุ้นที่ต่างชาติถือในธนาคารพาณิชย์ไทยสูงกว่าร้อยละ 49 นายสามารถ กล่าวว่า ในส่วนนี้ ธปท.ไม่คิดว่าเป็นการถือหุ้นแทน แต่เห็นว่าเป็นการกู้เงินจากต่างชาติเข้ามาเท่านั้น เพราะหุ้นในส่วนนี้ไม่มีสิทธิการออกเสียง ไม่มีสิทธิในการบริหารและบางส่วนได้เงินปันผลบางส่วนไม่ได้ จึงไม่นำมาคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ไทย 8)
-
- Verified User
- โพสต์: 1468
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 20
update ข้อมูลค่ะViewtiful Investor เขียน:ลองมาไล่ดู บริษัทใน SET&MAI แบบว่ายังไม่ดูว่าตอนนี้มีสัดส่วนเกินหรือยังนะครับ ใส่ heading เป็น X.Y โดย X= บัญชี Y = กลุ่ม
ผมรู้จักหุ้นไม่เยอะ เอาเท่าที่นึกออกละกัน ขาดเกินอย่างไร ขออภัยล่วงหน้า
บัญชี 2 ขอเพิ่มเป้น X.Y.Z
2.1.1
2.1.2 เดินเรือทั้งก๊ก THAI
ลำนี้ เค้าออกมาปฏิเสธแล้วนิ
========================
เลขที่ : 2550-033
11 มกราคม 2550
เรียน ท่านกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ขอชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีสารสนเทศจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และ บางกอกโพสต์
ฉบับวันที่ 11 มกราคม 2550 เรื่องผลกระทบของบริษัทฯจากการแก้ไข พ.ร.บ
การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ 2542
บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") ขออ้างถึงสารสนเทศจากหนังสือดังกล่าว
ข้างต้นทั้งสองฉบับว่า บริษัทฯเป็นหนึ่งในบริษัทซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจาก การแก้ไข พ.ร.บ
การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ 2542 และมีผู้ถือหุ้นต่างชาติที่มีสิทธิออกเสียงเกินร้อยละ 49
ของจำนวนหุ้นทุนทั้งหมดของบริษัทฯ หรือ จำนวนหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
บริษัทฯขอชี้แจงดังต่อไปนี้
1. บริษัทฯ ไม่มีโครงสร้างการถือหุ้นผ่านตัวแทน (nominees)
2. ตามข้อบังคับของบริษัทฯ ได้กำหนดให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 49
ซึ่งผู้ถือหุ้นต่างชาติของบริษัทฯในปัจจุบันมีสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 49
3. อาจจะมีการตั้งข้อสมติฐานของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวทั้งสองฉบับว่าหุ้นที่ถือโดย บริษัท
ไทย เอ็นวีดีอาร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทย ไม่มีสิทธิออกเสียงและไม่ถูกนับรวม
เป็นผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยเพื่อนับสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นไทย ข้อสมมติฐานดังกล่าวไม่ถูกต้อง
และหุ้นที่ถือโดยบริษัทไทย เอ็นวีดีอาร์ จำกัด จะต้องถูกนับรวมเป็นผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย
เพื่อนับสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นไทย ดังนั้น สิทธิการออกเสียงของผู้ถือหุ้นต่างชาติของบริษัทฯ
จึงไม่เกิน ร้อยละ 49
จากคำชี้แจงข้างต้น และจากความเห็นของบริษัทฯ จึงเห็นว่า การการแก้ไขพ.ร.บ
การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ 2542 ไม่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ
ขอแสดงความนับถือ
เพื่อ บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน)
(นายคูชรู คาลี วาเดีย)
กรรมการ
..สักวันจะเก่งเหมือนพี่บ้าง..
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
ท่านผู้รู้กรุณาเอากฏหมายนอมีหนี้มาโพสต์หน่อยครับ
โพสต์ที่ 22
..ออกกฏหมายมาดีแค่ไหน แต่ถ้าการบังคับใช้ไม่จริงจัง..ก็ไม่มีประโยชน์
..ลองมองแถวพัทยา ภูเก็ต ดูบ้าง
..ต่างชาติให้คนไทยถือที่ดินแทน แล้วให้จดจำนองหรือสิทธิเก็บกินให้กับ
คนต่างชาติ --- เจ้าพนักงานที่ดิน "ไม่รู้เลยหรือ"
..ห้ามเรื่องสิทธิการออกเสียง -- แต่ต่างชาติ เข้ามาตั้งบริษัทสัญชาติไทย
(มีนอมินีไทยถือหุุ้นเกินครึ่ง) -- แล้วให้บริษัทดังกล่าวกู้เงิน แล้วคอยควบคุม
อยู่ข้างหลังในฐานะเจ้าหนี้ตลอดกาล....ทุนจดทะเบียนแค่ล้านเดียวแต่ทำ
ธุรกิจหลายร้อยล้านได้..เก่งเป็นบ้าเลย ---- จะตรวจสอบยังไงกันดี
..การควบคุมทางอ้อมอื่นๆ ก็มี เช่น สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า / สิทธิในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า / โนวฮาวทางการผลิต / หรือข้อตกลง
ทางการค้าอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้และไม่ต้องกำหนดไว้ในระเบียบบริษัท
ก็มีให้เล่นอีกเยอะ ........... ทนายคนไทยเก่งจะตายไป
..ลองมองแถวพัทยา ภูเก็ต ดูบ้าง
..ต่างชาติให้คนไทยถือที่ดินแทน แล้วให้จดจำนองหรือสิทธิเก็บกินให้กับ
คนต่างชาติ --- เจ้าพนักงานที่ดิน "ไม่รู้เลยหรือ"
..ห้ามเรื่องสิทธิการออกเสียง -- แต่ต่างชาติ เข้ามาตั้งบริษัทสัญชาติไทย
(มีนอมินีไทยถือหุุ้นเกินครึ่ง) -- แล้วให้บริษัทดังกล่าวกู้เงิน แล้วคอยควบคุม
อยู่ข้างหลังในฐานะเจ้าหนี้ตลอดกาล....ทุนจดทะเบียนแค่ล้านเดียวแต่ทำ
ธุรกิจหลายร้อยล้านได้..เก่งเป็นบ้าเลย ---- จะตรวจสอบยังไงกันดี
..การควบคุมทางอ้อมอื่นๆ ก็มี เช่น สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า / สิทธิในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า / โนวฮาวทางการผลิต / หรือข้อตกลง
ทางการค้าอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้และไม่ต้องกำหนดไว้ในระเบียบบริษัท
ก็มีให้เล่นอีกเยอะ ........... ทนายคนไทยเก่งจะตายไป