ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
โพสต์ที่ 3
ถ้าเกิดสองโรงพยาบาลกำไรปีนี้โต 200% หรือเท่าตัวนึงเนี่ยply33 เขียน:SYMBOL PE PB
BG 24 8.7
BGH 33 4.5
แพงไปมั้ยสำหรับ VI ครับ
PE ปีหน้าก็จะเหลือ 12 กับ 17
ถูกลงพอยังหล่ะครับ
_________
- Value_chain
- Verified User
- โพสต์: 92
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
โพสต์ที่ 4
ธุรกิจในกลุ่มนี้จะเป็นธุรกิจที่มี Free cash Flow รับในแต่ละปีค่อนข้างสูง
เพราะลงทุนส่วนใหญ่ไปหมดแล้วในครั้งแรก
หากไม่มีหนี้สินเหลืออยู่มากนัก
ก็จะทำให้การประเมินมูลไค้หุ้นออกมาได้ค่อนข้างสูง
เมื่อเทียบกับ Earning ครับ
เพราะลงทุนส่วนใหญ่ไปหมดแล้วในครั้งแรก
หากไม่มีหนี้สินเหลืออยู่มากนัก
ก็จะทำให้การประเมินมูลไค้หุ้นออกมาได้ค่อนข้างสูง
เมื่อเทียบกับ Earning ครับ
แล้วมันก็จะผ่านพ้นไป... เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง
- ply33
- Verified User
- โพสต์: 592
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
โพสต์ที่ 5
ถือว่าเป็น1ในกลุ่ม Infrastructure ใช่ป่าวครับ แต่ถ้ามีการลงทุนเพิ่มเติมก็จะมีการปรับงบการเงินด้วยเหมือนพวกโรงไฟฟ้า ที่นานๆสร้างโรงใหม่ทีนอกนั้นก็เก็บ Case Flow ไปเรื่อย โรงพยาบาลก็สร้างตึกใหม่แล้วค่อยสะสม Cash Flow ต่อไป งั้นข่าวที่บอกว่าจะโตกว่าเดิมเพราะสร้างตึกใหม่นั้น มันสมเหตุผลหรือป่าวครับ หรือว่าจะเป็นการสร้างหนี้มากขึ้นValue_chain เขียน:ธุรกิจในกลุ่มนี้จะเป็นธุรกิจที่มี Free cash Flow รับในแต่ละปีค่อนข้างสูง
เพราะลงทุนส่วนใหญ่ไปหมดแล้วในครั้งแรก
หากไม่มีหนี้สินเหลืออยู่มากนัก
ก็จะทำให้การประเมินมูลไค้หุ้นออกมาได้ค่อนข้างสูง
เมื่อเทียบกับ Earning ครับ
ปล. ผมไม่ได้ถือและไม่ได้หวังให้มีผลต่อราคานะครับ แค่อยากได้ความเห็น VI และผู้เชี่ยวชาญครับ
0--- ฉลามเสือดาว ล่องลอยไปในทะเลกว้างใหญ่ ---0
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
โพสต์ที่ 6
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ถ้าเกิดสองโรงพยาบาลกำไรปีนี้โต 200% หรือเท่าตัวนึงเนี่ย
PE ปีหน้าก็จะเหลือ 12 กับ 17
ถูกลงพอยังหล่ะครับ
พอบอกได้มั๊ยครับ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
โพสต์ที่ 7
พี่ san ครับ ผมไม่ได้บอกครับว่ากำไรจริงๆจะขึ้น 200%
แต่ผมแค่ชี้ให้เห็นว่า ถ้า BH BGH กำไรเพิ่มขึ้น 200% จริง PE เท่านี้อาจจะไม่แพงก็ได้ไงครับ
ว่าแต่ BGH ไตรมาสล่าสุดกำไรก็ขึ้นเกือบ 200% หนิครับ
แต่ผมแค่ชี้ให้เห็นว่า ถ้า BH BGH กำไรเพิ่มขึ้น 200% จริง PE เท่านี้อาจจะไม่แพงก็ได้ไงครับ
ว่าแต่ BGH ไตรมาสล่าสุดกำไรก็ขึ้นเกือบ 200% หนิครับ
_________
- metro
- Verified User
- โพสต์: 861
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
โพสต์ที่ 9
เอาความเห็นของคุณ Invisible Hand มาตอบละกันนะครับ
1) เป็นปัจจัยสี่ที่ชะลอการซื้อหรือใช้บริการแทบไม่ได้ เพราะคงไม่มีใครเป็นหวัด ปวดท้อง หรือกระทั่ง เส้นเลือดหัวใจตีบ แต่ต้องรอเงินเดือนหรือโบนัสออกจึงค่อยไปหาหมอ
2 ) เป็นบริการที่ผู้ใช้บริการแทบไม่เคยถามค่าบริการก่อนใช้บริการ หรือหมอเองก็ไม่เคยทำใบเสนอราคาให้กับคนไข้ เมืองไทยเป็นประเทศที่ผมเห็นว่าคนไข้ค่อนข้างจะกลัวหมอครับ ไม่ค่อยกล้าถามหรือรักษาสิทธิของตน หรือไม่กล้าใช้ second opinion แต่อเมริกาเหมือนหมอจะกลัวคนไข้ โดยเฉพาะกลัวโดนฟ้องครับ
3 ) เมื่อคนไข้ทราบราคาค่ารักษา ก็ไม่ค่อยมีใครต่อรองราคา หรือไม่มีสิทธิที่จะต่อรองราคา
4 ) แม้ รพ. จะปรับราคาค่ารักษาขึ้น แต่คนไข้ก็ไม่ค่อยรู้สึก เพราะเวลามาแต่ละครั้งก็รักษาด้วยโรคต่างๆ กัน ทำให้ไม่ได้มีราคามาตรฐานชัดเจน
5 ) แม้เศรษฐกิจไม่ดีแต่คนไข้หลายคนเบิกบริษัทได้เต็มจำนวน ดังนั้นค่ารักษาพยาบาลจึงเป็นเงินบริษัทไม่ใช่เงินตัวเอง และยิ่งไม่อยากซื้อยาเองเพราะเบิกไม่ได้ บางคนเดินชนโต๊ะอาจจะไป รพ. เพราะขี้เกียจเสียเงินซื้อยาหม่องมาทาเอง แม้ว่าจะเบิกไม่ได้ แม้เศรษฐกิจไม่ดีแต่หลายคนก็ไม่อยากลดระดับ รพ. ลงเพราะส่วนใหญ่มีหมอประจำ และการเปลี่ยน รพ. ทำให้ไม่มีประวัติการรักษาย้อนหลัง และต้องมีการเสียเวลาเบิกข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นเช่น ผลเอ๊กซเรย์ อุลตร้าซาวด์ ผลตรวจเลือด ฯลฯ
-------------------------------------------------------------------------------------
ในระยะเวลา 1-2 ปีเหมือนหุ้นที่ว่ามานั้น แต่ผมเชื่อว่าหุ้น รพ. หลายๆ ตัว ณ ราคาปัจจุบัน แม้ราคาจะขึ้นมาพอสมควร แต่ก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดพอสมควรครับในระยะ 5-10 ปีจากนี้ เพราะผมเชื่อว่าความเป็น medical hub ของประเทศไทยน่าจะยังอยู่ในจุดเริ่มต้นและยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมากครับ และในอนาคต ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล สปา และlong-stay จะเป็นรายได้หลักที่สำคัญกับประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ภาคการผลิต โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องใช้แรงงานสูงและเจอการแข่งขันจากจีน จะค่อยๆ มีสัดส่วนลงลงครับ
แต่หากมองในภาพยาวๆ จะพบว่ากลุ่ม รพ. น่าจะเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตได้ในระดับ 5-20 ปี ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการดังนี้ครับ และคงเป็นการเล่าซ้ำสำหรับเพื่อนๆ ที่อ่านกระทู้มานานแล้วนะครับ
1 Aging economy คือการที่สัดส่วนประชากรสูงอายุในประเทศไทยและทั่วโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จำนวนครั้งการเข้ารักษาพยาบาลของประชากร 1 คนมีเพิ่มขึ้น
2 อายุขัยเฉลี่ยของประชากรสูงขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้โรคบางอย่างสามารถยืดอายุผู้ป่วยไปได้นานพอสมควร เมื่ออายุเฉลี่ยของคนเพิ่มขึ้นทำให้การเข้ามาใช้บริการด้านสุขภาพจึงมากขึ้นด้วย
3 เนื่องจากคนเรียนเก่งในเมืองไทยนิยมเรียนแพทย์ จึงทำให้โดยเปรียบเทียบแล้วแพทย์คนไทยจะเก่งกว่าหลายๆ ประเทศ ประกอบกับคนไทยเก่งแต่ทำงานเป็นทีมแย่ แต่มีจุดเด่นด้านการบริการ ดังนั้นการรักษาพยาบาลซึ่งแพทย์แต่ละคนดูแลคนไข้แต่ละคน จึงไม่เน้นการทำงานเป็นทีมนักจึงเป็นธุรกิจที่คนไทยทำได้ดี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนไข้ต่างชาติจึงเข้ามารักษาในเมืองไทยกันมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ รพ. ระดับบนที่มีศักยภาพพอที่จะรักษาคนไข้ต่างชาติจำนวนมากมีคนไข้เพิ่มขึ้นมากและสามารถขึ้นค่ารักษาพยาบาลได้ทุกๆ ปี เมื่อรพ. ระดับบนมีราคาแพงขึ้นจึงทำให้คนไข้ในประเทศบางส่วนไหลมายัง รพ. ระดับกลางหรือกลางบนมากขึ้น จึงทำให้การเข้ามาของคนไข้ต่างชาติส่งผลดีไม่เฉพาะรพ. ระดับบน แต่ก็ส่งผลดีทางอ้อมต่อ รพ. ระดับกลางด้วย และแนวโน้มการปรับขึ้นค่าบริการของ รพ .ระดับบนยังมีต่อเนื่องซึ่งจะทำให้การ รพ. ระดับกลางสามารถปรับขึ้นค่าบริการตามได้ด้วย
4 ปัจจุบันความซับซ้อนของโรคมีมากขึ้น ทำให้จำนวนวันการเข้ารักษา หรือค่าใช้จ่ายต่อการรักษา 1 ครั้งเพิ่มขึ้น
5 การมีโครงการ 30 บาททำให้ รพ. รัฐมีคนไข้มากขึ้นมาก และแพทย์ รพ. รัฐ ต้องทำงานหนักขึ้นมาก ทำให้คนไข้ที่พอมีกำลังทรัพย์และไม่อยากรอคิวนานหรือรับการบริการที่แย่ลงได้หันมาใช้บริการ รพ .เอกชนมากขึ้น นอกจากนี้ แพทย์ รพ. รัฐจำนวนหนึ่งที่ทนกับระบบงานไม่ไหวก็ได้ลาออกมาอยู่ รพ. เอกชน และส่วนใหญ่ก็เป็นระดับอาจารย์แพทย์ จึงทำให้ในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา รพ. เอกชนมีทั้งคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น
6 สภาพแวดล้อมการดำเนินชีวิตของคนเมือง มลภาวะ อาหารการกิน ความเครียด ทำให้คนส่วนใหญ่มีสุขภาพแย่ลง และป่วยจากโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อม หรืออาหารการกิน เช่น ภูมิแพ้ โรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ฯลฯ มากขึ้น รวมไปถึงโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคไขข้อ กระดูก ก็มีมากขึ้นเพราะคนเมืองมีเวลาออกกำลังกายน้อยลง
7 การใช้จ่ายด้านการแพทย์ของประเทศเมื่อประเทศพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จะมีสัดส่วนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ GDP ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขไทยอยู่ประมาณ 6-7% ของ GDP แต่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ประมาณ 15% ครับ ดังนั้นค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในระยะยาวๆ น่าจะโตมากกว่า GDP ครับ
ดังนั้น ผมคิดว่าหุ้น รพ. เป็นหุ้นที่สามารถถือลงทุนระยะยาวๆ ได้ครับ จนกว่าเราจะเห็นการสร้างสาขาใหม่ หรือตึกใหม่ๆ ของรพ. เอกชนหลายๆ แห่ง ซึ่งคงจะต้องมาประเมินความเสี่ยงกันอีกครั้งหนึ่งครับ
อย่างไรก็ตาม กำไรที่เราได้บางส่วนจากการลงทุนในหุ้น รพ. เราควรจะนำไปบริจาคให้กับ รพ. รัฐบาล เนื่องจากปัจจุบัน รพ. รัฐหลายแห่ง โดยเฉพาะต่างจังหวัด ยังมีเครื่องมืออุปกรณ์ไม่เพียงพอ รวมไปถึงการบริจาคให้กับ รพ. เพื่อเป็นทุนการรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยยากไร้ด้วยครับ เนื่องจากยังมีโรคบางอย่างที่ยังไม่ครอบคลุมอยู่ในโครงการ 30 บาท และมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไต ( การเปลี่ยนไตจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายถึง 2-3 แสนบาทต่อคน และต้องทานยากดภูมิต้านทานตลอดชีวิต ) หรือผู้ป่วยบางคนม็ไม่มีสิทธิในโครงการ 30 บาท เนื่องจากอยู่คนละภูมิลำเนากับที่ รพ .ที่รัฐจัดสรรไปให้ครับ ยังไงหากมีโอกาสลองพิจารณาดูนะครับ และการบริจาคเงินให้กับ รพ. ได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วยครับ
1) เป็นปัจจัยสี่ที่ชะลอการซื้อหรือใช้บริการแทบไม่ได้ เพราะคงไม่มีใครเป็นหวัด ปวดท้อง หรือกระทั่ง เส้นเลือดหัวใจตีบ แต่ต้องรอเงินเดือนหรือโบนัสออกจึงค่อยไปหาหมอ
2 ) เป็นบริการที่ผู้ใช้บริการแทบไม่เคยถามค่าบริการก่อนใช้บริการ หรือหมอเองก็ไม่เคยทำใบเสนอราคาให้กับคนไข้ เมืองไทยเป็นประเทศที่ผมเห็นว่าคนไข้ค่อนข้างจะกลัวหมอครับ ไม่ค่อยกล้าถามหรือรักษาสิทธิของตน หรือไม่กล้าใช้ second opinion แต่อเมริกาเหมือนหมอจะกลัวคนไข้ โดยเฉพาะกลัวโดนฟ้องครับ
3 ) เมื่อคนไข้ทราบราคาค่ารักษา ก็ไม่ค่อยมีใครต่อรองราคา หรือไม่มีสิทธิที่จะต่อรองราคา
4 ) แม้ รพ. จะปรับราคาค่ารักษาขึ้น แต่คนไข้ก็ไม่ค่อยรู้สึก เพราะเวลามาแต่ละครั้งก็รักษาด้วยโรคต่างๆ กัน ทำให้ไม่ได้มีราคามาตรฐานชัดเจน
5 ) แม้เศรษฐกิจไม่ดีแต่คนไข้หลายคนเบิกบริษัทได้เต็มจำนวน ดังนั้นค่ารักษาพยาบาลจึงเป็นเงินบริษัทไม่ใช่เงินตัวเอง และยิ่งไม่อยากซื้อยาเองเพราะเบิกไม่ได้ บางคนเดินชนโต๊ะอาจจะไป รพ. เพราะขี้เกียจเสียเงินซื้อยาหม่องมาทาเอง แม้ว่าจะเบิกไม่ได้ แม้เศรษฐกิจไม่ดีแต่หลายคนก็ไม่อยากลดระดับ รพ. ลงเพราะส่วนใหญ่มีหมอประจำ และการเปลี่ยน รพ. ทำให้ไม่มีประวัติการรักษาย้อนหลัง และต้องมีการเสียเวลาเบิกข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นเช่น ผลเอ๊กซเรย์ อุลตร้าซาวด์ ผลตรวจเลือด ฯลฯ
-------------------------------------------------------------------------------------
ในระยะเวลา 1-2 ปีเหมือนหุ้นที่ว่ามานั้น แต่ผมเชื่อว่าหุ้น รพ. หลายๆ ตัว ณ ราคาปัจจุบัน แม้ราคาจะขึ้นมาพอสมควร แต่ก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดพอสมควรครับในระยะ 5-10 ปีจากนี้ เพราะผมเชื่อว่าความเป็น medical hub ของประเทศไทยน่าจะยังอยู่ในจุดเริ่มต้นและยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมากครับ และในอนาคต ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล สปา และlong-stay จะเป็นรายได้หลักที่สำคัญกับประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ภาคการผลิต โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องใช้แรงงานสูงและเจอการแข่งขันจากจีน จะค่อยๆ มีสัดส่วนลงลงครับ
แต่หากมองในภาพยาวๆ จะพบว่ากลุ่ม รพ. น่าจะเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตได้ในระดับ 5-20 ปี ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการดังนี้ครับ และคงเป็นการเล่าซ้ำสำหรับเพื่อนๆ ที่อ่านกระทู้มานานแล้วนะครับ
1 Aging economy คือการที่สัดส่วนประชากรสูงอายุในประเทศไทยและทั่วโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จำนวนครั้งการเข้ารักษาพยาบาลของประชากร 1 คนมีเพิ่มขึ้น
2 อายุขัยเฉลี่ยของประชากรสูงขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้โรคบางอย่างสามารถยืดอายุผู้ป่วยไปได้นานพอสมควร เมื่ออายุเฉลี่ยของคนเพิ่มขึ้นทำให้การเข้ามาใช้บริการด้านสุขภาพจึงมากขึ้นด้วย
3 เนื่องจากคนเรียนเก่งในเมืองไทยนิยมเรียนแพทย์ จึงทำให้โดยเปรียบเทียบแล้วแพทย์คนไทยจะเก่งกว่าหลายๆ ประเทศ ประกอบกับคนไทยเก่งแต่ทำงานเป็นทีมแย่ แต่มีจุดเด่นด้านการบริการ ดังนั้นการรักษาพยาบาลซึ่งแพทย์แต่ละคนดูแลคนไข้แต่ละคน จึงไม่เน้นการทำงานเป็นทีมนักจึงเป็นธุรกิจที่คนไทยทำได้ดี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนไข้ต่างชาติจึงเข้ามารักษาในเมืองไทยกันมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ รพ. ระดับบนที่มีศักยภาพพอที่จะรักษาคนไข้ต่างชาติจำนวนมากมีคนไข้เพิ่มขึ้นมากและสามารถขึ้นค่ารักษาพยาบาลได้ทุกๆ ปี เมื่อรพ. ระดับบนมีราคาแพงขึ้นจึงทำให้คนไข้ในประเทศบางส่วนไหลมายัง รพ. ระดับกลางหรือกลางบนมากขึ้น จึงทำให้การเข้ามาของคนไข้ต่างชาติส่งผลดีไม่เฉพาะรพ. ระดับบน แต่ก็ส่งผลดีทางอ้อมต่อ รพ. ระดับกลางด้วย และแนวโน้มการปรับขึ้นค่าบริการของ รพ .ระดับบนยังมีต่อเนื่องซึ่งจะทำให้การ รพ. ระดับกลางสามารถปรับขึ้นค่าบริการตามได้ด้วย
4 ปัจจุบันความซับซ้อนของโรคมีมากขึ้น ทำให้จำนวนวันการเข้ารักษา หรือค่าใช้จ่ายต่อการรักษา 1 ครั้งเพิ่มขึ้น
5 การมีโครงการ 30 บาททำให้ รพ. รัฐมีคนไข้มากขึ้นมาก และแพทย์ รพ. รัฐ ต้องทำงานหนักขึ้นมาก ทำให้คนไข้ที่พอมีกำลังทรัพย์และไม่อยากรอคิวนานหรือรับการบริการที่แย่ลงได้หันมาใช้บริการ รพ .เอกชนมากขึ้น นอกจากนี้ แพทย์ รพ. รัฐจำนวนหนึ่งที่ทนกับระบบงานไม่ไหวก็ได้ลาออกมาอยู่ รพ. เอกชน และส่วนใหญ่ก็เป็นระดับอาจารย์แพทย์ จึงทำให้ในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา รพ. เอกชนมีทั้งคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น
6 สภาพแวดล้อมการดำเนินชีวิตของคนเมือง มลภาวะ อาหารการกิน ความเครียด ทำให้คนส่วนใหญ่มีสุขภาพแย่ลง และป่วยจากโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อม หรืออาหารการกิน เช่น ภูมิแพ้ โรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ฯลฯ มากขึ้น รวมไปถึงโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคไขข้อ กระดูก ก็มีมากขึ้นเพราะคนเมืองมีเวลาออกกำลังกายน้อยลง
7 การใช้จ่ายด้านการแพทย์ของประเทศเมื่อประเทศพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จะมีสัดส่วนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ GDP ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขไทยอยู่ประมาณ 6-7% ของ GDP แต่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ประมาณ 15% ครับ ดังนั้นค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในระยะยาวๆ น่าจะโตมากกว่า GDP ครับ
ดังนั้น ผมคิดว่าหุ้น รพ. เป็นหุ้นที่สามารถถือลงทุนระยะยาวๆ ได้ครับ จนกว่าเราจะเห็นการสร้างสาขาใหม่ หรือตึกใหม่ๆ ของรพ. เอกชนหลายๆ แห่ง ซึ่งคงจะต้องมาประเมินความเสี่ยงกันอีกครั้งหนึ่งครับ
อย่างไรก็ตาม กำไรที่เราได้บางส่วนจากการลงทุนในหุ้น รพ. เราควรจะนำไปบริจาคให้กับ รพ. รัฐบาล เนื่องจากปัจจุบัน รพ. รัฐหลายแห่ง โดยเฉพาะต่างจังหวัด ยังมีเครื่องมืออุปกรณ์ไม่เพียงพอ รวมไปถึงการบริจาคให้กับ รพ. เพื่อเป็นทุนการรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยยากไร้ด้วยครับ เนื่องจากยังมีโรคบางอย่างที่ยังไม่ครอบคลุมอยู่ในโครงการ 30 บาท และมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไต ( การเปลี่ยนไตจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายถึง 2-3 แสนบาทต่อคน และต้องทานยากดภูมิต้านทานตลอดชีวิต ) หรือผู้ป่วยบางคนม็ไม่มีสิทธิในโครงการ 30 บาท เนื่องจากอยู่คนละภูมิลำเนากับที่ รพ .ที่รัฐจัดสรรไปให้ครับ ยังไงหากมีโอกาสลองพิจารณาดูนะครับ และการบริจาคเงินให้กับ รพ. ได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 44
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
โพสต์ที่ 11
เห็นด้วยครับ เป็นการคืนกำไรสู่สังคมอย่างไรก็ตาม กำไรที่เราได้บางส่วนจากการลงทุนในหุ้น รพ. เราควรจะนำไปบริจาคให้กับ รพ. รัฐบาล เนื่องจากปัจจุบัน รพ. รัฐหลายแห่ง โดยเฉพาะต่างจังหวัด ยังมีเครื่องมืออุปกรณ์ไม่เพียงพอ รวมไปถึงการบริจาคให้กับ รพ. เพื่อเป็นทุนการรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยยากไร้ด้วยครับ เนื่องจากยังมีโรคบางอย่างที่ยังไม่ครอบคลุมอยู่ในโครงการ 30 บาท และมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไต ( การเปลี่ยนไตจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายถึง 2-3 แสนบาทต่อคน และต้องทานยากดภูมิต้านทานตลอดชีวิต ) หรือผู้ป่วยบางคนม็ไม่มีสิทธิในโครงการ 30 บาท เนื่องจากอยู่คนละภูมิลำเนากับที่ รพ .ที่รัฐจัดสรรไปให้ครับ ยังไงหากมีโอกาสลองพิจารณาดูนะครับ
- worapong
- Verified User
- โพสต์: 929
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
โพสต์ที่ 13
ความเห็นส่วนตัวนะครับ ความนิยมในหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลในปัจจุบันสูงกว่าในอดีตนะครับ ซึ่งถึงธุรกิจโรงพยาบาลจะดีขึ้นอีก แต่ราคาหุ้นก็ไม่ถูกอีกแล้ว คนที่ทำกำไรได้มากๆ น่าจะเป็นคนที่เห็นโอกาสก่อนคนอื่นเมื่อนานมาแล้ว ในตอนที่ความนิยมหุ้นโรงพยาบาลยังต่ำอยู่ เมื่อสักปีหรือสองปีก่อน น่าจะมีแต่โรงพยาบาลห้าดาวเช่น bh bgh เท่านั้นที่พีอีสูง แต่ตอนนี้ มีอีกหลายโรงที่ราคากระโดดขึ้นมาเยอะมาก ซึ่งสะท้อนถึงกำไรที่คาดว่าจะดีขึ้นมากในอนาคตไปพอสมควรแล้วครับ การลงทุนให้ประสบความสำเร็จนั้น ผมคิดว่าเราต้องคิดให้ถูกต้อง แล้วก็ซื้อเมื่อหุ้นยังไม่ได้รับความนิยม ซึ่งข้อหลังนั้น ต้องอาศัยความอดทนเป็นอย่างมากครับ หุ้นจะยังคงถูกเกินไป และแพงเกินไปเสมอ คนที่อดทนและสามารถใช้ประโยชน์จากนายตลาดได้ก็จะเป็นผู้ชนะในเกมการลงทุนครับ ผมได้แต่หวังว่าทุกวันผมจะสามารถทำตัวให้สมเหตุสมผลมากขึ้นเรื่อยๆครับ
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
circle of competence
waiting for the perfect pitch
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
โพสต์ที่ 15
8)
สุมาอี้ เขียน: Sun Apr 30, 2006 8:16 am
ขอทำ Valuation โดยมองการเติบโตแบบ quick and dirty ก็ละกันนะครับ
ตึกใหม่มี Capacity เพิ่ม 55% (นับจากจำนวนคนไข้และเตียงทีเพิ่มขึ้น) ดังนั้นเมื่อ fully operated แล้วใน 4 ปี รายได้จะเพิ่มขึ้น 55% ด้วย แต่กำไรน่าจะเพิ่มขึ้นได้มากกว่า แต่คิดแบบระมัดระวังไว้ก่อนก็ให้กำไรเพิ่ม 55% ด้วย
ปี 48 มี EBIT 1371 ใน 4 ปีจะมี EBIT 1371*1.55=2125 หรือ Net income 2125*.75=1593
รพ.ในต่างประเทศใช้เงินลงทุน 300-400 ล้านต่อแห่ง ตอนนี้มีแผนทั้งหมด 4 แห่ง ถ้า say ว่า ROE เท่ากับ 25% สำหรับรพ.ระดับนี้ จะก่อให้เกิดกำไรเพิ่มขึ้นปีละ 350*.25*4= 350 ล้าน ซึ่งน่าจะโชว์กำไรนี้ได้ในอีก 4 ปีเช่นกัน
ดังนั้นในอีก 4 ปี จะมีกำไรปีละ 1593+350 =1943 ล้านบาท
ตอนนี้มี 727 ล้านหุ้น แต่ fully dilute มี 867 ล้านหุ้น เท่ากับ EPS ในอีก 4 ปีข้างหน้าคือ 2.24 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกอย่างอยู่ภายใต้สมมติฐานว่า
การลงทุนในตปท.ทั้งหมดจะต้องประสบความสำเร็จตามเป้าหมายทุกแห่ง
วันนี้ราคาตลาด 36.75 บาท ซื้อวันนี้ในอีก 4 ปีข้างหน้าจะมี PE เหลือ36.75/2.24=16.4 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ไม่ได้น่าดึงดูดให้ซื้อเพิ่มแต่อย่างใด
เว้นเสียแต่ว่า ในช่วงข้างหน้าจะมีแผนลงทุนตปท.ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกเป็นประเทศที่ 5,6,7 หรือว่ากำไรในตึกใหม่จะสามารถเพิ่มสูงขึ้นได้มากกว่า 55% ด้วยผลของ fixed cost
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมกลุ่มโรงพยาบาล PE, PB สูงจังครับ
โพสต์ที่ 16
เมื่อรู้ว่าสินค้าตัวนี้ ดี......
ถัดไปก็แค่ ถามว่า แล้ว ราคาเท่าไรหล่ะ
อันนี้ ใครชอบที่เท่าไร ก็แล้วแต่...... ต่างคนต่างใจ อิอิอิ
ถัดไปก็แค่ ถามว่า แล้ว ราคาเท่าไรหล่ะ
อันนี้ ใครชอบที่เท่าไร ก็แล้วแต่...... ต่างคนต่างใจ อิอิอิ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ