ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Capo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1067
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

กับดักสภาพคล่อง ที่เป็นปรากฎการณ์ว่า
ถึงแม้ลดดอกเบี้ยอย่างต่ำเตี้ยแล้ว คนก็ยังไม่ยอมใช้จ่ายกันให้มากขึ้น
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกใช่ไหมครับ

ที่ผมคิดว่ากำลังเกิดเช่นนั้น เพราะว่าคนค้าขายบ่นว่าค้าขายไม่ดี
ในวงการผม หอบผ้าหอบผ่อน หนีหนี้ไปหลายเจ้าแล้วครับ
แต่เท่าที่ดู คนซื้อยังมีกำลังซื้อพอประมาณครับ ขาดแต่อารมณ์ที่จะทำให้ซื้อ

แล้วเห็นว่ารัฐก็กำลังพิจารณาเรื่องจะขึ้น VAT เป็น 10% อีกแน่ะ
ไหนตอนนั้นบอกว่า พูดมาเพื่อเป็นแค่การเสนอแนะแก่รัฐบาลต่อไปที่จะมาจากการเลือกตั้ง
แต่วันนี้แอบได้ข่าวแวบ ๆ แล้วว่า มีการประเมินผลกระทบจากการขึ้น VAT กันแล้ว
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ

มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ประเทศไทยเคยอยู่ในกับดักสภาพคล่องมาก่อนแล้วตอนที่ดอกเบี้ยออมทรัพย์ 0.50%

เคนส์เชื่อว่าเวลาเศรษฐกิจตกหล่ม รัฐต้องใช้จ่ายเพื่อดึงเศรษฐกิจให้กลับขึ้นมาจากหลุม ไทยเราก็ได้ลองทำไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าพอเงินหมด เศรษฐกิจก็ทรุดกลับลงไปใหม่เหมือนเดิม

ฟรีแมนเชื่อว่าความมั่นใจของผู้บริโภคนั้นขึ้นอยู่กับ permanent income (all expected future income) ไม่ใช่ current income การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการฉีดเงินจึงไม่ได้ผล สังเกตดูเวลาคุณได้ package ก้อนโตตอนถูกไล่ออกจากงาน คุณจะใช้จ่ายมากขึ้นหรือน้อยลง

คนจะใช้จ่ายมากขึ้นก็ต่อเมื่อเขามีมั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของเขา (permanent income) ถ้าคุณหาได้งาน แม้ยังไม่ได้รับเงินเดือนเดือนแรก คุณก็กล้าใช้จ่ายมากกว่าเดิมแล้ว  :lol:

นักธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ถ้ารัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ เขารู้ว่าเป็นดีมานด์เทียม เขาจึงไม่ลงทุนเพิ่ม เพียงแต่ใช้กำลังการผลิตเดิมที่ว่างอยู่ขายของไปเท่านั้น การกระตุ้นจากภาครัฐจึงทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้นไม่ได้ นักธุรกิจจะลงทุนเพิ่มก็ต่อเมื่อเขาเห็นว่ามีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้นในระยะยาว  :)

ผมว่าไม่มีวิธีไหนจะดีไปกว่าการรอ สต๊อกส่วนเกินที่ค่อยๆ หมดไป เครื่องจักรส่วนเกินที่ค่อยๆ เก่าลง ถึงจุดๆ หนึ่ง อุปทานส่วนเกินเหล่านั้นก็จะหายไปจากตลาดจนน้อยกว่าอุปสงค์ ภาคธุรกิจก็จะลงทุนเพิ่มขึ้นอีกครั้งเอง เหมือนกับญี่ปุ่น กระตุ้นไปไม่รู้ต้องกี่ครั้ง ไม่ได้ผล พอเลิกพยายาม อยู่ดีๆ มันก็ฟื้นขึ้นมาเอง

มันจะฟื้นเองเมื่อถึงเวลา
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
Capo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1067
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณพี่สุมาอี้ครับ
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ

มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ดอกเบี้ยลดแต่เงินฝาก เงินกู้ยังไม่ได้ลดตามนิครับ

ผมเชื่อว่า มาตราการกระตุ้นเศษรฐกิจยังได้ผลอยู่
เพียงแต่เรามองด้าน demand เกินไปหรือเปล่า

ถ้าเราเพิ่มเส้น supply ให้สูงขึ้น
ช่วง recession มาตราการนี้ สมัยเรแกน เคยใช้ได้ผลมาแล้ว
โดยการลดภาษี แทนที่รัฐจะได้ภาษีน้อยลงกลับได้มากขึ้น
เนื่องจาก ประชาชนเร่งให้เกิดผลผลิต
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ถ้ามีการเพิ่ม vat 10%  จะเข้าสู่ recession เต็มรูปแบบครับ
คิดแบบนี้ผิดมหันต์  :cry:
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อันนี้ผมเห็นไม่เหมือนคุณสุมาอี้นะครับ

จริงๆแล้วการใช้จ่ายภาครัฐมันไม่เหมือนการให้เงินชดเชยการว่างงานครับ แต่ทั้งนี้เราต้องพิจารณาด้วยว่าการใช้จ่ายภาครัฐดังกล่าวส่งผลต่อธุรกิจอื่นๆต่อเนื่องหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างถนน ส่งผลให้เกิดการจ้างแรงงานในการสร้าง ทำให้ผู้ผลิตยางมะตอยสามารถจำหน่ายสินค้าออกมาได้และเกิดการผลิต(ในกรณีที่ไม่มีสินค้าคงค้าง) เหมืองหิน ซีเมนต์ วิศวกร รถบดถนน ฯลฯ นอกจากนี้ยังส่งผลประโยชน์ทางอ้อมสู่ชุมชน เช่น การเดินทางสะดวกขึ้น ส่งผลให้การขนส่งมากเที่ยวขึ้นหรือใช้เวลาสั้นลง(reduce cost) เมื่อถนนตัดผ่านการคมนาคมดีขึ้น ส่งผลให้วัฏจักรทางเศรษฐกิจต่างๆเรื่อมหมุนต่อไปเรื่อยๆ นี่คือผลลัพธ์จากการที่รัฐใช้จ่ายด้านสาธรณูปโภคครับ  :wink:
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

สำหรับปัญหากับดักสภาพคล่องคือ การที่ประชาชนขาดความมั่นใจทางเศรษฐกิจมาก จนมีความต้องการถือเงินไม่จำกัด (ง่ายๆครับถือเงินสดไว้อย่างเดียวเลย ไม่ยอมใช้จ่าย(ยกเว้นเพื่อการดำรงชีพ)แม้จะเก็บเงินลงไหฝังดิน และไม่ได้ดอกเบี้ยก็ทำ) ซึ่งสถานการณ์ ในลักษณะเช่นนี้ ในทฤษฎีของเคนส์รัฐบาลจะไม่สามารถใช้นโยบายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือการปรับดอกเบี้ยไม่ได้ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ (เช่นลดดอกเบี้ยลงแล้วแต่ก็ไม่ได้กระตุ้นการลงทุนให้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ด้านบริโภคก็ยังคงไม่กล้าใช้จ่าย) ซึ่งตามทฤษฎีของเคนส์ นโยบายที่ใช้ได้ในกรณีนี้คือนโยบายการคลัง ซึ่งมีสองส่วนคือ ด้านภาษี การการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งทั้งนี้การใช้จ่ายภาครัฐจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรงตามโพสที่แล้วที่ได้โพสไป  :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

หรือเคนส์หรือไม่เคนส์นี่ผมไม่เถียงกับใครแล้วล่ะ เห็นเขาเถียงกันมา 50 ปีแล้ว ไม่ได้อะไร แล้วแต่ค่ายครับ คิดต่างกันได้แต่ไม่ต้องทะเลาะกันนะครับ (ยืมสโลแกนพี่หนึ่งมา)

แต่สงสัยคราวนี้คงได้เห็นนโยบายการเงิน (ดอกเบี้ย) มากกว่านโยบายการคลังแน่ๆ เพราะผมทราบมาว่าคุณฉลองภพอยู่ในค่ายที่เชื่อว่าเศรษฐกิจที่เป็นระบบเปิด นโยบายการคลังจะใช้ไม่ได้ผล

คาบข่าวมาบอก
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

แก้ที่ root cause ครับ  ที่อกสั่นขวัญแขวนรายวัน ก็เพราะนโยบายรัฐไม่ใช่เหรอ ตั้งแต่ 30% แล้ว

ไม่ต้องลดดอกเบี้ยหรอกครับ ไม่ต้องเปิดตำรา Econ ด้วย การเมืองไม่นิ่ง ตำราไหนจะช่วยได้ล่ะ ถ้าจะกระตุ้นศก. รัฐบาลทำอะไรให้คิดถึงประชาชนหน่อย

ไอ้ประเภทยิงกราดลูกสมุนรายวัน พอได้แล้วครับ เกลียดหัวหน้าก็ตามล่ามาขึ้นศาลเลย ให้จบกัน ส่วนอื่นๆ maintain ไว้ก็บุญโขแล้ว บ้านเมืองไทยไม่ได้เลวร้ายอะไรนักหรอก เด๋วก็ดีเอง พวกโฆษณาชวนเชื่อก็หัดปิดปากมั่งครับ ไม่ต้องบอกว่าใคร

เรื่องเงินแข็งนำเข้าจะดี เงินอ่อนส่งออกจะดี ผมว่าเอกชนคิดได้ ไม่ต้องรอรัฐมาบอก ส่วนพวกกดดันรัฐบาลโอดว่าจะเจ๊งแล้ว ควรกลับไปกวาดบ้านตัวเองซะ ไอ้ที่เคยโกงบริษัทตัวเองจนรวยปลิ้นก็เลิกซะ ..ไม่เจ๊งหรอก ญี่ปุ่นเค้าว่า 7 waste ..เมืองไทยขอเพิ่ม management waste อีกรายการก็แล้วกัน
boybbcom
Verified User
โพสต์: 269
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อ่านมา ผมเห็นด้วยกับทุกคน นะครับ

ที่ทุกคนพูดก็ถูกทั้งนั้น

ผมคิดว่า การใช้นโยบายการคลังมีประโยชน์แต่ขึ้นกับว่าเอาไปใช้ทำอะไร ถ้ารัฐออกมากระตุ้น ให้คนเอาไปใช้บริโภค สุดท้ายมันก็หมดไป แต่ถ้าเอาไปใช้เกี่ยวกับสาธราณุปโภค หรือ เพื่อส่วนรวมผมว่ามันจะเกิดประโยชน์มากกว่า

การรอให้เป็นตามกลไกตลาด มันก็ดี ครับ แต่ก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐต้องแทรกแซงบ้าง

ที่ผมว่ามีปัญหา ก็คือเรื่องของการเมืองนี่แหล่ะครับ ที่ทำให้นักลงทุนไม่กล้าลงทุน
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ไม่ต้องเปิดตำรา Econ ด้วย การเมืองไม่นิ่ง ตำราไหนจะช่วยได้ล่ะ ถ้าจะกระตุ้นศก. รัฐบาลทำอะไรให้คิดถึงประชาชนหน่อย


อันนี้เห็นด้วยเต็มๆเลย
นโยบายการเงิน การคลัง ดีแค่ไหน ก็ล้มไปนับหนึ่งใหม่
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

คือจริงๆแล้ว มันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องตำราไหนช่วยได้ช่วยไม่ได้ เพราะปัญหาที่เกิดมันมีส่วนประกอบทั้ง Systematric error (ความผิดพลาดเชิงระบบ) กับ Non-systemetric error (ความผิดพลาดอันไม่ได้มาจากระบบ) ซึ่งตำรามีหน้าที่แก้ไข Systematric error ครับ ไม่ใช่เอาไปแก้ Non-systemetric error แล้วทำไมตำราแก้ Non-sys ไม่ได้ ก็เพราะลักษณะของ Non-sys เป็น event problem คือเป็นปัญหาที่เกิดแบบสุ่ม อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงขั้วการเมือง การก่อปฏิวัติ ฯลฯ ปัญหาแบบนี้ไม่ใช่ปัญหาเชิงระบบ การแก้ไขต้องเป็นเคสบายเคสไป ไม่สามารถกางตำราไหนได้หรอกครับ แต่ทั้งนี้มิใช่ตำราทำอะไรไม่ได้ เพราะหน้าที่ของตำราคือการแก้ปัญหาเชิงระบบ เพราะปัญหาเชิงระบบเป็นปัญหาพื้นฐานและหากเกิดก็จะเกิดอย่างต่อเนื่องและคงอยู่ในลักษณะนั้น เช่น คุณเอาลิฟท์มาแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายคนระหว่างชั้นอาคาร หรือ กระบวนการการลงทุนแนวVIที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการลงทุน เป็นต้น อย่างที่บอกแหละครับ ตำรามีหน้าที่บอกแนวทาง บอกกระบวนการ แต่อย่าคาดหวังให้มันสามารถแก้ปัญหานอกระบบเลยครับเพราะไม่ใช่หน้าที่มัน   :wink:
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

คงไม่มีอะไรต้องพูดเรื่องตำรา เพราะไม่ใช่ประเด็น ปัญหาที่ประเทศไทยเผชิญก็ทราบกันทุกคนครับ

........กลับมาเรื่องเศรษฐกิจ

การพัฒนาเศรษฐกิจ ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้นโยบายเศรษฐศาสตร์เป็นตัวนำ เพราะผมเชื่อว่าการ Manipulate เศรษฐกิจ ก็ไม่ต่างกับ Manipulate หุ้น สุดท้ายก็กลับไปหาพื้นฐานครับ

ผมมองว่ากรอบคิดของรัฐเป็นเรื่องสำคัญครับ หากวัดกรอบคิดของรัฐบาลไทยไม่ว่ายุคใดก็ตาม ผมเชื่อว่ายุคทักษิณเกิดความเปลี่ยนแปลงกับกรอบคิดมากที่สุด นอกนั้นไม่ต้องพูดถึง ไม่ว่าใครจะบอกโกงมากโกงน้อย ทำเพื่อตัวเองหรือทำเพื่อชาติ มันก็ไอ้พอๆกันแหละ

แต่การมองประเทศไทยในเชิงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจอย่างจริงจังก็เริ่มมีในสมัยทักษิณ  แต่อาจจะติดเว่อร์ๆไปหน่อยก็ไม่เถียง  แต่ก็กระตุ้นให้ทุกฝ่ายเปลี่ยนมุมมองประเทศที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์จอมหลักการก็มีความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ จะเห็นได้จากผู้ว่ากทม.ที่เฟ้นหานักธุรกิจมือทองมาลงสมัคร เชื่อว่า...ถ้า...มี....การเลือกตั้ง คงจะเห็นผู้นำที่โดดเด่นในเชิงกลยุทธเป็นอย่างแน่นอน ...

กรอบคิดเดิมๆ ที่เน้นผลิตสินค้าเกษตรพื้นฐานแล้วส่งออกมากๆ สุดท้ายจะทำให้ประเทศไทยไปไม่ได้ไกลครับ และนั่นไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง พูดไปหลายทีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอฉวยโอกาสเผยแพร่ลัทธิทุนนิยมหน่อย  :lol:

ตามแนวคิดทุนนิยม รัฐบาลไม่มีหน้าที่ด้านเศรษฐกิจ เรื่องของเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของ "ตลาด"

แนวของทักษิณเป็นแนวที่สวนทางกับระบอบทุนนิยมเพราะทักษิณพยายามทำให้ความเป็นอยู่ของคนขึ้นอยู่กับรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐมีหน้าที่กระตุ้นการบริโภค การควบคุมราคาสินค้าต่างๆ ตลอดจนระบบรัฐสวัสดิการภาคบังคับทั้งหลาย แล้วรัฐบาลก็กลายเป็น sector ที่นับวันจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้นทุกที

รัฐบาลมีอำนาจควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในแง่รัฐศาสตร์แล้ว อย่าให้รัฐบาลมีอำนาจควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในแง่เศรษฐศาสตร์ด้วยเลย
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

แน่นอนครับ เศรษฐกิจวิ่งไปตาม curve ขึ้น-ลง แม้ไม่ได้ใช้นโยบายกระตุ้น
การกระตุ้น ก็เหมือนทำให้มันเร็วขึ้นครับ เพราะเราอาจจะตายก่อน ที่ curve จะวิ่งขึ้น

เหมือนปลูกพืช โยนเมล็ดลงบนพื้นดิน แล้วรอเก็บเกี่ยวอย่างเดียว โดยไม่ได้ทำอะไร

กับเรากระตุ้น โดยการเตรียมแปลง พรวนดิน ใส่ปุ๋ยเร่งการเติบโต มีการบล็อกวัชพืช ผลผลิตที่ได้ก็มีแนวโน้มที่มากกว่า และ เร็วกว่า

ส่วนนิยาม ทุนนิยมว่าไว้รัฐไม่เกี่ยวข้อง แต่ทางการปฎิบัติเป็นไปได้อยู่แล้ว ทุกอย่างถูกโยงผูกเข้ากันหมด
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ทุนนิยม ระบบตลาดเสรี มองผิวเผินก็ดีครับ แต่ จุดอ่อนสำคัญในตัวมันที่ลืมไม่ได้ คือ เงื่อนไขที่สำคัญที่ทำให้ระบบทุนนิยมมีประสิทธิภาพคือตลาดต้องมีประสิทธิภาพ และสมมติฐานข้อที่หนึ่งของตลาดทีมีประสิทธิภาพคือ ทุกคนมีพื้นฐานเท่าเทียมกัน นี่คือปัญหา ทุกคนมีพื้นฐานที่เท่าเทียมกันหรือ? เจ้ตุ๋ยเจ้าของร้านชำปากซอยมีพื้นฐานเท่า7-11หรือ? สหกรณ์โคนมไทยมีพื้นฐานทัดเทียมโคนมออสเตรเลียหรือ? นักลงทุนรายย่อยมีข้อมูลเท่าเทียมนักลงทุนรายใหญ่หรือ? เพราะเหตุที่พื้นฐานไม่เท่า และตลาดไม่มีประสิทะภาพมิใช่หรือ รัฐจึงต้องแทรกแซง การต่อต้าน FTA ไม่ใช่การต่อต้านการแซกแทรงของรัฐหรือ เพราะกำแพงภาษีก็ถูกกำหนดโดยรัฐ การต่อต้าน Superstore ก็ไม่ใช่การต่อต้านระบบตลาดเสรีหรือ นี่คือเหตุที่ว่าทำไมต้องแยกให้ออกว่า ปัญหาอะไรเป็น Sys ปัญหาอะไรเป็น Non-sys ตราบใดที่ไม่เข้าใจถึงพื้นฐานแห่งปัญหา ไม่ได้มีการแยกปัญหา Non-sys ออกจาก Sys มันก็เหมือนปลาว่ายวนในอ่างไม่รู้จบ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้บอกว่าระบบตลาดเสรีมันไม่ดี แต่มันมีจุดอ่อนถึงได้มีความจำเป็นในการต้องแทรกแซงโดยรัฐต่างหาก ซึ่งทั้งนี้เราไม่ควรบอกว่าการแทรกแซงไม่ดี แต่ควรพิจารณาว่าการแทรกแซงในแต่ละนโยบาย นโยบายใดมีประสิทธิภาพ นโยบายใดด้อยประสิทธิภาพต่างหาก ที่น่าถกน่าวิจารณ์มากกว่า
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ถามคุณเจย์โชว์

ผมมีคำถามใคร่ถามคุณสองว่าทำไมคุณคิดว่าไม่ควรเอาเศรษฐศาสตร์มาดูแลเรื่องเศรษฐกิจ แล้วถ้าไม่ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ใช้หลักอะไรครับ รัฐศาสตร์? นิติศาสตร์? ศิลปศาสตร์? หรือควรใช้หลักไหนที่คุณเห็นว่าสมควรกว่าครับ
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

โพสข้างบนตัดคำว่าสองออกนะครับ พิมพ์เกิน :lol:
โพสต์โพสต์