จากที่สังเกตุมาพบว่า...
-
- Verified User
- โพสต์: 689
- ผู้ติดตาม: 0
จากที่สังเกตุมาพบว่า...
โพสต์ที่ 1
หุ้นใดๆในตลาด ที่มี เงินสดเยอะๆ และ มีหนี้น้อยๆ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่ธุรกิจหลักเลวร้ายแค่ไหน แต่ถ้าราคาต่ำๆ โดยเฉพาะถ้าต่ำกว่า bv
หุ้นพวกนี้จะพื้นตัวเร็วมาก....ใครเห็นว่าไม่จริงช่วยแย้งหน่อยครับ...อยากทราบมุมมองที่แตกต่าง... :shock: :shock:
หุ้นพวกนี้จะพื้นตัวเร็วมาก....ใครเห็นว่าไม่จริงช่วยแย้งหน่อยครับ...อยากทราบมุมมองที่แตกต่าง... :shock: :shock:
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
จากที่สังเกตุมาพบว่า...
โพสต์ที่ 2
เห็นด้วยกับคุณลุงทีมครับ
แต่ที่ต้องระวังหน่อยก็คือ หุ้นที่มีทรัพย์สินเป็นเงินสดมาก ๆ และมีหนี้สินน้อย ๆ นั้น เขาเก็บเงินสดไว้ทำอะไรในอนาคตด้วย
ถ้าเก็บเงินสดไว้แต่ไม่ได้ไปลงทุนหาประโยชน์ในระยะยาว ก็ทำลายมูลค่าหุ้นเหมือนกัน เพราะ ต้องต่อสู้กับเงินเฟ้อ ทำให้ค่าเงินเล็กลงด้วยครับ
แต่ถ้าเก็บเงินสดไว้ แล้วรอจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม แบบนี้มีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วแน่ ๆ ครับ เพราะเงินสดนั้นในที่สุดจะนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้และสร้างผลกำไรที่คุ้มค่าครับ
แต่ข้อระวังอย่างหนึ่งคือ หุ้นแบบนี้ต้องดูผู้บริหารด้วยว่าเป็นอย่างไรประกอบด้วย เพราะเงินสดก็ไม่ค่อยเข้าใครออกใครเหมือนกัน สามารถผ่องถ่ายในรูปแบบอื่น ๆ ได้ด้วยครับ
แต่ที่ต้องระวังหน่อยก็คือ หุ้นที่มีทรัพย์สินเป็นเงินสดมาก ๆ และมีหนี้สินน้อย ๆ นั้น เขาเก็บเงินสดไว้ทำอะไรในอนาคตด้วย
ถ้าเก็บเงินสดไว้แต่ไม่ได้ไปลงทุนหาประโยชน์ในระยะยาว ก็ทำลายมูลค่าหุ้นเหมือนกัน เพราะ ต้องต่อสู้กับเงินเฟ้อ ทำให้ค่าเงินเล็กลงด้วยครับ
แต่ถ้าเก็บเงินสดไว้ แล้วรอจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม แบบนี้มีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วแน่ ๆ ครับ เพราะเงินสดนั้นในที่สุดจะนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้และสร้างผลกำไรที่คุ้มค่าครับ
แต่ข้อระวังอย่างหนึ่งคือ หุ้นแบบนี้ต้องดูผู้บริหารด้วยว่าเป็นอย่างไรประกอบด้วย เพราะเงินสดก็ไม่ค่อยเข้าใครออกใครเหมือนกัน สามารถผ่องถ่ายในรูปแบบอื่น ๆ ได้ด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
จากที่สังเกตุมาพบว่า...
โพสต์ที่ 6
การที่บริษัทที่มีเงินสดมาก ต้องระวังเหมือนกันครับ ในแง่ของบริษัท อาจนำเงินสดไปหาประโยชน์ไม่คุ้มค่าก็ได้ เหมือนที่ผมได้ตั้งประเด็นไว้แล้วครับ
กลต.สะกิดบจ.รวยเงินสดอย่าริปั่นหุ้น
โพสต์ทูเดย์ ก.ล.ต.จับตาบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ที่มีเงินสดล้น หวั่นนำไปเทรดหุ้นกระตุ้นเก็งกำไร
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า สำนักงาน ก.ล.ต.ได้ติดตามและจับตาบัญชีการลงทุน (พอร์ต) ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือโบรกเกอร์ และบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่มีกระแสเงินสดจำนวนมาก เนื่องจากเกรงว่าจะมีการนำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้น จนนำไปสู่การเข้าไปสนับสนุนราคาหุ้นได้
สำหรับสาเหตุที่สำนักงาน ก.ล.ต.ต้องเข้าไปดูแลพอร์ตเหล่านี้ เพราะเกรงว่า บริษัทที่มีกระแสเงินสดเหลือจำนวนมาก แต่มีทุนจดทะเบียนต่ำ อาจถูกครอบงำกิจการได้ง่าย จากผู้ที่หวังประโยชน์จากเงินสดเพื่อนำไปลงทุน
ขณะที่อำนาจของ ก.ล.ต.คงไม่สามารถไปก้าวล่วงได้ ซึ่งการดำเนินการต่างๆ ของ บจ.อยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการที่ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นสิทธิของบริษัท
ทิศทางนี้เริ่มเห็นตั้งแต่ต้นปีที่ ผ่านมา และ ก.ล.ต.ได้เริ่มดู ซึ่งในส่วน บจ. เรา (ก.ล.ต.) คงทำอะไรไม่ได้มาก เพราะการลงทุนเป็นสิทธิของเขา เพียงแต่เราจะส่งสารให้รู้ว่าหากทำอะไรผิดเราตามดูอยู่นะ นายประเวช กล่าว
สำหรับการดูแลพอร์ตโบรกเกอร์ บริษัทหลักทรัพย์จะมีการรายงานการลงทุนต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ทุกเดือน และ ก.ล.ต.มีอำนาจในการดูแลในฐานะเป็นผู้อนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ จึงไม่มีปัญหาในการกำกับดูแล
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ก.ล.ต. ไม่มีความเป็นห่วงฐานะการเงินของโบรกเกอร์ โดยภาพรวมมีอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสุทธิ (เอ็นซีอาร์) อยู่ในระดับสูง เกินเกณฑ์กำหนด แต่ห่วงพฤติกรรมของโบรกเกอร์มากกว่า ซึ่งมักจะพบว่าไม่ทำตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ขาดระบบควบคุมภายในที่ดี เป็นต้น
นายตระการ นพเมือง ผู้ อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจแนะนำการลงทุน สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวถึงสถิติการลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาด(มาร์เก็ตติง) ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ พบว่า มีจำนวน 38 ราย จากจำนวนมาร์เก็ตติงที่ให้บริการจริงจำนวน 19,534 ราย
ก.ล.ต.ลงโทษเพิกถอนใบอนุญาตจากการทุจริตฉ้อโกง 4 ราย สั่งพัก 10 ราย และภาคทัณฑ์ 24 ราย เทียบกับทั้งปี 2549 มีการลงโทษมาร์เก็ตติงรวมทั้งสิ้น 46 ราย แบ่งเป็นเพิกถอนใบอนุญาต 6 ราย สั่งพัก 11 ราย ภาคทัณฑ์ 29 ราย
ก่อนหน้านี้มี บจ. และ บล. หลายรายที่นำเงินเพิ่มทุนไปลงทุนในตลาดหุ้น ในลักษณะการเก็งกำไรในทางที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น โดยให้ เหตุผลว่าเป็นการบริหารเงินที่ให้ผลตอบแทนรวดเร็ว แต่ก็มีความเสี่ยงสูง เช่นกัน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์เกรงว่า เป็นการลงทุนที่ผิดวัตถุประสงค์การเพิ่มทุน และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัท
ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ได้สั่งให้บริษัท บลิส-เทล (BLISS) บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอนจีเนียริง และบริษัท ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น (LIVE) ชี้แจงนโยบายการ ลงทุนในหุ้นที่มีความเกี่ยวโยงกันทั้งสิ้น และเป็นกลุ่มหุ้น เดียวกัน
กลต.สะกิดบจ.รวยเงินสดอย่าริปั่นหุ้น
โพสต์ทูเดย์ ก.ล.ต.จับตาบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ที่มีเงินสดล้น หวั่นนำไปเทรดหุ้นกระตุ้นเก็งกำไร
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า สำนักงาน ก.ล.ต.ได้ติดตามและจับตาบัญชีการลงทุน (พอร์ต) ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือโบรกเกอร์ และบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่มีกระแสเงินสดจำนวนมาก เนื่องจากเกรงว่าจะมีการนำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้น จนนำไปสู่การเข้าไปสนับสนุนราคาหุ้นได้
สำหรับสาเหตุที่สำนักงาน ก.ล.ต.ต้องเข้าไปดูแลพอร์ตเหล่านี้ เพราะเกรงว่า บริษัทที่มีกระแสเงินสดเหลือจำนวนมาก แต่มีทุนจดทะเบียนต่ำ อาจถูกครอบงำกิจการได้ง่าย จากผู้ที่หวังประโยชน์จากเงินสดเพื่อนำไปลงทุน
ขณะที่อำนาจของ ก.ล.ต.คงไม่สามารถไปก้าวล่วงได้ ซึ่งการดำเนินการต่างๆ ของ บจ.อยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการที่ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นสิทธิของบริษัท
ทิศทางนี้เริ่มเห็นตั้งแต่ต้นปีที่ ผ่านมา และ ก.ล.ต.ได้เริ่มดู ซึ่งในส่วน บจ. เรา (ก.ล.ต.) คงทำอะไรไม่ได้มาก เพราะการลงทุนเป็นสิทธิของเขา เพียงแต่เราจะส่งสารให้รู้ว่าหากทำอะไรผิดเราตามดูอยู่นะ นายประเวช กล่าว
สำหรับการดูแลพอร์ตโบรกเกอร์ บริษัทหลักทรัพย์จะมีการรายงานการลงทุนต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ทุกเดือน และ ก.ล.ต.มีอำนาจในการดูแลในฐานะเป็นผู้อนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ จึงไม่มีปัญหาในการกำกับดูแล
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ก.ล.ต. ไม่มีความเป็นห่วงฐานะการเงินของโบรกเกอร์ โดยภาพรวมมีอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสุทธิ (เอ็นซีอาร์) อยู่ในระดับสูง เกินเกณฑ์กำหนด แต่ห่วงพฤติกรรมของโบรกเกอร์มากกว่า ซึ่งมักจะพบว่าไม่ทำตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ขาดระบบควบคุมภายในที่ดี เป็นต้น
นายตระการ นพเมือง ผู้ อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจแนะนำการลงทุน สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวถึงสถิติการลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาด(มาร์เก็ตติง) ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ พบว่า มีจำนวน 38 ราย จากจำนวนมาร์เก็ตติงที่ให้บริการจริงจำนวน 19,534 ราย
ก.ล.ต.ลงโทษเพิกถอนใบอนุญาตจากการทุจริตฉ้อโกง 4 ราย สั่งพัก 10 ราย และภาคทัณฑ์ 24 ราย เทียบกับทั้งปี 2549 มีการลงโทษมาร์เก็ตติงรวมทั้งสิ้น 46 ราย แบ่งเป็นเพิกถอนใบอนุญาต 6 ราย สั่งพัก 11 ราย ภาคทัณฑ์ 29 ราย
ก่อนหน้านี้มี บจ. และ บล. หลายรายที่นำเงินเพิ่มทุนไปลงทุนในตลาดหุ้น ในลักษณะการเก็งกำไรในทางที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น โดยให้ เหตุผลว่าเป็นการบริหารเงินที่ให้ผลตอบแทนรวดเร็ว แต่ก็มีความเสี่ยงสูง เช่นกัน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์เกรงว่า เป็นการลงทุนที่ผิดวัตถุประสงค์การเพิ่มทุน และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัท
ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ได้สั่งให้บริษัท บลิส-เทล (BLISS) บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอนจีเนียริง และบริษัท ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น (LIVE) ชี้แจงนโยบายการ ลงทุนในหุ้นที่มีความเกี่ยวโยงกันทั้งสิ้น และเป็นกลุ่มหุ้น เดียวกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
จากที่สังเกตุมาพบว่า...
โพสต์ที่ 8
อันนั้นก็ case หนึ่ง
แล้วสงสัยหรือเปล่า ทำไมบริษัทถึงต้องถือเงินมากๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว
ต้องไปถามผู้บริหารว่า คิดโครงการอะไรไว้ในใจ
เพราะเงินสดในระบบบัญชีนั้นคือ เงินสดจริงๆ หรือเงินสดที่ฝากในบัญชีกระแสเงินสดหรือออมทรัพย์เท่านั้น
เห็นได้ว่า อัตราดอกเบี้ยมันต่ำขนาดนั้น แล้วบริษัทถือเงินสดทำไม ไม่เอาไปลงทุนเพิ่ม
ถ้ามองลึกลงไป เป็นช่วงที่เกิดอะไรผิดปกติหรือเปล่า
ทั้งมองคนรอบข้าง หรือ มองตัวเอง หรือ ภาพรวมทั้งหมด ว่ามีอะไรผิดปกติรวมด้วย
ถ้าไม่มีต้องคิดต่อไปว่า บริษัทมันทำอะไรกันแน่
ที่ถืออยู่ก็เจอหลายบริษัทน่า ที่มีเงินสดมาก
แต่ยอมรับว่า บริษัทพวกนี้ยังใช้เงินในการลงทุนอยู่
เลยต้องถือเงินสดเอาไว้
แล้วสงสัยหรือเปล่า ทำไมบริษัทถึงต้องถือเงินมากๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว
ต้องไปถามผู้บริหารว่า คิดโครงการอะไรไว้ในใจ
เพราะเงินสดในระบบบัญชีนั้นคือ เงินสดจริงๆ หรือเงินสดที่ฝากในบัญชีกระแสเงินสดหรือออมทรัพย์เท่านั้น
เห็นได้ว่า อัตราดอกเบี้ยมันต่ำขนาดนั้น แล้วบริษัทถือเงินสดทำไม ไม่เอาไปลงทุนเพิ่ม
ถ้ามองลึกลงไป เป็นช่วงที่เกิดอะไรผิดปกติหรือเปล่า
ทั้งมองคนรอบข้าง หรือ มองตัวเอง หรือ ภาพรวมทั้งหมด ว่ามีอะไรผิดปกติรวมด้วย
ถ้าไม่มีต้องคิดต่อไปว่า บริษัทมันทำอะไรกันแน่
ที่ถืออยู่ก็เจอหลายบริษัทน่า ที่มีเงินสดมาก
แต่ยอมรับว่า บริษัทพวกนี้ยังใช้เงินในการลงทุนอยู่
เลยต้องถือเงินสดเอาไว้
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
จากที่สังเกตุมาพบว่า...
โพสต์ที่ 9
มี Case หนึ่งคือ GMMM ที่ถือเงินสดไว้มาก เพราะตอนนั้นคาดว่าจะต้องใช้เงินสดเพื่อประมูลสัมปทานสื่อต่าง ๆ เช่นวิทยุ แต่เอาเข้าจริงปรากฏว่าไม่คุ้ม ต้องเลิกทำวิทยุไปบางช่อง ตอนหลังเลยเปลี่ยนไปซื้อหุ้นสื่อสิ่งพิมพ์แทน แต่มูลค่าของบริษัทในปัจจุบัน ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่ราคากลับปรับลดลงมากเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา เพราะธุรกิจหลักวิทยุแย่ลงเรื่อย ๆ
KGI เป็นอีก case หนึ่ง ในอดีตหลังจาก ผู้ถือหุ้นใหญ่ กลุ่ม คูล Takeover จากผุ้ถือหุ้นเก่าได้ ก็นำเงินสดส่วนเกินจำนวนมาก ลดทุนและจ่ายคืนกลับไปยังผู้ถือหุ้นเดิม แบบนี้ก็ดีไปอย่างผู้ถือหุ้นก็ได้เงินสดกลับคืนมาลดต้นทุน
PSL ก็เป็นบริษัทแห่งหนึ่งที่บริหารเงินสดได้ดี กล่าวคือ เมื่อมีสภาพคล่องส่วนเกิน ก็อาจนำไปซื้อหุ้นคืน หรือนำไปลดหนี้เงินกู้จำนวนมาก หรือนำไปจ่ายหุ้นปันผลมากขึ้น เป็นต้น ทำให้ความเสี่ยงการเงินลดลง เพิมผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น และส่งผลให้มูลค่าหุ้นสูงขึ้น เป็นต้น
ล่าสุด Pha หลังจากมีข่าวควบรวมกิจการกับเมืองไทยประกันภัย ทำให้ผู้บริหารมองว่าน่าจะมีกระแสเงินสดส่วนเกินอยู่หลังจากควบรวมกิจการกันได้ ทำให้ตัดสินใจประกาศจ่ายปันผลในอัตราสูงถึงหุ้นละ 50 บาทต่อหุ้น
หรือหุ้น Zmico ที่มีกระแสเงินสดอยู่มาก ถูกกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่กลุ่มใหม่เปลี่ยนแปลงมติของกรรมการ ให้จ่ายปันผลในอัตราที่สูงขึ้นกลับคืนไปยังผู้ถือหุ้น
จะเห็นได้ว่า การมีกระแสเงินสดส่วนเกินอยู่มาก กรณีที่ไม่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ ก็พบว่าบางบริษัทตัดสินใจนำไปชำระหนี้คืนก่อนกำหนด คืนเงินสดกลับคืนไปยังผุ้ถือหุ้น ซื้อหุ้นคืน หรือจ่ายเป็นหุ้นปันผล อันนี้ก็ดีไปอย่าง ทำให้แน่ใจได้ว่าจะไม่มีการนำเงินสดไปใช้ลงทุนและใช้ประโยชน์จากเงินสดส่วนเกินไปอย่างไม่คุ้มค่ากับผู้ถือหุ้น
บางบริษัทมีเงินเหลือมาก ฝ่ายบริหารก็กลัวผุ้ถือหุ้นจะขอนำเงินสดส่วนเกินจ่ายปันผลเพิ่ม ทำให้บางครั้งฝ่ายบริหารเลยตัดสินใจนำเงินสดไปใช้ไม่คุ้มค่า เอาไปซื้อกิจการที่แย่ ๆ ก็มี ซึ่งตรงนี้จะส่งผลเสียกับผู้ถือหุ้นอย่างมาก ทำให้มูลค่าหุ้นมันลดลง
ดังนั้น การมีเงินสดอยู่มาก จึงต้องดูว่าบริษัทจะเอาเงินสดเก็บไว้เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์อะไรในอนาคต ถ้าไม่ได้นำไปใช้นั้น ผมคิดว่าคืนกลับไปยังผู้ถือหุ้นทั้งหมดดีกว่าครับ เพราะให้ผู้ถือหุ้นเป็นผู้ตัดสินใจเองในการนำเงินดังกล่าวไปหาประโยชน์กันเองดีกว่าครับ
ดังนั้นทำให้ผมเกิดความคิดว่า กรณีถ้าบริษัทใดมีเงินสดส่วนเกินอยู่มาก ผู้ถือหุ้นจึงควรซักถามในการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อสอบถามถึงประเด็นการใช้ประโยชน์ส่วนเกินตรงนี้ว่าบริษัทมีแผนงานและโครงการจะไปใช้ให้เกิดประโยชน์อะไร และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มกับผู้ถือหุ้นอย่างไรให้ชัดเจน
เช่น ลงทุนอะไร แล้วผลตอบแทนคุ้มค่าอย่างไร แต่ถ้าตอบไม่ได้ ผุ้ถือหุ้นน่าจะขอให้บริษัทคืนเงินสดกลับคืนมายังผุ้ถือหุ้นทุกคนดีกว่าเพื่อไปหาประโยชน์จากการลงทุนเพิ่มเติม ดีกว่าปล่อยให้บริษัทนำเงินสดเก็บไว้แล้วไม่ได้สร้างประโยชน์เท่าที่ควรครับ
KGI เป็นอีก case หนึ่ง ในอดีตหลังจาก ผู้ถือหุ้นใหญ่ กลุ่ม คูล Takeover จากผุ้ถือหุ้นเก่าได้ ก็นำเงินสดส่วนเกินจำนวนมาก ลดทุนและจ่ายคืนกลับไปยังผู้ถือหุ้นเดิม แบบนี้ก็ดีไปอย่างผู้ถือหุ้นก็ได้เงินสดกลับคืนมาลดต้นทุน
PSL ก็เป็นบริษัทแห่งหนึ่งที่บริหารเงินสดได้ดี กล่าวคือ เมื่อมีสภาพคล่องส่วนเกิน ก็อาจนำไปซื้อหุ้นคืน หรือนำไปลดหนี้เงินกู้จำนวนมาก หรือนำไปจ่ายหุ้นปันผลมากขึ้น เป็นต้น ทำให้ความเสี่ยงการเงินลดลง เพิมผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น และส่งผลให้มูลค่าหุ้นสูงขึ้น เป็นต้น
ล่าสุด Pha หลังจากมีข่าวควบรวมกิจการกับเมืองไทยประกันภัย ทำให้ผู้บริหารมองว่าน่าจะมีกระแสเงินสดส่วนเกินอยู่หลังจากควบรวมกิจการกันได้ ทำให้ตัดสินใจประกาศจ่ายปันผลในอัตราสูงถึงหุ้นละ 50 บาทต่อหุ้น
หรือหุ้น Zmico ที่มีกระแสเงินสดอยู่มาก ถูกกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่กลุ่มใหม่เปลี่ยนแปลงมติของกรรมการ ให้จ่ายปันผลในอัตราที่สูงขึ้นกลับคืนไปยังผู้ถือหุ้น
จะเห็นได้ว่า การมีกระแสเงินสดส่วนเกินอยู่มาก กรณีที่ไม่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ ก็พบว่าบางบริษัทตัดสินใจนำไปชำระหนี้คืนก่อนกำหนด คืนเงินสดกลับคืนไปยังผุ้ถือหุ้น ซื้อหุ้นคืน หรือจ่ายเป็นหุ้นปันผล อันนี้ก็ดีไปอย่าง ทำให้แน่ใจได้ว่าจะไม่มีการนำเงินสดไปใช้ลงทุนและใช้ประโยชน์จากเงินสดส่วนเกินไปอย่างไม่คุ้มค่ากับผู้ถือหุ้น
บางบริษัทมีเงินเหลือมาก ฝ่ายบริหารก็กลัวผุ้ถือหุ้นจะขอนำเงินสดส่วนเกินจ่ายปันผลเพิ่ม ทำให้บางครั้งฝ่ายบริหารเลยตัดสินใจนำเงินสดไปใช้ไม่คุ้มค่า เอาไปซื้อกิจการที่แย่ ๆ ก็มี ซึ่งตรงนี้จะส่งผลเสียกับผู้ถือหุ้นอย่างมาก ทำให้มูลค่าหุ้นมันลดลง
ดังนั้น การมีเงินสดอยู่มาก จึงต้องดูว่าบริษัทจะเอาเงินสดเก็บไว้เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์อะไรในอนาคต ถ้าไม่ได้นำไปใช้นั้น ผมคิดว่าคืนกลับไปยังผู้ถือหุ้นทั้งหมดดีกว่าครับ เพราะให้ผู้ถือหุ้นเป็นผู้ตัดสินใจเองในการนำเงินดังกล่าวไปหาประโยชน์กันเองดีกว่าครับ
ดังนั้นทำให้ผมเกิดความคิดว่า กรณีถ้าบริษัทใดมีเงินสดส่วนเกินอยู่มาก ผู้ถือหุ้นจึงควรซักถามในการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อสอบถามถึงประเด็นการใช้ประโยชน์ส่วนเกินตรงนี้ว่าบริษัทมีแผนงานและโครงการจะไปใช้ให้เกิดประโยชน์อะไร และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มกับผู้ถือหุ้นอย่างไรให้ชัดเจน
เช่น ลงทุนอะไร แล้วผลตอบแทนคุ้มค่าอย่างไร แต่ถ้าตอบไม่ได้ ผุ้ถือหุ้นน่าจะขอให้บริษัทคืนเงินสดกลับคืนมายังผุ้ถือหุ้นทุกคนดีกว่าเพื่อไปหาประโยชน์จากการลงทุนเพิ่มเติม ดีกว่าปล่อยให้บริษัทนำเงินสดเก็บไว้แล้วไม่ได้สร้างประโยชน์เท่าที่ควรครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 689
- ผู้ติดตาม: 0
จากที่สังเกตุมาพบว่า...
โพสต์ที่ 10
2 ตัวแรกผมว่ามีโอกาสครับ จิงๆแร้วส์ต้องบอกว่ามีโอกาสทั้ง 3 ตัวนั่นแหละ...แต่ผมไม่ค่อยชอบspsu เท่าไหร่เพราะ ธุรกิจแบบนี้ ต่อให้มีเงินสดมากแค่ไหน...เวลาธุรกิจเป็นขาลง...เงินที่สะสมมาแทบตายก้อแทบจะสลายไปอย่างรวดเร็วกลายเป็นหนี้ได้เช่นกัน... :roll: :roll: :roll:CVD FANCY SPSU บริษัทเหล่านี้มีเงินสดอยู่มาก หนี้เงินกู้ไม่มีเลย จะฟื้นไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
จากที่สังเกตุมาพบว่า...
โพสต์ที่ 12
Case ของหุ้นยอดฮิต (ของเหล่า TVI)
UEC ตัวนี้ สะสมเงินไว้ซื้อที่ดิน และ ขยายโรงงาน
เห็นได้ว่า ปีแรก และปีที่สอง เงินเหลือเพียบ
เพราะซื้อที่ดินไม่ได้ตามที่ต้องการ เลยเงินสดเหลือบานตะเกียงเลย
นี้ก็ตัวอย่างหนึ่ง
หรือ โรงแรม SHANG อันนี้ก็ถือเงินสดไว้มาก ตัวธุรกิจมันขยายงานโรงแรมอยู่
พวกนี้คือ case ที่น่าสนใจว่า ขยายงานประสบความสำเร็จหรือเปล่า
ส่วนพวกที่ถือเงินสดมากๆไม่ได้ทำอะไรมีหรือเปล่า
ช่วยกันขุดหน่อยล่ะกัน
UEC ตัวนี้ สะสมเงินไว้ซื้อที่ดิน และ ขยายโรงงาน
เห็นได้ว่า ปีแรก และปีที่สอง เงินเหลือเพียบ
เพราะซื้อที่ดินไม่ได้ตามที่ต้องการ เลยเงินสดเหลือบานตะเกียงเลย
นี้ก็ตัวอย่างหนึ่ง
หรือ โรงแรม SHANG อันนี้ก็ถือเงินสดไว้มาก ตัวธุรกิจมันขยายงานโรงแรมอยู่
พวกนี้คือ case ที่น่าสนใจว่า ขยายงานประสบความสำเร็จหรือเปล่า
ส่วนพวกที่ถือเงินสดมากๆไม่ได้ทำอะไรมีหรือเปล่า
ช่วยกันขุดหน่อยล่ะกัน