ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 32
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 1
อยากทราบน่ะค่ะว่าค่า PE ที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มธุรกิจทำไมจึงไม่เท่ากัน เช่นบางธุรกิจ PE =10 ถือว่าเหมาะสม แต่บางธุรกิจ PE = 10 อาจจะสูงเกินไป เราจะมีวิธีในการดูอย่างไรคะว่ากลุ่มธุรกิจไหนควรมีค่า PE ที่ประมาณเท่าไหร่ หรือว่าควรเปรียบเทียบกับ PE ของตลาดได้เลย
รบกวนท่านกูรูทั้งหลายช่วยให้ความรู้เป็นวิทยาทานด้วยเถอะค่ะ งงจังแล้ว
รบกวนท่านกูรูทั้งหลายช่วยให้ความรู้เป็นวิทยาทานด้วยเถอะค่ะ งงจังแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 2
ไม่ต้องไปดูกลุ่มหรอก ดูตัวหุ้นที่เราซื้อว่า pe ที่เราอยากซื้อควรอยู่ที่เท่าไรเพราะอะไร
เช่น ถ้าไปเจอหุ้น มีกำไรโต 100 % แล้ว pe ยังต่ำ 8 น่าซื้อหรือไม่
ก็ต้องคิดเองครับ
...........................................................................
ถ้ามีหุ้น 10 ตัวในกลุ่มเดียวกัน อีก 9 ตัว ผลประกอบการแย่ แต่มี 1 ตัวผลประกอบการณ์ดี
ค่าเฉลี่ย pe ของกลุ่มคงจะแย่แน่ๆ
แต่ อีกตัวที่ผลประกอบการดี pe ก็ควรสูงครับ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับในกลุ่มเดียวกัน หุ้นตัวนี้จะโดดเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจากดีอยู่ตัวเดียว
เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปเทียบกับกลุ่มหรอก
เช่น ถ้าไปเจอหุ้น มีกำไรโต 100 % แล้ว pe ยังต่ำ 8 น่าซื้อหรือไม่
ก็ต้องคิดเองครับ
...........................................................................
ถ้ามีหุ้น 10 ตัวในกลุ่มเดียวกัน อีก 9 ตัว ผลประกอบการแย่ แต่มี 1 ตัวผลประกอบการณ์ดี
ค่าเฉลี่ย pe ของกลุ่มคงจะแย่แน่ๆ
แต่ อีกตัวที่ผลประกอบการดี pe ก็ควรสูงครับ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับในกลุ่มเดียวกัน หุ้นตัวนี้จะโดดเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจากดีอยู่ตัวเดียว
เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปเทียบกับกลุ่มหรอก
-
- Verified User
- โพสต์: 32
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 3
ถ้าพี่เจ๋งว่าอย่างนี้หมายถึงว่าตัวที่ผลประกอบการดีที่สุดในกลุ่มถึงแม้ PE จะสูงแต่ก็ยังน่าซื้ออยู่ใช่ไหมคะ ถ้ามีกำไรโตขึ้นทุกปี เพราะที่ผ่านมาพอหุ้นตัวไหนที่มี PEสูงเกิน 10 ก็จะไม่ค่อยมองแล้วเพราะคิดว่าแพงเกินไป (ถ้าปัจจัยพื้นฐานอื่นยังดีเหมือนเดิม)Jeng เขียน:ไม่ต้องไปดูกลุ่มหรอก ดูตัวหุ้นที่เราซื้อว่า pe ที่เราอยากซื้อควรอยู่ที่เท่าไรเพราะอะไร
เช่น ถ้าไปเจอหุ้น มีกำไรโต 100 % แล้ว pe ยังต่ำ 8 น่าซื้อหรือไม่
ก็ต้องคิดเองครับ
...........................................................................
ถ้ามีหุ้น 10 ตัวในกลุ่มเดียวกัน อีก 9 ตัว ผลประกอบการแย่ แต่มี 1 ตัวผลประกอบการณ์ดี pe ของกลุ่มคงจะแย่แน่ๆ
แต่ อีกตัวที่ผลประกอบการดี pe ก็ควรสูงครับ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับในกลุ่มเดียวกัน หุ้นตัวนี้จะโดดเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจากดีอยู่ตัวเดียว
เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปเทียบกับกลุ่มหรอก
อย่างหุ้นกลุ่มเดินเรือ PE ต่ำมากดูแล้วน่าสนใจ แต่หุ้น TTA ที่มีพื้นฐานดีก็ราคาอยู่สูงจนไม่กล้าซื้อเลยค่ะ
เป็นโรคกลัวความสูงน่ะค่ะ
- metro
- Verified User
- โพสต์: 861
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 7
ก็น่าจะพิจารณาตามที่พี่เจ๋งบอกนะครับ
สมมติ หุ้นตัวนึง PE 8 เท่า แต่ปีหน้ากำไรลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ และแนวโน้มเป็นขาลง ปีหน้าราคาปัจจุบันก็จะกลายเป็น PE 16 เท่าครับ และแนวโน้มก็จะแพงไปเรื่อย
ขณะที่หุ้นอีก 1 ตัว PE 8 เท่า แต่ปีหน้ากำไรเติบโตเท่าตัว แลแนวโน้มยังเติบโตได้ PE ปีหน้าก็จะเหลือแค่ 4 เท่า และแนวโน้มก็ยังจะถุกลงไปเรื่อยๆครับ
คิดว่าต้องดูหลายๆปัจจัยมากกว่านะครับ การที่นายตลาดให้ PE แต่ละตัวไม่เท่ากัน คงต้องดุว่าบริษัทนั้นๆกำไรเติบโตอย่างยั่งยืนมั้ย ถ้าอนาคตดี มี Barrier of new Entry คนข้างสูง ยังไงมันก็เติบโตไปเรื่อยๆ นายตลาดคงให้ PE ค่อนข้างสูงจากการที่สามารถเติบโตได้ในอนาคต และไม่มีคู่แข่งครับ
สมมติ หุ้นตัวนึง PE 8 เท่า แต่ปีหน้ากำไรลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ และแนวโน้มเป็นขาลง ปีหน้าราคาปัจจุบันก็จะกลายเป็น PE 16 เท่าครับ และแนวโน้มก็จะแพงไปเรื่อย
ขณะที่หุ้นอีก 1 ตัว PE 8 เท่า แต่ปีหน้ากำไรเติบโตเท่าตัว แลแนวโน้มยังเติบโตได้ PE ปีหน้าก็จะเหลือแค่ 4 เท่า และแนวโน้มก็ยังจะถุกลงไปเรื่อยๆครับ
คิดว่าต้องดูหลายๆปัจจัยมากกว่านะครับ การที่นายตลาดให้ PE แต่ละตัวไม่เท่ากัน คงต้องดุว่าบริษัทนั้นๆกำไรเติบโตอย่างยั่งยืนมั้ย ถ้าอนาคตดี มี Barrier of new Entry คนข้างสูง ยังไงมันก็เติบโตไปเรื่อยๆ นายตลาดคงให้ PE ค่อนข้างสูงจากการที่สามารถเติบโตได้ในอนาคต และไม่มีคู่แข่งครับ
- ดาวหางสีแดง
- Verified User
- โพสต์: 635
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 8
ผมว่าก็เป็นอย่างที่คุณ Jeng ว่าไว้นะครับ
ควรที่จะพิจารณาเป็นตัวๆเลย
การที่ดูแค่ PE (หรือตัวชี้วัดอื่นๆ)เพียงตัวเดียวเป็นเรื่องที่เสี่ยงเกินไป
แต่ถ้าถามว่าทำไม PE ของแต่ละกลุ่มถึงไม่เท่ากัน
ผมว่ามันก็มีเหตุผลเหมือนกันนะครับ
อย่างกลุ่มค้าปลีก พวกนี้จะขายสินค้าเป็นเงินสด แต่มีต้นทุนซื้อของเป็นเงินเชื่อ ทำให้มีกระแสเงินสดสุทธิ(FCF) สูง เวลาวัดมูลค่าออกมา สมมติว่าด้วยวิธี DCF ก็เลยมีมูลค่าสูง ดังนั้นตลาดก็เลยให้ PE สูงตามไปด้วย
หรืออย่างหุ้นที่มีการเติบโตสูงเวลาวัดมูลค่าด้วย DCF มันก็จะสูง PE ก็สูงตามไปด้วย
สรุปก็คือถ้าวัดมูลค่าออกมาแล้วมันต่ำ PE มันก็จะต่ำตามไปด้วย
ส่วนประเด็นที่วัดมูลค่าออกมาแล้วต่ำก็เช่น
เครดิตให้ลูกค้านานๆ, มีหนี้มาก, มีความเสี่ยงสูงทางธุรกิจสูง(เบต้าสูง),
ต้องใช้เงินลงทุนมาก(กระแสเงินสดสุทธิจะต่ำ), ขายสินค้าได้ช้า(ต้องมีสินค้าคงคลังมาก)
ปัจจัยพวกนี้ทำให้เวลาวัดมูลค่าด้วยวิธีอื่นเช่น DCF จะได้มูลค่าออกมาต่ำ
ทำให้ตลาดให้ PE ต่ำตามไปด้วย
ควรที่จะพิจารณาเป็นตัวๆเลย
การที่ดูแค่ PE (หรือตัวชี้วัดอื่นๆ)เพียงตัวเดียวเป็นเรื่องที่เสี่ยงเกินไป
แต่ถ้าถามว่าทำไม PE ของแต่ละกลุ่มถึงไม่เท่ากัน
ผมว่ามันก็มีเหตุผลเหมือนกันนะครับ
อย่างกลุ่มค้าปลีก พวกนี้จะขายสินค้าเป็นเงินสด แต่มีต้นทุนซื้อของเป็นเงินเชื่อ ทำให้มีกระแสเงินสดสุทธิ(FCF) สูง เวลาวัดมูลค่าออกมา สมมติว่าด้วยวิธี DCF ก็เลยมีมูลค่าสูง ดังนั้นตลาดก็เลยให้ PE สูงตามไปด้วย
หรืออย่างหุ้นที่มีการเติบโตสูงเวลาวัดมูลค่าด้วย DCF มันก็จะสูง PE ก็สูงตามไปด้วย
สรุปก็คือถ้าวัดมูลค่าออกมาแล้วมันต่ำ PE มันก็จะต่ำตามไปด้วย
ส่วนประเด็นที่วัดมูลค่าออกมาแล้วต่ำก็เช่น
เครดิตให้ลูกค้านานๆ, มีหนี้มาก, มีความเสี่ยงสูงทางธุรกิจสูง(เบต้าสูง),
ต้องใช้เงินลงทุนมาก(กระแสเงินสดสุทธิจะต่ำ), ขายสินค้าได้ช้า(ต้องมีสินค้าคงคลังมาก)
ปัจจัยพวกนี้ทำให้เวลาวัดมูลค่าด้วยวิธีอื่นเช่น DCF จะได้มูลค่าออกมาต่ำ
ทำให้ตลาดให้ PE ต่ำตามไปด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 391
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 9
เป็นคำถามที่ดีมากครับเพราะ
1. เป็นวิธีการประเมิน "คุณค่า" ของหุ้นที่เราจะซื้อและจะขาย
2. ถ้าเราประเมิน "คุณค่า" ไม่ออก ก็ย่อมจะเกิดอาการ "ขายหมู" หรือ "ตกรถ" ได้บ่อยๆ
3.วิธีการประเมิน "คุณค่า" นี้ ผมว่าเป็นหัวใจของแนวทางวีไอ เพราะเมื่อไหร่ที่"คุณค่า" ในตัวหุ้นมีน้อยกว่า "ราคา"ที่กำลังซื้อขายกันอยู่ เราก็ควรจะขายได้แล้วถ้าเรามีอยู่ และถ้าเราไม่มีก็ไม่ควรเข้าไปยุ่ง
4. หุ้นดีเพียงใด ถ้าราคา overvalue ก็ไม่น่าซื้อ หุ้นแย่เพียงใดถ้า undervalue มากๆก็ยังน่าซื้อมากกว่า
5. วิธีใช้ pe มาประเมินเป็นวิธีที่ง่ายๆไม่ซับซ้อนและได้ผลค่อนข้างดี
6.วิธี DCF เป็นวิธีที่ซับซ้อนละเอียดยิบและยากต่อการเข้าใจมากกว่าและยังมีความแปรปรวนสูงกว่า แล้วยังมีโอกาสผิดพลาดได้สูง
7.นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือตัวอื่นๆที่สมควรนำมาคิดเช่น กระแสเงินสดที่บริษัททำได้ และอื่นๆอีกมากมาประกอบกัน การใช้เครื่องมือตัวเดียวจะได้มุมมองมิติเดียว
1. เป็นวิธีการประเมิน "คุณค่า" ของหุ้นที่เราจะซื้อและจะขาย
2. ถ้าเราประเมิน "คุณค่า" ไม่ออก ก็ย่อมจะเกิดอาการ "ขายหมู" หรือ "ตกรถ" ได้บ่อยๆ
3.วิธีการประเมิน "คุณค่า" นี้ ผมว่าเป็นหัวใจของแนวทางวีไอ เพราะเมื่อไหร่ที่"คุณค่า" ในตัวหุ้นมีน้อยกว่า "ราคา"ที่กำลังซื้อขายกันอยู่ เราก็ควรจะขายได้แล้วถ้าเรามีอยู่ และถ้าเราไม่มีก็ไม่ควรเข้าไปยุ่ง
4. หุ้นดีเพียงใด ถ้าราคา overvalue ก็ไม่น่าซื้อ หุ้นแย่เพียงใดถ้า undervalue มากๆก็ยังน่าซื้อมากกว่า
5. วิธีใช้ pe มาประเมินเป็นวิธีที่ง่ายๆไม่ซับซ้อนและได้ผลค่อนข้างดี
6.วิธี DCF เป็นวิธีที่ซับซ้อนละเอียดยิบและยากต่อการเข้าใจมากกว่าและยังมีความแปรปรวนสูงกว่า แล้วยังมีโอกาสผิดพลาดได้สูง
7.นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือตัวอื่นๆที่สมควรนำมาคิดเช่น กระแสเงินสดที่บริษัททำได้ และอื่นๆอีกมากมาประกอบกัน การใช้เครื่องมือตัวเดียวจะได้มุมมองมิติเดียว
-
- Verified User
- โพสต์: 391
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 10
คำถามว่า ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ ควรจะเป็นเท่าไหร่และอย่างไรนั้น ผมคิดว่า ถ้าจะเอาแบบมีหลักมีเกณฑ์ ผมว่าหนังสือที่แม่ทัพสุมาอี้เขียนไว้นั้นได้ประโยชน์มากแต่อาจจะอ่านยากสักหน่อยเพราะมีศัพท์เทคนิคค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าจะเอาแบบง่ายๆก็น่าจะเป็นดังนี้ครับ
1. เราควรเอากลุ่มธุรกิจมาคิดด้วย เพราะกลุ่มธุรกิจเดียวกันจะมีวิธีหาเงินคล้ายๆกัน มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบคล้ายๆกัน ภาวะคุกคามและโอกาสคล้ายๆกัน
2. เช่นกลุ่มอสังหาที่ต้องสร้างบ้านให้เสร็จถึงจะขายได้นั้น ไม่ควรได้ pe สูงมากนัก เพราะเป็นธุรกิจ "ตำข้าวสารกรอกหม้อ" กล่าวคือถ้าปีนี้ยอดขายดีและกำไรดีก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าปีหน้าจะดี นอกจากนี้ยังต้องการเงินลงทุนสูงๆตลอดเวลา อาจจะเพิ่มทุนเมื่อไหร่ก็ได้ซึ่งจะทำให้กำไรต่อหุ้นลดลงไปและไปดึงค่า peให้สูงขึ้นในอนาคต กลุ่มนี้ pe อยู่ในช่วง7-8 เท่า ผมก็ไม่กล้าซื้อแล้ว
3. กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจด้วย ถ้าดีกลุ่มนี้จะได้กำไรดีและโอกาสที่จะได้ดีต่อไปในปีหน้าก็มีมากกว่ากลุ่มอสังหาเพราะไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ใหม่เพราะเขามีลูกค้าเดิมอยู่แล้ว และลูกค้าจำนวนไม่น้อยอาจจะไม่อยากเปลี่ยนโรงพยาบาลเพราะมีประวัติเดิม มีหมอคนที่เขาไว้ใจมีทำเลที่เขาไปมาง่ายและสะดวก
4. แน่นอนว่าผู้นำในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมย่อมสมควรจะได้รับเครดิตในฐานะจ้าวตลาด และ pe ของผู้นำก็ควรจะสูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่แม้จะสูงกว่ากันเพียงใด แต่เมื่อเทียบระหว่างกลุ่มแล้วก็ไม่ได้หมายความว่า pe ควรจะเท่ากัน เช่น pe ของ LH ไม่ควรสูงเท่ากับ BH เป็นต้น
1. เราควรเอากลุ่มธุรกิจมาคิดด้วย เพราะกลุ่มธุรกิจเดียวกันจะมีวิธีหาเงินคล้ายๆกัน มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบคล้ายๆกัน ภาวะคุกคามและโอกาสคล้ายๆกัน
2. เช่นกลุ่มอสังหาที่ต้องสร้างบ้านให้เสร็จถึงจะขายได้นั้น ไม่ควรได้ pe สูงมากนัก เพราะเป็นธุรกิจ "ตำข้าวสารกรอกหม้อ" กล่าวคือถ้าปีนี้ยอดขายดีและกำไรดีก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าปีหน้าจะดี นอกจากนี้ยังต้องการเงินลงทุนสูงๆตลอดเวลา อาจจะเพิ่มทุนเมื่อไหร่ก็ได้ซึ่งจะทำให้กำไรต่อหุ้นลดลงไปและไปดึงค่า peให้สูงขึ้นในอนาคต กลุ่มนี้ pe อยู่ในช่วง7-8 เท่า ผมก็ไม่กล้าซื้อแล้ว
3. กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจด้วย ถ้าดีกลุ่มนี้จะได้กำไรดีและโอกาสที่จะได้ดีต่อไปในปีหน้าก็มีมากกว่ากลุ่มอสังหาเพราะไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ใหม่เพราะเขามีลูกค้าเดิมอยู่แล้ว และลูกค้าจำนวนไม่น้อยอาจจะไม่อยากเปลี่ยนโรงพยาบาลเพราะมีประวัติเดิม มีหมอคนที่เขาไว้ใจมีทำเลที่เขาไปมาง่ายและสะดวก
4. แน่นอนว่าผู้นำในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมย่อมสมควรจะได้รับเครดิตในฐานะจ้าวตลาด และ pe ของผู้นำก็ควรจะสูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่แม้จะสูงกว่ากันเพียงใด แต่เมื่อเทียบระหว่างกลุ่มแล้วก็ไม่ได้หมายความว่า pe ควรจะเท่ากัน เช่น pe ของ LH ไม่ควรสูงเท่ากับ BH เป็นต้น
- Luty97
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1552
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 11
ผมขอความเห็นเพื่อนๆ เปลี่ยนจากหัวข้อหน่อย เป็น PE เมื่อเทียบกับการเติบโตของ EPS ควรจะมีสัดส่วนกันอย่างไร ได้ไหมครับ
เช่นถ้าคิดว่าใน 3 ปี (เอาแค่นี้ก่อนเพราะมากกว่านี้ผมว่า ฟ้าเท่านั้นที่รู้ :lol: ) EPS จะสามารถโตได้ปีละ 25% ปีนี้ควรจะมีพีอีเท่าไร ???
หรือถ้าepsโต ปีละ 7% ละ พีอีเท่าไรดี?? ถ้าสัดส่วน 1:1 ก็จะได้พีอี 7 เท่า ยกตัวอย่างนะครับ
ลองเสนอๆกันดูนะครับ ขอมุมมองหน่อย :P
เช่นถ้าคิดว่าใน 3 ปี (เอาแค่นี้ก่อนเพราะมากกว่านี้ผมว่า ฟ้าเท่านั้นที่รู้ :lol: ) EPS จะสามารถโตได้ปีละ 25% ปีนี้ควรจะมีพีอีเท่าไร ???
หรือถ้าepsโต ปีละ 7% ละ พีอีเท่าไรดี?? ถ้าสัดส่วน 1:1 ก็จะได้พีอี 7 เท่า ยกตัวอย่างนะครับ
ลองเสนอๆกันดูนะครับ ขอมุมมองหน่อย :P
หลักของความสมดุล
- Luty97
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1552
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 12
^
^
^
ขอมุมมองคราวๆ ละกันนะครับ เพราะเห็นด้วยว่าในแต่ละอุตสาหกรรม พีอี ย่อมต่างกัน การให้พีอี มีหลายปัจจัย
จึงขอความเห็นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ถ้าEPS โตต่างกัน พีอีควรต่างกันขนาดไหน ละกันครับ (ให้ปัจจัยอื่นคงที่)
^
^
ขอมุมมองคราวๆ ละกันนะครับ เพราะเห็นด้วยว่าในแต่ละอุตสาหกรรม พีอี ย่อมต่างกัน การให้พีอี มีหลายปัจจัย
จึงขอความเห็นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ถ้าEPS โตต่างกัน พีอีควรต่างกันขนาดไหน ละกันครับ (ให้ปัจจัยอื่นคงที่)
หลักของความสมดุล
- metro
- Verified User
- โพสต์: 861
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 13
น่าจะดูในส่วนของการเติบโตว่ามั่นคงขนาดไหนด้วยนะครับ ถ้าโดยส่วนตัวให้ผมเลือกธุรกิจที่มี growth เท่ากัน PE เท่ากัน และ รายละเอียดอื่นๆเท่ากัน คงต้องดู Barrier of new entry หรือ อาจจะดูง่ายๆว่าถ้าผมมีเงินเท่ากับเจ้าของธุรกิจนั้น ผมสามารถเอาเงินไปสร้างธุรกิจนั้นแข่งกับผู้เล่นที่มีอยู่แล้วได้หรือเปล่า??
ยกตัวอย่าง เช่น ธุรกิจ โรงแรม กับโรงพยาบาล ถ้าทุกๆอย่างเท่ากันผมคงเลือกธุรกิจ โรงพยาบาล เพราะดูแล้วน่าจะมี Barrier of new entry มากกว่า เพราะ การเปิดโรงพยาบาล ผมว่าเรื่อง know how และ เรื่องบุคลากรน่าจะยากกว่าการเปิดโรงแรมนะครับ
ยกตัวอย่าง เช่น ธุรกิจ โรงแรม กับโรงพยาบาล ถ้าทุกๆอย่างเท่ากันผมคงเลือกธุรกิจ โรงพยาบาล เพราะดูแล้วน่าจะมี Barrier of new entry มากกว่า เพราะ การเปิดโรงพยาบาล ผมว่าเรื่อง know how และ เรื่องบุคลากรน่าจะยากกว่าการเปิดโรงแรมนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า PE ที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
โพสต์ที่ 14
ผมมีอีกมุมมองนึงอะ
P/E ก็คือผลตอบเเทนที่เราต้องการจากหุ้นตัวนั้น
เช่น เราต้องการผลตอบเเทน 15 %
P/E = 1/ 15% = 6 กว่าๆ
เเต่ ต้องเเน่ใจด้วยว่า E มันจะไม่ตก
ทีนี้ถ้าตลาดเขามอง เขาคงต้องเทียบกับผลตอบเเทน ตราสารหนี้หรือ ดอกเบี้ย เช่น
ดอกเบี้ย ประมาณ 4 % มี Premium เเลกกับความเสี่ยงอีกซัก 5 % =9%
P/E = 1/ 9% = 11
ถ้าหุ้น P/E เกิน 11 ตลาดก็อาจจะไม่ซื้อ
เเต่หุ้นที่ P/E สูงๆ ได้เเสดงว่าเขาคาดว่า E จะสูงขึ้น
จนสุดท้ายมันจะเท่ากับ 11
จริงๆอยากให้ใช้ FCF มากกว่า E จะดูเหมาะสมกว่า
8)
P/E ก็คือผลตอบเเทนที่เราต้องการจากหุ้นตัวนั้น
เช่น เราต้องการผลตอบเเทน 15 %
P/E = 1/ 15% = 6 กว่าๆ
เเต่ ต้องเเน่ใจด้วยว่า E มันจะไม่ตก
ทีนี้ถ้าตลาดเขามอง เขาคงต้องเทียบกับผลตอบเเทน ตราสารหนี้หรือ ดอกเบี้ย เช่น
ดอกเบี้ย ประมาณ 4 % มี Premium เเลกกับความเสี่ยงอีกซัก 5 % =9%
P/E = 1/ 9% = 11
ถ้าหุ้น P/E เกิน 11 ตลาดก็อาจจะไม่ซื้อ
เเต่หุ้นที่ P/E สูงๆ ได้เเสดงว่าเขาคาดว่า E จะสูงขึ้น
จนสุดท้ายมันจะเท่ากับ 11
จริงๆอยากให้ใช้ FCF มากกว่า E จะดูเหมาะสมกว่า
8)
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ เเละดับไปในที่สุด