ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

บทความลงใน ฐานเศรษฐกิจ

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย : แนวทางการปฎิรูปสู่ความยั่งยืน

หนึ่งในปัญหาเชิงนโยบายที่เป็นความเสี่ยงสำคัญที่สุดของประเทศในระยะยาว คือ ภาครัฐจะดูแลวางกรอบให้ระบบประกันสังคม (กรณีชราภาพ) อย่างไร ให้สามารถอยู่รอดได้ ภายใต้แรงกดดันของแนวโน้มทางประชากรที่กำลังทำให้สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะสังคมชราภาพอย่างรวดเร็ว ไม่ให้กลายเป็นปัญหาสำคัญให้กับภาครัฐและประเทศชาติในระยะยาว

****จากการประมาณการทางด้านประชากร สัดส่วนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 6 ล้านคน หรือร้อยละ 9.4 ของประชากรในปี 2543 เป็นมากกว่า 20 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 30 ของประชากรในช่วงต่อไป

****ประเด็นที่น่ากังวลใจ คือ จากการศึกษาพบว่า ณ ต้นปี 2550 กองทุนประกันสังคม แม้จะมีเงินกองทุนมากกว่า 3 แสนล้านบาท (ในส่วนของประโยชน์ทดแทน 2 กรณี ซึ่งรวมถึงกรณีชราภาพ) แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงฐานะที่แท้จริงในปัจจุบัน จากภาระที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พบว่า กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ จะมีเงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับสมาชิกระบบประกันสังคมที่จะเกษียณอายุในช่วงต่อไป โดยเงินที่จัดเตรียมไว้ในตอนนี้ จะเริ่มหมดลงในช่วง 40- 50 ปี ข้างหน้า

****ทั้งหมดนี้หมายความว่า หากสำนักงานประกันสังคมไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายอย่างมีนัยสำคัญแล้ว หรือรัฐบาลไม่ได้มีการเตรียมการที่จะรองรับปัญหานี้ไว้ คนหนุ่มสาวที่เริ่มเข้าเป็นสมาชิกประกันสังคมในช่วงนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์สุทธิ จากทางประกันสังคมน้อยลงกว่าสมาชิกปัจจุบันที่กำลังจะเกษียณอายุในช่วง 10 ปีข้างหน้า

**** หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่ตนคาดว่าจะได้รับจากการเป็นสมาชิกของระบบประกันสังคม ทำให้คนกลุ่มนี้จะต้องตกเป็นภาระของลูกหลานและสังคม ซึ่งท้ายสุดหากภาครัฐจำต้องยื่นมือเข้ามาดูแล รับเอาเป็นภาระของภาครัฐ ปัญหาความอยู่รอดระยะยาวของระบบประกันสังคม ก็จะกลายเป็นภาระและความเสี่ยงสำคัญด้านการคลังของประเทศชาติในระยะต่อไป

**** เมื่อเราศึกษาข้อมูลในระดับจุลภาคเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความเป็นไปได้ที่ผู้สูงอายุจะสามารถเลี้ยงดูตนเองในวัยชรานั้น เราพบว่าประชากรที่เข้าสู่วัยชราของประเทศในปัจจุบันนั้น มีข้อจำกัดในหลายด้าน ส่วนใหญ่อาศัยรายได้ที่ได้จากการช่วยเหลือจุนเจือจากครอบครัวเป็นสำคัญ บางส่วนแม้จะอาศัยรายได้จากการทำงานต่อไป แม้ว่าอายุมากกว่า 60 ปี ก็ได้รับรายได้เพียงไม่มากนัก อีกทั้งเงินออมของแต่ละครัวเรือนที่มีคนแก่อยู่ด้วย ก็มีจำนวนไม่มากนัก ไม่เพียงพอต่อการยังชีพในช่วงวัยชรา

***ทั้งนี้ ประเด็นที่น่ากังวลใจก็คือ จากจำนวนผู้ทำงานต่อผู้สูงอายุที่จะลดลง ความช่วยเหลือที่ผู้สูงอายุได้จากครอบครัว (ซึ่งเป็นรายได้หลักที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถยังชีพอยู่ได้) มีแนวโน้มที่จะลดน้อยลงด้วย ทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นขณะที่กองทุนประกันสังคมกำลังจะประสบปัญหาการมีเงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้กับสมาชิก

***บทความนี้จึงวิเคราะห์ประเมินผลกระทบของทางเลือกเชิงนโยบายในด้านต่างๆ รวมทั้ง ได้นำตัวอย่างแนวทางการปฏิรูประบบประกันสังคมในกรณีต่างประเทศ มาเป็นบทเรียน ประยุกต์ใช้ในกรณีประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบต่อไป ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบแต่เนิ่นๆ โดยเริ่มจากการดูแลให้ระบบประกันสังคมมีการเก็บสะสมเงินที่เพียงพอ โดยไม่มีการเอาเปรียบประชากรกลุ่มอายุใดอายุหนึ่งมากเกินไป การปรับรายละเอียดกฎเกณฑ์ด้านต่างๆ เพื่อจูงใจให้ประชากรเลือกที่จะเกษียณอายุให้ช้าลงให้สอดคล้องกับการที่อายุของคนไทยที่จะยาวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเตรียมการที่จะปฏิรูปโครงสร้าง (Structural reform) ของระบบการประกันสังคมและการออมของประเทศในระยะยาว ควบคู่กันไป ซึ่งทั้งหมดนี้น่าจะเป็นภูมิคุ้มกันภัยที่สำคัญของประเทศ ที่จะช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการความท้าทายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างครั้งสำคัญในเชิงประชากรของประเทศ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ได้อย่างน่าพอใจ

***หมายเหตุ: บทวิจัย ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย : แนวทางการปฎิรูปสู่ความยั่งยืน เป็นผลงานของ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารส่วน ส่วนเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน และน.ส. อนรรฆ เสรีเชษฐพงษ์ เศรษฐกร ทีมนโยบายเศรษฐกิจมหาภาค โดยบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2550 ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะจัดขึ้นที่ โรงแรมแชงกรี-ลา, กรุงเทพฯ ในวันที่ 3-4 ตุลาคม 2550นี้  

==========================
ผมว่ากองทุนประกันสังคมและรัฐบาล ต้องช่วยกันหาทางออกโดยเร็ว ในสหรัฐอเมริกานั้นเงินภาษี Social security ซึ่งหักจากคนที่ทำงานในอเมริกาทุกเดือน จะเริ่มมีเงินไหลออก (จ่ายสิทธิประโยชน์) มากกว่าเข้า (จ่ายภาษีก้อนนี้) ภายในสิบกว่าปีนี้ และคาดว่าอาจจะหมดเกลี้ยงภายในไม่เกิน 25 ปี ถ้าไม่ทำอย่างหนึ่งอย่างใด ระหว่างการเพิ่มภาษี, ลดสิทธิประโยชน์ หรือเพิ่มอายุเมื่อเกษียณ (เริ่มรับสิทธิประโยชน์)

ปัญหานี้ไม่มีพรรคไหนกล้าแตะ เพราะแตะแล้วเสียคะแนนนิยมแน่ ๆ แต่เป็นระเบิดเวลาที่นับถอยหลัง รอเวลาหมด...

ไม่ทราบว่า กองทุนประกันสังคมของเรา นำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนแบบ CalPERS มั่งหรือเปล่า..
teetotal
Verified User
โพสต์: 1667
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

จ่ายไปทุกเดือน 750 บาท
พอเกษียณ จะได้อะไรคืน บ้างไหม้น้อ
อีก 31 ปี ผม 60 แล้ว
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
fantasia
Verified User
โพสต์: 674
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ประกันสังคมบ้านเรายังรับมากกว่าจ่ายอยู่เยอะนี่ครับ
เห็นด่ากันอยู่เป็นประจำว่าจะเก็บเงินเข้ากองทุนไปทำไมมากมายไม่ยอมจ่าย
แสดงว่ามองเห็นปัญหานี้เหมือนกัน

ผมว่าปัญหานี้ของอเมริกาหนักกว่าบ้านเรามากครับ
ประกันสังคมที่นั่นจ่ายดีจริง ๆ ครับ ครอบคลุมหมดแบบน่าเหลือเชื่อ
ที่แย่คือเพื่อนผมคนนึงที่อยู่ในอเมริกาเชื่อมั่นในระบบประกันสังคมที่นั่นมากครับ
หารู้ไม่ว่าไอ้ที่เก็บ ๆ ไปมันไม่มีทางพอจ่ายสำหรับพวกเขาตอนแก่เลยถ้าให้ผลประโยชน์เท่าเดิม
แผ่วเบา
Verified User
โพสต์: 391
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

mprandy เขียน:****ประเด็นที่น่ากังวลใจ คือ จากการศึกษาพบว่า ณ ต้นปี 2550 กองทุนประกันสังคม แม้จะมีเงินกองทุนมากกว่า 3 แสนล้านบาท (ในส่วนของประโยชน์ทดแทน 2 กรณี ซึ่งรวมถึงกรณีชราภาพ) แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงฐานะที่แท้จริงในปัจจุบัน จากภาระที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พบว่า กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ จะมีเงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับสมาชิกระบบประกันสังคมที่จะเกษียณอายุในช่วงต่อไป โดยเงินที่จัดเตรียมไว้ในตอนนี้ จะเริ่มหมดลงในช่วง 40- 50 ปี ข้างหน้า
ข้อมูลตรงนี้ของ ดร.กอบศักดิ์
ภาพประจำตัวสมาชิก
house
Verified User
โพสต์: 683
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

มันไม่พอใช้ เพราะรัฐจ่ายช้าอะสิ พี่แผ่ว แถมล่าสุดนี่ กระทรวงแรงงานจะวางระบบคอม ก็ไปเอาเงินประกันสังคมมาใช้อีก กฤษฏีกา ห้ามไปแล้ว แต่แสดงให้เห็นชัดเลยว่า จ่ายไม่ช่วย แต่ถลุงเนี่ยเอาด้วย

แล้วมันจะไปพอได้ยังไง
ทำให้เต็มที่ เพื่อจะไม่เสียใจภายหลัง
กาละมัง
Verified User
โพสต์: 1230
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 6

โพสต์

แผ่วเบา เขียน:
ถ้าทำตรงไปตรงมาผมไม่ห่วงว่าเงินไม่พอ  เพราะว่าไม่น่าจะเป็นไปได้  เนื่องจากรายได้ที่เก็บต่อหัวต่อปีเฉลี่ยน่าจะเกือบ 1 หมื่นบาทต่อคน(ผมประมาณเอง)   จ่ายเพื่อการประกันสุขภาพประมาณ พันเศษ  เหลือเงินอีกมากมายต่อคน และยังนำเงินดังกล่าวไปลงทุนต่อ  เพื่อมาคืนเราตอนแก่  ซึ่งก็จะเป็นการคืนเงินส่วนที่เคยเก็บจากเราหักด้วยเงินที่ สนง. เคยจ่ายให้กับเรา

แต่ที่ผมว่าเราน่าห่วงมากกว่าก็คือ  การทุจริต รั่วไหล อันอาจมี และ แนวทางการลงทุน  เพราะว่าเงินมันมากเหลือเกิน
กาละมัง
Verified User
โพสต์: 1230
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ตัวเลขผมประมาณเป็นตัวเลขเก่า ปัจจุบันค่าเฉลี่ยที่เก็บตัวหัว(จากผู้ประกัน + รัฐ +นายจ้าง) น่าจะมากกว่า 1.5 หมื่นบาท

(ยังไงวานผู้รู้ช่วยระบุตัวเลขที่ชัดเจนด้วย)
Accidental Hero
Verified User
โพสต์: 1601
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 8

โพสต์

กองทุนประกันสังคม

สถานประกอบการและผู้ประกันตน
ณ เดือนมกราคม  2550  มีสถานประกอบการในความรับผิดชอบจำนวน 376,754  แห่ง ผู้ประกันตนทั้งหมดจำนวน 8.87  ล้านคนโดยเป็นผู้ประกันตนในระบบภาคบังคับ (มาตรา 33) จำนวน 8.54  ล้านคน  คิดเป็นร้อยละ 23.98 ของกำลังแรงงานที่มีงานทำ (35.62 ล้านคน)  ผู้ประกันตนในระบบสมัครใจ ตามมาตรา 39 และมาตรา 40 มีจำนวน 329,987  คน และ 3  คน ตามลำดับ  ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ประกันตนมาตรา 39 มีอัตราการเพิ่มสูงกว่าผู้ประกันตนมาตรา 33 และยิ่งสูงขึ้นอีกในปี  2549  

เงินสมทบและประโยชน์ทดแทน
สำนักงานประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบ 3 ฝ่ายของประโยชน์ทดแทน 4 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ตาย และทุพพลภาพ ในอัตราฝ่ายละ ร้อยละ 1.5 ของค่าจ้าง โดยปี 2549  คาดว่าจัดเก็บเงินสมทบ ได้เป็นเงิน 32,361  ล้านบาท และจ่ายประโยชน์ทดแทนทั้งสิ้นจำนวน 22,123   ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการบริหารเป็นเงิน 3,370  ล้านบาท รวมเป็นค่าใช้จ่าย 25,493  ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78.78  ของเงินสมทบที่จัดเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราการจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากปี 2548 (ร้อยละ 71.12 ) ร้อยละ 7.66

เมื่อพิจารณาอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนแยกตามประเภทประโยชน์ทดแทนพบว่ากรณีคลอดบุตรมีการจ่ายประโยชน์ทดแทนปี 2549 สูงกว่า ปี 2548 คือมีการจ่ายประโยชน์ทดแทนจากร้อยละ 157.50  เป็นร้อยละ 200 ของเงินสมทบ ทั้งนี้เนื่องจากปี 2549 สำนักงานได้ปรับปรุงการให้บริการกรณีคลอดบุตรโดย

วิธีเหมาจ่ายให้สถานพยาบาลในโครงการประกันสังคม เพื่อให้ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่ายค่าบริการหากเข้ารับบริการ  ณ  สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ ขณะที่กรณีเจ็บป่วย อัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 84.28 ซึ่งสูงกว่าปี 2548 (ร้อยละ 83.49) เล็กน้อย กรณีทุพพลภาพอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน ใกล้เคียงกับปี 2548  (ร้อยละ 2.20) สำหรับกรณีตายอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน ปี 2549 มีเพียงร้อยละ 56.88  ลดลงจากปี 2548  (ร้อยละ 59.07)

สำหรับประโยชน์ทดแทน 2 กรณี คือสงเคราะห์บุตรและชราภาพ สามารถจัดเก็บเงินสมทบ ปี  2549 ได้ป็นเงิน 51,015  ล้านบาท โดยจ่ายประโยชน์ทดแทนเป็นเงิน 6,220 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.19  ของเงินสมทบที่จัดเก็บได้ ซึ่งมีอัตราการจ่ายสูงกว่าปี 2548 (ร้อยละ 7.05)  ร้อยละ 5.14  โดยอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรคิดเป็นร้อยละ 69.57 ของเงินสมทบเพิ่มขึ้นจากปี 2548 (36.36) เกือบเท่าตัวเนื่องจากสำนักงานได้ปรับเพิ่มการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรจาก 200 บาท/คน/เดือน เป็น 350 บาท/คน/เดือน สำหรับอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพคิดเป็นร้อยละ 2.63 ซึ่งสูงกว่าปี 2548 (2.17) เล็กน้อย

ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ปี 2549 สำนักงานประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบ ได้เป็นเงิน 8,940  ล้านบาท และจ่ายประโยชน์ทดแทนเป็นเงิน 1,208  ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 13.51 ของเงินสมทบซึ่งสูงกว่าปี 2548 ที่มีการจ่ายประโยชน์ทดแทนเพียงร้อยละ 10.00  ของเงินสมทบนับว่าเป็นการจ่ายที่ยังน้อยอยู่ เนื่องจากเป็นช่วงระยะแรกของการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

อัตราการใช้บริการ
ปี 2549 มีผู้ใช้บริการ ณ สำนักงานประกันสังคม    (ไม่รวมการใช้บริการ ณ สถานพยาบาล) สำหรับประโยชน์ทดแทน 4 กรณี รวม  497,476 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 5.47  ของจำนวนผู้ประกันตนที่มีสิทธิ ซึ่งต่ำกว่าปี 2548 (ร้อยละ 20.70) ถึงร้อยละ 15.23  ทั้งนี้เนื่องจากสำนักงานปรับปรุงการให้บริการโดยให้ผู้ประกันตนสามารถใช้บริการ ณ สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิในกรณีทันตกรรม และกรณีคลอดบุตร โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่าบริการดังกล่าว ซึ่งผู้ประกันตนไม่ต้องนำใบเสร็จมาเบิกเงินกับสำนักงานประกันสังคม ทำให้จำนวนผู้ประกันตนที่มาติดต่อกับสำนักงานทั้ง 2 กรณีลดลง
สำหรับประโยชน์ทดแทน 2  กรณีคือ กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ ปี 2549 จำนวนบุตรของผู้ประกันตนที่รับเงินสงเคราะห์บุตร มีจำนวน 1,095,707 ราย หรือคิดเป็นอัตราการใช้บริการเฉลี่ยต่อเดือน ร้อยละ 12.04 ของผู้ประกันตน ทั้งนี้อัตราการใช้บริการดังกล่าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2548   (ร้อยละ 10.88 ) ส่วนกรณีชราภาพมีการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้ผู้ประกันตนจำนวน 65,696 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.72 ซึ่งมีอัตราการใช้บริการเท่ากับปี 2548  
สำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ณ เดือนธันวาคม 2549 ผู้ว่างงานที่มารับประโยชน์ทดแทนมีจำนวน 39,902  คน หรือคิดเป็นอัตราการใช้บริการเฉลี่ยต่อเดือนร้อยละ 0.45 ของผู้ประกันตนที่มีสิทธิใช้บริการ อัตราการใช้บริการดังกล่าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2548  (ร้อยละ 0.34) ในจำนวนนี้เป็นผู้ว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง 14,767   คน ลาออกจำนวน 22,427 คน และสิ้นสุดสัญญาจ้างจำนวน 2,708  คน คิดเป็น    ร้อยละ 37 ร้อยละ 56 และร้อยละ 7  ของผู้ว่างงานทั้งหมดตามลำดับ

สถานะเงินกองทุน
ณ เดือนธันวาคม   2549  กองทุนมีเงินลงทุนทั้งสิ้น 403,281   ล้านบาท โดยนำไปลงทุนในส่วนของประโยชน์ทดแทน 4 กรณี เป็นเงิน 57,485  ล้านบาท ประโยชน์ทดแทน 2  กรณีเป็นเงิน 326,089  ล้านบาท และกรณีว่างงานเป็นเงิน 19,707  ล้านบาท สำนักงานได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนปี 2549 ในอัตราร้อยละ 4.31  ต่อปีเป็นเงิน 17,345   ล้านบาท
"Be sure you put your feet in the right place, then stand firm"
Abraham Lincoln
Accidental Hero
Verified User
โพสต์: 1601
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 9

โพสต์

โดยปี 2549  คาดว่าจัดเก็บเงินสมทบ ได้เป็นเงิน 32,361  ล้านบาท และจ่ายประโยชน์ทดแทนทั้งสิ้นจำนวน 22,123   ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการบริหารเป็นเงิน 3,370  ล้านบาท รวมเป็นค่าใช้จ่าย 25,493  ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78.78
...
...
สำหรับประโยชน์ทดแทน 2 กรณี คือสงเคราะห์บุตรและชราภาพ สามารถจัดเก็บเงินสมทบ ปี  2549 ได้ป็นเงิน 51,015  ล้านบาท
...
...
ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ปี 2549 สำนักงานประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบ ได้เป็นเงิน 8,940  ล้านบาท
:roll:  :roll: ไม่ค่อยเข้าใจครับ
เงินสมทบนี่ เขาแยกเก็บเป็นส่วนๆ หรือครับ
"Be sure you put your feet in the right place, then stand firm"
Abraham Lincoln
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ไม่เห็นด้วย หากจะเก็บเงินสมทบกองทุนเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันก็ไม่เคยได้ใช้สวัสดิการจากประกันสังคมเลย ส่วนใหญ่เบิกจากบริษัทง่ายกว่าเยอะ

น่าจะลองศึกษาการลงทุนของ กบข ดูนะครับว่าเขาบริงานเงินได้ดีขนาดไหน และน่าจะแยกออกมาเป็นหน่วยงานอิสระ ปลอดจากกการเมือง หาคนที่มีธรรมาภิบาลดีๆ มาบริหารเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี เหมือนกองทุนประกันสังคมของประเทศอื่นๆ

:wink:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 11

โพสต์

แผ่วเบา เขียน:
ข้อมูลตรงนี้ของ ดร.กอบศักดิ์
ภาพประจำตัวสมาชิก
energizer
Verified User
โพสต์: 505
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 12

โพสต์

tum_H เขียน:ไม่เห็นด้วย หากจะเก็บเงินสมทบกองทุนเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันก็ไม่เคยได้ใช้สวัสดิการจากประกันสังคมเลย ส่วนใหญ่เบิกจากบริษัทง่ายกว่าเยอะ

น่าจะลองศึกษาการลงทุนของ กบข ดูนะครับว่าเขาบริงานเงินได้ดีขนาดไหน และน่าจะแยกออกมาเป็นหน่วยงานอิสระ ปลอดจากกการเมือง หาคนที่มีธรรมาภิบาลดีๆ มาบริหารเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี เหมือนกองทุนประกันสังคมของประเทศอื่นๆ

:wink:
เห็นด้วยครับ ปัจจุบันประกันสังคมมีการบริหารจัดการกันโปร่งใสแค่ไหน
ถ้าไม่โกงรับรองว่ารอดครับ แต่ก็นะ...
ตอนผมโดนหักเงินเข้าประกันสังคมก็คิดเสียว่าไปกระจายช่วยคนรายได้น้อยก็ละกัน
parallel
Verified User
โพสต์: 60
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ได้มาจากforward email ครับ
เรียน ทุกท่านที่ทำประกันสังคม
ท่านสามารถเข้าไปเช็คเงินของท่านได้ที่

http://www.sso.go.th/enquiry
ต้องเข้าไปลงทะเ บี ยนก่อนถึงจะเช็คได้

วิธีการ
เพียงใส่เลขที่บัตรประชาชน วัน(วรรค)เดือนภาษาไทย(วรรค)พศ.เกิด เช่น 20 เมษายน 2518
กด Submit ก็สามารถตรวจสอบได้แล้ว ผลประโยชน์ของเราอย่ามองข้าม เงินออม เล็ก ๆ น้อย ๆจากประกันสังคมที่ท่านไม่ควรลืม

เช่น ทุกเดือนบริษัทจะหักเงิน 5% ของ 15,000.- (เงินเดือนขั้นสูงสุด)= 750บาท จากเงินเดือนของท่าน
1.5% = 225 บาทจะประกันเจ็บป่วย ตาย
0.5% = 75บาท จะประกันการว่างงาน
3% = 450 บาท จะประกันชราภาพ

สรุปว่าท่านจะถูกหักเป็นเงินออมชราภาพทุกเดือน@ละ 450.- บาท = ปีละ5,400.-บาท

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการออมเงิน 1 ปี 5,400 บาท คือท่านจะได้เงินสบทบอีก 100% จากนายจ้างคือปีละ 5,400.- + ดอกเ บี ้ยจากประกันสังคม

ปี 45 = 4.2%, ปี 46= 6.5%
(สรุปท่านได้ผลประโยชน์ 106.5% เชียวละ คือฝาก 5,400 เงินของท่านจะได้รับประมาณ 11,502 บาท เห็นมั๊ยละว่าสูงมากๆ

จึงอยากจะเตือนท่านว่าอย่าเห็นเป็นเงิน เล็ก น้อย ท่านจะได้คืนเงินจำนวนนี้เมื่ออายุครบ55 ปี หรือถ้า 55ปี
แล้วยังทำงานก็จนกว่าจะเลิกทำคือเลิกส่งเงินประกันสังคม

***** ที่สำคัญ **** คือ ต้องขอคืนภายใน 1 ปีหลังจากเกษียณเท่านั้น ห้ามเกินแม้แต่ 1 วันมิฉะนั้นจะ
ถูกยกเข้าเงินกองกลางไปเลย
**** ไม่สามารถฟ้องอุทธรณ์ ได้เลย

การขอคืน

1. ถ้าท่านส่งเงินสมทบน้อยกว่า 15 ปี ท่านจะได้เป็นเงินบำเหน็จ คือได้ไปเป็นก้อนไปเลย เยอะอยู่นา อย่าลืมละ
2. แต่ถ้าท่านส่งเงินมากกว่า 15ปีท่านจะได้เป็นบำนาณ (ถามแล้วไม่สามารถเลือกเป็นบำเหน็จได้)
15% บวกอีกร้อยละหนึ่งต่อระยะเวลาจ่ายเพิ่ม 1 ปี เช่น ส่งเงินสมทบ 20 ปีได้ 20%ของ 15000.-บาท เท่ากับ 3,000 บาท ต่อเดือน

ย้ำ
***ท่านสามารถเข้าไปเช็คเงินของท่านได้ที่
http://www.sso.go.th/info/info_fundmid_logon.asp

http://www.bgh.co.th

สำหรับผู้ที่ไม่มี internet ให้ โทรสอบถามที่ 1506 แล้วกด 1 จากนั้นให้ทำรายการตามที่เครื่องบอก ก็จะได้ข้อมูลเหมือนกัน
"Sometimes your best investments are the ones you don't make"(Donald Trump)
phuja
Verified User
โพสต์: 40
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ตามที่คุณ parallel ได้จาก forward mail  น่ะค่ะ  เพิ่มเติมอีกนิด เริ่มเก็บ
ประกันกรณีชราภาพ ปี 42 ครบ 180 เดือน ประมาณปี 57 ก็จะเริ่มจ่าย
เป็นบำนาญ  และได้มีกฎกระทรวงออกมาใหม่ ปรับเพิ่มบำนาญชราภาพ
เป็น ร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (เดิมร้อยละ 15) และ
ถ้าระยะเวลาเพิ่ม ทุก ๆ 12 เดือน ก็จะได้เพิ่มอีก 1.5 (จากเดิม 1)
ยกตัวอย่างเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท (อัตราขั้นสูงสุดที่เก็บ)  ก็จะได้
บำนาญเดือนละ 3,000 บาท  แต่ถ้าอายุครบ 55 ส่งเงินครบ 180 งวดแล้ว
แต่ยังทำงานต่อไปอีก 4 ปี ก็จะได้เพิ่มอีก 6 % ดังนั้น บำนาญก็จะได้เป็น
ร้อยละ 26 ของ 15,000 บาท  คือเดือนละ 3,900 บาท  
                 เงินประกันสังคมเก็บจากนายจ้าง ร้อยละ 5 ผู้ประกันตน 5
รัฐบาล 5  แยกไว้ชราภาพร้อยละ 3  ถ้าคิดแบบนักลงทุน ก็ถูกหัก 5
ได้คืน 6 และดอกผลอีก  แต่ปัจจุบันที่ดูเหมือนประกันสังคมมีเงินเยอะ
ถ้าปี 57 ก็จะเริ่มจ่ายบำนาญ กองทุนก็คงจะลดไปบ้าง
                 แต่ถ้าออกจากงานก่อนอายุ 55 ก็ต้องรอให้ครบ 55 จะมีหนังสือ
แจ้งไปตามที่อยู่ (ทะเบียนบ้าน) เพื่อให้ติดต่อขอรับบำเหน็จคืน
                 อยากทราบจำนวนเงินที่มีอยู่นอกจากเข้าเช็คทาง Internet
1506 แล้ว ถ้าอยู่ต่างจังหวัด โทร.สอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด บอกเลขบัตรประชาชน แล้วแจ้งว่าอยากทราบเงินชราภาพที่มีอยู่
เจ้าหน้าที่ก็จะเช็คข้อมูลให้ค่ะ
shinnosuke
Verified User
โพสต์: 22
ผู้ติดตาม: 0

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 15

โพสต์

บางคนก็ได้แต่ด่า ต่อว่าประกันสังคม....แต่ไม่เคยที่จะสนใจว่าสิทธิ์ของตัวเองมีอะไรบ้าง มากมายแค่ไหน ทำไมต้องรอให้อะไรๆ ทุกอย่างมาประเคนถึงมือ สนใจบ้างเถอะเงินทองของคุณเองทั้งนั้น....สำหรับผม ประกันสังคมคือการออมเงินครับ แม้จะน้อยแต่นาน สักวันหนึ่ง เงินเหล่านั้นจะกลับมาเลี้ยงผมเหมือนข้าราชการบำนาญทุกคน
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เงิน 3900 คิดเงินเฟ้อปีละ 3% ไป 30 ปี ย้อนกลับ
ได้มูลค่าปัจจุบันมาที่ 1606.75 (ผมคิดถูกหรือเปล่าครับ)

ได้เท่านี้จะพอกินหรือครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย

โพสต์ที่ 17

โพสต์

CopyWriter เขียน:เงิน 3900 คิดเงินเฟ้อปีละ 3% ไป 30 ปี ย้อนกลับ
ได้มูลค่าปัจจุบันมาที่ 1606.75 (ผมคิดถูกหรือเปล่าครับ)

ได้เท่านี้จะพอกินหรือครับ
หรือต้องคิดว่าเงินปัจจุบัน 3900 คิดเงินเฟ้อปีละ 3% ไป 30 ปี ได้ค่าในอนาคต 1563.93 ถึงจะถูก (ว่าแต่ผม คิดถูกหรือเปล่าครับ)
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
โพสต์โพสต์