เปิดโผลงทุน....หุ้นสร้างกำไร vs ขาดทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
เปิดโผลงทุน....หุ้นสร้างกำไร vs ขาดทุน
โพสต์ที่ 1
Special Report: เปิดโผลงทุน....หุ้นสร้างกำไร vs ขาดทุน
Posted on Friday, November 09, 2007
เมื่อเอ่ยถึงหุ้นที่สร้างผลกำไร หรือ Capital Gain มากที่สุด หลาย ๆ คนอาจจะให้คำตอบว่าเป็นหุ้นกลุ่มพลังงานหรือแบงก์พาณิชย์ แต่ถ้าถามว่าหุ้นตัวไหนที่ขาดทุนมากที่สุด คำตอบที่ได้อาจจะกระจายไปในหุ้นหลายๆ ตัวโดยเฉพาะหุ้นที่ถูกเรียกขานกันว่า หุ้นเก็งกำไร แต่ข้อมูลจากนี้ไป ซึ่ง Money Channel และนิตยสาร Money & Wealth รวบรวมมานำเสนอ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าภาพรวมของการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงเกือบ 10 เดือนที่ผ่านมา หุ้นที่สร้าง Capital Gain และขาดทุนมากที่สุด กลับเป็นหุ้นที่นักลงทุนหลายๆ คนอาจจะคาดไม่ถึง และหุ้นที่ติดอันดับบางตัวแทบไม่เคยติดอันดับ TOP 10
ฝ่ายการตลาด ส่วนพัฒนาธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยข้อมูลหุ้นที่ให้ผลกำไรในลักษณะ Capital gain และหุ้นที่สร้างผลขาดทุนมากที่สุดทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ mai โดยใช้เกณฑ์ว่าถ้าซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 3 มกราคมปีนี้ ซึ่งในวันนั้นดัชนี ตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ระดับ 659.25 จุด P/E Ratio อยู่ที่ 7.86 เท่า แล้วขายในวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ระดับดัชนีที่ 897.10 จุด P/E Ratio 12.81 เท่า ส่วนดัชนี mai เมื่อต้นปีอยู่ที่ 187.06 จุด P/E Ratio อยู่ที่ 8.97 เท่า ขณะที่เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ดัชนีขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 282.19 จุด P/E Ratio อยู่ที่ 12.28 เท่า
แทบไม่น่าเชื่อว่า การกลับมาซื้อขายในหมวดปกติของโรงแรมที่มีอายุกว่า 41 ปี อย่างโรงแรมเอเชีย เมื่อวันที่ 22 มกราคม ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้ จะส่งให้ asia กลายเป็นหุ้นที่ให้ Capical gain สูงสุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยวันแรกที่หุ้น บมจ. เอเชียโฮเต็ล (ASIA) เข้ามาซื้อขายตามปกติเปิดที่ราคา 4.60 บาท และวันนั้นราคากระโดดไปปิดที่ 25 บาท แต่หากนักลงทุนซื้อหุ้นนี้ในวันที่ 22 มกราคม ถือมาเรื่อย ๆ แล้วขายวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งปิดที่ 43 บาท จะได้ Capital gain สูงถึง 834.78% ที่สำคัญหุ้นตัวนี้ราคาเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 65.50 บาท วันที่ 2 มีนาคมปีนี้ แต่ในภาพรวมแล้วก็ยังต่ำกว่าราคา ไอพีโอของ ASIA ที่เข้าซื้อขายบนกระดานหุ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน ปี 2532 ด้วยราคาหุ้นละ 84 บาท
ส่วนอันดับสองกลับกลายเป็นบริษัทจดทะเบียนน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมปีที่แล้ว ในราคาหุ้นละ 2.25 บาท ภายใต้ชื่อ บมจ. ริช เอเซีย สตีล (RICH) ซึ่งหากลงทุนใน RICH จะได้ Capital gain 479.21% โดยราคาหุ้นของ RICH เริ่มวิ่งตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมอย่างต่อเนื่องหลังจากที่มีข่าวการไล่เก็บหุ้นของนักลงทุนรายใหญ่ แม้นักวิเคราะห์จะเตือนว่าให้ลงทุนด้วยความระมัดระวังเนื่องจากมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงก็ตาม โดยผลประกอบการไตรมาส 1 RICH มีกำไรสุทธิ 4.71 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันถึง 87.04% และเมื่อ 1 ตุลาคมที่ผ่านมามีการขอแก้ไขงบการเงินจากกำไรสุทธิ เป็นขาดทุนสุทธิ 175.36 ล้านบาท ตามการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้เต็มจำนวน
ส่วนหุ้นขนาดเล็กที่มีมาร์เก็ตแคปราว ๆ 400 ล้านบาท อย่าง บมจ. ทราฟฟิกคอร์นเนอร์โฮลดิ้งส์ (TRAF) ซึ่งจับธุรกิจหลัก ๆ 3 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ธุรกิจกีฬา และธุรกิจบันเทิง ราคาปรับเพิ่มขึ้นกว่า 289.13% ก่อนที่จะมีการประกาศต่อยอดธุรกิจภาพยนตร์ด้วยการเข้าไปซื้อหุ้นทั้งหมดของ เอ็ม พิคเจอร์ ผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างชาติยักษ์ใหญ่ แห่งเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป
หุ้นรุ่ง SET หุ้น ราคาปิด (บาท) 3 ม.ค. 50 ราคาปิด (บาท) 15 ต.ค. 50 %เปลี่ยนแปลง
ASIA* 25.00 43.00 +834.78
RICH 1.96 11.70 +479.21
TRAF 0.47 1.79 +289.13
LIVE 1.46 5.35 +230.25
SCNYL 75.00 220.00 +193.33
* เริ่มซื้อขายเมื่อ 22 ม.ค.2550
หันมาดูหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ได้ชื่อว่าปรับตัวลดลงมากที่สุดกันบ้าง แม้ว่าชื่อของ บมจ. เอเวอร์แลนด์ (EVER) เจ้าของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยที่นิยมลงทุนสไตล์เก็งกำไรวันต่อวัน แต่ราคาหุ้นของ EVER ปรับตัวลดลง 66.73% จาก 5.20 บาท ไหลรูดมาที่ 1.66 บาท ท่ามกลางกระแสข่าวการทิ้งหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่และประเด็นการประกาศเพิ่มทุนจาก 300 ล้านบาท เป็น 600 ล้านบาท และแม้จะยกเลิกแผนการเพิ่มทุนแต่ราคาหุ้นก็ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ ก่อนที่จะถูกซ้ำเติมด้วยข่าวการปรับลดเป้าหมายรายได้และกำไรในปีนี้ลงหลังตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลงตามภาวะเศรษฐกิจ
ขณะที่การออกมายอมรับเรื่องการขายหุ้น Big lot ให้กับพันธมิตร ของ ชูศักดิ์ ยงวงศ์ไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 3 ครั้ง ทำให้ความเคลื่อนไหวของหุ้น บมจ. เอเซีย เมทัล (AMC) จะดูวุ่นวายอยู่กับการทยอยขายหุ้นออกของผู้บริหาร แม้ท้ายที่สุดผู้บริหารจะออกมายืนยันว่าจะไม่มีการขายหุ้นออกเป็นครั้งที่ 4 และที่สำคัญนับตั้งแต่เข้าซื้อขายบนกระดานตั้งแต่ปี 2547 AMC มีการเพิ่มทุนทุกปี แถมผลดำเนินงานครึ่งแรกขาดทุนแล้ว 37 ล้านบาท โดยหากลงทุนในหุ้น เอเซีย เมทัล แล้วมาขายวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมาเงินในกระเป๋าจะหายไป 59.68%
และแม้ว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบยกกลุ่ม แต่หากลงทุนในหุ้นของธนาคารไทยธนาคาร (BT) ราคากลับปรับตัวลดลง 49.80% มาที่ระดับ 2.56 บาท จาก 4.84 บาท เมื่อวันที่ 3 มกราคม โดยราคาหุ้นของ BT ถูกปัจจับลบรุมเร้าตั้งแต่เรื่องของการเพิ่มทุนและขาดทุนสุทธิในรอบ 9 เดือนเกือบ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่าจากกรณีที่ BT ไปลงทุนในตราสารหนี้ประเภท CDO ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารที่หนุนโดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท Subprime
นายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ๋ ธ.ไทยธนาคารชี้แจงว่า การตั้งสำรองเป็นการเตรียมการไว้ล่วงหน้า แต่ยังไม่ได้เกิดผลกระทบใด ๆ กับทางธนาคารอย่างจริงจัง
ของเราเรียกว่าเป็นการตั้งสำรองฯ เผื่อการด้อยค่า แม้ว่าจะเป็นการขาดทุนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะว่ายังไม่ได้มีการขายและยังไม่มี Plan ว่าจะขายด้วยก็จะถือไปเรื่อยๆจนครบกำหนด ปัจจุบันถ้ามองว่ามันมีผลกระทบอะไรต่อธนาคารในเชิงของ Cash Flow หรือไม่ คำตอบคือไม่มี เพราะว่า CDO ทุกตัวเลยยังชำระหนี้อยู่เป็นปกติ ดอกเบี้ยก็ยังจ่ายอยู่เป็นปกติดีทุกอย่าง แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเกณฑ์อนุรักษ์นิยม ก็ทำตามประเพณี เรามีการตั้งสำรองเผื่อด้วยค่าขึ้นมา แต่มันเป็น เราไม่ได้ lost จริงๆ นายพีรศิลป์กล่าว
หุ้นร่วง SET หุ้น ราคาปิด (บาท) 3 ม.ค. 50 ราคาปิด (บาท) 15 ต.ค. 50 %เปลี่ยนแปลง
EVER 5.20 1.66 -66.73
AMC 6.00 2.54 -59.68
KKC 3.68 2.04 -56.60
ASCON 11.50 6.00 -50.41
BT 4.8 2.56 -49.80
ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ แม้จะมีทั้งหุ้นที่สร้างกำไรและขาดทุนเช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่การที่ราคาหุ้นจะขึ้นหรือลงในตลาดแห่งนี้กลับมีปัจจัยพื้นฐานรองรับอย่างชัดเจน โดย บมจ. ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) กลายเห็นหุ้นเล็กพริกขี้หนูหลังจากที่ความต้องการใช้ถ่านหินในประเทศเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ UMS ได้รับอานิสงค์ตามไปด้วยในฐานะผู้นำเข้าและผู้ขายถ่านหินจากอินโดนีเซียให้กับดรงงานขนาดกลางและเล็กในประเทศไทย โดยจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 120 รายในปี 2549 เป็น 230 ราย ณ ปัจจุบัน
นอกจากนี้นักลงทุนยังเข้าสะสมหุ้นของ UMS เพื่อรอรับสิทธิการแจกวอร์แรนต์ฟรีในอัตราส่วน 2 หุ้นสามัญเดิม ต่อ 1 วอร์แรนต์ ด้วย โดยหากลงทุนในหุ้น UMS เมื่อวันที่ 3 มกราคมปีนี้ ที่ราคา 15.90 บาท แล้วขายเมื่อ 15 ตุลาคม ที่ราคา 33.50 บาท จะได้ Capital gain ถึง 324.05%
นายชัยวัฒน์ เครือชะเอม กรรมการผู้จัดการ บมจ. ยูนิคไมนิ่ง เซอร์วิสเซส ยังมั่นใจในศักยภาพของถ่านหินซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่จะมาทดแทนน้ำมันได้ และจะส่งผลในด้านบวกต่อธุรกิจของ UMS
ทิศทางของราคาถ่านหินในตลาดโลก ผมคิดว่าอย่างนี้ คงจะมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมัน ถึงแม้ว่าราคาถ่านหินจะมีอิสระต่อราคาน้ำมันก็ตาม แต่มีนัยสำคัญที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นมาก ผู้ใช้พลังงานจำเป็นที่จะต้องมองหาพลังงานที่มีราคาถูกกว่า ถ่านหินเป็นพลังงานหนึ่งที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า และเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถใช้ถ่านหินอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ นายชัยวัฒน์กล่าว
ที่ผ่านมาการเติบโตที่สดใสของ บมจ. ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง (UEC) นอกจากจะได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารฟอร์บส์ ให้เป็น 1 ใน 20 บริษัทเอเชียที่มีอัตราการเติบโตของยอดขายและกำไรติดต่อกันต่อเนื่อง 3 ปีแล้ว ราคาหุ้นของ UEC ยังให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าด้วย โดยหากลงทุนตั้งแต่ต้นปีที่ราคา 13.20 บาท แล้วขายออกไปวันที่ 15 ตุลาคมที่ 37.75 บาท จะได้ Capital gain เกือบ 174%
และแม้ว่าการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างมหาศาลในอีก 3-5 ปีข้างหน้า จะทำให้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ถังความดันของ UEC อยู่ในระดับสูง แต่หลังจากนั้นแนวโน้มการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อาจจะชะลอตัวลง ทำให้ UEC เปิดเกมรุกมองหาตลาดต่างประเทศเพิ่มเติม ทั้งที่เวียดนาม อินโดนีเซียและตะวันออกกลาง
นายไทยลักษณ์ ลี้ถาวร ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ยูนิมิตเอนจิเนียริ่ง เผยเคล็ดลับการบริหารธุรกิจว่า เราก็ตั้งทีมที่จะออกไปหาตลาดต่างประเทศ ไปแนะนำว่าเราทำอะไรได้บ้าง เพราะแต่เดิมลูกค้าเข้ามาหาเราหมด แล้วมาเสนองานให้เรา แล้วเรามากำหนดราคา แต่จากนี้ไปต้องวิ่งหางาน เราคงดูทั่วๆไปและจริงๆแล้ว เราสามารถทำงานให้กับทุกประเทศทั่วโลก ถ้าไปร่วมทุนอาจจะพิจารณาใกล้ๆก่อน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ตะวันออกกลางงานจะเยอะมาก
หุ้นรุ่ง mai หุ้น ราคาปิด (บาท) 3 ม.ค. 50 ราคาปิด (บาท) 15 ต.ค. 50 %เปลี่ยนแปลง
UMS 15.90 33.50 +324.05
UEC 13.20 37.75 +173.55
TPAC 2.80 7.35 +156.99
SALEE 2.24 4.90 +113.04
CIG 2.72 5.35 +91.07
ส่วนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ mai ที่ทำให้นักลงทุนน้ำตาร่วงมากที่สุดกลับกลายเป็น หุ้นน้องใหม่อย่าง บมจ. บ้านร็อคการ์เด้น (BROCK) ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายมาซื้อขายที่กระดานตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา ในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยหากลงทุนในหุ้นบ้านร็อคการ์เด้น จะขาดทุนสูงถึง 79% และราคาหุ้นตัวนี้เคยลงไปต่ำสุดที่ 90 สตางค์ เมื่อ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา
แม้ราคาหุ้นจะปรับตัวลงมากแต่ในความจริงแล้วนักวิเคราะห์มองว่าบ้านร็อคการ์เด้น เป็นหุ้นที่ไม่ขี้เหร่มากนัก ในแง่ผลประกอบการ และการขยายธุรกิจที่มีความคืบหน้าออกมาเป็นระยะ ๆ
นายบุญชู วงศ์ภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี บมจ.บ้านร็อคการ์เด้น ยังกล่าวถึงแผนธุรกิจในอนาคตว่า อาจจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ตรงนี้ก็คงยังบอกชัดเจนไม่ได้ เพราะว่าอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับกลุ่มนักลงทุนชาวสวีเดน เป็น หนึ่งในไลน์ธุรกิจของเรา เนื่องจากบ้านร็อคเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย ตรงนี้จะเพิ่มขึ้นมาอีกไลน์หนึ่ง
และแม้ว่า บมจ. ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ (L&E) ในอดีตจะถือเป็นหุ้นที่สร้างรายยิ้มให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก แต่ในช่วงเกือบ 10 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลับไม่เป็นใจมากนักตามผลประกอบการที่ผู้บริหารยอมรับว่าการเติบโตน่าจะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ โดยหากซื้อหุ้น L&E จะขาดทุน 49% อย่างไรก็ตาม หุ้นตัวนี้ยังอยู่ในสายตานักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ยังถือว่ามีอนาคตเพราะเป็นหุ้นที่ถูกเรียกว่าเป็นหุ้น Defensive Stock หรือหุ้นปันผลอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
หุ้นร่วง mai หุ้น ราคาปิด (บาท) 3 ม.ค. 50 ราคาปิด (บาท) 15 ต.ค. 50 %เปลี่ยนแปลง
BROCK 5.20 1.18 -79.12
IRCP-W1 5.05 2.24 -55.20
L&E 16.50 8.60 -49.41
STEEL 2.90 2.08 -31.58
D1 1.56 0.78 -30.36
ใครมีตัวไหนบ้างครับ แต่ผมไม่มีสักกะตัวหุ้นเหล่านี้ :lol: :lol: :lol:
Posted on Friday, November 09, 2007
เมื่อเอ่ยถึงหุ้นที่สร้างผลกำไร หรือ Capital Gain มากที่สุด หลาย ๆ คนอาจจะให้คำตอบว่าเป็นหุ้นกลุ่มพลังงานหรือแบงก์พาณิชย์ แต่ถ้าถามว่าหุ้นตัวไหนที่ขาดทุนมากที่สุด คำตอบที่ได้อาจจะกระจายไปในหุ้นหลายๆ ตัวโดยเฉพาะหุ้นที่ถูกเรียกขานกันว่า หุ้นเก็งกำไร แต่ข้อมูลจากนี้ไป ซึ่ง Money Channel และนิตยสาร Money & Wealth รวบรวมมานำเสนอ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าภาพรวมของการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงเกือบ 10 เดือนที่ผ่านมา หุ้นที่สร้าง Capital Gain และขาดทุนมากที่สุด กลับเป็นหุ้นที่นักลงทุนหลายๆ คนอาจจะคาดไม่ถึง และหุ้นที่ติดอันดับบางตัวแทบไม่เคยติดอันดับ TOP 10
ฝ่ายการตลาด ส่วนพัฒนาธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยข้อมูลหุ้นที่ให้ผลกำไรในลักษณะ Capital gain และหุ้นที่สร้างผลขาดทุนมากที่สุดทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ mai โดยใช้เกณฑ์ว่าถ้าซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 3 มกราคมปีนี้ ซึ่งในวันนั้นดัชนี ตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ระดับ 659.25 จุด P/E Ratio อยู่ที่ 7.86 เท่า แล้วขายในวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ระดับดัชนีที่ 897.10 จุด P/E Ratio 12.81 เท่า ส่วนดัชนี mai เมื่อต้นปีอยู่ที่ 187.06 จุด P/E Ratio อยู่ที่ 8.97 เท่า ขณะที่เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ดัชนีขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 282.19 จุด P/E Ratio อยู่ที่ 12.28 เท่า
แทบไม่น่าเชื่อว่า การกลับมาซื้อขายในหมวดปกติของโรงแรมที่มีอายุกว่า 41 ปี อย่างโรงแรมเอเชีย เมื่อวันที่ 22 มกราคม ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้ จะส่งให้ asia กลายเป็นหุ้นที่ให้ Capical gain สูงสุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยวันแรกที่หุ้น บมจ. เอเชียโฮเต็ล (ASIA) เข้ามาซื้อขายตามปกติเปิดที่ราคา 4.60 บาท และวันนั้นราคากระโดดไปปิดที่ 25 บาท แต่หากนักลงทุนซื้อหุ้นนี้ในวันที่ 22 มกราคม ถือมาเรื่อย ๆ แล้วขายวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งปิดที่ 43 บาท จะได้ Capital gain สูงถึง 834.78% ที่สำคัญหุ้นตัวนี้ราคาเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 65.50 บาท วันที่ 2 มีนาคมปีนี้ แต่ในภาพรวมแล้วก็ยังต่ำกว่าราคา ไอพีโอของ ASIA ที่เข้าซื้อขายบนกระดานหุ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน ปี 2532 ด้วยราคาหุ้นละ 84 บาท
ส่วนอันดับสองกลับกลายเป็นบริษัทจดทะเบียนน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมปีที่แล้ว ในราคาหุ้นละ 2.25 บาท ภายใต้ชื่อ บมจ. ริช เอเซีย สตีล (RICH) ซึ่งหากลงทุนใน RICH จะได้ Capital gain 479.21% โดยราคาหุ้นของ RICH เริ่มวิ่งตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมอย่างต่อเนื่องหลังจากที่มีข่าวการไล่เก็บหุ้นของนักลงทุนรายใหญ่ แม้นักวิเคราะห์จะเตือนว่าให้ลงทุนด้วยความระมัดระวังเนื่องจากมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงก็ตาม โดยผลประกอบการไตรมาส 1 RICH มีกำไรสุทธิ 4.71 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันถึง 87.04% และเมื่อ 1 ตุลาคมที่ผ่านมามีการขอแก้ไขงบการเงินจากกำไรสุทธิ เป็นขาดทุนสุทธิ 175.36 ล้านบาท ตามการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้เต็มจำนวน
ส่วนหุ้นขนาดเล็กที่มีมาร์เก็ตแคปราว ๆ 400 ล้านบาท อย่าง บมจ. ทราฟฟิกคอร์นเนอร์โฮลดิ้งส์ (TRAF) ซึ่งจับธุรกิจหลัก ๆ 3 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ธุรกิจกีฬา และธุรกิจบันเทิง ราคาปรับเพิ่มขึ้นกว่า 289.13% ก่อนที่จะมีการประกาศต่อยอดธุรกิจภาพยนตร์ด้วยการเข้าไปซื้อหุ้นทั้งหมดของ เอ็ม พิคเจอร์ ผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างชาติยักษ์ใหญ่ แห่งเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป
หุ้นรุ่ง SET หุ้น ราคาปิด (บาท) 3 ม.ค. 50 ราคาปิด (บาท) 15 ต.ค. 50 %เปลี่ยนแปลง
ASIA* 25.00 43.00 +834.78
RICH 1.96 11.70 +479.21
TRAF 0.47 1.79 +289.13
LIVE 1.46 5.35 +230.25
SCNYL 75.00 220.00 +193.33
* เริ่มซื้อขายเมื่อ 22 ม.ค.2550
หันมาดูหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ได้ชื่อว่าปรับตัวลดลงมากที่สุดกันบ้าง แม้ว่าชื่อของ บมจ. เอเวอร์แลนด์ (EVER) เจ้าของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยที่นิยมลงทุนสไตล์เก็งกำไรวันต่อวัน แต่ราคาหุ้นของ EVER ปรับตัวลดลง 66.73% จาก 5.20 บาท ไหลรูดมาที่ 1.66 บาท ท่ามกลางกระแสข่าวการทิ้งหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่และประเด็นการประกาศเพิ่มทุนจาก 300 ล้านบาท เป็น 600 ล้านบาท และแม้จะยกเลิกแผนการเพิ่มทุนแต่ราคาหุ้นก็ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ ก่อนที่จะถูกซ้ำเติมด้วยข่าวการปรับลดเป้าหมายรายได้และกำไรในปีนี้ลงหลังตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลงตามภาวะเศรษฐกิจ
ขณะที่การออกมายอมรับเรื่องการขายหุ้น Big lot ให้กับพันธมิตร ของ ชูศักดิ์ ยงวงศ์ไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 3 ครั้ง ทำให้ความเคลื่อนไหวของหุ้น บมจ. เอเซีย เมทัล (AMC) จะดูวุ่นวายอยู่กับการทยอยขายหุ้นออกของผู้บริหาร แม้ท้ายที่สุดผู้บริหารจะออกมายืนยันว่าจะไม่มีการขายหุ้นออกเป็นครั้งที่ 4 และที่สำคัญนับตั้งแต่เข้าซื้อขายบนกระดานตั้งแต่ปี 2547 AMC มีการเพิ่มทุนทุกปี แถมผลดำเนินงานครึ่งแรกขาดทุนแล้ว 37 ล้านบาท โดยหากลงทุนในหุ้น เอเซีย เมทัล แล้วมาขายวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมาเงินในกระเป๋าจะหายไป 59.68%
และแม้ว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบยกกลุ่ม แต่หากลงทุนในหุ้นของธนาคารไทยธนาคาร (BT) ราคากลับปรับตัวลดลง 49.80% มาที่ระดับ 2.56 บาท จาก 4.84 บาท เมื่อวันที่ 3 มกราคม โดยราคาหุ้นของ BT ถูกปัจจับลบรุมเร้าตั้งแต่เรื่องของการเพิ่มทุนและขาดทุนสุทธิในรอบ 9 เดือนเกือบ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่าจากกรณีที่ BT ไปลงทุนในตราสารหนี้ประเภท CDO ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารที่หนุนโดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท Subprime
นายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ๋ ธ.ไทยธนาคารชี้แจงว่า การตั้งสำรองเป็นการเตรียมการไว้ล่วงหน้า แต่ยังไม่ได้เกิดผลกระทบใด ๆ กับทางธนาคารอย่างจริงจัง
ของเราเรียกว่าเป็นการตั้งสำรองฯ เผื่อการด้อยค่า แม้ว่าจะเป็นการขาดทุนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะว่ายังไม่ได้มีการขายและยังไม่มี Plan ว่าจะขายด้วยก็จะถือไปเรื่อยๆจนครบกำหนด ปัจจุบันถ้ามองว่ามันมีผลกระทบอะไรต่อธนาคารในเชิงของ Cash Flow หรือไม่ คำตอบคือไม่มี เพราะว่า CDO ทุกตัวเลยยังชำระหนี้อยู่เป็นปกติ ดอกเบี้ยก็ยังจ่ายอยู่เป็นปกติดีทุกอย่าง แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเกณฑ์อนุรักษ์นิยม ก็ทำตามประเพณี เรามีการตั้งสำรองเผื่อด้วยค่าขึ้นมา แต่มันเป็น เราไม่ได้ lost จริงๆ นายพีรศิลป์กล่าว
หุ้นร่วง SET หุ้น ราคาปิด (บาท) 3 ม.ค. 50 ราคาปิด (บาท) 15 ต.ค. 50 %เปลี่ยนแปลง
EVER 5.20 1.66 -66.73
AMC 6.00 2.54 -59.68
KKC 3.68 2.04 -56.60
ASCON 11.50 6.00 -50.41
BT 4.8 2.56 -49.80
ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ แม้จะมีทั้งหุ้นที่สร้างกำไรและขาดทุนเช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่การที่ราคาหุ้นจะขึ้นหรือลงในตลาดแห่งนี้กลับมีปัจจัยพื้นฐานรองรับอย่างชัดเจน โดย บมจ. ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) กลายเห็นหุ้นเล็กพริกขี้หนูหลังจากที่ความต้องการใช้ถ่านหินในประเทศเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ UMS ได้รับอานิสงค์ตามไปด้วยในฐานะผู้นำเข้าและผู้ขายถ่านหินจากอินโดนีเซียให้กับดรงงานขนาดกลางและเล็กในประเทศไทย โดยจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 120 รายในปี 2549 เป็น 230 ราย ณ ปัจจุบัน
นอกจากนี้นักลงทุนยังเข้าสะสมหุ้นของ UMS เพื่อรอรับสิทธิการแจกวอร์แรนต์ฟรีในอัตราส่วน 2 หุ้นสามัญเดิม ต่อ 1 วอร์แรนต์ ด้วย โดยหากลงทุนในหุ้น UMS เมื่อวันที่ 3 มกราคมปีนี้ ที่ราคา 15.90 บาท แล้วขายเมื่อ 15 ตุลาคม ที่ราคา 33.50 บาท จะได้ Capital gain ถึง 324.05%
นายชัยวัฒน์ เครือชะเอม กรรมการผู้จัดการ บมจ. ยูนิคไมนิ่ง เซอร์วิสเซส ยังมั่นใจในศักยภาพของถ่านหินซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่จะมาทดแทนน้ำมันได้ และจะส่งผลในด้านบวกต่อธุรกิจของ UMS
ทิศทางของราคาถ่านหินในตลาดโลก ผมคิดว่าอย่างนี้ คงจะมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมัน ถึงแม้ว่าราคาถ่านหินจะมีอิสระต่อราคาน้ำมันก็ตาม แต่มีนัยสำคัญที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นมาก ผู้ใช้พลังงานจำเป็นที่จะต้องมองหาพลังงานที่มีราคาถูกกว่า ถ่านหินเป็นพลังงานหนึ่งที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า และเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถใช้ถ่านหินอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ นายชัยวัฒน์กล่าว
ที่ผ่านมาการเติบโตที่สดใสของ บมจ. ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง (UEC) นอกจากจะได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารฟอร์บส์ ให้เป็น 1 ใน 20 บริษัทเอเชียที่มีอัตราการเติบโตของยอดขายและกำไรติดต่อกันต่อเนื่อง 3 ปีแล้ว ราคาหุ้นของ UEC ยังให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าด้วย โดยหากลงทุนตั้งแต่ต้นปีที่ราคา 13.20 บาท แล้วขายออกไปวันที่ 15 ตุลาคมที่ 37.75 บาท จะได้ Capital gain เกือบ 174%
และแม้ว่าการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างมหาศาลในอีก 3-5 ปีข้างหน้า จะทำให้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ถังความดันของ UEC อยู่ในระดับสูง แต่หลังจากนั้นแนวโน้มการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อาจจะชะลอตัวลง ทำให้ UEC เปิดเกมรุกมองหาตลาดต่างประเทศเพิ่มเติม ทั้งที่เวียดนาม อินโดนีเซียและตะวันออกกลาง
นายไทยลักษณ์ ลี้ถาวร ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ยูนิมิตเอนจิเนียริ่ง เผยเคล็ดลับการบริหารธุรกิจว่า เราก็ตั้งทีมที่จะออกไปหาตลาดต่างประเทศ ไปแนะนำว่าเราทำอะไรได้บ้าง เพราะแต่เดิมลูกค้าเข้ามาหาเราหมด แล้วมาเสนองานให้เรา แล้วเรามากำหนดราคา แต่จากนี้ไปต้องวิ่งหางาน เราคงดูทั่วๆไปและจริงๆแล้ว เราสามารถทำงานให้กับทุกประเทศทั่วโลก ถ้าไปร่วมทุนอาจจะพิจารณาใกล้ๆก่อน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ตะวันออกกลางงานจะเยอะมาก
หุ้นรุ่ง mai หุ้น ราคาปิด (บาท) 3 ม.ค. 50 ราคาปิด (บาท) 15 ต.ค. 50 %เปลี่ยนแปลง
UMS 15.90 33.50 +324.05
UEC 13.20 37.75 +173.55
TPAC 2.80 7.35 +156.99
SALEE 2.24 4.90 +113.04
CIG 2.72 5.35 +91.07
ส่วนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ mai ที่ทำให้นักลงทุนน้ำตาร่วงมากที่สุดกลับกลายเป็น หุ้นน้องใหม่อย่าง บมจ. บ้านร็อคการ์เด้น (BROCK) ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายมาซื้อขายที่กระดานตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา ในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยหากลงทุนในหุ้นบ้านร็อคการ์เด้น จะขาดทุนสูงถึง 79% และราคาหุ้นตัวนี้เคยลงไปต่ำสุดที่ 90 สตางค์ เมื่อ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา
แม้ราคาหุ้นจะปรับตัวลงมากแต่ในความจริงแล้วนักวิเคราะห์มองว่าบ้านร็อคการ์เด้น เป็นหุ้นที่ไม่ขี้เหร่มากนัก ในแง่ผลประกอบการ และการขยายธุรกิจที่มีความคืบหน้าออกมาเป็นระยะ ๆ
นายบุญชู วงศ์ภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี บมจ.บ้านร็อคการ์เด้น ยังกล่าวถึงแผนธุรกิจในอนาคตว่า อาจจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ตรงนี้ก็คงยังบอกชัดเจนไม่ได้ เพราะว่าอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับกลุ่มนักลงทุนชาวสวีเดน เป็น หนึ่งในไลน์ธุรกิจของเรา เนื่องจากบ้านร็อคเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย ตรงนี้จะเพิ่มขึ้นมาอีกไลน์หนึ่ง
และแม้ว่า บมจ. ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ (L&E) ในอดีตจะถือเป็นหุ้นที่สร้างรายยิ้มให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก แต่ในช่วงเกือบ 10 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลับไม่เป็นใจมากนักตามผลประกอบการที่ผู้บริหารยอมรับว่าการเติบโตน่าจะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ โดยหากซื้อหุ้น L&E จะขาดทุน 49% อย่างไรก็ตาม หุ้นตัวนี้ยังอยู่ในสายตานักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ยังถือว่ามีอนาคตเพราะเป็นหุ้นที่ถูกเรียกว่าเป็นหุ้น Defensive Stock หรือหุ้นปันผลอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
หุ้นร่วง mai หุ้น ราคาปิด (บาท) 3 ม.ค. 50 ราคาปิด (บาท) 15 ต.ค. 50 %เปลี่ยนแปลง
BROCK 5.20 1.18 -79.12
IRCP-W1 5.05 2.24 -55.20
L&E 16.50 8.60 -49.41
STEEL 2.90 2.08 -31.58
D1 1.56 0.78 -30.36
ใครมีตัวไหนบ้างครับ แต่ผมไม่มีสักกะตัวหุ้นเหล่านี้ :lol: :lol: :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
เปิดโผลงทุน....หุ้นสร้างกำไร vs ขาดทุน
โพสต์ที่ 3
brock นี่เค้าคิดกันแบบนี้เลยเหรอครับ ....
ใครทำกันนี่บทความนี้ .. ไม่ดูเลยว่าหุ้นมันแตกพาร์ :lol: หุ้นที่ทำให้นักลงทุนน้ำตาร่วงมากที่สุด ให้ผลตอบแทนถึง 28% เลยนะเนี่ย :lol:
ใครทำกันนี่บทความนี้ .. ไม่ดูเลยว่าหุ้นมันแตกพาร์ :lol: หุ้นที่ทำให้นักลงทุนน้ำตาร่วงมากที่สุด ให้ผลตอบแทนถึง 28% เลยนะเนี่ย :lol:
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- trillionaire
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1090
- ผู้ติดตาม: 1
เปิดโผลงทุน....หุ้นสร้างกำไร vs ขาดทุน
โพสต์ที่ 7
...ปัญหา คือ ตัวไหนจะเป็นสุดยอดcapital gain ตัวต่อไป...
...คิดไม่ออก ขอลอกการบ้านกองทุนที่performanceเจ๋งๆอย่างSCBLT3ละกัน...
...ล่าสุด เจ๊อะตัวนึงละครับ ที่กองนี้เก็บเพิ่มจัง...ติ๊กต่อกๆ ตัวไหน?...
...คิดไม่ออก ขอลอกการบ้านกองทุนที่performanceเจ๋งๆอย่างSCBLT3ละกัน...
...ล่าสุด เจ๊อะตัวนึงละครับ ที่กองนี้เก็บเพิ่มจัง...ติ๊กต่อกๆ ตัวไหน?...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 1
เปิดโผลงทุน....หุ้นสร้างกำไร vs ขาดทุน
โพสต์ที่ 8
ขอด้วยคับtrillionaire เขียน:...ปัญหา คือ ตัวไหนจะเป็นสุดยอดcapital gain ตัวต่อไป...
...คิดไม่ออก ขอลอกการบ้านกองทุนที่performanceเจ๋งๆอย่างSCBLT3ละกัน...
...ล่าสุด เจ๊อะตัวนึงละครับ ที่กองนี้เก็บเพิ่มจัง...ติ๊กต่อกๆ ตัวไหน?...
It's earnings that count
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 200
- ผู้ติดตาม: 0
เปิดโผลงทุน....หุ้นสร้างกำไร vs ขาดทุน
โพสต์ที่ 11
L&E ปีทีแล้วปันผลเป็นหุ้น โดย 3 หุ้นเดิม ได้ 2 หุ้นใหม่
ราคาเลยลดจาก 17 บาท ลดลงมาเหลือ 8.60 บาท ตาม Dilutional effect ( แต่ผู้ถือหุ้นไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย )
คนเขียนบทความดูแต่ราคา แล้วมาคิดเอาง่ายๆ ว่า ขาดทุน 50 %
:lol: :lol: :lol:
ราคาเลยลดจาก 17 บาท ลดลงมาเหลือ 8.60 บาท ตาม Dilutional effect ( แต่ผู้ถือหุ้นไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย )
คนเขียนบทความดูแต่ราคา แล้วมาคิดเอาง่ายๆ ว่า ขาดทุน 50 %
:lol: :lol: :lol:
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
เปิดโผลงทุน....หุ้นสร้างกำไร vs ขาดทุน
โพสต์ที่ 12
สงสารคนเขียนอะ น้ำตาร่วงเลยมั้งนี่
-
- Verified User
- โพสต์: 35
- ผู้ติดตาม: 0
เปิดโผลงทุน....หุ้นสร้างกำไร vs ขาดทุน
โพสต์ที่ 14
เรียนทุกท่าน
กองบรรณาธิการ นิตยสาร Money & Wealth และสถานีโทรทัศน์ Money Channel ต้องขออภัยในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อมูลผลตอบแทนในรูป Capital Gain ของหุ้นจดทะเบียน เช่น บมจ.บ้านร็อคการ์เด้น (BROCK) บมจ.ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ (L&E) และ บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS)
ทั้งนี้ ปัจจุบันหุ้นสามัญของหลายบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้ดำเนินการทางการเงินหลายรูปแบบที่กระทบกับส่วนของผู้ถือหุ้น เช่น การแตกพาร์ จ่ายหุ้นปันผล ฯลฯ ซึ่งทำให้การคำนวณเปรียบเทียบ Capital Gain ของราคาหุ้นไม่สามารถนำมาใช้วัดผลตอบแทนของการลงทุนในมุมของ Capital Gain ได้
ท้ายนี้ กอง บ.ก. ขอยอมรับความผิดพลาดจากสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งจะนำไปปรับปรุงการรายงานข่าวและการเผยแพร่ข้อมูลในอนาคตของนิตยสาร และสถานีฯ ต่อไป
ขอบคุณครับ
กอง บ.ก. M&W
กองบรรณาธิการ นิตยสาร Money & Wealth และสถานีโทรทัศน์ Money Channel ต้องขออภัยในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อมูลผลตอบแทนในรูป Capital Gain ของหุ้นจดทะเบียน เช่น บมจ.บ้านร็อคการ์เด้น (BROCK) บมจ.ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ (L&E) และ บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS)
ทั้งนี้ ปัจจุบันหุ้นสามัญของหลายบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้ดำเนินการทางการเงินหลายรูปแบบที่กระทบกับส่วนของผู้ถือหุ้น เช่น การแตกพาร์ จ่ายหุ้นปันผล ฯลฯ ซึ่งทำให้การคำนวณเปรียบเทียบ Capital Gain ของราคาหุ้นไม่สามารถนำมาใช้วัดผลตอบแทนของการลงทุนในมุมของ Capital Gain ได้
ท้ายนี้ กอง บ.ก. ขอยอมรับความผิดพลาดจากสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งจะนำไปปรับปรุงการรายงานข่าวและการเผยแพร่ข้อมูลในอนาคตของนิตยสาร และสถานีฯ ต่อไป
ขอบคุณครับ
กอง บ.ก. M&W
-
- Verified User
- โพสต์: 98
- ผู้ติดตาม: 0
เปิดโผลงทุน....หุ้นสร้างกำไร vs ขาดทุน
โพสต์ที่ 16
กำลังนั่งอ่าน Money&Wealth อยู่พอดี ก็นึกสงสัยว่า BROCK, L&E, ASCON นั้น ราคามันไม่ได้ลงอย่างที่เขียนนี่ เนื่องจากว่าบางตัวแตกพาร์ บางตัวแจกหุ้นปันผล บางตัวแจก warrant ฟรี คิดว่าจะไปเปิดหาข้อมูลดูอยู่พอดีเลย
ว่าแมนลงในหนังสือไปแล้ว และหนังสือก็วางแผงแล้วด้วย ทำไงหว่า
ว่าแมนลงในหนังสือไปแล้ว และหนังสือก็วางแผงแล้วด้วย ทำไงหว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
ขอบคุณครับ
โพสต์ที่ 17
ขอบคุณครับที่กรุณาชี้แจ้งครับ แม้มีข้อผิดพลาดบ้าง ซึ่งก็เกิดขึ้นกันได้ ถึงไงก็ต้องขอชื่นชมและขอบคุณมันนี่แอนด์เวลธ์สำหรับบทความและเนื้อหาดีๆในส่วนอื่นๆครับ ผมเองก็เป็นสมาชิกหนังสืออยู่ครับ และคิดว่าหนังสือของท่านมีประโยชน์มากสำหรับนักลงทุน รวมไปถึงบทความอื่นๆที่เผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆด้วยผมติดตามประจำครับmf เขียน:เรียนทุกท่าน
กองบรรณาธิการ นิตยสาร Money & Wealth และสถานีโทรทัศน์ Money Channel ต้องขออภัยในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อมูลผลตอบแทนในรูป Capital Gain ของหุ้นจดทะเบียน เช่น บมจ.บ้านร็อคการ์เด้น (BROCK) บมจ.ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ (L&E) และ บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS)
ทั้งนี้ ปัจจุบันหุ้นสามัญของหลายบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้ดำเนินการทางการเงินหลายรูปแบบที่กระทบกับส่วนของผู้ถือหุ้น เช่น การแตกพาร์ จ่ายหุ้นปันผล ฯลฯ ซึ่งทำให้การคำนวณเปรียบเทียบ Capital Gain ของราคาหุ้นไม่สามารถนำมาใช้วัดผลตอบแทนของการลงทุนในมุมของ Capital Gain ได้
ท้ายนี้ กอง บ.ก. ขอยอมรับความผิดพลาดจากสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งจะนำไปปรับปรุงการรายงานข่าวและการเผยแพร่ข้อมูลในอนาคตของนิตยสาร และสถานีฯ ต่อไป
ขอบคุณครับ
กอง บ.ก. M&W
ขอแสดงความนับถือ
chartchai madman