XBRL
- Alastor
- Verified User
- โพสต์: 2590
- ผู้ติดตาม: 0
XBRL
โพสต์ที่ 1
eXtensible Business Reporting Language
คิดว่าจะทำให้นักลงทุนปัจจัยพื้นฐานวิเคราะห์งบการเงินได้ง่ายขึ้นไหมครับ
ผมหวังว่าเวลาเอามาทำ excel จะได้ไม่ยาก น่าจะทำให้งบกระแสเงินสดที่รายการเยอะมากกกก อ่านง่ายขึ้น
คิดว่าจะทำให้นักลงทุนปัจจัยพื้นฐานวิเคราะห์งบการเงินได้ง่ายขึ้นไหมครับ
ผมหวังว่าเวลาเอามาทำ excel จะได้ไม่ยาก น่าจะทำให้งบกระแสเงินสดที่รายการเยอะมากกกก อ่านง่ายขึ้น
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
XBRL
โพสต์ที่ 2
มันคืออะไรเหรอพี่อลาสเต้อ ... :?: ไม่รู้จักอ่ะ
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
XBRL
โพสต์ที่ 3
เป็นไฟล์แบบ XML เพื่อใช้ในการแสดงงบการเงินน่ะครับ ตั้งเป็นมาตรฐาน เพื่อที่ทุกบริษัทจะได้แสดงงบการเงินโดยใช้รูปแบบเดียวกัน
ขณะนี้งบการเงินของบริษัทในบ้านเรายังใช้เป็นไฟล์ MS Excel ซึ่งรูปแบบของแต่ละบริษัทก็จะต่างกันออกไป ถ้าหันมาใช้ XBRL ก็จะทำให้รูปแบบงบการเงินของแต่ละบริษัทเหมือนกันหมด ซึ่งนั่นก็จะทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมเพื่อนำงบการเงินไปใช้ครับ
ขณะนี้งบการเงินของบริษัทในบ้านเรายังใช้เป็นไฟล์ MS Excel ซึ่งรูปแบบของแต่ละบริษัทก็จะต่างกันออกไป ถ้าหันมาใช้ XBRL ก็จะทำให้รูปแบบงบการเงินของแต่ละบริษัทเหมือนกันหมด ซึ่งนั่นก็จะทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมเพื่อนำงบการเงินไปใช้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1817
- ผู้ติดตาม: 0
XBRL
โพสต์ที่ 4
XBRL คืออะไร
XBRL (หรือที่ย่อมาจากศัพท์เต็มว่า “eXtensible Business Reporting Language”) ก็คือการติดรหัสแถบ (Bar Code) บนบัญชีงบการเงิน โดยการอ้างอิงถึงภาษามาตรฐานของการรายงานงบการเงิน (Financial Reporting Standards) แต่ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี (Accounting Standards) แต่อย่างใด
XBRL ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมการรายงานงบการเงินที่เริ่มมีการประยุกต์ใช้และกล่าวถึงในวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในห่วงโซ่การจัดทำรายงานทางการเงินได้เล็งเห็นว่า XBRL จะทำให้เกิดมาตรฐาน (standards) ของการรายงานงบการเงินซึ่งจะนำไปสู่การลดต้นทุนรวมของทุกหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง และยังช่วยสร้างความโปร่งใส ความถูกต้อง และความทันสมัยของข้อมูลงบการเงินที่เผยแพร่และนำเสนอให้แก่ผู้ใช้ข้อมูล หรือนักลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
รหัสแถบ (Bar Code) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ในอดีตเมื่อครั้งร้านขายของชำยังเป็นแหล่งยอดนิยมในการซื้อขายของประเภทอุปโภค บริโภค หากเราต้องการจะซื้อสินค้า เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปากกา หรือถ่านไฟฉาย เราก็จะเดินตรงไปยังร้านขายของชำ เลือกสิ่งของที่ต้องการ ตรวจสอบราคาจากสติ๊กเกอร์ที่เจ้าของร้านนำมาติดบนสินค้า ซึ่งหลายครั้งที่เราอาจพบ ว่าสินค้าชนิดเดียวกันยี่ห้อเดียวกันแต่ติดราคาไม่เท่ากัน และเมื่อเรานำสินค้าเหล่านั้น ไปชำระเงิน เจ้าของร้านมักจะคำนวนค่าสินค้าโดยการบวกลบในกระดาษ หรือกด เครื่องคิดเลขเพื่อคำนวณค่าสินค้าทั้งหมด
พฤติกรรมของผู้ซื้อที่พบบ่อยครั้งคือการถามเจ้าของร้านอีกครั้งว่าสินค้าชิ้นนี้ราคาเท่าไร เพื่อจะได้ตรวจสอบว่าเจ้าของร้านค้าคำนวณค่าสินค้าถูกหรือไม่ และหากเราซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากชิ้น ก็อาจจะต้องใช้เวลาที่ร้านขายของชำนานขึ้นเพียงเพื่อรอการคำนวณค่าสินค้าของเจ้าของร้านด้วยวิธีดั้งเดิม นอกจากนี้ หากคุณเคยเป็นผู้เข้าแถว (Queuing) เพื่อรอเจ้าของร้านคิดเงินค่าสินค้าให้แก่ลูกค้าหลายๆ ราย คุณเคยรู้สึกหงุดหงิดใจที่ต้องรอเพื่อซื้อและชำระราคาสินค้าเป็นเวลานานเช่นนี้หรือไม่
ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัดคือการนำเอารหัสแถบ (Bar Code) มาใช้ติดบนสินค้าที่วางขายกันตามร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป
รหัสแถบ (Bar Code) เป็นแถบเส้นดำยาวพิมพ์เรียงเป็นแถบบนตัวสินค้า สิ่งซึ่งแถบดำเหล่านี้หมายถึงมักจะเป็น "ข้อความ" ที่ใช้บ่งบอกความเป็นสินค้านั้นๆ อาทิเช่น ยาสีฟัน สบู่ แปรงสีฟัน ปากกา เป็นต้น รหัสแถบที่อยู่บนสินค้าจะทำให้เจ้าของร้านค้าสามารถคำนวณเงินค่าสินค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้นถึงแม้ว่าจะเป็นการซื้อของจำนวนหลายๆชิ้น เพียงแต่ใช้เครื่องมืออ่านรหัสแถบรูดผ่านรหัสแถบ ก็จะทราบว่าสินค้าชนิดนั้นเป็นสินค้าอะไร และหากมีการเขียนโปรแกรมราคาสินค้าเข้ากับเครื่องคำนวนราคาสินค้า ความผิดพลาดในการคำนวณราคาสินค้าก็จะไม่เกิดขึ้น ผู้ซื้อก็ไม่ต้องใช้เวลารอมากนักในการเข้าแถวชำระราคาสินค้า นอกจากนี้ เมื่อร้านค้าใช้รหัสแถบ ร้านค้าก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดราคาลงบนสินค้าทุกตัวอีกต่อไป ซึ่งทำให้สะดวกต่อการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าเมื่อใดก็ตามที่เจ้าของร้านค้าต้องการ
การใช้รหัสแถบ (Bar Code) เพื่อประโยชน์ในการรายงานข้อมูลทางการเงิน
เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว นายชาลี ฮอฟแมนน์ (Charlie Hoffman) ผู้ตรวจสอบบัญชีในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดแนวคิดในการนำเอารูปแบบและวิธีการใช้รหัสแถบ (Bar Code) มาประยุกต์ใช้กับข้อมูลบัญชีทางการเงิน โดยนายชาลีมองว่าบัญชีการเงินก็เหมือนสินค้าประเภทหนึ่ง ซึ่งเมื่อติดรหัสแถบเพื่อบ่งบอก “ข้อความ” แล้ว ก็จะเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าข้อความนี้หมายถึงบัญชีทางการเงินใด และเมื่อมีการเขียนโปรแกรมเพื่อให้อ่านข้อมูลของบัญชีการเงินนั้นๆ เช่น ให้รวมยอดเงินสด หรือให้จัดทำอัตราส่วนทางการเงิน (financial ratios) ก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการนำเสนอข้อมูลที่มีคุณภาพสูงเพื่อใช้ต่อในการวิเคราะห์ข้อมูลของนักลงทุน
นายชาลีได้ตั้งชื่อแนวคิดนี้ว่าเทคโนโลยี XBRL (หรือที่ย่อมาจากคำว่า eXtensible Business Reporting Language) โดยได้นำเอาเทคโนโลยี XML (eXtensible Markup Language) ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่รู้จักและนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายของนักพัฒนาระบบงานโดยทั่วไป มาผนวกรวมกับแนวคิดการจัดทำคู่มือรหัสแถบสำหรับบัญชีการเงิน (ซึ่งนายชาลีเรียกมันว่า “Taxonomy”) และได้เริ่มแนะนำเทคโนโลยี XBRL กับผู้เกี่ยวข้องจำนวน 13 รายซึ่งเห็นชอบร่วมกันที่จะผลักดันแนวคิดนี้ให้ขยายขอบเขตการใช้งานให้กว้างขวางต่อไป
องค์กรหรือหน่วยงานในระดับสากลเริ่มใช้ XBRL มากขึ้นเพื่อสร้างมาตรฐานให้กับการรายงานข้อมูลการเงิน
จนถึงวันนี้ XBRL เริ่มเป็นที่รู้จักกันและมีการประยุกต์ใช้ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงินมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ องค์กรกำกับสถาบันการเงิน องค์กรกำกับตลาดหลักทรัพย์และธุรกิจหลักทรัพย์ กรมสรรพากร หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนบริษัท ดังตัวอย่างโดยสังเขปดังนี้
* ตลาดหลักทรัพย์ : ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (Tokyo Stock Exchange) ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Stock Exchange) ตลาดหลักทรัพย์แห่งสเปน (Spain Stock Exchange) ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค (New York Stock Exchange) เป็นต้น
* องค์กรกำกับสถาบันการเงิน : US Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา, ธนาคารแห่งประเทศสเปน (Bank of Spain), ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan) เป็นต้น
* องค์กรกำกับตลาดหลักทรัพย์และธุรกิจหลักทรัพย์ : สำนักงานกลต. แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (US SEC) องค์กรกำกับหลักทรัพย์แห่งประเทศจีน (China Securities Regulatory Commission – CSRS) องค์กรกำกับหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์แห่งประเทศฮ่องกง (HK Securities and Future Commission) เป็นต้น
* องค์กรจัดเก็บภาษี : กรมสรรพากรแห่งประเทศญี่ปุ่น (National Tax Agency) กรมสรรพากรแห่งประเทศแคนาดา (Canada Tax Agency) กรมสรรพากรแห่งประเทศไอร์แลนด์ (The Irish Revenue Commission) กรมสรรพากรแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ (Dutch Tax Authority) เป็นต้น
* องค์กรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการรายงานข้อมูลทางการเงิน: International Accounting Standard Board (IASB), Financial Accounting Standard Board (FASB), CFA Institute เป็นต้น
* ผู้สอบบัญชีชั้นนำ: Price Waterhouse Coopers, KPMG International, Ernst & Young, Deloitte Touche Tohmatsu เป็นต้น
เทคโนโลยี XBRL กับมาตรฐานการรายงานงบการเงินในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยี XBRL ยังคงเป็นเรื่องใหม่ที่จะต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมกันต่อไป อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรสำคัญๆ เช่น สำนักงานกลต. ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจ (กระทรวงพาณิชย์) บริษัทผู้สอบบัญชี ฯลฯ ในการผลักดันและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี XBRL อย่างจริงจังในประเทศไทย โดยโครงการแรกที่จะเป็นตัวพิสูจน์ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี XBRL กับการรายงานงบการเงินในประเทศไทย คือโครงการ XBRL นำร่อง (XBRL Pilot Project) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จะเริ่มใช้ในกลางปี 2550 ที่จะถึงนี้
ทั้งนี้ ผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี XBRL คงจะต้องมาจากการจัดโครงสร้างของคู่มือรหัสแถบสำหรับบัญชีการเงินไทย (Taxonomy) ที่ดีและมีมาตรฐานซึ่งทุกหน่วยงานจะสามารถนำไปใช้งานร่วมกันในอนาคต รวมถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นและพิสูจน์ได้จริงจากโครงการ XBRL นำร่องในครั้งนี้
http://xbrl.set.or.th/th/about/about.html
XBRL (หรือที่ย่อมาจากศัพท์เต็มว่า “eXtensible Business Reporting Language”) ก็คือการติดรหัสแถบ (Bar Code) บนบัญชีงบการเงิน โดยการอ้างอิงถึงภาษามาตรฐานของการรายงานงบการเงิน (Financial Reporting Standards) แต่ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี (Accounting Standards) แต่อย่างใด
XBRL ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมการรายงานงบการเงินที่เริ่มมีการประยุกต์ใช้และกล่าวถึงในวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในห่วงโซ่การจัดทำรายงานทางการเงินได้เล็งเห็นว่า XBRL จะทำให้เกิดมาตรฐาน (standards) ของการรายงานงบการเงินซึ่งจะนำไปสู่การลดต้นทุนรวมของทุกหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง และยังช่วยสร้างความโปร่งใส ความถูกต้อง และความทันสมัยของข้อมูลงบการเงินที่เผยแพร่และนำเสนอให้แก่ผู้ใช้ข้อมูล หรือนักลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
รหัสแถบ (Bar Code) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ในอดีตเมื่อครั้งร้านขายของชำยังเป็นแหล่งยอดนิยมในการซื้อขายของประเภทอุปโภค บริโภค หากเราต้องการจะซื้อสินค้า เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปากกา หรือถ่านไฟฉาย เราก็จะเดินตรงไปยังร้านขายของชำ เลือกสิ่งของที่ต้องการ ตรวจสอบราคาจากสติ๊กเกอร์ที่เจ้าของร้านนำมาติดบนสินค้า ซึ่งหลายครั้งที่เราอาจพบ ว่าสินค้าชนิดเดียวกันยี่ห้อเดียวกันแต่ติดราคาไม่เท่ากัน และเมื่อเรานำสินค้าเหล่านั้น ไปชำระเงิน เจ้าของร้านมักจะคำนวนค่าสินค้าโดยการบวกลบในกระดาษ หรือกด เครื่องคิดเลขเพื่อคำนวณค่าสินค้าทั้งหมด
พฤติกรรมของผู้ซื้อที่พบบ่อยครั้งคือการถามเจ้าของร้านอีกครั้งว่าสินค้าชิ้นนี้ราคาเท่าไร เพื่อจะได้ตรวจสอบว่าเจ้าของร้านค้าคำนวณค่าสินค้าถูกหรือไม่ และหากเราซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากชิ้น ก็อาจจะต้องใช้เวลาที่ร้านขายของชำนานขึ้นเพียงเพื่อรอการคำนวณค่าสินค้าของเจ้าของร้านด้วยวิธีดั้งเดิม นอกจากนี้ หากคุณเคยเป็นผู้เข้าแถว (Queuing) เพื่อรอเจ้าของร้านคิดเงินค่าสินค้าให้แก่ลูกค้าหลายๆ ราย คุณเคยรู้สึกหงุดหงิดใจที่ต้องรอเพื่อซื้อและชำระราคาสินค้าเป็นเวลานานเช่นนี้หรือไม่
ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัดคือการนำเอารหัสแถบ (Bar Code) มาใช้ติดบนสินค้าที่วางขายกันตามร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป
รหัสแถบ (Bar Code) เป็นแถบเส้นดำยาวพิมพ์เรียงเป็นแถบบนตัวสินค้า สิ่งซึ่งแถบดำเหล่านี้หมายถึงมักจะเป็น "ข้อความ" ที่ใช้บ่งบอกความเป็นสินค้านั้นๆ อาทิเช่น ยาสีฟัน สบู่ แปรงสีฟัน ปากกา เป็นต้น รหัสแถบที่อยู่บนสินค้าจะทำให้เจ้าของร้านค้าสามารถคำนวณเงินค่าสินค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้นถึงแม้ว่าจะเป็นการซื้อของจำนวนหลายๆชิ้น เพียงแต่ใช้เครื่องมืออ่านรหัสแถบรูดผ่านรหัสแถบ ก็จะทราบว่าสินค้าชนิดนั้นเป็นสินค้าอะไร และหากมีการเขียนโปรแกรมราคาสินค้าเข้ากับเครื่องคำนวนราคาสินค้า ความผิดพลาดในการคำนวณราคาสินค้าก็จะไม่เกิดขึ้น ผู้ซื้อก็ไม่ต้องใช้เวลารอมากนักในการเข้าแถวชำระราคาสินค้า นอกจากนี้ เมื่อร้านค้าใช้รหัสแถบ ร้านค้าก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดราคาลงบนสินค้าทุกตัวอีกต่อไป ซึ่งทำให้สะดวกต่อการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าเมื่อใดก็ตามที่เจ้าของร้านค้าต้องการ
การใช้รหัสแถบ (Bar Code) เพื่อประโยชน์ในการรายงานข้อมูลทางการเงิน
เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว นายชาลี ฮอฟแมนน์ (Charlie Hoffman) ผู้ตรวจสอบบัญชีในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดแนวคิดในการนำเอารูปแบบและวิธีการใช้รหัสแถบ (Bar Code) มาประยุกต์ใช้กับข้อมูลบัญชีทางการเงิน โดยนายชาลีมองว่าบัญชีการเงินก็เหมือนสินค้าประเภทหนึ่ง ซึ่งเมื่อติดรหัสแถบเพื่อบ่งบอก “ข้อความ” แล้ว ก็จะเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าข้อความนี้หมายถึงบัญชีทางการเงินใด และเมื่อมีการเขียนโปรแกรมเพื่อให้อ่านข้อมูลของบัญชีการเงินนั้นๆ เช่น ให้รวมยอดเงินสด หรือให้จัดทำอัตราส่วนทางการเงิน (financial ratios) ก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการนำเสนอข้อมูลที่มีคุณภาพสูงเพื่อใช้ต่อในการวิเคราะห์ข้อมูลของนักลงทุน
นายชาลีได้ตั้งชื่อแนวคิดนี้ว่าเทคโนโลยี XBRL (หรือที่ย่อมาจากคำว่า eXtensible Business Reporting Language) โดยได้นำเอาเทคโนโลยี XML (eXtensible Markup Language) ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่รู้จักและนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายของนักพัฒนาระบบงานโดยทั่วไป มาผนวกรวมกับแนวคิดการจัดทำคู่มือรหัสแถบสำหรับบัญชีการเงิน (ซึ่งนายชาลีเรียกมันว่า “Taxonomy”) และได้เริ่มแนะนำเทคโนโลยี XBRL กับผู้เกี่ยวข้องจำนวน 13 รายซึ่งเห็นชอบร่วมกันที่จะผลักดันแนวคิดนี้ให้ขยายขอบเขตการใช้งานให้กว้างขวางต่อไป
องค์กรหรือหน่วยงานในระดับสากลเริ่มใช้ XBRL มากขึ้นเพื่อสร้างมาตรฐานให้กับการรายงานข้อมูลการเงิน
จนถึงวันนี้ XBRL เริ่มเป็นที่รู้จักกันและมีการประยุกต์ใช้ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงินมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ องค์กรกำกับสถาบันการเงิน องค์กรกำกับตลาดหลักทรัพย์และธุรกิจหลักทรัพย์ กรมสรรพากร หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนบริษัท ดังตัวอย่างโดยสังเขปดังนี้
* ตลาดหลักทรัพย์ : ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (Tokyo Stock Exchange) ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Stock Exchange) ตลาดหลักทรัพย์แห่งสเปน (Spain Stock Exchange) ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค (New York Stock Exchange) เป็นต้น
* องค์กรกำกับสถาบันการเงิน : US Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา, ธนาคารแห่งประเทศสเปน (Bank of Spain), ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan) เป็นต้น
* องค์กรกำกับตลาดหลักทรัพย์และธุรกิจหลักทรัพย์ : สำนักงานกลต. แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (US SEC) องค์กรกำกับหลักทรัพย์แห่งประเทศจีน (China Securities Regulatory Commission – CSRS) องค์กรกำกับหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์แห่งประเทศฮ่องกง (HK Securities and Future Commission) เป็นต้น
* องค์กรจัดเก็บภาษี : กรมสรรพากรแห่งประเทศญี่ปุ่น (National Tax Agency) กรมสรรพากรแห่งประเทศแคนาดา (Canada Tax Agency) กรมสรรพากรแห่งประเทศไอร์แลนด์ (The Irish Revenue Commission) กรมสรรพากรแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ (Dutch Tax Authority) เป็นต้น
* องค์กรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการรายงานข้อมูลทางการเงิน: International Accounting Standard Board (IASB), Financial Accounting Standard Board (FASB), CFA Institute เป็นต้น
* ผู้สอบบัญชีชั้นนำ: Price Waterhouse Coopers, KPMG International, Ernst & Young, Deloitte Touche Tohmatsu เป็นต้น
เทคโนโลยี XBRL กับมาตรฐานการรายงานงบการเงินในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยี XBRL ยังคงเป็นเรื่องใหม่ที่จะต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมกันต่อไป อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรสำคัญๆ เช่น สำนักงานกลต. ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจ (กระทรวงพาณิชย์) บริษัทผู้สอบบัญชี ฯลฯ ในการผลักดันและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี XBRL อย่างจริงจังในประเทศไทย โดยโครงการแรกที่จะเป็นตัวพิสูจน์ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี XBRL กับการรายงานงบการเงินในประเทศไทย คือโครงการ XBRL นำร่อง (XBRL Pilot Project) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จะเริ่มใช้ในกลางปี 2550 ที่จะถึงนี้
ทั้งนี้ ผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี XBRL คงจะต้องมาจากการจัดโครงสร้างของคู่มือรหัสแถบสำหรับบัญชีการเงินไทย (Taxonomy) ที่ดีและมีมาตรฐานซึ่งทุกหน่วยงานจะสามารถนำไปใช้งานร่วมกันในอนาคต รวมถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นและพิสูจน์ได้จริงจากโครงการ XBRL นำร่องในครั้งนี้
http://xbrl.set.or.th/th/about/about.html
แมงเม่าบินเข้ากลางใจ
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
XBRL
โพสต์ที่ 6
... โชว์เทพ ก็คราวนี้แหละ :lol:
มากัดนะจ๊ะ
ขอบคุณมากๆนะครับคุณ alaster
มากัดนะจ๊ะ
ขอบคุณมากๆนะครับคุณ alaster
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
- Little Boy
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1318
- ผู้ติดตาม: 0
XBRL
โพสต์ที่ 7
ว้าว พี่จุดทั้งสาม ... เปี๊ยนไป๋
ความรู้..อาจมีขอบเขตจำกัด แต่จินตนาการ..ไร้ขีดจำกัด
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
XBRL
โพสต์ที่ 11
ผมหมายถึง... เขียน:หมอเคพิสูจน์มาแล้วเหรอครับ :mrgreen:
homosapiens. ครับ .... แหม คิดมากไปได้...
:oops: :oops:
จริงๆ ผมอ่าน ของ พี่ สามจุดมานานแล้ว
ผมว่าแก ระดับ ต้นๆ ของเวปเหมือนกัน
เพียงแต่ว่า คนเก่งๆ มักไม่ค่อยแสดงว่าตัวเก่ง
อันนี้แหละปัญหาของผมเลยครับ ... ว่าจะขอสูตรลงทุนสักหน่อย...
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
-
- Verified User
- โพสต์: 1817
- ผู้ติดตาม: 0
XBRL
โพสต์ที่ 12
ผมก็หมายถึงcrazyrisk เขียน:ผมหมายถึง
homosapiens. ครับ .... แหม คิดมากไปได้...
:oops: :oops:
homosapiens เหมือนกันครับ .... แหม คิดมากไปได้...
crazyrisk เขียน:จริงๆ ผมอ่าน ของ พี่ สามจุดมานานแล้ว
ผมว่าแก ระดับ ต้นๆ ของเวปเหมือนกัน
เพียงแต่ว่า คนเก่งๆ มักไม่ค่อยแสดงว่าตัวเก่ง
อันนี้แหละปัญหาของผมเลยครับ ... ว่าจะขอสูตรลงทุนสักหน่อย...
ผมก็ก๊อบเค้ามาทั้งนั้นแหล่ะครับ
หมอเคปากหวานแบบนี้ มิน่าสาวๆถึงได้ระทวย :oops:
แมงเม่าบินเข้ากลางใจ
-
- Verified User
- โพสต์: 1288
- ผู้ติดตาม: 0
XBRL
โพสต์ที่ 13
ถ้ามันเอาไปใช้ได้ทุกองค์กรขนาดนั้น ปัญหา น่าจะเป็นเพราะ พี่ไทย ทำบัญชี3-4อัน ไว้สับขาหลอก...ซึ่งภาษานี้คงเกิดยากในไทย
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง