** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
- tummeng
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3665
- ผู้ติดตาม: 0
** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 1
ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก เพิ่มรายได้ปชช. -หนุนเอสเอ็มอี
และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเอกชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้ ได้อนุมัติมาตรการกระตุ้นและ
ฟื้นฟู เศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงการคัลงเสนอเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบไปด้วย 3 มาตรการหลัก
ดังนี้
- มาตรการภาษีเพิ่มรายได้ประชาชน
1.)เพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 100,000 บาท เป็น 150,000
บาท
2.)เพิ่มลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตจาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท
3.เพิ่มลดหย่อนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจาก
300,000 บาท เป็น 500,000 บาท
4.)เพิ่มลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ ของครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน
จาก 300,000 บาทเป็น 500,000 บาท
5.)ลดหย่อนภาษีเลี้ยงดูคนพิการ 30,000 บาท ต่อ 1 คนพิการ
- มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอี
1.)ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้วิสาหกิจที่มีเงินได้ไม่เกิน 1,200,000 บาท
ระยะเวลา 3 ปี (ปี2551-2553)
2.)ยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ส่วนที่เหลือใช้อัตราเดิม
- มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุน และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเอกชน
1.)ยกเว้นภาษีเงินได้ 25% ให้เอกชนที่ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
ก่อนวันที่ 31 ธ.ค.2553
2.)บริษัทที่ซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ผลิตสินค้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่หักค่าเสื่อม
ราคาได้ 40% ของมูลค่า
3.)ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทจดทะเบียนใหม่ในตลาดเอ็มเอไอจาก 30% เหลือ
20%
4.)ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่ก่อนวันที่ 31 ธ.ค. 2552
สำหรับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จาก 30% เหลือ 25% ของกำไรสุทธิ
5.)ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลบริษัทจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอ จาก 30% เหลือ 20%
ของกำไรสุทธิไม่เกิน 20 ล้านบาท)
6.)ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จาก 30% เหลือ
25% (ไม่เกิน 300 ล้านบาท)
7.)ลดภาษีธุรกิจเฉพาะให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จาก 3% เหลือ 0.1% เป็นเวลา 1
ปี 8.)ลดค่าธรรมเนียม การโอนและการจำนอง อสังหาริมทรัพย์และห้องชุดเหลือ 0.01%
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 04/03/08 เวลา 12:00:19
และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเอกชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้ ได้อนุมัติมาตรการกระตุ้นและ
ฟื้นฟู เศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงการคัลงเสนอเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบไปด้วย 3 มาตรการหลัก
ดังนี้
- มาตรการภาษีเพิ่มรายได้ประชาชน
1.)เพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 100,000 บาท เป็น 150,000
บาท
2.)เพิ่มลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตจาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท
3.เพิ่มลดหย่อนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจาก
300,000 บาท เป็น 500,000 บาท
4.)เพิ่มลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ ของครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน
จาก 300,000 บาทเป็น 500,000 บาท
5.)ลดหย่อนภาษีเลี้ยงดูคนพิการ 30,000 บาท ต่อ 1 คนพิการ
- มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอี
1.)ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้วิสาหกิจที่มีเงินได้ไม่เกิน 1,200,000 บาท
ระยะเวลา 3 ปี (ปี2551-2553)
2.)ยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ส่วนที่เหลือใช้อัตราเดิม
- มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุน และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเอกชน
1.)ยกเว้นภาษีเงินได้ 25% ให้เอกชนที่ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
ก่อนวันที่ 31 ธ.ค.2553
2.)บริษัทที่ซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ผลิตสินค้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่หักค่าเสื่อม
ราคาได้ 40% ของมูลค่า
3.)ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทจดทะเบียนใหม่ในตลาดเอ็มเอไอจาก 30% เหลือ
20%
4.)ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่ก่อนวันที่ 31 ธ.ค. 2552
สำหรับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จาก 30% เหลือ 25% ของกำไรสุทธิ
5.)ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลบริษัทจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอ จาก 30% เหลือ 20%
ของกำไรสุทธิไม่เกิน 20 ล้านบาท)
6.)ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จาก 30% เหลือ
25% (ไม่เกิน 300 ล้านบาท)
7.)ลดภาษีธุรกิจเฉพาะให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จาก 3% เหลือ 0.1% เป็นเวลา 1
ปี 8.)ลดค่าธรรมเนียม การโอนและการจำนอง อสังหาริมทรัพย์และห้องชุดเหลือ 0.01%
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 04/03/08 เวลา 12:00:19
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1067
- ผู้ติดตาม: 0
** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 2
อย่างข้อ 5 กับข้อ 6 นี่ผมยังสงสัยครับ
ว่าสมมติอย่าง บมจ. ใน MAI ถ้าเขามีกำไรสุทธิ 60 ล้านบาท นี่จะต้องจ่ายภาษีอย่างไรระหว่าง
- จ่าย 60ล้าน X 30%
- จ่าย (20ล้าน X 20%) + (40ล้าน X 30%)
ว่าสมมติอย่าง บมจ. ใน MAI ถ้าเขามีกำไรสุทธิ 60 ล้านบาท นี่จะต้องจ่ายภาษีอย่างไรระหว่าง
- จ่าย 60ล้าน X 30%
- จ่าย (20ล้าน X 20%) + (40ล้าน X 30%)
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
-
- Verified User
- โพสต์: 280
- ผู้ติดตาม: 0
** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 3
น่าจะเป็นแบบนี้นะครับ
- จ่าย (20ล้าน X 20%) + (40ล้าน X 30%)
- จ่าย (20ล้าน X 20%) + (40ล้าน X 30%)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 4
ส่วนตัวคิดว่ามาตราการของรัฐ โดยเฉพาะด้านบุคคลธรรมดา เน้นด้านการเพิ่มปริมาณเงิน และเอื้อกับบริษัทประกันมากไป น่าจะมีมาตราการส่งเสริมการออม และการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ มากกว่านี้ เช่น การออมภาคบังคับ หรือ มาตราการส่งเสริมการลงทุนอื่น นอกจาก RMF, LTF :D
-
- Verified User
- โพสต์: 1288
- ผู้ติดตาม: 0
** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 5
แล้วภาษีที่ลดหายไป จะเอาจากไหนดี....หวยบนดิน บ่อนการพนัน :lol:
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
-
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 6
2.)บริษัทที่ซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ผลิตสินค้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่หักค่าเสื่อม
ราคาได้ 40% ของมูลค่า
ผมว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำไมให้หักค่า เสื่อมสูงจัง
หุ้นนี่ เรียนรู้ได้ทั้งชีวิต จริงๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 11
- ผู้ติดตาม: 0
** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 7
อย่างนี้ถือว่า confirm แล้วหรือยังค่ะ
แล้วก็ ข้อ 3 ของมาตรการภาษีเพิ่มรายได้ประชาชน อันนี้ใช่
provident fund ของบริษัท + RMF (15%ของรายได้) แล้วไม่เกิน 500,000 บาท หรือเปล่าค่ะ
ขอบคุณค่ะ
แล้วก็ ข้อ 3 ของมาตรการภาษีเพิ่มรายได้ประชาชน อันนี้ใช่
provident fund ของบริษัท + RMF (15%ของรายได้) แล้วไม่เกิน 500,000 บาท หรือเปล่าค่ะ
ขอบคุณค่ะ
- cryptonian_man
- Verified User
- โพสต์: 585
- ผู้ติดตาม: 0
** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 9
[quote="MindTrick"]แล้วภาษีที่ลดหายไป จะเอาจากไหนดี....หวยบนดิน บ่อนการพนัน
เขาว่า "หลังจากปากพองจากการดื่มนมร้อน เราจะเป่าโยเกิร์ตให้เย็นก่อนตักเข้าปาก"
แต่ทำไมตรูไม่เข็ด เคาะขวาไวตลอดเนี่ย
แต่ทำไมตรูไม่เข็ด เคาะขวาไวตลอดเนี่ย
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 10
[quote="pingzzz"]ส่วนตัวคิดว่ามาตราการของรัฐ โดยเฉพาะด้านบุคคลธรรมดา เน้นด้านการเพิ่มปริมาณเงิน และเอื้อกับบริษัทประกันมากไป น่าจะมีมาตราการส่งเสริมการออม และการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ มากกว่านี้ เช่น การออมภาคบังคับ หรือ มาตราการส่งเสริมการลงทุนอื่น นอกจาก RMF, LTF
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 11
เห็นด้วยครับ และยังเสมือนกับว่ารัฐกู้เงินจากภาคประชาชนเพิ่ม เพราะบริษัทประกันก็ต้องนำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลmprandy เขียน: จริง ๆ การเพิ่มค่าลดหย่อนของเบี้ยประกันก็ถือเป็นการส่งเสริมการออมโดยตรง เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่นิยมซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ซึ่งถือเป็นการออมภาคบังคับไปในตัว การเพิ่มค่าลดหย่อนน่าจะมีผลดีหลายอย่าง
1. ส่งเสริมให้คนไทยมีหลักประกันมากขึ้น ทั้งการประกันชีวิต (โดยตรง) และการประกันสุขภาพ (ในอนุสัญญา ถ้าซื้อ) เป็นการลดภาระสังคมโดยอ้อม
2. ถ้านโยบายของ ทรท.เดิมยังเอามาปัดฝุ่นใหม่ จะเป็นส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนไปด้วย เนื่องจาก รัฐบาล ทรท.มีแผนที่ส่งเสริมให้ บ.ประกัน นำกองทุนของบริษัทส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากการสำรองตามกฏหมาย มาลงทุนในตราสารทุน และกองทุนต่าง ๆ ด้วย
3. ถือเป็นการให้รางวัลอ้อม ๆ สำหรับคนที่พยายามสร้างหลักประกันให้ตัวเอง (เช่นเดียวกับการเพิ่มค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้อสังหา) โดยการลดการพึ่งพารัฐ ผมว่ามีคนไม่น้อยจ่ายเบี้ยประกันเกินกว่าที่จะลดหย่อนได้อยู่แล้ว การเพิ่มค่าลดหย่อนเท่าเทียมกับการลดหย่อนดอกเบี้ย น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีของรัฐกับประชาชน
ตรงนี้ เชื่อว่าเป็นเหมือนมาตรการอื่น ๆ เกี่ยวกับภาษีคราวนี้คือเอาใจคนชั้นกลาง-สูงเพิ่มขึ้นอีกmprandy เขียน:
สิ่งที่ผมดูแล้วแปลก ๆ คือ การเพิ่มค่าลดหย่อนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ RMF ที่ยังใช้เกณฑ์ 15% เดิม แต่เพิ่ม maximum limit เป็น 5 แสน หมายความถึงการ "อุ้ม" คนที่มีรายได้สูง เป็นหลัก (ขึ้นไปถึงเงินได้ 3.33 ล้านต่อปี จาก 2 ล้านต่อปีจะถึง maximum limit) ซึ่งถ้าต้องการส่งเสริมการออมผ่านกองทุนเหล่านี้ ควรเพิ่มเกณฑ์มากกว่า เช่นเป็นไม่เกิน 20% แต่กำหนดเพดานเหมือนเดิม
เพราะเรียนรู้จากความผิดพลาดในการบริหารคราวที่แล้ว ที่เอาใจรากหญ้าเยอะไปหน่อย (อันนี้ผมเดาเอง) :lol:
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 1
** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 12
อันนี้ฉบับเต็มครับ
ฉบับที่ 14 /2551 วันที่ 4 มีนาคม 2551
มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
_____________________
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยการเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและส่งเสริมผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนกระตุ้นการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและส่งเสริมการออมของภาคครัวเรือน ตลอดจนช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดมาตรการภาษีซึ่งเป็นการขยายเพิ่มเติมจากมาตรการเดิมที่ได้เคยดำเนินการมาแล้ว ดังต่อไปนี้
1.1 ปรับเพิ่มเงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมที่กำหนดไว้ 100,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 150,000 บาท
1.2 ปรับเพิ่มวงเงินการยกเว้นและการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิต จากเดิมที่กำหนดไว้ 50,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท
1.3 ปรับเพิ่มวงเงินการหักค่าลดหย่อนเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 300,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 500,000 บาท โดยเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
1.4 ปรับเพิ่มวงเงินการหักค่าลดหย่อนเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 300,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 500,000 บาท
มาตรการข้อ 1.1-1.4 ให้มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
1.5 เพิ่มการหักค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส ซึ่งเป็นคนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีบัตรประจำตัวคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 โดยให้หักได้ 30,000 บาท ต่อคนพิการ ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีที่กฎหมายมีผลใช้บังคับเป็นต้นไป
2. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
เพื่อพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดมาตรการภาษี ดังต่อไปนี้
2.1 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 และมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1,200,000 บาท ต่อปี ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2553
2.2 ปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท จากเดิมที่จัดเก็บในอัตราก้าวหน้า โดยกำไรสุทธิในส่วน 1,000,000 บาทแรก จัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 กำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท จัดเก็บในอัตราร้อยละ 25 และกำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 3,000,000 บาท จัดเก็บในอัตราร้อยละ 30 เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท และสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เหลือให้คงจัดเก็บในอัตราเดิม ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
3. มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอกชนไทย
เพื่อเร่งกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดมาตรการภาษีทั้งที่เป็นการขยายเพิ่มเติมจากมาตรการเดิมที่ได้เคยดำเนินการมาแล้วและมาตรการภาษีใหม่ ดังต่อไปนี้
3.1 ให้บุคคลธรรมดา และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร อุปกรณ์หรือวัสดุที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานโดยรวมค่าติดตั้ง ได้ 1.25 เท่าของค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
3.2 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นของทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตสินค้าหรือให้บริการ ในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามอัตราปกติ ทั้งนี้ ทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
3.3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้ภายในเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
3.4 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นของทรัพย์สินประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในวันที่ได้ทรัพย์สินมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
3.5 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน สามารถเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ในอัตราร้อยละ 100 ของมูลค่าต้นทุน โดยมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ใช้สำหรับทรัพย์สินตามมาตรา 4 (5) ของพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 โดยทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
3.6 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
(1) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่บริษัทได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ
(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้ บริษัทต้องยื่นคำขอจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31ธันวาคม พ.ศ. 2551 และได้รับการจดทะเบียนหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
3.7 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
(1) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ทั้งนี้ เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551
(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่เป็นบริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SET) ทั้งนี้ เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551
3.8 ให้ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ จากเดิมที่กำหนดไว้อัตราร้อยละ 3 เป็นอัตราร้อยละ 0.1 สำหรับรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 1 ปี นับจากวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ
3.9 ให้กระทรวงมหาดไทยลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดไปพร้อมกันด้วยกับการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ สนับสนุนให้มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ให้มากยิ่งขึ้นซึ่งจะทำให้การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นที่ดิน อาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการหรือองค์การของรัฐบาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย และ
(ข) เป็นอาคารประเภทดังต่อไปนี้
- บ้านเดี่ยว
- บ้านแฝด
- บ้านแถว
- อาคารพาณิชย์
(2) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุดร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายห้องชุด ดังต่อไปนี้
(ก) การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(ข) การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองห้องชุดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(3) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารสำนักงาน ร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารสำนักงาน โดยอาคารสำนักงานต้องเป็นอาคารหรืออาคารพร้อมที่ดินที่ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างหรือใบรับแจ้งการก่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร
ทั้งนี้ ภายหลังจากมาตรการที่นำเสนอมีผลบังคับใช้ จะมีการออกประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
มาตรการภาษีที่นำเสนอ จะช่วยลดภาระภาษีอันเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการออมระยะยาวในประเทศมากขึ้น สนับสนุนการประกอบกิจการของวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนกระตุ้นและเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชนให้สอดคล้องกับการส่งเสริมให้เกิดปีแห่งการลงทุน (Investment Year) อันจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวต่อไป
ในส่วนผลกระทบรายได้ภาครัฐ คาดว่าจะทำให้รายได้ภาษีอากรลดลงในปีแรก แต่จากการที่เศรษฐกิจขยายตัว ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภค และมีการเร่งรัดการลงทุนในส่วนของภาคเอกชน ก็จะทำให้รัฐจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นทางหนึ่ง
_____________________
กรมสรรพากร
โทร. (02) 272-8260
ฉบับที่ 14 /2551 วันที่ 4 มีนาคม 2551
มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
_____________________
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยการเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและส่งเสริมผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนกระตุ้นการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและส่งเสริมการออมของภาคครัวเรือน ตลอดจนช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดมาตรการภาษีซึ่งเป็นการขยายเพิ่มเติมจากมาตรการเดิมที่ได้เคยดำเนินการมาแล้ว ดังต่อไปนี้
1.1 ปรับเพิ่มเงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมที่กำหนดไว้ 100,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 150,000 บาท
1.2 ปรับเพิ่มวงเงินการยกเว้นและการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิต จากเดิมที่กำหนดไว้ 50,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท
1.3 ปรับเพิ่มวงเงินการหักค่าลดหย่อนเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 300,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 500,000 บาท โดยเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
1.4 ปรับเพิ่มวงเงินการหักค่าลดหย่อนเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 300,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 500,000 บาท
มาตรการข้อ 1.1-1.4 ให้มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
1.5 เพิ่มการหักค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส ซึ่งเป็นคนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีบัตรประจำตัวคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 โดยให้หักได้ 30,000 บาท ต่อคนพิการ ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีที่กฎหมายมีผลใช้บังคับเป็นต้นไป
2. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
เพื่อพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดมาตรการภาษี ดังต่อไปนี้
2.1 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 และมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1,200,000 บาท ต่อปี ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2553
2.2 ปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท จากเดิมที่จัดเก็บในอัตราก้าวหน้า โดยกำไรสุทธิในส่วน 1,000,000 บาทแรก จัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 กำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท จัดเก็บในอัตราร้อยละ 25 และกำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 3,000,000 บาท จัดเก็บในอัตราร้อยละ 30 เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท และสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เหลือให้คงจัดเก็บในอัตราเดิม ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
3. มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอกชนไทย
เพื่อเร่งกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง กระทรวงการคลังเห็นควรกำหนดมาตรการภาษีทั้งที่เป็นการขยายเพิ่มเติมจากมาตรการเดิมที่ได้เคยดำเนินการมาแล้วและมาตรการภาษีใหม่ ดังต่อไปนี้
3.1 ให้บุคคลธรรมดา และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร อุปกรณ์หรือวัสดุที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานโดยรวมค่าติดตั้ง ได้ 1.25 เท่าของค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
3.2 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นของทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตสินค้าหรือให้บริการ ในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามอัตราปกติ ทั้งนี้ ทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
3.3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้ภายในเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
3.4 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นของทรัพย์สินประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในวันที่ได้ทรัพย์สินมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
3.5 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน สามารถเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ในอัตราร้อยละ 100 ของมูลค่าต้นทุน โดยมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ใช้สำหรับทรัพย์สินตามมาตรา 4 (5) ของพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 โดยทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
3.6 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
(1) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่บริษัทได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ
(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้ บริษัทต้องยื่นคำขอจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31ธันวาคม พ.ศ. 2551 และได้รับการจดทะเบียนหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
3.7 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
(1) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ทั้งนี้ เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551
(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทที่เป็นบริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SET) ทั้งนี้ เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551
3.8 ให้ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ จากเดิมที่กำหนดไว้อัตราร้อยละ 3 เป็นอัตราร้อยละ 0.1 สำหรับรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 1 ปี นับจากวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ
3.9 ให้กระทรวงมหาดไทยลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดไปพร้อมกันด้วยกับการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ สนับสนุนให้มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ให้มากยิ่งขึ้นซึ่งจะทำให้การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นที่ดิน อาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการหรือองค์การของรัฐบาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย และ
(ข) เป็นอาคารประเภทดังต่อไปนี้
- บ้านเดี่ยว
- บ้านแฝด
- บ้านแถว
- อาคารพาณิชย์
(2) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุดร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายห้องชุด ดังต่อไปนี้
(ก) การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(ข) การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองห้องชุดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(3) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารสำนักงาน ร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารสำนักงาน โดยอาคารสำนักงานต้องเป็นอาคารหรืออาคารพร้อมที่ดินที่ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างหรือใบรับแจ้งการก่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร
ทั้งนี้ ภายหลังจากมาตรการที่นำเสนอมีผลบังคับใช้ จะมีการออกประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
มาตรการภาษีที่นำเสนอ จะช่วยลดภาระภาษีอันเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการออมระยะยาวในประเทศมากขึ้น สนับสนุนการประกอบกิจการของวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนกระตุ้นและเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชนให้สอดคล้องกับการส่งเสริมให้เกิดปีแห่งการลงทุน (Investment Year) อันจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวต่อไป
ในส่วนผลกระทบรายได้ภาครัฐ คาดว่าจะทำให้รายได้ภาษีอากรลดลงในปีแรก แต่จากการที่เศรษฐกิจขยายตัว ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภค และมีการเร่งรัดการลงทุนในส่วนของภาคเอกชน ก็จะทำให้รัฐจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นทางหนึ่ง
_____________________
กรมสรรพากร
โทร. (02) 272-8260
It's earnings that count
- krisy
- Verified User
- โพสต์: 736
- ผู้ติดตาม: 0
** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 15
คร่าวๆ ตอนก่อนยื่น ครม. เราว่าเราเห็นเค้าเขียนว่า VAT คงไว้ที่ 7% ต่ออีก 2 ปีนะคะ
แต่ตอนนี้มาอ่านฉบับประกาศ ไม่มีการพูดเรื่องนี้แล้ว แปลว่า VAT ใช้ที่ 7 % ถึงแค่เดือนกย.ปีนี้ แล้วปรับเป็น 10% ถูกไหมค่ะ
แต่ตอนนี้มาอ่านฉบับประกาศ ไม่มีการพูดเรื่องนี้แล้ว แปลว่า VAT ใช้ที่ 7 % ถึงแค่เดือนกย.ปีนี้ แล้วปรับเป็น 10% ถูกไหมค่ะ
.....Give Everything but not Give Up.....
-
- Verified User
- โพสต์: 222
- ผู้ติดตาม: 0
** ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีกระตุ้น-ฟื้นฟูศก. 3 ข้อหลัก **
โพสต์ที่ 16
แล้วตกลงที่จะลดหย่อนเพิ่มจากคนละ 60,000 เป็น 90,000
และลดหย่อนเงินกู้บ้านหลังแรกมากกว่า 100,000
ไม่ผ่านใช่มั้ยครับ? :( :(
และลดหย่อนเงินกู้บ้านหลังแรกมากกว่า 100,000
ไม่ผ่านใช่มั้ยครับ? :( :(