LPG จะลอยตัวหุ้นตัวใดจะได้ประโยชน์และเสียประโยชน์
-
- Verified User
- โพสต์: 51
- ผู้ติดตาม: 0
LPG จะลอยตัวหุ้นตัวใดจะได้ประโยชน์และเสียประโยชน์
โพสต์ที่ 1
ช่วยกันคิดประเมินและวางแผนล่วงหน้า (ฆ่าเวลา) เวลาหุ้นตกครับ
ที่แน่ๆ PTTEP น่าจะได้แน่ๆครับ
ที่แน่ๆ PTTEP น่าจะได้แน่ๆครับ
สร้างรังที่ละนิด..เพื่อครอบครัว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 249
- ผู้ติดตาม: 0
LPG จะลอยตัวหุ้นตัวใดจะได้ประโยชน์และเสียประโยชน์
โพสต์ที่ 3
ได้ยินว่า จะเริ่มทยอยลอยตัว ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม แต่ไม่น่ามีผลต่อบริษัท ต่างๆ เพราะรัฐเป็นผู้ชดเชยส่วนต่างครับ :D
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: LPG จะลอยตัวหุ้นตัวใดจะได้ประโยชน์และเสียประโยชน์
โพสต์ที่ 6
อุตฯ2กลุ่มอ่วมพิษขึ้นราคาแอลพีจี"เซรามิก-แก้วและกระจก"วอนรัฐงัดแผนช่วยเหลือ [ คมชัดลึก , วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2554 ]
อุตฯเซรามิก-แก้วและกระจกอึ้ง แบกต้นทุนแอลพีจีอ่วม หลังรัฐทยอยขึ้นราคา เตรียมหารือภาครัฐหามาตรการช่วยเหลือให้ชัดเจน ชี้หากไม่ช่วยอาจต้องปิดกิจการเพียบ โอดถูกซ้ำเติมจากต้นทุนหลายด้าน ขนส่งหนุนขึ้นภาษีป้ายรถติดแอลพีจี
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการหารือถึงผลกระทบจากนโยบายทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ในภาคอุตสาหกรรมว่า นโยบายดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเซรามิก กลุ่มแก้วและกระจก ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี เพราะใช้แอลพีจี 25-40% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ซึ่ง ส.อ.ท.จะหารือกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เพื่อผลักดันให้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม จากที่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน โดย ส.อ.ท.จะส่งหนังสือถึงหน่วยงานด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงจุดยืนของภาคเอกชน
นายอำนาจ ยะโสธร เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก ส.อ.ท. กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะขอเข้าหารือกับ สนพ.ใน 5 มาตรการ ได้แก่
1.ให้ผู้ใช้แอลพีจีที่ติดตั้งถังไม่เกิน 20 ถัง สามารถใช้แอลพีจีในราคาเดิม จากที่กำหนดไว้เฉพาะผู้ใช้ไม่เกิน 10 ถัง
2.ให้ผู้ประกอบการเซรามิก แก้วและกระจก ที่มีถังประเภท Bulk หรือถังขนาด 48 กิโลกรัม ใช้แอลพีจีในราคาเดิมได้ 3-5 ปี โดยภาครัฐชะลอการปรับราคาแอลพีจี หรือมาตรการอื่นช่วยให้ใช้ราคาเดิม
3.ให้ภาครัฐหาพลังงานทางเลือกที่มีราคาไม่ต่างจากราคาแอลพีจีในปัจจุบัน
4.ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณในการเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับพลังงานทางเลือก จัดหาผู้เชี่ยวชาญปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์ การประหยัดพลังงานและช่วยเหลือทางเทคนิคการเผาเซรามิกให้เหมาะสมกับพลังงานทางเลือก โดยต้องมีแผนงานให้ทุกโรงงานดำเนินการเสร็จภายใน 3-5 ปี และ
5.สนับสนุนวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับการย้ายฐานการผลิตไปแนวท่อก๊าซ
"การทยอยขึ้นราคาก๊าซหุงต้มโดยไม่มีมาตรการรองรับ จะทำให้ผู้ประกอบการกลุ่มเซรามิก 300 ราย ทั้งรายเล็กและรายกลางได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะรายกลางที่ใช้ถังแอลพีจีความจุสูงอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการลงในไม่ช้า เพราะถูกซ้ำเติมต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอยู่แล้ว จากการขึ้นค่าแรง เงินบาทแข็งค่า และบางรายรับคำสั่งซื้อล่วงหน้า 1-3 ปี ซึ่งตกลงราคาเอาไว้แล้ว" นายอำนาจกล่าว
ด้านนายเทียนโชติ จงพีร์เพียร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณามาตรการทางภาษี โดยปรับขึ้นภาษีการต่อป้ายทะเบียนรถยนต์ประจำปี เพื่อลดการใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคการขนส่งว่า เชื่อว่ามาตรการนี้จะทำให้ประชาชนตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติหรือเอ็นจีวีเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีให้เพียงพอ ส่วนภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ที่ใช้แอลพีจีจะปรับขึ้นเท่าใดนั้น ต้องขอเวลาศึกษารายละเอียดก่อน
ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20110 ... B8%AD.html
อุตฯเซรามิก-แก้วและกระจกอึ้ง แบกต้นทุนแอลพีจีอ่วม หลังรัฐทยอยขึ้นราคา เตรียมหารือภาครัฐหามาตรการช่วยเหลือให้ชัดเจน ชี้หากไม่ช่วยอาจต้องปิดกิจการเพียบ โอดถูกซ้ำเติมจากต้นทุนหลายด้าน ขนส่งหนุนขึ้นภาษีป้ายรถติดแอลพีจี
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการหารือถึงผลกระทบจากนโยบายทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ในภาคอุตสาหกรรมว่า นโยบายดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเซรามิก กลุ่มแก้วและกระจก ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี เพราะใช้แอลพีจี 25-40% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ซึ่ง ส.อ.ท.จะหารือกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เพื่อผลักดันให้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม จากที่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน โดย ส.อ.ท.จะส่งหนังสือถึงหน่วยงานด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงจุดยืนของภาคเอกชน
นายอำนาจ ยะโสธร เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก ส.อ.ท. กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะขอเข้าหารือกับ สนพ.ใน 5 มาตรการ ได้แก่
1.ให้ผู้ใช้แอลพีจีที่ติดตั้งถังไม่เกิน 20 ถัง สามารถใช้แอลพีจีในราคาเดิม จากที่กำหนดไว้เฉพาะผู้ใช้ไม่เกิน 10 ถัง
2.ให้ผู้ประกอบการเซรามิก แก้วและกระจก ที่มีถังประเภท Bulk หรือถังขนาด 48 กิโลกรัม ใช้แอลพีจีในราคาเดิมได้ 3-5 ปี โดยภาครัฐชะลอการปรับราคาแอลพีจี หรือมาตรการอื่นช่วยให้ใช้ราคาเดิม
3.ให้ภาครัฐหาพลังงานทางเลือกที่มีราคาไม่ต่างจากราคาแอลพีจีในปัจจุบัน
4.ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณในการเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับพลังงานทางเลือก จัดหาผู้เชี่ยวชาญปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์ การประหยัดพลังงานและช่วยเหลือทางเทคนิคการเผาเซรามิกให้เหมาะสมกับพลังงานทางเลือก โดยต้องมีแผนงานให้ทุกโรงงานดำเนินการเสร็จภายใน 3-5 ปี และ
5.สนับสนุนวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับการย้ายฐานการผลิตไปแนวท่อก๊าซ
"การทยอยขึ้นราคาก๊าซหุงต้มโดยไม่มีมาตรการรองรับ จะทำให้ผู้ประกอบการกลุ่มเซรามิก 300 ราย ทั้งรายเล็กและรายกลางได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะรายกลางที่ใช้ถังแอลพีจีความจุสูงอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการลงในไม่ช้า เพราะถูกซ้ำเติมต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอยู่แล้ว จากการขึ้นค่าแรง เงินบาทแข็งค่า และบางรายรับคำสั่งซื้อล่วงหน้า 1-3 ปี ซึ่งตกลงราคาเอาไว้แล้ว" นายอำนาจกล่าว
ด้านนายเทียนโชติ จงพีร์เพียร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณามาตรการทางภาษี โดยปรับขึ้นภาษีการต่อป้ายทะเบียนรถยนต์ประจำปี เพื่อลดการใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคการขนส่งว่า เชื่อว่ามาตรการนี้จะทำให้ประชาชนตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติหรือเอ็นจีวีเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีให้เพียงพอ ส่วนภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ที่ใช้แอลพีจีจะปรับขึ้นเท่าใดนั้น ต้องขอเวลาศึกษารายละเอียดก่อน
ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20110 ... B8%AD.html
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."