เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
-
- Verified User
- โพสต์: 520
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 31
ฝากบอกสรรพากรด้วยนะครับ ว่าอย่าเลี่ยงบาลี แค่เพียงเพื่อจะได้เงินเพิ่ม มันจะทำให้ประชาชนหมดศัทธา
การเครดิตภาษี คิดขึ้นมาเพราะว่า จะได้ไม่เก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะเงินก้อนนั้นได้เสียภาษีไปแล้ว ดังนั้น PTTEP เสียภาษีไปแล้ว มากกว่าบริษัทอื่นๆด้วยซ้ำ ก็ควรจะได้รับการเครดิตภาษี เช่นเดียวกัน
เหตุผลที่นำมาอ้างว่าไม่สามารถเครดิตภาษีได้ จึงฟังไม่ขึ้น และขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของการเครดิตภาษีครับ
การเครดิตภาษี คิดขึ้นมาเพราะว่า จะได้ไม่เก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะเงินก้อนนั้นได้เสียภาษีไปแล้ว ดังนั้น PTTEP เสียภาษีไปแล้ว มากกว่าบริษัทอื่นๆด้วยซ้ำ ก็ควรจะได้รับการเครดิตภาษี เช่นเดียวกัน
เหตุผลที่นำมาอ้างว่าไม่สามารถเครดิตภาษีได้ จึงฟังไม่ขึ้น และขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของการเครดิตภาษีครับ
In the long run, We are all dead.
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 34
คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคล้ายแนวทางในการปฏิบัติเท่านั้น
ต้องออกเป็นคำสั่งของกรมสรรพากรถึงเป็นตัวบทกฏหมาย
ซึ่งตัวบทกฏหมายในข้อนี้ต้องอ่านกฏหมายเรื่องปิโตรเลี่ยมต่อ
ว่ามีระบุการจ่ายเงินปันผลในกฏหมายดังกล่าวอย่างไง
ถ้าหากไม่มีต้องไปอ่านคำสั่ง ป. ที่แสดงในกระทู้นี้
ว่ามีป.อะไรเกี่ยวข้อง
และต้องดูตัวแม่ด้วยคือ กฏหมายรัฐฏากร (เขียนถูกไหมเนี่ย)
ว่ามีข้อไหนที่ขัดกับตัวนี้หรือเปล่า ถ้าขัดตัวแม่ ลูกก็ถือว่าไม่ได้บังคับใช้
งานนี้ต้องเพิ่งพาคนที่มีความรู้ด้านกฏหมายภาษีโดยเฉพาะ
เนื่องจากว่า ทุกปีมันเปลี่ยนแปลงตลอดไม่นิ่งเลย
ต้องออกเป็นคำสั่งของกรมสรรพากรถึงเป็นตัวบทกฏหมาย
ซึ่งตัวบทกฏหมายในข้อนี้ต้องอ่านกฏหมายเรื่องปิโตรเลี่ยมต่อ
ว่ามีระบุการจ่ายเงินปันผลในกฏหมายดังกล่าวอย่างไง
ถ้าหากไม่มีต้องไปอ่านคำสั่ง ป. ที่แสดงในกระทู้นี้
ว่ามีป.อะไรเกี่ยวข้อง
และต้องดูตัวแม่ด้วยคือ กฏหมายรัฐฏากร (เขียนถูกไหมเนี่ย)
ว่ามีข้อไหนที่ขัดกับตัวนี้หรือเปล่า ถ้าขัดตัวแม่ ลูกก็ถือว่าไม่ได้บังคับใช้
งานนี้ต้องเพิ่งพาคนที่มีความรู้ด้านกฏหมายภาษีโดยเฉพาะ
เนื่องจากว่า ทุกปีมันเปลี่ยนแปลงตลอดไม่นิ่งเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 14
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 35
ผมก็สนใจลงทุนหุ้น ในส่วนการเครดิตภาษี ซึ่งเริ่มแรกจากบทความของพี่ครรชิต พร้อมยกตัวอย่างถึงตัวหุ้น PTTEP ซึ่งเป็นตัวเดียวที่มีอัตราภาษีจากเงินได้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ที่ 50% ซึ่งเป็นอัตราที่มากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ นอกนั้นก็ 30 % 25 % และอื่นๆ
หลังจากนั้นพอถึงรอบการประกาศขึ้น XD เพื่อจ่ายปันผล ในทุกๆ ครั้งผมต้องซื้อตัว PTTEP ทุกครั้งเพื่อขอเครดิตภาษีได้มากที่สุดถึง 1 เท่า จะขาดมิได้เลย
ดังนั้นคงต้องรอข้อสรุปที่ชัดเจนถึงที่สุดอย่างเป็นทางการทางกฏหมายอีกครั้งนึง ว่าเป็นอย่างไร / เครดิตภาษีไม่ได้เฉพาะ PTT ที่รับเงินปันผลจาก PTTEP หรือไม่ / เริ่มบังคับใช้เมื่อไร / มีผลย้อนหลังหรือไม่ /
และ หากไม่สามารถเครดิตภาษีได้ต่อไป ก็คงน่าเสียดายไปเหมือนกัน
หลังจากนั้นพอถึงรอบการประกาศขึ้น XD เพื่อจ่ายปันผล ในทุกๆ ครั้งผมต้องซื้อตัว PTTEP ทุกครั้งเพื่อขอเครดิตภาษีได้มากที่สุดถึง 1 เท่า จะขาดมิได้เลย
ดังนั้นคงต้องรอข้อสรุปที่ชัดเจนถึงที่สุดอย่างเป็นทางการทางกฏหมายอีกครั้งนึง ว่าเป็นอย่างไร / เครดิตภาษีไม่ได้เฉพาะ PTT ที่รับเงินปันผลจาก PTTEP หรือไม่ / เริ่มบังคับใช้เมื่อไร / มีผลย้อนหลังหรือไม่ /
และ หากไม่สามารถเครดิตภาษีได้ต่อไป ก็คงน่าเสียดายไปเหมือนกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 36
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ที่ 37/2551
เรื่อง ภาษีเงีนได้บุคคลธรรมดา กรณีการเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฏากร
---------------------------------------
ด้วยกรมสรรพากรได้ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรวินิจฉัยว่า
1. กรณีผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และเป็นเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ ได้จากกิจการปิโตรเลียม ผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่
2. กรณีบริษัทได้รับเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการปิโตรเลียมจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และนำเงินได้ดังกล่าวมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือไม่
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาและได้มีคำวินิจฉัยในการประชุมครั้งที่ 39/2551 วันที่ 2 เมษายน 2551 ว่า
1. ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและเป็นเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการปิโตรเลียม ไม่ได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรเงินปันผลดังกล่าวจะต้องจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรแล้วเท่านั้น
2. กรณีบริษัทได้รับเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการปิโตรเลียมจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และนำเงินได้ดังกล่าวมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดา บุคคลดังกล่าวจะไม่ได้รับเครดิต ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรสำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทเนื่องจากเงินปันผลที่ผู้มีเงินได้ได้รับจากบริษัทนั้นเป็นเงินได้ของบริษัทที่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร โดยผลของบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มิได้เป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
คำวินิจฉัยนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำวินิจฉัยนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์
รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน
ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ที่ 37/2551
เรื่อง ภาษีเงีนได้บุคคลธรรมดา กรณีการเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฏากร
---------------------------------------
ด้วยกรมสรรพากรได้ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรวินิจฉัยว่า
1. กรณีผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และเป็นเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ ได้จากกิจการปิโตรเลียม ผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่
2. กรณีบริษัทได้รับเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการปิโตรเลียมจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และนำเงินได้ดังกล่าวมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือไม่
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาและได้มีคำวินิจฉัยในการประชุมครั้งที่ 39/2551 วันที่ 2 เมษายน 2551 ว่า
1. ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและเป็นเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการปิโตรเลียม ไม่ได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรเงินปันผลดังกล่าวจะต้องจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรแล้วเท่านั้น
2. กรณีบริษัทได้รับเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการปิโตรเลียมจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และนำเงินได้ดังกล่าวมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดา บุคคลดังกล่าวจะไม่ได้รับเครดิต ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรสำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทเนื่องจากเงินปันผลที่ผู้มีเงินได้ได้รับจากบริษัทนั้นเป็นเงินได้ของบริษัทที่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร โดยผลของบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มิได้เป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
คำวินิจฉัยนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำวินิจฉัยนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์
รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน
ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 37
จากคำวินิจฉัย
มาตราที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา47 ทวิ
มาตรา 47 ทวิ ให้ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (4)(ข) ซึ่งได้รับจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องเสียหารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้หลายอัตรา ผู้จ่ายเงินได้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ชัดเจนว่าเงินได้ที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด ( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับปีภาษี 2540 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.122/2545 )
เครดิตภาษีที่คำนวณได้ตามความในวรรคหนึ่ง ให้นำมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้นำเครดิตภาษีที่คำนวณได้ดังกล่าวหักออกจากภาษีที่ต้องเสีย ถ้ายังขาดหรือเหลือเท่าใดให้ผู้มีเงินได้เสียภาษีสำหรับจำนวนที่ขาด หรือมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เหลือนั้นคืน
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่ผู้มีเงินได้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่งไม่ถูกต้อง อันเป็นเหตุให้เครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ให้ผู้จ่ายเงินได้รับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับคืนเกินไป หรือที่ชำระไว้ไม่ครบ และถ้าผู้จ่ายเงินได้หรือผู้มีเงินได้ไม่ชำระเงินดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้งจากพนักงานประเมิน ให้ถือว่าเงินจำนวนที่เรียกให้ชำระเป็นภาษีอากรค้าง ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนน้อยกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ให้แจ้งผู้มีเงินได้ทราบถึงสิทธิที่จะได้รับเงินที่เหลือนั้นคืนตามกฎหมาย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับปีภาษี 2540 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.120/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.122/2545 )
http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata47_2
มาตราที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา47 ทวิ
มาตรา 47 ทวิ ให้ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (4)(ข) ซึ่งได้รับจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องเสียหารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้หลายอัตรา ผู้จ่ายเงินได้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ชัดเจนว่าเงินได้ที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด ( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับปีภาษี 2540 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.122/2545 )
เครดิตภาษีที่คำนวณได้ตามความในวรรคหนึ่ง ให้นำมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้นำเครดิตภาษีที่คำนวณได้ดังกล่าวหักออกจากภาษีที่ต้องเสีย ถ้ายังขาดหรือเหลือเท่าใดให้ผู้มีเงินได้เสียภาษีสำหรับจำนวนที่ขาด หรือมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เหลือนั้นคืน
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่ผู้มีเงินได้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่งไม่ถูกต้อง อันเป็นเหตุให้เครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ให้ผู้จ่ายเงินได้รับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับคืนเกินไป หรือที่ชำระไว้ไม่ครบ และถ้าผู้จ่ายเงินได้หรือผู้มีเงินได้ไม่ชำระเงินดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้งจากพนักงานประเมิน ให้ถือว่าเงินจำนวนที่เรียกให้ชำระเป็นภาษีอากรค้าง ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนน้อยกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ให้แจ้งผู้มีเงินได้ทราบถึงสิทธิที่จะได้รับเงินที่เหลือนั้นคืนตามกฎหมาย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับปีภาษี 2540 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.120/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.122/2545 )
http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata47_2
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 38
จากนั้นมาดูมาตรา 40(4)ข
มาตรา 40 (4) (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับปีภาษี 2525 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.122/2545 )
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน
ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2523 ใช้บังคับปีภาษี 2523 เป็นต้นไป )
http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata40
มาตรา 40 (4) (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับปีภาษี 2525 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.122/2545 )
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน
ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2523 ใช้บังคับปีภาษี 2523 เป็นต้นไป )
http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata40
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 39
จากคำวินิจฉัยและดูประมวลรัษฎากรในมาตราที่เกี่ยวข้อง
ดูเหมือนว่าคำวินิจฉัยจะขัดแย้งกับบทบัญญัติในประมวล
สังเกตตัวสีแดงที่ทำไว้ในความเห็นข้างบน
ม.47ทวิ บอกว่าผู้มีเงินได้ตามม.40(4)ข ซึ่งได้รับจากนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเครดิตภาษี
ม.40(4)ข ก็ได้ระบุถึง เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
ซึ่งก็แปลว่าเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรตามภาษีเงินได้ปิโตรเลียมถือเป็นส่วนหนึ่งของ ม.40(4)ข
แล้วทำไมคำวินิจฉัยถึงขัดแย้งกับประมวลรัษฎากร????
ดูเหมือนว่าคำวินิจฉัยจะขัดแย้งกับบทบัญญัติในประมวล
สังเกตตัวสีแดงที่ทำไว้ในความเห็นข้างบน
ม.47ทวิ บอกว่าผู้มีเงินได้ตามม.40(4)ข ซึ่งได้รับจากนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเครดิตภาษี
ม.40(4)ข ก็ได้ระบุถึง เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
ซึ่งก็แปลว่าเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรตามภาษีเงินได้ปิโตรเลียมถือเป็นส่วนหนึ่งของ ม.40(4)ข
แล้วทำไมคำวินิจฉัยถึงขัดแย้งกับประมวลรัษฎากร????
- tom
- Verified User
- โพสต์: 691
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 40
ผมส่งหลักฐานการขอเครดิตภาษี ให้กรมสรรพกรเมื่อวันที่ 3 เมษายน หนึ่งในนั้นมี ปตท สผ ด้วยครับ เมื่อวานนี้ได้รับแจ้งทาง sms ว่าได้ส่งเช็คคืนภาษีมาแล้วเมื่อวนที่ 13 พฤษภา วันสองวันนี้จะลุ้นครับว่าของ ปตทสผ สรรพากรทั่นจะว่ายังไงบ้าง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 163
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 43
ขอขุดกระทู้ครับพี่ สรุปว่าตอนนี้เป็นยังไงมั่งอ่ะครับ pttep เครดิตภาษีได้มั้ยอ่ะครับ
อันนี้รูปจริงนะครับ save มาจาก bloomberg สมัย subprime
วันที่นั่นก็วันเกิดผมครับ บังเอิญจริง