ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุน อย่าตระหนกเทขายหุ้นตามก้นต่างชาติ
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุน อย่าตระหนกเทขายหุ้นตามก้นต่างชาติ
โพสต์ที่ 1
ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุน อย่าตระหนกเทขายหุ้นตามก้นต่างชาติ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 กันยายน 2551 15:50 น.
ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุนอย่าตระหนก แนะติดตามข่าวเลห์แมนฯ อย่างรอบคอบ เพราะต่างชาติถอนเงินไปอุดสภาพคล่อง เชื่อพื้นฐานเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง มั่นใจไม่กระทบตรงต่อภาคธุรกิจในประเทศ
วันนี้ (16 ก.ย.) นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า จากข่าวที่เลห์แมน บราเธอร์ส ธนาคารเพื่อการลงทุนของสหรัฐฯ ยื่นล้มละลาย และส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคและตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงนั้น เชื่อว่าเป็นการปรับสภาพคล่อง เพื่อรองรับการไถ่ถอนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างประเทศ สำนักงาน ก.ล.ต. จึงอยากขอให้ผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อขายหุ้นด้วยความรอบคอบเพราะระบบเศรษฐกิจของประเทศยังคงมั่นคง และอยู่ในทิศทางที่ดี
นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ประสานงานใกล้ชิดกับหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามผลกระทบของเรื่องดังกล่าว สำหรับธุรกิจด้านหลักทรัพย์ พบว่า บริษัท เลห์แมนฯ ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ส่วนด้านธนาคารพาณิชย์ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนด้วยนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ติดตามดูแลใกล้ชิดอยู่แล้ว ผู้ลงทุนจึงน่าจะคลายความกังวลลงได้ เพราะปัญหาของเลห์แมน บราเธอร์สไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจในประเทศไทย
"ก.ล.ต. ขอเรียนว่าปัญหาของสถาบันการเงินในต่างประเทศตามที่ปรากฏเป็นข่าวไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจในประเทศไทย โดย ก.ล.ต. และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องได้ประสานงานและติดตามข้อมูลที่อาจเกิดผลกระทบกับบริษัทจดทะเบียนและบริษัทหลักทรัพย์อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว"นายประสงค์ สรุปทิ้งท้าย
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 กันยายน 2551 15:50 น.
ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุนอย่าตระหนก แนะติดตามข่าวเลห์แมนฯ อย่างรอบคอบ เพราะต่างชาติถอนเงินไปอุดสภาพคล่อง เชื่อพื้นฐานเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง มั่นใจไม่กระทบตรงต่อภาคธุรกิจในประเทศ
วันนี้ (16 ก.ย.) นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า จากข่าวที่เลห์แมน บราเธอร์ส ธนาคารเพื่อการลงทุนของสหรัฐฯ ยื่นล้มละลาย และส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคและตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงนั้น เชื่อว่าเป็นการปรับสภาพคล่อง เพื่อรองรับการไถ่ถอนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างประเทศ สำนักงาน ก.ล.ต. จึงอยากขอให้ผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อขายหุ้นด้วยความรอบคอบเพราะระบบเศรษฐกิจของประเทศยังคงมั่นคง และอยู่ในทิศทางที่ดี
นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ประสานงานใกล้ชิดกับหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามผลกระทบของเรื่องดังกล่าว สำหรับธุรกิจด้านหลักทรัพย์ พบว่า บริษัท เลห์แมนฯ ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ส่วนด้านธนาคารพาณิชย์ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนด้วยนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ติดตามดูแลใกล้ชิดอยู่แล้ว ผู้ลงทุนจึงน่าจะคลายความกังวลลงได้ เพราะปัญหาของเลห์แมน บราเธอร์สไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจในประเทศไทย
"ก.ล.ต. ขอเรียนว่าปัญหาของสถาบันการเงินในต่างประเทศตามที่ปรากฏเป็นข่าวไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจในประเทศไทย โดย ก.ล.ต. และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องได้ประสานงานและติดตามข้อมูลที่อาจเกิดผลกระทบกับบริษัทจดทะเบียนและบริษัทหลักทรัพย์อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว"นายประสงค์ สรุปทิ้งท้าย
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุน อย่าตระหนกเทขายหุ้นตามก้นต่างชาติ
โพสต์ที่ 2
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ปัญหาการเงินที่ไม่จบสิ้นของสหรัฐ
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ความเป็นห่วงของนักลงทุนเปลี่ยนจากความเกรงกลัวเงินเฟ้อมาเป็นความเกรงกลัวการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่มเติมจากความเป็นห่วงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐ มาแสดงความเป็นห่วงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจยุโรปและเศรษฐกิจญี่ปุ่น ผลที่เห็นอย่างชัดเจน คือ เงินดอลลาร์ของสหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนอย่างรวดเร็ว แต่ตรงนี้ต้องย้ำความเข้าใจอีกทีหนึ่งว่า เป็นการอ่อนตัวของเงินยูโรมิใช่การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่เกิดจากความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวดีขึ้น อันที่จริงแล้ว เมอร์ริล ลินช์ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวลง 2.5% ในไตรมาส 4 ของปีนี้ และหดตัวลงอีก 2.3% ในไตรมาส 1 ของปีหน้า ดังนั้น อเมริกาจึงจะเข้าสู่สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในอีก 1 เดือนข้างหน้า (หากเมอร์ริล ลินช์ คาดการณ์ถูกต้อง) และเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าอยู่ในวังวนของการถดถอยทางเศรษฐกิจซึ่งโดยทั่วไปจะนานอย่างน้อย 6 เดือน โดยคาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเริ่มมีอาการฟื้นตัวขึ้นตั้งแต่กลางปีหน้าเป็นต้นไป
จะเห็นได้ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีปัญหามาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ซึ่งเดิมคาดว่าจะแก้ปัญหาได้ภายในปลายปีที่แล้ว โดยเชื่อว่าเป็นปัญหาที่อยู่ในกรอบแคบ โดยในขณะนั้น นาย Ben Bernanke ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐเคยคาดการณ์ว่า ความเสียหายในภาคอสังหาริมทรัพย์นั้นประเมินค่าได้ไม่ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ แต่สถานการณ์กลับไม่เป็นอย่างที่นาย Bernanke คาดการณ์ คือ ปัญหาขยายตัวจากภาคอสังหาริมทรัพย์ไปสู่สถาบันการเงิน ทำให้ Bear Stearns ต้องล่มสลายลงไปในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และธนาคารกลางสหรัฐก็รีบเร่งลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว และอัดฉีดสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินทั้งระบบอย่างเต็มที่ แต่ปัญหาก็ไม่หยุดยั้ง เพราะต่อมานาย Hank Paulson ต้องเร่งรัฐสภาให้ออกกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังสหรัฐมีอำนาจไม่จำกัดในการเพิ่มทุน และปล่อยกู้ให้กับ Fannie Mae และ Freddie Mac ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลให้การส่งเสริมในการปล่อยกู้และค้ำประกันเงินกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม นาย Paulson อ้างว่าหากได้รับอำนาจที่ล้นฟ้าดังกล่าว นักลงทุนจะเกิดความมั่นใจ ทำให้นักลงทุนกล้าปล่อยกู้และเพิ่มทุนให้กับ Fannie และ Freddie ทำให้รัฐบาลสหรัฐไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจที่ได้รับมาจากสภา
แต่เวลาผ่านมาเพียง 1 เดือน ราคาหุ้นของ Fannie และ Freddie ก็ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งราคาหุ้นลดลงไป 90% ทำให้มีมูลค่าหุ้นตาม ณ ราคาตลาดเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าทั้งสององค์กรใกล้ล่มสลายแล้ว และตลาดทุนขาดความมั่นใจในองค์กรทั้งสองโดยสิ้นเชิง (เพราะมูลค่าหนี้เท่ากับ 5 ล้านล้านดอลลาร์ แต่มูลค่าหุ้นเหลือไม่ถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์) จนในที่สุด นาย Paulson ต้องยอมเข็นแผนแก้ปัญหาฉุกเฉินออกมาประกาศว่า รัฐบาลสหรัฐพร้อมที่จะเพิ่มทุนให้กับ Fannie และ Freddie ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ และยังพร้อมจะซื้อตราสารหนี้ของ Fannie และ Freddie ตลอดจนพร้อมจะตั้งกองทุนระยะสั้นให้ Fannie และ Freddie กู้ หากมีความจำเป็นอีกด้วย หลังจากการประกาศมาตรการดังกล่าวก็ได้มีการวิเคราะห์ว่า เป็นมาตรการที่น่าสรรเสริญและสนับสนุน เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงให้กับระบบการเงิน และจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จอีกด้วย แต่ดังที่ผมได้เล่าเหตุการณ์มาตั้งแต่ต้น จะเห็นว่ารัฐบาลสหรัฐมีมาตรการที่ตลาดตั้งความหวังเอาไว้อย่างสูงส่งมาก่อนหน้าแล้วหลายครั้ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่ง ก็พบว่าเป็นมาตรการที่มิได้สามารถแก้ปัญหา ตรงกันข้ามเป็นการตามแก้ปัญหาไม่ทันท่วงทีทุกครั้ง
ผมเชื่อว่ามาตรการล่าสุดของนาย Paulson ก็จะลงเอยทำนองเดียวกัน คือ แก้ปัญหาโดยรวมไม่ได้ เพราะ
1. แม้จะอ้างว่าจะเพิ่มทุนให้กับ Fannie และ Freddie ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ แต่ผมเชื่อว่า ในเมื่อนาย Paulson จะอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีคลังอีกเพียง 2 เดือน ก็น่าจะเพิ่มทุนให้ Fannie กับ Freddie ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นการนำเอาเงินภาษีของประชาชนไปเสี่ยงลงทุนในสภาวการณ์ที่จะเกิดความเสียหายได้โดยง่าย เพราะราคาบ้านในสหรัฐนั้นแม้จะปรับลดลงไปแล้ว 15% แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดว่าจะปรับลดลงอีก 10% ดังนั้นในเมื่อ Fannie กับ Freddie ปล่อยกู้และค้ำประกันเงินกู้อสังหาริมทรัพย์รวมกันกว่า 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ การจะเกิดความเสียหายสัก 1-2 หมื่นล้านดอลลาร์ จึงน่าจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ซึ่งนาย Paulson น่าจะประวิงเวลาและปล่อยให้เป็นภาระของรัฐมนตรีคลังคนใหม่ ซึ่งน่าจะเข้ามารับตำแหน่งได้ภายในไตรมาส 1 ของปีหน้ามากกว่า 2. หากการเพิ่มทุนของ Fannie และ Freddie เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีการปลดผู้บริหารเดิม และนำผู้บริหารคนใหม่เข้าไปรับตำแหน่งแทน ก็น่าจะเชื่อได้ว่า Fannie และ Freddie จะไม่ยอมปล่อยกู้ใหม่ หรืออาจลดการปล่อยกู้ด้วยซ้ำ เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐมีแต่จะย่ำแย่ลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า จึงน่าจะสรุปได้ว่า อาการชะงักงันของสินเชื่อ (credit crunch) ในสหรัฐ ไม่น่าจะพัฒนาดีขึ้นแต่อย่างใด
3. หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่า มาตรการของนาย Paulson นั้น น่าจะมีสาเหตุหลักมาจากการแสดงความเป็นห่วง และไม่พอใจของธนาคารกลางของประเทศเอเชีย และประเทศรัสเซียที่ได้ซื้อตราสารหนี้ของ Fannie และ Freddie เป็นจำนวนมากถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ เพราะเป็นที่เข้าใจกันว่า Fannie และ Freddie ได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาลสหรัฐ หากนาย Paulson ไม่สร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหนี้ต่างชาติดังกล่าว การขายทิ้งตราสารหนี้ของ Fannie และ Freddie ซึ่งหมายถึง การทิ้งเงินดอลลาร์ของธนาคารกลางต่างชาติ จะทำให้เกิดความปั่นป่วนในระบบการเงินของสหรัฐได้ กล่าวคือ มาตรการของนาย Paulson นั้น อาจมิได้หวังจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น เพียงแต่ป้องกันมิให้เกิดวิกฤติทางการเงินมากกว่า
ในขณะที่ปัญหา Fannie และ Freddie ยังคั่งค้างอยู่ก็มีปัญหาใหม่ (แต่มิใช่ปัญหาที่คาดการณ์ไม่ได้) เกิดขึ้นมา คือ วิกฤติของ Lehman Brothers บริษัทหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ของสหรัฐที่ราคาหุ้นลดลงไปแล้ว 95% และบริษัทจัดอันดับความเสี่ยงประกาศแล้วว่าไม่กล้าจัดอันดับความเสี่ยง ทั้งนี้ Lehman Brothers นี้ อาจเป็นวิกฤติทางการเงินทำให้รัฐบาลสหรัฐ และ/หรือธนาคารกลางสหรัฐต้องเข้ามาแทรกแซงในสัปดาห์นี้ก็ได้ ทั้งนี้ Lehman Brothers นั้น มีขนาดใหญ่กว่า Bear Stearns ประมาณ 1 เท่าตัว คือ มีหนี้สินประมาณ 6 แสนล้านดอลลาร์ครับ
http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/1 ... d=27230393
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ความเป็นห่วงของนักลงทุนเปลี่ยนจากความเกรงกลัวเงินเฟ้อมาเป็นความเกรงกลัวการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่มเติมจากความเป็นห่วงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐ มาแสดงความเป็นห่วงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจยุโรปและเศรษฐกิจญี่ปุ่น ผลที่เห็นอย่างชัดเจน คือ เงินดอลลาร์ของสหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนอย่างรวดเร็ว แต่ตรงนี้ต้องย้ำความเข้าใจอีกทีหนึ่งว่า เป็นการอ่อนตัวของเงินยูโรมิใช่การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่เกิดจากความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวดีขึ้น อันที่จริงแล้ว เมอร์ริล ลินช์ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวลง 2.5% ในไตรมาส 4 ของปีนี้ และหดตัวลงอีก 2.3% ในไตรมาส 1 ของปีหน้า ดังนั้น อเมริกาจึงจะเข้าสู่สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในอีก 1 เดือนข้างหน้า (หากเมอร์ริล ลินช์ คาดการณ์ถูกต้อง) และเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าอยู่ในวังวนของการถดถอยทางเศรษฐกิจซึ่งโดยทั่วไปจะนานอย่างน้อย 6 เดือน โดยคาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเริ่มมีอาการฟื้นตัวขึ้นตั้งแต่กลางปีหน้าเป็นต้นไป
จะเห็นได้ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีปัญหามาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ซึ่งเดิมคาดว่าจะแก้ปัญหาได้ภายในปลายปีที่แล้ว โดยเชื่อว่าเป็นปัญหาที่อยู่ในกรอบแคบ โดยในขณะนั้น นาย Ben Bernanke ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐเคยคาดการณ์ว่า ความเสียหายในภาคอสังหาริมทรัพย์นั้นประเมินค่าได้ไม่ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ แต่สถานการณ์กลับไม่เป็นอย่างที่นาย Bernanke คาดการณ์ คือ ปัญหาขยายตัวจากภาคอสังหาริมทรัพย์ไปสู่สถาบันการเงิน ทำให้ Bear Stearns ต้องล่มสลายลงไปในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และธนาคารกลางสหรัฐก็รีบเร่งลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว และอัดฉีดสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินทั้งระบบอย่างเต็มที่ แต่ปัญหาก็ไม่หยุดยั้ง เพราะต่อมานาย Hank Paulson ต้องเร่งรัฐสภาให้ออกกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังสหรัฐมีอำนาจไม่จำกัดในการเพิ่มทุน และปล่อยกู้ให้กับ Fannie Mae และ Freddie Mac ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลให้การส่งเสริมในการปล่อยกู้และค้ำประกันเงินกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม นาย Paulson อ้างว่าหากได้รับอำนาจที่ล้นฟ้าดังกล่าว นักลงทุนจะเกิดความมั่นใจ ทำให้นักลงทุนกล้าปล่อยกู้และเพิ่มทุนให้กับ Fannie และ Freddie ทำให้รัฐบาลสหรัฐไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจที่ได้รับมาจากสภา
แต่เวลาผ่านมาเพียง 1 เดือน ราคาหุ้นของ Fannie และ Freddie ก็ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งราคาหุ้นลดลงไป 90% ทำให้มีมูลค่าหุ้นตาม ณ ราคาตลาดเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าทั้งสององค์กรใกล้ล่มสลายแล้ว และตลาดทุนขาดความมั่นใจในองค์กรทั้งสองโดยสิ้นเชิง (เพราะมูลค่าหนี้เท่ากับ 5 ล้านล้านดอลลาร์ แต่มูลค่าหุ้นเหลือไม่ถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์) จนในที่สุด นาย Paulson ต้องยอมเข็นแผนแก้ปัญหาฉุกเฉินออกมาประกาศว่า รัฐบาลสหรัฐพร้อมที่จะเพิ่มทุนให้กับ Fannie และ Freddie ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ และยังพร้อมจะซื้อตราสารหนี้ของ Fannie และ Freddie ตลอดจนพร้อมจะตั้งกองทุนระยะสั้นให้ Fannie และ Freddie กู้ หากมีความจำเป็นอีกด้วย หลังจากการประกาศมาตรการดังกล่าวก็ได้มีการวิเคราะห์ว่า เป็นมาตรการที่น่าสรรเสริญและสนับสนุน เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงให้กับระบบการเงิน และจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จอีกด้วย แต่ดังที่ผมได้เล่าเหตุการณ์มาตั้งแต่ต้น จะเห็นว่ารัฐบาลสหรัฐมีมาตรการที่ตลาดตั้งความหวังเอาไว้อย่างสูงส่งมาก่อนหน้าแล้วหลายครั้ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่ง ก็พบว่าเป็นมาตรการที่มิได้สามารถแก้ปัญหา ตรงกันข้ามเป็นการตามแก้ปัญหาไม่ทันท่วงทีทุกครั้ง
ผมเชื่อว่ามาตรการล่าสุดของนาย Paulson ก็จะลงเอยทำนองเดียวกัน คือ แก้ปัญหาโดยรวมไม่ได้ เพราะ
1. แม้จะอ้างว่าจะเพิ่มทุนให้กับ Fannie และ Freddie ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ แต่ผมเชื่อว่า ในเมื่อนาย Paulson จะอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีคลังอีกเพียง 2 เดือน ก็น่าจะเพิ่มทุนให้ Fannie กับ Freddie ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นการนำเอาเงินภาษีของประชาชนไปเสี่ยงลงทุนในสภาวการณ์ที่จะเกิดความเสียหายได้โดยง่าย เพราะราคาบ้านในสหรัฐนั้นแม้จะปรับลดลงไปแล้ว 15% แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดว่าจะปรับลดลงอีก 10% ดังนั้นในเมื่อ Fannie กับ Freddie ปล่อยกู้และค้ำประกันเงินกู้อสังหาริมทรัพย์รวมกันกว่า 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ การจะเกิดความเสียหายสัก 1-2 หมื่นล้านดอลลาร์ จึงน่าจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ซึ่งนาย Paulson น่าจะประวิงเวลาและปล่อยให้เป็นภาระของรัฐมนตรีคลังคนใหม่ ซึ่งน่าจะเข้ามารับตำแหน่งได้ภายในไตรมาส 1 ของปีหน้ามากกว่า 2. หากการเพิ่มทุนของ Fannie และ Freddie เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีการปลดผู้บริหารเดิม และนำผู้บริหารคนใหม่เข้าไปรับตำแหน่งแทน ก็น่าจะเชื่อได้ว่า Fannie และ Freddie จะไม่ยอมปล่อยกู้ใหม่ หรืออาจลดการปล่อยกู้ด้วยซ้ำ เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐมีแต่จะย่ำแย่ลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า จึงน่าจะสรุปได้ว่า อาการชะงักงันของสินเชื่อ (credit crunch) ในสหรัฐ ไม่น่าจะพัฒนาดีขึ้นแต่อย่างใด
3. หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่า มาตรการของนาย Paulson นั้น น่าจะมีสาเหตุหลักมาจากการแสดงความเป็นห่วง และไม่พอใจของธนาคารกลางของประเทศเอเชีย และประเทศรัสเซียที่ได้ซื้อตราสารหนี้ของ Fannie และ Freddie เป็นจำนวนมากถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ เพราะเป็นที่เข้าใจกันว่า Fannie และ Freddie ได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาลสหรัฐ หากนาย Paulson ไม่สร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหนี้ต่างชาติดังกล่าว การขายทิ้งตราสารหนี้ของ Fannie และ Freddie ซึ่งหมายถึง การทิ้งเงินดอลลาร์ของธนาคารกลางต่างชาติ จะทำให้เกิดความปั่นป่วนในระบบการเงินของสหรัฐได้ กล่าวคือ มาตรการของนาย Paulson นั้น อาจมิได้หวังจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น เพียงแต่ป้องกันมิให้เกิดวิกฤติทางการเงินมากกว่า
ในขณะที่ปัญหา Fannie และ Freddie ยังคั่งค้างอยู่ก็มีปัญหาใหม่ (แต่มิใช่ปัญหาที่คาดการณ์ไม่ได้) เกิดขึ้นมา คือ วิกฤติของ Lehman Brothers บริษัทหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ของสหรัฐที่ราคาหุ้นลดลงไปแล้ว 95% และบริษัทจัดอันดับความเสี่ยงประกาศแล้วว่าไม่กล้าจัดอันดับความเสี่ยง ทั้งนี้ Lehman Brothers นี้ อาจเป็นวิกฤติทางการเงินทำให้รัฐบาลสหรัฐ และ/หรือธนาคารกลางสหรัฐต้องเข้ามาแทรกแซงในสัปดาห์นี้ก็ได้ ทั้งนี้ Lehman Brothers นั้น มีขนาดใหญ่กว่า Bear Stearns ประมาณ 1 เท่าตัว คือ มีหนี้สินประมาณ 6 แสนล้านดอลลาร์ครับ
http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/1 ... d=27230393
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุน อย่าตระหนกเทขายหุ้นตามก้นต่างชาติ
โพสต์ที่ 3
ข้อ1 เสร็จแล้วกระโดดมาข้อ3 เลย
สงสัยดร.แกรีบมากไปหน่อย
คงมีตราสารหนี้ในมือเยอะ ต้องรีบไปปล่อยออก
หรือไม่ก็ทำประกันกับ เอไอเอ ไว้เยอะ
จิตใจไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว...ฮ่า...
สงสัยดร.แกรีบมากไปหน่อย
คงมีตราสารหนี้ในมือเยอะ ต้องรีบไปปล่อยออก
หรือไม่ก็ทำประกันกับ เอไอเอ ไว้เยอะ
จิตใจไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว...ฮ่า...
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุน อย่าตระหนกเทขายหุ้นตามก้นต่างชาติ
โพสต์ที่ 4
ข้อ 2 อยู่ในข้อหนึ่ง แหละครับ
ผมถอดแว่นอ่านเลยนะ :lol:
ผมถอดแว่นอ่านเลยนะ :lol:
- songwit
- Verified User
- โพสต์: 279
- ผู้ติดตาม: 0
พี่ พอใจ รู้สึกอารมณ์ดีเป็นพิเศษ
โพสต์ที่ 6
แด่พี่พอใจ และVI ทุกท่าน
ช่วงนี้ไม่รู้เป็นอย่างไร พี่พอใจอารมณ์ดีดีดี
หรือว่ามีของลดราคาเต็มตลาด เลยอารมณ์ดี
คนอื่นเค้าจะขาดใจอยู่แล้วครับพี่ ตกทุกวันทั้งฝนทั้งหุ้น
-------------
ใช้ชีวิตให้มีความสุขในวันนี้ ดีกว่ารอวันพรุ่งนี้
ช่วงนี้ไม่รู้เป็นอย่างไร พี่พอใจอารมณ์ดีดีดี
หรือว่ามีของลดราคาเต็มตลาด เลยอารมณ์ดี
คนอื่นเค้าจะขาดใจอยู่แล้วครับพี่ ตกทุกวันทั้งฝนทั้งหุ้น
-------------
ใช้ชีวิตให้มีความสุขในวันนี้ ดีกว่ารอวันพรุ่งนี้
- CEO
- Verified User
- โพสต์: 1243
- ผู้ติดตาม: 0
ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุน อย่าตระหนกเทขายหุ้นตามก้นต่างชาติ
โพสต์ที่ 9
เขาเตือนว่าจงอมต่อไปน่ะครับ น้ำจะท่วม กทม ก็เลยขอให้อยู่บนดอยต่อไปDimsum เขียน:ผมว่านักลงทุนไทยไม่ได้ขายหุ้นตามต่างชาตินะครับ
ซื้อสวนตั้งแต่ 850 จุด ไปเกือบแสนล้านแล้วต่างหาก
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
- หมีบึงกุ่ม
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุน อย่าตระหนกเทขายหุ้นตามก้นต่างชาติ
โพสต์ที่ 10
ฮะๆๆ เป็นมุมมองน่าสนใจครับDimsum เขียน:ผมว่านักลงทุนไทยไม่ได้ขายหุ้นตามต่างชาตินะครับ
ซื้อสวนตั้งแต่ 850 จุด ไปเกือบแสนล้านแล้วต่างหาก
มองกันแต่เงินต่างชาติไหลออกจากตลาด
อีกมุมเงินไทยก็ไหลเข้าตลาดมูลค่าเท่ากัน
ต่างกันอีตรงที่ตอนเงินต่างชาติไหลเข้า หุ้นขึ้น
เงินไทยไหลเข้าที่ไร หุ้นลง :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 334
- ผู้ติดตาม: 0
ก.ล.ต.เตือนสตินักลงทุน อย่าตระหนกเทขายหุ้นตามก้นต่างชาติ
โพสต์ที่ 15
ฮา ไอ้ผมก็นึกว่า มีจริง กะว่าจะ PM ไปเหมือนกัน แหะแหะ
อ่าน post ของพี่ por_jai แล้วก็คลายเครียดไปได้หน่อย
ต้องดูกันต่อไปยาว ๆ แล้วงานนี้
อ่าน post ของพี่ por_jai แล้วก็คลายเครียดไปได้หน่อย
ต้องดูกันต่อไปยาว ๆ แล้วงานนี้
==================================
คิดใคร่ครวญผลตอบแทนและความเสี่ยงอย่างรอบคอบ
โดยคํานึงถึงเป้าหมายระยะยาวมากว่าระยะสั้น
==================================
คิดใคร่ครวญผลตอบแทนและความเสี่ยงอย่างรอบคอบ
โดยคํานึงถึงเป้าหมายระยะยาวมากว่าระยะสั้น
==================================