เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
Noonino
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 876
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ค่อนข้างจะเป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์ แต่ก็มีผลกระทบกับหุ้นเยอะมากๆ เลยเห็นว่าอยากจะเห็นชาว vi ประเมิณผลกระทบว่าจะเป็นอย่างไรกันดู

สถานะการณ์ ณ ขณะนี้ล่าสุดที่ได้ข่าวก็คือ รัฐบาลสหรัฐกำลังจะล้างพวกหนี้เสียออกจากงบดุลของสถาบันการเงินต่างๆ โดยเอาเงินภาษีของประชาชนเข้าไปซื้อหนี้ คล้าย ปรส. บ้านเรา

ลองช่วยกันเปรียบเทียบดูว่า Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เป้าหมายที่สำคัญคือประเมิณว่าผลของ Hamburger Crisis จะส่งผลต่อประเทศไทยเรามากหรือน้อยกว่า Tom Yam Kung Crisis หรือไม่ อย่างไร

ผมไม่มีบันทึกต่างๆในมือแต่ก็ว่าจะลองสรุปจากความเข้าใจของตนเองดู ผิดถูกอย่างไรช่วยๆกันแก้ไขด้วยนะครับ
Noonino
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 876
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ต้มยำกุ้ง บ้านเรา เริ่มต้นจากการเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้ธนาคารและภาคเอกชนของเราในตอนนั้นสามารถไปกู้เงินจากต่างประเทศที่มีดอกเบี้ยที่ถูกกว่าเอามาลงทุนในบ้านเราซึ่งมีดอกเบี้ยแพง

ธนาคารกู้จากนอกมาก็เอามาปล่อยกู้ เอากำไรส่วนต่างดอกเบี้ย ปล่อยกู้กันง่ายมากๆ ไม่มีหลักเกณฑ์ในการควบคุมสินเชื่อ หลักประกันต่างๆก็ประเมินให้ราคากันสูงจนเกินเหตุเพื่อจะได้ปล่อยกู้ได้ ทำให้คนไทยแห่ไปกู้เงินเพื่อเอาไปเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ พอเกิดการกู้เงินนอกมามากๆโดยที่ประเทศไม่ได้มีทุนสำรองเพียงพอมารองรับ เพราะรายได้ที่เข้าประเทศไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้เราถูกโจมตีค่าเงินบาท เพราะฝรั่ง(คุณก็รู้ว่าใคร)มันรู้แน่ๆว่าเงินบาทไม่สามารถรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ 25 บาท/ดอล ได้แน่นอน อีกทั้งแบงค์ชาติก็เอาทุนสำรองที่มีเหลืออยู่ไปต่อสู้การเก็งกำไรอีก สุดท้ายประเทศก็ไปไม่รอด เกิดการลอยตัวค่าเงิน เพียงข้ามคืน จาก 25 บาท/ดอล กลายเป็น 45-50 /ดอล

พวกที่มีหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศก็มีหนี้เพิ่มขึ้นร่วมๆสองเท่าเพียงข้ามคืน ธนาคาร ไฟแนนซ์ก็เจ๊งด้วย คนแห่ถอนเงิน สภาพคล่องเหือดหาย ทำให้บริษัทเจ๊งกันระนาว ดัชนีตลาดหลักทรัพย์จากสูงสุด 1700 กว่า ลดลงเหลือ 200 กว่าๆใช้ระยะเวลา 5 ปี
Noonino
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 876
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ส่วนแฮมเบอร์เกอร์ ผมไม่ทราบรายละเอียดมาก คร่าวๆก็เกิดจากสหรัฐใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำเพื่อจะกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงหลัง 911 เลยทำให้มีการกู้ยืมเงินไปซื้ออสังหาริมทรัพย์กันเยอะ คล้ายๆกับไทย การปล่อยสินเชื่อที่หละหลวม อีกทั้งมีการเอาลูกหนี้ต่างๆไปรวมกลุ่มก้อนแล้วออกเป็นตราสารการเงินแบบใหม่ (CDO มั้ง) เพื่อเอาไปเป็นหลักประกันในการกู้ต่ออีก จนเกิดการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์กันอย่างมโหฬาร

คล้ายๆกับไทย เมื่อราคาอสังหาขึ้นไปถึงขีดสุดก็เกิดฟองสบู่แตก พวก CDO ที่สถาบันการเงินต่างๆไปซื้อไว้ หรือค้ำประกันไว้ก็ราคาตกลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดผลขาดทุนมหาศาล จนทำให้เกิดวิกฤติ subprime แล้วก็ลามกลายเป็น Hamburger crisis อย่างทุกวันนี้
Noonino
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 876
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถ้าประเมิณจากที่เห็น ผมว่า Hamburger นั้นคงรุนแรงน้อยกว่า ต้มยำกุ้ง เพราะว่า Hamburger นั้นมีเฉพาะภาคการเงินเท่านั้นที่มีปัญหา ต่างจากบ้านเรา ตอนนั้นแม้แต่ภาค real sector ก็มีปัญหา เพราะไม่มีปัญญาใช้หนี้ แต่ที่อเมริกา ธุรกิจภาคอื่นๆที่ไม่ใช่ภาคการเงิน ก็คงยังทำงานไปได้อย่างปรกติ อาจจะเจอผลกระทบบ้างตามภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ถึงกับล้มละลายไปอย่างบ้านเรา

ผมเห็นว่า hamburger crisis น่าจะผ่านไปเร็วกว่าบ้านเราที่ต้องใช้เวลาถึง 3-4 ปีกว่าจะฟื้นไข้

แต่ที่น่าจับตามองตอนนี้ก็คือ การที่รัฐบาลจะเข้ามาอุ้มหนี้เน่านี้ต้องใช้เงินมหาศาล แต่ว่าสหรัฐเองก็ขาดดุลบัญชีมาตั้งนานแล้ว ถ้าหากวันนึงไม่มีคนเชื่อเครดิตของลุงแซม แล้วออกพันธบัตรมาไม่มีคนซื้อ ประเทศคงเจ๊งเป็นแน่ แต่ว่า มันจะมีวันนั้นจริงหรือ?????

ส่วนบ้านเราก็คงมีผลกระทบบ้างตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่ว่ามันก็น่าจะผ่านไป ผมว่าคงจะเร็วกว่าที่คิดมังครับ ไม่รู้ว่าจะมองโลกในแง่ดีเกินไปหรือเปล่า
แล้วเพื่อนๆคิดว่าไงครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
K o S o L
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 451
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 5

โพสต์

พี่ Noonino ฮะ พอดีตอนที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ช่วงนั้นผมยังไม่ค่อยสนใจเรื่องเศรษฐกิจครับ เลยไม่รู้ว่า ถ้า broker เกิดล้มละลายขึ้นมา (เข้าใจว่าช่วงวิกฤตนั้นคงมีเหมือนกัน) แล้วหุ้น + เงินสดที่เราฝากอยู่กับ Broker นั้นจะเป็นอย่างไรบ้างฮะ แบบว่าหายไปกับ broker เลยหรือเปล่า??  :?
ผมมือใหม่ครับ
march
Verified User
โพสต์: 351
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ทัศนะวิจารณ์ ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชั่น
22 กันยายน พ.ศ. 2551 00:10:00
Hamburger Crisis * จริตวิบัติกับธรรมาภิบาลในระบบเสรีนิยม
ศรัณย์ ธิติลักษณ์ ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยที่ร้อนแรงและน่าสนใจยิ่งแล้ว ยังมีเหตุการณ์นอกประเทศที่อาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่น่าสนใจมากอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ การที่กลุ่มบริษัท เลแมน บราเดอร์ส จำกัด (Lehman Brothers) ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัททางการเงินขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ได้ประกาศขอเข้าฟื้นฟูกิจการภายใต้มาตรา 11 ของกฎหมายการเงินสหรัฐอเมริกา ที่อนุญาตให้บริษัทที่มีปัญหาทางการเงิน ประกาศขอล้มละลาย และต้องการฟื้นฟูกิจการด้วยตนเอง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เอง สะท้อนให้เห็นได้ถึงสัญญาณที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาหนี้เสียในสถาบันการเงิน ที่ปล่อยกู้กับลูกค้าที่มีปัญหาความไม่น่าเชื่อถือ หรือไม่มีเครดิต (ปัญหา Sub-Prime Lending)

จุดกำเนิดของกลุ่มเลแมน บราเดอร์ส เมื่อ 158 ปีที่แล้ว เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากครอบครัวที่เป็นนายหน้าซื้อขายสินค้าเกษตร แล้วพัฒนาตัวเองต่อมาจนเป็นนายหน้าซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า จนมีธนาคารและสถาบันการเงินประเภทต่างๆ เป็นของตนเอง ถือได้ว่าเป็นกลุ่มสถาบันการเงินที่เป็นนายหน้ารายหลักของการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน (Primary Dealer in the US Treasury Securities Market) และเป็นบริษัทที่มีการลงทุนทั่วโลก ทั้งในตลาดเงิน และตลาดทุน เป็นทั้งบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และเป็นบริษัทที่ปรึกษาที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก และมีสาขาอยู่ในตลาดการเงินใหญ่ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นที่ลอนดอน หรือโตเกียว กลุ่มเลแมน บราเดอร์ส มีขนาดทางธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ (Market Cap) ประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์ มีรายรับเฉลี่ยต่อปี 59 พันล้านดอลลาร์ ในปี พ.ศ.2550 และก็กลุ่มบริษัทนี้เองที่เป็นผู้เข้ามาประมูลรับช่วงเข้าไปบริหารจัดการหนี้เสียของระบบสถาบันการเงินของประเทศไทย ในช่วงวิกฤตการณ์เศรษฐกิจการเงินปี พ.ศ. 2540

การล่มสลายของเลแมน บราเดอร์ส เกิดจากบริษัทลูกที่มีนามว่า BNC Mortgage ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีปัญหาด้านเครดิต (Sub-Prime Lending) ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะบ้านและที่ดิน เกิดปัญหาหนี้เสียครั้งมโหฬาร และต้องปิดตัวลงในปี 2550 โดยการปิดตัวนี้ทำให้บริษัทขาดทุนถึง 25 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีผลทำให้กลุ่มบริษัทเลแมน บราเดอร์ส เกิดวิกฤติ และยังส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอีก 2 แห่ง อันได้แก่ Merrill Lynch และ American International Group (AIG) มีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาทางธุรกิจที่รุนแรง ทั้งยังจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปถึงบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอีกเป็นวงกว้าง ซึ่งนักการเงินส่วนใหญ่คาดการณ์ต่อปัญหานี้ว่าคงจะมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจแท้จริงของสหรัฐอย่างรุนแรง รวมทั้งยังจะส่งผลต่อระบบการเงินในระดับโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐเจ็บป่วย โรคร้ายทางเศรษฐกิจนี้ก็จะแพร่ไปยังทั่วโลกอย่างแน่นอน ดังนั้น ภาวะของ "Hamburger Crisis" จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากขึ้นเป็นลำดับ

คำถามสำคัญที่น่าสนใจ ก็คือ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีต้นตอมาจากปัญหาอะไร ซึ่งถ้าเราลองมาพิจารณาดูถึงระบบทุนนิยมเสรีของสหรัฐอเมริกา ที่เน้นหลักการบริโภคนิยมเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักศีลธรรมจรรยา เน้นการแข่งขัน โดยเฉพาะในตลาดการเงินภายใต้ระบบทุนนิยมเสรีที่ปล่อยให้ทุกคนในระบบแข่งขันกันให้ถึงที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล ดังเช่นในกรณีของเลแมน บราเดอร์ส ปัญหาเกิดจากการเก็งกำไรในตลาดอนุพันธ์ ที่เมื่อขาดสภาพคล่อง เนื่องจากปัญหาการปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อตลาดอยู่ในขาลง การขาดสภาพคล่อง ขาดเงินหมุนเวียน ก็ทำให้บริษัทถึงจุดจบ

และอีกประการหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นตอของวิกฤติซับไพร์มในอเมริกา คือ ปัญหาจริตวิบัติ (Moral Hazard) ของเจ้าหนี้ ซึ่งน่าจะมาจากความย่อหย่อนในการกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐ จนทำให้เกิดปัญหาใหญ่โตมากขึ้นในปัจจุบัน กล่าวคือ ปล่อยให้สถาบันการเงินที่อยู่ในแต่ละช่วงของระบบวงจรทางการเงินทำกำไรเข้าบริษัท ในขณะที่โยกย้ายความเสี่ยงต่อไปให้นายหน้า (โบรกเกอร์) ที่ขายสินเชื่อบ้านให้กับผู้มีรายได้น้อยผลักความเสี่ยงต่อไปสู่เจ้าหนี้ ส่วนเจ้าหนี้ก็แปลงสินเชื่อให้เป็นหลักทรัพย์ (Securitized) แล้วผลักความเสี่ยงต่อไปให้กับนักลงทุน เมื่อนักลงทุนซื้อหลักทรัพย์ก็หาวิธีป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัด อาทิเช่น ทำโดยการซื้อประกันต่อไป เป็นต้น

วิกฤติซับไพร์มจึงเป็นอีกภาพหนึ่งของระบบในตลาดทุนนิยมเสรี ที่สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบที่เกิดจากการสร้างจริตคนให้เกิดความโลภ และเกิดปัญหาจริตวิบัติในระดับสูงต่อเจ้าหนี้ และสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแท้จริงแล้ว ปัญหาจริตวิบัติมีรากฐานมาจากผลประโยชน์ทับซ้อนจำนวนมหาศาลของผู้เล่นฝ่ายต่างๆ ที่ภาครัฐปล่อยปละละเลยจนเป็นปัญหา และมีผลต่อลูกหนี้จำนวนมากที่ต้องเดือดร้อนอย่างไม่เป็นธรรม และอาจจะลุกลามใหญ่โตต่อไปถึงประเทศต่างๆ อีกอย่างกว้างขวาง (เพราะในโลกปัจจุบันเศรษฐกิจได้มีการผูกโยงกันอย่างแนบแน่น) เช่นนี้แล้วประชาชนในประเทศอื่นที่ไม่เคยรู้เรื่องรู้ราว แต่กลับต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจด้วย ถามว่าเขาเหล่านั้นสมควรจะได้รับความไม่เป็นธรรมนั้นด้วยหรือ

เชื่อว่าภายหลังวิกฤติในครั้งนี้ ประเทศต่างๆ ทั่วโลก คงจะต้องตระหนักถึงความจริงและผลกระทบของ "ตลาดแบบเสรี" (Market Fundamentalism) ทั้งต้องให้มีการทบทวนนโยบาย ตลอดจนให้มีการกำกับพฤติกรรมของผู้เล่นที่เกี่ยวข้องในระบบตลาดทุน ตลาดการเงิน โดยเฉพาะวาณิชธนกิจหรือกลุ่มเฮดจ์ฟันด์ ที่ "พฤติกรรมที่มีเหตุผล" ของพวกเขาแต่ละคน ได้ทำให้เกิด "ภาวะไร้เหตุผล" ซึ่งมีผลทำให้สังคมทั่วไปเกิดความเสียหาย และต่อไปสังคมคงจะหวังไม่ได้ว่าการพึ่งพา "กลไกตลาด" ให้ทำงานเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดโดยไม่มีการกำกับดูแลอย่างระมัดระวังจะทำได้อีกต่อไป เพราะกรณีของวิกฤติซับไพร์ม ปัญหาจริตวิบัติจนถึงเลแมน บราเดอร์ส ได้แสดงให้เห็นแล้วถึงความล้มเหลวของระบบธรรมาภิบาลของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจชั้นนำ ที่ไม่สามารถกำกับดูแลสถาบันการเงินในภาคการเงินให้ทำงานอย่างเป็นธรรม และไม่สามารถจำกัดปัญหาให้เหลือน้อยที่สุดได้

ในกรณีนี้ถือได้ว่าเป็นกรณีประสบการณ์ที่สำคัญจากต่างประเทศ ที่จะเป็นบทเรียนอันสำคัญยิ่งของประเทศไทย ที่สมควรรีบนำกรณีศึกษามาพิจารณาวางแผนสร้างธรรมาภิบาลในระบบตลาดทุน หรือภาคสถาบันการเงินบ้านเราก่อนที่จะมีชะตากรรมเหมือนกับเขาครับ
march
Verified User
โพสต์: 351
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมว่าถ้าไม่มีใครล้มอีกคงไม่น่ากลัวเท่าไหร่นะครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ช่วงต้มยำกุ้ง  สาเหตุที่ทำให้มีปัญหา  จะว่าเกิดจากการกู้ยืมเงินนอกมามากมายก็คงจะถูก  เพราะยุคนั้น  อัตราดอกเบี้ยเงินบาทสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินต่างประเทศมากพอควร  แต่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่  แล้วใครจะกู้เงินบาทละครับ  ยุคนั้นคำว่า BIBF ค่อนข้างฮิต

แต่สิ่งที่ทำให้ฝีแตกนั้น  ไม่ใช่เรื่องการกู้นอกมาก  แต่เป็นเพราะไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง  และเพิ่มสูงขึ้น  

ในอดีตและปัจจุบัน  คำแก้ตัวของประเทศที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็คือ  ประเทศกำลังพัฒนา  ต้องมีการนำเข้าเครื่องจักร  สินค้าทุน  เพื่อนำมาผลิตสินค้าส่งออก (แต่ทำไมจีนถึงเป็นบวกได้หว่า)

เมื่อยอดการส่งออกยังคงโตได้  หลายคนก็สบายใจ  เชื่อตามคำแก้ตัวนั้น  แต่เมื่อยอดส่งออกได้ลดลง  ปัญหาก็เริ่มที่จะมีคนพูดถึง  ค่าเงินบาทก็เริ่มเป็นประเด็น

ต่างชาติก็เห็น  นักเศรษฐศาสตร์ไทยก็เห็น  แต่รัฐบาล  ธปท. และเอกชนส่วนใหญ่กลับไม่เห็น

และแล้ววันที่ 2 ก.ค.  ก็มีการลดค่าเงินบาท  แต่ ธปท. กลัวเสียหน้า  บอกว่าลอยตัวค่าเงินบาท   :lol:   ตอนแรกที่มีการลดค่าเงิน  ในวงการก็คาดหมายว่าจะอ่อนค่าลงจากประมาณ 25 บาท  ลงไปแค่ 30 บาท  ซึ่งวันแรกๆก็ไหลลงประมาณนั้น

แต่แล้วโศกนาฎกรรมก็เกิดขึ้น  เมื่อตัวเลขทุนสำรองสุทธิ (บวกผลการทำ SWAP ด้วย) ถูกเปิดเผยออกมาว่า  ไม่มีเงินเหลือแล้ว  ประเทศไทยไม่มีเงินทุนสำรองเหลือแล้ว  ไม่มีเงินสกุลดอลล่าร์เหลือให้ใครนำเงินบาทมาแลกแล้ว  (เงินบาทก็คล้ายกับเศษกระดาษละซิครับ)

ค่าเงินบาทก็อ่อนลงไปเรื่อยๆและรวดเร็ว  บริษัทเอกชนที่เคยกู้ยืมเงินสกุลต่างประเทศก็เจ๊งกันถ้วนหน้า  เพราะ  ภาระหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัว  รวมถึง  ภาระดอกเบี้ยจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือนก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน  

สถาบันการเงินก็เริ่มแย่  หนี้ต่างประเทศที่ตัวเองกู้ยืมมาก็เพิ่มขึ้น  ลูกหนี้ก็เริ่มผิดนัดชำระมากขึ้น  ลูกหนี้สกุลเงินต่างประเทศเริ่มมีการแปลงเป็นเงินบาท  ยิ่งแปลงค่าเงินบาทก็ยิ่งอ่อน  ลูกหนี้หลายรายไม่ยอมแปลง  สุดท้ายก็ถูกสถาบันการเงินบังคับแปลงที่ 50 กว่าบาท

เมื่อสถาบันการเงินบางแห่งถูกปิด  ลูกหนี้บางรายซึ่งมีสถานะปรกติ  ก็เริ่มมีปัญหาเพราะวงเงินสินเชื่อก็ถูกระงับ  จะเบิกเงินกู้มาสร้างคอนโดที่สร้างค้างไว้อยู่ก็เบิกไม่ได้  วงเงินสินเชื่อต่างประเทศ L/C T/R สำหรับผู้ส่งออกก็ปิดลง  ทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน  หลักประกันก็ติดอยู่
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอร่วมแชร์ความเห็นอ่อนประสบการณ์หน่อยครับ

เฮียครับ ผมกลับเห็นว่าบ้านเราสิบปีก่อนกับบ้านเขามันเหมือนกันอย่างกับแกะ และผมว่า Hamburger เขาแรงกว่าต้มยำกุ้งเยอะเลย

1. ผลกระทบสมัยต้มยำกุ้งจากฟองสบู่แตก แรกเริ่มจำกัดเฉพาะวงธนาคารและบ.เงินทุน ดังนั้นคนที่มีผลกระทบอย่างมากคือผู้ถือหุ้นธนาคารและ บ.เงินทุนเหล่านั้น รองลงมาคือเจ้าหนี้เงินกู้ที่ปล่อยให้พวกกิจการการเงินพวกนี้ ส่วนผู้ฝากเงินปลอดภัย ในขณะที่ hamburger ผู้ที่โดนผลกระทบเยอะกว่ามากเพราะมีการเล่นแร่แปรธาตุออก CDO/MBS ที่มีคนลงทุนไม่น้อย เช่น บ.การเงิน, กองทุน หรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไป เนื่องจากถูกทำให้เชื่อว่าความเสี่ยงต่ำ (Moody's กับ S&P เขาให้ triple A ทั้งคู่นี่) ถัดมาก็เป็นสถาบันที่รับประกัน CDO/MBS พวกนี้ (อย่าง AIG) ที่รับเละ

2. ผลกระทบระลอก 2 ในภาคเศรษฐกิจแท้จริง สมัยต้มยำกุ้งเกิดจาก ภาคการผลิต (เป็นส่วนใหญ่) และบริการ (เป็นส่วนน้อย) โดนผลกระทบการลดค่าเงิน ทำให้หนี้ปูดขึ้นทันตาเห็นแบบมโหฬาร และต้นทุนการผลิตมันสูงขึ้นฉับพลัน ทำให้ต้องปรับตัวทันที ใครปรับไม่ทันก็ล้มไป ในส่วนนี้อาจจะไม่เห็นใน hamburger เพราะค่าเงินดอลลาร์เป็นแบบลอยตัวมาตลอด แต่ค่าเงินคงอ่อนไปอีกนานเพราะเศรษฐกิจอ่อนแอ + เงินที่อัดฉีดออกมาเยอะ

ผลกระทบอีกอันในภาคเศรษฐกิจที่โดนทั้งต้มยำกุ้งและ hamburger แน่ ๆ คือการลดลงของการบริโภค ซึ่งกรณีนี้เขาโดนมากกว่าเราเยอะ เพราะเศรษฐกิจอเมริกาส่วนใหญ่เป็น consumer driven และมีสัดส่วนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่สมัย dot com จนถึงปัจจุบัน เพราะประเทศเขาเสียความสามารถในการแข่งขัน เกิดการขาดดุลการค้าแบบมโหฬารและยาวนาน ในขณะที่ประเทศเราเป็น producer driven economy ถ้าสามารถรักษาสถานะการแข่งขันในการผลิตและส่งออกได้ก็ไม่มีปัญหา

ผลอันหลังนี้ที่อเมริกาแม้จะเริ่มเห็นแล้ว แต่แค่เพิ่งจะเริ่มต้น สังเกตจากยอดขายสินค้าทั้งหลายลดลงหมด โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน

วิธีเดียวที่อเมริกาจะลดผลกระทบนี้คือ พยายามกระตุ้นการใช้จ่ายเอาไว้ เช่นรักษาดอกเบี้ยไม่ให้สูงมาก, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดภาษี หรือช่วยเหลือผู้ที่ผ่อนบ้าน ฯลฯ (ในขณะที่บ้านเราตอนนั้นดันหลงกล ไปเชื่อ IMF ให้ขึ้นดอกเบี้ย ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)

3. เมื่อไหร่ hamburger crisis ถึงเริ่มหยุด ผมว่าจะเริ่มหยุดก็ต่อเมื่อราคาอสังหาเริ่มนิ่ง แต่จะหยุดสนิทก็ต้องรอให้ผลกระทบมันกระจายออกไปจนถึงที่มันจะไปได้ก่อน ความเห็นผม ผมคิดว่าไม่มีทางที่รัฐบาลเมกาจะลดผลกระทบของวิกฤตนี้ได้ สิ่งที่เขาทำให้ได้ก็แค่พยายามชะลอให้มันโดนกระแทกน้อย ๆ แต่ช้า ๆ (smooth-out) แล้วก็พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจให้มาชดเชยบ้าง

ไม่รู้มีใครเห็นด้วยไหม  :8)
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ทัศนะวิจารณ์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
   22 กันยายน พ.ศ. 2551 00:10:00
   การล่มสลายของเลแมน บราเดอร์สและเอไอจี

   ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

   กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : การล้มละลายของวาณิชธนกิจชั้นนำของสหรัฐ เลแมน บราเดอร์ส พร้อมกับการเข้ายึดกิจการของอเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) โดยรัฐบาลสหรัฐ และความเสี่ยงที่บริษัทเงินทุนวอชิงตันมิวชวล อาจจะถูกปิดตัวลง ล้วนแต่เป็นการสะท้อนว่า ปัญหาสถาบันการเงินของสหรัฐนั้นมีความรุนแรงและแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางเกินความคาดหมายของทางการสหรัฐเป็นอย่างมาก ทำให้เชื่อได้ว่าจะยังมีปัญหาในอนาคตอีกมากไปจนถึงกลางปีหน้า และจะเป็นภาระที่ท้าทายประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่อย่างมาก แต่สำหรับประเทศไทยนั้น ผลกระทบโดยตรงจะไม่มีมากนัก เพราะมีสถาบันการเงินที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินสหรัฐน้อยมาก อาทิเช่น กรณีเลแมนนั้นมีธุรกรรมร่วมกับสถาบันการเงินไทยเพียง 4,000 ล้านบาท และแม้จะมีการลงทุนและปล่อยกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอีก 50,000 ล้านบาท แต่ก็เป็นสินทรัพย์ที่น่าจะหาผู้ซื้อมาทดแทนได้โดยง่าย

   ในส่วนของเอไอจีสหรัฐกับบริษัทประกันภัยเอไอเอในประเทศไทย ก็เป็นนิติบุคคลที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยเอไอจีถือหุ้นเอไอเอส่วนหนึ่งจึงมีส่วนเพียงการได้รับเงินปันผลจากเอไอเอ และในส่วนของธุรกิจการประกันภัยในประเทศไทยก็เป็นธุรกิจที่มั่นคงและมีเงินทุนเกินกว่าเกณฑ์ของทางการอยู่มาก ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางสหรัฐก็ได้ยอมปล่อยกู้ให้กับเอไอจีแล้ว 85,000 ล้านดอลลาร์ เป็นเวลา 2 ปี และรัฐบาลได้เข้าไปควบคุมกิจการเอไอจี เพื่อขายสินทรัพย์อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อชดใช้หนี้สินและความเสียหาย จึงจะทำให้ธุรกิจหลัก คือ การประกันภัยไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนแต่อย่างใด

   แต่ประเทศไทยย่อมจะได้รับผลกระทบในทางอ้อมใน 2 ด้าน คือ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐที่กำลังลามมาที่เศรษฐกิจยุโรป เศรษฐกิจญี่ปุ่นและเศรษฐกิจเอเชียโดยรวม โดย เมอร์ริล ลินช์ เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวประมาณ 2% ในไตรมาส 4 ของปีนี้ และไตรมาส 1 ของปีหน้า ในขณะที่เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นอาจขยายตัวเพียง 1.0-1.5% ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า สำหรับเอเชียนั้นเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ในระดับ 7-8% โดยมีจีนเป็นแกนนำ แต่เศรษฐกิจจีนเองก็เสี่ยงที่อาจจะขยายตัวต่ำกว่าที่คาดเอาไว้เดิมที่ 9-10% (โดยอาจขยายตัว 8-9%) ทำให้ธนาคารกลางของจีนรีบลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงไป 0.27% ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนมิได้คาดการณ์มาก่อน การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกย่อมจะส่งผลต่อการขยายตัวของการส่งออกของไทยตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของไทยน่าจะขยายตัวสูงถึง 23% (เมื่อคำนวณเป็นเงินดอลลาร์) แต่ในปีหน้า คงจะขยายตัวได้เพียง 10-15%

   ผลกระทบทางอ้อมอีกด้านหนึ่ง คือ การปรับลดลงของสภาพคล่องทางการเงินของโลก ทั้งนี้ เพราะในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินต่างๆ พัฒนาตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก โดยมิได้ควบคุมความเสี่ยง เพราะเชื่อว่าสถาบันการเงินและนักลงทุนสามารถดูแลและกระจายความเสี่ยงกันเองได้ การเกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ และหลายประเทศในยุโรปและภูมิภาคอื่นๆ (อาทิเช่น อังกฤษ สเปน อิตาลี ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลียและแอฟริกาใต้) เป็นพื้นฐานให้สถาบันการเงินออกตราสารและอนุพันธ์ประเภทต่างๆ มามากมาย คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านล้านดอลลาร์ แต่เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์เริ่มปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง (ราคาบ้านในสหรัฐลดลง 15%) ก็ทำให้ตราสารและอนุพันธ์ต่างๆ ที่อาศัยอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันและประเมินว่าเป็นตราสารและอนุพันธ์ที่มีคุณภาพสูงระดับเอ 3 ตัว หรือเทียบเท่ากับตราสารหนี้ของรัฐบาลสหรัฐกลายเป็นตราสารและอนุพันธ์ด้อยคุณภาพ ที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ เนื่องจากไม่มีผู้ต้องการซื้อ

   ดังนั้น สถาบันการเงินต่างๆ ที่ลงทุนในตราสารและอนุพันธ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เลแมนและเอไอจีจึงมีปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ทำให้สถาบันการเงินอื่นๆ ไม่กล้าทำธุรกรรมร่วมหรือปล่อยกู้ให้ จนประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ทุนไม่พอจนบางบริษัทต้องเข้าสู่สภาวะล้มละลาย หรือบางบริษัทก็ต้องหาผู้มาซื้อกิจการ อาทิเช่น เมอร์ริล ลินช์ ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจชั้นนำเช่นเดียวกับเลแมน ซึ่งไหวตัวทัน รีบเจรจากับแบงก์ออฟอเมริกาให้เข้าควบรวมกิจการของเมอร์ริล ลินช์ ทั้งหมดเมื่อวันที่ 15 กันยายน ซึ่งปัญหาการลดลงของสภาพคล่องดังกล่าว ทำให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ต้องร่วมกันอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินโลกเกือบ 3 แสนล้านดอลลาร์ ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา

   ปัญหาสถาบันการเงินของสหรัฐนั้นจะยังปะทุขึ้นมาอีกในอนาคต และจะเป็นภาระอย่างใหญ่หลวงกับธนาคารกลางสหรัฐและรัฐบาลสหรัฐ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด คือ การจะต้องเข้าไปเพิ่มทุนให้กับแฟนนี เม และเฟรดดี แมค สถาบันปล่อยกู้อสังหาริมทรัพย์ที่รัฐบาลสนับสนุนให้ปล่อยกู้และค้ำประกันเงินกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์มากถึง 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ เพราะเมื่อราคาบ้านในสหรัฐปรับลดลง 15% (และอาจปรับลดลงอีก 10%) ก็เชื่อได้ว่าแฟนนีและเฟรดดีจะต้องได้รับความเสียหายจากปัญหาหนี้เสียอีกมาก สมมติว่าทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้งสองเสียหาย 5% ก็หมายความว่ารัฐบาลจะต้องเพิ่มทุนเพื่อชดใช้ความเสียหายกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์ เพราะทุนของแฟนนีกับเฟรดดีนั้น ขณะนี้ อาจลดลงเหลือไม่ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์

   สรุปได้ว่าปัญหาหลักของสถาบันการเงินที่เผชิญกับวิกฤติทางการเงิน ทำให้ต้องล้มละลายเป็นเพราะสถาบันการเงินดังกล่าว ดำเนินธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง โดยลงทุนอย่างขาดความระมัดระวังและกู้เงินมาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยมีทุนของตนอยู่เพียงเล็กน้อย เพราะมั่นใจเกินไปและอยากได้กำไรสูง จะเห็นได้ว่าบริษัทแบร์สเติร์นส์ เลแมน เอไอจี และเมอร์ริล ลินช์นั้น ล้วนแต่มีสินทรัพย์ต่อทุนประมาณ 20-30 เท่า หรือลงทุน 1 บาท และกู้เงินมา 29 บาท เพื่อใช้ในการลงทุน ทำให้เมื่อมีปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ ทุนก็จะหมดลงได้อย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาสภาพคล่องได้โดยง่าย ยังมีสถาบันการเงินของสหรัฐที่มีลักษณะเช่นนี้อยู่อีก จึงไม่ควรแปลกใจหากมีสถาบันการเงินของสหรัฐล้มละลายอีกหลายแห่งใน 6-12 เดือนข้างหน้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 11

โพสต์

Money Pro : เมื่อยักษ์ล้ม

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีข่าวไหนดังไปกว่าข่าว เลแมน บราเดอร์ส วาณิชธนกิจขนาดใหญ่อันดับสี่ของโลก ยื่นขอเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย และเอไอจี กลุ่มสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลกประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง และรัฐบาลของสหรัฐต้องให้เงินกู้ฉุกเฉิน 85,000 ล้านดอลลาร์ ระยะเวลา 2 ปี อัตราดอกเบี้ยประมาณ 11.4% ต่อปี โดยแลกกับการให้รัฐบาลเข้าไปถือหุ้น 79.9%

ทำไม่รัฐบาลสหรัฐ ต้องเข้ามาอุ้มเอไอจี ในขณะที่ไม่อุ้มเลแมน รัฐให้เหตุผลว่า เพราะเอไอจีเกี่ยวพันกับตลาดการเงินมาก นักวิเคราะห์กล่าวว่า ไม่มีธนาคารใหญ่ขนาดใหญ่รายใด ที่ไม่มีธุรกรรมกับเอไอจี

นอกจากนี้ เอไอจียังเป็นบริษัทประกันที่มีขนาดของทรัพย์สินใหญ่ที่สุดในสหรัฐ โดยมีทรัพย์สินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ มีพนักงานกว่า 116,000 คนใน 130 ประเทศทั่วโลก สรุปคือเกี่ยวข้องกับทั้งสถาบันการเงิน และประชาชนจำนวนมาก และจะเป็นปัญหาต่อระบบสถาบันการเงินทั่วโลก ในขณะที่เลแมน เกี่ยวกับสถาบันการเงินที่ทำธุรกรรมกัน และประชาชน เฉพาะผู้ที่เป็นผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน

สภาพของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาในตอนนี้ไม่แตกต่างอะไรกับเมืองไทยเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ผู้ลงทุนและผู้เอาประกันต่างก็ตื่นตระหนกตกใจ กลัวว่าเงินลงทุนหรือเงินประกันที่อยู่กับสถาบันการเงินเหล่านี้จะสูญไป หากรัฐไม่เข้าไปอุ้ม ผลร้ายต่อเศรษฐกิจโดยรวมก็จะยิ่งขยายวงกว้างขึ้น

ก่อนหน้าที่รัฐบาลสหรัฐจะตัดสินใจเข้าไปอุ้มเอไอจี J.P. Morgan Chase และ Goldman Sachs ได้ตกลงจะหาเงิน 75,000 ล้านดอลลาร์มาให้ เอไอจีแล้ว แต่พอตลาดการเงินเกิดตึงขึ้นมา ทั้งสองบริษัทก็รู้ว่าไม่สามารถจะระดมเงินมาให้เอไอจีได้ทัน รัฐบาลจึงต้องเข้ามาอุ้มเอไอจีแทน

การเข้ามาอุ้มเอไอจีของรัฐบาลสหรัฐ ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์พอสมควรว่า นำเงินภาษีของประชาชนไปช่วยบริษัทเอกชน แต่ประธานาธิบดีบุชก็กล่าวยืนยันในวันพฤหัสบดีว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับระบบสถาบันการเงิน ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

ทรัพย์สินของเอไอจีไม่ได้เลวร้าย ทรัพย์สินดีๆ ยังมีอยู่มากมาย แต่ปัญหาเกิดขึ้นเหมือนที่เกิดในไทยเมื่อ 11 ปีก่อนคือการขาดสภาพคล่อง ทำให้กองทุนฟื้นฟูต้องเข้ามาอัดฉีดสภาพคล่องให้ แลกกับทรัพย์สินจำนวนมาก

ที่เอไอจีขาดสภาพคล่องก็เนื่องจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ลดอันดับความน่าเชื่อถือลงเนื่องจากเอไอจีมีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับหนี้ซับไพร์ม และมีการเข้าไปประกันสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ผ่านธุรกรรม Credit Default Swap จึงทำให้ขาดทุน ทำให้เอไอจีต้องหาเงิน 14,500 ล้านดอลลาร์ ในช่วงข้ามคืนเพื่อจ่ายคืนผู้เกี่ยวข้องและเจ้าหนี้ เนื่องจากสัญญากู้ หรือธุรกรรม ที่ทำไว้บางสัญญา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขอันดับความน่าเชื่อถือ เมื่ออันดับตกก็ต้องคืนหนี้หรือยกเลิกธุรกรรมก่อนกำหนด

ว่ากันว่าความร้ายแรงของปัญหานี้คล้ายกับสมัย Great Depression ที่ดิฉันเคยเขียนถึงเมื่อ 2-3 เดือนก่อน หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ ที่เคยหวังกันว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะฟื้นตัวในปี 2010 ก็อาจจะยากขึ้น

ตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินอันเกี่ยวเนื่องมาจากปัญหาหนี้เกรดสองหรือ ซับไพร์ม แล้ว เหตุการณ์ก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ หลายๆ อย่างเกิดจากธุรกรรมใหม่ๆ ที่วาณิชธนากรคิดขึ้น เช่นกรณีการนำหนี้มากองรวมกันแล้วจัดกลุ่มใหม่ตามความเสี่ยงแล้วนำออกขาย แบบ ซีดีโอ (Collateralized Debt Obligation) ที่มีบางส่วนเป็นสินเชื่อซับไพร์ม และมาครั้งนี้ เกิดจาก Credit Default Swap

Credit Default Swap คือการแลกเปลี่ยนความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ โดยผู้ออกตราสารจะเป็นผู้จ่ายเงินต้นคืนให้กับผู้ซื้อประกันความเสี่ยงนี้ตามหน้าตั๋ว ในกรณีที่ผู้ออกตราสารไม่สามารถจ่ายคืนหนี้ได้ ประมาณว่าตลาดนี้มีขนาด 62 ล้านล้านดอลลาร์ เริ่มขึ้นประมาณสิบปีเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยธนาคารไม่ให้เสียหายจากหนี้เสีย โดยมีบุคคลที่สามเข้ามาสอดรับความเสี่ยงนี้ เช่น เอไอจีและเลแมน และภายหลังก็มีการซื้อขายสัญญา Credit Default Swap โดยไม่ต้องมีตราสารหนี้หนุนหลัง

ตลาดของ Credit Default Swap เป็นตลาดที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันเอง หรือที่เรียกว่า โอทีซี (Over-The-Counter: OTC) ดังนั้นจึงประมาณยากว่า มีธุรกรรมค้างอยู่จำนวนเท่าใด เท่าที่ทราบจากของเอไอจีที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ เอไอจีมีการขายประกันให้กับผู้ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีมูลค่าประมาณ 441,000 ล้านดอลลาร์ และมีส่วนที่เป็นสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับซับไพร์มประมาณ 57,800 ล้านดอลลาร์ แต่ไม่ใช่ว่าทั้งหมดจะกลายเป็นศูนย์นะคะ

สัปดาห์ที่ผ่านมาจึงเป็นช่วงเวลาของยักษ์ล้มอย่างแท้จริง เพราะการล้มละลายของเลแมนครั้งนี้เป็นการล้มละลายที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เลแมนบราเดอร์ส ซึ่งก่อตั้งมา 158 ปี มีพนักงานทั่วโลกรวม 25,000 คน ต้องทยอยขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชี

เรื่องยุ่งๆ ของสถาบันการเงินในสหรัฐยังมีอีกเยอะค่ะ ถ้ามีโอกาสจะเขียนมาให้ท่านอ่านอีก
Dimsum
Verified User
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมมองต่างจากคุณ Noonino ครับ
ผมว่าสถานการณ์ของสหรัฐรุนแรงกว่าของไทย เพราะมีการออกตราสาร CDO / CDS ซึ่งเป็นอนุพันธ์ตราสารหนี้ คือ แค่มีการวางเงินประกันขั้นต้นของมูลค่าสัญญา เพราะฉะนั้นเมื่อตราสารด้อยค่าลง เนื่องจากสินทรัพย์อ้างอิงด้อยค่า (สินเชื่อที่มีการผิดนัดชำระหนี้) หมายความว่า ผู้ที่ลงทุนสามารถขาดทุนได้เกิน 100 % และยังมีการนำ CDO มาแปลงเป็นหลักทรัพย์อีกทอดหนี่งเพื่อขายต่อไปเรื่อย ๆ จึงทำให้ยากในการที่จะประเมินว่าใครเป็นคนสุดท้ายที่ต้องขาดทุนอย่างหนัก (ลักษณะเหมือนลูกโซ่) จึงทำให้มีคนเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากทั้งในและนอกสหรัฐ จำได้ว่า บัฟเฟต์เคยบอกว่าอนุพันธ์ตราสารหนี้เป็นระเบิดที่อยู่ในระบบการเงินอเมริกา
นอกจากนี้ ยังมีพวกบริษัทประกันเข้ามาเล่นเกมนี้อีก ด้วยกันค้ำประกันตราสารหนี้เหล่านี้อีก (CDS) ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องในวิกฤตครั้งนี้จึงครบทุกภาคส่วนการเงินของสหรัฐ ตั้งแต่ สถาบันปล่อยกู้ซื้อบ้าน ผู้รับประกันหุ้นกู้ แบงค์ โบรกเกอร์ ประกัน กองทุนต่าง ๆ (รวมถึงบริษัทจัดเรตติ้ง บริษัทสร้างบ้าน)

แต่เมืองไทยตอนนั้นหลัก  ๆ มาจากภาคธนาคาร ไฟแนนส์ ที่สร้างฟองสบู่ ภาคการผลิตจริงเป็นส่วนเสริมความหายนะในครั้งนั้น
ผมคิดว่าตอนนี้สหรัฐมีปัญหาในภาคการเงิน แต่หลังจากนี้จะลามไปสู่ภาคการผลิตจริง ภาคการบริโภค สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐช่วยตอนนี้เป็นเพียงการหยุดการขยายความรุนแรงทางการเงิน (ซึ่งไม่แน่ว่าจะหยุดได้จริงหรือไม่ แต่ผมว่าสถาบันใหญ่ ๆ คงจะไม่มีแล้วมั๊งครับ เพราะหวยออกเกือบหมดแล้วนี่)
ยังไม่ได้แต่ต้นตอของปัญหาที่ภาคอสังหา ซึ่งคงต้องใช้เวลาสักปีสองปี แต่ลึก ๆ ยังเชื่อว่าสหรัฐคงไม่ล่มสลายหรอกครับ เพราะใหญ่เกินกว่าจะล้มเหมือนกัน ทั่วโลก (โดยเฉพาะจีน) คงเจ็บตัวกันหมดจากการถือแบงค์กงเต็กของมะกัน
Dimsum
Verified User
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เห็นด้วยกับคุณ  mprandy
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 14

โพสต์

3. เมื่อไหร่ hamburger crisis ถึงเริ่มหยุด ผมว่าจะเริ่มหยุดก็ต่อเมื่อราคาอสังหาเริ่มนิ่ง แต่จะหยุดสนิทก็ต้องรอให้ผลกระทบมันกระจายออกไปจนถึงที่มันจะไปได้ก่อน ความเห็นผม ผมคิดว่าไม่มีทางที่รัฐบาลเมกาจะลดผลกระทบของวิกฤตนี้ได้ สิ่งที่เขาทำให้ได้ก็แค่พยายามชะลอให้มันโดนกระแทกน้อย ๆ แต่ช้า ๆ (smooth-out) แล้วก็พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจให้มาชดเชยบ้าง

ไม่รู้มีใครเห็นด้วยไหม  
อันนี้เห็นด้วยค่ะ (อันอื่นไม่มีความรู้ ไม่ออกความเห็น อิอิ)

แต่การที่ วิกฤตเบอร์เกอร์หยุด คือหมายถึง อสังหาไม่ตกลงไปไหนได้อีกแล้ว แต่..ไอ่อันที่ว่าหยุด ยังไม่ได้แปลว่า จะฟื้นได้ทันที

ดิฉันว่าประเด็นคือ มันต้องไปมองที่ปัญหาก่อน คือทำไมจึงเป็นหนี้เสีย (การที่เอาหนี้แย่ๆมาห่อมัดรวมแล้วมาเล่นแร่แปรธาตุกันสามสี่ตลบ อันนี้เป้นพวงที่ปัญหาใหญ่ตามมา)

หนี้อสังหาเสีย เสียจากอะไร จากการที่คนซื้อ ไม่มีความสามารถในการชำระ เหตุใดจึงไม่มี ใช้เกินตัวหรอ หรือไม่มีจะให้ใช้หรอ หรือแบงค์ปล่อยมั่วจริงหรอ หรือ...เศรษฐกิจโดยรวมมันถอยมาเรื่อยๆ ความสามารถในการจ่ายของคนมันหดลงเรื่อยๆ
อะไรคือสาเหตุเริ่มต้น ต้องดูตรงนั้น คือถ้ามันมาจากเงินในเป๋าคนไม่พอจ่าย ถ้าไปแก้ตรงเอาเงินอุ้มสถาบันการเงิน(ซึ่งก็คือประคองอาการไข้) แต่หากไม่แก้เรื่องเป๋าแฟบ มันก็ฟื้นไม่ได้อยู่ดี

:roll:
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 15

โพสต์

สำหรับไทยนั้น
แก้ไขล่าสุดโดย chatchai เมื่อ จันทร์ ก.ย. 22, 2008 10:44 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
Dimsum
Verified User
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เพิ่มอีกนิดครับ ตอนนี้เริ่มมีคนมองว่า ถ้าเศรษฐกิจของสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่นชะลอตัวมาก ๆ อาจทำให้พี่ใหญ่อย่างจีนมีปัญหาด้านการส่งออกตามมาด้วย บวกกับภาคอสังหาที่จีนก็มีฟองสบู่เหมือนกันในเมืองใหญ่ ๆ ถ้าสถาบันการเงินของจีนเกิดปัญหาอีก จะทำให้สภาพคล่องลดลงอีก คราวนี้ผลกระทบคงถึงไทยแน่ ๆ (ขอให้ความคิดนี้ผิดล่ะกัน)

ไม่อยากกินแฮมเบอร์เกอร์เคล้าเป็ดปังกิ่งเลย  :lol:
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 17

โพสต์

007-s เขียน: หนี้อสังหาเสีย เสียจากอะไร จากการที่คนซื้อ ไม่มีความสามารถในการชำระ เหตุใดจึงไม่มี ใช้เกินตัวหรอ หรือไม่มีจะให้ใช้หรอ หรือแบงค์ปล่อยมั่วจริงหรอ หรือ...เศรษฐกิจโดยรวมมันถอยมาเรื่อยๆ ความสามารถในการจ่ายของคนมันหดลงเรื่อยๆ
อะไรคือสาเหตุเริ่มต้น ต้องดูตรงนั้น คือถ้ามันมาจากเงินในเป๋าคนไม่พอจ่าย ถ้าไปแก้ตรงเอาเงินอุ้มสถาบันการเงิน(ซึ่งก็คือประคองอาการไข้) แต่หากไม่แก้เรื่องเป๋าแฟบ มันก็ฟื้นไม่ได้อยู่ดี

:roll:
ผมว่าสาเหตุใหญ่ของ subprime ที่มาเน่าพร้อม ๆ กันหมด ก็เพราะสิ่งที่เรียกว่า ARM (adjustable rate mortgage) ครับ

ARM คือเงินกู้อสังหาที่ดอกเบี้ยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามอัตราดอกเบี้ยในตลาดขณะนั้น ชนิดของ ARM ที่นิยมมากที่สุดคือ hybrid ARM ได้แก่เงินกู้อสังหาที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ใ่นช่วงแรกระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะลอยตัวตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้

ในสมัยก่อน เงินกู้ซื้อบ้านจะเป็น fixed rate หมด เช่นกู้ 15 ปีดอกเบี้ยเท่านั้นเท่านี้ % ซึ่งผู้กู้จะรู้ต้นทุนแน่นอน แต่ความผันผวนของผลตอบแทนจะอยู่ที่ต้นทุนเงิน (เช่นเงินฝากธนาคาร) ของผู้ให้กู้ วิธีนี้จึงเป็นการถ่ายเทความเสี่ยงจากผู้ให้กู้ (จากต้นทุนเงินที่ผันผวน) มาเป็นผู้กู้ (รับความผันผวนนั้นไปเสียเอง)

นอกจากนั้นการแปลงสภาพสินทรัพย์ (securitization) เป็นตราสารอนุัพันธ์หรือตราสารหนี้ก็ทำได้ง่าย และเนื่องจากผลตอบแทนอ้างอิงดอกเบี้ยในตลาด ทำให้ CDO/MBS เหล่านี้สามารถซื้อขายได้เหมือนกึ่ง ๆ หุ้นกู้หรือพันธบัตร

Hybrid ARM เริ่มนำมาใช้ประมาณปี 1998 หลังจากนั้นก็เริ่มนิยมมากหลังปี 2000 จากสัดส่วนเงินกู้อสังหาที่มี hybrid ARM เพียง 2% ของเงินกู้อสังหาทั้งหมดในปี 1999 มาเป็นประมาณ 30% ในปี 2005 และส่วนใหญ่ของ hybrid ARM มักเป็น 3 years หรือ 5 years fixed หลังจากนั้นก็ลอยตัว

ลองนับเวลาดู ก็พอดีกัน ปี 2006 ดอกเบี้ยเริ่มขึ้น ในขณะที่ ARM fixed rate เริ่มหมดลง ผู้กู้เจอดอกที่สูงขึ้นสองสามเท่าเป็นอย่างน้อย คาดเดาได้เลยว่าคนกู้เงินกลุ่มไหนจะเดี้ยงก่อน

มาถึงตอนนี้ ใครคุ้น ๆ กับโปรโมชั่นปล่อยกู้อสังหาของธนาคารในเมืองไทยมั่งไหม  :wink:
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขอบคุณจารย์ mprandy ค่ะ

แสดงว่าประมาณ คนมีความสามารถระดับนึงอยู่ แร้ววันนึงความสามารถนั้นลดลงในทันที
จึงส่งผลให้ทิ้งอสังหากันมาก พอมากเข้าๆ ก็ราคาขาลง ยิ่งขาลงก็ยิ่งมีแรงเผ่นทิ้งมากขึ้นอีก เป็นจิตวิทยาของหนูตัวที่สอง,สาม,สี่ ทั้งขาขึ้นและขาลง (บังเอิญตอนนี้ขาลง :lol: )
ประกอบกะ เทคนิคแปลงกายของสินทรพย์ ที่ซับซ้อนรวดเร็ว เหมือนของเล่นใหม่เครื่องแรง ยิ่งทำให้ความเสียหายกระจายบานหนัก

ถามต่อนิดค่ะ การที่ถ้าสภาบุช อนุมัติเงินอุ้มเจ็ดแสนล้าน ถ้าผ่านสภาออกมาได้ จะยิ่งทำให้ดอลล์อ่อนค่าลง ใช่เป่าคะ

อย่างนี้ เป็นการอุ้มสั้น แต่ยาวๆ จะยิ่งมั่วเป่าเนี่ยคะ คือเหมือนถ่วงเวลาตาย ทำนองนั้นเป่า
แล้วการที่ถ้าดอลล์อ่อน จะยิ่งทำให้น้ำมันลงช้าลงหรือไม่ เพราะน้ำมันยังไปเกาะดอลล์อยู่ มันก็สวนกะความจริงที่ว่า การบริโภคพลังงานน้อยลงอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจหด แต่ดันบอกว่าน้ำมันลงเลยไม่ได้ เพราะอ้างว่าไปอิงกะดอลล์ อืม ไมนัวเนียเงี้ยเนี่ย  :lol:
ใครแก้เศรษฐกิจโลกตอนนี้ได้นี่ขั้นเทพเลยเนอะ ยากจริงๆ (มิน่าไม่มีใครอยากเป็นรมต.คลังตอนนี้  :lol: )

แล้วหากค่าเงินดอลล์อ่อน บ้านเราเป็นไงเนี่ยอ่า ส่งออกไหวเป่า
ถ้าเครื่องยนต์ส่งออกไทยเกิดปัญหา จะเหลืออะไร ท่องเที่ยวอันเดียว เอาอยู่มั้ยคะ


:roll:
ภาพประจำตัวสมาชิก
โอ@
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4246
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 19

โพสต์

เรียงอันดับ GDP ของประเทศต่างๆทั่วโลกครับ





Rank   Country GDP (millions of USD)
Flag of World World 54,311,608
Flag of Europe European Union 16,830,100
1 Flag of the United States United States 13,843,825
2 Flag of Japan Japan 4,383,762
3 Flag of Germany Germany 3,322,147
4 Flag of the People's Republic of China China (PRC) 3,250,827
5 Flag of the United Kingdom United Kingdom 2,772,570
6 Flag of France France 2,560,255
7 Flag of Italy Italy 2,104,666
8 Flag of Spain Spain 1,438,959
9 Flag of Canada Canada 1,432,140
10 Flag of Brazil Brazil 1,313,590

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_co ... _(nominal)
_________
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 20

โพสต์

สินเชื่อบ้านนั้น  ภาระการผ่อนต่อเดือนจริงๆแล้วจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงจากที่ตกลงในสัญญาเงินกู้นะครับ

เพราะเวลาทำสัญญาเงินกู้  ธนาคารก็จะคำนวณเผื่ออัตราดอกเบี้ยที่จะสูงขึ้นในอนาคตอยู่บ้างแล้ว  ถึงแม้ต่อมาอัตราดอกเบี้ยจะปรับสูงขึ้นบ้าง  แต่เงินงวดที่ต้องชำระให้แก่ทางธนาคารก็จะเท่าเดิม  ซึ่งจะส่งผลให้เงินต้นลดช้าลงเท่านั้น
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
015
Verified User
โพสต์: 154
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 21

โพสต์

สินเชื่อบ้านธนาคารในบ้านเราส่วนใหญ่กำหนด เงื่อนไขการผ่อนชำระ เท่ากันทุกงวด ถึงแม้ว่าช่วง1-5ปี อาจคิด ดอกเบี้ยต่ำคงที่  แต่ก็มีบางแห่งที่กำหนดเงื่อนไขการผ่อนชำระ เป็นขั้นบันได ภายใต้ข้อสมมุติฐาน ว่าลูกค้าอายุงานมากขึ้น ก็เงินเดือนเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า หรือเป็นเทคนิคการแข่งขัน กันระหว่างธนาคาร
chode
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 22

โพสต์

สินเชื่อบ้านที่อายุยาวๆ 25ปี
รองรับการขึ้นดอกเบี้ยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ
อย่างผ่อน 3,000,000 ล้านบาท
ดอกเบี้ย 4% ผ่อนเดือนละ 15,835 บาท
ดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 8 % ผ่อนเพิ่มเป็นเดือนละถึง 23,154 ครับ

การผ่อนอายุยาวๆ 25 ปีเป็นอันตรายในช่วงดอกเบี้ยสูงอย่างมากครับ
ต่างกับการผ่อน 10 ปีในช่วงปี 2540

ที่สหรัฐที่เกิดปัญหาก็เพราะผ่อนกัน 30 ปีขึ้นไป
Noonino
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 876
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 23

โพสต์

แล้วผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจโลก แล้วก็เศรษฐกิจไทยล่ะครับ คิดว่ามีมากน้อยแค่ไหน
ถึงยังไงผมก็ว่าคงไม่มากเท่าต้มยำกุ้งเป็นแน่ ดัชนีเราคงไม่กลับไปที่ 200 จุดอีกมังครับ

เมื่อกี้นั่งดู CNBC ก็เห็นข่าวว่า ไมโครซอฟ มีเงินเหลือเฟือ มีการออกแผนซื้อหุ้นคืนแล้วครับ นั่นแสดงว่า ธุรกิจที่ไม่อยู่ในภาคการเงินถึงอย่างไรก็ไม่ได้รับผลกระทบ (ทางตรง) มากมายอยู่ดี

สิ่งที่จะเกิดก็คือ การใช้จ่ายต้องน้อยลงแน่ ในภาวะที่คนไม่เชื่อมั่น อีกอย่างก็คือ สภาพคล่องเหือดหายไปจากระบบเยอะ ทำให้คนที่ต้องการเงินกู้ในการขยายกิจการจะกู้ได้ยากขึ้น แต่กับผู้นำธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆล่ะ??? คู่แข่งจะตายไปก่อนไม๊ หรือ คู่แข่งใหม่ๆก็จะเข้ามายากกว่าเดิมอีก บริษัทเหล่านี้รึเปล่าที่เราควรหันมามอง หากราคาหุ้นของมันตกต่ำเกินจะเป็นจากภาวะความไม่มั่นใจ

ผมว่ายังไงๆ วิกฤติ ก็คือโอกาส อยู่ดีครับ
choochart
Verified User
โพสต์: 124
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ถ้าเป็นตามคุณ Mprandy ว่าก็แค่ให้ FED ลดดอกเบี้ยปัญหาก็จบเลยสิครับ
wr
Verified User
โพสต์: 149
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ถ้าคำนวณแบบอาแปะอย่างผม
จากประสบการณ์ปล่อยเช่าคอนโดนะครับ
อาศัยรายได้ค่าเช่ามาผ่อนให้ธนาคาร แล้วซื้อขยายจำนวนห้องขึ้น
ไม่ก็หวังส่วนต่างราคาตอนขาย
พอมีซัพพลายตึกใหม่ขึ้นมามาก และมีคนเข้ามาเล่นเกมนี้กันเยอะขึ้น
ถ้าไม่ปล่อยค่าเช่าตกลงมา ก็อาจเสียผู้เช่าไปเลย
ครานี้แหละ สภาพคล่องหด การผ่อนจะติดขัด
แย่งกันขายทิ้งลดภาระ ก็ยิ่งทำให้ราคาตกอีก อาจไม่พอชำระเงินกู้
ซึ่งผมว่าช่วงสิบกว่าปีหลังมา คนอเมริกันเล่นเกมนี้กันเยอะมาก
โดยมีดอกเบี้ยต่ำเป็นตัวหนุน และมีการเล่นเกมซ้ำซ้อน แปลงทุกแง่มุมเป็นตราสารซื้อขาย
ตัวจุดประกายปัญหาอาจจะเป็นแค่ อุปสงค์อุปทานอสังหาที่ผิดเพี้ยน
และการลีเวอเรจที่สูงเกินไป ไม่มีเงินเย็นประคองตัวครับ
แต่สาวไปสาวมาก็เรื่องความละโมบนั่นเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 26

โพสต์

[quote="mprandy"]ขอร่วมแชร์ความเห็นอ่อนประสบการณ์หน่อยครับ

เฮียครับ ผมกลับเห็นว่าบ้านเราสิบปีก่อนกับบ้านเขามันเหมือนกันอย่างกับแกะ และผมว่า Hamburger เขาแรงกว่าต้มยำกุ้งเยอะเลย

1. ผลกระทบสมัยต้มยำกุ้งจากฟองสบู่แตก แรกเริ่มจำกัดเฉพาะวงธนาคารและบ.เงินทุน ดังนั้นคนที่มีผลกระทบอย่างมากคือผู้ถือหุ้นธนาคารและ บ.เงินทุนเหล่านั้น รองลงมาคือเจ้าหนี้เงินกู้ที่ปล่อยให้พวกกิจการการเงินพวกนี้ ส่วนผู้ฝากเงินปลอดภัย ในขณะที่ hamburger ผู้ที่โดนผลกระทบเยอะกว่ามากเพราะมีการเล่นแร่แปรธาตุออก CDO/MBS ที่มีคนลงทุนไม่น้อย เช่น บ.การเงิน, กองทุน หรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไป เนื่องจากถูกทำให้เชื่อว่าความเสี่ยงต่ำ (Moody's กับ S&P เขาให้ triple A ทั้งคู่นี่) ถัดมาก็เป็นสถาบันที่รับประกัน CDO/MBS พวกนี้ (อย่าง AIG) ที่รับเละ

2. ผลกระทบระลอก 2 ในภาคเศรษฐกิจแท้จริง สมัยต้มยำกุ้งเกิดจาก ภาคการผลิต (เป็นส่วนใหญ่) และบริการ (เป็นส่วนน้อย) โดนผลกระทบการลดค่าเงิน ทำให้หนี้ปูดขึ้นทันตาเห็นแบบมโหฬาร และต้นทุนการผลิตมันสูงขึ้นฉับพลัน ทำให้ต้องปรับตัวทันที ใครปรับไม่ทันก็ล้มไป ในส่วนนี้อาจจะไม่เห็นใน hamburger เพราะค่าเงินดอลลาร์เป็นแบบลอยตัวมาตลอด แต่ค่าเงินคงอ่อนไปอีกนานเพราะเศรษฐกิจอ่อนแอ + เงินที่อัดฉีดออกมาเยอะ

ผลกระทบอีกอันในภาคเศรษฐกิจที่โดนทั้งต้มยำกุ้งและ hamburger แน่ ๆ คือการลดลงของการบริโภค ซึ่งกรณีนี้เขาโดนมากกว่าเราเยอะ เพราะเศรษฐกิจอเมริกาส่วนใหญ่เป็น consumer driven และมีสัดส่วนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่สมัย dot com จนถึงปัจจุบัน เพราะประเทศเขาเสียความสามารถในการแข่งขัน เกิดการขาดดุลการค้าแบบมโหฬารและยาวนาน ในขณะที่ประเทศเราเป็น producer driven economy ถ้าสามารถรักษาสถานะการแข่งขันในการผลิตและส่งออกได้ก็ไม่มีปัญหา

ผลอันหลังนี้ที่อเมริกาแม้จะเริ่มเห็นแล้ว แต่แค่เพิ่งจะเริ่มต้น สังเกตจากยอดขายสินค้าทั้งหลายลดลงหมด โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน

วิธีเดียวที่อเมริกาจะลดผลกระทบนี้คือ พยายามกระตุ้นการใช้จ่ายเอาไว้ เช่นรักษาดอกเบี้ยไม่ให้สูงมาก, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดภาษี หรือช่วยเหลือผู้ที่ผ่อนบ้าน ฯลฯ (ในขณะที่บ้านเราตอนนั้นดันหลงกล ไปเชื่อ IMF ให้ขึ้นดอกเบี้ย ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)

3. เมื่อไหร่ hamburger crisis ถึงเริ่มหยุด ผมว่าจะเริ่มหยุดก็ต่อเมื่อราคาอสังหาเริ่มนิ่ง แต่จะหยุดสนิทก็ต้องรอให้ผลกระทบมันกระจายออกไปจนถึงที่มันจะไปได้ก่อน ความเห็นผม ผมคิดว่าไม่มีทางที่รัฐบาลเมกาจะลดผลกระทบของวิกฤตนี้ได้ สิ่งที่เขาทำให้ได้ก็แค่พยายามชะลอให้มันโดนกระแทกน้อย ๆ แต่ช้า ๆ (smooth-out) แล้วก็พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจให้มาชดเชยบ้าง

ไม่รู้มีใครเห็นด้วยไหม
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 27

โพสต์

:bow:  :bow:  :bow:  :bow:
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 28

โพสต์

chode เขียน:สินเชื่อบ้านที่อายุยาวๆ 25ปี
รองรับการขึ้นดอกเบี้ยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ
อย่างผ่อน 3,000,000 ล้านบาท
ดอกเบี้ย 4% ผ่อนเดือนละ 15,835 บาท
ดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 8 % ผ่อนเพิ่มเป็นเดือนละถึง 23,154 ครับ

การผ่อนอายุยาวๆ 25 ปีเป็นอันตรายในช่วงดอกเบี้ยสูงอย่างมากครับ
ต่างกับการผ่อน 10 ปีในช่วงปี 2540

ที่สหรัฐที่เกิดปัญหาก็เพราะผ่อนกัน 30 ปีขึ้นไป
อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม 100% แต่ผ่อนชำระเพิ่มไม่ถึง 100% ก็ไม่แย่หนิครับ
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 29

โพสต์

บรรยากาศมาคุแล้ว เข้าใจว่า เมกาเริ่มมีแนวคิดเพิ่มเติม ว่าไอ่เจ็ดแสนล้านที่ว่านั่น เห็นทีจะไม่พอ อยากจะให้อุ้มหนี้สินพวกผ่อนรถ หนี้บัตร อะไรต่ออะไรไปด้วยเลย อะจ๊ากละงานนี้
ตะกี้ฟังผ่านๆจากคุณบัญชามันนี่ชาแน่นว่า ประมาณขอเป็น 1.8ล้าน จะพอมั้ย
อะจ๊ากค่ะ  :lol:

แหมเฮียบุช พิมพ์แบงค์สนุกเลย
น้ำมันพุ่งกระฉูดทันที วิ่งไปไฮในวันบวก 25-26 แล้วลงมาปิดบวก 16 หัวแหลมเปี๊ยบ อิอิ

ประเทศไหนอมดอลล์ไว้เยอะๆ หน้าเขียวแน่ๆ ดอลล่าร์ใกล้จะเหมือนกงเต๊กเข้าไปทุกที

สงกะสัยจะได้มีโอกาสเห็นยักษ์อย่างเมกาสิ้นลายคาตาเป็นบุญตาในเร็ววันแหงๆ
ครองโลกมานานแล้ว คงได้เวลาอำลาเวทีเสียที

:shock:
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์ที่ 30

โพสต์

chode เขียน:สินเชื่อบ้านที่อายุยาวๆ 25ปี
รองรับการขึ้นดอกเบี้ยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ
อย่างผ่อน 3,000,000 ล้านบาท
ดอกเบี้ย 4% ผ่อนเดือนละ 15,835 บาท
ดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 8 % ผ่อนเพิ่มเป็นเดือนละถึง 23,154 ครับ

การผ่อนอายุยาวๆ 25 ปีเป็นอันตรายในช่วงดอกเบี้ยสูงอย่างมากครับ
ต่างกับการผ่อน 10 ปีในช่วงปี 2540

ที่สหรัฐที่เกิดปัญหาก็เพราะผ่อนกัน 30 ปีขึ้นไป
ตามตัวเลขที่คุณ chode ได้มา  เป็นตัวเลขที่คำนวณ

แต่เวลาคุณเดินไปกู้เงินธนาคาร  ถึงแม้ดอกเบี้ยที่ 4%  ธนาคารก็จะให้คุณผ่อนต่อเดือนเกิน 15,835 บาทครับ  คิดเผื่อดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น  เพราะธนาคารจะกำหนดเงินงวดที่ต้องชำระในแต่ละเดือนล่วงหน้า  ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ  และเป็นการคัดเลือกความสามารถในการผ่อนชำระของลูกหนี้ด้วย  ซึ่งอาจจะต้องผ่อนเดือนละ 19,330 บาท
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
โพสต์โพสต์