6 แบงก์ชาติพร้อมใจลดอัตราดอกเบี้ย 0.5% ขณะธนาคารกลางจีนลด 0.
- trillionaire
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1090
- ผู้ติดตาม: 1
6 แบงก์ชาติพร้อมใจลดอัตราดอกเบี้ย 0.5% ขณะธนาคารกลางจีนลด 0.
โพสต์ที่ 1
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางอีก 4 ประเทศในยุโรปและแคนาดา ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยพร้อมกัน ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวฉุกเฉิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบของวิกฤตการเงินที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เฟด และ อีซีบี ร่วมกับธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางสวีเดน ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ และธนาคารกลางแคนาดา ตัดสินใจลดดอกเบี้ยพร้อมกันที่ระดับ 0.5%
แถลงการณ์ร่วมของ 6 ธนาคารกลางข้างต้นระบุว่า "วิกฤตการเงินที่ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงนี้ได้เพิ่มความเสี่ยงขาลงต่ออัตราการขยายตัว และจำกัดความเสี่ยงขาขึ้นที่มีต่อเสถียรภาพราคา ดังนั้น การบรรเทาสถานการณ์การเงินทั่วโลกจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ"
ขณะที่ในอีกฝากหนึ่งของโลก ธนาคารกลางจีนได้ประกาศลดดอกเบี้ยลง 0.27% ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่นซึ่งไม่ได้ลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ด้วยนั้น ก็ขานรับความเคลื่อนไหวของแบงก์ชาติเหล่านี้
ทั้งนี้ การตัดสินใจลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น หรือ ดอกเบี้ยอ้างอิง (benchmark rate) ของเฟดปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.5% ขณะที่ อีซีบี ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 3.75% ธนาคารกลางแคนาดาลงมาอยู่ที่ 2.5% ธนาคารกลางอังกฤษขยับลงมาอยู่ที่ 4.5% และธนาคารกลางสวีเดนลงมาอยู่ที่ 4.25%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีน ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่สองในรอบ 3 สัปดาห์ จะลดลงมาอยู่ที่ 6.93%
นอกจากนี้ เฟดยังได้ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (discount rate) หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เฟดเรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์ลงอีก 0.5% มาอยู่ที่ 1.75%
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางอีก 4 ประเทศในยุโรปและแคนาดา ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยพร้อมกัน ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวฉุกเฉิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบของวิกฤตการเงินที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เฟด และ อีซีบี ร่วมกับธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางสวีเดน ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ และธนาคารกลางแคนาดา ตัดสินใจลดดอกเบี้ยพร้อมกันที่ระดับ 0.5%
แถลงการณ์ร่วมของ 6 ธนาคารกลางข้างต้นระบุว่า "วิกฤตการเงินที่ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงนี้ได้เพิ่มความเสี่ยงขาลงต่ออัตราการขยายตัว และจำกัดความเสี่ยงขาขึ้นที่มีต่อเสถียรภาพราคา ดังนั้น การบรรเทาสถานการณ์การเงินทั่วโลกจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ"
ขณะที่ในอีกฝากหนึ่งของโลก ธนาคารกลางจีนได้ประกาศลดดอกเบี้ยลง 0.27% ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่นซึ่งไม่ได้ลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ด้วยนั้น ก็ขานรับความเคลื่อนไหวของแบงก์ชาติเหล่านี้
ทั้งนี้ การตัดสินใจลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น หรือ ดอกเบี้ยอ้างอิง (benchmark rate) ของเฟดปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.5% ขณะที่ อีซีบี ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 3.75% ธนาคารกลางแคนาดาลงมาอยู่ที่ 2.5% ธนาคารกลางอังกฤษขยับลงมาอยู่ที่ 4.5% และธนาคารกลางสวีเดนลงมาอยู่ที่ 4.25%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีน ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่สองในรอบ 3 สัปดาห์ จะลดลงมาอยู่ที่ 6.93%
นอกจากนี้ เฟดยังได้ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (discount rate) หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เฟดเรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์ลงอีก 0.5% มาอยู่ที่ 1.75%
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
6 แบงก์ชาติพร้อมใจลดอัตราดอกเบี้ย 0.5% ขณะธนาคารกลางจีนลด 0.
โพสต์ที่ 3
ไปอ่านมาเจอจาก blog ของ paul krugman แกว่า เดี๋ยวนี้ cut fed fund rate มันก็ไม่ค่อยเกี่ยวกับ rate ที่ภาคธุรกิจจริงๆ จะต้องจ่ายเท่าไหร่ ฉะนั้นการลดดอกเบี้ยอาจจะได้ผลแค่ช่วงสั้นๆ ก็ได้ครับ เพราะ in the long run ต้นทุนในการทำธุรกิจก็ยังไม่ได้ลดลงจริง....
Impossible is Nothing
-
- Verified User
- โพสต์: 77
- ผู้ติดตาม: 0
6 แบงก์ชาติพร้อมใจลดอัตราดอกเบี้ย 0.5% ขณะธนาคารกลางจีนลด 0.
โพสต์ที่ 4
วันนี้ไปงานสัมนาของ Phatra ครับ บรรยายโดย ดร.ศุภวุฒิ แกให้ความเห็นเกี่ยวกับดอกเบี้ยประเทศไทยไว้นิดหน่อย
แกบอกว่า ประเทศไทยมีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 20.2 พันล้านเหรียญ ในจำนวนนี้ครึ่งหนึี่่่่งเป็น Trade Finance ดังนั้นก็จะเหลือเงินที่เป็นเงินกู้ต่างประเทศจริงๆประมาณ 10 พันล้านเหรียญ
แกคาดว่าถ้าเกิดการดึงเงินกลับจริงๆ เงินตัวนี้คงโดนดึงกลับ ถามว่ากระทบกับฐานะของไทยไหม แกมองว่าไม่ครับ ทุนสำรองเรามีเหลือเฟือ เพียงแ่ต่ในกระบวนการดึงเงินกลับ สภาพคล่องเงินบาทจะหายไปจากตลาด (ไปกองอยู่ที่ BOT เนื่องจากต้องเอาบาทไปแลกดอลล่าร์ออกไป) ตอนเงินออกนี่จะทำให้เงินบาทอ่อนครับ (รอบที่1)
เจ้าเงิน 3 แสนกว่าล้านบาท หายไปจากตลาดย่ิอมมีผลกับตลาดเิงินในประเทศ ดังนั้น BOT ต้องหาทางใส่เงินจำนวนนี้กลับเข้ามา ซึ่งในกระบวนใส่เงินกลับ จะทำให้เงินบาทอ่อนอีกรอบ ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มอุปทานเงินเข้าตลาด (รอบที่2)
จะเห็นว่า ค่าเงินบาทจะไ้ด้รับผลกระทบ 2 รอบ ซึ่งโดยกรอบของ BOT ต้องการให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ แกจึงมองว่า BOT ต้องดำเนินนโยบายด้วยความระมัดระวังอย่างมาก และ BOT คงคิดให้รอบคอบหากจะลดดอกเบี้ยนโยบายครับ
แกบอกว่า ประเทศไทยมีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 20.2 พันล้านเหรียญ ในจำนวนนี้ครึ่งหนึี่่่่งเป็น Trade Finance ดังนั้นก็จะเหลือเงินที่เป็นเงินกู้ต่างประเทศจริงๆประมาณ 10 พันล้านเหรียญ
แกคาดว่าถ้าเกิดการดึงเงินกลับจริงๆ เงินตัวนี้คงโดนดึงกลับ ถามว่ากระทบกับฐานะของไทยไหม แกมองว่าไม่ครับ ทุนสำรองเรามีเหลือเฟือ เพียงแ่ต่ในกระบวนการดึงเงินกลับ สภาพคล่องเงินบาทจะหายไปจากตลาด (ไปกองอยู่ที่ BOT เนื่องจากต้องเอาบาทไปแลกดอลล่าร์ออกไป) ตอนเงินออกนี่จะทำให้เงินบาทอ่อนครับ (รอบที่1)
เจ้าเงิน 3 แสนกว่าล้านบาท หายไปจากตลาดย่ิอมมีผลกับตลาดเิงินในประเทศ ดังนั้น BOT ต้องหาทางใส่เงินจำนวนนี้กลับเข้ามา ซึ่งในกระบวนใส่เงินกลับ จะทำให้เงินบาทอ่อนอีกรอบ ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มอุปทานเงินเข้าตลาด (รอบที่2)
จะเห็นว่า ค่าเงินบาทจะไ้ด้รับผลกระทบ 2 รอบ ซึ่งโดยกรอบของ BOT ต้องการให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ แกจึงมองว่า BOT ต้องดำเนินนโยบายด้วยความระมัดระวังอย่างมาก และ BOT คงคิดให้รอบคอบหากจะลดดอกเบี้ยนโยบายครับ