สรุปเรื่องราว Subprime to financial crisis
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
สรุปเรื่องราว Subprime to financial crisis
โพสต์ที่ 1
บังเอิญเคยอ่านบทความที่คุณ pknight เขียนไว้ใน web กระทิงเขียว อ่านแล้วเข้าใจง่าย เลยติดตามมา แล้ว copy มาให้อ่าน
Subprime คืออะไร
ผมค่อนข้างมั่นใจว่า ในช่วงที่ผ่านมา หลายท่านคงได้ยินเรื่องราวเกี่ยว Subprime Loan ในสหรัฐ แต่ก็ยังมึนๆ งงๆ ว่า ไอ้ อะไร prime prime เนี่ย มันคืออะไร แล้วมันเกี่ยวอะไรกับตลาดหุ้นของเรา ถ้าสนใจก็ตามอ่านกันต่อเลยครับ
Subprime Loan คือเงินกู้ที่สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง และมักจะถูกปฎิเสธการให้กู้เงินจากสถาบันการเงินหลัก เช่น ธนาคารพานิชย์ เงินกู้นี้อาจจะรวมถึงบัตรเครดิต เงินกู้ซื้อบ้าน และอื่นๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้เกิดจาก เงินกู้สำหรับการซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพย์
แล้วปัญหามันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ให้ลองนึกภาพตามคำอธิบายนะครับ
บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ปล่อยเงินกู้บ้านแก่ลูกค้าความเสี่ยงสูง ต่อมา บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ปล่อยเงินกู้ซะเต็มพอร์ต แต่ยังต้องการขยายพอร์ต จึง นำเอา พอร์ตเงินกู้ที่มีอยู่ เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการออกตราสารหนี้ เพื่อนำเงินมาหมุนต่อไป
คราวนี้ สมมุติมี หน่วยงานที่สอง สมมุติว่าเป็น บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย ต้องการนำเงินที่มีอยู่จากเบี้ยประกันที่ได้รับไปลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง จึงตกลงไปซื้อ ตราสารหนี้ของบริษัท เงินทุนกระทิงเขียวเราติต่างว่า ตราสารหนี้ของ บริษัทเงินทุนกระทิงเขียว จ่ายดอกเบี้ย 8%
แต่ด้วยเพราะความเป็นบริษัทประกัน ซึ่งรับความเสี่ยงได้ไม่มาก บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย จึงออกตราสารอนุพันธ์ที่เรียกว่า
CREDIT DEFAULT SWAP
CREDIT DEFAULT SWAP คืออะไร
CREDIT DEFAULT SWAP คือตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการตกลงระหว่าง ผู้ออกตราสาร และ ผู้ซื้อตราสาร ว่า ผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้ X % โดย ผู้ถือตราสารสัญญาว่าจะจ่ายชดเชยความเสียหายในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ ทางเครดิต อาทิ การประกาศไม่จ่ายหนี้
มาดู ตัวอย่าง ในกรณี บริษัทประกัน จตุคามคุ้มภัย และ กองทุนละลายทรัพย์ เมื่อบริษัท ประกันจตุคามคุ้มภัย ทำการซื้อตราสารหนี้มาจาก บริษัทเงินทุนกระทิงเขียว ซึ่งจากดอกเบี้ยให้ 10% คราวนี้บริษัทประกัน จตุคามคุ้มภัย ก็ไปติดต่อ กองทุนละลายทรัพย์ ให้มาซื้อ Credit Default Swap โดยหลังจากประเมินความเสี่ยงแล้ว ตกลงกันที่ บริษัทประกันจตุคามคุ้มภัย จ่ายเงินให้ กองทุนละลายทรัพย์ ปีละ 4% ของมูลหนี้ ของตราสารหนี้ บริษัทประกันจะได้ผลตอบแทนลดลงจาก 10% เหลือ 6% แต่ บริษัทประกันได้กำจัดความเสี่ยงเรื่องการเบี้ยวหนี้โดยสิ้นเชิง
Credit Default Swap นั้นเป็นตราสารอนุพันธ์ เหมือนกับ SET 50 Index Futuresดังนั้นเวลาตกลงซื้อขายกัน กองทุนละลายทรัพย์อาจจะวางเงินแค่ 10% ของมูลค่า ตราสารหนี้ทั้งหมด แต่ได้กลับมาปีละถึง 4% ของมุลค่าตราสารหนี้ทั้งหมดนั้นถือ เป็นกำไรถึง 40% ต่อปี
แต่แล้ววันหนึ่ง ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีปัญหา เศรษฐกิจเริ่มชะลอ ราคาบ้านเริ่ม ดิ่งลง เพราะปัญหาสร้างมากเกินไป กลุ่มคนที่กู้เงินมาซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไรเริ่มมี ปัญหาในการจ่ายคืนหนี้
บริษัทเงินทุน กระทิงเขียวมีปัญหาในการเรียกชำระเงิน ในขณะที่ลูกค้าเริ่มฟ้อง ล้มละลายตัวเอง หนี้เสียเริ่มพุ่ง ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องบริษัท และความสามารถ ในการชำระคืนหนี้ จนในที่สุด บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนไม่สามารถ จ่ายคืนหนี้ได้ และประกาศยกเลิกการชำระหนี้ และล้มละลายไปในที่สุด แต่เรื่อง ไม่จบแค่นั้น ในภาวะปกติ บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย ก็จะต้องแทงมูลหนี้ตรงหนี้เป็นหนี้สูญ เพราะบริษัทเงินทุน กระทิงเขียวเบี้ยวหนี้ แต่เพราะได้ทำ SWAP ไว้กับกองทุนละลายทรัพย์ กองทุนละลายทรัพย์จะต้องชำระค่าความเสียหายทั้งหมดแก่บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย คราวนี้สมมุติว่า ตัวตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งหมด 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหมายถึง เมื่อการวางเงินครั้งแรกในการซื้อ Credit Default Swap ของบริษัทประกันชีวิตจตุคามคุ้มภัย วางไว้เพียง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นคือ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ กองทุนละลายทรัพย์ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ นั้นคือการขาดทุนทันทีถึง 900%
เอาแล้วสิครับ คราวนี้กองทุนละลายทรัพย์จะทำอย่างไรถึงจะหาเงินมาได้ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตัวกองทุนเองก็ไม่มีเงิน แถมส่วนสินทรัพย์ที่เหลือ อยู่ก็ไม่พอ ส่วนทุนกลายเป็นติดลบ บริษัทจัดการกองทุนที่จัดการกองทุนละลายทรัพย์ ติต่างว่า ชื่อ บริษัทจัดการกองทุน กรีนบูล ก็ต้องนำเงินมาเติมให้ตัวกองทุนแล้ว ปิดกองทุนไป แต่คราวนี้ บริษัทจัดการกองทุน กรีนบูล เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล ซึ่งมีการลงทุนอยู่ทั่วโลก รวมถึงหุ้น นโยบายการลงทุน ของบริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล มีการกำหนดสัดส่วนไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อ บริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล ต้องเอาเงินมาเติมให้ บริษัทจัดการกองทุน จึงต้องขาย หุ้นออกทั่วโลก อย่างเท่าเทียมเพื่อรักษาสัดส่วนไว้ตามนโยบาย
และนั่นคือ สิ่งที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบัน หรือเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ในอนาคต ตราบใดที่ตลาดอสังหาของอเมริกา ยังมีปัญหาอยู่ต่อไป ซึ่งรวมถึง ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงลดลงต่อเนื่อง
ข้อมูลอื่นๆ
Subprime Loan มีมูลค่า 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2006 คิดเป็น 1 ใน 5 ของ ยอดเงินกู้เพื่อซื้อบ้านทั้งหมดของสหรัฐ
สมาคมสว๊อป และอนุพันธ์นานาชาติ ประมาณการณ์ไว้ว่า ในครึ่งปีแรกของ 2006 มูลค่าอนุพันธ์ที่ผูกกับตราสารหนี้ มีมูลค่าสูงถึง 26 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
บริษัทที่ล้มละลายไปแล้วอันเนื่องมาจากผลของ วิกฤตการณ์ที่กำลังก่อตัวได้แก่
1) New Century Financial Corp ซึ่งเคยเป็นผู้มีมาร์เก็ตแชร์อันดับสอง ในการปล่อยเงินกู้
Subprime
2 ) กองทุนในความดูแลของ Bear Stearns 2 กองทุน
3 ) และล่าสุดเมื่อวันจันทร์นี้ 30 กรกฎา กองทุน Hedge fund Sowood Capital ขาดทุนมากกว่า 50% จนทำให้ต้องปิดกองทุน แล้วขายสินทรัพย์ที่เหลือให้อีก กองทุนซึ่งใหญ่กว่า
โพสต์บนกระทิงเขียวเมื่อ 21/07/2550
Subprime คืออะไร
ผมค่อนข้างมั่นใจว่า ในช่วงที่ผ่านมา หลายท่านคงได้ยินเรื่องราวเกี่ยว Subprime Loan ในสหรัฐ แต่ก็ยังมึนๆ งงๆ ว่า ไอ้ อะไร prime prime เนี่ย มันคืออะไร แล้วมันเกี่ยวอะไรกับตลาดหุ้นของเรา ถ้าสนใจก็ตามอ่านกันต่อเลยครับ
Subprime Loan คือเงินกู้ที่สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง และมักจะถูกปฎิเสธการให้กู้เงินจากสถาบันการเงินหลัก เช่น ธนาคารพานิชย์ เงินกู้นี้อาจจะรวมถึงบัตรเครดิต เงินกู้ซื้อบ้าน และอื่นๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้เกิดจาก เงินกู้สำหรับการซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพย์
แล้วปัญหามันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ให้ลองนึกภาพตามคำอธิบายนะครับ
บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ปล่อยเงินกู้บ้านแก่ลูกค้าความเสี่ยงสูง ต่อมา บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ปล่อยเงินกู้ซะเต็มพอร์ต แต่ยังต้องการขยายพอร์ต จึง นำเอา พอร์ตเงินกู้ที่มีอยู่ เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการออกตราสารหนี้ เพื่อนำเงินมาหมุนต่อไป
คราวนี้ สมมุติมี หน่วยงานที่สอง สมมุติว่าเป็น บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย ต้องการนำเงินที่มีอยู่จากเบี้ยประกันที่ได้รับไปลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง จึงตกลงไปซื้อ ตราสารหนี้ของบริษัท เงินทุนกระทิงเขียวเราติต่างว่า ตราสารหนี้ของ บริษัทเงินทุนกระทิงเขียว จ่ายดอกเบี้ย 8%
แต่ด้วยเพราะความเป็นบริษัทประกัน ซึ่งรับความเสี่ยงได้ไม่มาก บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย จึงออกตราสารอนุพันธ์ที่เรียกว่า
CREDIT DEFAULT SWAP
CREDIT DEFAULT SWAP คืออะไร
CREDIT DEFAULT SWAP คือตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการตกลงระหว่าง ผู้ออกตราสาร และ ผู้ซื้อตราสาร ว่า ผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้ X % โดย ผู้ถือตราสารสัญญาว่าจะจ่ายชดเชยความเสียหายในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ ทางเครดิต อาทิ การประกาศไม่จ่ายหนี้
มาดู ตัวอย่าง ในกรณี บริษัทประกัน จตุคามคุ้มภัย และ กองทุนละลายทรัพย์ เมื่อบริษัท ประกันจตุคามคุ้มภัย ทำการซื้อตราสารหนี้มาจาก บริษัทเงินทุนกระทิงเขียว ซึ่งจากดอกเบี้ยให้ 10% คราวนี้บริษัทประกัน จตุคามคุ้มภัย ก็ไปติดต่อ กองทุนละลายทรัพย์ ให้มาซื้อ Credit Default Swap โดยหลังจากประเมินความเสี่ยงแล้ว ตกลงกันที่ บริษัทประกันจตุคามคุ้มภัย จ่ายเงินให้ กองทุนละลายทรัพย์ ปีละ 4% ของมูลหนี้ ของตราสารหนี้ บริษัทประกันจะได้ผลตอบแทนลดลงจาก 10% เหลือ 6% แต่ บริษัทประกันได้กำจัดความเสี่ยงเรื่องการเบี้ยวหนี้โดยสิ้นเชิง
Credit Default Swap นั้นเป็นตราสารอนุพันธ์ เหมือนกับ SET 50 Index Futuresดังนั้นเวลาตกลงซื้อขายกัน กองทุนละลายทรัพย์อาจจะวางเงินแค่ 10% ของมูลค่า ตราสารหนี้ทั้งหมด แต่ได้กลับมาปีละถึง 4% ของมุลค่าตราสารหนี้ทั้งหมดนั้นถือ เป็นกำไรถึง 40% ต่อปี
แต่แล้ววันหนึ่ง ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีปัญหา เศรษฐกิจเริ่มชะลอ ราคาบ้านเริ่ม ดิ่งลง เพราะปัญหาสร้างมากเกินไป กลุ่มคนที่กู้เงินมาซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไรเริ่มมี ปัญหาในการจ่ายคืนหนี้
บริษัทเงินทุน กระทิงเขียวมีปัญหาในการเรียกชำระเงิน ในขณะที่ลูกค้าเริ่มฟ้อง ล้มละลายตัวเอง หนี้เสียเริ่มพุ่ง ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องบริษัท และความสามารถ ในการชำระคืนหนี้ จนในที่สุด บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนไม่สามารถ จ่ายคืนหนี้ได้ และประกาศยกเลิกการชำระหนี้ และล้มละลายไปในที่สุด แต่เรื่อง ไม่จบแค่นั้น ในภาวะปกติ บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย ก็จะต้องแทงมูลหนี้ตรงหนี้เป็นหนี้สูญ เพราะบริษัทเงินทุน กระทิงเขียวเบี้ยวหนี้ แต่เพราะได้ทำ SWAP ไว้กับกองทุนละลายทรัพย์ กองทุนละลายทรัพย์จะต้องชำระค่าความเสียหายทั้งหมดแก่บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย คราวนี้สมมุติว่า ตัวตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งหมด 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหมายถึง เมื่อการวางเงินครั้งแรกในการซื้อ Credit Default Swap ของบริษัทประกันชีวิตจตุคามคุ้มภัย วางไว้เพียง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นคือ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ กองทุนละลายทรัพย์ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ นั้นคือการขาดทุนทันทีถึง 900%
เอาแล้วสิครับ คราวนี้กองทุนละลายทรัพย์จะทำอย่างไรถึงจะหาเงินมาได้ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตัวกองทุนเองก็ไม่มีเงิน แถมส่วนสินทรัพย์ที่เหลือ อยู่ก็ไม่พอ ส่วนทุนกลายเป็นติดลบ บริษัทจัดการกองทุนที่จัดการกองทุนละลายทรัพย์ ติต่างว่า ชื่อ บริษัทจัดการกองทุน กรีนบูล ก็ต้องนำเงินมาเติมให้ตัวกองทุนแล้ว ปิดกองทุนไป แต่คราวนี้ บริษัทจัดการกองทุน กรีนบูล เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล ซึ่งมีการลงทุนอยู่ทั่วโลก รวมถึงหุ้น นโยบายการลงทุน ของบริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล มีการกำหนดสัดส่วนไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อ บริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล ต้องเอาเงินมาเติมให้ บริษัทจัดการกองทุน จึงต้องขาย หุ้นออกทั่วโลก อย่างเท่าเทียมเพื่อรักษาสัดส่วนไว้ตามนโยบาย
และนั่นคือ สิ่งที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบัน หรือเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ในอนาคต ตราบใดที่ตลาดอสังหาของอเมริกา ยังมีปัญหาอยู่ต่อไป ซึ่งรวมถึง ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงลดลงต่อเนื่อง
ข้อมูลอื่นๆ
Subprime Loan มีมูลค่า 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2006 คิดเป็น 1 ใน 5 ของ ยอดเงินกู้เพื่อซื้อบ้านทั้งหมดของสหรัฐ
สมาคมสว๊อป และอนุพันธ์นานาชาติ ประมาณการณ์ไว้ว่า ในครึ่งปีแรกของ 2006 มูลค่าอนุพันธ์ที่ผูกกับตราสารหนี้ มีมูลค่าสูงถึง 26 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
บริษัทที่ล้มละลายไปแล้วอันเนื่องมาจากผลของ วิกฤตการณ์ที่กำลังก่อตัวได้แก่
1) New Century Financial Corp ซึ่งเคยเป็นผู้มีมาร์เก็ตแชร์อันดับสอง ในการปล่อยเงินกู้
Subprime
2 ) กองทุนในความดูแลของ Bear Stearns 2 กองทุน
3 ) และล่าสุดเมื่อวันจันทร์นี้ 30 กรกฎา กองทุน Hedge fund Sowood Capital ขาดทุนมากกว่า 50% จนทำให้ต้องปิดกองทุน แล้วขายสินทรัพย์ที่เหลือให้อีก กองทุนซึ่งใหญ่กว่า
โพสต์บนกระทิงเขียวเมื่อ 21/07/2550
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
ปัญหาอยู่ที่ความโลภ
โพสต์ที่ 2
ปัญหาอยู่ที่ความโลภ
การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา อันสังเกตุได้จากดัชนีดาวน์โจนส์ ที่วิ่งจาก 7422 จุด มาสู่ระดับ 14001 จุด ภายในช่วงระยะเวลาเพียง 5 ปี ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินใหม่จำนวนมากในระบบเศรษฐกิจอเมริกา มากจนธนาคารกลางสหรัฐต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันถึง 17 ครั้ง จาก 1.00% สู่ 5.25% เม็ดเงินเหล่านี้ต่างแสวงหาสิ่งเดียวกัน.ผลตอบแทนที่สูง ในความเสี่ยงที่ต่ำ ส่งผลให้เกิดความต้องการการลงทุนในตราหนี้มหาศาล มากเสียจนตลาดตราสารหนี้ ไม่มีหนี้พอให้ลงทุน ดังนั้นจึงมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตราสารที่เรียกว่า Collateralized Debt Obligations (CDOs) ซึ่งเป็นตราสารที่ทำหน้าที่คล้ายๆกับเป็นบริษัท บริษัทหนึ่ง ซึ่งแสวงหาผลตอบแทนระดับสูงจากการลงทุนในหนี้
CDOs มีสองประเภทครับ Cash CDOs และ Synthetic CDOs
Cash CDOs เป็น CDO ที่ลงทุนในตัวตราสารหนี้จริงๆ กล่าวคือนำเงินเพื่อไปซื้อหนี้มาจากสถาบันการเงิน แต่เพราะ ตัวหนี้จริงๆ ในตลาดนั้นไม่มีพอให้ลงทุน จีงก่อให้เกิด CDOs ประเภทที่สองเรียกว่า Synthetic CDOs ซึ่งไปลงทุนในตราสารที่พัฒนามาจากตัวหนี้จริงๆ ซึ่งก็คือ Credit Default Swap และ Total Return Swap ในส่วนของ Credit Default Swap นั้นได้มีการอธิบายไปแล้ว ในกระทู้แรกของผมเกี่ยวกับ Subprime ดังนั้นในส่วนนี้ผนจึงขออธิบายแค่ Total Return Swap
Total Return Swap
เป็นตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ถือตราสารออกให้แก่ บุคคลอื่น โดยผู้ออกสัญญาว่าจะทำการส่งมอบผลตอบแทนอันเกิดจากมูลหนี้ ซึ่งผูกพันธ์อยู่กับตราสารนี้ทั้งหมด (เงินต้น ดอกเบี้ย กำไร/ขาดทุน จากราคาที่เปลี่ยนของเงินกู้ และอื่นๆ) ให้แก่ผู้ถือตราสารนี้ โดยผู้ถือตราสารสัญญาว่าจะจ่ายผลตอบแทนให้แก่ ผู้ออกตราสารนี้เป็นจำนวน X% ของมูลค่าหนี้ที่ผูกพันธ์อยู่กับ ตราสารนี้ ซึ่งผู้ออกตราสารนี้ ออกมา เพื่อลดความเสี่ยงในกรณีที่ลูกหนี้เกิดเบี้ยวหนี้ขึ้นมา โดยผู้ที่ซื้อตราสารนี้ไป จะเป็นคนรับผลขาดทุนทั้งหมด เนื่องจากสัญญาไว้ว่าจะรับมอบผลตอบแทนทั้งหมด (ซึ่งอาจเป็นลบ) จากผู้ที่ออกตราสารนี้เพื่อแลกกับผลตอบแทนที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โครงสร้างของ CDOs นั้นค่อนข้างซับซ้อน ผมจึงขออธิบายโครงสร้างของ CDOs โดยเปรียบเทียบกับโครงสร้างบริษัทครับ
CDOs จะมีผู้บริหารตัวสินทรัพย์ที่ CDOs ถืออยู่ เรียกว่าผู้จัดการ ซึ่งก็เหมือนผู้ บริหารในบริษัท
การระดมทุนในการสร้าง 1 CDO นั้นแบ่งได้เป็น 3 ระดับ
1 ) ระดับ Equity / Junior เป็นระดับที่มีการลงทุนจริงๆ เปรียบเสมือนกับหุ้นสามัญของบริษัท เป็นระดับที่ได้ผลตอบแทนจาก CDOs สูงที่สุด เพราะความเสี่ยงนั้นสูงมาก สูงจนมักจะไม่มีการให้เครดิตเรตติ้งกับระดับนี้ของ CDOs เหตุที่ระดับ Equity ได้ผลตอบแทนสูง เพราะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินที่ CDO ลงทุน เงินลงทุนในระดับนี้จะต้องรับผลเสียหายทั้งหมดไปก่อน และ CDO ไม่จำเป็นต้องจ่ายผลตอบแทนให้ ถ้ารายได้จากการลงทุนในตราสารอื่นๆของ CDO ไม่พอที่จะจ่ายให้แก่ผู้จัดการ และหนี้ในระดับอื่นๆที่ CDO ก่อขึ้น แต่ในขณะเดียวกันถ้า CDO ทำกำไรได้มาก ระดับ Equity ก็จะได้ส่วนที่เหลือทั้งหมดหลังจากหักให้ระดับที่สูงกว่าแล้ว (เป็นระดับส่วนทุน)
2 ) ระดับ Mezzanine เป็นอีกระดับชั้นซึ่งสูงขึ้นมากว่าระดับ Equity แต่ก็ได้ผลตอบแทนต่ำกว่า ตราสารในระดับนี้มักจะได้การจัดอันดับเรตติ้งในระดับสูงกว่าระดับต่ำสุดที่ลงทุนได้ แต่ต่ำกว่าระดับ A ทำให้เป็นที่นิยมของบริษัท ประกันภัย สถาบันการเงิน และกองทุนความเสี่ยงต่ำลงมาจาก Hedge Fund เพราะตราสารประเภทนี้ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ตราสารอื่นๆในอัตราเรตติ้งเดียวกันมากพอสมควร ระดับนี้ผลตอบแทนจะต่ำกว่าระดับ Equity เพราะกว่าระดับนี้จะเสียหาย ก็ต้องให้ระดับ Equity เสียหายไปทั้งหมดแล้ว และในกรณีที่รายได้ของ CDO มีไม่พอจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนในระดับนี้ ผลตอบแทนค้างจ่ายทั้งหมดจะถูกทบเป็นเงินลงทุนเพิ่มใน CDO แทน (เป็นระดับชั้นหนี้)
3 ) ระดับ Senior เป็นระดับสูงสุดของ โครงสร้างเงินทุน CDOs เป็นระดับที่ได้รับผลตอบแทนต่ำกว่า ระดับ Mezzanine แต่มีความมั่นคงสูงที่สุด ซึ่งตราสารระดับนี้มักจะได้เรตติ้งสูงกว่า ระดับ A ขึ้นไปถึง AAA ผู้ลงทุนในระดับนี้มักจะได้ประกันผลตอบแทนในระดับหนึ่ง โดยรายรับทั้งหมดที่ CDO ได้หลังหักค่าบริหารของผู้จัดการ จะต้องนำมาจ่ายผู้ลงทุนในระดับ Senior ตามที่ตกลงกันไว้ทั้งหมดก่อนจะจ่ายให้ระดับอื่นได้ สำหรับ Synthetic CDOs ผู้ลงทุนนี้อาจจะไม่ต้องจ่ายเงินก้อนแรกเพื่อการลงทุนเลยด้วยซ้ำ เพราะความเชื่อที่ว่ามันมั่นคงมาก แต่สำหรับ Cash CDOS ผู้ลงทุนต้องจ่ายเต็มจำนวน ความเสียหายในระดับ Senior จะเกิดได้ต่อเมื่อส่วนทุนระดับ Mezzanine นั้นเป็นศูนย์แล้ว (เป็นระดับชั้นหนี้)
ตราสารประเภท CDO นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Synthetic CDOs เป็นตราสารที่มีอัตราส่วนหนี้สิน ต่อทุน สูงในตัวมันเองอยู่แล้ว เพราะ CDOs ส่วนใหญ่จะมีชั้น Equity หรือส่วนทุนจริงๆนั้นไม่เกิน 10% ของมูลค่าตราสารทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นส่วนชั้นของหนี้ที่เกิดจากความน่าเชื่อถือ ซึ่งกู้มาเพื่อเอามาลงทุนในมูลค่าสินทรัพย์ที่สูงกว่าส่วนทุนพอรองรับ ตามตัวอย่างดังนี้
ตราสารชื่อ กระทิงเขียว CDO ต้องการระดมทุน 1 พันล้าน เพื่อไปลงทุนใน Credit Default Swap และ Total Return Swap (เราจะไม่พูดถึงอัตราการวางเงินใน Swap เพราะจะซับซ้อนมากเกินไป) ซึ่งผลตอบแทนเฉลี่ยในกรณีที่ทรัพย์สินที่ผูกพันธ์อยู่กับ Swap ทั้งสองไม่มีปัญหาอยู่ที่ 9.0% ในกรณีนี้ กระทิงเขียว CDO เป็น Synthetic CDO
กระทิงเขียว CDO ไประดมทุนมาโดยมีส่วนของทุนโดยตรง (ชั้น Equity) 50 ล้าน
ขายตราสารหนี้ CDO ระดับ Mezzanine โดยสัญญาจะจ่ายผลตอบแทนให้ 11% เรตติ้ง BB 100 ล้าน
ขายตราสารหนี้ CDO ระดับ Senior โดยสัญญาจะจ่ายผลตอบแทนให้ 7% เรตติ้ง AAA 850 ล้าน
ในระดับ Equity ผู้ลงทุนต้องจ่ายเงินสดมาให้ ดังนั้น CDO มี 50 ล้านในเงินสด
ในระดับ Mezzanine ผู้ลงทุนที่จริงแล้วไม่ต้องจ่ายเงินสดเต็มจำนวนแต่เพื่อลดความซับซ้อนเราสมมุติว่า ผู้ลงทุนต้องจ่ายเงินเต็ม ดังนั้นมีเงินเพิ่มอีก 100 ล้าน เป็น 150 ล้าน
โดยปกติแล้วจำนวนเงินสดตรงนี้ CDO จะนำไปลงทุนในตราสารเกรดสูงระดับ AAA เพื่อเพิ่มความมั่นคงของกระแสเงินสด สมมุติว่าตราสารนี้ให้ผลตอบแทน 5.1% แต่ในระดับ Senior ตามที่ได้บอกไปก่อนหน้าว่าในส่วนนี้มักจะไม่มีการลงทุนจริง เพียงแค่เซ็นสัญญากันเฉยๆ ดังนั้นส่วนนี้จะไม่มีเงินเข้ามา ดังนั้นในส่วนอีก 850 ล้านที่เหลือ จะเป็นส่วนที่ CDO ออกเป็นตราสาร Credit Default Swap และ Total Return Swap เพราะการออกตราสารทั้งสองไม่ต้องใช้เงิน ผลตอบแทนส่วนนี้ 9%
ในกรณีปกติ CDO นี้จะมีกระแสเงินสดเข้ามาปีละ 84.15 ล้านบาท (9.0% ของ 850 ล้าน และ 5.1% ของ 150 ล้าน)
ส่วนแรกต้องไปจ่ายค่าบริหารกองทุน สมมุติ 0.20% ของมูลค่ากองทุน = 2 ล้าน
ต่อมาจ่ายให้ CDO ระดับ Senior (7% ของ 850) = 59.5 ล้าน
ต่อมาจ่ายให้ CDO ระดับ Mezzanine (11% ของ 100) = 11 ล้าน
รวมรายจ่าย = 72.5 ล้าน กำไรที่ส่วน Equity จะได้ไปก็คือ 84.15 72.5 = 11.65 ล้านบาท จากการลงทุน 50 ล้าน คิดเป็นผลตอบแทนต่อปีสูงถึง 23.3% ของเงินลงทุนเลยทีเดียว (หมายเหตุ ปกติแล้วจะมีการกันสำรองเงินส่วนนี้ไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อรองรับการล้มของ CDO)
แต่เมื่อเหตุการณ์กลับกัน ปรากฎว่าเริ่มมีการเบี้ยวหนี้มากขึ้น และ CDO ต้องเริ่มชดเชยความเสียหาย สมมุติมาระลอกแรก 5% เท่ากับกองทุนเสียหาย 50 ล้าน แต่มีกระแสเงินสดเป็นบวกสุทธิแค่ 11.65 ล้าน ดังนั้น ผู้ลงทุนในส่วน Equity ซึ่งจะต้องรับผลขาดทุนไปก่อนต้องมาชดใช้อีก 38.35 ล้าน จึงทำให้ส่วน Equity เหลือแค่ 11.65 ล้าน นักลงทุนส่วน Equity ขาดทุนไปแล้ว 76.70% จะเห็นว่าความเสียหายแค่ 5% ส่งผลกระทบมากต่อส่วน Equity
ต่อมาการเบี้ยวหนี้เกิดต่อเนื่อง เพิ่มเป็น 10% เท่ากับ CDO เสียหาย 100 ล้านคราวนี้ไม่เพียงส่วน Equity ที่ไม่มีเหลือแล้ว หมายถึงนักลงทุน Equity ขาดทุนไปแล้ว 100% ส่วนขาดทุนที่เกินออกมายังไปกินส่วนของ Mezzanine อีก 38.35 ล้าน นั้นหมายถึงมูลค่าของ Mezzanine เหลือแค่ 61.65 ล้าน ส่วนที่เหลือยังได้ดอกเบี้ย 11% ต่อไป แต่เทียบกับการขาดทุนส่วนเงินต้นไป 38.35 ล้านแล้ว จะเห็นว่าไม่คุ้มกัน
โดยปกติแล้ว อัตราการเบี้ยวหนี้ต้องสูงถึง 23 25% กว่านักลงทุนในระดับ Senior จะได้รับความเสียหายหลังจากอธิบายไปยืดยาวแล้ว หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงมีความเข้าใจถึงตัว CDO มากขึ้นแล้ว ในบทต่อไปผมจะชี้ให้เห็นของผลกระทบจาก CDO สู่ Hedge Fund ครับ
การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา อันสังเกตุได้จากดัชนีดาวน์โจนส์ ที่วิ่งจาก 7422 จุด มาสู่ระดับ 14001 จุด ภายในช่วงระยะเวลาเพียง 5 ปี ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินใหม่จำนวนมากในระบบเศรษฐกิจอเมริกา มากจนธนาคารกลางสหรัฐต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันถึง 17 ครั้ง จาก 1.00% สู่ 5.25% เม็ดเงินเหล่านี้ต่างแสวงหาสิ่งเดียวกัน.ผลตอบแทนที่สูง ในความเสี่ยงที่ต่ำ ส่งผลให้เกิดความต้องการการลงทุนในตราหนี้มหาศาล มากเสียจนตลาดตราสารหนี้ ไม่มีหนี้พอให้ลงทุน ดังนั้นจึงมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตราสารที่เรียกว่า Collateralized Debt Obligations (CDOs) ซึ่งเป็นตราสารที่ทำหน้าที่คล้ายๆกับเป็นบริษัท บริษัทหนึ่ง ซึ่งแสวงหาผลตอบแทนระดับสูงจากการลงทุนในหนี้
CDOs มีสองประเภทครับ Cash CDOs และ Synthetic CDOs
Cash CDOs เป็น CDO ที่ลงทุนในตัวตราสารหนี้จริงๆ กล่าวคือนำเงินเพื่อไปซื้อหนี้มาจากสถาบันการเงิน แต่เพราะ ตัวหนี้จริงๆ ในตลาดนั้นไม่มีพอให้ลงทุน จีงก่อให้เกิด CDOs ประเภทที่สองเรียกว่า Synthetic CDOs ซึ่งไปลงทุนในตราสารที่พัฒนามาจากตัวหนี้จริงๆ ซึ่งก็คือ Credit Default Swap และ Total Return Swap ในส่วนของ Credit Default Swap นั้นได้มีการอธิบายไปแล้ว ในกระทู้แรกของผมเกี่ยวกับ Subprime ดังนั้นในส่วนนี้ผนจึงขออธิบายแค่ Total Return Swap
Total Return Swap
เป็นตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ถือตราสารออกให้แก่ บุคคลอื่น โดยผู้ออกสัญญาว่าจะทำการส่งมอบผลตอบแทนอันเกิดจากมูลหนี้ ซึ่งผูกพันธ์อยู่กับตราสารนี้ทั้งหมด (เงินต้น ดอกเบี้ย กำไร/ขาดทุน จากราคาที่เปลี่ยนของเงินกู้ และอื่นๆ) ให้แก่ผู้ถือตราสารนี้ โดยผู้ถือตราสารสัญญาว่าจะจ่ายผลตอบแทนให้แก่ ผู้ออกตราสารนี้เป็นจำนวน X% ของมูลค่าหนี้ที่ผูกพันธ์อยู่กับ ตราสารนี้ ซึ่งผู้ออกตราสารนี้ ออกมา เพื่อลดความเสี่ยงในกรณีที่ลูกหนี้เกิดเบี้ยวหนี้ขึ้นมา โดยผู้ที่ซื้อตราสารนี้ไป จะเป็นคนรับผลขาดทุนทั้งหมด เนื่องจากสัญญาไว้ว่าจะรับมอบผลตอบแทนทั้งหมด (ซึ่งอาจเป็นลบ) จากผู้ที่ออกตราสารนี้เพื่อแลกกับผลตอบแทนที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โครงสร้างของ CDOs นั้นค่อนข้างซับซ้อน ผมจึงขออธิบายโครงสร้างของ CDOs โดยเปรียบเทียบกับโครงสร้างบริษัทครับ
CDOs จะมีผู้บริหารตัวสินทรัพย์ที่ CDOs ถืออยู่ เรียกว่าผู้จัดการ ซึ่งก็เหมือนผู้ บริหารในบริษัท
การระดมทุนในการสร้าง 1 CDO นั้นแบ่งได้เป็น 3 ระดับ
1 ) ระดับ Equity / Junior เป็นระดับที่มีการลงทุนจริงๆ เปรียบเสมือนกับหุ้นสามัญของบริษัท เป็นระดับที่ได้ผลตอบแทนจาก CDOs สูงที่สุด เพราะความเสี่ยงนั้นสูงมาก สูงจนมักจะไม่มีการให้เครดิตเรตติ้งกับระดับนี้ของ CDOs เหตุที่ระดับ Equity ได้ผลตอบแทนสูง เพราะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินที่ CDO ลงทุน เงินลงทุนในระดับนี้จะต้องรับผลเสียหายทั้งหมดไปก่อน และ CDO ไม่จำเป็นต้องจ่ายผลตอบแทนให้ ถ้ารายได้จากการลงทุนในตราสารอื่นๆของ CDO ไม่พอที่จะจ่ายให้แก่ผู้จัดการ และหนี้ในระดับอื่นๆที่ CDO ก่อขึ้น แต่ในขณะเดียวกันถ้า CDO ทำกำไรได้มาก ระดับ Equity ก็จะได้ส่วนที่เหลือทั้งหมดหลังจากหักให้ระดับที่สูงกว่าแล้ว (เป็นระดับส่วนทุน)
2 ) ระดับ Mezzanine เป็นอีกระดับชั้นซึ่งสูงขึ้นมากว่าระดับ Equity แต่ก็ได้ผลตอบแทนต่ำกว่า ตราสารในระดับนี้มักจะได้การจัดอันดับเรตติ้งในระดับสูงกว่าระดับต่ำสุดที่ลงทุนได้ แต่ต่ำกว่าระดับ A ทำให้เป็นที่นิยมของบริษัท ประกันภัย สถาบันการเงิน และกองทุนความเสี่ยงต่ำลงมาจาก Hedge Fund เพราะตราสารประเภทนี้ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ตราสารอื่นๆในอัตราเรตติ้งเดียวกันมากพอสมควร ระดับนี้ผลตอบแทนจะต่ำกว่าระดับ Equity เพราะกว่าระดับนี้จะเสียหาย ก็ต้องให้ระดับ Equity เสียหายไปทั้งหมดแล้ว และในกรณีที่รายได้ของ CDO มีไม่พอจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนในระดับนี้ ผลตอบแทนค้างจ่ายทั้งหมดจะถูกทบเป็นเงินลงทุนเพิ่มใน CDO แทน (เป็นระดับชั้นหนี้)
3 ) ระดับ Senior เป็นระดับสูงสุดของ โครงสร้างเงินทุน CDOs เป็นระดับที่ได้รับผลตอบแทนต่ำกว่า ระดับ Mezzanine แต่มีความมั่นคงสูงที่สุด ซึ่งตราสารระดับนี้มักจะได้เรตติ้งสูงกว่า ระดับ A ขึ้นไปถึง AAA ผู้ลงทุนในระดับนี้มักจะได้ประกันผลตอบแทนในระดับหนึ่ง โดยรายรับทั้งหมดที่ CDO ได้หลังหักค่าบริหารของผู้จัดการ จะต้องนำมาจ่ายผู้ลงทุนในระดับ Senior ตามที่ตกลงกันไว้ทั้งหมดก่อนจะจ่ายให้ระดับอื่นได้ สำหรับ Synthetic CDOs ผู้ลงทุนนี้อาจจะไม่ต้องจ่ายเงินก้อนแรกเพื่อการลงทุนเลยด้วยซ้ำ เพราะความเชื่อที่ว่ามันมั่นคงมาก แต่สำหรับ Cash CDOS ผู้ลงทุนต้องจ่ายเต็มจำนวน ความเสียหายในระดับ Senior จะเกิดได้ต่อเมื่อส่วนทุนระดับ Mezzanine นั้นเป็นศูนย์แล้ว (เป็นระดับชั้นหนี้)
ตราสารประเภท CDO นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Synthetic CDOs เป็นตราสารที่มีอัตราส่วนหนี้สิน ต่อทุน สูงในตัวมันเองอยู่แล้ว เพราะ CDOs ส่วนใหญ่จะมีชั้น Equity หรือส่วนทุนจริงๆนั้นไม่เกิน 10% ของมูลค่าตราสารทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นส่วนชั้นของหนี้ที่เกิดจากความน่าเชื่อถือ ซึ่งกู้มาเพื่อเอามาลงทุนในมูลค่าสินทรัพย์ที่สูงกว่าส่วนทุนพอรองรับ ตามตัวอย่างดังนี้
ตราสารชื่อ กระทิงเขียว CDO ต้องการระดมทุน 1 พันล้าน เพื่อไปลงทุนใน Credit Default Swap และ Total Return Swap (เราจะไม่พูดถึงอัตราการวางเงินใน Swap เพราะจะซับซ้อนมากเกินไป) ซึ่งผลตอบแทนเฉลี่ยในกรณีที่ทรัพย์สินที่ผูกพันธ์อยู่กับ Swap ทั้งสองไม่มีปัญหาอยู่ที่ 9.0% ในกรณีนี้ กระทิงเขียว CDO เป็น Synthetic CDO
กระทิงเขียว CDO ไประดมทุนมาโดยมีส่วนของทุนโดยตรง (ชั้น Equity) 50 ล้าน
ขายตราสารหนี้ CDO ระดับ Mezzanine โดยสัญญาจะจ่ายผลตอบแทนให้ 11% เรตติ้ง BB 100 ล้าน
ขายตราสารหนี้ CDO ระดับ Senior โดยสัญญาจะจ่ายผลตอบแทนให้ 7% เรตติ้ง AAA 850 ล้าน
ในระดับ Equity ผู้ลงทุนต้องจ่ายเงินสดมาให้ ดังนั้น CDO มี 50 ล้านในเงินสด
ในระดับ Mezzanine ผู้ลงทุนที่จริงแล้วไม่ต้องจ่ายเงินสดเต็มจำนวนแต่เพื่อลดความซับซ้อนเราสมมุติว่า ผู้ลงทุนต้องจ่ายเงินเต็ม ดังนั้นมีเงินเพิ่มอีก 100 ล้าน เป็น 150 ล้าน
โดยปกติแล้วจำนวนเงินสดตรงนี้ CDO จะนำไปลงทุนในตราสารเกรดสูงระดับ AAA เพื่อเพิ่มความมั่นคงของกระแสเงินสด สมมุติว่าตราสารนี้ให้ผลตอบแทน 5.1% แต่ในระดับ Senior ตามที่ได้บอกไปก่อนหน้าว่าในส่วนนี้มักจะไม่มีการลงทุนจริง เพียงแค่เซ็นสัญญากันเฉยๆ ดังนั้นส่วนนี้จะไม่มีเงินเข้ามา ดังนั้นในส่วนอีก 850 ล้านที่เหลือ จะเป็นส่วนที่ CDO ออกเป็นตราสาร Credit Default Swap และ Total Return Swap เพราะการออกตราสารทั้งสองไม่ต้องใช้เงิน ผลตอบแทนส่วนนี้ 9%
ในกรณีปกติ CDO นี้จะมีกระแสเงินสดเข้ามาปีละ 84.15 ล้านบาท (9.0% ของ 850 ล้าน และ 5.1% ของ 150 ล้าน)
ส่วนแรกต้องไปจ่ายค่าบริหารกองทุน สมมุติ 0.20% ของมูลค่ากองทุน = 2 ล้าน
ต่อมาจ่ายให้ CDO ระดับ Senior (7% ของ 850) = 59.5 ล้าน
ต่อมาจ่ายให้ CDO ระดับ Mezzanine (11% ของ 100) = 11 ล้าน
รวมรายจ่าย = 72.5 ล้าน กำไรที่ส่วน Equity จะได้ไปก็คือ 84.15 72.5 = 11.65 ล้านบาท จากการลงทุน 50 ล้าน คิดเป็นผลตอบแทนต่อปีสูงถึง 23.3% ของเงินลงทุนเลยทีเดียว (หมายเหตุ ปกติแล้วจะมีการกันสำรองเงินส่วนนี้ไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อรองรับการล้มของ CDO)
แต่เมื่อเหตุการณ์กลับกัน ปรากฎว่าเริ่มมีการเบี้ยวหนี้มากขึ้น และ CDO ต้องเริ่มชดเชยความเสียหาย สมมุติมาระลอกแรก 5% เท่ากับกองทุนเสียหาย 50 ล้าน แต่มีกระแสเงินสดเป็นบวกสุทธิแค่ 11.65 ล้าน ดังนั้น ผู้ลงทุนในส่วน Equity ซึ่งจะต้องรับผลขาดทุนไปก่อนต้องมาชดใช้อีก 38.35 ล้าน จึงทำให้ส่วน Equity เหลือแค่ 11.65 ล้าน นักลงทุนส่วน Equity ขาดทุนไปแล้ว 76.70% จะเห็นว่าความเสียหายแค่ 5% ส่งผลกระทบมากต่อส่วน Equity
ต่อมาการเบี้ยวหนี้เกิดต่อเนื่อง เพิ่มเป็น 10% เท่ากับ CDO เสียหาย 100 ล้านคราวนี้ไม่เพียงส่วน Equity ที่ไม่มีเหลือแล้ว หมายถึงนักลงทุน Equity ขาดทุนไปแล้ว 100% ส่วนขาดทุนที่เกินออกมายังไปกินส่วนของ Mezzanine อีก 38.35 ล้าน นั้นหมายถึงมูลค่าของ Mezzanine เหลือแค่ 61.65 ล้าน ส่วนที่เหลือยังได้ดอกเบี้ย 11% ต่อไป แต่เทียบกับการขาดทุนส่วนเงินต้นไป 38.35 ล้านแล้ว จะเห็นว่าไม่คุ้มกัน
โดยปกติแล้ว อัตราการเบี้ยวหนี้ต้องสูงถึง 23 25% กว่านักลงทุนในระดับ Senior จะได้รับความเสียหายหลังจากอธิบายไปยืดยาวแล้ว หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงมีความเข้าใจถึงตัว CDO มากขึ้นแล้ว ในบทต่อไปผมจะชี้ให้เห็นของผลกระทบจาก CDO สู่ Hedge Fund ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มของ Hedge Fund และธนาคารต่างชาติ
โพสต์ที่ 3
การล้มของ Hedge Fund และธนาคารต่างชาติ
เรื่องมีอยู่ว่า.การขยายตัวของตลาด CDOs ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อผิดๆที่ว่า CDOs จ่ายผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้อื่นๆ โดยมีความเสี่ยงพอๆกัน ซึ่งในขณะนี้ผู้ที่คิดเช่นนั้นคงรู้แล้วว่า ผลตอบแทนสูง กับความเสี่ยงต่ำนั้น ไม่เคยอยู่คู่กัน
กลับไปเมื่อหลายปีก่อน ขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกากำลังทะยาน ยอดสร้างบ้านใหม่พุ่งทำสถิติ แถมดอกเบี้ยยังต่ำจนคนกู้เงินจากสถาบันการเงิน ซื้อบ้านหลังแรกไม่พอ หลังที่สอง หลังที่สาม เพื่อเก็งกำไร ตราสาร CDOs จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนอย่างมาก เพราะดูเหมือนการเบี้ยวหนี้เป็นไปได้ยากเหลือเกิน จึงมีการตั้ง Hedge Fund เพื่อไปลงทุนใน CDO อย่างมากมาย
CDO Hedge Funds ในช่วงแรกๆ นั้นยังไม่กล้าเสี่ยงมากนัก จนเลือกที่จะดำรงนโยบายหนี้สินต่อทุนต่ำ โดยนโยบายนั้นก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดีต่อนักลงทุนได้ แต่ต่อมาความกล้าเสี่ยงในตลาดเริ่มมากขึ้น Hedge Fund จึงกล้าที่ดำรงนโยบายหนี้สินต่อทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ
ในกรณีของ Bear Stearnsหนึ่งในกองทุนที่ล้มไปของ Bear Stearns คือ Bear Stearns High Grade-Structured Credit Strategies Enhanced Leverage Fund มีนโยบายลงทุนในตราสาร CDOs เกรดสูง น่าจะในระดับ Senior โดยใช้วิธีลงทุน แล้วนำสิ่งที่ลงทุนไปค้ำประกัน ขอเงินกู้มาเพิ่ม ทำไปทำมา ตามข้อมูล ณ 31 มีนาคม ปีนี้ กองทุนมีส่วนทุนของนักลงทุนอยู่ที่ 638 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีหนี้สูงถึง 6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ นั้นหมายถึงกองทุนรับผลขาดทุนได้สูงสุดเพียง 10.63%
ต่อมาเมื่ออัตราการไม่ชำระหนี้ขยับสูงขึ้น เหล่าสถาบันการเงินซึ่งปล่อยกู้ให้แก่กองทุนเริ่มกังวล จึงเรียกให้กองทุนหาสินทรัพย์มาวางค้ำประกันเงินกู้เพิ่ม แต่เพราะกองทุนมีหนี้สูงถึง 6 พันล้าน แล้วในขณะเดียวกัน CDOs ที่ลงทุนอยู่ไม่มีสภาพคล่องพอให้ขายได้ จึงไม่มีเงินไปค้ำประกัน สถาบันผู้ให้กองทุนกู้ ในกรณีนี้หนึ่งในนั้นคือ Merrill Lynch จึงประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินที่นำมาค้ำประกันไว้ มูลค่าประมาณ 850 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่การทำเช่นนั้นย่อมเผย
ให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของ CDOs ที่ลงทุน ในที่สุดและจะสร้างช๊อกเวฟ ไปในกองทุนต่างๆ เพราะต้องบันทึกบัญชีใหม่หมด (บัญชีส่วนใหญ่ของกองทุนตอนนี้ บันทึกตราสารพวก CDOs โดยใช้คอมพิวเตอร์คำนวณราคา เพราะมันไม่มีราคาตลาด) การบันทึกบัญชีใหม่หมดย่อมหมายถึงการขาดทุนมหาศาลของกองทุนทันที Bear Stearns จึงแทรกแซงกองทุนโดยการปิดกองทุน แล้วชำระหนี้แทนกองทุน แล้วดึงเอาทรัพย์สินในกองทุนออกมาบริหารเอง
อีกปัญหาของกองทุนซึ่งมีหนี้สินสูงคือ ความตื่นตระหนกของนักลงทุน ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนแห่ไปถอนหน่วยลงทุนจากกองทุนเหล่านี้ จนถึงจุดที่ต้องขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินสดมาให้นักลงทุน แต่ก็เจอปัญหาเดิมคือ สภาพคล่อง CDOs ที่ต่ำทำให้ต้องขายทรัพย์สินในราคา Discount มากกว่าราคาที่บันทึกในบัญชี เราจึงเห็นกองทุนหลายๆกองทุนเลือกที่จะยุติรับคำร้องการไถ่ถอนชั่วคราว กองทุนเหล่านี้ต่างจาก Bear Stearns ตรงที่ยังมีส่วนทุนของนักลงทุนพอที่จะ ดำเนินการต่อได้จะเห็นได้ว่าในระยะสั้นๆนี่ กองทุนที่มีปัญหาจะเป็นกองทุนประเภทกู้หนี้มาเยอะมาก จนเมื่อเกิดปัญหาเพียงแค่เล็กน้อยก็รับไม่ไหว แต่กองทุนส่วนใหญ่มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำกว่ากองทุนประเภทนี้ค่อนข้างเยอะจึงยังพอมีสภาพคล่องพอที่นำทรัพย์สินไปวางค้ำประกันเงินกู้ ตามสถาบันการเงินเรียกร้องได้
จากเมกา สู่ยุโรปข่าวการล้มของธนาคาร IKB ในเยอรมัน เมื่อสิ้นเดือนกรกฎาที่ผ่านมาผมเชื่อว่านักลงทุนในไทยคงไม่ให้ความสนใจ มากนัก แต่การล้มของธนาคารเป็น
สิ่งที่บอกได้อย่างได้ถึง สถานะของยุโรปในวิกฤตการณ์ Subprime ของอเมริกา
การล้มของธนาคาร IKB นั้นเป็นสิ่งที่คนไม่คาดคิด เพราะก่อนการล้มธนาคารออกมาประกาศว่า พอร์ตการลงทุนของธนาคารใน Subprime ไม่มีปัญหา และยังดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่เพียง 10 วันหลังจากนั้น ธนาคารเกิดปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงหลังจากดัชนีที่วัดราคาของ CDOs โดยรวม ร่วงลงกว่า 17% ทำให้ธนาคารเจ้าหนี้รายใหญ่ Deutsche Bank ประกาศงด Credit Line ของธนาคาร เนื่องจากไม่มั่นใจในความสามารถในการชำระหนี้ของธนาคาร ซึ่งตัวเลขที่ประกาศมาภายหลังน่าตกใจอย่างยิ่งที่ ธนาคารมีการลงทุนในตราสารหนี้ Subprime ซึ่งรวมถึง CDO ทั้งทางตรงและทางอ้อม สูงถึง 7.8 พันล้านยูโร (ตัวเลขจาก EUBusiness) หรือ 1.06 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และธนาคารคาดว่าอาจจะต้องขาดทุนถึง 1 ใน 5 ของจำนวนดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาล้มละลาย ธนาคาร KfW ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งในธนาคาร จึงต้องนำเงินเข้ามาในธนาคารโดยด่วน เพื่อช่วยให้ธนาคาร IKB ไม่ต้องนำสินทรัพย์ CDO ต่างๆนำไปขายในราคา Discount ซึ่งถ้า IKB ต้องขายจริง อาจจะต้องล้มละลาย เพราะคงจะต้องรับผลขาดทุนมหาศาล อีกครั้งครับปัญหาเกิดจากสภาพคล่อง
ในบทความทั้ง 4 บทที่ผ่านมา ผมกล่าวถึงผลกระทบระยะสั้นทั้งหมดนะครับ ในบทต่อๆไป ผมจะเริ่มพูดถึงผลกระทบในระยะกลาง อันเกิดจาก อัตราเครดิตเรตติ้ง นโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลาง และ Yen Carry Trade
เรื่องมีอยู่ว่า.การขยายตัวของตลาด CDOs ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อผิดๆที่ว่า CDOs จ่ายผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้อื่นๆ โดยมีความเสี่ยงพอๆกัน ซึ่งในขณะนี้ผู้ที่คิดเช่นนั้นคงรู้แล้วว่า ผลตอบแทนสูง กับความเสี่ยงต่ำนั้น ไม่เคยอยู่คู่กัน
กลับไปเมื่อหลายปีก่อน ขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกากำลังทะยาน ยอดสร้างบ้านใหม่พุ่งทำสถิติ แถมดอกเบี้ยยังต่ำจนคนกู้เงินจากสถาบันการเงิน ซื้อบ้านหลังแรกไม่พอ หลังที่สอง หลังที่สาม เพื่อเก็งกำไร ตราสาร CDOs จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนอย่างมาก เพราะดูเหมือนการเบี้ยวหนี้เป็นไปได้ยากเหลือเกิน จึงมีการตั้ง Hedge Fund เพื่อไปลงทุนใน CDO อย่างมากมาย
CDO Hedge Funds ในช่วงแรกๆ นั้นยังไม่กล้าเสี่ยงมากนัก จนเลือกที่จะดำรงนโยบายหนี้สินต่อทุนต่ำ โดยนโยบายนั้นก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดีต่อนักลงทุนได้ แต่ต่อมาความกล้าเสี่ยงในตลาดเริ่มมากขึ้น Hedge Fund จึงกล้าที่ดำรงนโยบายหนี้สินต่อทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ
ในกรณีของ Bear Stearnsหนึ่งในกองทุนที่ล้มไปของ Bear Stearns คือ Bear Stearns High Grade-Structured Credit Strategies Enhanced Leverage Fund มีนโยบายลงทุนในตราสาร CDOs เกรดสูง น่าจะในระดับ Senior โดยใช้วิธีลงทุน แล้วนำสิ่งที่ลงทุนไปค้ำประกัน ขอเงินกู้มาเพิ่ม ทำไปทำมา ตามข้อมูล ณ 31 มีนาคม ปีนี้ กองทุนมีส่วนทุนของนักลงทุนอยู่ที่ 638 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีหนี้สูงถึง 6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ นั้นหมายถึงกองทุนรับผลขาดทุนได้สูงสุดเพียง 10.63%
ต่อมาเมื่ออัตราการไม่ชำระหนี้ขยับสูงขึ้น เหล่าสถาบันการเงินซึ่งปล่อยกู้ให้แก่กองทุนเริ่มกังวล จึงเรียกให้กองทุนหาสินทรัพย์มาวางค้ำประกันเงินกู้เพิ่ม แต่เพราะกองทุนมีหนี้สูงถึง 6 พันล้าน แล้วในขณะเดียวกัน CDOs ที่ลงทุนอยู่ไม่มีสภาพคล่องพอให้ขายได้ จึงไม่มีเงินไปค้ำประกัน สถาบันผู้ให้กองทุนกู้ ในกรณีนี้หนึ่งในนั้นคือ Merrill Lynch จึงประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินที่นำมาค้ำประกันไว้ มูลค่าประมาณ 850 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่การทำเช่นนั้นย่อมเผย
ให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของ CDOs ที่ลงทุน ในที่สุดและจะสร้างช๊อกเวฟ ไปในกองทุนต่างๆ เพราะต้องบันทึกบัญชีใหม่หมด (บัญชีส่วนใหญ่ของกองทุนตอนนี้ บันทึกตราสารพวก CDOs โดยใช้คอมพิวเตอร์คำนวณราคา เพราะมันไม่มีราคาตลาด) การบันทึกบัญชีใหม่หมดย่อมหมายถึงการขาดทุนมหาศาลของกองทุนทันที Bear Stearns จึงแทรกแซงกองทุนโดยการปิดกองทุน แล้วชำระหนี้แทนกองทุน แล้วดึงเอาทรัพย์สินในกองทุนออกมาบริหารเอง
อีกปัญหาของกองทุนซึ่งมีหนี้สินสูงคือ ความตื่นตระหนกของนักลงทุน ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนแห่ไปถอนหน่วยลงทุนจากกองทุนเหล่านี้ จนถึงจุดที่ต้องขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินสดมาให้นักลงทุน แต่ก็เจอปัญหาเดิมคือ สภาพคล่อง CDOs ที่ต่ำทำให้ต้องขายทรัพย์สินในราคา Discount มากกว่าราคาที่บันทึกในบัญชี เราจึงเห็นกองทุนหลายๆกองทุนเลือกที่จะยุติรับคำร้องการไถ่ถอนชั่วคราว กองทุนเหล่านี้ต่างจาก Bear Stearns ตรงที่ยังมีส่วนทุนของนักลงทุนพอที่จะ ดำเนินการต่อได้จะเห็นได้ว่าในระยะสั้นๆนี่ กองทุนที่มีปัญหาจะเป็นกองทุนประเภทกู้หนี้มาเยอะมาก จนเมื่อเกิดปัญหาเพียงแค่เล็กน้อยก็รับไม่ไหว แต่กองทุนส่วนใหญ่มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำกว่ากองทุนประเภทนี้ค่อนข้างเยอะจึงยังพอมีสภาพคล่องพอที่นำทรัพย์สินไปวางค้ำประกันเงินกู้ ตามสถาบันการเงินเรียกร้องได้
จากเมกา สู่ยุโรปข่าวการล้มของธนาคาร IKB ในเยอรมัน เมื่อสิ้นเดือนกรกฎาที่ผ่านมาผมเชื่อว่านักลงทุนในไทยคงไม่ให้ความสนใจ มากนัก แต่การล้มของธนาคารเป็น
สิ่งที่บอกได้อย่างได้ถึง สถานะของยุโรปในวิกฤตการณ์ Subprime ของอเมริกา
การล้มของธนาคาร IKB นั้นเป็นสิ่งที่คนไม่คาดคิด เพราะก่อนการล้มธนาคารออกมาประกาศว่า พอร์ตการลงทุนของธนาคารใน Subprime ไม่มีปัญหา และยังดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่เพียง 10 วันหลังจากนั้น ธนาคารเกิดปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงหลังจากดัชนีที่วัดราคาของ CDOs โดยรวม ร่วงลงกว่า 17% ทำให้ธนาคารเจ้าหนี้รายใหญ่ Deutsche Bank ประกาศงด Credit Line ของธนาคาร เนื่องจากไม่มั่นใจในความสามารถในการชำระหนี้ของธนาคาร ซึ่งตัวเลขที่ประกาศมาภายหลังน่าตกใจอย่างยิ่งที่ ธนาคารมีการลงทุนในตราสารหนี้ Subprime ซึ่งรวมถึง CDO ทั้งทางตรงและทางอ้อม สูงถึง 7.8 พันล้านยูโร (ตัวเลขจาก EUBusiness) หรือ 1.06 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และธนาคารคาดว่าอาจจะต้องขาดทุนถึง 1 ใน 5 ของจำนวนดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาล้มละลาย ธนาคาร KfW ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งในธนาคาร จึงต้องนำเงินเข้ามาในธนาคารโดยด่วน เพื่อช่วยให้ธนาคาร IKB ไม่ต้องนำสินทรัพย์ CDO ต่างๆนำไปขายในราคา Discount ซึ่งถ้า IKB ต้องขายจริง อาจจะต้องล้มละลาย เพราะคงจะต้องรับผลขาดทุนมหาศาล อีกครั้งครับปัญหาเกิดจากสภาพคล่อง
ในบทความทั้ง 4 บทที่ผ่านมา ผมกล่าวถึงผลกระทบระยะสั้นทั้งหมดนะครับ ในบทต่อๆไป ผมจะเริ่มพูดถึงผลกระทบในระยะกลาง อันเกิดจาก อัตราเครดิตเรตติ้ง นโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลาง และ Yen Carry Trade
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
ลำดับเหตุการณ์ วิกฤตการณ์ซับไพรม์
โพสต์ที่ 4
ลำดับเหตุการณ์ วิกฤตการณ์ซับไพรม์
ปี 2007
2 เมษายน: New Century Financial บริษัทปล่อยกู้ซับไพรม์ที่ใหญ่ที่สุด ประกาศล้มละลาย
7 มิถุนายน: Bear Stearns ประกาศหยุดรับไถ่ถอนหน่วยลงทุนใน สองกองทุนในความดูแล The High-Grade Structured Credit Strategies Enhanced Leverage Fund และ The High-Grade Structured Credit Fund
สิงหาคม: ธนาคารกลางสหรัฐ ฉัดเงินเข้าสู่ระบบกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และรักษาระดับดอกเบี้ยในตลาดระหว่างธนาคาร
6 สิงหาคม: American Home Mortgage ประกาศล้มละลาย
16 สิงหาคม: Countrywide Financial บริษัทรับจำนองบ้านที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา หวิดล้มละลาย กลุ่มธนาคารพานิชย์ปล่อยกู้ฉุกเฉินให้บริษัท 1.1 หมื่นล้านเหรียญ
17 สิงหาคม: ธนาคารกลางสหรัฐลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมา 0.50% มาอยู่ที่ 5.75%
31 สิงหาคม: บุชประกาศแผนช่วยเหลือ เจ้าของบ้านที่ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้
14 กันยายน: ประชาชนแห่ถอนเงินที่ธนาคาร Northern Rock ของอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษเข้าควบคุมกิจการในภายหลัง
18 กันยายน: ธนาคารกลางสหรัฐลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.50% มาอยู่ที่ 5.25%
30 กันยายน: ธนาคารผ่านอินเตอร์เน็ต NetBank ล้มละลาย ธนาคารยูบีเอสประกาศผลขาดทุน 690 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับไตรมาส สาม
10 ตุลาคม: รัฐบาลสหรัฐและภาคเอกชน จัดตั้ง Hope Now Alliance เพื่อช่วยเหลือผู้กู้เงินประเภทซับไพรม์
15-17 ตุลาคม: กลุ่มสถาบันการเงินในสหรัฐ โดยการหนุนหลังของรัฐบาลสหรัฐประกาศตั้ง super fund ขนาด 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อสินทรัพย์ประเภท Mortgage-back securities (MBS) หลังจากที่มูลค่าของสินทรัพย์ประเภทนี้ตกลงอย่างรวดเร็ว เบน เบอนานเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ และ แฮงค์ พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ แสดงความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ กรณีที่ราคาบ้านยังคงร่วงลงต่อเนื่อง
31 ตุลาคม: ธนาคารกลางสหรัฐลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% เหลือ 4.5%
1 พฤศจิกายน: ธนาคารกลางสหรัฐอัดฉีดเงิน 4.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเข้าสู่ระบบ เป็นการเพิ่มฐานเงินมากที่สุดตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยา
6 ธันวาคม: บุชประกาศแผนการ ให้ผู้กู้เงินซัมไพรม์แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัวบางส่วน สามารถขออัตราดอกเบี้ยคงที่ได้
ปี 2008
14 มีนาคม: แบร์ สเติร์น เข้ากู้เงินจากธนาคารกลางสหรัฐ หลังนักลงทุนแห่ถอนการลงทุน จนขาดสภาพคล่อง
16 มีนาคม: เจพี มอร์แกน เชส เข้าซื้อกิจการ Bear Stearns ในราคา 2 เหรียญต่อหุ้น ก่อนปรับราคาขึ้นไปเป็น 10 เหรียญในภายหลัง ข้อตกลงซื้อกิจการนี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางสหรัฐ โดยธนาคารกลางตกลงให้เงินถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
6 พฤษภาคม: ยูบีเอส ประกาศลดคนงานออก 5,500 ตำแหน่ง
7 กันยายน: รัฐบาลสหรัฐเข้าควบคุมกิจการของ Fannie Mae และ Freddie Mac
14 กันยายน: แบงค์ ออฟ อเมริกา ซื้อกิจการ เมอลิล ลินซ์ ท่ามกลางความกังวลเรื่องสภาพคล่อง และการล้มละลายของ เลอห์แมน
15 กันยายน: เลอห์แมน บราเธอส์ ประกาศล้มละลาย
16 กันยายน: มูดี้ส์ และ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวส์ ลดอันดับเรตติ้งของ AIG บริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากความกังวลเรื่องผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่องจากการลงทุนในตราสารซึ่งมีลูกหนี้จำนองบ้านเป็นหลักประกัน การลดอันดับเรตติ้งนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลจากผลกระทบจากการล้มของ AIG ที่อาจเกิดขึ้น
17 กันยายน: ธนาคารกลางสหรัฐ ปล่อยกู้ให้ AIG 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรักษาไม่ให้ AIG ล้มละลาย
19 กันยายน: รัฐมนตรีคลังสหรัฐ พอลสัน เผยแผนการกู้วิกฤตสถาบันการเงิน มูลค่า 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
25 กันยายน: บรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลาง (FDIC) เข้าควบคุมกิจการของ Washington Mutual ทรัพย์ของธนาคารถูกขายต่อให้ เจพี มอร์แกนเชส ในคา 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
28 กันยายน: สภาคองเกรสเห็นชอบในหลักการ แผนการเข้ากู้สถาบันการเงินมูลค่า 7 แสนล้าน
ปี 2007
2 เมษายน: New Century Financial บริษัทปล่อยกู้ซับไพรม์ที่ใหญ่ที่สุด ประกาศล้มละลาย
7 มิถุนายน: Bear Stearns ประกาศหยุดรับไถ่ถอนหน่วยลงทุนใน สองกองทุนในความดูแล The High-Grade Structured Credit Strategies Enhanced Leverage Fund และ The High-Grade Structured Credit Fund
สิงหาคม: ธนาคารกลางสหรัฐ ฉัดเงินเข้าสู่ระบบกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และรักษาระดับดอกเบี้ยในตลาดระหว่างธนาคาร
6 สิงหาคม: American Home Mortgage ประกาศล้มละลาย
16 สิงหาคม: Countrywide Financial บริษัทรับจำนองบ้านที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา หวิดล้มละลาย กลุ่มธนาคารพานิชย์ปล่อยกู้ฉุกเฉินให้บริษัท 1.1 หมื่นล้านเหรียญ
17 สิงหาคม: ธนาคารกลางสหรัฐลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมา 0.50% มาอยู่ที่ 5.75%
31 สิงหาคม: บุชประกาศแผนช่วยเหลือ เจ้าของบ้านที่ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้
14 กันยายน: ประชาชนแห่ถอนเงินที่ธนาคาร Northern Rock ของอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษเข้าควบคุมกิจการในภายหลัง
18 กันยายน: ธนาคารกลางสหรัฐลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.50% มาอยู่ที่ 5.25%
30 กันยายน: ธนาคารผ่านอินเตอร์เน็ต NetBank ล้มละลาย ธนาคารยูบีเอสประกาศผลขาดทุน 690 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับไตรมาส สาม
10 ตุลาคม: รัฐบาลสหรัฐและภาคเอกชน จัดตั้ง Hope Now Alliance เพื่อช่วยเหลือผู้กู้เงินประเภทซับไพรม์
15-17 ตุลาคม: กลุ่มสถาบันการเงินในสหรัฐ โดยการหนุนหลังของรัฐบาลสหรัฐประกาศตั้ง super fund ขนาด 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อสินทรัพย์ประเภท Mortgage-back securities (MBS) หลังจากที่มูลค่าของสินทรัพย์ประเภทนี้ตกลงอย่างรวดเร็ว เบน เบอนานเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ และ แฮงค์ พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ แสดงความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ กรณีที่ราคาบ้านยังคงร่วงลงต่อเนื่อง
31 ตุลาคม: ธนาคารกลางสหรัฐลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% เหลือ 4.5%
1 พฤศจิกายน: ธนาคารกลางสหรัฐอัดฉีดเงิน 4.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเข้าสู่ระบบ เป็นการเพิ่มฐานเงินมากที่สุดตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยา
6 ธันวาคม: บุชประกาศแผนการ ให้ผู้กู้เงินซัมไพรม์แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัวบางส่วน สามารถขออัตราดอกเบี้ยคงที่ได้
ปี 2008
14 มีนาคม: แบร์ สเติร์น เข้ากู้เงินจากธนาคารกลางสหรัฐ หลังนักลงทุนแห่ถอนการลงทุน จนขาดสภาพคล่อง
16 มีนาคม: เจพี มอร์แกน เชส เข้าซื้อกิจการ Bear Stearns ในราคา 2 เหรียญต่อหุ้น ก่อนปรับราคาขึ้นไปเป็น 10 เหรียญในภายหลัง ข้อตกลงซื้อกิจการนี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางสหรัฐ โดยธนาคารกลางตกลงให้เงินถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
6 พฤษภาคม: ยูบีเอส ประกาศลดคนงานออก 5,500 ตำแหน่ง
7 กันยายน: รัฐบาลสหรัฐเข้าควบคุมกิจการของ Fannie Mae และ Freddie Mac
14 กันยายน: แบงค์ ออฟ อเมริกา ซื้อกิจการ เมอลิล ลินซ์ ท่ามกลางความกังวลเรื่องสภาพคล่อง และการล้มละลายของ เลอห์แมน
15 กันยายน: เลอห์แมน บราเธอส์ ประกาศล้มละลาย
16 กันยายน: มูดี้ส์ และ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวส์ ลดอันดับเรตติ้งของ AIG บริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากความกังวลเรื่องผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่องจากการลงทุนในตราสารซึ่งมีลูกหนี้จำนองบ้านเป็นหลักประกัน การลดอันดับเรตติ้งนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลจากผลกระทบจากการล้มของ AIG ที่อาจเกิดขึ้น
17 กันยายน: ธนาคารกลางสหรัฐ ปล่อยกู้ให้ AIG 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรักษาไม่ให้ AIG ล้มละลาย
19 กันยายน: รัฐมนตรีคลังสหรัฐ พอลสัน เผยแผนการกู้วิกฤตสถาบันการเงิน มูลค่า 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
25 กันยายน: บรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลาง (FDIC) เข้าควบคุมกิจการของ Washington Mutual ทรัพย์ของธนาคารถูกขายต่อให้ เจพี มอร์แกนเชส ในคา 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
28 กันยายน: สภาคองเกรสเห็นชอบในหลักการ แผนการเข้ากู้สถาบันการเงินมูลค่า 7 แสนล้าน
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
ฟางเส้นสุดท้าย
โพสต์ที่ 5
ฟางเส้นสุดท้าย
เขียนโดย Nanthawit Sukthaworn
ตลาดหุ้นเป็นเพียงโหมโรง แต่ตลาดเงินคือโชว์จริง กล่าวนักค้าหุ้นบนฟลอร์ของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค ซึ่งกล่าวถึงสภาวะการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เพราะถึงแม้ตลาดหุ้นยังคงมีการซื้อขาย และยังมีสภาพคล่อง แม้จะมีการผันผวนในระดับสูงบ้าง แต่ตลาดเงินนั้นเรียกได้ว่าเข้าสู่ภาวะอัมพาตไปแล้ว
หลายคนอาจถามว่าทำไมตลาดหุ้นถึงได้ผันผวนมากขนาดนี้ ทั้งที่ราคาก็ลงมามากแล้ว พื้นฐานบริษัทก็ยังดูดี แต่ทำไมแรงเทขายถึงไม่หยุดเสียที PKN Zoom บทนี้จะวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความผันผวน ที่มาของแรงขาย และนักลงทุนอย่างเราๆควรทำอย่างไรต่อไป
สาเหตุของวิกฤตการณ์ครั้งนี้นั้น เกิดขึ้นจากราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกานั้นปรับตัวขึ้นไปสูงมากในระยะเวลาที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพราะการที่ต้นทุนของเงินที่ถูกทำให้เกิดการเก็งกำไรอย่างแพร่หลาย อีกส่วนหนึ่งเพราะเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้ คนที่มีรายได้ต่ำได้ครอบครองบ้านเป็นของตัวเอง
แม้จะฟังดูดีที่คนรายได้ต่ำจะมีสิทธิในการเป็นเจ้าของบ้าน แต่แท้ที่จริงแล้วรัฐบาลต้องการผลักภาระในการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อคนรายได้น้อย ให้ไปเป็นปัญหาของคนรายได้น้อย กล่าวคือ ถ้าคนรายได้น้อยสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ รัฐบาลก็มีภาระน้อยลงในการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อคนมีรายได้น้อย ไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษา ประหยัดงบประมาณไปได้ค่อนข้างมาก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การที่ปล่อยให้มีการปล่อยกู้ให้คนกลุ่มนี้มากขึ้น ก่อให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยิ่งส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงซึ่งที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย
ผลคือสถาบันหลายสถาบันการเงินเลือกที่จะเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ทำเอกสารหลักฐานขึ้นมาว่าผู้กู้มีรายได้พอที่จะผ่อนเงินจำนองบ้านบ้าง หรือออกโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำล่อใจบ้าง เหตุที่สถาบันเหล่านี้ทำเช่นนั้นได้ก็เพราะ ปริมาณความต้องการถือสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้นั้นมีอยู่มหาศาล มากกว่าที่รัฐบาลและภาคเอกชน จะออกตราสารหนี้ได้ทัน ทำให้สถาบันเหล่านี้สามารถนำบัญชีจำนองบ้าน มาใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันออก ตราสารหนี้อีกต่อ เพื่อนำเงินมาปล่อยกู้เพิ่ม รายละเอียดเหล่านี้ได้กล่าวถึงใน PKN zoom! บทก่อนๆแล้ว
ทำไมสถาบันการเงินถึงล้มในช่วงเวลาข้ามคืน
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในระบบการเงินอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนก็คือ การยอมรับที่จะมีความเสี่ยงในระดับสูงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ต้องการ มีการกู้เงินอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสถาบันการเงินประเภทธนาคารเพื่อการลงทุน หรือ Investment Bank ที่มีระดับหนี้สินต่อทุนสูงถึง 20 เท่าในบางราย สาเหตุที่ทำได้เช่นนั้นเพราะความเชื่อที่ว่าธนาคารเพื่อการลงทุน นำเงินของตัวเองมาลงทุน ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลระบบการเงินต่างๆ มีนโยบายที่จะไม่เข้าไปกำกับดูแลสถาบันเหล่านี้มากนัก
แต่โมเดลทางธุรกิจที่สถาบันการเงินเหล่านี้ใช้ในการทำธุรกิจคือ ยืมสั้น แล้วปล่อยกู้ยาว กล่าวคือ บริษัทเข้าไปกู้เงินระยะสั้นเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนบริษัท ขณะเดียวกันก็ปล่อยกู้ระยะยาว การทำเช่นนี้ทำให้ได้กำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย หรือกำไรจากการลงทุน เพราะการกู้เงินระยะสั้นมักมีต้นทุนต่ำกว่า เนื่องจากดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า (ดูได้จากดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ ยิ่งฝากสั้น ดอกยิ่งต่ำ) เมื่อได้เงินระยะสั้นมา ธนาคารเหล่านี้ก็นำเงินไปปล่อยกู้ดีลการซื้อกิจการบ้าง เข้าไปซื้อสินทรัพย์ Subprime เพื่อนำไปขายต่อบ้าง หรือเข้าไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ (อาทิเช่น เลอห์แมน ที่กลายเป็นผู้ถืออสังหาประเภทพื้นที่ออฟฟิศ และโรงแรม อันดับหนึ่งของไทย) ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้ล้วนมีสภาพคล่องที่ต่ำ ทำให้เมื่อมีการก่อหนี้สูงขึ้น สถาบันการเงินเหล่านี้ก็มีภาระที่ต้องหาเงินกู้ระยะสั้นเพื่อมาหมุนมากขึ้น ทำให้สถาบันการเงินเหล่านี้มีการพึ่งพาตลาดเงินกู้ระยะสั้นในระดับที่สูง
ต่อมาเมื่อเกิดวิกฤตความเชื่อมั่นดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สถาบันหมดความน่าเชื่อถือ ต่างสถาบันต่างถือเงินสดเอาไว้ ไม่ยอมนำไปปล่อยกู้ในตลาดระยะสั้น แม้จะให้ผลตอบแทนที่ดูกว่าการถือเงินสดไว้เฉยๆก็ตาม สถาบันการเงินที่กล่าวข้างต้นจึงมีปัญหาทันที เพราะไม่สามารถหาเงินกู้ระยะสั้น หรือหาได้แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก กอปรกับสถาบันการเงินยังถูกแรงกดดันจากราคาทรัพย์สินที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ตราสารต่างๆที่ไปลงทุนไว้ ทำให้ต้องถูกลดอัตราเครดิตเรตติ้งเข้าไปอีก ซ้ำยังโดนเรียกให้วางหลักประกันเพิ่มสำหรับเงินกู้ที่ตัวเองกู้ไว้ ครั้นจะขายทรัพย์สินที่ตัวเองถืออยู่ก็ขายไม่ทัน เพราะอสังหาริมทรัพย์เอย บริษัทที่ตัวเองมีหุ้นเอย หรือตราสารต่างๆเอย ล้วนต้องใช้เวลาในการขาย แต่หลักประกันต้องใช้ในวันรุ่งขึ้น เราจึงเห็นสถาบันการเงินประเภท investment bank หลายบริษัทต้องล้มละลายข้ามคืน แม้จะยังมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินก็ตาม
การตึงตัวของตลาดเงิน
เมื่อสถาบันการเงินต่างถือเงินสดไว้ ทำให้ตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวอย่างรุนแรง เมื่อวันจันทร์หลังจากข่าวสภาคว่ำกฎหมายกู้สถาบันการเงินเริ่มเผยแพร่ออกไป ตลาดการเงินเรียกได้ว่าเข้าขั้นโคม่าทันที ธนาคารในยุโรปยอมจ่ายดอกเบี้ยถึง 11% เพื่อให้ได้เงินกู้ข้ามคืนจากธนาคารกลางยุโรป เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรต่อไป ธนาคารต้องพร้อมที่จะรับมือกับการถอนเงินลงทุนจากทั้งผู้ฝากเงิน และผู้ลงทุนในธนาคาร ขณะเดียวกันธนาคารก็คิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกือบ 7% ระหว่างธนาคารด้วยกันเอง อัตราซึ่งสูงกว่า ปตท ของเรากู้เงินผ่านการออกพันธบัตร หรือดอกเบี้ยกู้บ้านของผู้อ่านหลายๆท่าน เสียอีก เมื่อธนาคารกู้ระหว่างกันเองไม่ได้ ก็ต้องไปพึ่งธนาคารกลาง เราจึงเห็นข่าวธนาคารกลางใส่เงินเข้าสู่ระบบอย่างไม่ยั้งมือ ทั้งนี้เพราะไม่มีธนาคารใด ติดกับดักสภาพคล่องแล้วต้องล้มละลายข้ามคืนนั้นเอง
ถึงแม้จะมีข่าวออกมาภายหลังว่า จะมีการพิจารณากฎหมายฉบับนี้อีกครั้ง ตลาดหุ้นดาวน์โจนส์บวกเกือบ 500 จุด แต่ตลาดเงินยังอยู่ในสภาพตึงตัว สิ่งนี้เองคือสิ่งที่กฎหมายที่กำลังถูกพิจารณาอีกครั้งเข้ามามีบทบาท เพราะกฎหมายฉบับนี้จะสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมาระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน โดยหวังว่าสถาบันต่างๆจะเริ่มนำเงินสดปล่อยให้กู้ยึมกันเองอีกครั้ง
ฟางเส้นสุดท้าย
ถ้ากฎหมายฉบับนี้ไม่ผ่านการพิจารณาเป็นรอบที่สอง แล้วทำให้ตลาดเงินหยุดชะงักนั้น เราคงเห็นตลาดหุ้นตกลงอย่างรุนแรง แต่สาเหตุที่หุ้นจะตกนั้นเป็นเพราะ ประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ทำไว้นั้น เชื่อถือไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจากไม่มีใครรู้ว่าเมื่อตลาดเงินหยุดชะงักอย่างแท้จริง อัตราดอกเบี้ยในตลาดจะเป็นอย่างไร แล้วบริษัทจดทะเบียนที่ต้องใช้เงินสดระยะสั้นหมุนเวียนจำนวนมาก อาทิ บริษัทค้าปลีก บริษัทขนส่งสินค้า บริษัทที่ทำธุรกิจนำเข้า ส่งออก บริษัทก่อสร้าง บริษัทพลังงาน บริษัทอะไรก็ตามแต่ที่ยังต้องเพิ่งตลาดกู้เงินระยะสั้นเพื่อนำเงินมาหมุนเวียน จะประสบกับภาวะสภาพคล่องชะงัก เพราะจะไม่สามารถเข้าไปทำธุรกรรมในตลาดได้อีก สิ่งที่จะตามมาคือบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ระยะสั้นตัวเก่าที่จะหมดอายุได้ สุดท้ายก็ต้องประสบชะตากรรมเดียวกับสถาบันการเงิน คือล้มละลาย
ส่วนบริษัที่อยู่ได้ ก็จะประสบปัญหาในการกู้เงินเพื่อขยายธุรกิจในระยะยาว ตลาดคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยในตลาดจะพุ่งสูงจนทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเหล่านี้ได้รับผลกระทบ ทั้งสองผลกระทบนี่ส่งผลให้นักลงทุนเลือกที่จะขายหุ้นออกมา เพราะไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าฝั่งกำไร หรือ E ของ P/E Ratio นั้นมันจะลดลงไปขนาดไหนนั้นเอง
ส่วนสถาบันการเงินนั้นในระยะสั้น จะเข้าสู่ภาวะเงียบเพราะในระยะสั้นยังสามารถเข้ากู้เงินจากธนาคารกลางได้ แต่ธนาคารขนาดกลาง และขนาดเล็กจะเกิดปัญหาเงินไหลออกไปสู่ธนาคารที่ใหญ่กว่า โดยเฉพาะในส่วนที่เกินกว่าที่รับประกันโดย สถาบันประกันเงินฝาก ในระยะแรกเราจึงจะเห็น ธนาคารขนาดกลาง และขนาดเล็ก ล้มอย่างรวดเร็ว
ส่วนธนาคารขนาดใหญ่ ด้วยฐานเงินที่ใหญ่กว่าจะยังคงอยู่ต่อไปได้ โดยเฉพาะธนาคารที่แข็งแกร่งมากจะกลายเป็นผู้รับเงินฝากสุทธิ ยิ่งทำให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งนี้สมมุติฐานว่าประชาชนจะไม่แห่ถอนเงินจากธนาคารขนาดใหญ่ แต่ด้วยเปราะบางของสถานการณ์เอง ธนาคารขนาดใหญ่ต้องมีสภาพคล่องตลอดเวลา เพื่อต่อสู้กับข่าวลือที่อาจทำให้ประชาชน และนักลงทุนหมดความเชื่อมั่นในตัวธนาคารได้
สุดท้ายตลาดเงินก็ยังคงชะงักต่อไป ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนจะได้รับผลกระทบต่อมาโดยตรง เพราะธนาคารจะไม่ยอมปล่อยเงินกู้ ยกเว้นถ้าคุณมีเครดิตดีมาก แต่ก็ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจทยอยปิดกิจการ หรือโตก็โตต่อไม่ได้เพราะไม่สามารถกู้เงินมาลงทุนได้
ด้วยความเร็วในการเชื่อมต่อในปัจจุบันเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ น่าจะใช้เวลาไม่เกิน หนึ่งสัปดาห์ในการแสดงอาการออกมาทีละขั้นๆ ท้ายที่สุดธนาคารขนาดใหญ่ที่ปล่อยกู้ให้ ภาคธุรกิจขนาดใหญ่จะประสบปัญหา หนี้สูญพุ่ง ท้ายสุดก็ล้มละลาย
แต่นี่คือ สถานการณ์ที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ และเป็นสถานการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังที PKN Zoom! ในตอนหลังๆ ได้แสดงความเชื่อว่ารัฐบาลกลางทั่วโลก ต้องมีมาตรการออกมารองรับสถานการณ์อย่างแน่นอน ในตอนหน้า PKN Zoom! จะขอความเห็นจากผู้อ่านทุกท่านถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลัง แผนการกู้วิฤตการเงินผ่านสภา มาร่วมกันอภิปรายเพื่อสร้างแผนให้พวกเราสามารถสู้กับสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยได้กันครับ
เขียนโดย Nanthawit Sukthaworn
ตลาดหุ้นเป็นเพียงโหมโรง แต่ตลาดเงินคือโชว์จริง กล่าวนักค้าหุ้นบนฟลอร์ของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค ซึ่งกล่าวถึงสภาวะการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เพราะถึงแม้ตลาดหุ้นยังคงมีการซื้อขาย และยังมีสภาพคล่อง แม้จะมีการผันผวนในระดับสูงบ้าง แต่ตลาดเงินนั้นเรียกได้ว่าเข้าสู่ภาวะอัมพาตไปแล้ว
หลายคนอาจถามว่าทำไมตลาดหุ้นถึงได้ผันผวนมากขนาดนี้ ทั้งที่ราคาก็ลงมามากแล้ว พื้นฐานบริษัทก็ยังดูดี แต่ทำไมแรงเทขายถึงไม่หยุดเสียที PKN Zoom บทนี้จะวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความผันผวน ที่มาของแรงขาย และนักลงทุนอย่างเราๆควรทำอย่างไรต่อไป
สาเหตุของวิกฤตการณ์ครั้งนี้นั้น เกิดขึ้นจากราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกานั้นปรับตัวขึ้นไปสูงมากในระยะเวลาที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพราะการที่ต้นทุนของเงินที่ถูกทำให้เกิดการเก็งกำไรอย่างแพร่หลาย อีกส่วนหนึ่งเพราะเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้ คนที่มีรายได้ต่ำได้ครอบครองบ้านเป็นของตัวเอง
แม้จะฟังดูดีที่คนรายได้ต่ำจะมีสิทธิในการเป็นเจ้าของบ้าน แต่แท้ที่จริงแล้วรัฐบาลต้องการผลักภาระในการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อคนรายได้น้อย ให้ไปเป็นปัญหาของคนรายได้น้อย กล่าวคือ ถ้าคนรายได้น้อยสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ รัฐบาลก็มีภาระน้อยลงในการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อคนมีรายได้น้อย ไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษา ประหยัดงบประมาณไปได้ค่อนข้างมาก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การที่ปล่อยให้มีการปล่อยกู้ให้คนกลุ่มนี้มากขึ้น ก่อให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยิ่งส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงซึ่งที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย
ผลคือสถาบันหลายสถาบันการเงินเลือกที่จะเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ทำเอกสารหลักฐานขึ้นมาว่าผู้กู้มีรายได้พอที่จะผ่อนเงินจำนองบ้านบ้าง หรือออกโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำล่อใจบ้าง เหตุที่สถาบันเหล่านี้ทำเช่นนั้นได้ก็เพราะ ปริมาณความต้องการถือสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้นั้นมีอยู่มหาศาล มากกว่าที่รัฐบาลและภาคเอกชน จะออกตราสารหนี้ได้ทัน ทำให้สถาบันเหล่านี้สามารถนำบัญชีจำนองบ้าน มาใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันออก ตราสารหนี้อีกต่อ เพื่อนำเงินมาปล่อยกู้เพิ่ม รายละเอียดเหล่านี้ได้กล่าวถึงใน PKN zoom! บทก่อนๆแล้ว
ทำไมสถาบันการเงินถึงล้มในช่วงเวลาข้ามคืน
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในระบบการเงินอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนก็คือ การยอมรับที่จะมีความเสี่ยงในระดับสูงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ต้องการ มีการกู้เงินอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสถาบันการเงินประเภทธนาคารเพื่อการลงทุน หรือ Investment Bank ที่มีระดับหนี้สินต่อทุนสูงถึง 20 เท่าในบางราย สาเหตุที่ทำได้เช่นนั้นเพราะความเชื่อที่ว่าธนาคารเพื่อการลงทุน นำเงินของตัวเองมาลงทุน ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลระบบการเงินต่างๆ มีนโยบายที่จะไม่เข้าไปกำกับดูแลสถาบันเหล่านี้มากนัก
แต่โมเดลทางธุรกิจที่สถาบันการเงินเหล่านี้ใช้ในการทำธุรกิจคือ ยืมสั้น แล้วปล่อยกู้ยาว กล่าวคือ บริษัทเข้าไปกู้เงินระยะสั้นเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนบริษัท ขณะเดียวกันก็ปล่อยกู้ระยะยาว การทำเช่นนี้ทำให้ได้กำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย หรือกำไรจากการลงทุน เพราะการกู้เงินระยะสั้นมักมีต้นทุนต่ำกว่า เนื่องจากดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า (ดูได้จากดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ ยิ่งฝากสั้น ดอกยิ่งต่ำ) เมื่อได้เงินระยะสั้นมา ธนาคารเหล่านี้ก็นำเงินไปปล่อยกู้ดีลการซื้อกิจการบ้าง เข้าไปซื้อสินทรัพย์ Subprime เพื่อนำไปขายต่อบ้าง หรือเข้าไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ (อาทิเช่น เลอห์แมน ที่กลายเป็นผู้ถืออสังหาประเภทพื้นที่ออฟฟิศ และโรงแรม อันดับหนึ่งของไทย) ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้ล้วนมีสภาพคล่องที่ต่ำ ทำให้เมื่อมีการก่อหนี้สูงขึ้น สถาบันการเงินเหล่านี้ก็มีภาระที่ต้องหาเงินกู้ระยะสั้นเพื่อมาหมุนมากขึ้น ทำให้สถาบันการเงินเหล่านี้มีการพึ่งพาตลาดเงินกู้ระยะสั้นในระดับที่สูง
ต่อมาเมื่อเกิดวิกฤตความเชื่อมั่นดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สถาบันหมดความน่าเชื่อถือ ต่างสถาบันต่างถือเงินสดเอาไว้ ไม่ยอมนำไปปล่อยกู้ในตลาดระยะสั้น แม้จะให้ผลตอบแทนที่ดูกว่าการถือเงินสดไว้เฉยๆก็ตาม สถาบันการเงินที่กล่าวข้างต้นจึงมีปัญหาทันที เพราะไม่สามารถหาเงินกู้ระยะสั้น หรือหาได้แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก กอปรกับสถาบันการเงินยังถูกแรงกดดันจากราคาทรัพย์สินที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ตราสารต่างๆที่ไปลงทุนไว้ ทำให้ต้องถูกลดอัตราเครดิตเรตติ้งเข้าไปอีก ซ้ำยังโดนเรียกให้วางหลักประกันเพิ่มสำหรับเงินกู้ที่ตัวเองกู้ไว้ ครั้นจะขายทรัพย์สินที่ตัวเองถืออยู่ก็ขายไม่ทัน เพราะอสังหาริมทรัพย์เอย บริษัทที่ตัวเองมีหุ้นเอย หรือตราสารต่างๆเอย ล้วนต้องใช้เวลาในการขาย แต่หลักประกันต้องใช้ในวันรุ่งขึ้น เราจึงเห็นสถาบันการเงินประเภท investment bank หลายบริษัทต้องล้มละลายข้ามคืน แม้จะยังมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินก็ตาม
การตึงตัวของตลาดเงิน
เมื่อสถาบันการเงินต่างถือเงินสดไว้ ทำให้ตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวอย่างรุนแรง เมื่อวันจันทร์หลังจากข่าวสภาคว่ำกฎหมายกู้สถาบันการเงินเริ่มเผยแพร่ออกไป ตลาดการเงินเรียกได้ว่าเข้าขั้นโคม่าทันที ธนาคารในยุโรปยอมจ่ายดอกเบี้ยถึง 11% เพื่อให้ได้เงินกู้ข้ามคืนจากธนาคารกลางยุโรป เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรต่อไป ธนาคารต้องพร้อมที่จะรับมือกับการถอนเงินลงทุนจากทั้งผู้ฝากเงิน และผู้ลงทุนในธนาคาร ขณะเดียวกันธนาคารก็คิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกือบ 7% ระหว่างธนาคารด้วยกันเอง อัตราซึ่งสูงกว่า ปตท ของเรากู้เงินผ่านการออกพันธบัตร หรือดอกเบี้ยกู้บ้านของผู้อ่านหลายๆท่าน เสียอีก เมื่อธนาคารกู้ระหว่างกันเองไม่ได้ ก็ต้องไปพึ่งธนาคารกลาง เราจึงเห็นข่าวธนาคารกลางใส่เงินเข้าสู่ระบบอย่างไม่ยั้งมือ ทั้งนี้เพราะไม่มีธนาคารใด ติดกับดักสภาพคล่องแล้วต้องล้มละลายข้ามคืนนั้นเอง
ถึงแม้จะมีข่าวออกมาภายหลังว่า จะมีการพิจารณากฎหมายฉบับนี้อีกครั้ง ตลาดหุ้นดาวน์โจนส์บวกเกือบ 500 จุด แต่ตลาดเงินยังอยู่ในสภาพตึงตัว สิ่งนี้เองคือสิ่งที่กฎหมายที่กำลังถูกพิจารณาอีกครั้งเข้ามามีบทบาท เพราะกฎหมายฉบับนี้จะสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมาระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน โดยหวังว่าสถาบันต่างๆจะเริ่มนำเงินสดปล่อยให้กู้ยึมกันเองอีกครั้ง
ฟางเส้นสุดท้าย
ถ้ากฎหมายฉบับนี้ไม่ผ่านการพิจารณาเป็นรอบที่สอง แล้วทำให้ตลาดเงินหยุดชะงักนั้น เราคงเห็นตลาดหุ้นตกลงอย่างรุนแรง แต่สาเหตุที่หุ้นจะตกนั้นเป็นเพราะ ประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ทำไว้นั้น เชื่อถือไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจากไม่มีใครรู้ว่าเมื่อตลาดเงินหยุดชะงักอย่างแท้จริง อัตราดอกเบี้ยในตลาดจะเป็นอย่างไร แล้วบริษัทจดทะเบียนที่ต้องใช้เงินสดระยะสั้นหมุนเวียนจำนวนมาก อาทิ บริษัทค้าปลีก บริษัทขนส่งสินค้า บริษัทที่ทำธุรกิจนำเข้า ส่งออก บริษัทก่อสร้าง บริษัทพลังงาน บริษัทอะไรก็ตามแต่ที่ยังต้องเพิ่งตลาดกู้เงินระยะสั้นเพื่อนำเงินมาหมุนเวียน จะประสบกับภาวะสภาพคล่องชะงัก เพราะจะไม่สามารถเข้าไปทำธุรกรรมในตลาดได้อีก สิ่งที่จะตามมาคือบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ระยะสั้นตัวเก่าที่จะหมดอายุได้ สุดท้ายก็ต้องประสบชะตากรรมเดียวกับสถาบันการเงิน คือล้มละลาย
ส่วนบริษัที่อยู่ได้ ก็จะประสบปัญหาในการกู้เงินเพื่อขยายธุรกิจในระยะยาว ตลาดคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยในตลาดจะพุ่งสูงจนทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเหล่านี้ได้รับผลกระทบ ทั้งสองผลกระทบนี่ส่งผลให้นักลงทุนเลือกที่จะขายหุ้นออกมา เพราะไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าฝั่งกำไร หรือ E ของ P/E Ratio นั้นมันจะลดลงไปขนาดไหนนั้นเอง
ส่วนสถาบันการเงินนั้นในระยะสั้น จะเข้าสู่ภาวะเงียบเพราะในระยะสั้นยังสามารถเข้ากู้เงินจากธนาคารกลางได้ แต่ธนาคารขนาดกลาง และขนาดเล็กจะเกิดปัญหาเงินไหลออกไปสู่ธนาคารที่ใหญ่กว่า โดยเฉพาะในส่วนที่เกินกว่าที่รับประกันโดย สถาบันประกันเงินฝาก ในระยะแรกเราจึงจะเห็น ธนาคารขนาดกลาง และขนาดเล็ก ล้มอย่างรวดเร็ว
ส่วนธนาคารขนาดใหญ่ ด้วยฐานเงินที่ใหญ่กว่าจะยังคงอยู่ต่อไปได้ โดยเฉพาะธนาคารที่แข็งแกร่งมากจะกลายเป็นผู้รับเงินฝากสุทธิ ยิ่งทำให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งนี้สมมุติฐานว่าประชาชนจะไม่แห่ถอนเงินจากธนาคารขนาดใหญ่ แต่ด้วยเปราะบางของสถานการณ์เอง ธนาคารขนาดใหญ่ต้องมีสภาพคล่องตลอดเวลา เพื่อต่อสู้กับข่าวลือที่อาจทำให้ประชาชน และนักลงทุนหมดความเชื่อมั่นในตัวธนาคารได้
สุดท้ายตลาดเงินก็ยังคงชะงักต่อไป ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนจะได้รับผลกระทบต่อมาโดยตรง เพราะธนาคารจะไม่ยอมปล่อยเงินกู้ ยกเว้นถ้าคุณมีเครดิตดีมาก แต่ก็ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจทยอยปิดกิจการ หรือโตก็โตต่อไม่ได้เพราะไม่สามารถกู้เงินมาลงทุนได้
ด้วยความเร็วในการเชื่อมต่อในปัจจุบันเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ น่าจะใช้เวลาไม่เกิน หนึ่งสัปดาห์ในการแสดงอาการออกมาทีละขั้นๆ ท้ายที่สุดธนาคารขนาดใหญ่ที่ปล่อยกู้ให้ ภาคธุรกิจขนาดใหญ่จะประสบปัญหา หนี้สูญพุ่ง ท้ายสุดก็ล้มละลาย
แต่นี่คือ สถานการณ์ที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ และเป็นสถานการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังที PKN Zoom! ในตอนหลังๆ ได้แสดงความเชื่อว่ารัฐบาลกลางทั่วโลก ต้องมีมาตรการออกมารองรับสถานการณ์อย่างแน่นอน ในตอนหน้า PKN Zoom! จะขอความเห็นจากผู้อ่านทุกท่านถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลัง แผนการกู้วิฤตการเงินผ่านสภา มาร่วมกันอภิปรายเพื่อสร้างแผนให้พวกเราสามารถสู้กับสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยได้กันครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
รวบรวม แผนการกู้วิกฤตสถาบันการเงิน
โพสต์ที่ 6
รวบรวม แผนการกู้วิกฤตสถาบันการเงิน
วิกฤตการทางการเงินที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 80 ปี ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเกิดการแทรกแซงของรัฐบาล อย่างไม่เคยมีมาก่อน PKN ได้ทำการรวบรวมมาตรการเข้าสู้วิกฤตการทางการเงินเด่นๆไว้ในบทความนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกา
จัดตั้งกองทุนมูลค่า 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเข้าซื้อทรัพย์สินในสถาบันการเงิน และหุ้นเพิ่มทุน
จัดตั้งกองทุนเพื่อเข้าไปซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นโดยตรงจาก ผู้ออกตราสาร
จัดตั้งวงเงิน 9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้สถาบันการเงินเข้ากู้ กรณีขาดสภาพคล่อง
ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาสู่ระดับ 1.5%
ประเทศอังกฤษ
ตั้งวงเงิน 5 หมื่นล้านปอนด์ เพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากสถาบันการเงิน
ตั้งวงเงิน 2.5 แสนล้านปอนด์ เพื่อค้ำประกันธุรกรรมในตลาดกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร
ตั้งวงเงิน 2 แสนล้านปอนด์ เพื่อให้ธนาคารสามารถเข้ากู้ยืมจากธนาคารกลาง กรณีขาดสภาพคล่อง
ประเทศไอซ์แลนด์
เข้าควบคุมกิจการ สามธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
เจรจาขอกู้เงินจากประเทศรัซเซีย เพื่อช่วยเสริมฐานะทางการคลัง
ประเทศลักเซมเบิร์ก เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม
เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนกลุ่มการเงิน Fortis เข้าถือหุ้น และแยกบริษัทขายให้แก่ผู้ที่สนใจ
เข้าค้ำประกันธุรกรรมเงินกู้ของ Dexia แลกกับการจ่ายค่าสินไหมค้ำประกัน
กลุ่มประเทศยุโรป
ลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 3.75%
เพิ่มการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ
สเปน ฮังการี อิตาลี และประเทศอื่นๆ เข้าคุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน
วิกฤตการทางการเงินที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 80 ปี ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเกิดการแทรกแซงของรัฐบาล อย่างไม่เคยมีมาก่อน PKN ได้ทำการรวบรวมมาตรการเข้าสู้วิกฤตการทางการเงินเด่นๆไว้ในบทความนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกา
จัดตั้งกองทุนมูลค่า 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเข้าซื้อทรัพย์สินในสถาบันการเงิน และหุ้นเพิ่มทุน
จัดตั้งกองทุนเพื่อเข้าไปซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นโดยตรงจาก ผู้ออกตราสาร
จัดตั้งวงเงิน 9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้สถาบันการเงินเข้ากู้ กรณีขาดสภาพคล่อง
ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาสู่ระดับ 1.5%
ประเทศอังกฤษ
ตั้งวงเงิน 5 หมื่นล้านปอนด์ เพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากสถาบันการเงิน
ตั้งวงเงิน 2.5 แสนล้านปอนด์ เพื่อค้ำประกันธุรกรรมในตลาดกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร
ตั้งวงเงิน 2 แสนล้านปอนด์ เพื่อให้ธนาคารสามารถเข้ากู้ยืมจากธนาคารกลาง กรณีขาดสภาพคล่อง
ประเทศไอซ์แลนด์
เข้าควบคุมกิจการ สามธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
เจรจาขอกู้เงินจากประเทศรัซเซีย เพื่อช่วยเสริมฐานะทางการคลัง
ประเทศลักเซมเบิร์ก เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม
เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนกลุ่มการเงิน Fortis เข้าถือหุ้น และแยกบริษัทขายให้แก่ผู้ที่สนใจ
เข้าค้ำประกันธุรกรรมเงินกู้ของ Dexia แลกกับการจ่ายค่าสินไหมค้ำประกัน
กลุ่มประเทศยุโรป
ลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 3.75%
เพิ่มการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ
สเปน ฮังการี อิตาลี และประเทศอื่นๆ เข้าคุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
สรุปเรื่องราว Subprime to financial crisis
โพสต์ที่ 7
-
- Verified User
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
สรุปเรื่องราว Subprime to financial crisis
โพสต์ที่ 9
สรุปแล้ว คือ คล้ายต้มยำกุ้งบ้านเราใช่ไหมฮะ
ประชาชนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย คือที่เห็นนะ คับ ประชาชนกุ้เงินมาสร้างบ้าน
ทีนี้ ประชาชน เกิด เบี้ยว กุไม่จ่ายมีไรไหม {เกิดการฮั้วเอ็งไม่จ่ายเราก้ไม่จ่าย,
พวกสถาบันการเงิน ธนาคารซวย ( อ้าวไม่จ่ายเงินกุ ซวยแล้ววว)
เลยเป็นหนี้จากการประชาชนเบี้ยวหนี้
ธนาคารยังล้ม นักลงทุนไม่ไว้วางใจ ถอนการลงทุนจากตลาดหุ้น (ใครเผ่นก่อนได้เปรียบ กุไม่ติดดอยโวยย)
ทีนี้รัฐก้เข้ามาช่วยเนื่องจากเกี่ยวกับความมั่นคง เอาเงินภาษีของประชาชนมาใช้อีก :(
สุดท้าย ประชาชนทั้งประเทศเดือดร้อน รวมถืงบ้านเราด้วย เฮ่อออออ
ข้อดี คนที่เบี้ยวหนี้ก็สบายไป
ผมว่าเป็นข้อผิดพลาดของนโยบายชัดๆๆ คิดกันง่ายๆๆ ปล่อยให้ความโลภครอบงำกันง่ายเกินไป
ข้อคิดที่ได้ ลูกอมพิษเคลือบน้ำตาล
ประชาชนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย คือที่เห็นนะ คับ ประชาชนกุ้เงินมาสร้างบ้าน
ทีนี้ ประชาชน เกิด เบี้ยว กุไม่จ่ายมีไรไหม {เกิดการฮั้วเอ็งไม่จ่ายเราก้ไม่จ่าย,
พวกสถาบันการเงิน ธนาคารซวย ( อ้าวไม่จ่ายเงินกุ ซวยแล้ววว)
เลยเป็นหนี้จากการประชาชนเบี้ยวหนี้
ธนาคารยังล้ม นักลงทุนไม่ไว้วางใจ ถอนการลงทุนจากตลาดหุ้น (ใครเผ่นก่อนได้เปรียบ กุไม่ติดดอยโวยย)
ทีนี้รัฐก้เข้ามาช่วยเนื่องจากเกี่ยวกับความมั่นคง เอาเงินภาษีของประชาชนมาใช้อีก :(
สุดท้าย ประชาชนทั้งประเทศเดือดร้อน รวมถืงบ้านเราด้วย เฮ่อออออ
ข้อดี คนที่เบี้ยวหนี้ก็สบายไป
ผมว่าเป็นข้อผิดพลาดของนโยบายชัดๆๆ คิดกันง่ายๆๆ ปล่อยให้ความโลภครอบงำกันง่ายเกินไป
ข้อคิดที่ได้ ลูกอมพิษเคลือบน้ำตาล
ชีวิตนี้สั้นนัก ทำความดีไว้เถิด
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
บุชสั่ง เฟรดดี้ แฟนนี่ ทุ่มเดือนละ 4 หมื่นล้านเข้าซื้อซับไพร
โพสต์ที่ 10
บุชสั่ง เฟรดดี้ แฟนนี่ ทุ่มเดือนละ 4 หมื่นล้านเข้าซื้อซับไพรม์
หน่วยงานภาครัฐบาล สั่ง เฟรดดี้ แม็ค และ แฟนนี่ เมย์ เข้าซื้อตราสารหนี้ซับไพรม์เดือนละ 4 หมื่นล้านเหรียญ หลังรัฐบาลเพิ่มแนวทางในการเข้าช่วยสถาบันการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศ
นักค้าตราสารหนี้ได้รับการแจ้งจาก เฟรดดี้ แม็ค และ แฟนนี่ เมย์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ถึงแผนการเข้าซื้อตราสารที่มีพอร์ตเงินกู้จำนองบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ในจำนวนหน่วยงานละ สองหมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน กล่าวนักค้าตราสารรายหนึ่งที่ไม่เอ่ยนาม เนื่องจากแผนนี้ยังเป็นความลับอยู่ โดยแผนนี้เป็นคนละส่วนกับเงิน 7 แสนล้านที่ได้รับอนุมัติจากสภาเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว
ทั้งเฟรดดี้ แม็ค และแฟนนี่เมย์ ถูกสำนักงานปล่อยกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของรัฐบาลกลาง หรือ Federal Housing Finance Agency (FHFA) เข้าควบคุมกิจการเมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา หลังทั้งสองบริษัทมีผลขาดทุนจากการลงทุนในตราสารที่มีบัญชีจำนองบ้านค้ำประกัน รวมกันกว่า 1.49 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และมีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย คำสั่งซื้อตราสารเหล่านี้เพิ่มเติม จะช่วยเสริมความพยายามของกระทรวงการคลัง ในการเอาตราสารที่ไม่มีสภาพคล่อง และไม่มีราคาที่แน่นอนเหล่านี้ออกจากระบบสถาบันการเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และความมั่นใจ กลับสู่ระบบ
โดยก่อนการล้มละลายบริษัททั้งสอง มีเงินลงทุนในทรัพย์สินประเภทเหล่านี้กว่า 1.52 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าบัญชีเงินจำนองบ้านทั้งหมดในสหรัฐ ในจำนวนดังกล่าว 2.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเงินลงทุนในตราสารประเภทซับไพรม์ ที่ทั้งสองบริษัทสามารถขายให้แก่ กระทรวงการคลังในโครงการ 7 แสนล้านเหรียญได้
ทั้งสองบริษัทยังได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ให้สามารถขยายพอร์ตเงินลงทุนในตราสารเหล่านี้ ได้อีก 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในสิ้นปีหน้า รัฐบาลกล่าวว่ารัฐบาลดำเนินกิจการทั้งสองบริษัท เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน และลดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ซื้อบ้าน โดยไม่สนใจต่อผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นที่ยังคงถือหุ้นในบริษัท
ตามข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา กว่า 30% ของลูกหนี้ประเภทซับไพรม์ที่ถูกใช้ในการค้ำประกันตราสารหนี้ ผิดนัดชำระมากกว่า 2 เดือน ขณะที่ลูกหนี้ประเภทขอกู้แบบมีเงื่อนไขพิเศษ อาทิ ไม่มีการตรวจสอบหลักฐานรายได้ หรืออื่นๆ ผิดนัดชำระเกินกว่า 2 เดือน คิดเป็น 15% ของลูกหนี้ประเภทนี้ทั้งหมด
หน่วยงานภาครัฐบาล สั่ง เฟรดดี้ แม็ค และ แฟนนี่ เมย์ เข้าซื้อตราสารหนี้ซับไพรม์เดือนละ 4 หมื่นล้านเหรียญ หลังรัฐบาลเพิ่มแนวทางในการเข้าช่วยสถาบันการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศ
นักค้าตราสารหนี้ได้รับการแจ้งจาก เฟรดดี้ แม็ค และ แฟนนี่ เมย์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ถึงแผนการเข้าซื้อตราสารที่มีพอร์ตเงินกู้จำนองบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ในจำนวนหน่วยงานละ สองหมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน กล่าวนักค้าตราสารรายหนึ่งที่ไม่เอ่ยนาม เนื่องจากแผนนี้ยังเป็นความลับอยู่ โดยแผนนี้เป็นคนละส่วนกับเงิน 7 แสนล้านที่ได้รับอนุมัติจากสภาเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว
ทั้งเฟรดดี้ แม็ค และแฟนนี่เมย์ ถูกสำนักงานปล่อยกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของรัฐบาลกลาง หรือ Federal Housing Finance Agency (FHFA) เข้าควบคุมกิจการเมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา หลังทั้งสองบริษัทมีผลขาดทุนจากการลงทุนในตราสารที่มีบัญชีจำนองบ้านค้ำประกัน รวมกันกว่า 1.49 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และมีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย คำสั่งซื้อตราสารเหล่านี้เพิ่มเติม จะช่วยเสริมความพยายามของกระทรวงการคลัง ในการเอาตราสารที่ไม่มีสภาพคล่อง และไม่มีราคาที่แน่นอนเหล่านี้ออกจากระบบสถาบันการเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และความมั่นใจ กลับสู่ระบบ
โดยก่อนการล้มละลายบริษัททั้งสอง มีเงินลงทุนในทรัพย์สินประเภทเหล่านี้กว่า 1.52 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าบัญชีเงินจำนองบ้านทั้งหมดในสหรัฐ ในจำนวนดังกล่าว 2.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเงินลงทุนในตราสารประเภทซับไพรม์ ที่ทั้งสองบริษัทสามารถขายให้แก่ กระทรวงการคลังในโครงการ 7 แสนล้านเหรียญได้
ทั้งสองบริษัทยังได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ให้สามารถขยายพอร์ตเงินลงทุนในตราสารเหล่านี้ ได้อีก 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในสิ้นปีหน้า รัฐบาลกล่าวว่ารัฐบาลดำเนินกิจการทั้งสองบริษัท เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน และลดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ซื้อบ้าน โดยไม่สนใจต่อผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นที่ยังคงถือหุ้นในบริษัท
ตามข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา กว่า 30% ของลูกหนี้ประเภทซับไพรม์ที่ถูกใช้ในการค้ำประกันตราสารหนี้ ผิดนัดชำระมากกว่า 2 เดือน ขณะที่ลูกหนี้ประเภทขอกู้แบบมีเงื่อนไขพิเศษ อาทิ ไม่มีการตรวจสอบหลักฐานรายได้ หรืออื่นๆ ผิดนัดชำระเกินกว่า 2 เดือน คิดเป็น 15% ของลูกหนี้ประเภทนี้ทั้งหมด
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
3.65 แสนล้าน ค่าเสียหายหนี้เลอห์แมน
โพสต์ที่ 11
3.65 แสนล้าน ค่าเสียหายหนี้เลอห์แมน
ผลการประมูลตราสารหนี้เลอห์แมนมูลค่า 4.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ เสร็จสิ้น ผู้ถือตราสารหนี้ได้คืนแค่ 8.625% ค่าเสียหายร่วมกว่า 3.65 แสนล้าน
ในการประมูลตราสารหนี้เพื่อการชำระราคาที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองในประวัติศาสตร์ วันนี้ ของตราสารหนี้ที่ออกโดยเลอห์แมน บราเธอรส์ มูลค่าทั้งสิ้น 4.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ หลังการล้มละลายของบริษัท เพื่อตั้งราคาในการชำระค่าเสียหายต่อผู้ถือตราสารหนี้ เสร็จสิ้นแล้ว โดยราคาสุดท้ายของตราสารหนี้เลอห์แมนอยู่ที่ 8.625 เซนต์ ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ของมูลค่าหนี้ หรือคิดเป็น 8.625% ของมูลค่าหนี้หน้าตั๋ว
ทั้งนี้บริษัทประกัน สถาบันการเงิน และกองทุน ที่ออกตราสารประเภท Credit Default Swap (CDS) หรืตราสารประกันความเสียหายอันเกิดจากการล้มละลายของผู้ออกตราสารหนี้ จะต้องชดใช้เงินให้แก่ผู้ถือ CDS ของตราสารหนี้ของบริษัท เลอห์แมน บราเธอร์ส กว่า 91.375 เซนต์ ต่อหนึ่งดอลล่าร์สหรัฐของมูลค่าหนี้
ถึงแม้ว่ามูลค่าของตราสารหนี้ทั้งหมดของเลอห์แมน จะมีเพียง 4.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่เพราะไม่มีข้อกำหนดว่าผู้ถือ CDS จะต้องถือตราสารหนี้ของเลอห์แมนด้วย ทำให้มีการออกตราสาร CDS เพื่อประกันตราสารหนี้ของเลอห์แมน มูลค่าสูงกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหมายถึงว่าผู้ที่ออกตราสารประเภทนี้ (ผู้รับประกัน) จะต้องจ่ายค่าเสียหายสูงถึง 3.65 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ถึงอย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาตราสารหนี้ของเลอห์แมน ซื้อขายอยู่ในระดับ 12 - 13 เซนต์ ต่อหนึ่งดอลล่าร์สหรัฐของมูลค่าหนี้ ในช่วงที่ผ่านมา และราคาซื้อขายสุดท้ายไม่แตกต่างจากราคาที่ซื้อขายในช่วงก่อนหน้ามากนัก ทำให้นักลงทุนหลายคนหวังว่า สถาบันการเงิน และกองทุนต่างๆ จะเตรียมเงินสดไว้ชำระค่าเสียหายไว้อย่างเพียงพอแล้ว
ทั้งนี้ราคาสุดท้ายที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในตลาดนั้นอธิบายได้จาก การที่ฝั่งผู้ซื้อตราสารประเภท CDS (ผู้เอาประกัน) มีความต้องการที่จะชำระราคาด้วยตราสารหนี้ของเลอห์แมน เพราะต้องการเอาตราสารหนี้ของเลอห์แมนออกจากพอร์ตการลงทุน เพราะการถือต่อไปอาจเสื่อมค่าอีกในอนาคต ในขณะที่ผู้ขาย CDS (ผู้รับประกัน) ต้องการที่จะชำระราคาด้วยเงินสดมากกว่า เพราะไม่ต้องการรับตราสารหนี้เลอห์แมน มาไว้ในพอร์ตการลงทุน ทำให้แรงขายตราสารหนี้ในการประมูลครั้งนี้ สูงกว่าแรงซื้อ ส่งผลให้ราคาสุดท้ายต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในช่วงที่ผ่านมา
สถาบันการเงิน และกองทุน ซึ่งออกตราสาร CDS ต้องทำการชำระค่าเสียหายภายใน 21 ตุลาคม หรือสองสัปดาห์หลังจากนี้ แต่แรงขายทรัพย์สินน่าจะไม่รุนแรงเหมือนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่ ได้ตั้งสำรองไว้ส่วนใหญ่แล้ว
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า มีตราสาร CDS ในท้องตลาดมากกว่า 62 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ความเสียหายจะไม่เกิดขึ้นจนกว่ามีการล้มละลายของบริษัทใด บริษัทนึง ซึ่งมีการออก CDS เพื่อรับประกันความเสี่ยงไว้
การประมูลครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวัน 23 ตุลาคม สำหรับ ตราสารหนี้ของธนาคารวอชิงตัน มิวชวล
ผลการประมูลตราสารหนี้เลอห์แมนมูลค่า 4.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ เสร็จสิ้น ผู้ถือตราสารหนี้ได้คืนแค่ 8.625% ค่าเสียหายร่วมกว่า 3.65 แสนล้าน
ในการประมูลตราสารหนี้เพื่อการชำระราคาที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองในประวัติศาสตร์ วันนี้ ของตราสารหนี้ที่ออกโดยเลอห์แมน บราเธอรส์ มูลค่าทั้งสิ้น 4.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ หลังการล้มละลายของบริษัท เพื่อตั้งราคาในการชำระค่าเสียหายต่อผู้ถือตราสารหนี้ เสร็จสิ้นแล้ว โดยราคาสุดท้ายของตราสารหนี้เลอห์แมนอยู่ที่ 8.625 เซนต์ ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ของมูลค่าหนี้ หรือคิดเป็น 8.625% ของมูลค่าหนี้หน้าตั๋ว
ทั้งนี้บริษัทประกัน สถาบันการเงิน และกองทุน ที่ออกตราสารประเภท Credit Default Swap (CDS) หรืตราสารประกันความเสียหายอันเกิดจากการล้มละลายของผู้ออกตราสารหนี้ จะต้องชดใช้เงินให้แก่ผู้ถือ CDS ของตราสารหนี้ของบริษัท เลอห์แมน บราเธอร์ส กว่า 91.375 เซนต์ ต่อหนึ่งดอลล่าร์สหรัฐของมูลค่าหนี้
ถึงแม้ว่ามูลค่าของตราสารหนี้ทั้งหมดของเลอห์แมน จะมีเพียง 4.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่เพราะไม่มีข้อกำหนดว่าผู้ถือ CDS จะต้องถือตราสารหนี้ของเลอห์แมนด้วย ทำให้มีการออกตราสาร CDS เพื่อประกันตราสารหนี้ของเลอห์แมน มูลค่าสูงกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหมายถึงว่าผู้ที่ออกตราสารประเภทนี้ (ผู้รับประกัน) จะต้องจ่ายค่าเสียหายสูงถึง 3.65 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ถึงอย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาตราสารหนี้ของเลอห์แมน ซื้อขายอยู่ในระดับ 12 - 13 เซนต์ ต่อหนึ่งดอลล่าร์สหรัฐของมูลค่าหนี้ ในช่วงที่ผ่านมา และราคาซื้อขายสุดท้ายไม่แตกต่างจากราคาที่ซื้อขายในช่วงก่อนหน้ามากนัก ทำให้นักลงทุนหลายคนหวังว่า สถาบันการเงิน และกองทุนต่างๆ จะเตรียมเงินสดไว้ชำระค่าเสียหายไว้อย่างเพียงพอแล้ว
ทั้งนี้ราคาสุดท้ายที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในตลาดนั้นอธิบายได้จาก การที่ฝั่งผู้ซื้อตราสารประเภท CDS (ผู้เอาประกัน) มีความต้องการที่จะชำระราคาด้วยตราสารหนี้ของเลอห์แมน เพราะต้องการเอาตราสารหนี้ของเลอห์แมนออกจากพอร์ตการลงทุน เพราะการถือต่อไปอาจเสื่อมค่าอีกในอนาคต ในขณะที่ผู้ขาย CDS (ผู้รับประกัน) ต้องการที่จะชำระราคาด้วยเงินสดมากกว่า เพราะไม่ต้องการรับตราสารหนี้เลอห์แมน มาไว้ในพอร์ตการลงทุน ทำให้แรงขายตราสารหนี้ในการประมูลครั้งนี้ สูงกว่าแรงซื้อ ส่งผลให้ราคาสุดท้ายต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในช่วงที่ผ่านมา
สถาบันการเงิน และกองทุน ซึ่งออกตราสาร CDS ต้องทำการชำระค่าเสียหายภายใน 21 ตุลาคม หรือสองสัปดาห์หลังจากนี้ แต่แรงขายทรัพย์สินน่าจะไม่รุนแรงเหมือนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่ ได้ตั้งสำรองไว้ส่วนใหญ่แล้ว
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า มีตราสาร CDS ในท้องตลาดมากกว่า 62 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ความเสียหายจะไม่เกิดขึ้นจนกว่ามีการล้มละลายของบริษัทใด บริษัทนึง ซึ่งมีการออก CDS เพื่อรับประกันความเสี่ยงไว้
การประมูลครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวัน 23 ตุลาคม สำหรับ ตราสารหนี้ของธนาคารวอชิงตัน มิวชวล
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
ตามคำขอของคุณ Dimsum
โพสต์ที่ 12
Yen Carry Trade
เรื่องมีอยู่ว่าการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกต่ำมายาวนานกว่า 10 ปี ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องดำรงนโยบายดอกเบี้ยต่ำมาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งธนาคารกลางญี่ปุ่นมีนโยบายให้ นักลงทุนต่างชาติ สามารถกู้ยืมเงินเยนในประเทศได้ เพื่อระบายเงินดอลลาร์ที่ล้นระบบ จึงมีนักลงทุนเห็นโอกาสในการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากญี่ปุ่น
ไปลงทุนในประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือ การทำ Yen Carry Trade ซึ่งในอดีตสินทรัพย์ที่มีคนกู้เงินเยนไปลงทุนสูงสุดก็คือ พันธบัตร 10 ปีของสหรัฐอเมริกา เพราะพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี นั้นให้ผลตอบแทนในบางช่วงเวลาสูงถึง 5.25% เทียบกับต้นทุนการกู้เงินเยนแล้ว นักลงทุนสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของดอกเบี้ยได้ ในบางกรณีอาจมากถึง 4 5%
ผลตอบแทนขนาดนั้นย่อมไม่สามารถหลีกหนีความสนใจของ Hedge Fund ได้แต่ด้วยความเป็น Hedge Fund มีหรือจะพอใจกับกำไรง่ายๆแค่นั้น Hedge Fund จึงกู้เงินเพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น อาทิ หุ้นในตลาดเกิดใหม่ (อาทิ ตลาดหุ้นไทย) หรือแม้แต่ไปลงทุนใน CDO นอกจากนี้ กองทุน Hedge Fund ยังดำรงนโยบายหนี้สินต่อทุนในระดับสูง นั้นคือ กู้เงินมา นำไปซื้อสินทัรพย์ แล้วนำสินทรัพย์ไปค้ำประกัน แล้วไปกู้เงินมาเพิ่ม ซึ่งก็มีผลเดียวกับในแรกๆที่ผมได้กล่าวไปคือ กองทุนสามารถรับผลขาดทุนได้น้อยมาก เพราะการขาดทุนอันน้อยนิดจะขยายเป็นผลกระทบใหญ่ ต่อตัวกองทุนความเสี่ยงแค่นั้นยังไม่พอสำหรับ Hedge Fund เพราะกองทุนเหล่านั้นดันไปทำสัญญาล่วงหน้าเงินเยน โดยตามหลักการณ์แล้วกองทุนเหล่านั้นควรจะทำการลอง เงินเยน เอาไว้ เพื่อเอาไว้ห้องกันการผันผวนของเงินเยน แต่เพราะความโลภกองทุนจึงทำการชอร์ตเงินเยนไว้อีก หวังทำกำไรสองเด้งจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งสัญญาเหล่านั้นก็เหมือน TFEX คือมีการวางเงินประกันขั้นต้น แต่เมื่อเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาระดับหนึ่งก็จะถูกเรียกเงินวางประกันเพิ่ม
สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ นักลงทุนกำลังกังวลถึง การเสื่อมค่าอย่างรวดเร็วของสินทรัพย์ที่กู้เงินไปลงทุนไว้ (อาทิการลงทุนในตลาดหุ้นของไทยที่เสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็ว) ทำให้ กองทุน Hedge Fund ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุน โดยการถือครองเงินเยนมากขึ้น เพื่อนำไปชำระหนี้และลดความเสี่ยงการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจาก นโยบายธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งถ้าธนาคารกลางสหรัฐ ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง แต่ธนาคารกลางญี่ปุ่นไม่ปรับดอกลงตามหรือปรับดอกขึ้นสวน นั้นหมายถึง เงินเยนจะยิ่งแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้กองทุนจะต้องขาดทุนมหาศาลจากการไปชอร์ตเงินเยนไว้ และต้องรีบหาเงินไปใช้หนี้เงินเยน นั้นคือเหตุที่ว่าทำไมเราถึงเห็นเงินเยน แข็งค่าต่อทุกสกุลเงิน ในขณะที่เงินสกุลอื่นกำลังอ่อนค่า ต่อดอลล่าร์
ดูเหมือนภาษิตไทยที่เหมาะกับสภาวะตลาดหุ้นไทยตอนนี้คือ
ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก แล้วมาแทรกเร็วกว่าคาดเสียด้วย
โปรดติดต่อตามบทต่อไป
ผลกระทบของ Yen Carry Trade และการแก้ปัญหา
อันที่จริงผลมองว่า Yen Carry Trade จะเป็นปัญหาระยะกลางนะครับ แต่ตอนนี้เหตุการณ์มันเกิดเร็วมาก ปัญหาของ Yen CarryTrade คือนักลงทุนกลัวว่า เยนจะแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งหมายถึงการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเรื่อยๆ จึงต้องเร่งขายแล้วแลกเงินจากสกุลอื่นเป็นเงินเยน
วิธีแก้ปัญหานั้นคิดออกได้ง่ายครับ ทำดอลล่าร์ให้แข็งค่าซะ แต่การทำให้ดอลล่าร์แข็งไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจาก FED จะมาแทรกแซงโดยการขายเยน (ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้น) หรือการขึ้นดอกเบี้ย หรือ ธนาคารกลางญี่ปุ่นลดดอกเบี้ย แต่ถ้า FED ขึ้นดอกปัญหา Subprime จะยิ่งแย่ลง แต่ถ้าญี่ปุ่นลดดอก ก็จะเจอการโจมตีทางการเมืองว่า เอาทรัพยากรของญี่ปุ่น ไปช่วยอเมริกา
ดังนั้นคำตอบของปัญหานี้คือไม่มีครับ
post ในweb กระทิงเขียว ส.ค. 2550
เรื่องมีอยู่ว่าการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกต่ำมายาวนานกว่า 10 ปี ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องดำรงนโยบายดอกเบี้ยต่ำมาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งธนาคารกลางญี่ปุ่นมีนโยบายให้ นักลงทุนต่างชาติ สามารถกู้ยืมเงินเยนในประเทศได้ เพื่อระบายเงินดอลลาร์ที่ล้นระบบ จึงมีนักลงทุนเห็นโอกาสในการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากญี่ปุ่น
ไปลงทุนในประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือ การทำ Yen Carry Trade ซึ่งในอดีตสินทรัพย์ที่มีคนกู้เงินเยนไปลงทุนสูงสุดก็คือ พันธบัตร 10 ปีของสหรัฐอเมริกา เพราะพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี นั้นให้ผลตอบแทนในบางช่วงเวลาสูงถึง 5.25% เทียบกับต้นทุนการกู้เงินเยนแล้ว นักลงทุนสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของดอกเบี้ยได้ ในบางกรณีอาจมากถึง 4 5%
ผลตอบแทนขนาดนั้นย่อมไม่สามารถหลีกหนีความสนใจของ Hedge Fund ได้แต่ด้วยความเป็น Hedge Fund มีหรือจะพอใจกับกำไรง่ายๆแค่นั้น Hedge Fund จึงกู้เงินเพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น อาทิ หุ้นในตลาดเกิดใหม่ (อาทิ ตลาดหุ้นไทย) หรือแม้แต่ไปลงทุนใน CDO นอกจากนี้ กองทุน Hedge Fund ยังดำรงนโยบายหนี้สินต่อทุนในระดับสูง นั้นคือ กู้เงินมา นำไปซื้อสินทัรพย์ แล้วนำสินทรัพย์ไปค้ำประกัน แล้วไปกู้เงินมาเพิ่ม ซึ่งก็มีผลเดียวกับในแรกๆที่ผมได้กล่าวไปคือ กองทุนสามารถรับผลขาดทุนได้น้อยมาก เพราะการขาดทุนอันน้อยนิดจะขยายเป็นผลกระทบใหญ่ ต่อตัวกองทุนความเสี่ยงแค่นั้นยังไม่พอสำหรับ Hedge Fund เพราะกองทุนเหล่านั้นดันไปทำสัญญาล่วงหน้าเงินเยน โดยตามหลักการณ์แล้วกองทุนเหล่านั้นควรจะทำการลอง เงินเยน เอาไว้ เพื่อเอาไว้ห้องกันการผันผวนของเงินเยน แต่เพราะความโลภกองทุนจึงทำการชอร์ตเงินเยนไว้อีก หวังทำกำไรสองเด้งจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งสัญญาเหล่านั้นก็เหมือน TFEX คือมีการวางเงินประกันขั้นต้น แต่เมื่อเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาระดับหนึ่งก็จะถูกเรียกเงินวางประกันเพิ่ม
สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ นักลงทุนกำลังกังวลถึง การเสื่อมค่าอย่างรวดเร็วของสินทรัพย์ที่กู้เงินไปลงทุนไว้ (อาทิการลงทุนในตลาดหุ้นของไทยที่เสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็ว) ทำให้ กองทุน Hedge Fund ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุน โดยการถือครองเงินเยนมากขึ้น เพื่อนำไปชำระหนี้และลดความเสี่ยงการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจาก นโยบายธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งถ้าธนาคารกลางสหรัฐ ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง แต่ธนาคารกลางญี่ปุ่นไม่ปรับดอกลงตามหรือปรับดอกขึ้นสวน นั้นหมายถึง เงินเยนจะยิ่งแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้กองทุนจะต้องขาดทุนมหาศาลจากการไปชอร์ตเงินเยนไว้ และต้องรีบหาเงินไปใช้หนี้เงินเยน นั้นคือเหตุที่ว่าทำไมเราถึงเห็นเงินเยน แข็งค่าต่อทุกสกุลเงิน ในขณะที่เงินสกุลอื่นกำลังอ่อนค่า ต่อดอลล่าร์
ดูเหมือนภาษิตไทยที่เหมาะกับสภาวะตลาดหุ้นไทยตอนนี้คือ
ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก แล้วมาแทรกเร็วกว่าคาดเสียด้วย
โปรดติดต่อตามบทต่อไป
ผลกระทบของ Yen Carry Trade และการแก้ปัญหา
อันที่จริงผลมองว่า Yen Carry Trade จะเป็นปัญหาระยะกลางนะครับ แต่ตอนนี้เหตุการณ์มันเกิดเร็วมาก ปัญหาของ Yen CarryTrade คือนักลงทุนกลัวว่า เยนจะแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งหมายถึงการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเรื่อยๆ จึงต้องเร่งขายแล้วแลกเงินจากสกุลอื่นเป็นเงินเยน
วิธีแก้ปัญหานั้นคิดออกได้ง่ายครับ ทำดอลล่าร์ให้แข็งค่าซะ แต่การทำให้ดอลล่าร์แข็งไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจาก FED จะมาแทรกแซงโดยการขายเยน (ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้น) หรือการขึ้นดอกเบี้ย หรือ ธนาคารกลางญี่ปุ่นลดดอกเบี้ย แต่ถ้า FED ขึ้นดอกปัญหา Subprime จะยิ่งแย่ลง แต่ถ้าญี่ปุ่นลดดอก ก็จะเจอการโจมตีทางการเมืองว่า เอาทรัพยากรของญี่ปุ่น ไปช่วยอเมริกา
ดังนั้นคำตอบของปัญหานี้คือไม่มีครับ
post ในweb กระทิงเขียว ส.ค. 2550
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
ตามคำขอของคุณ Dimsum
โพสต์ที่ 13
The Heat
จากความผันผวนอย่างหนักในตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นสหรัฐ ทำให้The Heat ต้องกลับมาอัพเดทถึงสถานการณ์สภาพคล่องในตลาดอีกครั้งนะครับ เป็นวันที่ สองติดต่อกัน30 วันอันตรายที่ Country Wide Financial
ข่าวล่าสุดของ Country Wide Financial บริษัทให้กู้จำนองบ้านที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลอย่างมาก เพราะทางบริษัททำการกู้เงิน 1.1
หมื่นล้านเหรียญจาก ธนาคาร 40 แห่ง ซึ่งเป็นการกู้เงินจนหมดวงเงินของบริษัทหลังบริษัทไม่สามารถหาเงินกู้ระยะสั้นจากตลาดรองได้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเงิน 1.1 หมื่นล้านเหรียญน่าจะพอทำให้ บริษัทอยู่ต่อได้อีก 30 วัน ถ้าภายใน 30 วัน บริษัทหาเงินสดมาหมุนไม่ได้ บริษัทอาจล้มละลาย ซึ่งจะส่ง Shockwave ไปทั่วตลาด การหาเงินสดคงไม่ง่ายสำหรับ Country Wide หลัง Moody และ s&P ปรับเครดิตเรตติ้งของบริษัทลงไป 3 ระดับไปอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดของระดับที่สามารถลงทุนได้
ตัวเลข Philadelphia FED IndexPhiladelphia FED Index เป็นมาตรวัด กิจกรรมทางอุตสาหกรรมในเขต Philadelphia โดยสำหรับเดือนสิงหาคม ออกมาอยู่ที่ 0 เทียบกับ 9 กว่าๆ ในเดือนกรกฎา เป็นครั้งแรกที่ตัวเลขนี้ อยู่ที่ 0.00 แสดงถึงการชะงักงันของกิจกรรมทางอุตสาหกรรม หรือว่าผลกระทบของ Subprime ลามเข้า Real Sector แล้ว???
ความต้องการเงินดอลล่าร์ และเยน
ตามที่ได้บอกกล่าวครับ ว่าธุรกรรมที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งหมดนี้ อยู่ในสกุล ดอลล่าร์ (สำหรับ CDO) และ สกุลเยน (สำหรับ Yen Carry Trade) ทั้งสองสกุลนี้จะยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง (คำอธิบายสำหรับ CDO และ Yen Carry Trade อยู่ใน PKN The Zoom! ตอนที่ 2/3 และ 5) แต่เงินจะไหลไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยที่สุดที่ยังได้ผลตอบแทน ซึ่งก็คือ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะ 1 เดือน และ 3 เดือน
เงินสด เงินสด และเงินสดเงินสด คือ สิ่งที่ไม่เพียงสำหรับกองทุน แต่ทุกธุรกิจ และสถาบันการเงินต้องการเป็นอย่างยิ่งในช่วงนี้ แต่ก็เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายอีกแล้ว นั้นหมายถึงการล้มละลายดังนั้นเราจึงเห็นการเทขายทุกทรัพย์สินออกอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ขายได้ เพราะทุกคนรู้ว่า ทุกคนจ้องขาย จึงรีบแข่งกันขาย เพื่อรีบปิดสถานะตนเอง สถานการณ์แบบนี้ยิ่งทำให้การขาดทุนของกองทุนหนักขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหมายถึง สถาบันการเงินก็จะยิ่งเรียก Margin Call หรือให้ ลูกหนี้หาสินทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้ให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงของสถาบันเอง ก็จะยิ่งซ้ำเติมให้ต้องเร่งขายทรัพย์สินเอาเงินสดมา แล้วก็ยิ่งขาดทุน
เงินสด เงินสด และเงินสด อีก
นั้นหมายถึง ราคาทอง ราคาน้ำมัน ราคาทองคำขาว ราคาเหล็ก ราคาทองแดง ราคาหุ้น จะร่วงลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ ขณะนี้
การขยายตัวของเศรษฐกิจอเมริกาการขยายตัวของเศรษฐกิจอเมริกา ในช่วงระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นขึ้นอยู่กับการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก เพราะการที่ดอกเบี้ยต่าในช่วงของ Greenspan ทำให้เกิดการรุ่งเรืองของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้คนรู้สึกถึงความร่ำรวยและความมั่งคั่ง ทำให้คนกล้าจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อีกทั้งยังมีตลาด Subprime ที่ทำให้คนสามารถไปจำนองบ้านเพิ่มได้อีก โดยการให้คนมาประเมินราคาบ้านใหม่ ถ้าได้สูงกว่ามูลหนี้ที่กู้อยู่ ก็กู้เพิ่มได้อีก คนก็กู้เพิ่มเรื่อยๆ เพราะราคาอสังหาฯที่ตัวเองถือครอง พุ่งขึ้นเรื่อยๆ คนที่ไม่เคยซื้อบ้านได้ก็ซื้อบ้านได้ เพราะ Subprime ก็หมายถึงคนซื้อใหม่ๆเข้ามาในตลาด ก็ยิ่งทำให้ราคาบ้านพุ่ง
แต่ตอนนี้เหตุการณ์ทุกอย่างกลับตาลปัตร คนที่เคยหวังกู้เงินเพิ่มจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าบ้านทำไม่ได้แล้ว ส่วนคนที่กู้ไปแล้วถูกแบงค์เรียกให้หาทรัพย์สินไปเพิ่ม ไม่งั้นต้องจ่ายหนี้ หรือโดนยึดบ้าน สิ่งที่เกิดขึ้นนี้หมายถึง.
การชะงักงันครั้งใหญ่ของการจับจ่ายใช้สอยของชาวอเมริกันต่อจากนั้นแล้วก็แล้วแต่จะคิดกันครับ ประเทศไทยถึงไม่มีลงทุน Subprime แต่จะโดนผลกระทบอย่างรุนแรงจากการบริโภคที่น้อยลงของตลาดเมกัน ของจะส่งออกกันยังไง
จากความผันผวนอย่างหนักในตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นสหรัฐ ทำให้The Heat ต้องกลับมาอัพเดทถึงสถานการณ์สภาพคล่องในตลาดอีกครั้งนะครับ เป็นวันที่ สองติดต่อกัน30 วันอันตรายที่ Country Wide Financial
ข่าวล่าสุดของ Country Wide Financial บริษัทให้กู้จำนองบ้านที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลอย่างมาก เพราะทางบริษัททำการกู้เงิน 1.1
หมื่นล้านเหรียญจาก ธนาคาร 40 แห่ง ซึ่งเป็นการกู้เงินจนหมดวงเงินของบริษัทหลังบริษัทไม่สามารถหาเงินกู้ระยะสั้นจากตลาดรองได้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเงิน 1.1 หมื่นล้านเหรียญน่าจะพอทำให้ บริษัทอยู่ต่อได้อีก 30 วัน ถ้าภายใน 30 วัน บริษัทหาเงินสดมาหมุนไม่ได้ บริษัทอาจล้มละลาย ซึ่งจะส่ง Shockwave ไปทั่วตลาด การหาเงินสดคงไม่ง่ายสำหรับ Country Wide หลัง Moody และ s&P ปรับเครดิตเรตติ้งของบริษัทลงไป 3 ระดับไปอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดของระดับที่สามารถลงทุนได้
ตัวเลข Philadelphia FED IndexPhiladelphia FED Index เป็นมาตรวัด กิจกรรมทางอุตสาหกรรมในเขต Philadelphia โดยสำหรับเดือนสิงหาคม ออกมาอยู่ที่ 0 เทียบกับ 9 กว่าๆ ในเดือนกรกฎา เป็นครั้งแรกที่ตัวเลขนี้ อยู่ที่ 0.00 แสดงถึงการชะงักงันของกิจกรรมทางอุตสาหกรรม หรือว่าผลกระทบของ Subprime ลามเข้า Real Sector แล้ว???
ความต้องการเงินดอลล่าร์ และเยน
ตามที่ได้บอกกล่าวครับ ว่าธุรกรรมที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งหมดนี้ อยู่ในสกุล ดอลล่าร์ (สำหรับ CDO) และ สกุลเยน (สำหรับ Yen Carry Trade) ทั้งสองสกุลนี้จะยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง (คำอธิบายสำหรับ CDO และ Yen Carry Trade อยู่ใน PKN The Zoom! ตอนที่ 2/3 และ 5) แต่เงินจะไหลไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยที่สุดที่ยังได้ผลตอบแทน ซึ่งก็คือ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะ 1 เดือน และ 3 เดือน
เงินสด เงินสด และเงินสดเงินสด คือ สิ่งที่ไม่เพียงสำหรับกองทุน แต่ทุกธุรกิจ และสถาบันการเงินต้องการเป็นอย่างยิ่งในช่วงนี้ แต่ก็เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายอีกแล้ว นั้นหมายถึงการล้มละลายดังนั้นเราจึงเห็นการเทขายทุกทรัพย์สินออกอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ขายได้ เพราะทุกคนรู้ว่า ทุกคนจ้องขาย จึงรีบแข่งกันขาย เพื่อรีบปิดสถานะตนเอง สถานการณ์แบบนี้ยิ่งทำให้การขาดทุนของกองทุนหนักขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหมายถึง สถาบันการเงินก็จะยิ่งเรียก Margin Call หรือให้ ลูกหนี้หาสินทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้ให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงของสถาบันเอง ก็จะยิ่งซ้ำเติมให้ต้องเร่งขายทรัพย์สินเอาเงินสดมา แล้วก็ยิ่งขาดทุน
เงินสด เงินสด และเงินสด อีก
นั้นหมายถึง ราคาทอง ราคาน้ำมัน ราคาทองคำขาว ราคาเหล็ก ราคาทองแดง ราคาหุ้น จะร่วงลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ ขณะนี้
การขยายตัวของเศรษฐกิจอเมริกาการขยายตัวของเศรษฐกิจอเมริกา ในช่วงระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นขึ้นอยู่กับการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก เพราะการที่ดอกเบี้ยต่าในช่วงของ Greenspan ทำให้เกิดการรุ่งเรืองของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้คนรู้สึกถึงความร่ำรวยและความมั่งคั่ง ทำให้คนกล้าจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อีกทั้งยังมีตลาด Subprime ที่ทำให้คนสามารถไปจำนองบ้านเพิ่มได้อีก โดยการให้คนมาประเมินราคาบ้านใหม่ ถ้าได้สูงกว่ามูลหนี้ที่กู้อยู่ ก็กู้เพิ่มได้อีก คนก็กู้เพิ่มเรื่อยๆ เพราะราคาอสังหาฯที่ตัวเองถือครอง พุ่งขึ้นเรื่อยๆ คนที่ไม่เคยซื้อบ้านได้ก็ซื้อบ้านได้ เพราะ Subprime ก็หมายถึงคนซื้อใหม่ๆเข้ามาในตลาด ก็ยิ่งทำให้ราคาบ้านพุ่ง
แต่ตอนนี้เหตุการณ์ทุกอย่างกลับตาลปัตร คนที่เคยหวังกู้เงินเพิ่มจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าบ้านทำไม่ได้แล้ว ส่วนคนที่กู้ไปแล้วถูกแบงค์เรียกให้หาทรัพย์สินไปเพิ่ม ไม่งั้นต้องจ่ายหนี้ หรือโดนยึดบ้าน สิ่งที่เกิดขึ้นนี้หมายถึง.
การชะงักงันครั้งใหญ่ของการจับจ่ายใช้สอยของชาวอเมริกันต่อจากนั้นแล้วก็แล้วแต่จะคิดกันครับ ประเทศไทยถึงไม่มีลงทุน Subprime แต่จะโดนผลกระทบอย่างรุนแรงจากการบริโภคที่น้อยลงของตลาดเมกัน ของจะส่งออกกันยังไง
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
เหตุที่น่าจะทำให้หุ้นขึ้นวันนี้ ( 13 ต.ค. 2551 )
โพสต์ที่ 15
เงิน...กำลังจะหมุนไป...กำลังจะหมุนไป...ให้นายแบงค์
ผมเชื่อว่าหลายคนยังคงจำกันได้กับ โฆษณาของธนาคารกรุงไทย ที่มีเพลงประกอบประมาณว่า เงินกำลังจะหมุนไป กำลังจะหมุนไป ให้ชุมชน ผมว่าเพลงนี้เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนี้เป็นอย่างดี เพียงแต่เงินไม่ได้จะหมุนไปให้ชุมชน แต่หมุนไปสู่มือนายแบงค์
มาตรการที่ออกมาในช่วงสุดสัปดาห์จากประเทศในกลุ่มยุโรป และออสเตรเลียที่จะเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ระหว่างธนาคาร ในตลาด Interbank และการที่จะเข้าไปอัดฉีดเงินทุนก้อนใหม่สู่ระบบสถาบันการเงินผ่านการซื้อหุ้นเพิ่มทุน ถือเป็นก้าวสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ และที่น่ายินดียิ่งไปกว่านั้นคือ ความรวดเร็วของรัฐบาลในกลุ่มประเทศยุโรป และออสเตรเลีย ที่จะดำเนินตามมาตรการที่ประกาศ ส่งผลให้นักลงทุนและสถาบันการเงินต่างๆ เริ่มมีความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินอีกครั้ง อันดูได้จากอัตราดอกเบี้ย LIBOR ในตลาดออสเตรเลีย ระยะยาวกว่า 1 เดือนขึ้นไปที่ปรับลดลงมาอย่างมาก
ขณะเดี่ยวกันรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังจะได้ฤกษ์เริ่มใช้เงินในกองทุน 7 แสนล้านซึ่งได้รับอนุมัติจากรัฐสภาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน โดยมีการเปลี่ยนแนวการใช้เงินจาก การเข้าไปซื้อทรัพย์สินประเภทตราสารจำนองบ้าน มาเป็นเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากธนาคารโดยตรง และเข้าประกันเงินกู้ในตลาด interbank เช่นเดียวกันแนวทางของประเทศในยุโรป และออสเตรเลีย โดยแผนการอย่างเป็นทางการน่าจะออกมาภายในสอง ถึงสามวันข้างหน้า
ถึงตอนนี้หลายท่านอาจถามว่า การกระทำดังกล่าวจะช่วยวิกฤตการทางการเงินครั้งนี้ได้อย่างไร นโยบายชุดใหม่ที่ออกมาจะเป็นการเข้าไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ก็คือความไม่มั่นใจในระบบสถาบันการเงิน กล่าวคือ
1) การเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ระหว่างธนาคาร
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาทาง PKNMoney ได้นำเสนอข่าวสารในตลาด Interbank และอัตราดอกเบี้ย LIBOR อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะความเคลื่อนไหวในตลาด Interbank ส่งผลถึงภาวะสภาพคล่องทางการเงินของสถาบันการเงินต่างๆโดยตรง เพราะตลาด Interbank คือตลาดที่ธนาคารพานิชย์ในแต่ละประเทศ เข้าไปทำธุรกรรมเพื่อกู้เงินในกรณีที่ธนาคารขาดสภาพคล่องชั่วคราว หรือเข้าไปปล่อยเงินกู้ต่อธนาคารอื่นในกรณีที่ธนาคารมีสภาพคล่องล้นชั่วคราว โดยการปล่อยกู้มักจะเป็นในระยะ 1 วัน 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ย LIBOR พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากธนาคารต่างๆไม่ยอมปล่อยกู้ สภาพคล่องส่วนเกินในตลาด และเลือกที่จะฝากสภาพคล่องส่วนเกินเหล่านั้นไว้กับธนาคารกลางแทนเพื่อความปลอดภัย เหตุที่ธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้ก็เพราะว่า ไม่มั่นใจว่าธนาคารที่กู้เงินไปจะสามารถจ่ายเงินคืนได้ หรือที่เรียก ความกลัวอันเนื่องมาจากความเสี่ยงของคู่สัญญา (Counterparty Risks) เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ขึ้น ธนาคารที่พึ่งพาสภาพคล่องระหว่างวันจากตลาด Interbank ก็ไม่สามารถหาเงินสดมาหมุนได้ เมื่อสัญญาเงินกู้ฉบับเก่าหมดอายุลง หรือสถาบันการเงินที่ถูกเรียกให้นำเงินสดมาวางหลักประกันเพิ่ม ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่สามารถหาเงินมาจากตลาดนี้ได้
การเข้าค้ำประกันเงินกู้ระหว่างธนาคาร จะเป็นการลดความเสี่ยงของคู่สัญญาไปเกือบหมด เนื่องจากรัฐบาลสัญญาว่า รัฐบาลจะจ่ายเงินกู้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ ในกรณีที่ธนาคารผู้กู้ประสบภาวะล้มละลาย เมื่อเป็นดังนี้แล้ว ธนาคารต่างๆน่าจะนำสภาพคล่องส่วนเกินมาปล่อยกู้อีกครั้งในตลาด เนื่องจากความเสี่ยงที่หมดไป เมื่อตลาดนี้กลับมาทำงานอีกครั้ง ก็จะเป็นการสร้างสภาพคล่องในระบบ ทำให้ความเสี่ยงของการอยู่รอดของสถาบันการเงินต่างๆ ลดลงไป เพราะความเสี่ยงด้านสภาพคล่องจะเริ่มลดลง
สัญญาณที่เราต้องจับตามองคือ อัตราดอกเบี้ย LIBOR โดยเฉพาะประเภทระยะ 3 เดือน ซึ่งถ้ายิ่งลงมาใกล้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางของแต่ละสกุลเงิน ยิ่งแสดงถึงความมั่นใจต่อระบบสถาบันการเงิน
2) การเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากสถาบันการเงิน
ปัญหาถัดมาหลังจากปัญหาสภาพคล่องก็คือ ปัญหาขาดเงินทุน เนื่องจากสถาบันการเงินต่างๆ ต้องทำการตัดด้อยค่าทรัพย์สินประเภทซับไพรม์ และตราสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับซับไพรม์ จนทำให้ส่วนของทุนลดลงไปจำนวนมาก โดยทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ คาดว่าสถาบันการเงินต้องตัดด้อยค่าทรัพย์สินทั้งหมดกว่า 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดย ณ ปัจจุบัน สถาบันการเงินทำการบันทึกขาดทุนไปแล้วจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว
เมื่อส่วนของทุนลดลง ธนาคารก็จะประสบกับปัญหาในการปล่อยกู้เพิ่ม เพราะตามมาตรฐานบัญชีของธนาคารแบบ บาเซิล 2 (BASEL II) ที่ได้ถูกประกาศใช้แล้วนั้น บังคับให้ธนาคารต้องมีส่วนของทุนเพียงพอที่จะดำรงสภาพเป็นธนาคาร ถ้าธนาคารมีส่วนของทุนต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดก็จะไม่สามารถปล่อยเงินกู้ได้ แม้จะมีเงินสดอยู่ในมือก็ตาม
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การที่รัฐบาลเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากสถาบันการเงินโดยตรง จะทำให้ธนาคารมีส่วนของทุน และเงินสำรองเพียงพอ ที่จะกลับมาปล่อยเงินกู้อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงของคู่สัญญา โดยในกรณีนี้คือการดำรงอยู่ของสถาบันการเงิน และจะสามารถทำให้ธนาคารเริ่มปล่อยเงินกู้สู่ภาคธุรกิจได้อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยคลี่คลายแรงกดดันต่อภาคธุรกิจ ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจไม่ถดถอยเกินควบคุม
3) การเข้าซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น จากบริษัทผู้ออกโดยตรง
ตามที่เคยได้เล่าถึงผลกระทบ เมื่อตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นสำหรับภาคธุรกิจเป็นอัมพาตไปแล้วใน PKN Zoom! บทที่ผ่านมา การที่ธนาคารกลางสหรัฐ จะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น โดยตรงจากบริษัทผู้ออก ภายในสัปดาห์นี้ จะช่วยลดแรงกดดันในภาคธุรกิจในการหาเงินกู้มาหมุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่บริษัทต่างๆ ถูกกดดันให้ลดขนาดของบริษัทลงมา เพื่อให้มีเงินสดเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจะทำให้บริษัทต้องปลดคนเงินเพิ่มขึ้น สั่งสินค้าน้อยลง ซึ่งจะยื่งทำให้สภาวะเศรษฐกิจแย่ลงไปอีก
ผลดีต่อภาวะการลงทุนในหุ้น จากมาตรการทั้งสามมาตรการนี้คือ จะช่วยลดแรงกดดันในหมู่สถาบันการเงิน ที่จะต้องหาเงินสดมาไว้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม ซึ่งน่าจะช่วยลดแรงขายในตลาดหุ้น จากต่างชาติลงได้ อีกทั้งจะช่วยชะลอการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออก อาทิ ประเทศไทย ไม่ให้ถดถอยลงไปมากนัก
ทั้งนี้มาตรการทั้งหมดที่กล่าวมา จะไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาเหมือนเดิมในระยะสั้นๆนี่ได้อย่างแน่นอน เพียงแต่จะช่วยสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงิน และป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจถดถอยขั้นรุนแรงเท่านั้น ถ้าเรามองจากวิกฤตเศรษฐกิจในไทยครั้งก่อน เราต้องใช้เวลามากกว่า 5-6 ปี กว่าตลาดหุ้นจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่ครั้งนั้นประเทศเราดำเนินนโยบายตาม ไอเอ็มเอฟ ซึ่งวันนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นความผิดพลาด
ดังนั้นผมจึงมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐไม่น่าจะใช้เวลาเท่ากับที่เราต้องใช้ อีกทั้งรัฐบาลสหรัฐยังพร้อมเต็มที่ในการใช้มาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อันดูได้จากแนวทางล่าสุดที่พรรคเดโมแครต เสนอให้มีการลงทุนเพิ่มอีก 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่จะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป อีกทั้งหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะในเอเชีย ยังมีเงินสำรองอีกมากที่พร้อมจะเข้าไปซื้อของถูกจากสหรัฐ อาทิ ญี่ปุ่น (ดีลมอร์แกน สแตนเลย์) หรือจีน หรือแม้แต่สิงคโปร์เองก็ตาม ที่มีการลงทุนเข้าไปก่อนหน้านี้ โดยผมเชื่อว่าประเทศเหล่านี้ยังสนใจที่จะนำเงินสำรองของตนเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ เมื่อมีการลงทุนก็จะช่วยเพิ่มเงินสดในระบบเศรษฐกิจของอเมริกา ซึ่งจะช่วยดึงเศรษฐกิจของอเมริกากลับมาเติบโตอีกครั้งได้ เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจอเมริกาจะวิกฤตอย่างไร คนอเมริกันก็ยังจะเป็นคนที่มือเติบ ใช้จ่ายอย่างไม่ยั้งต่อไป เพราะสิ่งนี้มันเหมือนเป็นสิ่งหนึ่งในวัฒนธรรมอเมริกันไปเสียแล้ว
สรุป: ทุกคนยังต้องจับตามองภาวะการซื้อขายในตลาดเงินผ่านอัตราดอกเบี้ย LIBOR เมื่ออัตราดอกเบี้ยตัวนี้ปรับตัวลงมา จะเป็นการแสดงถึงเสถียรภาพในระบบการเงินทั่วโลก ท่านสามารถดูข้อมูลดอกเบี้ย LIBOR ได้จากเมนู ข้อมูลตลาดเงิน บนเว็บนี้ และ PKNMoney จะคอยอัพเดทสถานการณ์ตลาดเงินเป็นระยะๆต่อไป
ผมเชื่อว่าหลายคนยังคงจำกันได้กับ โฆษณาของธนาคารกรุงไทย ที่มีเพลงประกอบประมาณว่า เงินกำลังจะหมุนไป กำลังจะหมุนไป ให้ชุมชน ผมว่าเพลงนี้เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนี้เป็นอย่างดี เพียงแต่เงินไม่ได้จะหมุนไปให้ชุมชน แต่หมุนไปสู่มือนายแบงค์
มาตรการที่ออกมาในช่วงสุดสัปดาห์จากประเทศในกลุ่มยุโรป และออสเตรเลียที่จะเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ระหว่างธนาคาร ในตลาด Interbank และการที่จะเข้าไปอัดฉีดเงินทุนก้อนใหม่สู่ระบบสถาบันการเงินผ่านการซื้อหุ้นเพิ่มทุน ถือเป็นก้าวสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ และที่น่ายินดียิ่งไปกว่านั้นคือ ความรวดเร็วของรัฐบาลในกลุ่มประเทศยุโรป และออสเตรเลีย ที่จะดำเนินตามมาตรการที่ประกาศ ส่งผลให้นักลงทุนและสถาบันการเงินต่างๆ เริ่มมีความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินอีกครั้ง อันดูได้จากอัตราดอกเบี้ย LIBOR ในตลาดออสเตรเลีย ระยะยาวกว่า 1 เดือนขึ้นไปที่ปรับลดลงมาอย่างมาก
ขณะเดี่ยวกันรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังจะได้ฤกษ์เริ่มใช้เงินในกองทุน 7 แสนล้านซึ่งได้รับอนุมัติจากรัฐสภาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน โดยมีการเปลี่ยนแนวการใช้เงินจาก การเข้าไปซื้อทรัพย์สินประเภทตราสารจำนองบ้าน มาเป็นเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากธนาคารโดยตรง และเข้าประกันเงินกู้ในตลาด interbank เช่นเดียวกันแนวทางของประเทศในยุโรป และออสเตรเลีย โดยแผนการอย่างเป็นทางการน่าจะออกมาภายในสอง ถึงสามวันข้างหน้า
ถึงตอนนี้หลายท่านอาจถามว่า การกระทำดังกล่าวจะช่วยวิกฤตการทางการเงินครั้งนี้ได้อย่างไร นโยบายชุดใหม่ที่ออกมาจะเป็นการเข้าไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ก็คือความไม่มั่นใจในระบบสถาบันการเงิน กล่าวคือ
1) การเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ระหว่างธนาคาร
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาทาง PKNMoney ได้นำเสนอข่าวสารในตลาด Interbank และอัตราดอกเบี้ย LIBOR อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะความเคลื่อนไหวในตลาด Interbank ส่งผลถึงภาวะสภาพคล่องทางการเงินของสถาบันการเงินต่างๆโดยตรง เพราะตลาด Interbank คือตลาดที่ธนาคารพานิชย์ในแต่ละประเทศ เข้าไปทำธุรกรรมเพื่อกู้เงินในกรณีที่ธนาคารขาดสภาพคล่องชั่วคราว หรือเข้าไปปล่อยเงินกู้ต่อธนาคารอื่นในกรณีที่ธนาคารมีสภาพคล่องล้นชั่วคราว โดยการปล่อยกู้มักจะเป็นในระยะ 1 วัน 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ย LIBOR พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากธนาคารต่างๆไม่ยอมปล่อยกู้ สภาพคล่องส่วนเกินในตลาด และเลือกที่จะฝากสภาพคล่องส่วนเกินเหล่านั้นไว้กับธนาคารกลางแทนเพื่อความปลอดภัย เหตุที่ธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้ก็เพราะว่า ไม่มั่นใจว่าธนาคารที่กู้เงินไปจะสามารถจ่ายเงินคืนได้ หรือที่เรียก ความกลัวอันเนื่องมาจากความเสี่ยงของคู่สัญญา (Counterparty Risks) เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ขึ้น ธนาคารที่พึ่งพาสภาพคล่องระหว่างวันจากตลาด Interbank ก็ไม่สามารถหาเงินสดมาหมุนได้ เมื่อสัญญาเงินกู้ฉบับเก่าหมดอายุลง หรือสถาบันการเงินที่ถูกเรียกให้นำเงินสดมาวางหลักประกันเพิ่ม ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่สามารถหาเงินมาจากตลาดนี้ได้
การเข้าค้ำประกันเงินกู้ระหว่างธนาคาร จะเป็นการลดความเสี่ยงของคู่สัญญาไปเกือบหมด เนื่องจากรัฐบาลสัญญาว่า รัฐบาลจะจ่ายเงินกู้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ ในกรณีที่ธนาคารผู้กู้ประสบภาวะล้มละลาย เมื่อเป็นดังนี้แล้ว ธนาคารต่างๆน่าจะนำสภาพคล่องส่วนเกินมาปล่อยกู้อีกครั้งในตลาด เนื่องจากความเสี่ยงที่หมดไป เมื่อตลาดนี้กลับมาทำงานอีกครั้ง ก็จะเป็นการสร้างสภาพคล่องในระบบ ทำให้ความเสี่ยงของการอยู่รอดของสถาบันการเงินต่างๆ ลดลงไป เพราะความเสี่ยงด้านสภาพคล่องจะเริ่มลดลง
สัญญาณที่เราต้องจับตามองคือ อัตราดอกเบี้ย LIBOR โดยเฉพาะประเภทระยะ 3 เดือน ซึ่งถ้ายิ่งลงมาใกล้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางของแต่ละสกุลเงิน ยิ่งแสดงถึงความมั่นใจต่อระบบสถาบันการเงิน
2) การเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากสถาบันการเงิน
ปัญหาถัดมาหลังจากปัญหาสภาพคล่องก็คือ ปัญหาขาดเงินทุน เนื่องจากสถาบันการเงินต่างๆ ต้องทำการตัดด้อยค่าทรัพย์สินประเภทซับไพรม์ และตราสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับซับไพรม์ จนทำให้ส่วนของทุนลดลงไปจำนวนมาก โดยทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ คาดว่าสถาบันการเงินต้องตัดด้อยค่าทรัพย์สินทั้งหมดกว่า 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดย ณ ปัจจุบัน สถาบันการเงินทำการบันทึกขาดทุนไปแล้วจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว
เมื่อส่วนของทุนลดลง ธนาคารก็จะประสบกับปัญหาในการปล่อยกู้เพิ่ม เพราะตามมาตรฐานบัญชีของธนาคารแบบ บาเซิล 2 (BASEL II) ที่ได้ถูกประกาศใช้แล้วนั้น บังคับให้ธนาคารต้องมีส่วนของทุนเพียงพอที่จะดำรงสภาพเป็นธนาคาร ถ้าธนาคารมีส่วนของทุนต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดก็จะไม่สามารถปล่อยเงินกู้ได้ แม้จะมีเงินสดอยู่ในมือก็ตาม
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การที่รัฐบาลเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากสถาบันการเงินโดยตรง จะทำให้ธนาคารมีส่วนของทุน และเงินสำรองเพียงพอ ที่จะกลับมาปล่อยเงินกู้อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงของคู่สัญญา โดยในกรณีนี้คือการดำรงอยู่ของสถาบันการเงิน และจะสามารถทำให้ธนาคารเริ่มปล่อยเงินกู้สู่ภาคธุรกิจได้อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยคลี่คลายแรงกดดันต่อภาคธุรกิจ ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจไม่ถดถอยเกินควบคุม
3) การเข้าซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น จากบริษัทผู้ออกโดยตรง
ตามที่เคยได้เล่าถึงผลกระทบ เมื่อตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นสำหรับภาคธุรกิจเป็นอัมพาตไปแล้วใน PKN Zoom! บทที่ผ่านมา การที่ธนาคารกลางสหรัฐ จะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น โดยตรงจากบริษัทผู้ออก ภายในสัปดาห์นี้ จะช่วยลดแรงกดดันในภาคธุรกิจในการหาเงินกู้มาหมุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่บริษัทต่างๆ ถูกกดดันให้ลดขนาดของบริษัทลงมา เพื่อให้มีเงินสดเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจะทำให้บริษัทต้องปลดคนเงินเพิ่มขึ้น สั่งสินค้าน้อยลง ซึ่งจะยื่งทำให้สภาวะเศรษฐกิจแย่ลงไปอีก
ผลดีต่อภาวะการลงทุนในหุ้น จากมาตรการทั้งสามมาตรการนี้คือ จะช่วยลดแรงกดดันในหมู่สถาบันการเงิน ที่จะต้องหาเงินสดมาไว้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม ซึ่งน่าจะช่วยลดแรงขายในตลาดหุ้น จากต่างชาติลงได้ อีกทั้งจะช่วยชะลอการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออก อาทิ ประเทศไทย ไม่ให้ถดถอยลงไปมากนัก
ทั้งนี้มาตรการทั้งหมดที่กล่าวมา จะไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาเหมือนเดิมในระยะสั้นๆนี่ได้อย่างแน่นอน เพียงแต่จะช่วยสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงิน และป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจถดถอยขั้นรุนแรงเท่านั้น ถ้าเรามองจากวิกฤตเศรษฐกิจในไทยครั้งก่อน เราต้องใช้เวลามากกว่า 5-6 ปี กว่าตลาดหุ้นจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่ครั้งนั้นประเทศเราดำเนินนโยบายตาม ไอเอ็มเอฟ ซึ่งวันนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นความผิดพลาด
ดังนั้นผมจึงมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐไม่น่าจะใช้เวลาเท่ากับที่เราต้องใช้ อีกทั้งรัฐบาลสหรัฐยังพร้อมเต็มที่ในการใช้มาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อันดูได้จากแนวทางล่าสุดที่พรรคเดโมแครต เสนอให้มีการลงทุนเพิ่มอีก 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่จะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป อีกทั้งหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะในเอเชีย ยังมีเงินสำรองอีกมากที่พร้อมจะเข้าไปซื้อของถูกจากสหรัฐ อาทิ ญี่ปุ่น (ดีลมอร์แกน สแตนเลย์) หรือจีน หรือแม้แต่สิงคโปร์เองก็ตาม ที่มีการลงทุนเข้าไปก่อนหน้านี้ โดยผมเชื่อว่าประเทศเหล่านี้ยังสนใจที่จะนำเงินสำรองของตนเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ เมื่อมีการลงทุนก็จะช่วยเพิ่มเงินสดในระบบเศรษฐกิจของอเมริกา ซึ่งจะช่วยดึงเศรษฐกิจของอเมริกากลับมาเติบโตอีกครั้งได้ เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจอเมริกาจะวิกฤตอย่างไร คนอเมริกันก็ยังจะเป็นคนที่มือเติบ ใช้จ่ายอย่างไม่ยั้งต่อไป เพราะสิ่งนี้มันเหมือนเป็นสิ่งหนึ่งในวัฒนธรรมอเมริกันไปเสียแล้ว
สรุป: ทุกคนยังต้องจับตามองภาวะการซื้อขายในตลาดเงินผ่านอัตราดอกเบี้ย LIBOR เมื่ออัตราดอกเบี้ยตัวนี้ปรับตัวลงมา จะเป็นการแสดงถึงเสถียรภาพในระบบการเงินทั่วโลก ท่านสามารถดูข้อมูลดอกเบี้ย LIBOR ได้จากเมนู ข้อมูลตลาดเงิน บนเว็บนี้ และ PKNMoney จะคอยอัพเดทสถานการณ์ตลาดเงินเป็นระยะๆต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
เปิดแผนกู้วิกฤต เวอร์ชั่น USA
โพสต์ที่ 18
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศแผนการเข้าช่วยเหลือระบบสถาบันการเงิน โดยดำเนินผ่านทางกระทรวงการคลัง และบรรษัทประกันเงินฝากแห่งชาติ ต่อไปนี้คือบทบาทของทั้งสองหน่วยงานตามที่ประกาศไว้
กระทรวงการคลัง
รัฐบาลตั้งวงเงินในการเข้าซื้อ หุ้นบุริมสิทธิ์จากสถาบันการเงินเป็นวงเงิน 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยสถาบันที่เข้าร่วมต้องเป็นสถาบันที่รับฝากเงิน ไม่อยู่ในการควบคุมของบริษัทนึง บริษัทใด และเป็นสถาบันที่จัดตั้งในสหรัฐอเมริกา
เข้าถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงในสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน 2.5 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือไม่เกิน 3% ของมูลค่าทรัพย์สินถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง ต่อสถาบันการเงิน ทั้งนี้สถาบันต้องตอบรับเข้าร่วมโครงการภายในวันที่ 14 พฤศจิกายน โดยแหล่งข่าวรายงานว่ามี 9 สถาบันการเงินที่ตอบรับข้อเสนอ ได้แก่ แบงค์ ออฟ อเมริกา เวล ฟาร์โก้ ซีตี้กรุ๊ป เจพี มอร์แกน เชส โกลด์แมนด์ แซค มอร์แกน สแตนลีย์ แบงค์ ออฟ นิวยอร์ค สเตทสตรีท และเมอริล ลินซ์
เงินที่ใช้ในการเข้าซื้อหุ้นจะมาจาก วงเงิน 7 แสนล้านที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภาภายใต้ พรบ.รักษาเสถียรภาพในสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินไม่สามารถ ซื้อคืนหุ้นบุริมสิทธิที่ออกให้แก่กระทรวงการคลัง เป็นเวลาสามปี โดยสามปีแรก สถาบันต้องจ่ายดอกเบี้ยให้รัฐบาลในอัตรา 5% ต่อปี ส่วนปีถัดไปให้จ่าย 9% จนกว่าสถาบันการเงินสามารถซื้อคืนหุ้บุริสิทธิจากกระทรวงการคลังได้หมด
ในระยะสามปีสถาบันการเงินต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนที่จะประกาศจ่ายปันผลเพิ่มได้
สถาบันการเงินต้องออก ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น (วอร์แรนท์) ในจำนวนไม่เกิน 15% ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิที่รัฐบาลเข้าซื้อ โดยราคาใช้สิทธิจะคิดโดยใช้ราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 20 วัน นับจากวันที่กระทรวงการคลังต้องการใช้สิทธิ
สถาบันการเงินต้องจำกัดอัตราผลตอบแทนต่อคณะผู้บริหารบริษัท โดยสถาบันไม่สามารถนำผลตอบแทนต่อคณะผู้บริหารในส่วนที่สูงกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐ มาคิดเป็นค่าใช้จ่ายได้ อัตราผลตอบแทนต้องไม่ส่งเสริมให้เกิดการเสี่ยงโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้เงินโบนัสที่จ่ายให้แก่ผู้บริหารอาจถูกเรียกคืนในกรณีที่มีการพิสูจน์ได้ว่า ผลการดำเนินงานที่ประกาศในปีนั้นๆ ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง
มาตรการจำกัดผลตอบแทนคณะกรรมการตามข้อ 7 ให้มีผลต่อสถาบันการเงินที่ขายทรัพย์สินให้แก่กระทรวงฯ ในจำนวนที่มากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย
บรรษัทประกันเงินฝากแห่งชาติ
บรรษัทประกันเงินฝากแห่งชาติ (FDIC) เข้ารับประกันตราสารหนี้แบบไม่มีหลักประกันที่ออกโดยสถาบันการเงินที่รับฝากเงินที่จัดตั้งในสหรัฐอเมริกาก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ซึ่งรวมถึงตราสารหนี้ระยะสั้น เงินกู้ระหว่างธนาคาร เป็นจำนวนไม่เกิน 125% ของหนี้สินที่สถาบันการเงินมี ณ วันที่ 30 กันยายน 2551
บรรษัทรับประกันตราสารหนี้เหล่านี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2555 ถึงแม้ตัวตราสารจะมีอายุยาวกว่านั้นก็ตาม
บรรษัทรับประกันบัญชีเงินฝากประเภทไม่จ่ายดอกเบี้ย อาทิบัญชีเพื่อจ่ายเงินเดือน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2552 ทั้งจำนวน
สถาบันการเงินต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นจำนวน 0.75% ของมูลค่าตราสารหนี้ สำหรับการรับประกันตราสารหนี้ และ 0.10% ของมูลค่าเงินฝากที่สูงกว่าจำนวน 2.5 แสนเหรียญสหรัฐต่อบัญชีของลูกค้า
กระทรวงการคลัง
รัฐบาลตั้งวงเงินในการเข้าซื้อ หุ้นบุริมสิทธิ์จากสถาบันการเงินเป็นวงเงิน 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยสถาบันที่เข้าร่วมต้องเป็นสถาบันที่รับฝากเงิน ไม่อยู่ในการควบคุมของบริษัทนึง บริษัทใด และเป็นสถาบันที่จัดตั้งในสหรัฐอเมริกา
เข้าถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงในสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน 2.5 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือไม่เกิน 3% ของมูลค่าทรัพย์สินถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง ต่อสถาบันการเงิน ทั้งนี้สถาบันต้องตอบรับเข้าร่วมโครงการภายในวันที่ 14 พฤศจิกายน โดยแหล่งข่าวรายงานว่ามี 9 สถาบันการเงินที่ตอบรับข้อเสนอ ได้แก่ แบงค์ ออฟ อเมริกา เวล ฟาร์โก้ ซีตี้กรุ๊ป เจพี มอร์แกน เชส โกลด์แมนด์ แซค มอร์แกน สแตนลีย์ แบงค์ ออฟ นิวยอร์ค สเตทสตรีท และเมอริล ลินซ์
เงินที่ใช้ในการเข้าซื้อหุ้นจะมาจาก วงเงิน 7 แสนล้านที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภาภายใต้ พรบ.รักษาเสถียรภาพในสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินไม่สามารถ ซื้อคืนหุ้นบุริมสิทธิที่ออกให้แก่กระทรวงการคลัง เป็นเวลาสามปี โดยสามปีแรก สถาบันต้องจ่ายดอกเบี้ยให้รัฐบาลในอัตรา 5% ต่อปี ส่วนปีถัดไปให้จ่าย 9% จนกว่าสถาบันการเงินสามารถซื้อคืนหุ้บุริสิทธิจากกระทรวงการคลังได้หมด
ในระยะสามปีสถาบันการเงินต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนที่จะประกาศจ่ายปันผลเพิ่มได้
สถาบันการเงินต้องออก ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น (วอร์แรนท์) ในจำนวนไม่เกิน 15% ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิที่รัฐบาลเข้าซื้อ โดยราคาใช้สิทธิจะคิดโดยใช้ราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 20 วัน นับจากวันที่กระทรวงการคลังต้องการใช้สิทธิ
สถาบันการเงินต้องจำกัดอัตราผลตอบแทนต่อคณะผู้บริหารบริษัท โดยสถาบันไม่สามารถนำผลตอบแทนต่อคณะผู้บริหารในส่วนที่สูงกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐ มาคิดเป็นค่าใช้จ่ายได้ อัตราผลตอบแทนต้องไม่ส่งเสริมให้เกิดการเสี่ยงโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้เงินโบนัสที่จ่ายให้แก่ผู้บริหารอาจถูกเรียกคืนในกรณีที่มีการพิสูจน์ได้ว่า ผลการดำเนินงานที่ประกาศในปีนั้นๆ ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง
มาตรการจำกัดผลตอบแทนคณะกรรมการตามข้อ 7 ให้มีผลต่อสถาบันการเงินที่ขายทรัพย์สินให้แก่กระทรวงฯ ในจำนวนที่มากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย
บรรษัทประกันเงินฝากแห่งชาติ
บรรษัทประกันเงินฝากแห่งชาติ (FDIC) เข้ารับประกันตราสารหนี้แบบไม่มีหลักประกันที่ออกโดยสถาบันการเงินที่รับฝากเงินที่จัดตั้งในสหรัฐอเมริกาก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ซึ่งรวมถึงตราสารหนี้ระยะสั้น เงินกู้ระหว่างธนาคาร เป็นจำนวนไม่เกิน 125% ของหนี้สินที่สถาบันการเงินมี ณ วันที่ 30 กันยายน 2551
บรรษัทรับประกันตราสารหนี้เหล่านี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2555 ถึงแม้ตัวตราสารจะมีอายุยาวกว่านั้นก็ตาม
บรรษัทรับประกันบัญชีเงินฝากประเภทไม่จ่ายดอกเบี้ย อาทิบัญชีเพื่อจ่ายเงินเดือน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2552 ทั้งจำนวน
สถาบันการเงินต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นจำนวน 0.75% ของมูลค่าตราสารหนี้ สำหรับการรับประกันตราสารหนี้ และ 0.10% ของมูลค่าเงินฝากที่สูงกว่าจำนวน 2.5 แสนเหรียญสหรัฐต่อบัญชีของลูกค้า
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านถูกยึด ราคาบ้านร่วง
โพสต์ที่ 19
ราคาบ้านสหรัฐร่วงแรงสุดในรอบ 17 ปี หลังยอดยึดบ้านพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ข้อมูลจากสำนักงานสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศํย หรือ FHFA ออกรายงานราคาที่อยู่อาศัยเฉลี่ยทั่วประเทศสหรัฐฯ ซึ่งปรับตัวลดลง 5.9% จากช่วงเดี่ยวกันของปีก่อนในเดือนสิงหาคม เป็นการปรับตัวลงมากสุดตั้งแต่เริ่มมีสำนักงานในปี 1991 ในขณะที่บริษัทวิจัยอสังหาริมทรัพย์ รายงานว่ายอดการเข้ายึดที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นกว่า 71% ในไตรมาสสาม จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า
นายบริงก์แมน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ สมาคมบริษัทสินเชื่อบ้าน กล่าวว่าการเข้ายึดทรัพย์ของสถาบันการเงิน ยิ่งส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวแรงขึ้น เพราะสถาบันการเงินมักจะขายสินทรัพย์ออกมาในราคาต่ำกว่าท้องตลาด
ข้อมูลสิ้นสุด ณ เดือนสิงหา จาก บรรษัทประกันเงินฝากแห่งชาติเผยว่า ธนาคารพานิชย์ในสหรัฐมีทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ประเภทที่อยู่อาศัยรวม 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสสอง เพิ่มขึ้นจากระดับ 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสหนึ่งของปีนี้
เจ้าบ้านกว่า 765,558 รายได้รับจดหมายเตือนชำระหนี้ อยู่ระหว่างกระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกยึดทรัพย์แล้ว ในไตรมาสสอง ถือเป็นยอดที่สูงที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลดังกล่าวในปี 2005
ถึงอย่างไรก็ตามยอดการเข้ายึดทรัพย์โดยธนาคารพานิชย์ปรับตัวลดลงในเดือน กันยายน จากเดือนสิงหาคม หลังรัฐบาลท้องถิ่นออกมาตรการช่วยเหลือผู้กู้บ้าน อาทิ รัฐแคลิฟอร์เนีย บังคับให้ผู้ปล่อยกู้ต้องเจรจากับผู้กู้ก่อนเข้าสู่กระบวนการยึดทรัพย์ ส่งให้ยอดการเตือนเพื่อยึดทรัพย์ลดลงกว่า 23%
24 oct 2008
ข้อมูลจากสำนักงานสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศํย หรือ FHFA ออกรายงานราคาที่อยู่อาศัยเฉลี่ยทั่วประเทศสหรัฐฯ ซึ่งปรับตัวลดลง 5.9% จากช่วงเดี่ยวกันของปีก่อนในเดือนสิงหาคม เป็นการปรับตัวลงมากสุดตั้งแต่เริ่มมีสำนักงานในปี 1991 ในขณะที่บริษัทวิจัยอสังหาริมทรัพย์ รายงานว่ายอดการเข้ายึดที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นกว่า 71% ในไตรมาสสาม จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า
นายบริงก์แมน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ สมาคมบริษัทสินเชื่อบ้าน กล่าวว่าการเข้ายึดทรัพย์ของสถาบันการเงิน ยิ่งส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวแรงขึ้น เพราะสถาบันการเงินมักจะขายสินทรัพย์ออกมาในราคาต่ำกว่าท้องตลาด
ข้อมูลสิ้นสุด ณ เดือนสิงหา จาก บรรษัทประกันเงินฝากแห่งชาติเผยว่า ธนาคารพานิชย์ในสหรัฐมีทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ประเภทที่อยู่อาศัยรวม 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสสอง เพิ่มขึ้นจากระดับ 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสหนึ่งของปีนี้
เจ้าบ้านกว่า 765,558 รายได้รับจดหมายเตือนชำระหนี้ อยู่ระหว่างกระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกยึดทรัพย์แล้ว ในไตรมาสสอง ถือเป็นยอดที่สูงที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลดังกล่าวในปี 2005
ถึงอย่างไรก็ตามยอดการเข้ายึดทรัพย์โดยธนาคารพานิชย์ปรับตัวลดลงในเดือน กันยายน จากเดือนสิงหาคม หลังรัฐบาลท้องถิ่นออกมาตรการช่วยเหลือผู้กู้บ้าน อาทิ รัฐแคลิฟอร์เนีย บังคับให้ผู้ปล่อยกู้ต้องเจรจากับผู้กู้ก่อนเข้าสู่กระบวนการยึดทรัพย์ ส่งให้ยอดการเตือนเพื่อยึดทรัพย์ลดลงกว่า 23%
24 oct 2008
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
ตลาดเงินชักดื้อยา ดอกเบี้ยบวกสลับลบ
โพสต์ที่ 20
ตลาดเงินชักดื้อยา ดอกเบี้ยบวกสลับลบ
ความกลัวเริ่มเข้าคลุมตลาดเงินอีกรอบ อ้ตราการลดของดอกเบี้ยในตลาดต่ำที่สุดในรอบ 9 ปี แม้ธนาคารกลางยังเทเงินไม่หยุด
อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ตลาดลอนดอน หรือ LIBOR สำหรับเงินสกุลดอลล่าร์ ระยะสามเดือนปรับตัวลดลงน้อยกว่า 1 เบสิสพ้อยท์ ลงมาปิดที่ระดับ 3.535% ตามข้อมูลจากสมาคมธนาคารอังกฤษ
อัตราดอกเบี้ย LIBOR ระยะข้ามคืน สกุลด่าาร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 วันที่ อยู่ที่ระดับ 1.21% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในเอเชียเริ่มปรับตัวขึ้น หลังรัซเซียอาจถูกดาวน์เกรด และเกาหลีใต้กำลังประสบปัญหาในระบบธนาคาร
ระบบตลาดเงินยังคงทำงานไม่ปกติ แม้จะพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อเนื่องก็ตาม โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ยอดเงินกู้ของธนาคารพานิชย์โดยตรงกับธนาคารยุโรปขยายตัวมากสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 9.91 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 7.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ธนาคารกลางยุโรปพร้อมให้สภาพคล่องเงินสกุลดอลล่าร์แก่ธนาคารพานิชย์ไม่จำกัดจำนวน
ขณะที่เงินฝากข้ามคืนที่ธนาคารพานิชย์ฝากไว้กับธนาคารกลางเมื่อวานนี้ อยู่เหนือระดับ 2 แสนล้านยูโรเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน สูงกว่าระดับเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ที่ระดับ 427 ล้านยูโรกว่า 500 เท่า แสดงถึงความไม่มั่นใจของธนาคารพานิชย์ในการปล่อยกู้ระหว่างกัน
นักค้าตลาดเงินกล่าวว่า มีการพูดถึงข่าวลือเกี่ยวกับสถานะการเงินของประเทศในเอเชีย และลาตินอเมริกา ซึ่งอาจต้องมีชะตากรรมกับประเทศไอซ์แลนด์ ที่ต้องเข้ากู้ IMF และรัซเซีย ทำให้สภาพคล่องในตลาดหดหายอีกครั้ง
ความกลัวเริ่มเข้าคลุมตลาดเงินอีกรอบ อ้ตราการลดของดอกเบี้ยในตลาดต่ำที่สุดในรอบ 9 ปี แม้ธนาคารกลางยังเทเงินไม่หยุด
อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ตลาดลอนดอน หรือ LIBOR สำหรับเงินสกุลดอลล่าร์ ระยะสามเดือนปรับตัวลดลงน้อยกว่า 1 เบสิสพ้อยท์ ลงมาปิดที่ระดับ 3.535% ตามข้อมูลจากสมาคมธนาคารอังกฤษ
อัตราดอกเบี้ย LIBOR ระยะข้ามคืน สกุลด่าาร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 วันที่ อยู่ที่ระดับ 1.21% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในเอเชียเริ่มปรับตัวขึ้น หลังรัซเซียอาจถูกดาวน์เกรด และเกาหลีใต้กำลังประสบปัญหาในระบบธนาคาร
ระบบตลาดเงินยังคงทำงานไม่ปกติ แม้จะพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อเนื่องก็ตาม โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ยอดเงินกู้ของธนาคารพานิชย์โดยตรงกับธนาคารยุโรปขยายตัวมากสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 9.91 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 7.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ธนาคารกลางยุโรปพร้อมให้สภาพคล่องเงินสกุลดอลล่าร์แก่ธนาคารพานิชย์ไม่จำกัดจำนวน
ขณะที่เงินฝากข้ามคืนที่ธนาคารพานิชย์ฝากไว้กับธนาคารกลางเมื่อวานนี้ อยู่เหนือระดับ 2 แสนล้านยูโรเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน สูงกว่าระดับเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ที่ระดับ 427 ล้านยูโรกว่า 500 เท่า แสดงถึงความไม่มั่นใจของธนาคารพานิชย์ในการปล่อยกู้ระหว่างกัน
นักค้าตลาดเงินกล่าวว่า มีการพูดถึงข่าวลือเกี่ยวกับสถานะการเงินของประเทศในเอเชีย และลาตินอเมริกา ซึ่งอาจต้องมีชะตากรรมกับประเทศไอซ์แลนด์ ที่ต้องเข้ากู้ IMF และรัซเซีย ทำให้สภาพคล่องในตลาดหดหายอีกครั้ง
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
นักลงทุนทิ้งแครี่เทรด ส่งเยนแข็งสุดรอบ 13 ปี
โพสต์ที่ 21
นักค้าเงินแห่ปิดสถานะเงินเยน หลังสภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน ส่งเยนแข็งค่าสุดรอบ 13 ปี
ค่าเงินเยนแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปีต่อเงินยูโร หลังประเทศในยุโรปตะวันออกอาทิ เบลารุส ยูเครน และฮังการี จะเข้าขอกู้เงินฉุกเฉินจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 20 ล้ายเหรียญต่อประเทศ
การเข้าขอเงินกู้จากไอเอ็มเอฟ สร้างภาวะความกังวลต่อนักค้าเงินต่อภาวะเศรษฐกิจของยุโรปโดยรวม โดยเกรงว่ายุโรปตะวันตกอาจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มตะวันออกได้
ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 95.34 เยนต่อหนึ่งดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นสุดตั้งแต่เดือน สิงหาคม ปี 2538 ขณะที่หนึ่งยูโรแลกได้ 121.75 เยน เป็นอัตราที่แข็งที่สุดสำหรับเงินเยนตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2546
ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ค่าเงินเย็นแข็งค่าต่อเงินดอลล่าร์แล้วกว่า 6.2% เป็นการแข็งค่าใน 1 สัปดาห์มากสุดตั้งแต่ปี 2541 นอกจากนี้เงินเยนยังแข็งค่าต่อเงินดอลล่าร์แล้วกว่า 12% เป็นการปรับตัวแข็งค่ารอบสัปดาห์สูงสุดตั้งแต่มีการเริ่มใช้สกุลเงินยูโร
กระแสเงินไหลกลับจากสกุลเงินที่จ่ายดอกเบี้ยสูง อาทิ ออสเตรเลียดอลล่าร์ และ นิวซีแลนด์ดอลล่าร์ สู่เงินเยน ทำให้ ค่าเงินออสเตรเลียดอลล่าร์อ่อนค่าลง 4% ต่อเงินเยน ที่ระดับ 62.53 เยนต่อหนึ่งดอลล่าร์ออสเตรเลีย และค่าเงินนิวซีแลนด์ดอลล่าร์อ่อนค่าลง 3.3% ไปอยู่ที่ 55.98 เยน
ค่าเงินเยนแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปีต่อเงินยูโร หลังประเทศในยุโรปตะวันออกอาทิ เบลารุส ยูเครน และฮังการี จะเข้าขอกู้เงินฉุกเฉินจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 20 ล้ายเหรียญต่อประเทศ
การเข้าขอเงินกู้จากไอเอ็มเอฟ สร้างภาวะความกังวลต่อนักค้าเงินต่อภาวะเศรษฐกิจของยุโรปโดยรวม โดยเกรงว่ายุโรปตะวันตกอาจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มตะวันออกได้
ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 95.34 เยนต่อหนึ่งดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นสุดตั้งแต่เดือน สิงหาคม ปี 2538 ขณะที่หนึ่งยูโรแลกได้ 121.75 เยน เป็นอัตราที่แข็งที่สุดสำหรับเงินเยนตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2546
ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ค่าเงินเย็นแข็งค่าต่อเงินดอลล่าร์แล้วกว่า 6.2% เป็นการแข็งค่าใน 1 สัปดาห์มากสุดตั้งแต่ปี 2541 นอกจากนี้เงินเยนยังแข็งค่าต่อเงินดอลล่าร์แล้วกว่า 12% เป็นการปรับตัวแข็งค่ารอบสัปดาห์สูงสุดตั้งแต่มีการเริ่มใช้สกุลเงินยูโร
กระแสเงินไหลกลับจากสกุลเงินที่จ่ายดอกเบี้ยสูง อาทิ ออสเตรเลียดอลล่าร์ และ นิวซีแลนด์ดอลล่าร์ สู่เงินเยน ทำให้ ค่าเงินออสเตรเลียดอลล่าร์อ่อนค่าลง 4% ต่อเงินเยน ที่ระดับ 62.53 เยนต่อหนึ่งดอลล่าร์ออสเตรเลีย และค่าเงินนิวซีแลนด์ดอลล่าร์อ่อนค่าลง 3.3% ไปอยู่ที่ 55.98 เยน