เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
แฟนคลับ VI
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คำถาม 1
ในงบกระแสเงินสดจะมีรายการ
SUPPLEMENTAL CASH FLOWS INFORMATION - CASH PAID DURING THE PERIOD FOR INTEREST
และ
SUPPLEMENTAL CASH FLOWS INFORMATION - CASH PAID DURING THE PERIOD FOR TAX
ทำไม interest paid กับ tax paid ไม่เท่ากับในงบกำไรขาดทุนครับ แล้วเพราะอะไรตัวเลขถึงได้ต่างกันครับ

คำถาม 2
การเปลี่ยนแปลงใน Working Capital ใช้ตัวเลขใน งบดุลหรืองบกระแสเงินสดครับ
ปกติเวลาผมคำนวณจะใช้ในงบดุลคือเอา Working Capital = Current assets - Current liabilities
หาได้ 2 ปีแล้วก็เอามาลบกัน ก็จะได้ ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงของ Working Capital

แต่เผอิญไปเห็น ในงบกระแสเงินสดด้วยครับ คือ
OPERATING ASSETS (INCREASE) DECREASE และ
OPERATING LIABILITIES INCREASE (DECREASE)
ถ้าเราเอาตัวเลข OPERATING ASSETS (INCREASE) DECREASE
มาลบกับ OPERATING LIABILITIES INCREASE (DECREASE)
ก็จะได้ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงของ Working Capital เหมือนกัน แต่ทำไมตัวเลขไม่เท่ากัน
ไม่ทราบว่าคำนวณอย่างไหนถูกครับ แล้วทำไมตัวเลขที่ได้ออกมาถึงไม่เท่ากันครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ตอบคำถามที่ 1

Interest paid กับ tax paid อยู่ในงบกำไรขาดทุนครับ

เหตุผลที่มันอาจจะไม่เท่ากันก็เนื่องจากในงบกำไรขาดทุนเป็นเกณฑ์สิทธิ (accrual basis) เช่นเมื่อบริษัทมีกำไร 100 บาท ก็ต้องมีการคำนวนว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ โดยจะทำการ credit ที่ภาษีค้างจ่าย (อยู่ในฝั่งหนี้สิน) และ debit ภาษีจ่าย ทั้งๆ ที่อาจจะไม่ได้จ่ายภาษีออกไปจริงๆ

ในขณะที่งบกระแสเงินสดยึดตามเงินสดที่จ่ายออกไปจริงต้องจ่ายให้กรมสรรพากรจริงๆ เท่านั้นจึงจะปรากฎอยู่ในงบกระแสเงินสด

Interest paid ก็เหมือนกัน

ตอบคำถามที่ 2

ตามปกติน่าจะกระทบยอดกันได้พอดีจากในงบดุลและงบกระแสเงินสด อาจเป็นไปได้ว่ายอดที่ใช้ในการคำนวนมีบางรายการไม่ตรงกันเช่นอาจไม่ได้รวมสินทรัพย์หมุนเวียนบางตัวครับ

ขอตัวอย่างของจริงคงจะอธิบายได้ชัดเจนกว่านี้ครับ

หวังว่าคงช่วยได้บ้างนะครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
แฟนคลับ VI
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับคุณ ayethebing กรุณา
ช่วยยกตัวอย่างการคำนวณ Working Capital ของ WG ให้ดูหน่อยครับ
.........................................................................................พ.ศ. 2546...................พ.ศ. 2545
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด.................................. 12,516,818..................6,857,983
เงินลงทุนชั่วคราว........................................................188,000,000..............121,678,430
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ......................................................153,271,118..............151,415,511
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและเงินทดรองแก่บริษัทย่อย.................................0...................................0
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ....................................................100,224,950.................94,092,809
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น.......................................................5,262,836...................3,784,999
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน................................................459,275,722...............377,829,732
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร....................................................2,449,048.....................1,793,673
เจ้าหนี้การค้า..................................................................81,542,935...................80,534,178
ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย...............................................7,734,211......................7,303,521
หนี้สินหมุนเวียนอื่น.........................................................30,463,190...................27,431,059
รวมหนี้สินหมุนเวียน....................................................122,189,384..................117,062,431
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน
ลูกหนี้การค้า(เพิ่มขึ้น)ลดลง............................................-1,531,705........................5,916,012
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและเงินทดรอง
แก่บริษัทย่อยลดลง(เพิ่มขึ้น)ลดลง...............................0.......................................0
สินค้าคงเหลือ(เพิ่มขึ้น)ลดลง..........................................-6,515,767......................10,769,501
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น(เพิ่มขึ้น)......................................-6,096,087..........................-363,617
สินทรัพย์อื่นลดลง.......................................................... 5,307,605....................................190
เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น....................................................... 1,040,227.........................7,501,458
ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่ายเพิ่มขึ้น..................................430,691............................1,665,604
หนี้สินหมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น...............................................3,030,839............................514,155
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สินทรัพย์หมุนเวียน

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 12,516,818 6,857,983
เงินลงทุนชั่วคราว 188,000,000 121,678,430
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 153,271,118 151,415,511
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและเงินทดรองแก่บริษัทย่อย - -
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ 100,224,950 94,092,809
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 5,262,836 3,784,999

รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 459,275,722 377,829,732

หนี้สินหมุนเวียน

เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร 2,449,048 1,793,673
เจ้าหนี้การค้า 81,542,935 80,534,178
ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 7,734,211 7,303,521
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 30,463,190 27,431,059

รวมหนี้สินหมุนเวียน 122,189,384 117,062,431

การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน
ลูกหนี้การค้า(เพิ่มขึ้น)ลดลง -1,531,705 5,916,012
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและเงินทดรอง
แก่บริษัทย่อยลดลง(เพิ่มขึ้น)ลดลง 0 0
สินค้าคงเหลือ(เพิ่มขึ้น)ลดลง -6,515,767 10,769,501
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น(เพิ่มขึ้น) -6,096,087 -363,617
สินทรัพย์อื่นลดลง 5,307,605 190
เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,040,227 7,501,458
ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่ายเพิ่มขึ้น 430,691 1,665,604
หนี้สินหมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 3,030,839 514,155
เอาอันนี้ไปแปะลง Microsoft Excel คำนวณครับ
แฟนคลับ VI
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เป็นงบการเงินปีของ WG ครับ
น้องใหม่ VI
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

แล้วอย่างถ้าเราเจาะเป็นรายการๆ ไปเช่น
ผมยกตัวอย่างงบปีของ WG

ในงบดุล.................................. พ.ศ. 2546.................... พ.ศ. 2545
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ............. 153,271,118...............151,415,511

เอามาลบกันได้ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น...1,855,607

ในงบกระแสเงินสด.................... พ.ศ. 2546
ลูกหนี้การค้า(เพิ่มขึ้น)...............-1,531,705

ทำไมได้ไม่เท่ากันล่ะครับในงบดุลลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น.....1,855,607
แต่ในงบกระแสเงินสดลูกหนี้การค้ากลับเพิ่มขึ้น...............1,531,705
น้องใหม่ VI
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

แฟนคลับ VI = น้องใหม่ VI นะครับ
สมัครสมาชิกแล้ว
สวัสดีเพื่อนๆทุกๆคนครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขออธิบายน้องใหม่นะครับ

การที่บริษัทลงบันทึกในงบดุลรายการลูกหนี้การค้านั้นจริงๆแล้วเป็นรายการลูกหนี้การค้าสุทธิ ซึ่งก็คือลูกหนี้การค้าทั้งหมดหักสำรองหนี้สงสัยจะสูญครับ

การคำนวณนั้นซับซ้อนนิดหนึ่งครับ ต้องพิจารณาจากรายการหนี้สงสัยจะสูญก่อน

งวดต้นปี บริษัทมีหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 6,174,267 บาท
ระหว่างปีบริษัทลดรายการสำรองลงจำนวน 323,902 บาท
งวดปลายปี บริษัทเหลือหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 5,724,640 บาท

ดังนั้นเมื่อหักลบกันแล้ว เราก็จะได้ว่าระหว่างปีบริษัทได้ตัดหนี้สูญไปจำนวน 125,725 บาท

เมื่อกลับมารายการลูกหนี้การค้า

งวดต้นปี บริษัทมีลูกหนี้การค้าจำนวน 157,589,778 บาท
ระหว่างปีมีการตัดลูกหนี้การค้าออกเป็นหนี้สูญ (จากการคำนวณ) จำนวน 125,725 บาท
ปลายปี บริษัทมีลูกหนี้การค้าจำนวน 158,995,758 บาท

เมื่อหักลบกันแล้ว เราจะได้ว่าบริษัทมีลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นจำนวน 1,531,705 บาท ซึ่งตรงกับในงบกระแสเงินสดครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ดูแล้วงงจริงๆ เผอิญผมไม่มีงบตัวเต็มของ WG พร้อมกับหมายเหตุประกอบงบของปี 46 ครับ หาจากที่ไหนดีครับ ใน set มีแต่งบไตรมาสหนึ่ง

ผมสงสัยว่าลูกหนี้การค้าและสินค้าคงคลัง สุทธิ จะมีการคิดการเผื่อการด้อยค่า่ที่ไม่เท่ากันใรสองปีครับ อาจจะเป็นเหตุให้ค่าที่คำนวนแตกต่างกันได้

อันนี้ก็ยังเดาอยู่เพราะตัวเลขอื่นๆ ก็ไม่ตรงเหมือนกัน เลยสงสัยมากๆ เช่นเจ้าหนี้การค้าเป็นต้น ที่ตรงกันมีค่าเดียวคือภาษีค้างจ่าย

หรือคุณ chatchai เจ้าพ่องบการเงินและคุ้นเคยกับ wg จะตอบได้ตรงประเด็นมากๆ กว่าผมกระมัง
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

รายการสินค้าคงคลังก็เช่นเดียวกับรายการลูกหนี้การค้าครับ

รายการสินค้าคงคลังในงบดุลนั้นเป็นสินค้าคงคลังสุทธิที่หักการตั้งสำรองการเสื่อมสภาพแล้ว การคำนวณก็ต้องแยกเป็นสองรายการเช่นเดียวกับลูกหนี้การค้าครับ

เริ่มจากรายการการตั้งสำรองค่าเสื่อมสภาพก่อน

ต้นปี บริษัทมีการตั้งสำรองจำนวน 7,887,296 บาท
ระหว่างปีมีการตั้งสำรองเพิ่มจำนวน 383,626 บาท
ปลายปี บริทมีการตั้งสำรองจำนวน 5,974,402 บาท

เมื่อหักลบกันแล้ว เราจะคำนวณจำนวนสินค้าที่บริษัทตัดจำหน่ายออก จำนวน 2,296,520 บาท

รายการสินค้าคงคลัง

ต้นปี บริษัทมีสินค้าคงคลังจำนวน 101,980,105 บาท
ปลายปี บริษัทมีสินค้าคงคลังจำนวน 106,199,352 บาท
จากการคำนวณข้างต้น เราได้จำนวนที่บริษัทตัดจำหน่ายระหว่างปีจำนวน 2,296,520 บาท

เมื่อคำนวณแล้ว เราก็จะได้ว่าบริษัทเพิ่มสินค้าคงคลังจำนวน 6,515,767 บาท ซึ่งตรงกับตัวเลขในงบกระแสเงินสด
น้องใหม่ VI
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ยากเหมือนกันแฮะ โห กว่าจะเข้าใจเล่นเอาเหนื่อยเลยครับ
ขอบคุณพี่ chatchai ครับได้พอได้แนวแล้ว
น้องใหม่ VI
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับความต่างของงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ชื่อว่า ayethebing แปลว่าอะไรครับ

ผมดาวโหลดงบ WG จาก http://www.sec.or.th/

พี่ ayethebing พี่ chatchai ถ้าเห็นแบบนี้แล้ว เราควรคำนวณ Working Capital ด้วยงบไหนดีครับ
ควรใช้เกณท์สิทธิหรือเกณท์เงินสดดีครับ
แล้วพี่ใช้สูตรนี้คำนวณ FCF ใช่ไหม (ตอนนี้ยังงงกับ หา Working Capital อยู่ครับ)
FCF = EBIT(1-t) + D + A Capex Add Working Capital
ล็อคหัวข้อ