ได้คำตอบมาในลักษณะนี้ ซึ่งคล้ายๆกับของคุณ nanakorn
ถามต่อนะครับ ผมไม่แน่ใจข้อ 3 สรุปแบบนี้ได้มั้ยครับยามที่เกิดภาวะขาดดุล จะทำให้ความต้องการเงินสกุลหลัก ( US$ ) จะสูงกว่าปริมาณเงินสกุลหลักในประเทศ เพราะเกิดจากการนำเข้ามาก แต่การส่งออกน้อย การนำเข้าจากต่างประเทศ จะต้องเอาเงินบาทไปซื้อเงินดอลล่าร์ เพื่อไปชำระสินค้าต่างประเทศ ดังนั้น ความต้องการเงินสกุลหลักจะสูงมาก ขณะที่ปริมาณเงินสกุลหลักจะมีน้อย เพราะการส่งออกต่ำ ส่งผลให้ ค่าเงินสกุลหลักแข็งค่าขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง จึงส่งผลให้
1 การนำเข้าลดลง ราคาสินค้าต่างประเทศจะแพงขึ้น
2 การส่งออกจะเพิ่มขึ้น ในสายตาต่างชาติ สินค้าไทยจะถูกลง
3 เงินทุนไหลเข้า ราคาสินทรัพย์ของประเทศมีราคาถูกลง
กรณีนี้จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อ ค่าเงินบาทจะต้องเคลื่อนไหวเสรี เพราะถ้าค่าเงินบาทไม่อ่อนลง หรือมีการ Fixed ค่าเงินก็จะไม่สามารถทำให้เกิดการลดลงของการขาดดุล ดังนั้น สำนัก Classic จึงเชื่อว่า ถ้าปล่อยให้ค่าเงินบาทอ่อนลง โอกาสที่จะขาดดุลก็จะลดลง
เนื่องจากเงินสกุลหลักแข็งค่าขึ้นดังนั้นจึงสามารถซื้อสินทรัพย์ของประเทศที่ค่าเงินอ่อนได้มากขึ้น โดยใช้จำนวนเงินเท่าเดิม
(สินทรัพย์ของประเทศที่ค่าเงินอ่อนมีราคาถูกลง ในสายตาเจ้าของสกุลเงินหลัก)
ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้า และการขาดดุลจะเริ่มลดลง