ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 1
มันเป็นไปได้หรือ ??
คนที่คุณก็รู้ว่าใคร.... หุ้นที่คุณก็รู้ว่าตัวไหน.....
ไม่ได้มาแนะนำให้ลงทุนนะ... ผมเองก็ขายออกไปบางส่วนแล้ว
เพียงแต่มายืนยันเรื่องราวในอดีต
ดูเอาเองละกันว่า P/E ต่ำกว่า 1 เท่านะ มันเป็นไปได้จริงไหม
หุ้นตัวนี้ EPS ปีนี้น่าจะ 0.7 บาท .... ใครที่ซื้อได้ต่ำกว่า 0.7 ก็คือซื้อลงทุนได้ที่ P/E ต่ำกว่า 1 เท่า
และ การได้ลงทุนในหุ้นที่ P/E ต่ำกว่า 1 เท่า มันเป็นเรื่องที่โอกาสน้อย
น่าจะเป็นสิ่งที่แม้แต่ วอเรน บัฟเฟต์ ก็อาจไม่เคยทำได้ 555
ใครเคยลงทุน P/E ต่ำกว่า 1 ได้ ก็มาเล่าๆ ให้ฟังหน่อยครับ
บริษัท ปรีชากรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 100,490 (7,910) 86,885 (23,316)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.30 (0.02) 0.26 (0.07)
คนที่คุณก็รู้ว่าใคร.... หุ้นที่คุณก็รู้ว่าตัวไหน.....
ไม่ได้มาแนะนำให้ลงทุนนะ... ผมเองก็ขายออกไปบางส่วนแล้ว
เพียงแต่มายืนยันเรื่องราวในอดีต
ดูเอาเองละกันว่า P/E ต่ำกว่า 1 เท่านะ มันเป็นไปได้จริงไหม
หุ้นตัวนี้ EPS ปีนี้น่าจะ 0.7 บาท .... ใครที่ซื้อได้ต่ำกว่า 0.7 ก็คือซื้อลงทุนได้ที่ P/E ต่ำกว่า 1 เท่า
และ การได้ลงทุนในหุ้นที่ P/E ต่ำกว่า 1 เท่า มันเป็นเรื่องที่โอกาสน้อย
น่าจะเป็นสิ่งที่แม้แต่ วอเรน บัฟเฟต์ ก็อาจไม่เคยทำได้ 555
ใครเคยลงทุน P/E ต่ำกว่า 1 ได้ ก็มาเล่าๆ ให้ฟังหน่อยครับ
บริษัท ปรีชากรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 100,490 (7,910) 86,885 (23,316)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.30 (0.02) 0.26 (0.07)
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 4
อ้าว...ก็ EPS คาดการณ์ปีนี้อยู่ที่ 0.7 บาท
ราคาหุ้นต้นปีที่ 0.4 กลางปีที่ 0.56-0.60 บาท
ประกาศงบเสร็จ ราคาหุ้นวิ่งกระโดด...
แต่คนที่ซื้อตั้งแต่ต้นปี จนถึง ก่อนประกาศงบนี่ ก็คือ ได้ซื้อลงทุนหุ้นที่ P/E คาดการณ์ต่ำกว่า 1 เท่า..... ซึ่งเป็นเรื่องยากมากๆ
วอเรน บัฟเฟต์ ไม่รู้เคยทำได้หรือเปล่า.... แอบภูมิใจเล็กๆ ครับ
ถึงจะไม่ยั่งยืนก็เถอะ
ราคาหุ้นต้นปีที่ 0.4 กลางปีที่ 0.56-0.60 บาท
ประกาศงบเสร็จ ราคาหุ้นวิ่งกระโดด...
แต่คนที่ซื้อตั้งแต่ต้นปี จนถึง ก่อนประกาศงบนี่ ก็คือ ได้ซื้อลงทุนหุ้นที่ P/E คาดการณ์ต่ำกว่า 1 เท่า..... ซึ่งเป็นเรื่องยากมากๆ
วอเรน บัฟเฟต์ ไม่รู้เคยทำได้หรือเปล่า.... แอบภูมิใจเล็กๆ ครับ
ถึงจะไม่ยั่งยืนก็เถอะ
- nasesus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1278
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 5
สืบเนื่องจากกระทู้นี้หรือเปล่าครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... highlight=
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... highlight=
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 6
ก็นั่นละครับ ผมก็ผิด ขอโทษด้วยครับ
สำหรับบริษัทนี้ ทำให้ผมเรียนรู้ดังนี้
1. การสร้างคอนโดสูงๆ ต้องใช้เวลานานกว่าจะรับรู้รายได้ และ ระหว่างทางนั้นต้องสร้างหนี้เพิ่มมหาศาล ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์ของ PS หมุนรอบได้เร็วกว่ามากเลย
2. ผู้บริหารมองการขายบ้านแนวราบ ในทิศทางที่สวยหรูเกินจริงมากๆ ดีมานด์ของผู้คนได้เปลี่ยนไปแล้ว
อย่างน้อยผมก็ยังภูมิใจอยู่ 3 เรื่อง
1. ได้เคยลงทุนหุ้นที่ p/e ต่ำกว่า 1 เท่า
2. ได้เคยคาดการณ์วิกฤติศก.ครั้งนี้ตามบทความ "เตือนภัยสึนามิทางศก." ปี 2548 และ เป็นคนตั้งชื่อให้ "วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์" เอง
3. ได้คิดค้นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก เพื่อแก้ไขปัญหาศก.โดยไม่เป็นภาระการคลัง .. โดยใช้หลักการยืมพลัง
และจากข้อนี้เอง ผมเข้ามาที่นี่อีกครั้ง เพื่อหาแนวร่วมที่จะค้านแนวคิด การจัดตั้ง กอช. เพราะ มันขัดแย้งกับการฟื้นฟูศก.ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊กนั่นเองครับ
สำหรับบริษัทนี้ ทำให้ผมเรียนรู้ดังนี้
1. การสร้างคอนโดสูงๆ ต้องใช้เวลานานกว่าจะรับรู้รายได้ และ ระหว่างทางนั้นต้องสร้างหนี้เพิ่มมหาศาล ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์ของ PS หมุนรอบได้เร็วกว่ามากเลย
2. ผู้บริหารมองการขายบ้านแนวราบ ในทิศทางที่สวยหรูเกินจริงมากๆ ดีมานด์ของผู้คนได้เปลี่ยนไปแล้ว
อย่างน้อยผมก็ยังภูมิใจอยู่ 3 เรื่อง
1. ได้เคยลงทุนหุ้นที่ p/e ต่ำกว่า 1 เท่า
2. ได้เคยคาดการณ์วิกฤติศก.ครั้งนี้ตามบทความ "เตือนภัยสึนามิทางศก." ปี 2548 และ เป็นคนตั้งชื่อให้ "วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์" เอง
3. ได้คิดค้นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก เพื่อแก้ไขปัญหาศก.โดยไม่เป็นภาระการคลัง .. โดยใช้หลักการยืมพลัง
และจากข้อนี้เอง ผมเข้ามาที่นี่อีกครั้ง เพื่อหาแนวร่วมที่จะค้านแนวคิด การจัดตั้ง กอช. เพราะ มันขัดแย้งกับการฟื้นฟูศก.ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊กนั่นเองครับ
- Alastor
- Verified User
- โพสต์: 2590
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 7
อ้อ นึกว่าใคร :lol:nasesus เขียน:สืบเนื่องจากกระทู้นี้หรือเปล่าครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... highlight=
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1063
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 11
เคยมีโอกาสอ่านกระทู้คุณเฟยหงครั้งนึงประมาณปี 49 ที่ Fed มีการขึ้นดอก
เบี้ยต่อเนื่อง
ในเมื่อเงินเฟ้อ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันน่าจะมาจากสินค้า commodity โดยเฉพาะน้ำมันขึ้นมาสูง หรือว่าง่ายๆ เกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น (cost push) นั่นเอง
การแก้ไขด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย... ไม่น่าจะช่วยสะกัดเงินเฟ้อแต่อย่างใด
ในทางตรงกันข้าม เป็นการเพิ่มภาระต้นทุนการเงินของทั้งภาคการคลัง ผู้ผลิต รวมไปถึง ภาระผ่อนของผูบริโภคด้วย
เรื่องแบบนี้ FED ก็น่าจะรู้ดี แต่มักเอาข้ออ้างว่าเพื่อสะกัดเงินเฟ้อ จึงต้องขึ้นดอกเบี้ย FED มีเบื้องหลังอะไรไหม
หากขึ้น ดอกเบี้ยต่อไปอีก นอกจาก inflation จะไม่ทุเลาแล้ว ศก.อาจเข้าสู่ภาวะชะงักงัน หรือรวมๆ แล้ว นำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงของ stagflation ได้...
ที่งงมากๆ ก็คือ ถ้าคิดจะขึ้น ดบ.ไปเรื่อยๆ อีกให้สูงกว่า 5% นอกจากจะไม่ช่วยเรื่องเงินเฟ้อแล้ว ศก.อาจเข้าสู่ภาวะ recession ได้ แล้ว FED ทำไปเพื่ออะไร ????
ถ้าไม่รบกวนมากอยากฟังคุณเฟยหงวิเคราะห์เพิ่มเติมครับ
เบี้ยต่อเนื่อง
ในเมื่อเงินเฟ้อ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันน่าจะมาจากสินค้า commodity โดยเฉพาะน้ำมันขึ้นมาสูง หรือว่าง่ายๆ เกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น (cost push) นั่นเอง
การแก้ไขด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย... ไม่น่าจะช่วยสะกัดเงินเฟ้อแต่อย่างใด
ในทางตรงกันข้าม เป็นการเพิ่มภาระต้นทุนการเงินของทั้งภาคการคลัง ผู้ผลิต รวมไปถึง ภาระผ่อนของผูบริโภคด้วย
เรื่องแบบนี้ FED ก็น่าจะรู้ดี แต่มักเอาข้ออ้างว่าเพื่อสะกัดเงินเฟ้อ จึงต้องขึ้นดอกเบี้ย FED มีเบื้องหลังอะไรไหม
หากขึ้น ดอกเบี้ยต่อไปอีก นอกจาก inflation จะไม่ทุเลาแล้ว ศก.อาจเข้าสู่ภาวะชะงักงัน หรือรวมๆ แล้ว นำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงของ stagflation ได้...
ที่งงมากๆ ก็คือ ถ้าคิดจะขึ้น ดบ.ไปเรื่อยๆ อีกให้สูงกว่า 5% นอกจากจะไม่ช่วยเรื่องเงินเฟ้อแล้ว ศก.อาจเข้าสู่ภาวะ recession ได้ แล้ว FED ทำไปเพื่ออะไร ????
ถ้าไม่รบกวนมากอยากฟังคุณเฟยหงวิเคราะห์เพิ่มเติมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 12
เป็นความผิดพลาดครั้งแรก...ของเบน เบอร์นันเก้ครับ
เขาขึ้น ดบ.เพื่อหวังสกัดเงินเฟ้อ และ การเก็งกำไรในตลาดอสังหาฯ
แต่คนที่ผิดแท้จริงก็คือ "กรีนสแปน"ต่างหาก ที่ไม่ตัดไฟแต่ต้นลม
การขึ้น ดบ.ครั้งหลังๆ ของ FED ทำให้ฟองสบู่ "อสังหาฯ" ของอเมริกา แตกลง และ ส่งผลถึงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ มาถึงวันนี้เลยครับ
ผมได้บอกเหมือนกันว่า ธปท.ไม่ควรขึ้น ดบ. เพราะ ราคาน้ำมันสูง มันไม่ช่วยอะไรเลย สุดท้าย ธปท.ก็ลดดบ.ลงอย่างเร็ว และ แรง ตาม FED ก็เพราะว่ามันไม่ช่วยอะไร...มันมีแต่ทำให้แย่ลง ยังโชคดีที่ไหวตัวกลับหลังหันทันนะครับ
เขาขึ้น ดบ.เพื่อหวังสกัดเงินเฟ้อ และ การเก็งกำไรในตลาดอสังหาฯ
แต่คนที่ผิดแท้จริงก็คือ "กรีนสแปน"ต่างหาก ที่ไม่ตัดไฟแต่ต้นลม
การขึ้น ดบ.ครั้งหลังๆ ของ FED ทำให้ฟองสบู่ "อสังหาฯ" ของอเมริกา แตกลง และ ส่งผลถึงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ มาถึงวันนี้เลยครับ
ผมได้บอกเหมือนกันว่า ธปท.ไม่ควรขึ้น ดบ. เพราะ ราคาน้ำมันสูง มันไม่ช่วยอะไรเลย สุดท้าย ธปท.ก็ลดดบ.ลงอย่างเร็ว และ แรง ตาม FED ก็เพราะว่ามันไม่ช่วยอะไร...มันมีแต่ทำให้แย่ลง ยังโชคดีที่ไหวตัวกลับหลังหันทันนะครับ
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 13
ที่เหลือคาดว่าจะขายออกเมื่อไหร่ครับอะไรดีละ เขียน:มันเป็นไปได้หรือ ??
คนที่คุณก็รู้ว่าใคร.... หุ้นที่คุณก็รู้ว่าตัวไหน.....
ไม่ได้มาแนะนำให้ลงทุนนะ... ผมเองก็ขายออกไปบางส่วนแล้ว
เพียงแต่มายืนยันเรื่องราวในอดีต
)
(แซวเล่น พอ ขำ ขำ)
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 21
อ้าวขอโทษที ...ขอตอบคุณ miracle นะ
ผมใส่ตัวแปรไว้แล้ว อธิบายไว้ด้วย เรือ่งนี้ใหม่มากๆ
ไม่ใช่ทั้ง classic และ เคนส์ จะสามารถปลดล็อคได้ทั้ง "กับดักสภาพคล่อง" และ "กับดักเคนส์"
อเมริกา...กองทุนบำนาญลงทุนอยู่ในหุ้น 50% อยู่แล้ว ดังนั้น การยืมพลังเพื่อมาลงทุนหุ้นนั้นก็คงทำได้ลำบากครับ
แต่คุณ miracle พอรู้ไหมว่า ไทยเรานั้นกองทุนำบาญลงทุนในหุ้นอยู่แค่ 7% เท่านั้น ผมก็บอกแล้วไงว่าค่อยๆ ขยับสัดส่วนการลงทุนเป็น 10% เป็น 15% เป็น 20% ไม่ใช่ขึ้นรวดเดียว การยกระดับแบบนี้เงินจะเข้าตลาดหุ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปราวปีละ 1 แสนกว่าล้านครับ
ลงทุนก็ย่อมมีความเสี่ยง เอาเป็นว่า ยุโรป กับ อเมริกา เขาเสี่ยงกันที่ระดับ 50% แต่ส่งที่ผมเสนอนั้นคือระดับ 20% เท่านั้น ไทยเรายังเสี่ยงน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับระดับสากลครับ
ถูกต้องเหรียญมันย่อมมี 2 ด้าน ผมไม่ได้บอกว่า ทฤษฎีของผมมัน perfect ทุกฝ่ายได้ประโยชน์....มันเป็นไปไมได้หรอก
ผมเพียงแต่บอกว่า ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊กนี้เป็น ทฤษฎีใหม่ ที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ เลือกใช้เพื่อปลดทั้ง "กับดักสภาพคล่อง" และ "กับดักเคนส์" ไปได้ครับ
ผมใส่ตัวแปรไว้แล้ว อธิบายไว้ด้วย เรือ่งนี้ใหม่มากๆ
ไม่ใช่ทั้ง classic และ เคนส์ จะสามารถปลดล็อคได้ทั้ง "กับดักสภาพคล่อง" และ "กับดักเคนส์"
อเมริกา...กองทุนบำนาญลงทุนอยู่ในหุ้น 50% อยู่แล้ว ดังนั้น การยืมพลังเพื่อมาลงทุนหุ้นนั้นก็คงทำได้ลำบากครับ
แต่คุณ miracle พอรู้ไหมว่า ไทยเรานั้นกองทุนำบาญลงทุนในหุ้นอยู่แค่ 7% เท่านั้น ผมก็บอกแล้วไงว่าค่อยๆ ขยับสัดส่วนการลงทุนเป็น 10% เป็น 15% เป็น 20% ไม่ใช่ขึ้นรวดเดียว การยกระดับแบบนี้เงินจะเข้าตลาดหุ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปราวปีละ 1 แสนกว่าล้านครับ
ลงทุนก็ย่อมมีความเสี่ยง เอาเป็นว่า ยุโรป กับ อเมริกา เขาเสี่ยงกันที่ระดับ 50% แต่ส่งที่ผมเสนอนั้นคือระดับ 20% เท่านั้น ไทยเรายังเสี่ยงน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับระดับสากลครับ
ถูกต้องเหรียญมันย่อมมี 2 ด้าน ผมไม่ได้บอกว่า ทฤษฎีของผมมัน perfect ทุกฝ่ายได้ประโยชน์....มันเป็นไปไมได้หรอก
ผมเพียงแต่บอกว่า ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊กนี้เป็น ทฤษฎีใหม่ ที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ เลือกใช้เพื่อปลดทั้ง "กับดักสภาพคล่อง" และ "กับดักเคนส์" ไปได้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 24
พูดไปตั้งหลายครั้ง ช่วยรับฟังด้วยครับ
ผมได้เขียนอธิบายตัวแปรทั้งหมดแล้ว ไปอ่านดูใหม่นะ
ก็บอกแล้วว่าของเดิมนั้น
จะติด "กับดักสภาพคล่อง" สำหรับสำนัก classic และ
จะติด "กับดักเคนส์" สำหรับสำนักเคนส์
ของใหม่ (เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก Taiji Econ.) จะปลดสลักกับดักทั้ง 2 นี้ได้ ... ก็เลยดีกว่า ณ ตอนนี้นะ...อนาคตก็คงมีอะไรใหม่ๆ มาแทนละครับ
แต่ตอนนี้ผมขอตั้งสำนัก "เศรษฐบู๊ตึ๊ง" ก่อน โดยมีเคล็ดวิชาหลัก "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" เท่มากๆ เลยเห็นไหมครับ
ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าไงครับ เสี่ยงสูงกว่าก็จริง เพราะผลตอบแทนจะแกว่ง แต่ในระยะยาวแล้ว ความเสี่ยงที่ว่าจะลดลง (คือลงทุนยาวๆ แล้วเฉลี่ยจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารการเงินประเภทอื่น)
และ กองทุนบำนาญ ก็เป็นการลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว เป้าหมายไม่ใช่เพื่อรักษาเงินต้นครับ...ไม่งั้น อเมริกา ยุโรป คงไม่ลงหุ้นกันถึง 50% หรอก
แล้วก็ไม่ใช่ว่าคนไทยขี้โกง พวกเขาซื่อสัตย์กว่าหรอกนะ...คนไทยส่วนใหญ่เป็นคนดีแน่แท้ รับรองได้ครับ
ไม่น่าเชื่อว่าจะต้องมาอธิบายเรื่องแบบนี้ให้กับนักลงทุนในตลาดหุ้นอย่างคุณ miracle ฟัง .... กองทุนบำนาญไม่ได้มีหน้าที่แค่รักษาเงินต้นครับ แต่มีหน้าที่บริหารได้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ และ ให้ได้ผลตอบแทนที่สูงสุดภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ต่างหากครับ
ผมไม่เชื่อแนวคิดทางตะวันตกหรอกทีเดียวหรอกนะ...ผมเชื่อว่าปรัชญาตะวันออกเหนือว่าด้วยซ้ำ
ที่จริงแล้ว ทฤษฎีเคนส์ หนังสือพิมพ์ออกมาปี 1936 ขณะที่ ญี่ปุ่นนั้นฟื้นศก.ด้วยแนวคิดการใช้นโยบายการคลัง โดย Mr.Takahashi รมว.คลังผู้ปราดเปรื่องขณะนั้น โดยใช้เวลาเพียง 1 ปี ตั้งแต่ปี 1932 ก็ฟื้น ศก.ญีปุ่นขึ้นมาได้อย่างสวยงาม จาก Great Depression ถ้าดูจากห้วงเวลาที่ต่างกันราว 3 ปีขนาดนี้ ทำให้ผมสงสัยมากๆ ว่า เป็นไปได้ไหมที่ "เคนส์" จะนำเอาแนวคิดการฟื้นตัว ศก.ของญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จโดยใช้นโยบายการคลังด้วยการกู้เงินไปใส่ไว้ในหนังสือนะครับ (คิดมากไปเปล่าครับ ??)
ที่จริงแล้ว ทฤษฎีต้องมีการพิสูจน์ครับ...ปัญหาก็คือ จะมีประเทศไหนบ้างไหมที่จะกล้าทดลองนำ "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ไปใช้ ผมก็หวังอยากให้ประเทไทยนำไปใช้ เพราะ 18 กระบวนท่าที่คิดนั้นก็ใช้ model ของ ศก.ไทยล้วนๆ
ถ้าฟื้นตัวได้สำเร็จ โดยรัฐบาลไม่เป็นหนี้เพิ่ม...นั่นก็คือ แนวคิดที่สวยหรูกว่าของเคนส์แล้วละครับ
อย่างไรก็ดีประเทศที่อาจสนใจเรื่องนี้ที่สุดก็อาจเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
"ญี่ปุ่น" ติดกับดักเคนส์มาถึง 16 ปีแล้ว ยังไม่รู้วิธีถอนตัวเลย
ส่วน "อเมริกา อังกฤษ" นั้น ติด "กับดักเคนส์" มาได้ 2 ปีแล้ว ยังหาทางออกไม่เจออีกเหมือนกัน เพราะหยุดกู้เงินมากระตุ้น ศก.เมื่อไหร่ ศก.จะถอยหลังกลับแน่....ก็เลยหยุดไมได้ หนี้สาธารณะท่วมครับ
และ ถ้า "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" ทำสำเร็จจริง คือ ฟื้น ศก.ได้โดยรัฐไม่ต้องก่อหนี้เพิ่ม....คุณคิดว่าทฤษฎีนี้สมควรได้รับ "โนเบล" สาขาเศรษฐศาสตร์ไหมครับ ??
ผมได้เขียนอธิบายตัวแปรทั้งหมดแล้ว ไปอ่านดูใหม่นะ
ก็บอกแล้วว่าของเดิมนั้น
จะติด "กับดักสภาพคล่อง" สำหรับสำนัก classic และ
จะติด "กับดักเคนส์" สำหรับสำนักเคนส์
ของใหม่ (เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก Taiji Econ.) จะปลดสลักกับดักทั้ง 2 นี้ได้ ... ก็เลยดีกว่า ณ ตอนนี้นะ...อนาคตก็คงมีอะไรใหม่ๆ มาแทนละครับ
แต่ตอนนี้ผมขอตั้งสำนัก "เศรษฐบู๊ตึ๊ง" ก่อน โดยมีเคล็ดวิชาหลัก "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" เท่มากๆ เลยเห็นไหมครับ
ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าไงครับ เสี่ยงสูงกว่าก็จริง เพราะผลตอบแทนจะแกว่ง แต่ในระยะยาวแล้ว ความเสี่ยงที่ว่าจะลดลง (คือลงทุนยาวๆ แล้วเฉลี่ยจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารการเงินประเภทอื่น)
และ กองทุนบำนาญ ก็เป็นการลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว เป้าหมายไม่ใช่เพื่อรักษาเงินต้นครับ...ไม่งั้น อเมริกา ยุโรป คงไม่ลงหุ้นกันถึง 50% หรอก
แล้วก็ไม่ใช่ว่าคนไทยขี้โกง พวกเขาซื่อสัตย์กว่าหรอกนะ...คนไทยส่วนใหญ่เป็นคนดีแน่แท้ รับรองได้ครับ
ไม่น่าเชื่อว่าจะต้องมาอธิบายเรื่องแบบนี้ให้กับนักลงทุนในตลาดหุ้นอย่างคุณ miracle ฟัง .... กองทุนบำนาญไม่ได้มีหน้าที่แค่รักษาเงินต้นครับ แต่มีหน้าที่บริหารได้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ และ ให้ได้ผลตอบแทนที่สูงสุดภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ต่างหากครับ
ผมไม่เชื่อแนวคิดทางตะวันตกหรอกทีเดียวหรอกนะ...ผมเชื่อว่าปรัชญาตะวันออกเหนือว่าด้วยซ้ำ
ที่จริงแล้ว ทฤษฎีเคนส์ หนังสือพิมพ์ออกมาปี 1936 ขณะที่ ญี่ปุ่นนั้นฟื้นศก.ด้วยแนวคิดการใช้นโยบายการคลัง โดย Mr.Takahashi รมว.คลังผู้ปราดเปรื่องขณะนั้น โดยใช้เวลาเพียง 1 ปี ตั้งแต่ปี 1932 ก็ฟื้น ศก.ญีปุ่นขึ้นมาได้อย่างสวยงาม จาก Great Depression ถ้าดูจากห้วงเวลาที่ต่างกันราว 3 ปีขนาดนี้ ทำให้ผมสงสัยมากๆ ว่า เป็นไปได้ไหมที่ "เคนส์" จะนำเอาแนวคิดการฟื้นตัว ศก.ของญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จโดยใช้นโยบายการคลังด้วยการกู้เงินไปใส่ไว้ในหนังสือนะครับ (คิดมากไปเปล่าครับ ??)
ที่จริงแล้ว ทฤษฎีต้องมีการพิสูจน์ครับ...ปัญหาก็คือ จะมีประเทศไหนบ้างไหมที่จะกล้าทดลองนำ "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ไปใช้ ผมก็หวังอยากให้ประเทไทยนำไปใช้ เพราะ 18 กระบวนท่าที่คิดนั้นก็ใช้ model ของ ศก.ไทยล้วนๆ
ถ้าฟื้นตัวได้สำเร็จ โดยรัฐบาลไม่เป็นหนี้เพิ่ม...นั่นก็คือ แนวคิดที่สวยหรูกว่าของเคนส์แล้วละครับ
อย่างไรก็ดีประเทศที่อาจสนใจเรื่องนี้ที่สุดก็อาจเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
"ญี่ปุ่น" ติดกับดักเคนส์มาถึง 16 ปีแล้ว ยังไม่รู้วิธีถอนตัวเลย
ส่วน "อเมริกา อังกฤษ" นั้น ติด "กับดักเคนส์" มาได้ 2 ปีแล้ว ยังหาทางออกไม่เจออีกเหมือนกัน เพราะหยุดกู้เงินมากระตุ้น ศก.เมื่อไหร่ ศก.จะถอยหลังกลับแน่....ก็เลยหยุดไมได้ หนี้สาธารณะท่วมครับ
และ ถ้า "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" ทำสำเร็จจริง คือ ฟื้น ศก.ได้โดยรัฐไม่ต้องก่อหนี้เพิ่ม....คุณคิดว่าทฤษฎีนี้สมควรได้รับ "โนเบล" สาขาเศรษฐศาสตร์ไหมครับ ??
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 25
สำหรับคุณ miracle ถ้าแน่จริง ก็คิด ทฤษฎีคิดมาสิครับ
ที่ไม่ใช้นโยบายการเงิน การคลัง อัตราแลกเปลี่ยน
และ สามารถฟื้น ศก.ได้ โดยรัฐบาลไม่ต้องกู้... แต่ไม่ใช่ลอกความคิดผมนะ
ผมรอดูอยู่ครับ...เชื่อว่าจะมีคนชื่นชมมากๆ
ผมจะปรบมือให้เลยละครับ.....
ที่ไม่ใช้นโยบายการเงิน การคลัง อัตราแลกเปลี่ยน
และ สามารถฟื้น ศก.ได้ โดยรัฐบาลไม่ต้องกู้... แต่ไม่ใช่ลอกความคิดผมนะ
ผมรอดูอยู่ครับ...เชื่อว่าจะมีคนชื่นชมมากๆ
ผมจะปรบมือให้เลยละครับ.....
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 26
คุณอะไรก็ดี อาจจะลำคาญผมหน่อยล่ะกัน
แต่ไม่เป็นไรหรอก ผมแค่ถามดูว่าทฤษฏีมันดีหรือไม่ดี เท่านั้นเอง
เรื่องที่ผม บอกเรื่องตัวแปรไปนั้น มันมีนิยมทั้งหมด แต่
สิ่งที่ผมสงสัยคือ (G-T) อันนี้ ผมไม่เคยเห็น
และตัว T ที่อ้างอิงนี้คืออะไร หรือ
ส่วนตัว Y นั้นคือ GDP หรือเปล่า ที่บอกว่าตัวแปรไม่อธิบาย
ส่วนที่ผมสงสัยต่อคือการหาค่าสัมประสิทธิ์ทั้งสามตัว คือ x,yและz ที่มาจากสมการของคุณมันหามาจากไหน
แล้วอีกสามตัวแปรที่เหลือ คือ A,R และ L คืออะไร
จาก
แต่ไม่เป็นไรหรอก ผมแค่ถามดูว่าทฤษฏีมันดีหรือไม่ดี เท่านั้นเอง
เรื่องที่ผม บอกเรื่องตัวแปรไปนั้น มันมีนิยมทั้งหมด แต่
สิ่งที่ผมสงสัยคือ (G-T) อันนี้ ผมไม่เคยเห็น
และตัว T ที่อ้างอิงนี้คืออะไร หรือ
ส่วนตัว Y นั้นคือ GDP หรือเปล่า ที่บอกว่าตัวแปรไม่อธิบาย
ส่วนที่ผมสงสัยต่อคือการหาค่าสัมประสิทธิ์ทั้งสามตัว คือ x,yและz ที่มาจากสมการของคุณมันหามาจากไหน
แล้วอีกสามตัวแปรที่เหลือ คือ A,R และ L คืออะไร
จาก
Y = C+I+ (X-M) + (G-T) + (PB-PC)+ xA+ yR+ zL
โดย PB คือ ผลประโยชน์จากกองทุนบำนาญ PC การจ่ายเงินสมทบกองทุนบำนาญ
x,y,z คือ สัมประสิทธิ์ที่เป็นบวก A คือ มูลค่าทรัพย์สินที่เปลี่ยนแปลง R คือ คนต่างด้าวที่มาพำนักอาศัยในไทย และ L คือ ยอดสินเชื่อที่เปลี่ยนแปลง
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 27
T คือ ภาษี ครับ แยกออกมาให้เห็นชัดๆ
C จากสมการปกติที่จริงแล้ว ก็คือ C-T นั่นเอง คือ การบริโภคสุทธิจากการโดนหักภาษีแล้วครับผม
สมการที่ใส่เข้ามาก็ไม่ใช่เพื่อให้ไปหา GDP ตามนั้นครับ แต่เพื่อประโยชน์ในการใช้งานเพื่อกำหนดนโยบายที่นอกเหนือจากการคลัง การเงินครับ
A,R,L ก็คือตามนั้นเลย เรารู้ๆ กันอยู่แล้ว ว่า ค่าพวกนี้ถ้าเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ GDP เพิ่มครับ หุ้นขึ้นทำให้ GDP เพิ่ม, คนเกษียณและแรงงานต่างด้าวเพิ่มจะทำให้ GDP เพิ่ม, สินเชื่อเพิ่มทำให้ GDP เพิ่ม และ การลดเงินสมทบกองทุนบำนาญจะทำให้ GDP เพิ่ม เป็นต้น แต่เรื่องพวกนี้ไม่เคยมีอยู่สมการ GDP ทำให้เรามองข้ามนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยรัฐบาลโดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณตรงๆ ครับ
สินทรัพย์ราคาหุ้น อสังหาฯ สูงขึ้น เราก็รู้อยู๋ว่าจะทำให้ GDP เพิ่มตามด้วย เป็นสัดส่วนราว 10% (สำหรับอเมริกา)
ปีก่อน สินทรัพย์ที่นั่นลดลงราว 14 ล้านล้านเหรียญ ดังนั้น มีผลทำให้ GDP ลดลงราว 10%.... ก็เลยต้องใช้ G มากระตุ้น ปีนี้ขาดดุลราว 12% GDP เพื่อพยุงไม่ให้ ศก.ติดลบ.... ง่ายๆ เลยเล่นกันแบบนี้
เมื่อเราแยกตัวแปรแบบนี้ออกมาก็จะเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่า "สมการ GDP อย่างง่าย" ที่ใช้กันมาตลอดครับ
และนี่เป็นที่มาของ "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" โดยสำนัก "เศรษฐศาสตร์บู๊ตึ๊ง" ส่วนเจ้าสำนักเป็นใครนะหรือ....อืมม์...ครับ
C จากสมการปกติที่จริงแล้ว ก็คือ C-T นั่นเอง คือ การบริโภคสุทธิจากการโดนหักภาษีแล้วครับผม
สมการที่ใส่เข้ามาก็ไม่ใช่เพื่อให้ไปหา GDP ตามนั้นครับ แต่เพื่อประโยชน์ในการใช้งานเพื่อกำหนดนโยบายที่นอกเหนือจากการคลัง การเงินครับ
A,R,L ก็คือตามนั้นเลย เรารู้ๆ กันอยู่แล้ว ว่า ค่าพวกนี้ถ้าเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ GDP เพิ่มครับ หุ้นขึ้นทำให้ GDP เพิ่ม, คนเกษียณและแรงงานต่างด้าวเพิ่มจะทำให้ GDP เพิ่ม, สินเชื่อเพิ่มทำให้ GDP เพิ่ม และ การลดเงินสมทบกองทุนบำนาญจะทำให้ GDP เพิ่ม เป็นต้น แต่เรื่องพวกนี้ไม่เคยมีอยู่สมการ GDP ทำให้เรามองข้ามนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยรัฐบาลโดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณตรงๆ ครับ
สินทรัพย์ราคาหุ้น อสังหาฯ สูงขึ้น เราก็รู้อยู๋ว่าจะทำให้ GDP เพิ่มตามด้วย เป็นสัดส่วนราว 10% (สำหรับอเมริกา)
ปีก่อน สินทรัพย์ที่นั่นลดลงราว 14 ล้านล้านเหรียญ ดังนั้น มีผลทำให้ GDP ลดลงราว 10%.... ก็เลยต้องใช้ G มากระตุ้น ปีนี้ขาดดุลราว 12% GDP เพื่อพยุงไม่ให้ ศก.ติดลบ.... ง่ายๆ เลยเล่นกันแบบนี้
เมื่อเราแยกตัวแปรแบบนี้ออกมาก็จะเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่า "สมการ GDP อย่างง่าย" ที่ใช้กันมาตลอดครับ
และนี่เป็นที่มาของ "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" โดยสำนัก "เศรษฐศาสตร์บู๊ตึ๊ง" ส่วนเจ้าสำนักเป็นใครนะหรือ....อืมม์...ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 28
คุณอะไรก็ดีไม่ได้ตอบผมเรื่อง ค่า x,y และ z หามาจากไหน
ส่วน A การเปลี่ยนแปลงในรอบอะไรครับ
10 ปี 1 ปี หรือ 1 เดือนครับ
L ยอดสินเชื่อ สินเชื่อประเภทไหนที่นำมาคิด
อาจจะเป็นภาพละเอียดไปหน่อย
ก็ต้องถามเพราะได้ทำความเข้าใจกันใ้หุ้ถูกต้อง
ไม่หลุดกันไปไหน
ส่วน A การเปลี่ยนแปลงในรอบอะไรครับ
10 ปี 1 ปี หรือ 1 เดือนครับ
L ยอดสินเชื่อ สินเชื่อประเภทไหนที่นำมาคิด
อาจจะเป็นภาพละเอียดไปหน่อย
ก็ต้องถามเพราะได้ทำความเข้าใจกันใ้หุ้ถูกต้อง
ไม่หลุดกันไปไหน
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยหุ้น P/E ต่ำกว่า 1
โพสต์ที่ 29
x,y,z แต่ละประเทศก็แตกต่างกันไปครับ
แต่มีผลกระทบทางบวก ต่อ GDP
เช่น เรารู้ว่า หุ้นขึ้นจะทำให้คนบริโภคได้มากขึ้น GDP จะปรับขึ้น
แต่สมการเดิมนั้น ไม่เคยมีบอกไว้เลยว่า หุ้นขึ้นจะมีผลอย่างไรต่อ GDP ผมก็ใส่เข้าไปเพื่อเราจะได้กำหนดนโยบายได้รอบด้านขึ้น กว่าการเงิน การคลัง
L ก็คือสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นนั่นแหละครับ...
แต่มีผลกระทบทางบวก ต่อ GDP
เช่น เรารู้ว่า หุ้นขึ้นจะทำให้คนบริโภคได้มากขึ้น GDP จะปรับขึ้น
แต่สมการเดิมนั้น ไม่เคยมีบอกไว้เลยว่า หุ้นขึ้นจะมีผลอย่างไรต่อ GDP ผมก็ใส่เข้าไปเพื่อเราจะได้กำหนดนโยบายได้รอบด้านขึ้น กว่าการเงิน การคลัง
L ก็คือสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นนั่นแหละครับ...