โปรดระวังค่าเงินยูโร
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 1
ประเทศริมขอบยูโรโซน ...หลายๆ ประเทศมีปัญหามากๆ เชื่อว่าจะไม่สามารถรักษาระบบ "ยูโร" เอาไว้ได้ ภายในครึ่งปีแรกหน้านี้จะมีปัญหาแน่
ผมได้เขียนบทความไว้อันหนึ่ง....เชื่อว่าจะเป็นปัญหาต่อราคาน้ำมัน ทองคำ และ ตลาดหุ้นในอนาคตครึ่งปีหน้าอย่างแน่นอน
หากค่าเงิน"ยูโร" ลดลง 20% คือ กำลังซื้อโลกอาจลงราว 5-6% ได้ง่ายๆ เลย เตรียมใจไว้เลยครับ
กับดักเงินยูโร
เงินยูโร เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม คศ.1999 คือ สกุลเงินที่ประเทศในเขตยูโรโซนปัจจุบันมี 16 ประเทศจากสมาชิก EU 27 ประเทศ ตัดสินใจนำใช้เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้าขายโดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆ ในเขตยูโรโซน สกุลเงินนี้ครอบคลุมประชากรถึง 327 ล้านคนในยุโรป อีก 175 ล้านคนนอกเขตยุโรป นอกจากนี้ ยูโรโซนมีขนาดของเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา และหากรวมเศรษฐกิจทั้ง EU จะมีขนาดถึง 18 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งใหญ่กว่า สหรัฐอเมริกาเสียอีก อย่างไรก็ดี เมื่อใช้เงินสกุลนี้มาได้ราว 10 ปีเราเริ่มได้เห็นถึง ด้านมืด ของการใช้เงินสกุลเดียวได้เด่นชัดยิ่งขึ้น
เมื่อฟิตซ์ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของ กรีซ ลงสู่ระดับ BBB- จากระดับ A- เป็นการลดระดับความน่าเชื่อถือในรอบ 10 ปี และ เป็นครั้งแรกของกรีซที่ถูกลดระดับลงต่ำกว่า A นอกจากนี้ S&P ยังให้มุมมอง เชิงลบ จาก ทรงตัว ต่อประเทศสเปนอีกด้วย หลังจากปรับลดเครดิตจาก AAA เป็น AA+ มาตั้งแต่ต้นปีเดือน มกราคม 2009
ทำไมประเทศที่ดูเหมือนแข็งแกร่งเหล่านี้จึงได้ประสบปัญหาในเรื่องของเครดิตได้ เมื่อมองย้อนหลังไปดูก็จะพบว่าวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไม่ใหญ่นัก มักจะมีต้นเหตุหลักมาจาก ระบบอัตราแลกเปลี่ยน นั่นเอง โดยเฉพาะการปล่อยให้ค่าเงินมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นนานเกินไป ทำให้เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงและต่อเนื่องหลายปี และ ในที่สุดความเชื่อมั่นก็ถดถอยจนเกิดการถอนเงินตราต่างประเทศออกอย่างเร็ว ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดกับประเทศเม็กซิโก ในปี คศ.1994 ประเทศไทย (วิกฤติต้มยำกุ้ง) ในปี คศ.1997 และ ประเทศอาร์เจนตินา ในปี 2002
ค่าเงินยูโรได้แข็งขึ้นอย่างเร็วจากระดับ 1 ยูโร ราว 0.8 ดอลลาร์ในปี คศ.2002 เป็น 1.6 ดอลลาร์ ในปี 2008 ได้เพิ่ม GDP ของประเทศในกลุ่มนี้ให้สูงขึ้นอย่างมาก โดยประเทศกรีซ และ สเปน มี GDP ที่สูงขึ้นกว่า 150% คิดตามเหรียญ สรอ. ในระยะเวลา 7 ปี จนถึงปี 2008 ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเติบโตขึ้นราว 40% เท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี ค่าเงินที่แข็งค่าอย่างเร็วนี้ได้ทำให้ความสามารถแข่งขันในการส่งออก และท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็ประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้นเกิดการนำเข้าสินค้าต่างๆ เข้ามามากมาย จนทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างหนักเป็นสัดส่วนถึงกว่า 10% GDP สำหรับประเทศกรีซ ตั้งแต่ปี 2006 มาแล้ว และ สำหรับประเทศสเปน ก็ขาดดุลมากกว่า 7% มานาน 4 ปีแล้วเช่นกัน ในขณะที่ประเทศแกนกลางของเขตยูโร อย่าง ออสเตรีย เยอรมัน และ ฝรั่งเศส กลับไม่พบปัญหานี้
ประเทศริมขอบของเขตยูโร อย่าง กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปนและอิตาลี ต่างก็ต้องประสบกับปัญหาการที่ต้องพยายามประคองเศรษฐกิจให้ได้ ภายใต้สภาวะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่า ประเทศเหล่านี้ได้ติด กับดักเงินยูโร เข้าแล้วโดยต้องประสบกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างสูง บางประเทศอย่างสเปน มีอัตราการว่างงานสูงถึง 20% บางประเทศอย่างอิตาลี ก็มีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงกว่า 100% ค่าเงินยูโรนี้จะเคลื่อนไหวอิงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ใหญ่กว่าอย่าง เยอรมัน และ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 และ 5 ของโลกเป็นหลัก นอกจากนี้ค่าเงินยูโรยังถูกซื้อเพื่อนำไปเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อทดแทนเงินดอลลาร์ซึ่งมีความเสี่ยงของการอ่อนค่า
หากเป็นประเทศอย่าง เม็กซิโก ไทย หรืออาร์เจนตินา ก็คือ การปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลงอย่างเร็ว และ ดึงสมดุลการค้าให้กลับคืนมา เศรษฐกิจจะตกต่ำไปราว 2-3 ปี จากนั้นก็เริ่มยืนได้และเดินหน้าต่อไป แต่สำหรับประเทศริมขอบยูโรโซนเหล่านี้ ใช้ค่าเงินยูโรอยู่แล้ว จะลดค่าเงินลงมาก็ไม่ได้ จะมีทางออกที่สวยงามสำหรับประเทศเหล่านี้หรือไม่
1. กลับไปใช้เงินตราสกุลดั้งเดิมก่อนใช้ยูโร ก็คือยอมแพ้ไม่สามารถเกาะค่าเงินตาม ยูโร ไปได้ ปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลง เพื่อดึงสมดุลการค้ากลับมา
2. ทำทุกวิถีทางเพื่อให้เงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว อาจจะลงมากกว่า 15-20% เพื่อให้ภาระหนี้ของประเทศริมขอบยูโรโซนเหล่านี้ลดลง และ เพื่อดึงสมดุลการค้าให้กลับคืนมาได้
3. รวมตัวกันจัดตั้งเงินสกุลใหม่ ผมขอใช้ชื่อ ยูร่า (EURA) ก็แล้วกัน เป็นค่าเงินที่จะอ่อนค่ากว่า ยูโร เพื่อให้ประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจไม่แข็งแกร่งนัก มีเงินเฟ้อ และ อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าประเทศเยอรมัน ได้มาเลือกใช้กัน ตอนแรกอาจปรับค่าให้ต่ำกว่า ยูโรราว 10% จากนั้นก็อาจใช้ระบบ crawling peg เพื่อเกาะค่ากับ ยูโร แต่ยอมให้อ่อนค่าลงทีละน้อย ประเทศที่แข็งแกร่งทีม A ก็ใช้ ยูโร กันไป ส่วนประเทศที่พื้นฐานไม่ค่อยไหวอยู่ทีม B ก็อาจเลือกมาใช้ ยูร่า แทน โดยประเทศอังกฤษก็อาจสนใจเข้าร่วมในเครือข่ายนี้ด้วยก็เป็นได้
ระบบเงินสกุลเดียวที่เคยดูเหมือนจะสดใสในอดีต เมื่อใช้มาย่างเข้าปีที่ 10 เริ่มพบว่ามี ด้านมืด แล้ว สำหรับเอเชียก็เช่นกัน ไม่ควรนำแนวคิดเงินสกุลเดียวมาใช้เลย เพราะ พื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และดุลบัญชีเดินสะพัด
สำหรับประเทศริมขอบยูโรโซนนั้น ก็ต้องคอยติดตามดูว่า พวกเขาจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อให้หลุดพ้นจาก กับดักเงินยูโร ไปได้ ซึ่งหากบริหารจัดการแก้ไขปัญหาไม่ดีนัก ค่าเงินยูโรก็อาจดิ่งลงได้ถึง 20% ซึ่งหมายถึงกำลังซื้อหรือ GDP ของโลกจะลดลงถึง 6% คิดเป็นดอลลาร์ สรอ. ซึ่งในที่สุดแล้วอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้ครับ
ผมได้เขียนบทความไว้อันหนึ่ง....เชื่อว่าจะเป็นปัญหาต่อราคาน้ำมัน ทองคำ และ ตลาดหุ้นในอนาคตครึ่งปีหน้าอย่างแน่นอน
หากค่าเงิน"ยูโร" ลดลง 20% คือ กำลังซื้อโลกอาจลงราว 5-6% ได้ง่ายๆ เลย เตรียมใจไว้เลยครับ
กับดักเงินยูโร
เงินยูโร เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม คศ.1999 คือ สกุลเงินที่ประเทศในเขตยูโรโซนปัจจุบันมี 16 ประเทศจากสมาชิก EU 27 ประเทศ ตัดสินใจนำใช้เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้าขายโดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆ ในเขตยูโรโซน สกุลเงินนี้ครอบคลุมประชากรถึง 327 ล้านคนในยุโรป อีก 175 ล้านคนนอกเขตยุโรป นอกจากนี้ ยูโรโซนมีขนาดของเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา และหากรวมเศรษฐกิจทั้ง EU จะมีขนาดถึง 18 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งใหญ่กว่า สหรัฐอเมริกาเสียอีก อย่างไรก็ดี เมื่อใช้เงินสกุลนี้มาได้ราว 10 ปีเราเริ่มได้เห็นถึง ด้านมืด ของการใช้เงินสกุลเดียวได้เด่นชัดยิ่งขึ้น
เมื่อฟิตซ์ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของ กรีซ ลงสู่ระดับ BBB- จากระดับ A- เป็นการลดระดับความน่าเชื่อถือในรอบ 10 ปี และ เป็นครั้งแรกของกรีซที่ถูกลดระดับลงต่ำกว่า A นอกจากนี้ S&P ยังให้มุมมอง เชิงลบ จาก ทรงตัว ต่อประเทศสเปนอีกด้วย หลังจากปรับลดเครดิตจาก AAA เป็น AA+ มาตั้งแต่ต้นปีเดือน มกราคม 2009
ทำไมประเทศที่ดูเหมือนแข็งแกร่งเหล่านี้จึงได้ประสบปัญหาในเรื่องของเครดิตได้ เมื่อมองย้อนหลังไปดูก็จะพบว่าวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไม่ใหญ่นัก มักจะมีต้นเหตุหลักมาจาก ระบบอัตราแลกเปลี่ยน นั่นเอง โดยเฉพาะการปล่อยให้ค่าเงินมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นนานเกินไป ทำให้เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงและต่อเนื่องหลายปี และ ในที่สุดความเชื่อมั่นก็ถดถอยจนเกิดการถอนเงินตราต่างประเทศออกอย่างเร็ว ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดกับประเทศเม็กซิโก ในปี คศ.1994 ประเทศไทย (วิกฤติต้มยำกุ้ง) ในปี คศ.1997 และ ประเทศอาร์เจนตินา ในปี 2002
ค่าเงินยูโรได้แข็งขึ้นอย่างเร็วจากระดับ 1 ยูโร ราว 0.8 ดอลลาร์ในปี คศ.2002 เป็น 1.6 ดอลลาร์ ในปี 2008 ได้เพิ่ม GDP ของประเทศในกลุ่มนี้ให้สูงขึ้นอย่างมาก โดยประเทศกรีซ และ สเปน มี GDP ที่สูงขึ้นกว่า 150% คิดตามเหรียญ สรอ. ในระยะเวลา 7 ปี จนถึงปี 2008 ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเติบโตขึ้นราว 40% เท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี ค่าเงินที่แข็งค่าอย่างเร็วนี้ได้ทำให้ความสามารถแข่งขันในการส่งออก และท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็ประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้นเกิดการนำเข้าสินค้าต่างๆ เข้ามามากมาย จนทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างหนักเป็นสัดส่วนถึงกว่า 10% GDP สำหรับประเทศกรีซ ตั้งแต่ปี 2006 มาแล้ว และ สำหรับประเทศสเปน ก็ขาดดุลมากกว่า 7% มานาน 4 ปีแล้วเช่นกัน ในขณะที่ประเทศแกนกลางของเขตยูโร อย่าง ออสเตรีย เยอรมัน และ ฝรั่งเศส กลับไม่พบปัญหานี้
ประเทศริมขอบของเขตยูโร อย่าง กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปนและอิตาลี ต่างก็ต้องประสบกับปัญหาการที่ต้องพยายามประคองเศรษฐกิจให้ได้ ภายใต้สภาวะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่า ประเทศเหล่านี้ได้ติด กับดักเงินยูโร เข้าแล้วโดยต้องประสบกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างสูง บางประเทศอย่างสเปน มีอัตราการว่างงานสูงถึง 20% บางประเทศอย่างอิตาลี ก็มีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงกว่า 100% ค่าเงินยูโรนี้จะเคลื่อนไหวอิงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ใหญ่กว่าอย่าง เยอรมัน และ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 และ 5 ของโลกเป็นหลัก นอกจากนี้ค่าเงินยูโรยังถูกซื้อเพื่อนำไปเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อทดแทนเงินดอลลาร์ซึ่งมีความเสี่ยงของการอ่อนค่า
หากเป็นประเทศอย่าง เม็กซิโก ไทย หรืออาร์เจนตินา ก็คือ การปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลงอย่างเร็ว และ ดึงสมดุลการค้าให้กลับคืนมา เศรษฐกิจจะตกต่ำไปราว 2-3 ปี จากนั้นก็เริ่มยืนได้และเดินหน้าต่อไป แต่สำหรับประเทศริมขอบยูโรโซนเหล่านี้ ใช้ค่าเงินยูโรอยู่แล้ว จะลดค่าเงินลงมาก็ไม่ได้ จะมีทางออกที่สวยงามสำหรับประเทศเหล่านี้หรือไม่
1. กลับไปใช้เงินตราสกุลดั้งเดิมก่อนใช้ยูโร ก็คือยอมแพ้ไม่สามารถเกาะค่าเงินตาม ยูโร ไปได้ ปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลง เพื่อดึงสมดุลการค้ากลับมา
2. ทำทุกวิถีทางเพื่อให้เงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว อาจจะลงมากกว่า 15-20% เพื่อให้ภาระหนี้ของประเทศริมขอบยูโรโซนเหล่านี้ลดลง และ เพื่อดึงสมดุลการค้าให้กลับคืนมาได้
3. รวมตัวกันจัดตั้งเงินสกุลใหม่ ผมขอใช้ชื่อ ยูร่า (EURA) ก็แล้วกัน เป็นค่าเงินที่จะอ่อนค่ากว่า ยูโร เพื่อให้ประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจไม่แข็งแกร่งนัก มีเงินเฟ้อ และ อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าประเทศเยอรมัน ได้มาเลือกใช้กัน ตอนแรกอาจปรับค่าให้ต่ำกว่า ยูโรราว 10% จากนั้นก็อาจใช้ระบบ crawling peg เพื่อเกาะค่ากับ ยูโร แต่ยอมให้อ่อนค่าลงทีละน้อย ประเทศที่แข็งแกร่งทีม A ก็ใช้ ยูโร กันไป ส่วนประเทศที่พื้นฐานไม่ค่อยไหวอยู่ทีม B ก็อาจเลือกมาใช้ ยูร่า แทน โดยประเทศอังกฤษก็อาจสนใจเข้าร่วมในเครือข่ายนี้ด้วยก็เป็นได้
ระบบเงินสกุลเดียวที่เคยดูเหมือนจะสดใสในอดีต เมื่อใช้มาย่างเข้าปีที่ 10 เริ่มพบว่ามี ด้านมืด แล้ว สำหรับเอเชียก็เช่นกัน ไม่ควรนำแนวคิดเงินสกุลเดียวมาใช้เลย เพราะ พื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และดุลบัญชีเดินสะพัด
สำหรับประเทศริมขอบยูโรโซนนั้น ก็ต้องคอยติดตามดูว่า พวกเขาจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อให้หลุดพ้นจาก กับดักเงินยูโร ไปได้ ซึ่งหากบริหารจัดการแก้ไขปัญหาไม่ดีนัก ค่าเงินยูโรก็อาจดิ่งลงได้ถึง 20% ซึ่งหมายถึงกำลังซื้อหรือ GDP ของโลกจะลดลงถึง 6% คิดเป็นดอลลาร์ สรอ. ซึ่งในที่สุดแล้วอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้ครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 1468
- ผู้ติดตาม: 0
Re: โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 2
กรีซนี่ ตอนนี้เค้าพักชำระหนี้หรือยังคะ
หาข่าวมาอ่านเห็นว่าหนี้เยอะมาก กลัวคลังที่นั่นจะถอดใจ
http://www.matichon.co.th/matichon/view ... 2009-12-14
หาข่าวมาอ่านเห็นว่าหนี้เยอะมาก กลัวคลังที่นั่นจะถอดใจ
http://www.matichon.co.th/matichon/view ... 2009-12-14
..สักวันจะเก่งเหมือนพี่บ้าง..
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
Re: โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 4
ยังครับ...ถ้าพักชำระหนี้นี่ เรื่องใหญ่มากๆกล้วยทอด เขียน:กรีซนี่ ตอนนี้เค้าพักชำระหนี้หรือยังคะ
หาข่าวมาอ่านเห็นว่าหนี้เยอะมาก กลัวคลังที่นั่นจะถอดใจ
http://www.matichon.co.th/matichon/view ... 2009-12-14
เพราะ กรีซ เป็นหนึ่งในยูโรโซน ที่ใช้เงิน "ยูโร" ซึ่งถือว่ากลุ่มประเทศนี้แข็งแกร่ง....
การพักชำระหนี้ จะส่งผลลบต่อ ยุโรปทั้งภูมิภาค
ก่อนถึงเวลานั้น น่าจะมีการทำอะไรกับระบบเงินยูโร มากกว่าครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 5
"ยูโร" คือ ต้นตอแห่งปัญหาทั้งปวง
กรีซ...ขาดดุลการคลัง 10% จีดีพี...แล้วไง อเมริกา กับ อังกฤษ ก็ระดับนี้ละ
กรีซ...ติดหนี้สาธารณะ 100% จีดีพี แล้วไง ญีปุ่น 2 เท่าเสียอีก
ปัญหาอยู่ที "ยูโร" เพราะ เหมือนกับ ไทยถูกบังคับให้เงินบาทอยู่ที่ 27 บาทต่อ 1 เหรียญ สรอ.
เราจะรอดไหม บริษัทส่งออกต้องล้มหายตายจาก เราจะส่งออกแทบไม่ได้ แต่นำเข้าเพิ่มมากมาย ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพียบ
พร้อมๆ กับการว่างงานเต็มปท.
เหมือนกับ สเปนตอนนี้ที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 20%
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก USA
กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และ สเปน พวกนี้ไม่สามารถทนรับความแข็งแกร่งของ "ยูโร" ที่ระดับ 1.5 ได้หรอก แต่ถ้าเป็น 1.2 อาจจะพอรับไหว
ขณะที่เยอรมัน และ ฝรั่งเศส นั้น สบายๆ กับระดับ 1.5 เหรียญ สรอ.
"ยูโร" คือ ตัวปัญหาเพราะ มีกลุ่มหนึ่งไหว แต่อีกกลุ่มไม่ไหว แต่ยังฝืน
สุดท้ายแล้ว หากไม่รีบแก้ไข มีหวังพินาศแน่ครับ
กรีซ...ขาดดุลการคลัง 10% จีดีพี...แล้วไง อเมริกา กับ อังกฤษ ก็ระดับนี้ละ
กรีซ...ติดหนี้สาธารณะ 100% จีดีพี แล้วไง ญีปุ่น 2 เท่าเสียอีก
ปัญหาอยู่ที "ยูโร" เพราะ เหมือนกับ ไทยถูกบังคับให้เงินบาทอยู่ที่ 27 บาทต่อ 1 เหรียญ สรอ.
เราจะรอดไหม บริษัทส่งออกต้องล้มหายตายจาก เราจะส่งออกแทบไม่ได้ แต่นำเข้าเพิ่มมากมาย ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพียบ
พร้อมๆ กับการว่างงานเต็มปท.
เหมือนกับ สเปนตอนนี้ที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 20%
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก USA
กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และ สเปน พวกนี้ไม่สามารถทนรับความแข็งแกร่งของ "ยูโร" ที่ระดับ 1.5 ได้หรอก แต่ถ้าเป็น 1.2 อาจจะพอรับไหว
ขณะที่เยอรมัน และ ฝรั่งเศส นั้น สบายๆ กับระดับ 1.5 เหรียญ สรอ.
"ยูโร" คือ ตัวปัญหาเพราะ มีกลุ่มหนึ่งไหว แต่อีกกลุ่มไม่ไหว แต่ยังฝืน
สุดท้ายแล้ว หากไม่รีบแก้ไข มีหวังพินาศแน่ครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 6
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11601 มติชนรายวัน
วิกฤตหนี้"กรีซ" หนาวสะท้านทั่ว"ยุโรป"
ช่วง เดือนกันยายน-ตุลาคมปีที่แล้ว วิกฤตการเงินโลกครั้งร้ายแรงในรอบเกือบ 80 ปี ปะทุขึ้นเมื่อเลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา อายุเก่าแก่กว่า 150 ปี ล้มครืนลง โดยมีต้นเหตุมาจากหนี้เสียของสินเชื่อบ้านประเภทด้อยคุณภาพหรือซับไพรม์ (Subprime) ที่บรรดาผู้กู้ยืมขาดความสามารถในการชำระหนี้ ส่งผลกระทบเป็นโดมิโนไปทั่วโลก ทำให้ทั่วโลกมีปีใหม่ที่ไร้ความสุข เหงาหงอยไปรอบหนึ่งแล้ว ส่วนปลายปีนี้ "วิกฤตหนี้" ของประเทศกรีซ ซึ่งเป็นชาติในยุโรป กำลังสร้างความหวาดผวาหนาวสะท้านให้กับบรรดากลุ่มประเทศยุโรป เพราะหนี้ที่สูงทะลุเมฆของรัฐบาลกรีซ ทำให้เกิดการคาดหมายว่าอาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับรัฐดูไบ ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) หรือไม่
อาจกล่าวได้ว่า กรณีของดูไบ ซึ่งประกาศพักชำระหนี้ไป 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ไปเมื่อ 25 พฤศจิกายน ด้วยเหตุผลที่ว่าได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ประกอบกับการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์มากมายใช้เงินมหาศาลแบบเกินตัว เป็นสาเหตุให้กรีซขึ้นมาอยู่บนจอเรดาร์ของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทันที จะเห็นว่าหลังจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส, สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) และฟิตช์ เรตติ้ง ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของดูไบ เวิลด์ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่รัฐดูไบเป็นเจ้าของลงไปสู่ระดับ "ขยะ" คือไม่น่าลงทุนแล้ว ฟิตช์ เรตติ้ง ได้ประเดิมปรับลดอันดับความน่าเชื่อหนี้ระยะยาวของรัฐบาลกรีซไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม จากระดับ A- ไปอยู่ระดับ BBB+ ซึ่งแม้จะยังเป็นเกรดที่น่าลงทุน แต่มุมมองหรือแนวโน้มอยู่ในแดนลบ อันสะท้อนว่ามีความเป็นไปได้ที่จะถูกลดอันดับลงไปอีก ส่วนเอสแอนด์พี ได้ออกมาขู่ว่าจะหั่นเกรดอีกรายหากว่ารัฐบาลกรีซไม่มีมาตรการที่น่าเชื่อถือ ในการลดหนี้
ปัจจุบันรัฐบาลกรีซมีหนี้สาธารณะมากถึง 3 แสนล้านยูโร (ประมาณ 14.7 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 113 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันของกรีซ และยังขาดดุลงบประมาณมากถึง 12.7% สูงกว่ามาตรฐานของสหภาพยุโรปที่กำหนดว่าสมาชิกต้องรักษาการขาดดุลงบประมาณ ไว้ที่ไม่เกิน 3 % ของจีดีพี ทั้งนี้ ฟิตช์คาดหมายว่าหนี้สาธารณะของกรีซอาจจะขยับขึ้นไปอีกที่ระดับ 130% ของจีดีพีก่อนที่จะกลับสู่เสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม ฟิตช์เห็นว่าการที่กรีซเป็นประเทศที่มีรายได้สูงคงจะช่วยบรรเทาปัญหาได้บ้าง
การ ถูกหั่นอันดับความน่าเชื่อถือ ทำให้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กรีซต้องใช้มาตรการที่เด็ดขาดกล้าหาญในการลดหนี้ และลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ เพราะว่าปัญหาที่เกิดกับสมาชิกยุโรปประเทศใดประเทศหนึ่งก็คือ ปัญหาร่วมของสมาชิกยุโรปทั้งหมด ขณะเดียวกันนายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางสหภาพยุโรป (อีซีบี) ได้ออกมากระตุ้นกรีซในลักษณะเดียวกัน เพราะปัญหาของกรีซนั้นจะเกี่ยวพันไปถึงชาติยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ทั้ง 16 ประเทศ เช่นเดียวกับบิ๊กในยุโรปอีกคนคือ นายฌอง-คล้อด จังเกอร์ ประธานยูโรโซน ที่ยอมรับว่าสถานการณ์ของกรีซอยู่ในขั้น "ตึงเครียด" อย่างมาก แต่ก็เชื่อว่ากรีซจะไม่ล้มละลายอย่างแน่นอน
หุ้นของตลาดกรีซร่วงลง 10% ในช่วงสองวันหลังจากถูกลดอันดับ ทำให้ทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลังของกรีซ ต่างออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนยืนยันว่า จะทำทุกอย่างเพื่อสะสางปัญหาหนี้สิน โดยสัญญาว่าร่างงบประมาณใหม่ ซึ่งจะมีการตัดงบประมาณลงจะจัดทำให้เสร็จสิ้นใน 6-7 สัปดาห์ โดยระบุว่า นี่จะเป็นการร่วมมือกันในการต่อสู้คอร์รัปชั่นและสร้างความโปร่งใส พร้อมกับไม่วายโอดครวญขอความเห็นใจว่า รัฐบาลปัจจุบันเข้ามารับตำแหน่งเพียง 50 วันเท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นรัฐบาลเก่าเป็นผู้ก่อไว้
กรีซจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ พัฒนาแล้ว เป็นหนึ่งใน 16 ประเทศยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร ประชากรมีรายได้ต่อปีสูงอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกที่ประมาณ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่ประสบปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่น การว่างงานสูง
นัก วิเคราะห์มองว่าปัญหาของกรีซจะสร้างความตึงเครียดให้กับยูโรโซนและยังเป็น เรื่องท้าทายที่จะทำให้ประเทศยุโรปอื่นๆ จะต้องลดหนี้และการขาดดุลงบประมาณลง อย่างไรก็ตาม กรีซจะล้มละลายหรือไม่ขึ้นอยู่กับธนาคารกลางสหภาพยุโรปว่าจะผ่อนผันในการรับ พันธบัตรของกรีซในการค้ำประกันการกู้ยืมหรือไม่ เพราะหลังจากที่ความน่าเชื่อถือของกรีซถูกฟิตช์ฯปรับลง ก็เท่ากับว่าขณะนี้พันธบัตรของกรีซอยู่ในแดนอันตรายแล้ว เมื่อเทียบกับหลักเกณฑ์ของอีซีบี
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าในที่สุดแล้วสหภาพยุโรปต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือกรีซ เพราะหากปล่อยให้กรีซล้มละลาย จะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกลุ่มยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรทันที เพราะจะทำให้สมาชิกยุโรปที่ร่วมใช้เงินสกุลยูโรมองว่าการใช้สกุลเงินร่วมกัน ไม่เป็นผลดี เมื่อสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่งก่อปัญหาขึ้นด้วยการไม่ชำระหนี้ก็ทำให้ ประเทศอื่นได้รับกรรมไปด้วย และหากกรีซล้มละลายจริง ประเทศที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ เยอรมนี เพราะธนาคารพาณิชย์ของเยอรมนีหลายแห่งได้เข้าซื้อพันธบัตรของกรีซจำนวนมาก
วิกฤตหนี้"กรีซ" หนาวสะท้านทั่ว"ยุโรป"
ช่วง เดือนกันยายน-ตุลาคมปีที่แล้ว วิกฤตการเงินโลกครั้งร้ายแรงในรอบเกือบ 80 ปี ปะทุขึ้นเมื่อเลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา อายุเก่าแก่กว่า 150 ปี ล้มครืนลง โดยมีต้นเหตุมาจากหนี้เสียของสินเชื่อบ้านประเภทด้อยคุณภาพหรือซับไพรม์ (Subprime) ที่บรรดาผู้กู้ยืมขาดความสามารถในการชำระหนี้ ส่งผลกระทบเป็นโดมิโนไปทั่วโลก ทำให้ทั่วโลกมีปีใหม่ที่ไร้ความสุข เหงาหงอยไปรอบหนึ่งแล้ว ส่วนปลายปีนี้ "วิกฤตหนี้" ของประเทศกรีซ ซึ่งเป็นชาติในยุโรป กำลังสร้างความหวาดผวาหนาวสะท้านให้กับบรรดากลุ่มประเทศยุโรป เพราะหนี้ที่สูงทะลุเมฆของรัฐบาลกรีซ ทำให้เกิดการคาดหมายว่าอาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับรัฐดูไบ ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) หรือไม่
อาจกล่าวได้ว่า กรณีของดูไบ ซึ่งประกาศพักชำระหนี้ไป 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ไปเมื่อ 25 พฤศจิกายน ด้วยเหตุผลที่ว่าได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ประกอบกับการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์มากมายใช้เงินมหาศาลแบบเกินตัว เป็นสาเหตุให้กรีซขึ้นมาอยู่บนจอเรดาร์ของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทันที จะเห็นว่าหลังจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส, สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) และฟิตช์ เรตติ้ง ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของดูไบ เวิลด์ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่รัฐดูไบเป็นเจ้าของลงไปสู่ระดับ "ขยะ" คือไม่น่าลงทุนแล้ว ฟิตช์ เรตติ้ง ได้ประเดิมปรับลดอันดับความน่าเชื่อหนี้ระยะยาวของรัฐบาลกรีซไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม จากระดับ A- ไปอยู่ระดับ BBB+ ซึ่งแม้จะยังเป็นเกรดที่น่าลงทุน แต่มุมมองหรือแนวโน้มอยู่ในแดนลบ อันสะท้อนว่ามีความเป็นไปได้ที่จะถูกลดอันดับลงไปอีก ส่วนเอสแอนด์พี ได้ออกมาขู่ว่าจะหั่นเกรดอีกรายหากว่ารัฐบาลกรีซไม่มีมาตรการที่น่าเชื่อถือ ในการลดหนี้
ปัจจุบันรัฐบาลกรีซมีหนี้สาธารณะมากถึง 3 แสนล้านยูโร (ประมาณ 14.7 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 113 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันของกรีซ และยังขาดดุลงบประมาณมากถึง 12.7% สูงกว่ามาตรฐานของสหภาพยุโรปที่กำหนดว่าสมาชิกต้องรักษาการขาดดุลงบประมาณ ไว้ที่ไม่เกิน 3 % ของจีดีพี ทั้งนี้ ฟิตช์คาดหมายว่าหนี้สาธารณะของกรีซอาจจะขยับขึ้นไปอีกที่ระดับ 130% ของจีดีพีก่อนที่จะกลับสู่เสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม ฟิตช์เห็นว่าการที่กรีซเป็นประเทศที่มีรายได้สูงคงจะช่วยบรรเทาปัญหาได้บ้าง
การ ถูกหั่นอันดับความน่าเชื่อถือ ทำให้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กรีซต้องใช้มาตรการที่เด็ดขาดกล้าหาญในการลดหนี้ และลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ เพราะว่าปัญหาที่เกิดกับสมาชิกยุโรปประเทศใดประเทศหนึ่งก็คือ ปัญหาร่วมของสมาชิกยุโรปทั้งหมด ขณะเดียวกันนายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางสหภาพยุโรป (อีซีบี) ได้ออกมากระตุ้นกรีซในลักษณะเดียวกัน เพราะปัญหาของกรีซนั้นจะเกี่ยวพันไปถึงชาติยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ทั้ง 16 ประเทศ เช่นเดียวกับบิ๊กในยุโรปอีกคนคือ นายฌอง-คล้อด จังเกอร์ ประธานยูโรโซน ที่ยอมรับว่าสถานการณ์ของกรีซอยู่ในขั้น "ตึงเครียด" อย่างมาก แต่ก็เชื่อว่ากรีซจะไม่ล้มละลายอย่างแน่นอน
หุ้นของตลาดกรีซร่วงลง 10% ในช่วงสองวันหลังจากถูกลดอันดับ ทำให้ทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลังของกรีซ ต่างออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนยืนยันว่า จะทำทุกอย่างเพื่อสะสางปัญหาหนี้สิน โดยสัญญาว่าร่างงบประมาณใหม่ ซึ่งจะมีการตัดงบประมาณลงจะจัดทำให้เสร็จสิ้นใน 6-7 สัปดาห์ โดยระบุว่า นี่จะเป็นการร่วมมือกันในการต่อสู้คอร์รัปชั่นและสร้างความโปร่งใส พร้อมกับไม่วายโอดครวญขอความเห็นใจว่า รัฐบาลปัจจุบันเข้ามารับตำแหน่งเพียง 50 วันเท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นรัฐบาลเก่าเป็นผู้ก่อไว้
กรีซจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ พัฒนาแล้ว เป็นหนึ่งใน 16 ประเทศยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร ประชากรมีรายได้ต่อปีสูงอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกที่ประมาณ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่ประสบปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่น การว่างงานสูง
นัก วิเคราะห์มองว่าปัญหาของกรีซจะสร้างความตึงเครียดให้กับยูโรโซนและยังเป็น เรื่องท้าทายที่จะทำให้ประเทศยุโรปอื่นๆ จะต้องลดหนี้และการขาดดุลงบประมาณลง อย่างไรก็ตาม กรีซจะล้มละลายหรือไม่ขึ้นอยู่กับธนาคารกลางสหภาพยุโรปว่าจะผ่อนผันในการรับ พันธบัตรของกรีซในการค้ำประกันการกู้ยืมหรือไม่ เพราะหลังจากที่ความน่าเชื่อถือของกรีซถูกฟิตช์ฯปรับลง ก็เท่ากับว่าขณะนี้พันธบัตรของกรีซอยู่ในแดนอันตรายแล้ว เมื่อเทียบกับหลักเกณฑ์ของอีซีบี
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าในที่สุดแล้วสหภาพยุโรปต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือกรีซ เพราะหากปล่อยให้กรีซล้มละลาย จะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกลุ่มยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรทันที เพราะจะทำให้สมาชิกยุโรปที่ร่วมใช้เงินสกุลยูโรมองว่าการใช้สกุลเงินร่วมกัน ไม่เป็นผลดี เมื่อสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่งก่อปัญหาขึ้นด้วยการไม่ชำระหนี้ก็ทำให้ ประเทศอื่นได้รับกรรมไปด้วย และหากกรีซล้มละลายจริง ประเทศที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ เยอรมนี เพราะธนาคารพาณิชย์ของเยอรมนีหลายแห่งได้เข้าซื้อพันธบัตรของกรีซจำนวนมาก
- Alastor
- Verified User
- โพสต์: 2590
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 7
ตอนผมเป็นเด็กฝึกงานยาจกก็มีหัวหน้างานเป็นคนกรีกครับ เค้าเล่าว่ารัฐบาลให้มหาลัยเปิดรับนักศึกษาไม่อั้น แบบว่าใครอยากเรียนก็ต้องได้เรียน มหาลัยก็เลยทำตาม แต่ออกข้อสอบยากๆอัด Calculus Physic เข้าไปๆ หัวขาดเรียบเหลือจนจริงๆไม่ต่างจากเดิม เท่าที่อ่านๆดูประเทศเค้าออกไปทางสังคมนิยมนะครับ รัฐสวัสดิการดี แต่เงินไม่ถึงก็เละจิ :lol:
ผมไม่เห็นใครเค้ามองกันถึงกับ Union แตกเป็นเสี่ยงๆนะครับ ผมว่าอย่างแย่จริงๆ กรีกก็ Walk-out (หรือไม่ก็ Kick-out ) จาก 16 ประเทศที่ใช้ EUR จากนั้นก็ "ชักดาบ" แบบ Argentina เจ้าหนี้ก็จะได้เงินคืนประมาณ 30% :lol: จะว่าไปผมเคยได้ยินว่าก่อนมาใช้ EUR เงินกรีกเป็นเงินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก แต่หันมาใช้ตอนนี้ UK ต้องร้องไห้แน่ๆโดนหลายดอกมากปีนี้
เห็นนายกกรีกบอกว่า ถ้าอยู่ใกล้ปากนรกจริงจะตัดเงินเดือนตัดสวัสดิการณ์แต่ตอนนี้ยังไม่แย่เหมือนของ Ireland ที่เคยกลืนเลือดมาแล้ว
เอาใจช่วยครับ ผมก็ได้ยินข่าวหลายๆประเทศมีปัญหาการใช้ single-currency มาเรื่อยๆนะ แต่ก็ไม่เห็นมีใครออกมาซะ มันคงมีข้อดีมากกว่าข้อเสียนะครับ ผมก็ไม่รู้ละเอียดหรอกครับ
ผมไม่เห็นใครเค้ามองกันถึงกับ Union แตกเป็นเสี่ยงๆนะครับ ผมว่าอย่างแย่จริงๆ กรีกก็ Walk-out (หรือไม่ก็ Kick-out ) จาก 16 ประเทศที่ใช้ EUR จากนั้นก็ "ชักดาบ" แบบ Argentina เจ้าหนี้ก็จะได้เงินคืนประมาณ 30% :lol: จะว่าไปผมเคยได้ยินว่าก่อนมาใช้ EUR เงินกรีกเป็นเงินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก แต่หันมาใช้ตอนนี้ UK ต้องร้องไห้แน่ๆโดนหลายดอกมากปีนี้
เห็นนายกกรีกบอกว่า ถ้าอยู่ใกล้ปากนรกจริงจะตัดเงินเดือนตัดสวัสดิการณ์แต่ตอนนี้ยังไม่แย่เหมือนของ Ireland ที่เคยกลืนเลือดมาแล้ว
เอาใจช่วยครับ ผมก็ได้ยินข่าวหลายๆประเทศมีปัญหาการใช้ single-currency มาเรื่อยๆนะ แต่ก็ไม่เห็นมีใครออกมาซะ มันคงมีข้อดีมากกว่าข้อเสียนะครับ ผมก็ไม่รู้ละเอียดหรอกครับ
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 8
ถ้ามอบหมายให้พี่เฟยหง1 เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของกรีซ
จะใช้วิธีใดแก้ปัญหาครับ
แล้วถ้าพี่เฟยหง2 เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของกลุ่มยูโร
จะมีข้อแนะนำพี่เฟยหง1ของกรีซ อย่างไรครับ
จะใช้วิธีใดแก้ปัญหาครับ
แล้วถ้าพี่เฟยหง2 เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของกลุ่มยูโร
จะมีข้อแนะนำพี่เฟยหง1ของกรีซ อย่างไรครับ
"Be sure you put your feet in the right place, then stand firm"
Abraham Lincoln
Abraham Lincoln
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 9
Accidental Hero เขียน:ถ้ามอบหมายให้พี่เฟยหง1 เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของกรีซ
จะใช้วิธีใดแก้ปัญหาครับ
แล้วถ้าพี่เฟยหง2 เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของกลุ่มยูโร
จะมีข้อแนะนำพี่เฟยหง1ของกรีซ อย่างไรครับ
ถ้าเป็นหัวหน้าทีมศก.ของกรีซ ผมเชื่อว่าวิธี 3 น่าจะเป็นทางออกที่ดีสุด
ดังนั้น ต้องรีบติดต่อ อังกฤษ อิตาลี และ สเปน ซึ่งเป็นเบอร์ 6 7 และ 9 ของโลก เพื่อชักชวนให้มาใช้เงินสกุลใหม่ "ยูร่า" แทน "ยูโร"
จะทำให้ค่าเงินใหม่นี้เป็นที่น่าเชื่อถือกว่า การย้อนกลับไปใช้เงินสกุลดั้งเดิมประเทศเดียวโดดๆ จะเสี่ยงกว่ามาก
และหากใช้ "ยูร่า" ซึ่งเกาะๆ ไปกับ "ยูโร" เงินเฟ้อจะวิ่งไม่สูงนัก และ โอกาสที่จะหาเงินทอง "ยูโร" ไปคืนหนี้เป็นไปได้มากกว่า
ถ้าเป็นคนของ ECB ผมก็จะคิดแบบเดียวกันครับ
ขืนเตะ "กรีซ" ออกไป ประเทศกรีซก็จะเสียหายอย่างหนัก จนเข้าขั้นวิกฤติ และ อาจต้องพักการชำระหนี้ได้เลย
แต่ถ้าใช้วิธี "เงินยูร่า" โดยดึงประเทศใหญ่ๆ มาร่วมใช้ด้วย จะสร้างความเชื่อมั่นได้มากกว่า และ ไม่สร้างความเสียหายต่อระบบเงินสกุลเดียวมากนัก กลายเป็นยุโรปใช้เงิน 2 สกุล คือ ประเทศที่แกร่งใช้ "ยูโร" และ ประเทศที่อ่อนใช้ "ยูร่า" แทน ซึ่งขนาด ศก.ที่ใช้เงินแต่ละสกุลก็น่าจะพอๆ กัน
ประโยชน์ของ "ค่าเงินสกุลเดียว" ยังคงอยู่ ในเวลาเดียวกัน มันไม่เกิดความขัดแย้งที่ทำให้ค่าเงินแข็งเกินไปสำหรับโครงสร้าง ศก.ที่ไม่แข็งนักอย่าง ประเทศริมขอบยูโรโซน ให้เดินหน้าต่อไปได้ครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 10
การออกเงินสกุลรอง ก็ไม่ต่างอะไรกับการโดดเดียวประเทศริมขอบหรอกครับ ถือเป็น discrimination อย่างหนึ่ง ว่าเป็นประเทศระดับสอง ผมไม่เชื่อว่านโยบายนี้จะเกิดขึ้นมาได้จริง เพราะยิ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือลดลงอีก
การที่แต่ละประเทศต่างๆใช้เงินสกุลเดียวกัน ยังมีความแตกต่างของราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะจูงใจในการซื้อได้ครับ ผมเชื่อว่าน่าจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานมากกว่าการแก้เรื่องค่าเงิน
แม้จะมีประเทศแข็งๆเข้ามาพยุง แต่ก็เป็นภาระอันหนักหน่วงของประเทศแข็งที่เข้ามาร่วมอีก ยิ่งแก้ยิ่งยุ่งครับดังนั้น ต้องรีบติดต่อ อังกฤษ อิตาลี และ สเปน ซึ่งเป็นเบอร์ 6 7 และ 9 ของโลก เพื่อชักชวนให้มาใช้เงินสกุลใหม่ "ยูร่า" แทน "ยูโร"
จะทำให้ค่าเงินใหม่นี้เป็นที่น่าเชื่อถือกว่า
การที่แต่ละประเทศต่างๆใช้เงินสกุลเดียวกัน ยังมีความแตกต่างของราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะจูงใจในการซื้อได้ครับ ผมเชื่อว่าน่าจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานมากกว่าการแก้เรื่องค่าเงิน
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 11
[quote="นักดูดาว"]การออกเงินสกุลรอง ก็ไม่ต่างอะไรกับการโดดเดียวประเทศริมขอบหรอกครับ ถือเป็น discrimination อย่างหนึ่ง ว่าเป็นประเทศระดับสอง ผมไม่เชื่อว่านโยบายนี้จะเกิดขึ้นมาได้จริง
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 12
เศรษฐศาสตร์ระดับนี้ซับซ้อนมาก คิดไปก็ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด แลกเปลี่ยนไปมาคนอ่านก็สนุก
ขอบคุณสำหรับข้อมูลและความคิดเห็นที่น่าสนใจครับ
ผมเห็นอย่างเดียว คือ กลุ่มสหภาพยุโรปพยายามเกินไปที่จะดึงประเทศ
(หรือในทางกลับกัน ประเทศอื่นก็พยายามเข้ากลุ่มสหภาพยุโรปเกินไป)
โดยที่ยังไม่มีความพร้อมหรือเข้มแข็งพอเข้ามา เพื่อสร้างอำนาจต่อรองในเวทีโลก
เปรียบเหมือนว่ายุโรปที่หลับอยู่นาน ตื่นขึ้นมา ก็งัวเงียเหมือนเด็กที่อยากจะเป็นหนึ่งในโลก โดยที่ไม่ดูพื้นฐานตัวเองเลย
แต่ยุโรปยังไงก็เป็นทวีปที่ผมชอบที่สุดในโลกเลยครับ ครบเครื่อง charm มากๆๆๆๆ
(แบบนี้เรียกว่าตบหัวลูบหลัง :lol: )
ขอบคุณสำหรับข้อมูลและความคิดเห็นที่น่าสนใจครับ
ผมเห็นอย่างเดียว คือ กลุ่มสหภาพยุโรปพยายามเกินไปที่จะดึงประเทศ
(หรือในทางกลับกัน ประเทศอื่นก็พยายามเข้ากลุ่มสหภาพยุโรปเกินไป)
โดยที่ยังไม่มีความพร้อมหรือเข้มแข็งพอเข้ามา เพื่อสร้างอำนาจต่อรองในเวทีโลก
เปรียบเหมือนว่ายุโรปที่หลับอยู่นาน ตื่นขึ้นมา ก็งัวเงียเหมือนเด็กที่อยากจะเป็นหนึ่งในโลก โดยที่ไม่ดูพื้นฐานตัวเองเลย
แต่ยุโรปยังไงก็เป็นทวีปที่ผมชอบที่สุดในโลกเลยครับ ครบเครื่อง charm มากๆๆๆๆ
(แบบนี้เรียกว่าตบหัวลูบหลัง :lol: )
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- Verified User
- โพสต์: 305
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 13
ช่วยอธิบายหน่อยครับว่ากลไกราคาจะทำงานได้ยังไงนักดูดาว เขียน: การที่แต่ละประเทศต่างๆใช้เงินสกุลเดียวกัน ยังมีความแตกต่างของราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะจูงใจในการซื้อได้ครับ ผมเชื่อว่าน่าจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานมากกว่าการแก้เรื่องค่าเงิน
คือผมนึกยังไงก็ได้แต่ว่าของกรีซแพงเพราะคิดเป็นยูโรเลยขายไม่ออก
ส่วนเรื่องเงินสกุลที่สองของยุโรปผมว่าก็เป็นไปไม่ได้ที่ใครจะอยากเป็นประเทศชั้นสอง โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆไม่เอาแน่ ถ้าเข้าคงเข้าแต่แรกแล้ว
没有
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 14
ผมคิดต่างนะครับ ผมคิดว่า อังกฤษจะอยากเข้าร่วม "เงินยูร่า" มากๆvision เขียน: ช่วยอธิบายหน่อยครับว่ากลไกราคาจะทำงานได้ยังไง
คือผมนึกยังไงก็ได้แต่ว่าของกรีซแพงเพราะคิดเป็นยูโรเลยขายไม่ออก
ส่วนเรื่องเงินสกุลที่สองของยุโรปผมว่าก็เป็นไปไม่ได้ที่ใครจะอยากเป็นประเทศชั้นสอง โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆไม่เอาแน่ ถ้าเข้าคงเข้าแต่แรกแล้ว
เพราะ ถ้าเข้าในเครือข่ายนี้แล้ว อังกฤษ จะเป็นพี่เบิ้มไงครับ ศก.อันดับ 6
และ ใหญ่สุดในเครือข่าย "ยูร่า"นี้ และ ค่าเงินระดับนี้อังกฤษน่าจะสบายๆ
อังกฤษ ไม่อยากเป็นเบี้ยล่างของ เยอรมัน และ ฝรั่งเศส ครับ เลยไม่เข้า "ยูโร" เพราะ อันที่จริงก็รู้อยู่แล้วว่า ตาม "ยูโร" ไปไม่ไหวนั่นเอง
แต่ถ้ามีเงินสกุลใหม่ ที่ใช้กันครึ่งยุโรป แล้ว ค่าเงินเคลื่อนไหวตามสภาพ ศก.อังกฤษ โดยอังกฤษร่วมชี้ทิศทางได้ แบบนี้น่าสนมากครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 15
เศรษฐกิจแย่ สินทรัพย์ราคาถูกลง แม้ค่าเงินจะเท่าเดิมจริงไหมครับ จำเป็นต้องดึงดูดนักลงทุนเข้าไปซื้อ นั่นก็เป็นกลไกราคาอยู่แล้วครับ ผมมองว่ากรีซมีสินทรัพย์ทางการท่องเที่ยว ที่พร้อมจะแปลงเป็นทุนอยู่มาก เค้าไม่แย่หรอกครับ น่าเที่ยวกว่าดูไบมากมายนัก.... ปล่อยให้กลไกราคาทำงาน หรือครับ...เพราะมันทำงานไม่ได้นะสิครับ ค่าเงินยูโรที่แข็งค่า มันค้ำคออยู่ไงครับ
..... เหมือนกับ เงินบาทที่เหมาะสมน่าจะอยู่ 33 แต่ระบบมันล็อคไว้ให้เป็น 27 บาท ส่งออกก็ไม่รอด มันก็เดินหน้าไม่ได้ครับ
หากแย่จริงๆ จะต้องแบ่งประเทศขาย ก็คงต้องเป็นแบบนั้น เพราะนี่คือระบอบทุนนิยมครับ ผู้ที่ไม่มีประสิทธิภาพจริงๆต้องออกจากการแข่งขัน
เงินเป็นเพียงภาพมายา เพื่อเป็นสื่อกลางการซื้อขายครับ การจัดกลุ่มสร้างสกุลเงินใหม่อาจจะช่วยได้นิดหน่อยในระยะสั้น แต่ก็เหมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่ สุดท้ายปัญหาก็อยู่ที่เดิม ไม่ว่าจะยูโร หรือยูร่า ฯลฯ หนี้สินก็คือหนี้สิน ต้องได้รับการแก้ไข
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 16
[quote="นักดูดาว"][quote]
.... ปล่อยให้กลไกราคาทำงาน หรือครับ...เพราะมันทำงานไม่ได้นะสิครับ
.... ปล่อยให้กลไกราคาทำงาน หรือครับ...เพราะมันทำงานไม่ได้นะสิครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 17
ผมเริ่มเข้าใจแนวคิด "คุณนักดูดาว" แล้ว
คุณพูดถึงราคาสินทรัพย์ แต่มันไม่ใช่แค่นั้น...
มันมีเรื่องของ "เงินเดือน" ประชาชนด้วย อยู่ดีๆ ประชาชนที่ไหนจะยอมลดเงินเดือนตนเองลงมา 20% ด้วยเงินยูโร
คุณยอมไหมละ ยอมกันทั่วประเทศไหมละ ??
มันเป็นไปไม่ได้หรอกครับ.... เงิน "ยูโร" จึงเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ ในการเดินหน้าเพื่อปฏิรูป ศก.ของกรีซ
คุณพูดถึงราคาสินทรัพย์ แต่มันไม่ใช่แค่นั้น...
มันมีเรื่องของ "เงินเดือน" ประชาชนด้วย อยู่ดีๆ ประชาชนที่ไหนจะยอมลดเงินเดือนตนเองลงมา 20% ด้วยเงินยูโร
คุณยอมไหมละ ยอมกันทั่วประเทศไหมละ ??
มันเป็นไปไม่ได้หรอกครับ.... เงิน "ยูโร" จึงเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ ในการเดินหน้าเพื่อปฏิรูป ศก.ของกรีซ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 18
Ok สมมุติว่าใช้เงิน EURA มี 6 ประเทศ มีกรีซรวมอยูในนั้น
แต่หากประเทศกรีซผิดนัดชำระหนี้ ต้องล้มละลายจริงๆ อีก 5 ประเทศที่แข็งแกร่งอยู่ จะทำอย่างไรกับกรีซครับ สุดท้าย ต้องดีดกรีซออกไปหรือไม่?
ปัญหาอยู่ที่สกุลเงินจริงๆหรือ? หากแพงนัก ไม่มีคนซื้อ ก็ลดราคาสิ
นี่แหละกลไกราคา การลดค่าเงินเป็นการลดราคาแบบเหมารวมทั้งประเทศ สินค้าที่มีความต้องการ ราคาในหน่วยเงินก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี (ดูอย่างราคาทองในสกุลเงินดอลลาร์)
แต่หากประเทศกรีซผิดนัดชำระหนี้ ต้องล้มละลายจริงๆ อีก 5 ประเทศที่แข็งแกร่งอยู่ จะทำอย่างไรกับกรีซครับ สุดท้าย ต้องดีดกรีซออกไปหรือไม่?
ปัญหาอยู่ที่สกุลเงินจริงๆหรือ? หากแพงนัก ไม่มีคนซื้อ ก็ลดราคาสิ
นี่แหละกลไกราคา การลดค่าเงินเป็นการลดราคาแบบเหมารวมทั้งประเทศ สินค้าที่มีความต้องการ ราคาในหน่วยเงินก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี (ดูอย่างราคาทองในสกุลเงินดอลลาร์)
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 19
จริงครับ มันเกิดแน่ๆ การลดค่าจ้างแรงงาน ลดสวัสดิการ
แต่ผมมองว่าการเข้ามาซื้อสินทรัพย์ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นเองในท้ายที่สุด เพราะสินทรัพย์เองทำงานไม่ได้ ต้องใช้คน ..สุดท้ายรายได้ก็จะสามารถกลับมาได้ครับ
แต่ผมมองว่าการเข้ามาซื้อสินทรัพย์ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นเองในท้ายที่สุด เพราะสินทรัพย์เองทำงานไม่ได้ ต้องใช้คน ..สุดท้ายรายได้ก็จะสามารถกลับมาได้ครับ
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 20
[quote="นักดูดาว"]Ok สมมุติว่าใช้เงิน EURA
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 22
ถูกต้องนะครับ...แต่ทำไมจึงสามารถใช้จ่ายเกินตัวได้ ??teetotal เขียน:วิกฤติ แต่ละครั้ง สาเหตุส่วนหนึ่ง ก็มาจากการใช้จ่ายเกินตัว
เกินกว่า ความสามารถในการผลิตที่แท้จริงของตนเอง อยู่หลายครั้ง
คำตอบก็คือ "ค่าเงินที่แข็งเกินจริง" นั่นละครับ
ทำให้ส่งออกได้น้อย นำเข้ามามาก.... ขาดดุลการค้า ออมน้อยกว่าลงทุน
เม็กซิโก ไทย อาร์เจนตินา ใช่ทั้งนั้น ดันไปผูกกับดอลลาร์ ทั้งๆที่ความสามารถในการแข็งขัน ณ จุดนั้นๆ มันไม่ไหว
ผมจึงบอกว่า "ระบบอัตราแลกเปลี่ยน" นั่นละ คือ ต้นตอของปัญหาครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 23
ผมว่าไม่มีใครเข้ามาร่วมสถาปนาสกุลเงินใหม่แม้แต่รายเดียว... อย่างที่บอกครับ ถ้ามีปัญหา แก้ปัญหาของตัวง่ายกว่ากันเยอะ ทั้งในแง่ความอิสระ และไม่มีตัวถ่วง ผมไม่คิดว่าจะมีใครเอาตัวเข้ามาเสี่ยงกับกรีซครับ จะกลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อม จะพังไปกันหมดมีแต่คนที่อ่อนแอ อย่าง สเปน อังกฤษ อิตาลี ไอร์แลนด์ และ โปรตุเกส
พวกนี้ละครับที่จะเข้ามา
อีกประเด็น รัฐบาลอังกฤษ จะไปบอกประชาชนตัวเองอย่างไร ว่าต้องเลิกเงินสกุลปอนด์ เพื่อช่วยกรีซ(และเป็นการช่วยอังกฤษเองด้วย) อย่างนั้นหรือ ทำได้ง่ายเหรอครับ
ไม่เป็นตรรกะเลยครับ การสถาปนาสกุลเงินใหม่เป็นหมู่คณะ กรณีเลวร้ายที่สุด แยกกรีซออกจากเงินสกุลยูโรจะง่ายเสียกว่า แต่ผมก็คิดว่าไม่จำเป็นขนาดนั้น ดีเสียอีก การใช้เงินยูโร ทำให้การเคลื่อนย้ายทุน ทำได้ง่ายกว่าการมีสกุลเงินแปลกๆใหม่มากนัก
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 24
[quote="นักดูดาว"][quote]มีแต่คนที่อ่อนแอ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 25
อย่าได้ดูถูกแนวคิด "EURA" นี้นะครับ
หากทำสำเร็จจริง ประเทศที่เข้าร่วมอาจมีขนาด ศก.ราวๆ 7 ล้านๆ เหรียญ
และ ยูโรโซน ก็น่าจะเหลือราวๆ พอๆ กันที่ 7 ล้านๆ เหรียญ
ดังนั้น รวมแล้ว ก็ได้ 14 ล้านๆ เหรียญ ซึ่งเท่ากับ ศก.อเมริกาพอดี
นอกจากนี้ ทวีปแอฟริกา หลายประเทศก็ผูกพันกับ ยุโรปอย่างมาก พร้อมที่จะเข้ามา peg กับ ค่าเงิน EURA นี้แน่นอน เพราะ อ่อนกว่า ยูโร วิ่งตามไปง่ายกว่ากันมาก
อาจเป็น Hard Currency ที่สำคัญอีกสกุลหนึ่งของโลกได้เลย และ จะสนับสนุนศก.ของยุโรปเป็นอย่างดีครับ
หากทำสำเร็จจริง ประเทศที่เข้าร่วมอาจมีขนาด ศก.ราวๆ 7 ล้านๆ เหรียญ
และ ยูโรโซน ก็น่าจะเหลือราวๆ พอๆ กันที่ 7 ล้านๆ เหรียญ
ดังนั้น รวมแล้ว ก็ได้ 14 ล้านๆ เหรียญ ซึ่งเท่ากับ ศก.อเมริกาพอดี
นอกจากนี้ ทวีปแอฟริกา หลายประเทศก็ผูกพันกับ ยุโรปอย่างมาก พร้อมที่จะเข้ามา peg กับ ค่าเงิน EURA นี้แน่นอน เพราะ อ่อนกว่า ยูโร วิ่งตามไปง่ายกว่ากันมาก
อาจเป็น Hard Currency ที่สำคัญอีกสกุลหนึ่งของโลกได้เลย และ จะสนับสนุนศก.ของยุโรปเป็นอย่างดีครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 26
สนุกๆนะครับ อย่าคิดมาก ไม่ได้ดูถูกอะไรหรอก คนไทยด้วยกันทั้งนั้น
ตั้งโจทย์ขึ้นมาลับสมอง เป็นเรื่องดีครับ ได้ฝึกมองปัญหา ฝึกคิดแก้ปัญหา ผมชอบที่จะถกประเด็นต่างๆกับคุณอะไรดีล่ะ เพราะได้ฝึกมองโลกให้กว้างขวางขึ้นเป็นอย่างมาก ประเด็นที่คุณบอกว่าอเมริกาจะมีปัญหาเรื่องอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นคุณเฟยหง ที่ออกมาพูดเป็นคนแรกในวงการหุ้น ต้องขอแสดงความนับถือครับ
ส่วนประเด็นเงินยูโร ก็ต้องจับตาต่อไปครับ ทำได้เพียงเท่านี้
ตั้งโจทย์ขึ้นมาลับสมอง เป็นเรื่องดีครับ ได้ฝึกมองปัญหา ฝึกคิดแก้ปัญหา ผมชอบที่จะถกประเด็นต่างๆกับคุณอะไรดีล่ะ เพราะได้ฝึกมองโลกให้กว้างขวางขึ้นเป็นอย่างมาก ประเด็นที่คุณบอกว่าอเมริกาจะมีปัญหาเรื่องอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นคุณเฟยหง ที่ออกมาพูดเป็นคนแรกในวงการหุ้น ต้องขอแสดงความนับถือครับ
ส่วนประเด็นเงินยูโร ก็ต้องจับตาต่อไปครับ ทำได้เพียงเท่านี้
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 27
ขอบคุณครับ...นักเศรษฐศาสตร์มีหน้าที่ "เตือนภัย" ทาง ศก.ครับนักดูดาว เขียน:สนุกๆนะครับ อย่าคิดมาก ไม่ได้ดูถูกอะไรหรอก คนไทยด้วยกันทั้งนั้น
ตั้งโจทย์ขึ้นมาลับสมอง เป็นเรื่องดีครับ ได้ฝึกมองปัญหา ฝึกคิดแก้ปัญหา ผมชอบที่จะถกประเด็นต่างๆกับคุณอะไรดีล่ะ เพราะได้ฝึกมองโลกให้กว้างขวางขึ้นเป็นอย่างมาก ประเด็นที่คุณบอกว่าอเมริกาจะมีปัญหาเรื่องอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นคุณเฟยหง ที่ออกมาพูดเป็นคนแรกในวงการหุ้น ต้องขอแสดงความนับถือครับ
ส่วนประเด็นเงินยูโร ก็ต้องจับตาต่อไปครับ ทำได้เพียงเท่านี้
ระบบ FX ที่ผิดพลาด มักนำมาซึ่งวิกฤติอยู่เสมอ ตั้งแต่ "เตกีลา" ของเมกซิโก และ "ต้มยำกุ้ง" ของไทย แล้ว
ค่าเงินที่แข็งเกินจริง จะทำให้ขาดดุลการค้าต่อเนื่อง จนความเชื่อมั่นหดหาย และ ในที่สุดเงินทุนจะไหลออก
ECB และ ประเทศริมขอบยูโร ยังสับสนว่าต้นตอของปัญหาคืออะไร ??
พูดกันถึงแต่ "การลดงบประมาณ" มันไม่ใช่ และ มันจะไม่ช่วย
ต้นตอมันคือ "ระบบเงินยูโร" ต่างหาก นักเศรษฐศาสตร์ของ ECB ควรออกมาแนะนำให้แก้ไขตั้งแต่ 2-3 ปีก่อนแล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำอะไร
คงเคยชินว่าใช้กันมาตั้ง 10 ปี ไม่เห็นมีปัญหาอะไร (คล้ายๆ กับตะกร้าเงินบาทของไทยไหม) ที่จริงแล้วมีปัญหามานาน 4-5 ปีแล้ว ตั้งแต่ค่าเงินยืนสูงกว่า 1.2 ดอลลาร์นั่นละ เพราะ ประเทศริมขอบยูโรโซน รับกันไม่ไหว
"วิกฤติเงินยูโร" ครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก มันไม่ใช่แค่ กรีซ บ.จัดอันดับ 3 แห่ง มีประเทศเป้าหมายอย่างน้อยๆ 5 ประเทศ คือ กรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน และ อิตาลี ปรับลดกันได้เรื่อยๆ ครับ ใครทำก่อนก็ได้ผลงาน
ยิ่งถูกปรับลง ศก.ที่อ่อนแออยู่แล้ว อาจพังลงไปกับพื้น ลองนึกภาพว่า ศก.อันดับ 7 (อิตาลี) และ อันดับ 9 (สเปน) ของโลก ต้องประกาศ default "ชักดาบ" ดูแล้วกันนะครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 28
Greek Credit Rating Cut by S&P on Budget, More Moves Possible
Share Business ExchangeTwitterFacebook| Email | Print | A A A By Daniel Tilles and John Fraher
Dec. 17 (Bloomberg) -- Greeces credit rating was cut by Standard & Poors and the company threatened to take further action unless Prime Minister George Papandreou tackles the European Unions largest budget deficit.
The rating was lowered by one level to BBB+ from A-, S&P said in a statement late yesterday. Fitch Ratings on Dec. 8 cut Greek debt to BBB+. Papandreou two days ago pledged radical measures to fix Greeces budget.
The ratings could be further lowered if the government is unable to gain sufficient political support to implement a credible medium-term fiscal consolidation program, S&P credit analyst Marko Mrsnik in London said.
Papandreous government, which came to power in October promising higher spending and wages, is trying to persuade investors it will step up efforts to cut its deficit from 12.7 percent of output to below the European Unions 3 percent limit by 2013. Finance Minister George Papaconstantinou said in an interview yesterday that the country will cut its 2010 budget deficit by 4 percentage points, more than previously targeted.
The yield on the benchmark 10-year Greek government bond has increased 68 basis points to 5.53 percent since Dec. 2. S&P put Greeces rating on watch for a downgrade on Dec. 7 and its assessment is now at the third-lowest investment grade.
BBB+ for a country is worrying, said Emeric Challier, a fund manager at Avenir Finance Investment Managers in Paris, where he helps manage about $840 million in debt. Its an important surprise coming from S&P. We didnt expect it this soon.
Spread
Concern that some countries may struggle to pay their debt was reignited after Dubais state-owned Dubai World said on Dec. 1 it wanted to restructure $26 billion of debt. The premium, or spread, investors demand to hold Greek 10-year bonds instead of German bunds, Europes benchmark government securities, rose to 250 basis points yesterday, the highest closing level since April 2. It narrowed to 232 basis points yesterday.
Papandreou on Dec. 14 outlined his governments four-year plan to cut the shortfall below the EUs ceiling, appealing to unions and employer groups to help him change pension and tax rules to deliver radical action.
European Union officials are trying to assure markets that Greece wont default on its debt and at the same time keep up pressure on the country to get to grips with its deficit. German Chancellor Angela Merkel said Dec. 10 Europe has a responsibility to help Greece. A day later, European Central Bank President Jean-Claude Trichet said the country must take courageous action.
Further downgrades may cast doubt on the eligibility of Greek government debt as collateral in ECB operations. The ECB currently accepts bonds rated BBB- as collateral for loans after relaxing its rules in response to the financial crisis last year. At the end of 2010, it intends to revert to the old rules, under which A- is the minimum required rating.
Moodys Investors Service has an A1 rating on Greek government debt, three levels higher than the Fitch and S&P grades.
กรีซ ถูกลดอันดับเครดิต จาก S&P ตามฟิตซ์ มาติดๆ
ไม่รู้จะมีประเทศอื่นอีกไหม ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และ อิตาลี น่าห่วง
Share Business ExchangeTwitterFacebook| Email | Print | A A A By Daniel Tilles and John Fraher
Dec. 17 (Bloomberg) -- Greeces credit rating was cut by Standard & Poors and the company threatened to take further action unless Prime Minister George Papandreou tackles the European Unions largest budget deficit.
The rating was lowered by one level to BBB+ from A-, S&P said in a statement late yesterday. Fitch Ratings on Dec. 8 cut Greek debt to BBB+. Papandreou two days ago pledged radical measures to fix Greeces budget.
The ratings could be further lowered if the government is unable to gain sufficient political support to implement a credible medium-term fiscal consolidation program, S&P credit analyst Marko Mrsnik in London said.
Papandreous government, which came to power in October promising higher spending and wages, is trying to persuade investors it will step up efforts to cut its deficit from 12.7 percent of output to below the European Unions 3 percent limit by 2013. Finance Minister George Papaconstantinou said in an interview yesterday that the country will cut its 2010 budget deficit by 4 percentage points, more than previously targeted.
The yield on the benchmark 10-year Greek government bond has increased 68 basis points to 5.53 percent since Dec. 2. S&P put Greeces rating on watch for a downgrade on Dec. 7 and its assessment is now at the third-lowest investment grade.
BBB+ for a country is worrying, said Emeric Challier, a fund manager at Avenir Finance Investment Managers in Paris, where he helps manage about $840 million in debt. Its an important surprise coming from S&P. We didnt expect it this soon.
Spread
Concern that some countries may struggle to pay their debt was reignited after Dubais state-owned Dubai World said on Dec. 1 it wanted to restructure $26 billion of debt. The premium, or spread, investors demand to hold Greek 10-year bonds instead of German bunds, Europes benchmark government securities, rose to 250 basis points yesterday, the highest closing level since April 2. It narrowed to 232 basis points yesterday.
Papandreou on Dec. 14 outlined his governments four-year plan to cut the shortfall below the EUs ceiling, appealing to unions and employer groups to help him change pension and tax rules to deliver radical action.
European Union officials are trying to assure markets that Greece wont default on its debt and at the same time keep up pressure on the country to get to grips with its deficit. German Chancellor Angela Merkel said Dec. 10 Europe has a responsibility to help Greece. A day later, European Central Bank President Jean-Claude Trichet said the country must take courageous action.
Further downgrades may cast doubt on the eligibility of Greek government debt as collateral in ECB operations. The ECB currently accepts bonds rated BBB- as collateral for loans after relaxing its rules in response to the financial crisis last year. At the end of 2010, it intends to revert to the old rules, under which A- is the minimum required rating.
Moodys Investors Service has an A1 rating on Greek government debt, three levels higher than the Fitch and S&P grades.
กรีซ ถูกลดอันดับเครดิต จาก S&P ตามฟิตซ์ มาติดๆ
ไม่รู้จะมีประเทศอื่นอีกไหม ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และ อิตาลี น่าห่วง
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
โปรดระวังค่าเงินยูโร
โพสต์ที่ 29
Hedge Funds Target Euro Zone's Weak
The sudden spotlight on troubled government borrowers is presenting a long-awaited payday for investors who placed early bets against countries now under pressure.
Investors including Balestra Capital Ltd., Hayman Capital Partners LP, North Asset Management LLP and Pivot Capital Management Ltd. have been anticipating such flare-ups for at a year or longer, betting that some countries would emerge from the financial crisis in much worse shape than others.
.Those bearish positions had led to a difficult 2009, as investor confidence picked up and rivals gained by buying risky investments. Kyle Bass's $650 million Hayman Capital suffered losses this year, for example, while James Melcher's Balestra Capital is up about 5% in 2009, according to investors, less than the 20% or so gain of the average hedge fund.
But a chorus of warnings this week about the hazards of government borrowing from Dubai to Greece and the U.K. has rattled markets around the globeand some of those early bets are starting to pay off. On Wednesday, Standard & Poor's Ratings Services changed its outlook on Spain's credit rating to negative, a sign that a downgrade could lie ahead. A day earlier, Fitch Ratings cut Greece's credit rating to the lowest in the 16-member euro zone. On Monday, S&P cut Portugal's outlook to negative.
The last few days are Hayman's best this year, according to someone at the firm.
"Worry about sovereign risk is back on the table," says Norman Cerk, a senior executive at Balestra. Two years ago, the $1 billion firm began buying credit-default swapsderivatives that act like insurance to protect against a defaulton Greece, Ireland and Portugal. "It started with Dubai and now problems with Greece and other hot spots, like Latvia and Eastern Europe."
Rather than cash in profits, these investors say they are expanding their wagers, convinced that the sovereign debt of a number of countries will run into more problems over the next year or so.
Investors have focused on countries that are considered weaker members of the euro zone: Portugal, Italy, Ireland, Greece and Spain, a group that traders have given the disparaging acronym of "PIIGS."
Some hedge-fund investors foresaw problems for nations like Greece and spent the last year buying up credit-default swaps on debt issued by such governments. The goal is to buy the swaps when such protection is relatively cheap and sell them when debt worries erupt, sending such prices higher.
Some investors are betting bond prices of specific countries would fall, or that stocks and currencies would suffer in the wake of debt worries.
North Asset Management, a London hedge-fund firm, has been betting that the bonds of Spain and Italy will decline, given their fragile economies and large deficits. Such bonds have been hit in recent days.
In the wake of the S&P announcement, the risk premium that investors demand for holding 10-year Spanish government bonds compared to German government bonds, which are seen as safe, rose to 0.67 percentage points, up from 0.59 a day earlier.
As for Greece, bond prices there have already fallen considerably, sending yields higher. The next trade there could be to bet that local shares will keep falling, says North's George Papamarkakis, as the impact of the ratings downgrade makes borrowing harder for local banks, which filters down to the actual economy.
Shares of both Greek and Spanish banks fell hard Wednesday. The stock price of Spain's Banco Santander fell 3.6%, while the National Bank of Greece tumbled 6.6%.
Since at least 2007, Monaco-based hedge-fund manager Pivot Capital Management has been focused on the potential for unpleasant surprises in countries such as Spain, Portugal, Italy and Greece, as well as the Baltic States, Hungary and Poland.
"We think Europe's got many more problems which will come to light," said Carl George, a manager at Pivot Capital. "There are a lot of issues to be sorted out with government budget deficits still too high."
That approach paid off big-time last year, when the firm's main fund was up about 52%. Those results included successful bets using credit-default swaps on the deteriorating financial health of Greece and Portugal, as well as a wager against Iceland's ill-fated currency.
This year has been harder going for Pivot, but its performance has improved in recent months as the price of insuring government debt against default has risen. The fund was up about 5% this year through the end of October.
++ ผมพึ่งรู้ว่ามีการตั้งชื่อประเทศที่อ่อนแอพวกนี้อยู่ก่อนแล้ว
PIIGS โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และ สเปน
โดนเฮดจ์ฟันด์เล่นงานแน่ๆ..... อวสานเงิน "ยูโร" ซะแล้วละมั้ง
The sudden spotlight on troubled government borrowers is presenting a long-awaited payday for investors who placed early bets against countries now under pressure.
Investors including Balestra Capital Ltd., Hayman Capital Partners LP, North Asset Management LLP and Pivot Capital Management Ltd. have been anticipating such flare-ups for at a year or longer, betting that some countries would emerge from the financial crisis in much worse shape than others.
.Those bearish positions had led to a difficult 2009, as investor confidence picked up and rivals gained by buying risky investments. Kyle Bass's $650 million Hayman Capital suffered losses this year, for example, while James Melcher's Balestra Capital is up about 5% in 2009, according to investors, less than the 20% or so gain of the average hedge fund.
But a chorus of warnings this week about the hazards of government borrowing from Dubai to Greece and the U.K. has rattled markets around the globeand some of those early bets are starting to pay off. On Wednesday, Standard & Poor's Ratings Services changed its outlook on Spain's credit rating to negative, a sign that a downgrade could lie ahead. A day earlier, Fitch Ratings cut Greece's credit rating to the lowest in the 16-member euro zone. On Monday, S&P cut Portugal's outlook to negative.
The last few days are Hayman's best this year, according to someone at the firm.
"Worry about sovereign risk is back on the table," says Norman Cerk, a senior executive at Balestra. Two years ago, the $1 billion firm began buying credit-default swapsderivatives that act like insurance to protect against a defaulton Greece, Ireland and Portugal. "It started with Dubai and now problems with Greece and other hot spots, like Latvia and Eastern Europe."
Rather than cash in profits, these investors say they are expanding their wagers, convinced that the sovereign debt of a number of countries will run into more problems over the next year or so.
Investors have focused on countries that are considered weaker members of the euro zone: Portugal, Italy, Ireland, Greece and Spain, a group that traders have given the disparaging acronym of "PIIGS."
Some hedge-fund investors foresaw problems for nations like Greece and spent the last year buying up credit-default swaps on debt issued by such governments. The goal is to buy the swaps when such protection is relatively cheap and sell them when debt worries erupt, sending such prices higher.
Some investors are betting bond prices of specific countries would fall, or that stocks and currencies would suffer in the wake of debt worries.
North Asset Management, a London hedge-fund firm, has been betting that the bonds of Spain and Italy will decline, given their fragile economies and large deficits. Such bonds have been hit in recent days.
In the wake of the S&P announcement, the risk premium that investors demand for holding 10-year Spanish government bonds compared to German government bonds, which are seen as safe, rose to 0.67 percentage points, up from 0.59 a day earlier.
As for Greece, bond prices there have already fallen considerably, sending yields higher. The next trade there could be to bet that local shares will keep falling, says North's George Papamarkakis, as the impact of the ratings downgrade makes borrowing harder for local banks, which filters down to the actual economy.
Shares of both Greek and Spanish banks fell hard Wednesday. The stock price of Spain's Banco Santander fell 3.6%, while the National Bank of Greece tumbled 6.6%.
Since at least 2007, Monaco-based hedge-fund manager Pivot Capital Management has been focused on the potential for unpleasant surprises in countries such as Spain, Portugal, Italy and Greece, as well as the Baltic States, Hungary and Poland.
"We think Europe's got many more problems which will come to light," said Carl George, a manager at Pivot Capital. "There are a lot of issues to be sorted out with government budget deficits still too high."
That approach paid off big-time last year, when the firm's main fund was up about 52%. Those results included successful bets using credit-default swaps on the deteriorating financial health of Greece and Portugal, as well as a wager against Iceland's ill-fated currency.
This year has been harder going for Pivot, but its performance has improved in recent months as the price of insuring government debt against default has risen. The fund was up about 5% this year through the end of October.
++ ผมพึ่งรู้ว่ามีการตั้งชื่อประเทศที่อ่อนแอพวกนี้อยู่ก่อนแล้ว
PIIGS โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และ สเปน
โดนเฮดจ์ฟันด์เล่นงานแน่ๆ..... อวสานเงิน "ยูโร" ซะแล้วละมั้ง
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต