เรื่องตั้งใจจะให้จริงหรือไม่ ดูง่ายๆจาก เงินปันผล ครับ ถ้าลูกได้รับเงินปันผล แล้วโอนเงินนั้นให้พ่อแม่ทันทีทั้งจำนวน ก็ส่อเจตนาว่า เจ้าของหุ้นจริงๆไม่ใช่ลูก แต่เป็นพ่อแม่ต่างหาก วิธีตรวจสอบอื่นก็คงมีอีก หากจะระวัง ก็ขอให้เริ่มจากเจตนาที่จะโอนให้ลูกจริงๆ ไม่ใช่ไปฝากเอาไว้ในชื่อลูก หมายความว่า สิทธิในการซื้อ ขาย รับเงินปันผล หรือโหวตในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ก็เป็นสิทธิของลูกที่เป็นเจ้าของหุ้น ไม่ใช่อยู่ภายใต้การตัดสินใจของพ่อแม่เหมือนเดิมace เขียน: ถามอีกนิดครับ แล้วเค้าใช้อะไรตัดสินครับว่าไม่ได้ตั้งใจจะให้จริง จะได้ระวังไว้ แหะๆ
กรณีของอดีตนายกฯ มีรายละเอียดเยอะมากครับ มีทั้งยกให้ และขายให้ โยกไปโยกมาในเครือญาติ มีโอนไปที่แอมเพิลริช, วินมาร์ค, บลูไดมอนด์ พอเล่นแร่แปรธาตุมากขนาดนี้ย่อมมีร่องรอยให้ตามไม่ยากเลยครับ (ถ้ามีคนกล้าตามรอย) ที่สำคัญ กรณียึดทรัพย์อดีตนายกฯที่ศาลเพิ่งตัดสินไป ประเด็นอยู่ที่การได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยใช้อำนาจที่มิชอบ นะครับ ไม่ใช่เรื่องภาษีขายหุ้น (ภาษีเป็นคดีอื่น) ดังนั้น การวินิจฉัยเรื่องซุกหุ้นจะส่งผลกับ conflict of interest ที่รัฐธรรมนูญห้ามไว้ (ห้ามตั้งแต่ รธน. 2540 แล้วครับ) ใครสนใจเรื่องภาษี ควรไปศึกษาคดีที่ศาลอาญาตัดสินให้คุณหญิงพจมานและคุณบรรณพจน์ผิดในคดีภาษีเมื่อปี 2551 น่าจะตรงกว่า