หนังสือดีน่าอ่าน กรณีตัวอย่าง Roynet?
-
- Verified User
- โพสต์: 67
- ผู้ติดตาม: 0
หนังสือดีน่าอ่าน กรณีตัวอย่าง Roynet?
โพสต์ที่ 1
เมื่อวานไปอ่านหนังสือที่ se-ed มา เจอหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ชื่อว่า เข็นบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ไม่รู้ว่ามีใครได้อ่านบ้างหรือยัง เป็นกรณีของ Roynet ยืนอ่านอยู่พักใหญ่เห็นแล้วตกใจมาก............ ถึงมากที่สุด เรื่องของงบการเงินย้อนหลัง 3 เดือนกับผู้ทำบัญชี และความสับเพร่าของ auditor เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ก่อนผมจะเข้ามาลงทุนในตลาด
เรื่องก็คงรู้ ๆ กันอยู่ว่า แต่งงบการเงิน แต่ถามว่ามันแต่งตรงไหน ก็คงเป็นเรื่องของรายได้ แต่รายได้ที่ว่านั้นถ้าไม่ใช่นักบัญชีหรือคนที่ดูงบมานาน ๆ จริง ๆ ดูก็คงจะดูไม่ออกว่าในหน้างบการเงินมันแต่งจนน่าสังเกตุตั้งแต่ต้นแล้ว
1. ข้อสังเกตุที่คนที่ดูงบนาน ๆ หรือนักบัญชีสังเกตุเป็นก็คือตัวเลขของลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เท่า กับมาตราฐานการบันทึกบัญชีรายได้ ในส่วนของมาตราฐานการบันทึกรายได้ที่อยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คร่าว ๆ ได้ว่า บันทึกบัญชีรับรู้รายได้เมื่อตัวแทนได้ขายสินค้าของบริษัทให้กับบุคคลที่ 3 แล้ว หมายความว่าจะรับรู้รายได้ก็ต่อเมื่อผุ้บริโภคอย่างเรา ๆ ซื้อมาใช้ ส่งผลให้ ใน Q3 ได้มีการปรับปรุงงบการเงินอย่างใหญ่หลวง
2. ผู้บริหารขายหุ้นของตัวเองออกมาจนหมด
3. ส่วนนักบัญชีก็เป็นเพียงนักศึกษาจบใหม่ (ผมไม่ได้ดูถูกว่านักศึกษาจบใหม่จะปิดงบการเงินไม่ได้แต่ เรื่องของการรับรู้รายได้ทางภาษีกับการรับรู้รายได้ตามมาตราฐานการบัญชีไม่เหมือนกัน เพราะถ้าเป็นกรณีของ ซื้อมาขายไปจะไม่มีปัญหา แต่นี่เป็นกิจการที่เรียกว่า บริการ รับรู้รายได้ไม่เหมือนกัน)
มันเป็นเรื่องที่อ่านแล้วหดหู่มาก ๆ
ปล.หนังสือหนาประมาณ yellow pages
เรื่องก็คงรู้ ๆ กันอยู่ว่า แต่งงบการเงิน แต่ถามว่ามันแต่งตรงไหน ก็คงเป็นเรื่องของรายได้ แต่รายได้ที่ว่านั้นถ้าไม่ใช่นักบัญชีหรือคนที่ดูงบมานาน ๆ จริง ๆ ดูก็คงจะดูไม่ออกว่าในหน้างบการเงินมันแต่งจนน่าสังเกตุตั้งแต่ต้นแล้ว
1. ข้อสังเกตุที่คนที่ดูงบนาน ๆ หรือนักบัญชีสังเกตุเป็นก็คือตัวเลขของลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เท่า กับมาตราฐานการบันทึกบัญชีรายได้ ในส่วนของมาตราฐานการบันทึกรายได้ที่อยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คร่าว ๆ ได้ว่า บันทึกบัญชีรับรู้รายได้เมื่อตัวแทนได้ขายสินค้าของบริษัทให้กับบุคคลที่ 3 แล้ว หมายความว่าจะรับรู้รายได้ก็ต่อเมื่อผุ้บริโภคอย่างเรา ๆ ซื้อมาใช้ ส่งผลให้ ใน Q3 ได้มีการปรับปรุงงบการเงินอย่างใหญ่หลวง
2. ผู้บริหารขายหุ้นของตัวเองออกมาจนหมด
3. ส่วนนักบัญชีก็เป็นเพียงนักศึกษาจบใหม่ (ผมไม่ได้ดูถูกว่านักศึกษาจบใหม่จะปิดงบการเงินไม่ได้แต่ เรื่องของการรับรู้รายได้ทางภาษีกับการรับรู้รายได้ตามมาตราฐานการบัญชีไม่เหมือนกัน เพราะถ้าเป็นกรณีของ ซื้อมาขายไปจะไม่มีปัญหา แต่นี่เป็นกิจการที่เรียกว่า บริการ รับรู้รายได้ไม่เหมือนกัน)
มันเป็นเรื่องที่อ่านแล้วหดหู่มาก ๆ
ปล.หนังสือหนาประมาณ yellow pages
หุ้น - การลงทุน หรือการพนัน คุณเป็นคนพิจารณา