DCF แบบบ้านๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 993
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 31
ขอบคุณครับ
พอเข้าใจเรื่องตัวเลขคราวๆและ
แต่ต้องศึกษาอีกที
พอเข้าใจเรื่องตัวเลขคราวๆและ
แต่ต้องศึกษาอีกที
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 32
ถามพี่ ส สลึงครับว่าพี่หาFCFของกลุ่มประกันยังไง??
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 33
ต้องออกตัวก่อนนะครับneo_potato_Th เขียน:ถามพี่ ส สลึงครับว่าพี่หาFCFของกลุ่มประกันยังไง??
ว่าผมไม่ได้คำนวณหา intrinsic value ด้วย dcf แต่อย่างใด
ผมจึงไม่จำเป็นต้องมีการคาดการณ์ที่แม่นยำ
ดังนั้น fcf ที่ผมใช้จึงไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
แต่อาศัยความง่ายเป็นหลัก
และอาศัยติดตามการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี
fcf ของผม = เงินสดจากการดำเนินงาน + เงินสดจากการลงทุน
หรือ = เงินสด ณ วันสิ้นงวด - เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
เป็น fcf แบบบ้านๆ
ที่พอจะบอกความน่าสนใจลงทุนได้
แต่สิ่งที่ผมให้ความสำคัญมากกว่า
คือที่มาของ fcf และที่ๆ fcf ไป
ปล.
บ.ประกัน ผมก็คิดเหมือนกันครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 34
ลองนึกภาพเป็นเครื่องจักรดูครับ (สุมมติไม่คิดค่าเสื่อมนะคับ)
สมมุติผมมีเครื่องจักรมหัศจรรย์ที่สามารถใส่เงินเข้าไป100บาทแล้วจะได้เงินออกมา 120 บาท FCF หรือ owner earning ก็คือ 20บาทเป็นเงินสดที่เข้ากระเป๋าเรา! สมมมุติเครื่องจักรเราใส่เงินได้เต็มที่1000บาท
ทีนี้เริ่มต้นปีที1
เรามีเครื่องจักร1เครื่อง ใส่เงินไป 1000บาท ได้เงินมา 1200บาท -->กำไรสุทธิ= 200บาท เราจึงตัดสินใจเอาเงินไปลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่ม 1เครื่องหมดตังไป100บาท ได้เครื่องจักรมา1เครื่อง ดังนั้นเหลือFCFเข้ากระเป่าเรา100บาท
ปีที่2 เรามีเครื่องจักร2 เครื่อง ใส่เงินไป2000บาทได้เงินมา 2400บาท กำไรสุทธิ 400บาท ซื้อเครื่องจักรเพิ่ม 1 เครื่อง หมดตัง ไป 100 บาท ดังนั้นเหลือ FCF 300 บาท
ปีที่3 มีเครื่องจักร3เครื่อง ใส่เงินไป 3000บาท ได้เงินมา 3600 บาท กำไร 600บาท สมมุติปีนี้รู้สึกว่าตัวเองรวยแล้วเลิกเอาเงินไปเที่ยวเชียงใหม่หาหลินปิงดีกว่า ไม่คิดจะขยายกิจการอีกต่อไป จะเดินเครื่องด้วยเครื่องจักร3เครื่องไปเรื่อยๆตั้งแต่ปีที่4
สมุมติเงินเฟ้อ3% ใช้อัตราคิดลด10%
ดังนั้นปีที่4 terminal value= 600*100/(10-3)=8571
ถามว่าจะซื้อเครื่องจักรดีมั้ยที่ราคา 3000บาท
มาดูกันFCFปีที่1 = 100บาท ปีท่2=300บาท ปีที่3=600บาท terminalvaue= 8571
intrinsicvalue= 100/1.1+300/1.1^2+600/1.1^3+8571/1.1^3
=90.9+247.93+450.79+6440 =7229 บาท
ดีลนี้MOSน่าพอใจซื้อดีกว่า:D
สมมุติผมมีเครื่องจักรมหัศจรรย์ที่สามารถใส่เงินเข้าไป100บาทแล้วจะได้เงินออกมา 120 บาท FCF หรือ owner earning ก็คือ 20บาทเป็นเงินสดที่เข้ากระเป๋าเรา! สมมมุติเครื่องจักรเราใส่เงินได้เต็มที่1000บาท
ทีนี้เริ่มต้นปีที1
เรามีเครื่องจักร1เครื่อง ใส่เงินไป 1000บาท ได้เงินมา 1200บาท -->กำไรสุทธิ= 200บาท เราจึงตัดสินใจเอาเงินไปลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่ม 1เครื่องหมดตังไป100บาท ได้เครื่องจักรมา1เครื่อง ดังนั้นเหลือFCFเข้ากระเป่าเรา100บาท
ปีที่2 เรามีเครื่องจักร2 เครื่อง ใส่เงินไป2000บาทได้เงินมา 2400บาท กำไรสุทธิ 400บาท ซื้อเครื่องจักรเพิ่ม 1 เครื่อง หมดตัง ไป 100 บาท ดังนั้นเหลือ FCF 300 บาท
ปีที่3 มีเครื่องจักร3เครื่อง ใส่เงินไป 3000บาท ได้เงินมา 3600 บาท กำไร 600บาท สมมุติปีนี้รู้สึกว่าตัวเองรวยแล้วเลิกเอาเงินไปเที่ยวเชียงใหม่หาหลินปิงดีกว่า ไม่คิดจะขยายกิจการอีกต่อไป จะเดินเครื่องด้วยเครื่องจักร3เครื่องไปเรื่อยๆตั้งแต่ปีที่4
สมุมติเงินเฟ้อ3% ใช้อัตราคิดลด10%
ดังนั้นปีที่4 terminal value= 600*100/(10-3)=8571
ถามว่าจะซื้อเครื่องจักรดีมั้ยที่ราคา 3000บาท
มาดูกันFCFปีที่1 = 100บาท ปีท่2=300บาท ปีที่3=600บาท terminalvaue= 8571
intrinsicvalue= 100/1.1+300/1.1^2+600/1.1^3+8571/1.1^3
=90.9+247.93+450.79+6440 =7229 บาท
ดีลนี้MOSน่าพอใจซื้อดีกว่า:D
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 36
ก็ขึ้นกับFCFละครับว่า2014จะเป็นเท่าไหร่อย่างในcase ผมเดาว่าไปต่ออีก15% ก็ใช้FCFของ2014 x 10
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 395
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 37
ผมดูอีกทีแล้วเข้าใจแล้วครับ ผมดูหลักผิดไปเองแหละ วิธีนี้จริงๆก็น่าจะใช้ได้ดีนะครับแต่ว่าปัญหาน่าจะอยู่ที่ตัวคูณของปีสุดท้ายแต่ถ้าเราคิดแบบconservativeก็น่าจะช่วยให้ค่าไม่ผิดพลาดมาก
ส่วนวิธีนี้จะให้ผลแตกต่างจากDCFแบบดั้งเดิมไหมหรือมีจุดอ่อนยังไงผมว่าต้องเชิญระดับอาจารย์อย่างคุณฉัตรชัย หรืออ.มนมาวิจารณ์แล้วล่ะครับ
ส่วนวิธีนี้จะให้ผลแตกต่างจากDCFแบบดั้งเดิมไหมหรือมีจุดอ่อนยังไงผมว่าต้องเชิญระดับอาจารย์อย่างคุณฉัตรชัย หรืออ.มนมาวิจารณ์แล้วล่ะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 38
ผมว่าใช้terminal valueก็ได้ไม่ต้องคิดมาก :lol:
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 41
ขอบคุณมากครับ
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 43
จากตัวอย่าง ผมว่าดูจะสุดโต่งไปหน่อย ...neo_potato_Th เขียน:ทีนี้เริ่มต้นปีที1
เรามีเครื่องจักร1เครื่อง ใส่เงินไป 1000บาท ได้เงินมา 1200บาท -->กำไรสุทธิ= 200บาท เราจึงตัดสินใจเอาเงินไปลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่ม 1เครื่องหมดตังไป100บาท ได้เครื่องจักรมา1เครื่อง ดังนั้นเหลือFCFเข้ากระเป่าเรา100บาท
ปีที่2 เรามีเครื่องจักร2 เครื่อง ใส่เงินไป2000บาทได้เงินมา 2400บาท กำไรสุทธิ 400บาท ซื้อเครื่องจักรเพิ่ม 1 เครื่อง หมดตัง ไป 100 บาท ดังนั้นเหลือ FCF 300 บาท
เพราะเครื่องจักรแรกซื้อมาในราคา 1,000
แต่เครื่องที่ 2 ซื้อมาในราคาแค่ 100
อันนี้ผมแซวเล่นครับน้อง neo ...
สำหรับการพิจารณา FCF ของผม ผมจะมองอะไรที่ต่างไปครับ
ลืมเรื่อง DCF ไปได้เลย เพราะผมไม่ใช้
บ. A ทำธุรกิจเหมือน บ. B
บ. A มีเครื่องจักร 6 เครื่อง ผลิต FCF ได้ปีละ 600
ส่วน บ. B มีเครื่องจักรเครื่องเดียว ผลิต FCF ได้ปีละ 100
ต่อมาทั้ง 2 บ. ประสงค์จะเพิ่มกำลังผลิต
โดยลงทุนเพิ่มเครื่องจักรใหม่ 1 เครื่อง มูลค่า 2,000
ซึ่งทั้ง 2 บ. จะใช้เงินจากเงินทุนหมุนเวียน กับกู้มาบ้างส่วน
สิ่งที่ผมสนใจคือ
กำลังจะเกิดขึ้นกับ บ. A และ บ. B บ้าง
เมื่อปีต่อๆไป FCF ของ บ.A และ บ. B ลดลง...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 44
เห็นดว้ยครับเราควรที่จะศึกษาและฝึกทำประมาณการงบการเงินนะครับ อย่างพยายามคิดง่ายๆ ถ้าง่ายแต่ผิดพลาดเยอะ คงไม่ดี จริงไหมครับ
สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินสด เช่น สถาบันการเงิน ประกันต่างๆ คงไม่สามารถใช้วิธีการนี้ได้ครับ
แล้วการประมาณการควรจะทำยังไงบ้างครับ??
-extrapolateไปเลย??
-ยังไงดี??
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 45
extrapolateไปเลยคงไม่work
ผมว่าต้องดูเป็นรายบริษัทไปว่าGPM,SGA,NPM มันเป็นสัดส่วนยังไง
เช่นSGAเพิ่มตามยอดขายตามๆสัดส่วนเท่าๆกันรึเปล่า?? GPM,NPMอนาคตจะเป็นยังไง
ส่วน CWC อ่านในหนังสือท่านแม่ทัพ มี2แบบคือบางครั้งเค้าถือว่าเป็น0ในบางธุรกิจเช่น modern trade พูดง่ายๆคือไม่ต้องใส่เงินเข้าไปในระบบเพิ่ม-->มีอีกรึเปล่าใครรู้ช่วยตอบที
ส่วนอีกแบบคือ CWCเพิ่มเป็นอัตราส่วนตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น เช่นเป็นสัดส่วน20%ของยอดขายไปเรื่อยๆCWCจะต้องเพิ่มเรือ่ยๆ
ชักงงแล้ว
ผมว่าต้องดูเป็นรายบริษัทไปว่าGPM,SGA,NPM มันเป็นสัดส่วนยังไง
เช่นSGAเพิ่มตามยอดขายตามๆสัดส่วนเท่าๆกันรึเปล่า?? GPM,NPMอนาคตจะเป็นยังไง
ส่วน CWC อ่านในหนังสือท่านแม่ทัพ มี2แบบคือบางครั้งเค้าถือว่าเป็น0ในบางธุรกิจเช่น modern trade พูดง่ายๆคือไม่ต้องใส่เงินเข้าไปในระบบเพิ่ม-->มีอีกรึเปล่าใครรู้ช่วยตอบที
ส่วนอีกแบบคือ CWCเพิ่มเป็นอัตราส่วนตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น เช่นเป็นสัดส่วน20%ของยอดขายไปเรื่อยๆCWCจะต้องเพิ่มเรือ่ยๆ
ชักงงแล้ว
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 48
เห็นด้วยๆpwz เขียน:จริงๆเรื่องการประมาณการนี่ทำให้เราเช็คได้เลยนะครับว่าเราเข้าใจบริษัทขนาดไหน ผมเคยคิดว่าเข้าใจแต่พอประมาณการแล้วกลายเป็นว่ามีข้อมูลหลายส่วนที่เราไม่รู้
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 395
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 49
ผมสองเอาวิธีนี้ไปใช้เทียบกับิธีของคุณสุมาอี้ดูโดยเอาเอาตัวอย่างหุ้นmintแล้วใช้FCFปีที่8ตามหนังสือคูณด้วยราคาขายที่10และ15เท่าเอามาบวกเงินสดแล้วลบหนี้สินปรากฏว่าได้ราคาห่างจากหนังสือมาก(แต่ตัวคูณที่15เท่าถ้าไม่เอามาลบหนี้สินจะได้ใกล้เคียงหนังสือ) ดังนั้นจุดอ่อนของวิธีนี้ที่เห็นได้ชัดๆเลยก็คือตัวคูณที่เราไม่รู้จะประมาณการจากอะไรดีเพราะถ้าเอาเท่ากับPEปัจจุบันมันก็จะover valueมาก หรือจะคูณโดยประมาณการตามคุณสมบัติหุ้น ถ้าgoodคูณ10 greatคูณ15 :?: :?: :?:
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 50
ทำเป็นterminal valueแก้ได้มั้ยครับ
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 52
ผมว่ามันง่ายกว่าเราไปนั่งประมาณาราคา/FCF อีกนะครับpwz เขียน: ถ้าทำเป็นterminal valueก็กลายเป็นdcfแบบปกติ สรุปว่าDCFคิดแบบบ้านๆไม่ได้
แต่อย่างว่าเราไม่ได้ถือบริษัทนั้นไปตลอดไป
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- Verified User
- โพสต์: 216
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 54
ผม VI มือใหม่ครับ
ผมอ่าน หนังสือ ประเมินมูลค่าหุ้นของพี่ สุมาอี้ มาแล้วครับแต่ยังสงสัยดังนี้ครับ
มูลค่าต่อหุ้นที่วัดได้เป็นมูลค่าปัจจุบันหรือมูลค่าตลอดอายุของกิจการครับ
1. ถ้าเป็นมูลค่าปัจจุบัน เราก็ซื้อต่ำกว่า มี margin of safety พอสมควร เช่น 2/3 ของราคาที่คำนวณได้ แล้วเราควรจะขายที่เท่าไรครับ เพราะเราไม่รู้มูลค่าขึ้นไปถึงไหน อาจทำให้เราเสียโอกาสในการทำกำไรที่มากกว่าที่เราควรจะได้
2. ถ้าเป็นมูลค่าตลอดอายุของกิจการ เราซื้อต่ำกว่าที่เราคำนวณได้ อย่างตัวอย่างในหนังสือ เช่น HMPRO มี upside ไม่ถึง 1 เท่า จากราคาตอนที่เราคำนวณ แต่ที่เคยอ่านในหนังสือหลายๆเล่ม หุ้นพื้นฐานดี มีกำไรและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถ้าถือนานประมาณ 5 ปีขึ้นไป มูลค่าหุ้นจะขึ้นไป 5 เท่า 10 เท่า 15 เท่า หรือมากกว่านั้น
รบกวนหน่อยครับ
ผมอ่าน หนังสือ ประเมินมูลค่าหุ้นของพี่ สุมาอี้ มาแล้วครับแต่ยังสงสัยดังนี้ครับ
มูลค่าต่อหุ้นที่วัดได้เป็นมูลค่าปัจจุบันหรือมูลค่าตลอดอายุของกิจการครับ
1. ถ้าเป็นมูลค่าปัจจุบัน เราก็ซื้อต่ำกว่า มี margin of safety พอสมควร เช่น 2/3 ของราคาที่คำนวณได้ แล้วเราควรจะขายที่เท่าไรครับ เพราะเราไม่รู้มูลค่าขึ้นไปถึงไหน อาจทำให้เราเสียโอกาสในการทำกำไรที่มากกว่าที่เราควรจะได้
2. ถ้าเป็นมูลค่าตลอดอายุของกิจการ เราซื้อต่ำกว่าที่เราคำนวณได้ อย่างตัวอย่างในหนังสือ เช่น HMPRO มี upside ไม่ถึง 1 เท่า จากราคาตอนที่เราคำนวณ แต่ที่เคยอ่านในหนังสือหลายๆเล่ม หุ้นพื้นฐานดี มีกำไรและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถ้าถือนานประมาณ 5 ปีขึ้นไป มูลค่าหุ้นจะขึ้นไป 5 เท่า 10 เท่า 15 เท่า หรือมากกว่านั้น
รบกวนหน่อยครับ
- j21
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 690
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 55
[quote="Mote_VI"]ผม VI มือใหม่ครับ
ผมอ่าน หนังสือ ประเมินมูลค่าหุ้นของพี่ สุมาอี้ มาแล้วครับแต่ยังสงสัยดังนี้ครับ
มูลค่าต่อหุ้นที่วัดได้เป็นมูลค่าปัจจุบันหรือมูลค่าตลอดอายุของกิจการครับ
1. ถ้าเป็นมูลค่าปัจจุบัน เราก็ซื้อต่ำกว่า มี margin of safety พอสมควร เช่น
ผมอ่าน หนังสือ ประเมินมูลค่าหุ้นของพี่ สุมาอี้ มาแล้วครับแต่ยังสงสัยดังนี้ครับ
มูลค่าต่อหุ้นที่วัดได้เป็นมูลค่าปัจจุบันหรือมูลค่าตลอดอายุของกิจการครับ
1. ถ้าเป็นมูลค่าปัจจุบัน เราก็ซื้อต่ำกว่า มี margin of safety พอสมควร เช่น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 56
มูลค่าที่คำนวนได้ คือมูลค่าของปีนั้นๆครับ
จะซื้อเมื่อ
-มีmosเพียงพอ เช่น คำนวนได้100บาท ก็เข้าซื้อซัก 50บาท
จะขายเมื่อ
-ราคาเกินintrinsic value =100บาท ราคามันจะไปต่อก็ช่างมันเถอะปล่อยให้คนอื่นเค้าได้กำไรมั่ง
-คิดผิด
-เจอตัวอื่นที่ดีกว่า
3ข้อ ลอกพี่Bluebloodมา
สุดท้ายก็อยุ่ที่ว่าvaluationเราแม่นจิงอะป่าว:D
จะซื้อเมื่อ
-มีmosเพียงพอ เช่น คำนวนได้100บาท ก็เข้าซื้อซัก 50บาท
จะขายเมื่อ
-ราคาเกินintrinsic value =100บาท ราคามันจะไปต่อก็ช่างมันเถอะปล่อยให้คนอื่นเค้าได้กำไรมั่ง
-คิดผิด
-เจอตัวอื่นที่ดีกว่า
3ข้อ ลอกพี่Bluebloodมา
สุดท้ายก็อยุ่ที่ว่าvaluationเราแม่นจิงอะป่าว:D
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 58
แม่นแล้ว:Dส.สลึง เขียน: เสริมให้ครับ ...
ถ้าการลงทุนของเรามี MOS
Valuation ก็ไม่จำเป็นต้องแม่นเป๊ะๆ
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- Verified User
- โพสต์: 216
- ผู้ติดตาม: 0
DCF แบบบ้านๆ
โพสต์ที่ 59
ขอบคุณมากครับ รบกวนอีกครั้งครับ
1. เราต้องคำนวณ DCF ทุกปีหรือเปล่าครับ เพราะจะมีพื้นฐานหรือปัจจัยต่างๆเปลี่ยนไป เช่น กำไร นโยบายการขยายกิจการของบริษัท เป็นต้น
ถ้าคำนวณใหม่แล้ว ถ้ามูลค่าที่คำนวณได้ต่ำกว่าราคาปัจจุบันพอสมควรก็ถือต่อ ถ้ามูลค่าที่คำนวณได้สุงกว่าราคาปัจุบันก็ขาย ผมคิดถูกไหมครับ
2. สมมุตินะครับ ถ้าพื้นฐานและปัจจัยต่างๆไม่เปลี่ยน เช่น ปี52 คำนวณได้มูลค่าที่แท้จริง 7.2 บาท ปี53 กำไรก็เพิ่มขึ้นตามที่เราคาดการณ์ตอนปี52 แต่มูลค่าที่แท้จริง ณ ปี 52 ก็คงไม่ใช่ 7.2 บาท แล้วใช่ไหมครับ มันจะต้องสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินที่ลดลงตามเงินเฟ้อ (ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่า) หรือจากกำไรทีตั้งต้นที่จะใช้คำนวณเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ต้องคำนวณใหม่ ผมคิดถูกไหมครับ
รบกวนอีกครั้งครับ
1. เราต้องคำนวณ DCF ทุกปีหรือเปล่าครับ เพราะจะมีพื้นฐานหรือปัจจัยต่างๆเปลี่ยนไป เช่น กำไร นโยบายการขยายกิจการของบริษัท เป็นต้น
ถ้าคำนวณใหม่แล้ว ถ้ามูลค่าที่คำนวณได้ต่ำกว่าราคาปัจจุบันพอสมควรก็ถือต่อ ถ้ามูลค่าที่คำนวณได้สุงกว่าราคาปัจุบันก็ขาย ผมคิดถูกไหมครับ
2. สมมุตินะครับ ถ้าพื้นฐานและปัจจัยต่างๆไม่เปลี่ยน เช่น ปี52 คำนวณได้มูลค่าที่แท้จริง 7.2 บาท ปี53 กำไรก็เพิ่มขึ้นตามที่เราคาดการณ์ตอนปี52 แต่มูลค่าที่แท้จริง ณ ปี 52 ก็คงไม่ใช่ 7.2 บาท แล้วใช่ไหมครับ มันจะต้องสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินที่ลดลงตามเงินเฟ้อ (ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่า) หรือจากกำไรทีตั้งต้นที่จะใช้คำนวณเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ต้องคำนวณใหม่ ผมคิดถูกไหมครับ
รบกวนอีกครั้งครับ