สอบถามเรื่อง PE และ PB
-
- Verified User
- โพสต์: 21
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่อง PE และ PB
โพสต์ที่ 1
รบกวนขอความรู้หน่อยครับ
ผมพึ่งมาศึกษาเกี่ยวกับ VI แล้วยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง PB และ PE
การที่ค่า PE นั้นต่ำ (ต่ำกว่า 10) แต่ค่า PB นั้นสูง (ประมาณ 2 ขึ้น ไป) นี่หมายความว่ายังไงครับ
และเช่นกันถ้าค่า PE นั้นสูง แต่ ค่า PB นั้นต่ำ นี่เราจะวิเคราะห์ว่ายังไงครับ
ขอบคุณมากครับ
ผมพึ่งมาศึกษาเกี่ยวกับ VI แล้วยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง PB และ PE
การที่ค่า PE นั้นต่ำ (ต่ำกว่า 10) แต่ค่า PB นั้นสูง (ประมาณ 2 ขึ้น ไป) นี่หมายความว่ายังไงครับ
และเช่นกันถ้าค่า PE นั้นสูง แต่ ค่า PB นั้นต่ำ นี่เราจะวิเคราะห์ว่ายังไงครับ
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 241
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่อง PE และ PB
โพสต์ที่ 4
ลองเสิร์ทดูก่อนครับ ในเว็บนี้มีผู้ให้ความรู้ไว้แล้วมากมาย ครบถ้วนแน่นอนครับ :D
"สุขใดยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี"
- ซุนเซ็ก
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่อง PE และ PB
โพสต์ที่ 5
เอาคราวๆนะ
P/E = ราคา/รายได้
ตัวอย่าง บริษัท A ราคา 10 บาท ปีๆนึงหาเงินได้ 2 บาท
ก็เท่ากับว่า บริษัท A ทำงาน 5 ปีก็จะได้ทุนคืน
P/E = ราคา/รายได้ = 10/2 = 5 นั้นเอง
P/BV = ราคา/มูลค่าทางบัญชี
เป็นอะไรกว่าซับซ้อนกว่า P/E ครับ
P/BV เอาไว้ดูประกอบ P/E เอาไปตัดสินใจโดดๆไม่ได้
เพราะบางหุ้น P/BV น้อยๆก็จริง แต่บัญชีมันไร้คุณภาพ(เช่นมีลูกหนี้มากมาย ที่เก็บไม่ได้)
ปล.กระทู้นี้ น่าจะย้ายไปห้องมือใหม่หัดลงทุน นะครับ
P/E = ราคา/รายได้
ตัวอย่าง บริษัท A ราคา 10 บาท ปีๆนึงหาเงินได้ 2 บาท
ก็เท่ากับว่า บริษัท A ทำงาน 5 ปีก็จะได้ทุนคืน
P/E = ราคา/รายได้ = 10/2 = 5 นั้นเอง
P/BV = ราคา/มูลค่าทางบัญชี
เป็นอะไรกว่าซับซ้อนกว่า P/E ครับ
P/BV เอาไว้ดูประกอบ P/E เอาไปตัดสินใจโดดๆไม่ได้
เพราะบางหุ้น P/BV น้อยๆก็จริง แต่บัญชีมันไร้คุณภาพ(เช่นมีลูกหนี้มากมาย ที่เก็บไม่ได้)
ปล.กระทู้นี้ น่าจะย้ายไปห้องมือใหม่หัดลงทุน นะครับ
ผมไม่ได้อยู่ในเว็บนี้แล้ว, มีอะไรติดต่อได้ทาง FB - 27/9/2555
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
สอบถามเรื่อง PE และ PB
โพสต์ที่ 6
สติมา ปัญญาเกิด
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่อง PE และ PB
โพสต์ที่ 7
ใน link มีพูดเรื่อง PE เยอะแต่ไม่ค่อยมีเรื่อง P/BV
สูตร ของ P/BV คือเอามูลค่าตลาดของหุ้น/Book value
ก่อนจะเข้าใจ P/BV ต้องเข้าใจ book value ก่อน
Book value ของหุ้นโดยส่วนใหญ่ก็จะเอา สินทรัพย์ทั้งหมดที่อยู่ในงบดุล หักด้วยหนี้สินทั้งหมด
ประมาณว่าถ้าบริษัทปิดตัวไปหลังจากชำระหนี้ทั้งหมดแล้วจะเหลือสินทรัพย์ให้ผู้ถือหุ้นเท่าไหร่
ดังนั้น ถ้า P/BV สูงแปลว่าเราซื้อหุ้นในตลาดแพงกว่าสินทรัพย์ที่เราจะได้จริงๆ เป็นกี่เท่า นี่เป็นสิ่งที่ P/BV พยายามจะสื่อ
เช่น มีสินทรัพย์ 200 ล้านบาท หนี้สิน 100 ล้านบาท มีหุ้น 10 ล้านหุ้น ราคาตลาด 15 บาท จากการคำนวณคือ มี P/BV = 150 ล้าน / (200 ล้าน - 100 ล้าน) = 1.5 แสดงว่าเราเอาเงิน 15 บาทเพื่อได้ทรัพย์สินที่เหลือหลังจากจ่ายให้เจ้าหนี้ คือ 10 บาท
เป็นเครื่องมือคร่าวๆ ที่แสดงถึงความถูกความแพงของหุ้นได้ครับ
แต่การมองแค่นี้ต้องระวังกับดักที่น่ากลัวครับ
1. Book value เป็นการมองที่มูลค่าทางบัญชี ไม่ได้มองที่มูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ
เช่นถ้าบริษัท A มีที่ดินแปลงใหญ่ที่ซื้อมาราคาสูง แต่ที่ดินนั้นไม่สามารถนำมาทำให้เกิดรายได้ได้ เนื่องด้วยเหตุใดก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ P/BV จะต่ำ แต่ไม่ได้หมายความว่าหุ้นจะถูกนะครับ เพราะสินทรัพย์ที่มีอยู่ในมือไม่สามารถแปลงเป็นรายได้ได้ กรณีนี้ลองให้มองควบคู่กับ ROA และ ROE นะครับ
หรืออีกเหตุการณ์นึง ที่ตรงข้าม บริษัทอสังหาอื่นอาจจะมีที่ดินที่ซื้อมานานและราคาถูก แต่ในงบดุล จะต้องบันทึกเป็น ราคาต้นทุน ในการเริ่มพัฒนาโครงการแต่ราคาที่แท้จริงในโอกาสที่จะเกิดเป็นรายได้ในอนาคตอาจจะสูงกว่า พูดง่ายๆ ว่าเป็นทำเลทอง แต่เจ้า P/BV จะรายงานว่าหุ้นตัวนี้แพงไป
2. เนื่องจากสูตรของมันเองใน BV คือเอา สินทรัพย์ทั้งหมด มาลบกับ หนี้สินทั้งหมด ซึ่งจะเกิดขึ้นในชีวิตจริงก็ต่อเมื่อบริษัทล้มละลายครับ แต่ในเหตุการณ์ปกติ เราจะมา net กันอย่างงั้นก็ได้แต่ปัญหามันเกิดในส่วนของหนี้สินบางส่วนที่เป็นหนี้สินระยะสั้นที่ไม่มีภาระทางดอกเบี้ย ที่ผมอยากจะเรียกว่าหนี้ดีเสียด้วยซ้ำ เช่น เจ้าหนี้การค้าไง ถ้าเราขายเงินสด และซื้อเงินเชื่อ แสดงว่า ส่วนของหนี้สินตรงเจ้าหนี้มันจะเยอะใช้มั้ยเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด แล้วมันไม่ดีตรงไหนละ ชอบเลยอย่างงี้
แต่ในธุรกิจแบบนี้ จะมี Book Value ที่ต่ำครับ
3. อีกหลายๆ กรณีเช่น goodwill ในเรื่องของ brand การลงทุนด้าน R&D (ปัญหาข้อนี้เมืองไทยไม่ค่อยมีเพราะไม่ค่อยมีคนทำ R&D อยู่แล้ว) ทั้งหมดนี้ไม่สามารถดูได้จาก P/BV ครับ เพราะไม่เคยอยู่ในงบดุล goodwill ที่มีในงบดุลเป็นส่วนที่ต้องจ่ายเงินลงทุนออกไปครับ ไม่ได้หมายความถึง goodwill ในที่นี้
สมมติ ผมลงทุน 50 ล้านในการสร้าง brand และสามารถทำได้สำเร็จ 50 ล้านที่ว่าละลายหายไปกับงบกำไรขาดทุนครับ ไม่ได้กลับมาเป็น สินทรัพย์ สมมตินะว่าผมทำสำเร็จ ผมจะมี goodwill ในเรื่องของ brand ที่เป็นป้อมค่ายคูคลองป้องกันการแข่งขันได้ แต่ P/BV ของบริษัทผมไม่สามารถสะท้อนอะไรเหล่านี้ได้เลย เช่นเดียวกับ การลงทุน R&D เป็นต้น
สรุป P/BV เป็นเครื่องมือที่ง่าย ในการ กรองหุ้น P/BV ต่ำ หุ้นถูก P/BV สูง หุ้นแพง แต่ระวังกับดักเมื่อนำไปใช้นะครับ
สูตร ของ P/BV คือเอามูลค่าตลาดของหุ้น/Book value
ก่อนจะเข้าใจ P/BV ต้องเข้าใจ book value ก่อน
Book value ของหุ้นโดยส่วนใหญ่ก็จะเอา สินทรัพย์ทั้งหมดที่อยู่ในงบดุล หักด้วยหนี้สินทั้งหมด
ประมาณว่าถ้าบริษัทปิดตัวไปหลังจากชำระหนี้ทั้งหมดแล้วจะเหลือสินทรัพย์ให้ผู้ถือหุ้นเท่าไหร่
ดังนั้น ถ้า P/BV สูงแปลว่าเราซื้อหุ้นในตลาดแพงกว่าสินทรัพย์ที่เราจะได้จริงๆ เป็นกี่เท่า นี่เป็นสิ่งที่ P/BV พยายามจะสื่อ
เช่น มีสินทรัพย์ 200 ล้านบาท หนี้สิน 100 ล้านบาท มีหุ้น 10 ล้านหุ้น ราคาตลาด 15 บาท จากการคำนวณคือ มี P/BV = 150 ล้าน / (200 ล้าน - 100 ล้าน) = 1.5 แสดงว่าเราเอาเงิน 15 บาทเพื่อได้ทรัพย์สินที่เหลือหลังจากจ่ายให้เจ้าหนี้ คือ 10 บาท
เป็นเครื่องมือคร่าวๆ ที่แสดงถึงความถูกความแพงของหุ้นได้ครับ
แต่การมองแค่นี้ต้องระวังกับดักที่น่ากลัวครับ
1. Book value เป็นการมองที่มูลค่าทางบัญชี ไม่ได้มองที่มูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ
เช่นถ้าบริษัท A มีที่ดินแปลงใหญ่ที่ซื้อมาราคาสูง แต่ที่ดินนั้นไม่สามารถนำมาทำให้เกิดรายได้ได้ เนื่องด้วยเหตุใดก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ P/BV จะต่ำ แต่ไม่ได้หมายความว่าหุ้นจะถูกนะครับ เพราะสินทรัพย์ที่มีอยู่ในมือไม่สามารถแปลงเป็นรายได้ได้ กรณีนี้ลองให้มองควบคู่กับ ROA และ ROE นะครับ
หรืออีกเหตุการณ์นึง ที่ตรงข้าม บริษัทอสังหาอื่นอาจจะมีที่ดินที่ซื้อมานานและราคาถูก แต่ในงบดุล จะต้องบันทึกเป็น ราคาต้นทุน ในการเริ่มพัฒนาโครงการแต่ราคาที่แท้จริงในโอกาสที่จะเกิดเป็นรายได้ในอนาคตอาจจะสูงกว่า พูดง่ายๆ ว่าเป็นทำเลทอง แต่เจ้า P/BV จะรายงานว่าหุ้นตัวนี้แพงไป
2. เนื่องจากสูตรของมันเองใน BV คือเอา สินทรัพย์ทั้งหมด มาลบกับ หนี้สินทั้งหมด ซึ่งจะเกิดขึ้นในชีวิตจริงก็ต่อเมื่อบริษัทล้มละลายครับ แต่ในเหตุการณ์ปกติ เราจะมา net กันอย่างงั้นก็ได้แต่ปัญหามันเกิดในส่วนของหนี้สินบางส่วนที่เป็นหนี้สินระยะสั้นที่ไม่มีภาระทางดอกเบี้ย ที่ผมอยากจะเรียกว่าหนี้ดีเสียด้วยซ้ำ เช่น เจ้าหนี้การค้าไง ถ้าเราขายเงินสด และซื้อเงินเชื่อ แสดงว่า ส่วนของหนี้สินตรงเจ้าหนี้มันจะเยอะใช้มั้ยเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด แล้วมันไม่ดีตรงไหนละ ชอบเลยอย่างงี้
แต่ในธุรกิจแบบนี้ จะมี Book Value ที่ต่ำครับ
3. อีกหลายๆ กรณีเช่น goodwill ในเรื่องของ brand การลงทุนด้าน R&D (ปัญหาข้อนี้เมืองไทยไม่ค่อยมีเพราะไม่ค่อยมีคนทำ R&D อยู่แล้ว) ทั้งหมดนี้ไม่สามารถดูได้จาก P/BV ครับ เพราะไม่เคยอยู่ในงบดุล goodwill ที่มีในงบดุลเป็นส่วนที่ต้องจ่ายเงินลงทุนออกไปครับ ไม่ได้หมายความถึง goodwill ในที่นี้
สมมติ ผมลงทุน 50 ล้านในการสร้าง brand และสามารถทำได้สำเร็จ 50 ล้านที่ว่าละลายหายไปกับงบกำไรขาดทุนครับ ไม่ได้กลับมาเป็น สินทรัพย์ สมมตินะว่าผมทำสำเร็จ ผมจะมี goodwill ในเรื่องของ brand ที่เป็นป้อมค่ายคูคลองป้องกันการแข่งขันได้ แต่ P/BV ของบริษัทผมไม่สามารถสะท้อนอะไรเหล่านี้ได้เลย เช่นเดียวกับ การลงทุน R&D เป็นต้น
สรุป P/BV เป็นเครื่องมือที่ง่าย ในการ กรองหุ้น P/BV ต่ำ หุ้นถูก P/BV สูง หุ้นแพง แต่ระวังกับดักเมื่อนำไปใช้นะครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
- Kengsanova
- Verified User
- โพสต์: 41
- ผู้ติดตาม: 0
งงจริงๆ BV เนี่ย
โพสต์ที่ 8
ขอคำอธิบายหรือตัวอย่างเพิ่มเติมกรณีนี้ได้ไหมครับ งงกับเรื่อง BV นานแล้ว มีบางกรณีที่บางบริษัทตีค่าสินทรัพย์ลดลง ก็บันทึกลงในงบกำไรขาดทุนด้วย... :( [/b]ayethebing เขียน: หรืออีกเหตุการณ์นึง ที่ตรงข้าม บริษัทอสังหาอื่นอาจจะมีที่ดินที่ซื้อมานานและราคาถูก แต่ในงบดุล จะต้องบันทึกเป็น ราคาต้นทุน ในการเริ่มพัฒนาโครงการแต่ราคาที่แท้จริงในโอกาสที่จะเกิดเป็นรายได้ในอนาคตอาจจะสูงกว่า พูดง่ายๆ ว่าเป็นทำเลทอง แต่เจ้า P/BV จะรายงานว่าหุ้นตัวนี้แพงไป
ห้ามซื้อเฉลี่ยขาลง แต่ซื้อเฉลี่ยตอนลงขาขึ้นทำได้..
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่อง PE และ PB
โพสต์ที่ 10
ตามหลักการทางบัญชี มาตรา 32 เรื่องที่ดินและอาคาร บริษัทส่วนใหญ่จะใช้ราคาทุนในการบันทึกบัญชีสินทรัพย์
หากมีการตีราคายุติธรรมใหม่ และมูลค่าลดลงสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ หากมีเพิ่ม จะต้องลงบัญชีในส่วนของผู้ถือหุ้น ในบัญชีชื่อ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ถ้าไม่มีการตีราคาใหม่ก็ใช้ราคาทุนได้ครับ
" ราคา ทุน หมายถึง จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่ายไปหรือมูลค่ายุติธรรมของ สิ่งอื่นที่กิจการมอบให้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ซื้อหรือสร้างสินทรัพย์นั้น
....
มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสอง ฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยว ข้องกัน
ราคาตามบัญชี หมายถึง ราคาของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงบดุลหลังจากหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์
....
การวัดมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
4. กิจการต้องบันทึกมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เข้าเกณฑ์การรับรู้เป็นสินทรัพย์โดยใช้ราคาทุน
.....
9. กิจการ ต้องบันทึกราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่โดยตรงไป ยังส่วนของเจ้าของภายใต้บัญชี “ส่วนเกินทุนจากการตีราคา สินทรัพย์” อย่างไรก็ตามหากสินทรัพย์นั้นเคยมีการตีราคาลดลง และกิจการรับรู้ราคาที่ลดลงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อนแล้วส่วนที่เพิ่มจากการ ตีราคาใหม่นี้ต้องรับรู้เป็นรายได้ไม่เกินจำนวนที่เคยลดลงซึ่งได้รับรู้เป็น ค่าใช้จ่ายในงวดก่อน "
หากมีการตีราคายุติธรรมใหม่ และมูลค่าลดลงสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ หากมีเพิ่ม จะต้องลงบัญชีในส่วนของผู้ถือหุ้น ในบัญชีชื่อ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ถ้าไม่มีการตีราคาใหม่ก็ใช้ราคาทุนได้ครับ
" ราคา ทุน หมายถึง จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่ายไปหรือมูลค่ายุติธรรมของ สิ่งอื่นที่กิจการมอบให้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ซื้อหรือสร้างสินทรัพย์นั้น
....
มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสอง ฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยว ข้องกัน
ราคาตามบัญชี หมายถึง ราคาของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงบดุลหลังจากหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์
....
การวัดมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
4. กิจการต้องบันทึกมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เข้าเกณฑ์การรับรู้เป็นสินทรัพย์โดยใช้ราคาทุน
.....
9. กิจการ ต้องบันทึกราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่โดยตรงไป ยังส่วนของเจ้าของภายใต้บัญชี “ส่วนเกินทุนจากการตีราคา สินทรัพย์” อย่างไรก็ตามหากสินทรัพย์นั้นเคยมีการตีราคาลดลง และกิจการรับรู้ราคาที่ลดลงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อนแล้วส่วนที่เพิ่มจากการ ตีราคาใหม่นี้ต้องรับรู้เป็นรายได้ไม่เกินจำนวนที่เคยลดลงซึ่งได้รับรู้เป็น ค่าใช้จ่ายในงวดก่อน "
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
- Kengsanova
- Verified User
- โพสต์: 41
- ผู้ติดตาม: 0
อย่างนี้คนทำบัญชีก็เป็นต่อสิ..
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณมากๆครับ กรณีที่ยกมานี้บริษัทก็จะบันทึกกำไรคืนเพิ่มได้ทุกเมื่อสิ เหมือนมีแต้มต่อในการแต่งงบกำไรขาดทุนเลย (ถ้าการราคาสินทรัพย์นั้นไม่ลดลงไปอีกนะ) :?
ขอถามต่ออีกนิดนะครับจากกรณีที่ถามไป ถ้ามีการบันทึกขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ลดลงแล้ว ผมเข้าใจว่าจะทำให้ตัวเลขในส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง และ BV ก็จะต้องลดลงด้วย...อันนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับ (ถ้าถามเยอะไปขอโทษด้วยครับ แค่ช่วยวิเคราะห์ให้ทีว่าผมเข้าใจผิดหรือถูกก็พอครับ)
ขอถามต่ออีกนิดนะครับจากกรณีที่ถามไป ถ้ามีการบันทึกขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ลดลงแล้ว ผมเข้าใจว่าจะทำให้ตัวเลขในส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง และ BV ก็จะต้องลดลงด้วย...อันนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับ (ถ้าถามเยอะไปขอโทษด้วยครับ แค่ช่วยวิเคราะห์ให้ทีว่าผมเข้าใจผิดหรือถูกก็พอครับ)
ห้ามซื้อเฉลี่ยขาลง แต่ซื้อเฉลี่ยตอนลงขาขึ้นทำได้..