ซื้อหุ้น'CPALL' ต้องตอบโจทย์จะกิน 'นมวัว'หรือ'เนื้อวัว'
- คนอุดร
- Verified User
- โพสต์: 3386
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้น'CPALL' ต้องตอบโจทย์จะกิน 'นมวัว'หรือ'เนื้อวัว'
โพสต์ที่ 1
วัวตัวนี้พันธุ์ดี มีหญ้าเลี้ยงอุดม แต่วันนี้คนคิดเลี้ยงเพื่อกินนมอาจไม่คุ้ม ซื้อมาฆ่ากินเนื้อราคาก็ไม่ถูก ซื้อหุ้น'CPALL'วันนี้บวกลบหลายตลบ
ช่วง 2 ปีมานี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ หยิบ จับอะไรก็ "ดี" ไปหมด รวมถึงหุ้นหลักในเครือทั้งสามบริษัท CPF CPALL และ TRUE ราคาหุ้นและผลการดำเนินงานทำลายสถิติครั้งแล้วครั้งเล่า จนหลายคนเริ่มรู้สึกว่าราคาที่ปรับตัวขึ้นมามาก "ดีจนน่ากลัว"
ยิ่งกิจการดี นักวิเคราะห์และนักลงทุนก็ยิ่ง "มองดีมากๆ" ขณะที่หุ้น CPALL ซื้อขายที่ค่าพี/อี เรโชค่อนข้างสูงมาตลอด จนปัจจุบันมูลค่าบริษัทขึ้นไปสูงกว่า 130,000 ล้านบาท ทำลายทุกสถิติทั้งยอดขาย กำไรสุทธิ และราคาหุ้น ทำให้ความมั่งคั่งของเครือซีพี เติบโตขึ้นมหาศาล
ยิ่งบริษัทแข็งแกร่งคณะกรรมการบริษัทก็ยิ่งถูกแทนที่ด้วยผู้หลักผู้ใหญ่ และทายาท ที่ฝ่ายบริหารต้องเกรงอกเกรงใจอย่างมาก ทั้งยังเป็น "สายตรง" ท่านเจ้าสัวชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะที่การขยับเขยื้อนงานด้านบริหารก็อาจไม่คล่องแคล่วเหมือนก่อน เห็นชัดจากการเอาเซเว่นอีเลฟเว่น ไป "ผูก" กับเครือซีพีในหลายๆ ประเด็น ทั้งนโยบายภายในและต่างประเทศ ภายใต้เกมกำจัดจุดอ่อนของซีพี ออลล์ ก็เริ่มต้น "นับหนึ่ง" จุดอ่อนใหม่ที่ซ่อนตัวภายใต้โครงสร้างที่แข็งแกร่ง
ประเด็นเรื่องรายการเกี่ยวโยง และการใช้เทคนิคทางการเงินชั้นสูง ถูกนำมาใช้ในการโยกย้ายทรัพยากรจาก "มาก" ไปสู่ "น้อย" จาก "บน" ไหลบ่าลง "ล่าง" จาก "แข็ง" ไปช่วย "อ่อน" ปรัชญาทางความคิดระดับ "แอ๊ดวานซ์" ของท่านเจ้าสัว...ความเฉลียวฉลาดของแม่ทัพ ก็อาจจะกลายเป็นความเสี่ยงของกองทัพได้
เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการด้านการเงิน และลงทุนสัมพันธ์ บมจ.ซีพี ออลล์ ชี้แจงกับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ถึงกรณี CPALL และ บริษัท โลตัส ดิสทริบิวชั่น อินเวสต์เม้นท์ เปลี่ยนการลงทุนใน "หุ้นกู้แปลงสภาพ" ที่ออกโดย บริษัท เจียไต๋ เอ็นเตอร์ไพร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นการลงทุนใน "หุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพ" ที่ออกโดยเจียไต๋ และเข้าทำสัญญาให้สิทธิซื้อขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพที่ออกโดยเจียไต๋ กับ บริษัท ซีพี โฮลดิ้ง (BVI) อินเวสเม้นท์
รวมถึงพิจารณาอนุมัติให้ CPALL และ บริษัท โลตัส ดิสทริบิวชั่น อินเวสต์เม้นท์ ใช้สิทธิขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพของเจียไต๋ทั้งหมดให้แก่บริษัท ซีพี โฮลดิ้ง (BVI) อินเวสเม้นท์ โดยทันที
ขณะที่มีประเด็นหนึ่งที่ถูกหลีกเลี่ยงการพูดถึง มูลค่าเงินลงทุนที่ CPALL และ บริษัท โลตัส ดิสทริบิวชั่น อินเวสต์เม้นท์ ได้รับกลับมามีมูลค่า "น้อยกว่า" มูลค่ายุติธรรมของหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพที่ขายไป "พอสมควร" แต่ "สูงกว่า" มูลค่าเงินลงทุนที่จ่ายไป 3,879 ล้านบาท แท้จริงแล้ว "แม่" (ซีพี) ต่างหากที่ได้ผลประโยชน์สูงสุดไม่ใช่ CPALL อย่าหลงประเด็น
เกรียงชัย สรุปว่า การตัดสินใจของบอร์ดเพื่อต้องการ "ลดความเสี่ยง" ในการถือหุ้นกู้แปลงสภาพของเจียไต๋ ที่มีสิทธิเกิด Default จากหนี้สินต่อทุนที่สูง เชื่อว่าจะเป็นการตัดสินใจที่ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์มากที่สุดในแง่สภาพคล่อง ที่จะได้มาเพื่อการลงทุนครั้งใหม่ ที่ผ่านมามีผู้ถือหุ้นไม่เห็นด้วยน้อยมากเพียง 2% เท่าที่ฟังเสียงผู้ถือหุ้นอยากจะให้ขายได้เลย ซึ่ง CPALL สามารถขายได้ภายใน 90 วันเมื่อได้รับอนุมัติ
"ถ้าผู้ถือหุ้นอนุมัติให้ผ่านทั้งสองมติ เงินสดจำนวน 4,100 ล้านบาท ที่ได้จากการขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพจะลงบันทึกบัญชีครั้งเดียวเลย แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะลงที่งบรายไตรมาส (ไตรมาสที่ 3) หรือเข้าไปที่กำไรสะสม ซึ่งจะทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น"
โฆษกซีพี ออลล์ ยังเล่าถึงแผนธุรกิจ ของ CPALL ในปีนี้ บริษัทจะขยายสาขาใหม่ 450 สาขาเหมือนทุกปี อยู่ในกรุงเทพฯ 40% และต่างจังหวัด 60% ใช้เงินลงทุน 1,500 ล้านบาท อีกส่วนเป็นการลงทุนซ่อมแซมสาขาและระบบไอที 2,500 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มกำไรสุทธิน่าจะโตในระดับปกติ จากปีที่แล้วเติบโต 51% เพราะได้ตัดขาดทุนห้างโลตัสจีนออกไปทำให้ดูว่าโตเยอะ แต่ถ้านับเฉพาะงบการเงินเดี่ยวกำไรสุทธิก็โต 20% เท่ากับทุกๆ ปี ปีนี้นักลงทุนน่าจะคาดเดาแนวโน้มผลประกอบการได้ง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องนำ เรื่องโลตัสจีนมาเปรียบเทียบแล้ว
"เราตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% มาจากการขยายสาขาใหม่ 10% และยอดขายร้านเดิมโต 5%"
ปีที่แล้วยอดขายร้านเดิม (Same Store Sale) เติบโตถึง 10% และไตรมาสแรกปีนี้โต 14% เพราะใช้สองกลยุทธ์หลักคือหาสินค้าใหม่มาใส่ได้ทันและตรงกับความต้องการของ ลูกค้า โดยเฉพาะสินค้าพร้อมทาน เช่น ข้าวกล่อง แซนด์วิชอบร้อน ตามยุทธศาสตร์ "ร้านอิ่มสะดวก"
ถ้าลองไปดูสัดส่วนยอดขายระหว่างอาหารกับสินค้าทั่วไปอาจจะมองว่าตัวเลข หยุดอยู่ที่ 72.3% กับ 27.7% มาหลายปี แต่ความจริงแล้วครึ่งหนึ่งของยอดขายอาหารมาจากเครื่องดื่มซึ่งวัดอะไรไม่ได้ ถ้าดูเฉพาะอัตราการเติบโตของการขายอาหารพร้อมทานจะเติบโตทุกปี Key Driver ต่อไปที่ต้องทำ เกรียงชัย บอกว่า คือเพิ่มสัดส่วนการขายอาหารพร้อมทานให้มีสัดส่วนใกล้เคียงต่างประเทศที่ 40%
"ตอนนี้เรามีสาขาที่ขายข้าวกล่องแช่เย็นถึง 1,000 สาขาแล้ว แต่ก็เพียงแค่ 20% เท่านั้น แผนของเราในอีก 2-3 ปี จะยังเน้นทางด้านนี้อยู่โดยการเพิ่มเมนูอาหารใหม่ๆ มากขึ้น"
โฆษกซีพี ออลล์ อธิบายต่อว่า บริษัทยังมีจุดเด่นที่แม้จะมีการลงทุนขยายสาขามากขึ้นแต่รายจ่ายหรือต้นทุน ไม่ได้โตตามไปด้วยเพราะมีการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ดี ตอนนี้บริษัทเป็นผู้บริหารแฟรนไชส์ 7-11 รายเดียวในโลกที่ทำระบบกระจายสินค้าเอง ปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้า 3 แห่งที่ บางบัวทอง สุวรรณภูมิ และต้นปีเพิ่งเปิดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตอนนี้กำลังก่อสร้างแห่งที่สี่ที่จังหวัดขอนแก่นจะเสร็จปลายปีนี้ ต่อไปก็จะขยายที่ภาคเหนือในปีหน้า
“ถ้าเราเปิดศูนย์กระจายสินค้าครบ 5 แห่งจะสามารถรองรับจำนวนสาขาได้ทั้งหมด 7,000 สาขา ใน 5 ปีข้างหน้าจากปัจจุบันมีอยู่ 5,400 สาขา”
นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์มากขึ้นจาก 3-4 ปีก่อนมีสัดส่วนเพียง 30% ตอนนี้เพิ่มมาเป็น 48% เพื่อแบ่งเบาภาระเรื่องค่าใช้จ่ายพนักงาน ปัจจุบัน "คน" เป็นสัดส่วนต้นทุนที่ใหญ่ที่สุด 29% สุดท้ายจะช่วยให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายในการขายลงจาก 3-4 ปีก่อนที่ 25% ลงเหลือ 23-24% ของยอดขายได้ และน่าจะควบคุมให้ตัวเลขค่อยๆ ลดลงได้
เกรียงชัย ปิดท้ายว่านักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะมองว่า CPALL เป็นหุ้นปลอดภัย (Defensive Stock) ที่เลือกลงทุนได้แม้เศรษฐกิจจะดีหรือแย่ รวมถึงเป็นหุ้นที่มีกระแสเงินสดเยอะ (Cash Cow หรือ วัวนม) เพราะจ่ายปันผลระดับ 70% ของกำไรสุทธิมาตลอด ปัจจุบันมีเงินสดในมือ 12,411 ล้านบาท แต่จริงแล้วบริษัทยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกไม่สนว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่าง ไรก็ตาม
"เรายังเป็นหุ้น Growth Stock ที่กำไรสุทธิโต 20% ทุกปี ขณะเดียวกันเราก็มีการจ่ายปันผลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย" เกรียงชัยว่า
ขณะที่ สมาชิกหุ้น CPALL ที่ถือหุ้นต้นทุนต่ำกำลัง "ยิ้ม" กับผลประกอบการที่โตขึ้นทุกปี และราคาหุ้นที่ซื้ออนาคตล่วงหน้าด้วยค่าพี/อี ที่ "สูง" สำหรับนักลงทุนที่อยากเข้าเป็นสมาชิกใหม่ วันนี้อาจต้องคิดหลายตลบ
จะ เลี้ยง "วัว" กิน "นม" ก็ได้นมน้อย 2-3% จะซื้อมาฆ่า "กินเนื้อ" ก็ต้องซื้อราคา "พรีเมียม" ไปต่อยอดกำไรให้คนอื่น...ใครจะเหนือชั้นเท่า "ชายวัยทอง" วัย 71 เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เลี้ยง "หุ้น" ไว้ "กินรวบ"
http://bit.ly/8Zv7Nq
ช่วง 2 ปีมานี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ หยิบ จับอะไรก็ "ดี" ไปหมด รวมถึงหุ้นหลักในเครือทั้งสามบริษัท CPF CPALL และ TRUE ราคาหุ้นและผลการดำเนินงานทำลายสถิติครั้งแล้วครั้งเล่า จนหลายคนเริ่มรู้สึกว่าราคาที่ปรับตัวขึ้นมามาก "ดีจนน่ากลัว"
ยิ่งกิจการดี นักวิเคราะห์และนักลงทุนก็ยิ่ง "มองดีมากๆ" ขณะที่หุ้น CPALL ซื้อขายที่ค่าพี/อี เรโชค่อนข้างสูงมาตลอด จนปัจจุบันมูลค่าบริษัทขึ้นไปสูงกว่า 130,000 ล้านบาท ทำลายทุกสถิติทั้งยอดขาย กำไรสุทธิ และราคาหุ้น ทำให้ความมั่งคั่งของเครือซีพี เติบโตขึ้นมหาศาล
ยิ่งบริษัทแข็งแกร่งคณะกรรมการบริษัทก็ยิ่งถูกแทนที่ด้วยผู้หลักผู้ใหญ่ และทายาท ที่ฝ่ายบริหารต้องเกรงอกเกรงใจอย่างมาก ทั้งยังเป็น "สายตรง" ท่านเจ้าสัวชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะที่การขยับเขยื้อนงานด้านบริหารก็อาจไม่คล่องแคล่วเหมือนก่อน เห็นชัดจากการเอาเซเว่นอีเลฟเว่น ไป "ผูก" กับเครือซีพีในหลายๆ ประเด็น ทั้งนโยบายภายในและต่างประเทศ ภายใต้เกมกำจัดจุดอ่อนของซีพี ออลล์ ก็เริ่มต้น "นับหนึ่ง" จุดอ่อนใหม่ที่ซ่อนตัวภายใต้โครงสร้างที่แข็งแกร่ง
ประเด็นเรื่องรายการเกี่ยวโยง และการใช้เทคนิคทางการเงินชั้นสูง ถูกนำมาใช้ในการโยกย้ายทรัพยากรจาก "มาก" ไปสู่ "น้อย" จาก "บน" ไหลบ่าลง "ล่าง" จาก "แข็ง" ไปช่วย "อ่อน" ปรัชญาทางความคิดระดับ "แอ๊ดวานซ์" ของท่านเจ้าสัว...ความเฉลียวฉลาดของแม่ทัพ ก็อาจจะกลายเป็นความเสี่ยงของกองทัพได้
เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการด้านการเงิน และลงทุนสัมพันธ์ บมจ.ซีพี ออลล์ ชี้แจงกับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ถึงกรณี CPALL และ บริษัท โลตัส ดิสทริบิวชั่น อินเวสต์เม้นท์ เปลี่ยนการลงทุนใน "หุ้นกู้แปลงสภาพ" ที่ออกโดย บริษัท เจียไต๋ เอ็นเตอร์ไพร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นการลงทุนใน "หุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพ" ที่ออกโดยเจียไต๋ และเข้าทำสัญญาให้สิทธิซื้อขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพที่ออกโดยเจียไต๋ กับ บริษัท ซีพี โฮลดิ้ง (BVI) อินเวสเม้นท์
รวมถึงพิจารณาอนุมัติให้ CPALL และ บริษัท โลตัส ดิสทริบิวชั่น อินเวสต์เม้นท์ ใช้สิทธิขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพของเจียไต๋ทั้งหมดให้แก่บริษัท ซีพี โฮลดิ้ง (BVI) อินเวสเม้นท์ โดยทันที
ขณะที่มีประเด็นหนึ่งที่ถูกหลีกเลี่ยงการพูดถึง มูลค่าเงินลงทุนที่ CPALL และ บริษัท โลตัส ดิสทริบิวชั่น อินเวสต์เม้นท์ ได้รับกลับมามีมูลค่า "น้อยกว่า" มูลค่ายุติธรรมของหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพที่ขายไป "พอสมควร" แต่ "สูงกว่า" มูลค่าเงินลงทุนที่จ่ายไป 3,879 ล้านบาท แท้จริงแล้ว "แม่" (ซีพี) ต่างหากที่ได้ผลประโยชน์สูงสุดไม่ใช่ CPALL อย่าหลงประเด็น
เกรียงชัย สรุปว่า การตัดสินใจของบอร์ดเพื่อต้องการ "ลดความเสี่ยง" ในการถือหุ้นกู้แปลงสภาพของเจียไต๋ ที่มีสิทธิเกิด Default จากหนี้สินต่อทุนที่สูง เชื่อว่าจะเป็นการตัดสินใจที่ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์มากที่สุดในแง่สภาพคล่อง ที่จะได้มาเพื่อการลงทุนครั้งใหม่ ที่ผ่านมามีผู้ถือหุ้นไม่เห็นด้วยน้อยมากเพียง 2% เท่าที่ฟังเสียงผู้ถือหุ้นอยากจะให้ขายได้เลย ซึ่ง CPALL สามารถขายได้ภายใน 90 วันเมื่อได้รับอนุมัติ
"ถ้าผู้ถือหุ้นอนุมัติให้ผ่านทั้งสองมติ เงินสดจำนวน 4,100 ล้านบาท ที่ได้จากการขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพจะลงบันทึกบัญชีครั้งเดียวเลย แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะลงที่งบรายไตรมาส (ไตรมาสที่ 3) หรือเข้าไปที่กำไรสะสม ซึ่งจะทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น"
โฆษกซีพี ออลล์ ยังเล่าถึงแผนธุรกิจ ของ CPALL ในปีนี้ บริษัทจะขยายสาขาใหม่ 450 สาขาเหมือนทุกปี อยู่ในกรุงเทพฯ 40% และต่างจังหวัด 60% ใช้เงินลงทุน 1,500 ล้านบาท อีกส่วนเป็นการลงทุนซ่อมแซมสาขาและระบบไอที 2,500 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มกำไรสุทธิน่าจะโตในระดับปกติ จากปีที่แล้วเติบโต 51% เพราะได้ตัดขาดทุนห้างโลตัสจีนออกไปทำให้ดูว่าโตเยอะ แต่ถ้านับเฉพาะงบการเงินเดี่ยวกำไรสุทธิก็โต 20% เท่ากับทุกๆ ปี ปีนี้นักลงทุนน่าจะคาดเดาแนวโน้มผลประกอบการได้ง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องนำ เรื่องโลตัสจีนมาเปรียบเทียบแล้ว
"เราตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% มาจากการขยายสาขาใหม่ 10% และยอดขายร้านเดิมโต 5%"
ปีที่แล้วยอดขายร้านเดิม (Same Store Sale) เติบโตถึง 10% และไตรมาสแรกปีนี้โต 14% เพราะใช้สองกลยุทธ์หลักคือหาสินค้าใหม่มาใส่ได้ทันและตรงกับความต้องการของ ลูกค้า โดยเฉพาะสินค้าพร้อมทาน เช่น ข้าวกล่อง แซนด์วิชอบร้อน ตามยุทธศาสตร์ "ร้านอิ่มสะดวก"
ถ้าลองไปดูสัดส่วนยอดขายระหว่างอาหารกับสินค้าทั่วไปอาจจะมองว่าตัวเลข หยุดอยู่ที่ 72.3% กับ 27.7% มาหลายปี แต่ความจริงแล้วครึ่งหนึ่งของยอดขายอาหารมาจากเครื่องดื่มซึ่งวัดอะไรไม่ได้ ถ้าดูเฉพาะอัตราการเติบโตของการขายอาหารพร้อมทานจะเติบโตทุกปี Key Driver ต่อไปที่ต้องทำ เกรียงชัย บอกว่า คือเพิ่มสัดส่วนการขายอาหารพร้อมทานให้มีสัดส่วนใกล้เคียงต่างประเทศที่ 40%
"ตอนนี้เรามีสาขาที่ขายข้าวกล่องแช่เย็นถึง 1,000 สาขาแล้ว แต่ก็เพียงแค่ 20% เท่านั้น แผนของเราในอีก 2-3 ปี จะยังเน้นทางด้านนี้อยู่โดยการเพิ่มเมนูอาหารใหม่ๆ มากขึ้น"
โฆษกซีพี ออลล์ อธิบายต่อว่า บริษัทยังมีจุดเด่นที่แม้จะมีการลงทุนขยายสาขามากขึ้นแต่รายจ่ายหรือต้นทุน ไม่ได้โตตามไปด้วยเพราะมีการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ดี ตอนนี้บริษัทเป็นผู้บริหารแฟรนไชส์ 7-11 รายเดียวในโลกที่ทำระบบกระจายสินค้าเอง ปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้า 3 แห่งที่ บางบัวทอง สุวรรณภูมิ และต้นปีเพิ่งเปิดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตอนนี้กำลังก่อสร้างแห่งที่สี่ที่จังหวัดขอนแก่นจะเสร็จปลายปีนี้ ต่อไปก็จะขยายที่ภาคเหนือในปีหน้า
“ถ้าเราเปิดศูนย์กระจายสินค้าครบ 5 แห่งจะสามารถรองรับจำนวนสาขาได้ทั้งหมด 7,000 สาขา ใน 5 ปีข้างหน้าจากปัจจุบันมีอยู่ 5,400 สาขา”
นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์มากขึ้นจาก 3-4 ปีก่อนมีสัดส่วนเพียง 30% ตอนนี้เพิ่มมาเป็น 48% เพื่อแบ่งเบาภาระเรื่องค่าใช้จ่ายพนักงาน ปัจจุบัน "คน" เป็นสัดส่วนต้นทุนที่ใหญ่ที่สุด 29% สุดท้ายจะช่วยให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายในการขายลงจาก 3-4 ปีก่อนที่ 25% ลงเหลือ 23-24% ของยอดขายได้ และน่าจะควบคุมให้ตัวเลขค่อยๆ ลดลงได้
เกรียงชัย ปิดท้ายว่านักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะมองว่า CPALL เป็นหุ้นปลอดภัย (Defensive Stock) ที่เลือกลงทุนได้แม้เศรษฐกิจจะดีหรือแย่ รวมถึงเป็นหุ้นที่มีกระแสเงินสดเยอะ (Cash Cow หรือ วัวนม) เพราะจ่ายปันผลระดับ 70% ของกำไรสุทธิมาตลอด ปัจจุบันมีเงินสดในมือ 12,411 ล้านบาท แต่จริงแล้วบริษัทยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกไม่สนว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่าง ไรก็ตาม
"เรายังเป็นหุ้น Growth Stock ที่กำไรสุทธิโต 20% ทุกปี ขณะเดียวกันเราก็มีการจ่ายปันผลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย" เกรียงชัยว่า
ขณะที่ สมาชิกหุ้น CPALL ที่ถือหุ้นต้นทุนต่ำกำลัง "ยิ้ม" กับผลประกอบการที่โตขึ้นทุกปี และราคาหุ้นที่ซื้ออนาคตล่วงหน้าด้วยค่าพี/อี ที่ "สูง" สำหรับนักลงทุนที่อยากเข้าเป็นสมาชิกใหม่ วันนี้อาจต้องคิดหลายตลบ
จะ เลี้ยง "วัว" กิน "นม" ก็ได้นมน้อย 2-3% จะซื้อมาฆ่า "กินเนื้อ" ก็ต้องซื้อราคา "พรีเมียม" ไปต่อยอดกำไรให้คนอื่น...ใครจะเหนือชั้นเท่า "ชายวัยทอง" วัย 71 เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เลี้ยง "หุ้น" ไว้ "กินรวบ"
http://bit.ly/8Zv7Nq
"มันไม่ใช่หุ้นหรอกที่จะทำให้เรารวย แต่สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับหุ้นต่างหากที่จะทำให้เราร่ำรวยได้"
- sonnesaint
- Verified User
- โพสต์: 127
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้น'CPALL' ต้องตอบโจทย์จะกิน 'นมวัว'หรือ'เนื้อวัว'
โพสต์ที่ 4
แอบขำความเห็นนี้ เพราะว่าอารมย์คล้ายๆกันเห็น cdall เป็นหมูvision เขียน:แน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นวัว ที่จะมีนมให้รีด ผมว่าเป็นหมูมากกว่า ซื้อมาเลี้ยงเพื่อรีดนมคงไม่คุ้มแน่ๆ
ผมก็เลยขายหมูไปเรียบร้อยแล้ว
ก็เลยขายไปซะ 555+
ด้วยความเคารพ
suriya
suriya
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้น'CPALL' ต้องตอบโจทย์จะกิน 'นมวัว'หรือ'เนื้อวัว'
โพสต์ที่ 5
CD ALL รวม CD 5555555 :lol:sonnesaint เขียน: แอบขำความเห็นนี้ เพราะว่าอารมย์คล้ายๆกันเห็น cdall เป็นหมู
ก็เลยขายไปซะ 555+
-
- Verified User
- โพสต์: 279
- ผู้ติดตาม: 1
ซื้อหุ้น'CPALL' ต้องตอบโจทย์จะกิน 'นมวัว'หรือ'เนื้อวัว'
โพสต์ที่ 7
โอ้ หมายความว่า วัวตัวนี้เลี้ยงนานมากมาย กว่าจะได้กินทั้งเนื้อและนม อ้ะเหรอ หรือระหว่างทางก็ได้กินทั้งเนื้อทั้งนมไปด้วยอ่าpopjavi เขียน:ถ้าซื้อต่อเนื่องซักสิบปีคงได้กินทั้งเนื้อทั้งนม
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้น'CPALL' ต้องตอบโจทย์จะกิน 'นมวัว'หรือ'เนื้อวัว'
โพสต์ที่ 8
งั้นผมเพิ่งซื้อไปที่ 28.00 บาท ก็แสดงว่าผมเข้างานสายนะดิ เหตุผลที่ซื้อตอนนั้นก็คือผมเห็นว่าเขาเป็นที่หนึ่งและยังคงเป็นไปได้อีกหลายปี ถึงจะซื้อมาในราคาที่สูงผมก็คงต้องถือต่อครับ