การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ทำไมถึงบอกว่า ระบบดี แต่ผิดที่คน
ถ้าระบบดีจริงๆ คนต้องทำผิดไม่ได้ซิ
ถ้ามีปรัชญาให้ไปแก้ที่ระบบ ไม่โทษคน คนที่ทำงานทุกคนจะมีกำลังใจ
อ่านข่าวแล้วเห็นว่า คนขับรถปลดเบรคมือ รถก็ไหลลงไป ทำไมคนขับถึงปลดเบรคมือ ???
จริงๆแล้ว รถไฟฟ้าวิ่งขึ้นมาด้วยความเร็ว 25 กม. เพื่อให้ไปถึงจุดหนึ่ง แต่ไปไม่ถึง ก็เลยมีรถอีกคนมาต่อเชื่อม แต่เชื่อมไม่ได้
คนขับก็เลยปลดเบรคมือ ฟังแล้วไม่สมเหตุสมผลเลย

ข้อแรกคือ ถ้ารถวิ่งไปจอดตรงจุดที่เหมาะสมก็หมดเรื่องไปแล้ว ตรงนั้นต่างหาก ที่ระบบต่างๆ ไม่ได้ทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
สุดท้ายก็หาแพะมารับผิดชอบ เพราะถ้าผลออกมาว่าระบบผิด คนก็จะไม่มั่นใจในระบบ ทำให้เกิดความเสียหายใหญ่โต

ความจริงก็คือความจริง ต้องกล้ารับความจริง เพื่อจะได้แก้ไขที่ตรงจุด ตรงประเด็น
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ใช่เลยครับ ต้องแก้ที่ระบบ

พี่เจ๋งได้ Quality Concept ของ ดร.เดมมิ่ง มาเต็มๆเลยครับ ยินดีด้วย

ผมอ่าน วัดรอยเท้าช้าง (Benchmarking) ของ ดร.พีรศักดิ์อีกเล่ม
ภาพประจำตัวสมาชิก
Boomer
Verified User
โพสต์: 69
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Totally agree..... there are some holes in the system, not just computer system but overall system.
ภาพประจำตัวสมาชิก
มือเก่าหัดขับ
Verified User
โพสต์: 1112
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ไม่รู้ว่าตอนซื้อตัวรถไฟมา ไปตัด Options อะไรพวกนี้ออกหรือเปล่า (ประหยัดเงินได้หน่อย)
ก็เลยเป็นเรื่อง ทีนี้พอเป็นเรื่องแล้วก็เป็นการเมืองมากกว่า ที่จะต้องบอกว่าเป็นที่คน จะได้จบๆ
กันไป ไม่ต้องมาบอกว่าระบบมีปัญหา (เดี๋ยวเรื่องไม่จบ) แต่ก็ควรจะแก้ไขที่ระบบด้วย (ไม่
อยากบอกว่าผิดหรือเปล่า) ให้เป็นแบบ Error Free หรือ Fool Proof จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์
แบบนี้อีก

คราวหน้า อาจจะไม่แค่เจ็บก็ได้
ผมยิ่งชอบขึ้นอยู่ด้วย เจ้ารถไฟฟ้าใต้ดินลอยฟ้าเหนือน้ำอะไรเนี่ย... :(
คนอื่นเขาสะสมอย่างอื่น เราขอสะสมความดี, ความรู้, ประสบการณ์, เงินทอง, กับหุ้นก็แล้วกัน
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เพื่อน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1832
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

คุณเจ๋งคิดเหมือนผมเลย
ผมว่ามันดูทะแม่งๆยังไงๆอยู่เหมือนกัน

1. ออกแบบผิดแน่ๆ ถึงต้องใช้แรงส่งรถให้ไปถึงจุดหมาย ถ้าแรงส่งไม่พอจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม น่าจะมีวิธีที่2มาช่วย....ยังเปิดใช้ไม่นานเลยมีปัญหาเรื่องแรงส่งรถซะแล้ว
2. ผมงงตรงคำว่าปลดเบรค ทำให้รถไหลกลับ.....แล้วไอ้ตอนวิ่งมามันใส่เบรคมาเหรอครับ งงจริงๆ....อาจจะมีเหตุผลที่ผมยังไม่เข้าใจก็ได้ แต่ที่ฟังจับใจความได้แค่นี้ทำให้รู้สึกแปลกๆกับข้อแก้ตัวง่ายๆ

ถ้าให้ผู้เชี่ยวชาญทางนี้จริงๆมาทำการตรวจสอบ(แบบไม่ปิดบังข้อมูล)คงได้เห็นอะไรดีแน่ๆครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
house
Verified User
โพสต์: 683
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

จากที่ทราบมานะครับ

ระบบรางตรงช่วงที่เป็นหลุมมันไม่มีจุดจ่ายไฟครับ เมื่อ รถวิ่งขึ้นไปแล้วความเร็วไม่พอ ไฟหมด ระบบล็อคอัติโนมัติจึงทำงาน แล้วก็ทำให้รถค้างอยู่อย่างนั้น
เมื่อไม่สามารถ เอารถอีกคันมาเชื่อมลากขึ้นไปได้ จึงทำการปลดเบรก โดยหวังให้รถไหลลงไปรับไฟจาก จุดจ่ายไฟด้านล่างก่อนเร่งขึ้นมาใหม่ แต่ผลคือมันไม่หยุด และการปลดเบรกมือออก เป็นการบายพาส ระบบ ควบคุมทั้งหมด(ต้องใช้รหัสพิเศษ) พอปลดออกมาก็ตัวใครตัวมัน

เห็นออกข่าวว่าในความเป็นจริงทางซีเมนต์ ระบุไว้ในคู่มือว่าห้ามปลดเบรคมือเด็ดขาด แต่เจ้าหน้าที่เราปลดครับ

แต่ผมเห็นด้วยกับทุกๆคนนะ ระบบ มันไม่สมบูรณ์จริงๆนั่นแหละ
ทำให้เต็มที่ เพื่อจะไม่เสียใจภายหลัง
pa_chit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 225
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เท่าที่เมื่อวานฟังดูก็พอเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร เหมือนเค้าจะบอกว่าที่ยังจำเป็นต้องให้มีระบบ manual อยู่ ก็เพราะว่าบางส่วนยังไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้เต็มร้อยได้ เนื่องจากยังจับ Pattern การเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้าไม่ได้ (ในที่นี้ก็คือการนำออกไปซ่อมบำรุง)

เค้ายกตัวอย่างว่าถ้ารถไฟมันวิ่งจากสถานีนึง ไปอีกสถานีนึงจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ความเร็วเท่าไหร่ คอมพิวเตอร์ควบคุมได้หมด เนื่องจากมันมี pattern ของมัน ซึ่งถ้ามีบางส่วนมันผิดปกติ เช่น รถคันหลังอยู่ใกล้คันหน้าเกินไปมันก็จะชะลอตัวเองอัตโนมัติ ถ้าผิดปกติมากๆ เช่นว่าจะชนกัน มันจะทำการเบรกแล้วล็อกตัวเองทันที เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

แต่การที่จะไปซ่อมบำรุงเค้าบอกว่า มันจะต้องมีการเคลื่อนที่ที่แปลกไปกว่าธรรมดา เช่นอาจจะมีถอยหลัง เดินหน้า หยุด หยุดแล้วเคลื่อนต่อ อะไรอย่างนี้ ทำให้จับ pattern ไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้ต้องใช้คน

แต่ผมสงสัยว่าในเมื่อมันยังต้องมีการซ่อมบำรุงอยู่เรื่อยๆ ทำไมถึงยังจับ pattern การส่งรถให้ถึงศูนย์ซ่อมไม่ได้ น่าจะมีวิธีที่ทำให้รถสามารถวิ่งไปถึงจุดที่สามารถหยุดโดยปลอดภัย ไร้กังวล ว่ามันจะไหลไปไหนได้อีก แล้วค่อยใช้ระบบ manual ก็ยังได้ จะซ่อมจะอะไรก็ว่ากันไป นี่กลายเป็นส่งรถไม่ถึงปลายทางแล้วให้คนมารับช่วงต่อซะอย่างนั้น :(
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 1

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

พนักงานไปดูงานไปฝึกงานมาหรือเปล่า
อำนาจการตัดสินใจผิดพลาด
มีการสอบเข้าบรรจุทำงาน
หรือทำงานไม่เป็น แต่เข้ามาทำงานได้เพราะใช้เส้นสาย
เลยควบคุมระบบไม่เป็นอ่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 1

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

แล้วรถเพิ่งซื้อมา ต้องซ่อมแล้วใช้งานไม่ได้2-3เดือนเลย

ฟังไม่ขึ้นเรื่องซ่อม

หรือกำลังฝึกต่อตู้ขบวนรถไฟ
พอเป็นไปได้


เลยทั้งผิด
เลยทั้งพลาด
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

แต่การที่จะไปซ่อมบำรุงเค้าบอกว่า มันจะต้องมีการเคลื่อนที่ที่แปลกไปกว่าธรรมดา เช่นอาจจะมีถอยหลัง เดินหน้า หยุด หยุดแล้วเคลื่อนต่อ อะไรอย่างนี้ ทำให้จับ pattern ไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้ต้องใช้คน
ไม่จริงครับ เป็นข้อแก้ตัวน้ำขุ่นๆ มากๆ

ระบบ safety ที่ดี ต้องป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในทุกกรณี

ส่วนการจับ pattern ใช้สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย ไม่มีอะไรเกี่ยว
กับระบบ safety ครับ

เหมือนคอมในรถยนต์แหละครับ การที่ระบบ ABS จะทำงาน ไม่ต้องมานั่งจับ
pattern ว่าเบรคแบบไหนถึงควรจะทำงาน ระบบ safety ของ ABS คือ ถ้าล้อ
ล็อกปั๊บ ABS kick in ทันที จบ ไม่มีแต่

แต่ถ้าเป็นระบบประหยัดเชื้อเพลิง (คุมหัวฉีด) ต้องจับ pattern การขับของผู้ขับ
ว่าชอบเร่งแบบไหน แล้วระบบหัวฉีดสามารถปรับตัวให้จ่ายน้ำมันได้ดีที่สุด
ระบบรางตรงช่วงที่เป็นหลุมมันไม่มีจุดจ่ายไฟครับ
นี่ก็แปลกอีก เป็นทางขึ้นชัดๆ และทางขึ้นมันก็ต้องใช้ไฟ แล้วทำไมถึงไม่จ่ายไฟ
ในจุดนี้

ถ้าระบบดีจริง ต่อให้ปลดเบรคมือ โอนเข้าระบบแมนวลหมด ก็ควรจะมี double
safety เช่น เมื่อมีรถในชานชาลา รถอีกคันจะไม่สามารถถอยลงมาได้เด็ดขาด
คือล็อกที่รางควรจะบล็อกอยู่เมื่อมีรถเทียบชานชาลาหรือกำลัง approaching
ถ้าคนขับปลดเบรกจริง อย่างมากควรจะทำให้รถเสียแค่นั้นเอง

สรุปแล้วคือ ไม่ว่าจะเป็นยังไงก็เป็นปัญหาที่ระบบครับ เหมือนพี่เจ๋งบอก
(พูดในฐานะอดีตนักออกแบบระบบ)

เพราะถ้าคนๆ เดียวสามารถสร้างความเสียหายได้ขนาดนี้ (โดยไม่ตั้งใจ)
แล้วพนักงานที่เกิดโกรธผู้บริหารจงใจสร้างความเสียหายให้มากๆ (ประเภท
ยอมฆ่าตัวตาย) จะเกิดอะไรขึ้น ระบบที่ว่าจะสามารถป้องกันได้หรือครับ
pa_chit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 225
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

พูดอีก ก็ถูกอีก เห็นถึงความไม่สมบูรณ์ของระบบจริงๆ ไม่ว่าจะกรณีใดๆ น่าจะมีการออกแบบให้ครอบคลุมทุกๆ สถานการณ์ที่มีโอกาสจะเกิดได้

สัมภาษณ์พนักงาน เค้าก็บอกว่าไอ้ที่เกิดเหตุแบบนี้มันอยู่นอกเหนือคู่มือที่เรียนมา ไม่รู้จะทำไงจริงๆ พลิกตำราไม่ทันว่างั้น

แต่ที่น่าโกรธอย่างยิ่งก็คือ เมื่อรู้ว่าหลังจากที่รถไหลกลับเข้ามาในรางปกติแล้ว หมดปัญญาที่จะทำให้มันหยุดแล้ว มันมีเวลาตั้งประมาณ 5 นาที กลับไม่มีปัญญาติดต่อกับสถานีให้อพยพคนออกไป แล้วยังมาชื่นชมพนักงานตัวเองอีกว่าเค้าไม่หนีออกจากจุดเกิดเหตุ อยู่จนกระทั่งรถชนกัน (หนีไม่ได้ต่างหาก)
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ระบบไม่มี แต่บอกว่าระบบดี
คนก็ไม่ดีอีก แบะ แบะ แบะ ร้องระงม
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
ภาพประจำตัวสมาชิก
เพื่อน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1832
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

คุณ house เขียน
และการปลดเบรกมือออก เป็นการบายพาส ระบบ ควบคุมทั้งหมด(ต้องใช้รหัสพิเศษ) พอปลดออกมาก็ตัวใครตัวมัน

เห็นออกข่าวว่าในความเป็นจริงทางซีเมนต์ ระบุไว้ในคู่มือว่าห้ามปลดเบรคมือเด็ดขาด แต่เจ้าหน้าที่เราปลดครับ
งงมั้ยหละครับ...ต้องใช้ระหัสพิเศษที่ใครๆก็มีเหรอครับ ไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากคณะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษก่อนเหรอครับ
ซีเมนต์ระบุไว้ในคู่มือว่าห้ามปลดเด็ดขาด แล้วทำไมปลดกันได้ง่ายๆ ไม่มีระบบป้องกันเลยเหรอครับ
แล้วระบบส่งรถที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีไฟฟ้า ก็น่าจะได้รับการท้วงติงจากผู้ออกแบบระบบก่อนนะครับ.....ผู้ออกแบบผิดหรือว่าโดนแก้ใขแบบเพื่อความประหยัด.....เรื่องพวกนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตคนจำนวนมาก น่าจะมีการเซ็นต์รับรองโดยคณะผู้ออกแบบหรือใครก็ได้ที่สามารถรับรองความปลอดภัยกับชีวิตคนได้รวมทั้งการเปิดการใช้งานได้ตรงกับแบบที่ออกมา.....ก่อนการอนุมัติการก่อสร้างการวางระบบจะได้คิดกันมากๆหน่อย ไม่ใช่ทำๆไปเถอะผิดก็แก้ใขไปตามเหตุการณ์
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

pa_chit เขียน:แต่ที่น่าโกรธอย่างยิ่งก็คือ เมื่อรู้ว่าหลังจากที่รถไหลกลับเข้ามาในรางปกติแล้ว หมดปัญญาที่จะทำให้มันหยุดแล้ว มันมีเวลาตั้งประมาณ 5 นาที กลับไม่มีปัญญาติดต่อกับสถานีให้อพยพคนออกไป แล้วยังมาชื่นชมพนักงานตัวเองอีกว่าเค้าไม่หนีออกจากจุดเกิดเหตุ อยู่จนกระทั่งรถชนกัน (หนีไม่ได้ต่างหาก)
เท่าที่ฟังระยะเวลาแค่ 20 วินาทีเท่านั้นไม่ใช่หรือครับ คุณลองนับ 1 ถึง 20 ดูซิครับ
pa_chit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 225
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

pa_chit พิมพ์ว่า:
แต่ที่น่าโกรธอย่างยิ่งก็คือ เมื่อรู้ว่าหลังจากที่รถไหลกลับเข้ามาในรางปกติแล้ว หมดปัญญาที่จะทำให้มันหยุดแล้ว มันมีเวลาตั้งประมาณ 5 นาที กลับไม่มีปัญญาติดต่อกับสถานีให้อพยพคนออกไป แล้วยังมาชื่นชมพนักงานตัวเองอีกว่าเค้าไม่หนีออกจากจุดเกิดเหตุ อยู่จนกระทั่งรถชนกัน (หนีไม่ได้ต่างหาก)


เท่าที่ฟังระยะเวลาแค่ 20 วินาทีเท่านั้นไม่ใช่หรือครับ คุณลองนับ 1 ถึง 20 ดูซิครับ
5 นาทีนี่ผมอ่านจาก Post Today ฉบับเมื่อวานครับ เค้าลำดับเหตุการณ์เป็นฉากๆ โดยสรุปมีดังนี้ครับ

9.15 -- รถไฟที่เสียหลักไหลลงอุโมงค์ความลึก 20 เมตร ระยะทางประมาณ 1 กม.

9.20 -- เพียง 5 นาที รถขบวนที่เสีย ได้ถอยไปชนรถที่จอดอยู่ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ผมฟังคุณประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฟ้ามหานคร ออกรายการถึงลูกถึงคน ทางช่อง 9 ครับ

ระยะทางระหว่างโรงจอดถึงตัวสถานีแค่ประมาณ 1 กิโลครับ

ถ้าใช้เวลานานถึง 5 นาที รถก็จะมีความเร็วแค่ 12 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คงไม่ใช่นะครับ

แล้วรถขบวนนั้นก็ไม่ได้เสียครับ เพียงแต่เลยเวลาเร่งด่วน จึงมีการนำไปเก็บในโรงซ่อมบำรุงครับ
แก้ไขล่าสุดโดย chatchai เมื่อ พุธ ม.ค. 19, 2005 12:00 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พร้อมจะเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้บริการของรถไฟฟ้าใต้ดิน หลังจากมีการตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งอุบัติเหตุชนกันเป็นเรื่องความบกพร่องของบุคคลที่จะต้องมีการฝึกอบรมพนักงานให้มีวินัย และทำตามกฎของคู่มืออย่างเคร่งครัดเหมือนนักบิน ซึ่งจะให้นักจิตวิทยามาวิเคราะห์เจ้าหน้าที่ของรถไฟฟ้าด้วย โดยขอยืนยันว่าระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของประเทศไทยมีความปลอดภัยอยู่ในระดับแนวหน้า
เมื่อครั้งผมทำงานบริษัทต่างชาติ ได้มีการวัดระดับความเหมาะสมของเงินเดือน
พนักงาน สิ่งหนึ่งที่ผมว่าแปลกคือ ระดับเงินเดือนสูงสุดของพนักงานแต่ละคน
จะขึ้นกับปัจจัยหลัก 2 อย่างคือ 1. ปริมาณงานที่ทำ และ 2. ความเสียหายที่จะเกิด
ขึ้นกับบริษัทเมื่อทำงานพลาด

ที่ผมว่าแปลกเพราะ ปริมาณงานที่ทำนั้น ถ้ายิ่งมาก แปลว่ายิ่งเป็นพนักงาน
ระดับล่าง เพราะฉะนั้นพนักงานระดับสูงบางคนแทบไม่ได้ทำงานอะไรเลย รับ
เงินเดือนมหาศาล ทำหน้าที่ควบคุมระบบง่ายๆ แค่นั้นเอง แต่ถ้าเขาตัดสินใจ
ผิดพลาดและคุมระบบไม่ดี บริษัทจะเสียหายมหาศาลถึงขนาดถูกฟ้องจนเจ๊งได้

ถ้าคุณทักษิณต้องการให้พนักงานรฟม. ที่ทำพลาดและเกิดผลกระทบขนาดนี้
ก็ควรจ่ายเงินเดือนในระดับเดียวกับนักบิน ซึ่งความรับผิดชอบของเขาคือ
ผู้โดยสารหลายร้อยชีวิตบนเครื่องบินนั้นๆ

การให้พนักงานขับรถเงินเดือนหลักหมื่นมีความรับผิดชอบเท่านักบินเงินเดือน
หลายแสนนั้นเป็นไปไม่ได้

เพราะฉะนั้น ระบบจะต้องป้องกันไม่ให้พนักงานเงินเดือนหลักหมื่นเหล่านี้ ทำ
งานพลาดจากวิจารณญาณของตนเอง
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

แล้วนักบินมีโอกาสที่จะใช้วิจารณญาณของตนเองผิดพลาด แล้วทำให้เครื่องบินตกไหมครับ

ผมก็ว่ามี

ผู้ควบคุมหอควบคุมการบินมีโอกาสที่จะใช้วิจารณญาณของตนเองผิดพลาด แล้วทำให้เครื่องบินตกไหม

ผมก็ว่ามี

แล้วนักบินอวกาศกับหอควบคุมการบินของ NASA ละครับ มีโอกาสไหม

มีระบบอะไรบ้างครับ ที่ไม่มีโอกาสให้คนตัดสินใจอะไรเลย ถ้ามีคนตัดสินใจยังไงก็คงต้องมีตัดสินใจพลาดได้
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 19

โพสต์

แล้วนักบินมีโอกาสที่จะใช้วิจารณญาณของตนเองผิดพลาด แล้วทำให้เครื่องบินตกไหมครับ
เกิดขึ้นเป็นประจำครับ แต่นักบินเหล่านั้น เมื่อตัดสินใจผิดพลาดจากวิจารณญาณ
ของตนเอง โทษได้เต็มที่เลยครับ และต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
ทุกอย่าง

แต่เขาก็จะได้ compensation มากกว่าคนที่ทำงานในหน้าที่อื่นๆ แน่นอน
ระบบคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมมาทำหน้าที่นักบินก็จะเข้มข้นกว่าตำแหน่ง
พนักงานขับรถตู้ และการทดสอบ EQ ก็จะต้อง rigorous กว่าเยอะ

ยิ่งตำแหน่งสำคัญของประเทศ เช่นนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิปดี ซึ่งการตัดสินใจ
และการกระทำมีผลกับคนมากมาย ก็ควรจะได้ค่าตอบแทนสูงมากๆ กว่าคนที่ทำงาน
ในตำแหน่ง routine เช่น พนักงานขับรถไฟฟ้า

การมอบอำนาจตัดสินใจที่สร้างความเสียหายขนาดนี้ไว้กับคนที่ความสามารถจำกัด
ก็เหมือนกับการให้ระเบิดมือกับเด็กสามขวบแล้วบอกว่า หนูอย่าปลดสลักนะ ไม่ว่า
กรณีใดๆ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 20

โพสต์

มีระบบอะไรบ้างครับ ที่ไม่มีโอกาสให้คนตัดสินใจอะไรเลย ถ้ามีคนตัดสินใจยังไงก็คงต้องมีตัดสินใจพลาดได้
ตัดสินใจพลาดไม่ใช่ประเด็นครับ คุณฉัตรชัย

อยู่ที่ขอบเขตของความเสียหายที่เกิดขึ้นต่างหาก

ถ้าพนักงานขับรถไฟฟ้าเงินเดือนหลักหมื่นตัดสินใจพลาด
consequence มากที่สุด ควรจะเป็นรถไฟฟ้าเสียหาย

เพื่อนผมเป็นกัปตันการบินไทยครับ เขาบอกว่าการขับเครื่องบิน
นั้นง่ายมาก เขารู้สึกเครียดกับการขับรถในถนนกว่าการขับเครื่องบิน
เยอะ

ถ้าใครเคยเล่น flight simulator จะรู้ว่าเล่นไม่ยากมาก และใครก็ตาม
ที่บิน flight simulator ได้ก็สามารถขับเครื่องบินได้

แต่ FAA จะออกไลเซ้นส์ให้ทุกคนที่ขับเครื่องบินได้สามารถขับเครื่องบิน
โดยสารหรือครับ ไม่มีทาง

ระบบบนเครื่องบินจะป้องกันความปลอดภัยได้ส่วนหนึ่ง และขบวนการ
ออก license ขับเครื่องบินโดยสารของ FAA ก็ถือว่าเป็นระบบที่ป้องกัน
ความปลอดภัยอีกอันหนึ่ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 21

โพสต์

เห็นด้วยอย่างมากครับ
Expecto Patronum!!!!!!
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 22

โพสต์

เขาว่าเป็นความผิดของคน

ผมคิดว่ามันเป็นการง่าย และจบเร็วหากโยนความผิดไปให้แพะ

เพราะถ้าออกมาบอกว่าเป็นที่ระบบคงจะใช้เวลาเยอะในการทำระบบให้ถูกต้อง

ระบบเป็นแบบนี้ สิ่งที่จะเกิดต่อมา ก็คือการลงโทษ คาดโทษคน

และความผิดพลาดจะเกิดขึ้นอีก


คำถาม.... ขับรถไฟฟ้า มี License อะไรมารองรับมั้ยครับ?
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 23

โพสต์

คำถามอีกข้อ ถ้าเรื่องนี้สรุปว่าคนขับรถผิด... และไม่มีการปรับปรุงระบบใดๆ ทั้งสิ้น

ใครจะกล้านั่งรถไฟฟ้าใต้ดินอีกครับ เกิดวันดีคืนดี คนขับสติแตกหรือทะเลาะกับ
เมียมาแล้วตัดสินใจพลาดอีก ก็โดนกันอีกสิครับ คราวหน้าอาจะไม่ใช่แค่เจ็บก็ได้
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 24

โพสต์

แล้วเทียบกับคนขับรถบรรทุนแก๊ซ คนขับรถบรรทุกน้ำมัน คนขับรถทัวร์ คนขับรถประจำทาง คนขับเรื่อโดยสาร คนเหล่านี้ก็สามารถที่จะตัดสินใจผิดพลาดแล้วทำความเสียหายได้มากมายเช่นกันครับ แล้วรายได้ของคนทำงานเหล่านี้ก็น้อยนิด
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 25

โพสต์

คงต้องสังคายนากันยกใหญ่เลยนะเนี่ย :| :|
Expecto Patronum!!!!!!
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ท่านประธานคงหมายถึง เมื่อเกิดอุบัติเหตุใหญ่เสียหายหลายๆล้าน การโทษคนเงินเดือนหลักหมื่น นั้นไม่ถูกต้อง แท้จริงระบบราคาหลายๆล้านน่าจะออกแบบมาให้ดี
หากแท้จริงมีปัญหาที่ระบบก็ต้องแก้ที่ระบบ

เรื่องกัปตันเครื่องบิน... เวลาเครื่องบินตก มีเหตุปัจจัยหลายหลาก เรายังไม่โทษที่กัปตันบังคับไม่ดีเลย จริงไหมครับ แล้วทำไมเหตุการณ์นี้จึงรีบสรุปมาโทษที่คนขับล่ะ

สิ่งที่ท่านฉัตรชัยกล่าวมา ก็ไม่เป็นระบบที่ดีครับ โดยมากเราก็โทษคนขับเหมือนกัน
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 27

โพสต์

แล้วเทียบกับคนขับรถบรรทุนแก๊ซ คนขับรถบรรทุกน้ำมัน
กะแล้วว่าต้องมามุขนี้ กำลังเขียนรออยู่พอดี

เห็นด้วยครับว่าควรยกระดับรายได้ของคนขับรถบรรทุกวัตถุไวไฟ
เพราะเป็นอาชีพที่เสี่ยงอันตรายและความรับผิดชอบสูง

แต่เมื่อเป็นการขับขี่รถบนถนนนั้น ผมคิดว่า

1. รถที่มีวัตถุไวไฟจะมีป้ายเขียนไว้ชัดเจน
2. ตัวรถเองได้รับการออกแบบให้ทนแรงกระแทกได้มาก และ
มีระบบรักษาความปลอดภัยและเตือนภัยอีกหลายอย่าง
3. ถนนที่รถบรรทุกเหล่านี้ต้องขับส่วนใหญ่จะเป็น open air และทางเลี่ยงเมือง
เมื่อเกิดระเบิดจริงอัตราความเสียหายจะ containable
4. ในกรณีที่ต้องขับเข้าเมือง จะมีกฎชัดเจนว่าเข้าได้ช่วงกลางคืนเท่านั้น
(ทราฟฟิกน้อย)
5. ความเสี่ยงส่วนใหญ่จะมาจาก external factor คือเป็นอุบัติเหตุที่
คนขับควบคุมไม่ได้ ซึ่งในกรณีไม่ว่าใช้คนเก่งแค่ไหนก็โดนอยู่ดี
6. การขับรถบรรทุกมีเรื่องให้ใช้วิจารณญาณน้อยมาก นอกจาก skills set ทั่วๆ
ไปที่คนขับรถ "ทุกคน" ต้องขับเป็น
7. การขับรถบรรทุกวัตถุไวไฟไม่มี auto pilot

จริงๆ มีอีกเยอะแต่ขี้เกียจเขียนแล้ว คุณฉัตรชัยน่าจะคิดเองได้ถ้าไม่มัวแต่
จ้องจับผิด ผมไม่ได้ว่าใครว่าเป็นต้นเหตุ แต่ผมกำลังจะบอกว่า
การแก้ปัญหาด้วยการปัดความรับผิดชอบให้คนขับรถไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ถึงแม้คนขับรถไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องร่วมรับผิดชอบด้วย

ควรจะหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงก่อน แล้วดำเนินการป้องกันแก้ไข

วัวหายแล้วล้อมคอก ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
pa_chit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 225
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ไม่ว่าจะสรุปออกมายังไงนะครับ ถ้ายังได้เดินรถอยู่

ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็ยังจะต้องขึ้นอยู่ดี ยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งลืม

ถ้ามีเรื่องขึ้นมาอีก ก็มาล้อมคอกใหม่ เหมือนกับตึกที่ถล่มลงมาแหละครับ

ยิ่งเมื่อวานดู คุณอรปรียา จากเรื่องเล่าเช้านี้

เค้าก็บอกคุณสรยุทธ์ในรายการว่า เค้ากลัวรถติดกว่าครับ :?
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 29

โพสต์

โฮะ โฮะ พี่ CK อย่าเพิ่งมีน้ำโห ล้อเล่นนา
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
เพื่อนพูห์
Verified User
โพสต์: 118
ผู้ติดตาม: 0

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์ที่ 30

โพสต์

แหะๆ คุยกันมันส์กว่า "ถึงลูกถึงคน" อีกนะครับ
เพิ่งจะได้ดู clip รายการ เมื่อวันที่ 17

รมต. คมนาคมกับผู้ว่าการรฟม. ยืนยันว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุกับ รฟม. อีก
คงอยู่เป็น รมต กับ ผู้ว่าฯ ไม่ได้แล้ว ...

มีอยู่คำพูดนึงที่ รมต. บอกว่า "สาเหตุไม่ใช่เพราะระบบควบคุมรถผิดพลาด ไม่งั้นผมคงต้องรับผิดชอบ ที่ไปเร่งให้รีบเปิดใช้งาน"

แหม! มีความรับผิดชอบกันดีจริงๆ !! :roll:

เน้นกันจังว่า ระบบควบคุมไม่มีทางผิดพลาด ก้อรู้ว่าระบบควบคุมมันเจ๊ง แต่ระบบอื่นล่ะ
- ระบบความปลอดภัยล่ะ พนักงานยกเลิกระบบเบรคได้เฉยเลย
- ระบบรางน่าจะการออกแบบป้องกันกรณีที่ขบวนรถไหลจากทางลาดชันจากรางซ่อมบำรุง ลงไปที่ระบบรางโดยสาร (ตรงนี้คงคิดไม่ถึงกัน ว่าจะมีใครไปยกเลิกระบบเบรค)
- ตู้รถเองก้อน่าจะมีระบบเบรคสำรอง จากระบบเบรคหลัก