การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
- BeSmile
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1178
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 1
เคยนึกไหมครับ ในการตัดสินใจนั้น แต่ละครั้งเราอ้างอิงอะไร ในการตัดสินใจ
ซึ่งบางครั้ง อารมณ์ มักจะมาก่อน เหตุผลเสมอ ในการสนองตอบ ต่อปัญหา
ผมจะลองเขียนในแนวทางคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นแนวคิดหนึ่งนะครับ ในการวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจ
เนื่องจากเราเป็นนักลงทุนแบบ VI ดังนั้นหลังจากประเมินมูลค่า บริษัท เป้าหมายที่จะซื้อแล้ว เราก็เริ่มคิดถึงโอกาศที่บริษัท จะเป็นไปตามที่คาด และความเสี่ยงที่จะไม่เป็นไปตามนั้น
โอกาศที่จะได้ และความเสี่ยงที่จะเสีย ก็ คือ ความน่าจะเป็น (probability)
ผมจะลองยกตัวอย่าง ง่าย ๆ โดยใช้บริษัท รับเหมา ก่อสร้าง XYZ ที่กำลังจะประมูลงานจาก บริษัท ABC โดยมีเหตุการณ์ดังนี้
เหตุการณ์ที่ 1
โอกาศที่ ABC จะเปิดประมูลงาน 80% ไม่เปิดประมูลงาน 20%
เหตุการณ์ที่ 2
โอกาศที่ XYZ จะประมูลงานได้ 80% ไม่ได้งาน 20%
เมื่อมองแต่ละเหตุการณ์ เหมือนโอกาสจะมาก ทำให้เราสามารถตัดสินใจผิดพลาดได้
แต่ถ้าเรานำมาเขียนเป็น Game Theory แล้วนำมาหา Prob จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น ดังนี้
ABC จะเปิดประมูลงาน 80% โอกาศที่ XYZ จะประมูลได้ 80%, Prob = 64%
ABC จะเปิดประมูลงาน 80% โอกาศที่ XYZ จะประมูลไม่ได้ 20%, Prob = 16%
ABC ไม่เปิดประมูลงาน 20%, Prob = 20%
ดังนั้นโอกาศที่ XYZ ได้งาน = 64% ไม่ได้งาน = 36%
ตัวเลขความน่าจะเป็นดังกล่าว จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
(เมื่อนำไปคำนวณรวมกับ Upside / Downside ก็ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น)
แต่สำหรับบางคนอาจมองความน่าจะเป็นเป็นตัวเลข ไม่ชัดเจน ผมจะลองไปเขียนแบบ ไพ่ตีแตกให้ดู
หวังว่าพอจะมีประโยชน์บ้าง
ซึ่งบางครั้ง อารมณ์ มักจะมาก่อน เหตุผลเสมอ ในการสนองตอบ ต่อปัญหา
ผมจะลองเขียนในแนวทางคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นแนวคิดหนึ่งนะครับ ในการวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจ
เนื่องจากเราเป็นนักลงทุนแบบ VI ดังนั้นหลังจากประเมินมูลค่า บริษัท เป้าหมายที่จะซื้อแล้ว เราก็เริ่มคิดถึงโอกาศที่บริษัท จะเป็นไปตามที่คาด และความเสี่ยงที่จะไม่เป็นไปตามนั้น
โอกาศที่จะได้ และความเสี่ยงที่จะเสีย ก็ คือ ความน่าจะเป็น (probability)
ผมจะลองยกตัวอย่าง ง่าย ๆ โดยใช้บริษัท รับเหมา ก่อสร้าง XYZ ที่กำลังจะประมูลงานจาก บริษัท ABC โดยมีเหตุการณ์ดังนี้
เหตุการณ์ที่ 1
โอกาศที่ ABC จะเปิดประมูลงาน 80% ไม่เปิดประมูลงาน 20%
เหตุการณ์ที่ 2
โอกาศที่ XYZ จะประมูลงานได้ 80% ไม่ได้งาน 20%
เมื่อมองแต่ละเหตุการณ์ เหมือนโอกาสจะมาก ทำให้เราสามารถตัดสินใจผิดพลาดได้
แต่ถ้าเรานำมาเขียนเป็น Game Theory แล้วนำมาหา Prob จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น ดังนี้
ABC จะเปิดประมูลงาน 80% โอกาศที่ XYZ จะประมูลได้ 80%, Prob = 64%
ABC จะเปิดประมูลงาน 80% โอกาศที่ XYZ จะประมูลไม่ได้ 20%, Prob = 16%
ABC ไม่เปิดประมูลงาน 20%, Prob = 20%
ดังนั้นโอกาศที่ XYZ ได้งาน = 64% ไม่ได้งาน = 36%
ตัวเลขความน่าจะเป็นดังกล่าว จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
(เมื่อนำไปคำนวณรวมกับ Upside / Downside ก็ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น)
แต่สำหรับบางคนอาจมองความน่าจะเป็นเป็นตัวเลข ไม่ชัดเจน ผมจะลองไปเขียนแบบ ไพ่ตีแตกให้ดู
หวังว่าพอจะมีประโยชน์บ้าง
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 3
ความแน่นอนมีแต่ในตำรา ชีวิตจริงธุรกิจมีความไม่แน่นอนสูง บ่อยครั้งผู้บริหารคาดการณ์แล้วยังไม่เป็นตามนั้น แล้วเราเป็นเพียงผู้รับข้อมูลมาอีกทีหนึ่งจะมีความแม่นยำได้เพียงใด ดังนั้นการอ้างอิงคำนวนมาก ๆย่อมพลาดได้เช่นกัน ศัพย์ที่คุ้นหูก็คือ garbage in, garbage out ละครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 4
+1.22388330กาละมัง เขียน:ความแน่นอนมีแต่ในตำรา ชีวิตจริงธุรกิจมีความไม่แน่นอนสูง บ่อยครั้งผู้บริหารคาดการณ์แล้วยังไม่เป็นตามนั้น แล้วเราเป็นเพียงผู้รับข้อมูลมาอีกทีหนึ่งจะมีความแม่นยำได้เพียงใด ดังนั้นการอ้างอิงคำนวนมาก ๆย่อมพลาดได้เช่นกัน ศัพย์ที่คุ้นหูก็คือ garbage in, garbage out ละครับ
value trap
- BeSmile
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1178
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 5
ใช่ครับ คุณ Densin กรณีที่เรายังไม่ทราบถึงข้อมูลที่เพียงพอ ต่อการตัดสินใจdensin เขียน:แล้วความน่าจะเป็น พี่เอามาตัดสินสัดส่วน%การลงทุนหรือไม่ครับ
เช่นเสี่ยงมากก็ลง%น้อย
การแปลงเป็นตัวเลข น่าจะทำให้เราเข้าใจในสถานการณ์ นั้นดีขึ้น
แต่หัวใจก็ยังอยู่ที่การประเมินมูลค่าอยู่ดี
ยกอีกตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือเรื่อง การประมูล 3G กับหุ้นที่มีผล 3 ตัว คือ หุ้น A หุ้น D และ หุ้น T
ตอนนั้นทุกคนมั่นใจมากว่า 3G มาแน่ โอกาศเกิด คือ 90% ราคาหุ้นขึ้นมารอเลย
ตอนนั้น A กับ T น่าจะได้, D มาที่ 3
หุ้น T ที่มี Upside และ Downside สูงสุด จึงมีการซื้อ ขายมากสุด
ทุกคนที่ซื้อ มองแต่ Upside เพราะคิดว่ามีประมูลแน่ ๆ โดยไม่คำนวณ Downside
สุดท้าย ไม่มีการประมูล คนที่ซื้อ T จึงต้องเสียมากสุด
A กับ D ยังดีที่มีพื้นฐานลองรับ
(ลองเอาไปเขียน Game Theory แล้วใส่ Prob ดูก็ได้ครับ)
อะไรที่ว่าแน่ ๆ ก็ยังไม่แน่ เสมอไป เหมือนที่พี่กาละมังบอก
ดังนั้นต้องมี MOS เผื่อไว้ด้วยครับ
************************
มาต่อด้วยตอนจบ ครับ
บางครั้ง ตัวเลข อาจสื่อให้เห็นภาพไม่ชัดเจน ผมจะใช้ความน่าจะเป็นแบบ ไพ่ตีแตกนะครับ
ถามเล่น ๆครับ คนเล่นไพ่ตีแตก 2 คน คนเล่นคนที่ 1 ถือ A 4 ตัว, คนที่ 2 ถือ Q 4 ตัว ใครจะมีโอกาศชนะมากกว่ากัน ???
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
- tatandchin
- Verified User
- โพสต์: 775
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 6
เท่ากันครับBeSmile เขียน: ถามเล่น ๆครับ คนเล่นไพ่ตีแตก 2 คน คนเล่นคนที่ 1 ถือ A 4 ตัว, คนที่ 2 ถือ Q 4 ตัว ใครจะมีโอกาศชนะมากกว่ากัน ???
- nam
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1437
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 7
เห็นด้วยกับคุณ BeSmile ครับ
ผมก็ใช้แนวทางนี้ในการตัดสินใจในการลงทุนครับ (รายละเอียดผมอ่านจาก the essential buffett)
prob. ที่ใช้ในแต่ละสถานการณ์นั้น ผมปรับเปลี่ยนน้ำหนักไปเรื่อยๆตามข้อมูลพื้นฐานที่หาได้เพิ่มมากขึ้น
มันเป็นศิลป์แล้วค่อยศาสตร์ครับ....จึงต้องหมั่นฝึกควบคุมอารมณ์เวลาเห็นผลตัวเลขที่วิเคราะห์ได้ในครั้งแรก
ลองทำ sensitivity analysis ในหลายๆสถานการณ์ด้วย
ลองคุยแลกเปลี่ยนกับเซียนที่กรุณาวิจารณ์งานของเราอย่างตรงไปตรงมา (เผลอๆก็ลอกเซียนซะเลย....ไหงลงท้ายแบบนี้ไม่รู้งิ )
ผมก็ใช้แนวทางนี้ในการตัดสินใจในการลงทุนครับ (รายละเอียดผมอ่านจาก the essential buffett)
prob. ที่ใช้ในแต่ละสถานการณ์นั้น ผมปรับเปลี่ยนน้ำหนักไปเรื่อยๆตามข้อมูลพื้นฐานที่หาได้เพิ่มมากขึ้น
มันเป็นศิลป์แล้วค่อยศาสตร์ครับ....จึงต้องหมั่นฝึกควบคุมอารมณ์เวลาเห็นผลตัวเลขที่วิเคราะห์ได้ในครั้งแรก
ลองทำ sensitivity analysis ในหลายๆสถานการณ์ด้วย
ลองคุยแลกเปลี่ยนกับเซียนที่กรุณาวิจารณ์งานของเราอย่างตรงไปตรงมา (เผลอๆก็ลอกเซียนซะเลย....ไหงลงท้ายแบบนี้ไม่รู้งิ )
ตถตา
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 8
ถ้าคนที่ 1 ถือ A 4 ตัว, คนที่ 2 ถือ K 4 ตัว (เปลี่ยนจาก Q เป็น K )BeSmile เขียน: ถามเล่น ๆครับ คนเล่นไพ่ตีแตก 2 คน คนเล่นคนที่ 1 ถือ A 4 ตัว, คนที่ 2 ถือ Q 4 ตัว ใครจะมีโอกาศชนะมากกว่ากัน ???
จะมีโอกาสชนะเท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นผู้ได้เล่น เพราะไม่ว่าจะเปิดตัวไหนออกมา ทั้งสองคนนี้ก็ชนะอยู่ดี
แต่ถ้าคนที่ 1 ถือ A 4 ตัว, คนที่ 2 ถือ Q 4 ตัว ตามที่โจทย์ว่า
ก็ต้องตอบว่าคนแรกมีโอกาสชนะมากกว่า
เพราะคนที่สองแม้จะเป็นผู้ได้เล่น แต่ถ้าเปิด K ออกมา คนที่สองก็โดนรับประทานครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 9
ถ้าพูดถึงการมอง probability แบบ ไพ่ตีแตก ผมใช้เป็นประจำครับเวลาชักชวนให้เพื่อนซื้อหุ้น เช่น
หากลงทุนในหุ้น a โอกาสที่จะเสียน้อย (prob to lose is low) และหากเสียก็จำนวนน้อยด้วย (lose little money) ในทางตรงข้าม โอกาสที่จะได้สูง (prob to win is high) และหากได้ก็ได้มากด้วย (gain a lot) .....อย่างนี้คุ้มค่าความเสี่ยง สมควรลงทุนอย่างยิ่ง เหมือนถือไพ่สูง 4 ตัว แต่ผลตอบแทนไม่ใช่ 1 ต่อ 1 อย่างไพ่ตีแตก คือ สูงกว่าครับ
ผมว่าเพื่อน ๆ นักลงทุนหลายคนก็คงใช้เป็นประจำเหมือนกันนะครับ
หากลงทุนในหุ้น a โอกาสที่จะเสียน้อย (prob to lose is low) และหากเสียก็จำนวนน้อยด้วย (lose little money) ในทางตรงข้าม โอกาสที่จะได้สูง (prob to win is high) และหากได้ก็ได้มากด้วย (gain a lot) .....อย่างนี้คุ้มค่าความเสี่ยง สมควรลงทุนอย่างยิ่ง เหมือนถือไพ่สูง 4 ตัว แต่ผลตอบแทนไม่ใช่ 1 ต่อ 1 อย่างไพ่ตีแตก คือ สูงกว่าครับ
ผมว่าเพื่อน ๆ นักลงทุนหลายคนก็คงใช้เป็นประจำเหมือนกันนะครับ
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 10
ผมว่าคิดตามโจทย์ A กับ Q ได้เท่ากันเหมือนกันครับ เพราะ ในกองจะเหลือตัวที่แพ้แค่ 1ตัวเหมือนกัน คือ 2 กะ Kสามัญชน เขียน:ถ้าคนที่ 1 ถือ A 4 ตัว, คนที่ 2 ถือ K 4 ตัว (เปลี่ยนจาก Q เป็น K )BeSmile เขียน: ถามเล่น ๆครับ คนเล่นไพ่ตีแตก 2 คน คนเล่นคนที่ 1 ถือ A 4 ตัว, คนที่ 2 ถือ Q 4 ตัว ใครจะมีโอกาศชนะมากกว่ากัน ???
จะมีโอกาสชนะเท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นผู้ได้เล่น เพราะไม่ว่าจะเปิดตัวไหนออกมา ทั้งสองคนนี้ก็ชนะอยู่ดี
แต่ถ้าคนที่ 1 ถือ A 4 ตัว, คนที่ 2 ถือ Q 4 ตัว ตามที่โจทย์ว่า
ก็ต้องตอบว่าคนแรกมีโอกาสชนะมากกว่า
เพราะคนที่สองแม้จะเป็นผู้ได้เล่น แต่ถ้าเปิด K ออกมา คนที่สองก็โดนรับประทานครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 11
โจทย์นี้ ถ้าตอบแบบคนนอกวง คือพวกเรา ซึ่งรู้ไพ่ว่าใครถืออะไรBeSmile wrote:
ถามเล่น ๆครับ คนเล่นไพ่ตีแตก 2 คน คนเล่นคนที่ 1 ถือ A 4 ตัว, คนที่ 2 ถือ Q 4 ตัว ใครจะมีโอกาศชนะมากกว่ากัน ???
ก็ต้องบอกว่าโอกาสเท่ากัน
แต่หากเป็นคนเล่น ที่ไม่รู้ไพ่อีกคน
คนที่1 จะคิดว่าตัวเองมีโอกาสมากกว่า เพราะจะแพ้เฉพาะ 2
ส่วนคนที่2 คิดว่าตัวเองจะแพ้ K และ A
คนที่1 จะกล้าตีแตกมากกว่า
เหมือนการลงทุนครับ
หากรู้ข้อมูลลึกๆมากกว่า เช่นมีข้อมูลระดับผู้บริหารเลย
ก็กล้าตีแตกกว่า รู้แบบลึกๆ แต่ทั่วไปๆ แบบนักวิเคราะห์ แบบ VI
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
- BeSmile
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1178
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณ พี่ ๆ เพื่อน ๆ ทุกท่านที่ช่วยตอบนะครับ
ตอนจุดเริ่มต้น ทั้ง 2 คนจะมีโอกาศเท่ากัน คือ โอกาศ แพ้ 4 ใบ จาก 44 เท่ากัน
คิดเป็นตัวเลข โอกาศแพ้ = 9.09% โอกาศชนะ = 90.91%
แต่พอเกมส์เริ่มเดิน คนเล่นคนที่ 1 จะได้เปรียบนิดหน่อย เพราะได้เปิดไพ่ก่อนครับ
และ Value ไพ่ของคนที่ 2 ก็ขึ้นกับหน้าไพ่ที่เปิดของคนที่ 1
จะเห็นว่า ขนาดไพ่ตีแตก ได้ A 4 ตัว โอกาศชนะยังแค่ 90% เลยครับ
ต้องอาศัยท่านปรมาจารย์ นิเวศน์ ล่ะครับ ที่เอามาประยุกต์ใช้กับหุ้น แล้วทำให้โอกาศ มีมากกว่านั้น แถมยังไม่จำกัดวงเงินที่แทงได้อีก บางครั้งถ้าเสียยังมีคืนเงินได้ด้วย
ดูจากไพ่ในมือท่านสิครับ เล่นตีแตกยังมี 5 ใบ เลย
ตอนจุดเริ่มต้น ทั้ง 2 คนจะมีโอกาศเท่ากัน คือ โอกาศ แพ้ 4 ใบ จาก 44 เท่ากัน
คิดเป็นตัวเลข โอกาศแพ้ = 9.09% โอกาศชนะ = 90.91%
แต่พอเกมส์เริ่มเดิน คนเล่นคนที่ 1 จะได้เปรียบนิดหน่อย เพราะได้เปิดไพ่ก่อนครับ
และ Value ไพ่ของคนที่ 2 ก็ขึ้นกับหน้าไพ่ที่เปิดของคนที่ 1
จะเห็นว่า ขนาดไพ่ตีแตก ได้ A 4 ตัว โอกาศชนะยังแค่ 90% เลยครับ
ต้องอาศัยท่านปรมาจารย์ นิเวศน์ ล่ะครับ ที่เอามาประยุกต์ใช้กับหุ้น แล้วทำให้โอกาศ มีมากกว่านั้น แถมยังไม่จำกัดวงเงินที่แทงได้อีก บางครั้งถ้าเสียยังมีคืนเงินได้ด้วย
ดูจากไพ่ในมือท่านสิครับ เล่นตีแตกยังมี 5 ใบ เลย
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การตัดสินใจโดยใช้ Game Theory กับ ตีแตก Probability
โพสต์ที่ 13
ผมว่าไพ่ มี ไว้เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่อง probability
แต่กับการลงทุน ผมว่าไงก็ต่างกันครับ ..............
มีหลายครั้งที confidence level ของผมอยู่ระดับ 100% ในการลงทุน คือลงหมดหน้าตักเลยครับ
ผมว่าที่สำคัญกว่า และ ตัวแปรมีมากกว่าไพ่แน่นอนคือ ทำยังไงให้ confidence level คุณขึ้นถึง 100% ได้..........................................
นั้นคือ คุณยังไม่รู้อะไร ต้องรู้อะไร ต้องไปอยู่ที่ไหน ต้องรู้จักใคร ต้องอะไร.... ต้อง.............?????????? ทำให้คุณตัดสินใจได้บน ขั้น ความเชื่อมั่น 100%
รับรอง ...................... ลองมองให้กว้างขึ้นครับ
ปัจจัยมากมายเหลือเกินมากกว่าวงไพ่........................... ว่าง่ายๆ เป็น casinoสิ ครับ ยังไงก็รวยกว่าผู้เล่น
แต่กับการลงทุน ผมว่าไงก็ต่างกันครับ ..............
มีหลายครั้งที confidence level ของผมอยู่ระดับ 100% ในการลงทุน คือลงหมดหน้าตักเลยครับ
ผมว่าที่สำคัญกว่า และ ตัวแปรมีมากกว่าไพ่แน่นอนคือ ทำยังไงให้ confidence level คุณขึ้นถึง 100% ได้..........................................
นั้นคือ คุณยังไม่รู้อะไร ต้องรู้อะไร ต้องไปอยู่ที่ไหน ต้องรู้จักใคร ต้องอะไร.... ต้อง.............?????????? ทำให้คุณตัดสินใจได้บน ขั้น ความเชื่อมั่น 100%
รับรอง ...................... ลองมองให้กว้างขึ้นครับ
ปัจจัยมากมายเหลือเกินมากกว่าวงไพ่........................... ว่าง่ายๆ เป็น casinoสิ ครับ ยังไงก็รวยกว่าผู้เล่น
value trap