The New Buffetology , Thai edition

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 1

โพสต์

The New Buffetology

By Mary Buffett & David Clark

ภาคไทยพิสดาร โดย Kotaro

สำหรับคนที่ไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ครับ หรือภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง
<จริงๆผมก็ไม่ค่อยเก่งอังกฤษเท่าไหร่ครับ>

แปลผิดยังไงก็ขอโทษด้วย :D
แก้ไขล่าสุดโดย kotaro เมื่อ ศุกร์ ส.ค. 22, 2003 9:40 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 2

โพสต์

บทที่ 1 : คำตอบของ วอเรนไม่ได้เล่นหุ้น แต่
ทำไมเขาถึงกลายเป็นนักลงทุนหมายเลขหนึ่งในอเมริกา



อันดับแรกรู้หรือไม่ว่า วอเรน บัฟเฟตต์ ไม่ได้เล่นหุ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับที่ทุกคนรู้มาก่อน เขาไม่ได้สนใจเกี่ยวกับ แนวโน้มของหุ้นในแต่ละวัน ไม่มีกราฟหุ้น ไม่สนใจ ค่าทาง technical ที่บอกว่าหุ้นน่าสนใจหรือไม่น่าสนใจ

วอเรน บัฟเฟตต์ มีความสุขในการลงทุนของตัวเอง แล้วอยากรู้ไหมว่าทำอย่างไร ในการใช้เงินลงทุนตอนแรกเพี่ยง 105,000 $ ให้เพิ่มเป็น 30000,000,000 $ ในตอนนี้

คำเฉลยอยู่ที่ว่า วอเรนไม่ได้เล่นหุ้น แต่เขาเล่นกับ คนทั่วไปและกองทุนที่ไปเล่นหุ้นอีกทีนึง

วอเรน เป็นนักสำรวจ พยายามหาถึงความโง่เขลาของ นักลงทุนต่างๆ ที่มาจากการมองโลกในแง่ร้าย และการมองอะไรสั้นๆ

คุณจะพบว่า กองทุนหรือคนส่วนใหญ่ เล่นหุ้น ก็หวังเพื่อที่จะ ให้ได้กำไรให้เร็วที่สุด การที่พวกเขาต้องการ เงินง่ายๆ เร็วๆ ก็เป็นผลทำให้เขาจะถูกควบคุม โดยสิงที่เรียกว่า การมองการณ์สั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 3

โพสต์

วอเรน พบว่า การมองการณ์สั้นนี้ ทำให้เกิดการลงทุนอย่างโง่เขลาตามมามากมาย และวอเรนก็จะคอยเฝ้าอย่างอดทน ซื้อบริษัทที่แห่กันขายตามมานี้

วอเรนทำสิ่งพวกนี้ได้ดีกว่าคนอื่น เพราะ วอเรนค้นพบ สิ่งที่นักลงทุนส่วนน้อยจะยอมรับอยู่ 2 อย่าง

อย่างแรกก็คือ ประมาณ 95% ของนักลงทุนหรือกองทุน ที่เล่นหุ้น วอเรนเรียกพวกนี้ว่า แรงจูงใจสั้น หมายความว่า พวกนี้มักจะ ตอบสนองง่ายต่อ สิ่งที่มากระตุ้นระยะสั้น พวกนี้จะเล่นจากข่าว โดยซื้อจากเมื่อมีข่าวดี ขายเมือมีข่าวร้าย โดยไม่สนใจ เศรษฐกิจของบริษัทในระยะยาว

ข่าวดีจะเป็นอะไรต่างๆ เช่นรายได้ที่เพื่มขึ้นในไตรมาส ก็จะทำไห้ราคาหุ้นขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Good new phenomenon

ข่าวร้ายที่มา ก็จะทำให้นักลงทุนขายออกมา ข่าวร้ายไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ได้ เช่นกำไรที่ลดลงในไตรมาส ราคาหุ้นก็จะตกลง

วอเรนพบว่า สถานะการณ์ทั้งสองนี้ คนมักจะมองข้ามเศรษฐกิจระยะยาวของบริษัท การมองการณ์สั้นนี้ทำให้เกิด ตลาดแบบ overvalues กับ undervalues ต่อตัวบริษัท

ส่วนอย่างทีสอง วอเรนประสพผลสำเร็จที่เข้าใจว่า ราคาของหุ้นในที่สุด ก็จะสะท้อนเศรษฐกิจในระยะยาวของบริษัทออกมา วอเรนพบว่า บริษัทที่ overvalues ในที่สุดราคาหุ้นก็จะต่ำลง ก็จะทำให้ผู้ถือหุ้นจนลง ต่างจาก บริษัทที่ undervalues ในที่สุดราคาหุ้นก็จะสูงขึ้น ก็จะทำให้ผู้ถือหุ้นรวยขึ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 4

โพสต์

วอเรนมีความอัจฉริยะในการหา บริษัทที่ดี ที่ undervalues ในตลาดที่มาจากการเล่นระยะสั้น เขาจะมองไปที่ ตลาดที่ตอบสนองต่อข่าวร้าย ทำให้บริษัทที่ดีถูกขายออกมา ทำให้ได้ซื้อของถูก เมือเกิดแบบนี้ขึ้น วอเรน ก็จะโจนเข้าใส่ แล้วก็ซื้อให้มากที่สุด เพราะเขารู้ว่ายังไงเวลาผ่านไปข้างหน้า เศรษฐกิจของบริษัทเหล่านี้จะดีขึ้น

ตลาดหุ้น จะซื้อเมื่อมีข่าวดี ขายเมือมีข่าวร้าย แต่วอเรนจะซือเมื่อมีข่าวร้าย โดยไม่สนใจข่าวดีเลย วอเรนจะไม่สนใจบริษัทที่เป็นที่นิยม นี่เป็นเหตุผล ที่วอเรนไม่เคยเป็นเจ้าของของ Yahoo ,Priceline, Amazon.com, Lucent, วอเรนสนใจบริษัทที่ไม่เป็นที่นิยม รอคอยข่าวร้ายระยะสั้นที่มาถึง แล้วโจนเข้าใส่ ซื้อให้ได้มากที่สุด

วอเรน เคยพูดว่า สาเหตุส่วนใหญ่ ที่ทำให้ราคาหุ้นต่ำก็เพราะการมองโลกในแง่ร้าย บางครั้งก็กระจายไปกว้าง บางครั้งก็กระจุกไม่กี่บริษัท

การมองโลกในแง่ร้าย ทำให้วอเรนนี้เองร่ำรวยมหาศาล
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เป็นไง อ่านแล้วตื่นเต้นใช่มั๊ย อิอิ พี่ได้พวกอีก 1 คนแล้ว :D
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คุณ kotaro...
ยอดเยี่ยมมาก รอติดตามอ่านเพิ่มเติมอยู่ครับ :wink: :wink:
นายสต็อก
Verified User
โพสต์: 777
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อ่านบทคัดย่อแล้ว.....น่าสนใจมากครับ! อย่าลืมแปลมาให้อ่านเพิ่มอีกนะครับ 8)
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เป็นนเรื่องที่น่าสนใจ มากๆ ถ้ามีโอกาส แปลให้อ่านอีกนะครับ

ขอบคุณครับ

ป.ล. ขอเสนอให้เก็บ กระทู้ นี้ ในห้องบทความด้วยครับ

..Buzz..
noknoi
Verified User
โพสต์: 54
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
ว่าแต่ว่าจะมีต่อไหมครับ :D :o :shock:
อยากเป็น VI
ภาพประจำตัวสมาชิก
moo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1150
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อยากอ่านต่อมากๆเลย ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ripper
Verified User
โพสต์: 51
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 11

โพสต์

...ผมขอตามติดขอบจอด้วยคนครับ :shock:
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 12

โพสต์

กำลังแปลบทที่สองอยู่ครับ แปลเสร็จแล้วเดี๋ยวจะเอามาให้อ่าน :D
ลูกอิสาน2
Verified User
โพสต์: 130
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 13

โพสต์

:D ขอบคุณมากครับ คุณ kotaro :D

การเรียนรู้จากเซียนเนี่ย ทำให้เราประหยัดเวลาจริงๆ ครับ..
ไม่ต้องลองผิดลองถูก..
"การลงทุนคืออาหารที่อร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว"
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณมากครับ >>> kotaro :shock:
corner
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 15

โพสต์

จะหาซื้อได้ที่ไหนบ้างนะครับพี่เจ๋ง ดูที่ศูนย์หนังสือจุฬาก็ไม่มี
อยากอ่านบ้างจัง
web
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ทางผู้แปลที่ได้รับลิขสิทธิ์ แปลเสร็จเรียบร้อยแล้ว และกำลังจัดรูปเล่มอยู่ คาดว่าจะใช้เวลาอีกไม่นานนัก หากมีความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบต่อไป
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ดีครับ งั้นรอฉบับแปลดีกว่า จะได้ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ :D
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 18

โพสต์

คุณ web พอทราบหรือไม่ครับ ว่ามีใครแปล common stock and uncommon profits and other ของ Philip A. Fisher หรือเปล่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ดีเลยครับ ถ้ามีแปลเป็นภาษาไทยจริงๆ จะได้อ่านกันเยอะๆครับ

แล้วที่ผมแปลแบบนี้จะผิดไหมครับเนี่ยะ

เจตนาผมก็คือ ต้องการแบ่งปันสิ่งที่ตัวเองได้อ่านให้คนอื่นที่ไม่มีโอกาสได้รับรู้ครับ เพราะหนังสือก็หายาก ผมต้องใช้วิธีสั่งจาก amazon เอานะครับ ผมไม่มีเจตนาที่จะไปละเมิดลิขสิทธิ์ใครเลย

ผมว่าดีซะอีก คนที่เข้ามาอ่านแล้ว รู้สึกชอบก็ไปซื้อฉบับเต็มมาอ่าน ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นด้วยครับ คิดเห็นยังไงช่วยบอกด้วยนะครับ

:D :D :D
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 20

โพสต์

คุณหมอเจตนาดีอยู่แล้ว เพราะการคิดจะละเมิด ก็ต้องหวังรายได้ แต่คุณหมอไม่ได้หวังรายได้นี่ครับ

แต่การแปลใส่เว็บ อาจจะมีผู้ไม่ประสงค์ดี นำไปรวบรวม แล้วก็ประกาศขายอีกทีก็ได้นะครับ ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีได้รับประโยชน์อีกทีหนึ่ง
lupikante
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 21

โพสต์

เป็นพระคุณอย่ายิ่งครับ
lupikante
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 22

โพสต์

เป็นพระคุณอย่ายิ่งครับ
THiNK
Verified User
โพสต์: 107
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ขอบคุณครับ รออ่านต่อครับ :D
web
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 24

โพสต์

Common Stocks and Uncommon Profits by Philip A. Fisher เท่าที่ทราบยังไม่มีใครแปล แต่หนังสือชื่อ Value Investing Made Easy ที่ดร.นิเวศน์เคยแนะนำให้อ่านไว้ในบทความของท่าน ฉบับแปลก็ใกล้จะเสร็จแล้วเช่นกันครับ
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ดีจัง... จะมีหนังสือดีๆ ให้พวกเราอ่านกันอีกแล้ว
ถ้าตั้งราคาไม่สูงเกินไป จะช่วยบอกต่อให้เพื่อนช่วยอุดหนุนครับ
:wink: :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 26

โพสต์

แปลมาอ่านต่อซิครับคุณหมอ เพื่อนๆรออยู่นะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 27

โพสต์

จริงๆ แปลเสร็จนานแล้วนะครับ แต่ได้ข่าวว่าจะมีฉบับแปลออกมาขาย ก็เลยคิดว่าไม่น่าจะแปลต่อครับ เดี๋ยวผิดลิขสิทธ์ครับ :D

เลยคิดว่าแปลแค่ 2 บทก็พอมั้งครับ ถ้าใครสนใจ ก็รออ่านฉบับของจริงดีกว่านะครับ

บทที่ 2 : วอเรนทำกำไรจาก บริษัทที่มีข่าวร้ายได้อย่างไร?

วอเรนได้ฝึกฝน กลยุทธ์ ที่เรียกว่า selective contrarian investment strategy หรือก็คือ กลยุทธ์ การลงทุนสวนตลาดแบบคัดสรร กลยุทธ์สวนตลาดแบบคัดสรร จะดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนด้วย ราคาที่ตกต่ำ

นักลงทุนแบบสวนนี้ จะลงทุนในส่วนที่นักลงทุนอื่นไม่สนใจ โดยมั่นใจว่า ราคาที่ต่ำนี้ หวังว่าวันหนึ่งจะทำกำไรอย่างมหาศาลในวันข้างหน้าเมื่อราคาหุ้นฟื้นขึ้นมา

วอเรนเชื่อว่า ราคาหุ้นที่ต่ำเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เหตุผลที่เพืยงพอที่ทำให้น่าเข้าไปลงทุน เขาสนใจบริษัทที่มี ลักษณะของธุรกิจพิเศษร่วมกับ ราคาที่สวนทางกัน

เขาพบว่าราคาที่น่าสนใจ ของบริษัทพิเศษเหล่านี้เป็นผลพวงมาจาก การมองการณ์สั้นและมองในแง่ร้ายของตลาด ปรํชญาการลงทุนแบบพื้นฐานของเขาคือการลงทุนแบบสวนร่วมกับการหาบริษัทที่มี ธุรกิจพิเศษ ที่เป็นเจ้าของสิ่งที่เขาเรียกว่า durable competitive advantage หรือก็คือ การได้เปรียบและมั้นคงในการแข่งขันทางธุรกิจ

การลงทุนสวนตลาดแบบคัดสรร VS การลงทุนสวนตลาดแบบดั้งเดิม

ในการลงทุนแบบสวน นักลงทุนจะซื้อหุ้นที่ตกลงมาและไม่เป็นทีสนใจของนักลงทุนอื่น กลยุทธ์แบบนี้อ้างอิงจาก งานวิจัยของ Eugene Fama และ Kenneth French ผู้ที่พบว่า บริษัทที่มีราคาหุ้นตกต่ำใน 2 ปีที่ผ่านมา มักจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอีก 2 ปีถัดไป

การลงทุนสวนตลาดแบบดั้งเดิม นักลงทุน ไม่สามารถแยก ธุรกิจที่มี ลักษณะของการแข่งขั้นกันเรื่องราคา ( price competitive type ) ออกจาก บริษัทที่ได้เปรียบและมั่นคงเชิงการแข่งขัน ( durable competitive advantage ) ออกจากกันได้

การลงทุนสวนตลากแบบคัดสรร วอเรนแนะนำให้ซื้อเมื่อ บริษัทนั้น มีการได้เปรียบและมั้นคงในการแข่งขัน ร่วมกับ ราคาที่ต่ำลงจาก การมองการณ์สั้นของตลาด วิธีนี้จะต่างจาก แบบดั้งเดิมคือ จะต้องหาให้ได้ว่าบริษัทมีลักษณะ ได้เปรียบและมั่นคงในการแข่งขัน เมือเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจ และขายในราคาที่ เจ้าของธุรกิจส่วนตัวนั้นสนใจ ( จะอธิบายต่อไป)

การมองการณ์สั้น กับ มองโลกในแง่ร้าย ร่วมกับ ข่าวร้ายที่มาถึง ทำให้ วอเรน บัฟเฟตต์ มีโอกาสเป็น เจ้าของ บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกได้ด้วยราคาที่ลดกระหน่ำ เช่นบริษัท H&R Block ในปี 2000 ด้วยราคา 28$ ต่อหุ้น หรือบริษัท Washington Post ด้วยราคา 6.14$ ตอนนี้ ราคาของ H&R Block อยู่ที่ 60 $ ส่วน Post อยู่ที่ 500$ กำไรก่อนภาษี เมือ 1 ปีผ่านไป ได้กำไรจาก H&R ประมาณ 41% เมื่อ 27 ปีผ่านไป ได้กำไรจาก Post ประมาณ 8,468 %

วอเรนพบว่า ไม่ว่าคนจะฉลาดแค่ไหน สัญชาติญาณก็จะควบคุมการตัดสินใจ ถ้าคุณได้คุยกับผู้จัดการกองทุนรวม คุณจะพบว่า เขาจะอยู่ภายใต้ความกดดันที่ต้องทำกำไรต่อปีให้ได้มากที่สุด เป็นสิ่งเดียวที่สาธารณะชน สนใจ

การมองการณ์สั้นของกองทุนรวม

เมื่อหลายปีก่อน นักเขียนเล่มนี้ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้จัดการกองทุนรวมคนหนึ่ง ที่มีเงินบริหารอยู่ 10,000 ล้าน $ เขาพาพร้อมกับหนังสือเล่มโต เป็นหนังสือเกี่ยวกับการวิเคราห์บริษัทต่างๆกว่า 20,000 บริษัท เมื่อผมสนใจขอดูหนังสือแล้วพยายามหาบริษัทที่ เรารู้ว่า วอเรน ซื้ออยู่ นั่นก็คือ Capital Cities เป็นบริษัทโฆษณาทางวิทยุและโทรทัศน์ บริหารงานโดย Tom Murphy

วอเรนเคยพูดว่า ถ้าให้เขาไปอาศัยอยู่เกาะกลางทะเลทรายเป็นเวลา 10 ปี และให้เขาเอาเงินทั้งหมดไปลงทุนกับบริษัทเดียว นั่นต้องเป็น Capital Cities

เมือเราถามผู้จัดการว่า ทำไมไม่มีหุ้นของ Capital Cities ในกองทุนของเขาเลย เขาตอบว่า เพราะเขาไม่มั่นใจว่า อีก 6 เดือนข้างหน้า ราคาหุ้นจะขยับขึ้นหรือเปล่า ทั้งๆที่เขาก็รู้ว่า Capital Cites เป็นบริษัทที่วิเศษ แต่เขาทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะเขาอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ต้องทำผลงานในระยะสั้นให้ดีที่สุด มิฉะนั้น เขาจะสู้คู่แข่งคนอื่นไม่ได้ ลูกค้าก็จะย้ายเงินไปที่อื่น เขาก็จะตกงาน เสียรถ Porsche ขาดเงินส่งลูกไปเรียน Havard

ปรากฏการณ์ข่าวร้าย ทำให้เกิดการขายหุ้น ทำให้ราคาหุ้นต่ำลง ข่าวร้ายทำให้ตาของ วอเรน สว่างขึ้น ปรากฏการณ์ข่าวร้าย ร่วมกับ การมองการณ์สั้น เป็นของขวัญที่ยื่นให้กับ วอเรน เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ก็เกิด โอกาสที่ทำให้ซื้อ ปีแต่ละปีผ่านไป 10 ปี 20 ปีผ่านไป ทำให้ เขามีความสุขกับ เงิน 30,000 ล้าน $

รู้จักกับนาย ตลาด ที่ทำให้ วอเรน ร่ำรวย

เบนจามิน แกรแฮม อาจารย์ของ วอเรน ได้สอนเรื่องการมองการณ์สั้นของตลาดให้ เขาให้วอเรน ลอง จินตนาการ ว่าได้เป็นเจ้าของธุรกิจเล็กๆที่มั้นคงอันหนึ่ง และมีหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า นายตลาด
นายตลาดนี้เอง มีลักษณะพิเศษคือ มีบุคคลิกภาพแปรปรวนง่าย วันไหนได้เห็นสิ่งสวยงามก็จะมองโลกทั้งโลกสวยงามไปหมดแต่ถ้าวันใด นายตลาดมองอะไรไม่เห็นนอกจากปัญหาในอนาคต เขาก็จะมองโลกทั้งโลกเลวร้ายไปหมด

นายตลาด เป็นคนผันผวน ทุกๆเช้า เขาจะพยายามเข้ามาขายหุ้นเขาให้แก่คุณ วันใดที่เขามองโลกแง่ดี เขาก็จะตั้งราคาขายไว้สูง วันใดที่เขามองโลกในแง่ร้าย เขาก็จะตั้งราคาขายไว้ต่ำ โดยหวังว่าคุณจะโง่พอที่ จะเอาบริษัทที่มีปัญหาไปจากเขา

อีกสิ่งหนึ่ง นายตลาดจะไม่สนใจเลย ว่าคุณจะสนใจเขาหรือไม่ เขามาเสนอให้คุณทุกวัน ไม่ว่าฝนตก แดดออก ด้วยความเต็มใจ ราคาก็ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของเขา คุณอาจจะเฉยเมยก็ได้ เขาก็จะกลับมาในวันรุ่งขึ้น

เมื่อคุณมั่นใจว่าอนาคตข้างหน้า บริษัทจะต้องดีแล้วต้องการเป็นเจ้าของคนเดียว เมื่อไหร่ที่คุณควรจะรับข้อเสนอจาก นายตลาด แน่นอนที่สุดเมื่อเขาเกิดความรู้สึกมองโลกเลวร้าย เพราะนั้นจะทำให้คุณได้ราคาที่ดีที่สุด

แกรแฮมยังสอน วอเรน อีกว่า นายตลาดอยู่ที่นั้น เพื่อให้ไปเอากำไรจากเขา ไม่ใช่ไปเชื่อเขา คุณควรสนใจแต่ราคาที่นายตลาดเสนอมา ไม่ใช่สนใจความคิดของนายตลาด ถ้าทำอย่างนั้น ความคิดแบบนั้นจะทำลายคุณย่อยยับ โดยคุณอาจจะมองโลกแง่ดีเกินไปก็จะทำให้คุณเสียเงินมาก ถ้าคุณมองโลกแง่ร้ายเกินไป คุณก็จะพลาดโอกาสที่จะเอากำไรจากนายตลาด

วอเรนพูดว่า ทุกวันนี้ นายตลาดยังอยู่ ยังมองอะไรสั้นอยู่ และยังมีอารมณ์ ดีแบบบ้าคลั่งกับซึมเศร้าอยู่
+++unlog
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 28

โพสต์

thank. ครับ สำหรับข้อความและ ความคิดดีๆ ที่ส่งเข้ามา ดีนะครับ สังคมน่าอยู่ขึ้นเยอะ

อิอิ .....
ความจริงได้ฉบับจริงมาแล้วฮะ .... เพื่อนซื้อมาฝากจากเมืองนอก อิอิ... เอาไว้ประดับบนหิ้ง เอ๊ย... เอาไว้อ่านครับ

แบบว่า ชอบสะสมอ่ะ

เล่ม workbook นี่ก็ดีนะครับ สั้นๆดี อ่านแล้วสนุกเหมือนกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา1
Verified User
โพสต์: 1092
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 29

โพสต์

:P ขอบคุณครับ
Buzz
Verified User
โพสต์: 49
ผู้ติดตาม: 0

The New Buffetology , Thai edition

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ยอดเยี่ยมครับ ผมเองไม่มีโอกาสได้อ่านต้นฉบับ แต่ได้อ่าน 2บทนี้ นับว่า
ได้เรียนรู้เรื่องดีๆ (เช่น เรื่องของ ผจก.กองทุน) ยังไงๆ อย่าพึ่งหยุดแปล
เลยนะครับ. รออ่านอยู่ครับ
ขอบคุณมากครับ ที่นำเรื่องดีๆ มีประโยชน์ต่อการลงทุนมาเสนอ ครับ

ปล. ยังคงยืนยันครับ อยากให้เก็บกระทู้ในห้อง GURU หรือห้องบทความก็ได้ครับ.
"การลงทุนที่ชาญฉลาดที่สุด จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เราลงทุนแบบทำธุรกิจ"