กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1496
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 1
ตะกี้พิมพ์ไปรอบนึงแล้ว เครื่องดับ หายหมดเลย
มีกลยุทธ์นึงครับ คิดว่าเหมาะแก่การ discuss กับเพื่อนๆพี่ๆครับ มีใครใช้อยู่ไหมครับ
กลยุทธ์ Dog of The Dow เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีคนรู้จักกันทั่วไป โดยผู้เผยแพร่คือ Michael O'Higgins ซึ่งเป็นผู้จัดการการเงิน
และผู้แต่งหนังสือขายดีเรื่อง "beating the dow" โดยหลักการเป็นการเลือกหุ้นที่ให้ปันผลดีนำมาลงทุน
โดยคัดเลือกหุ้นที่อยู่ใน DJIA(Dow Jones Industrial Average) โดยคัดหุ้น 10 ตัวจากทั้งหมด 30 ตัว เรียงลำดับ
หุ้นที่ให้ปันผลดีสุด 10 ตัว แรก แล้วซื้อ ปรับพอร์ตทุก 1 ปี
มีแนวคิดที่ซ่อนไว้ในกลยุทธ์ว่า บริษัทฯ ที่อยู่ใน DJIA เป็นบริษัทพวก blue chip บริษัทฯ พวกนี้เวลาอยู่ในช่วงขาลงของ business cycle
ราคาหุ้นจะลดลง แต่เงินปันผลเท่าเดิม ทำให้ yield สูงขึ้น ตัว yeild จึงเป็นตัวบอกอันหนึ่งว่า บริษัทฯ เหล่านี้อยู่ใกล้ bottom of cycle แล้ว
กลยุทธ์นี้ ตาม O'Higgins พบว่าสถิติเก็บไว้ตั้งแต่ปี 1973 ถึงปี 1991 พบว่า dog ให้ผลตอบแทนทบต้น
ตลอด 19 ปี ที่ 16.6% ส่วน DJIA ให้ผลตอบแทนทบต้น 10.4% (อ้างอิง http://www.stockscreening101.com/dogs-of-the-dow.html)
Dog นี้บางตำราจัดเป็น 1 ใน market anomalies อันนึงครับ
คราวนี้ผมจึงเกิดความอยากรู้ว่าจะเอามาใช้ในบ้านเรา ได้ไหม จึงทดลองเปรียบเทียบกับ SET50ดู แล้วเรียกว่าเป็น Dog of the SET50
การกรองหุ้น ใช้หลักการเดียวกันคือ นำหุ้นที่อยู่ใน SET50 ทั้งหมด 50 ตัวมาเรียงลำดับจากหุ้นที่ให้ปันผล
มากสุดอยู่ด้านบนสุด แล้วเลือกลงทุนหุ้น 10 ตัวแรกที่ให้ปันผลมากสุด แล้วปรับพอร์ตตาม SET50 ที่เปลี่ยนทุก
ครี่งปีครับ
ได้ผลตามข้างล่าง
Dog of the SET50
dog of the dow น่าสังเกตุว่า 2 ปีที่ผ่านมากลยุทธ์มีคนสังเกตุว่าใช้ไม่ได้ผล
dog ให้ผลตอบแทนแย่กว่า dow ครับ
ปี 2009 dog บวก 14% dow บวกเกือบ 20%
ปี 2008 dog ลบ 41% dow ลบ 34%
แต่บ้านเรา ปี 2009 ดีกว่านะครับ และผลตอบแทนทบต้น 4 ปี 16.29% เทียบกับ SET50 ที่ 10%
มีกลยุทธ์นึงครับ คิดว่าเหมาะแก่การ discuss กับเพื่อนๆพี่ๆครับ มีใครใช้อยู่ไหมครับ
กลยุทธ์ Dog of The Dow เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีคนรู้จักกันทั่วไป โดยผู้เผยแพร่คือ Michael O'Higgins ซึ่งเป็นผู้จัดการการเงิน
และผู้แต่งหนังสือขายดีเรื่อง "beating the dow" โดยหลักการเป็นการเลือกหุ้นที่ให้ปันผลดีนำมาลงทุน
โดยคัดเลือกหุ้นที่อยู่ใน DJIA(Dow Jones Industrial Average) โดยคัดหุ้น 10 ตัวจากทั้งหมด 30 ตัว เรียงลำดับ
หุ้นที่ให้ปันผลดีสุด 10 ตัว แรก แล้วซื้อ ปรับพอร์ตทุก 1 ปี
มีแนวคิดที่ซ่อนไว้ในกลยุทธ์ว่า บริษัทฯ ที่อยู่ใน DJIA เป็นบริษัทพวก blue chip บริษัทฯ พวกนี้เวลาอยู่ในช่วงขาลงของ business cycle
ราคาหุ้นจะลดลง แต่เงินปันผลเท่าเดิม ทำให้ yield สูงขึ้น ตัว yeild จึงเป็นตัวบอกอันหนึ่งว่า บริษัทฯ เหล่านี้อยู่ใกล้ bottom of cycle แล้ว
กลยุทธ์นี้ ตาม O'Higgins พบว่าสถิติเก็บไว้ตั้งแต่ปี 1973 ถึงปี 1991 พบว่า dog ให้ผลตอบแทนทบต้น
ตลอด 19 ปี ที่ 16.6% ส่วน DJIA ให้ผลตอบแทนทบต้น 10.4% (อ้างอิง http://www.stockscreening101.com/dogs-of-the-dow.html)
Dog นี้บางตำราจัดเป็น 1 ใน market anomalies อันนึงครับ
คราวนี้ผมจึงเกิดความอยากรู้ว่าจะเอามาใช้ในบ้านเรา ได้ไหม จึงทดลองเปรียบเทียบกับ SET50ดู แล้วเรียกว่าเป็น Dog of the SET50
การกรองหุ้น ใช้หลักการเดียวกันคือ นำหุ้นที่อยู่ใน SET50 ทั้งหมด 50 ตัวมาเรียงลำดับจากหุ้นที่ให้ปันผล
มากสุดอยู่ด้านบนสุด แล้วเลือกลงทุนหุ้น 10 ตัวแรกที่ให้ปันผลมากสุด แล้วปรับพอร์ตตาม SET50 ที่เปลี่ยนทุก
ครี่งปีครับ
ได้ผลตามข้างล่าง
Dog of the SET50
dog of the dow น่าสังเกตุว่า 2 ปีที่ผ่านมากลยุทธ์มีคนสังเกตุว่าใช้ไม่ได้ผล
dog ให้ผลตอบแทนแย่กว่า dow ครับ
ปี 2009 dog บวก 14% dow บวกเกือบ 20%
ปี 2008 dog ลบ 41% dow ลบ 34%
แต่บ้านเรา ปี 2009 ดีกว่านะครับ และผลตอบแทนทบต้น 4 ปี 16.29% เทียบกับ SET50 ที่ 10%
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 2
น่าคิดครับ และ เป็นไปได้ที่เดียว
ผมมี 2 คำถามที่ผมจะลองไปคิดๆดู ถ้าคิดอะไรได้จะเข้ามา Share เพิ่มเติม ดังนี้
1. ต้องถือไว้ 10 ตัว ทำไมถึง 10 ตัว น้อยกว่าหรือมากกว่าจะเป็นอย่างไร
2. ระยะเวลา 1 ปี เทียบกับ 1 รอบบัญชี มันน่าจะต้องปรับเปลี่ยน (หรือเพิ่มเติม) เป็นทุกๆระยะเวลาก่อนมีการ Turn Around, การเปลี่ยนกลยุทธ หรือ การลงทุนครั้งใหม่ ด้วยรึเปล่า เพราะไม่เช่นนั้นหุ้นที่ปันผลดีในปีนี้ที่เราซื้อ อาจจะแทบไม่ปันผลเลยในปีหน้าเพราะมี Heavy Investment (การที่บริษัทฯปันผลได้ดีน่าจะอยู่ในช่วงของการใช้สินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด "peak of cycle" และ กำลังจะเริ่มเข้าสู่รอบใหม่ที่ต้องลงทุน .....ซี่งผมยังรู้สึกแย้งๆกับการที่ทฤษฎีนี้เขียนไว้ว่ามันน่าจะอยู่ในช่วง "bottom of cycle" หรือมันอาจเป็นไปได้ทั้งสองอย่างว่าอยู่ในช่วง Peak และ trough)
เขียนๆชักจะเริ่มรู้สึกว่ามัน "น่าคิด" และ มีมิติต่างๆซ้อนๆกัน ยากกว่าที่จะเขียนฟันธงไปได้ ผมต้องลองไป Explore Scenario นี้ดูซะแล้ว
ขอบคุณ คุณ kotaro สำหรับแนวความคิดดีๆ ที่เอามาแบ่งปันกันครับ
ผมมี 2 คำถามที่ผมจะลองไปคิดๆดู ถ้าคิดอะไรได้จะเข้ามา Share เพิ่มเติม ดังนี้
1. ต้องถือไว้ 10 ตัว ทำไมถึง 10 ตัว น้อยกว่าหรือมากกว่าจะเป็นอย่างไร
2. ระยะเวลา 1 ปี เทียบกับ 1 รอบบัญชี มันน่าจะต้องปรับเปลี่ยน (หรือเพิ่มเติม) เป็นทุกๆระยะเวลาก่อนมีการ Turn Around, การเปลี่ยนกลยุทธ หรือ การลงทุนครั้งใหม่ ด้วยรึเปล่า เพราะไม่เช่นนั้นหุ้นที่ปันผลดีในปีนี้ที่เราซื้อ อาจจะแทบไม่ปันผลเลยในปีหน้าเพราะมี Heavy Investment (การที่บริษัทฯปันผลได้ดีน่าจะอยู่ในช่วงของการใช้สินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด "peak of cycle" และ กำลังจะเริ่มเข้าสู่รอบใหม่ที่ต้องลงทุน .....ซี่งผมยังรู้สึกแย้งๆกับการที่ทฤษฎีนี้เขียนไว้ว่ามันน่าจะอยู่ในช่วง "bottom of cycle" หรือมันอาจเป็นไปได้ทั้งสองอย่างว่าอยู่ในช่วง Peak และ trough)
เขียนๆชักจะเริ่มรู้สึกว่ามัน "น่าคิด" และ มีมิติต่างๆซ้อนๆกัน ยากกว่าที่จะเขียนฟันธงไปได้ ผมต้องลองไป Explore Scenario นี้ดูซะแล้ว
ขอบคุณ คุณ kotaro สำหรับแนวความคิดดีๆ ที่เอามาแบ่งปันกันครับ
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1496
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 3
พี่ Paul Octopus
เรื่องจำนวนหุ้นที่ถือในพอร์ต ผมก็เคยนั่งคิดเหมือนกัน มีความเห็นว่าวิธีการคัดกรองหุ้น
โดยใช้ อัตราส่วน พวกนี้ ไม่ได้มองที่ปัจจัยคุณภาพเลย ทำให้ต้องมีการกระจายความเสี่ยง
ของหุ้น ทำให้ต้องถือหุ้นหลายตัว เช่น ถ้า 5 ตัวก็อาจน้อยเกินไป ผู้คิดก็เลยเลือก 10 ตัว
คิดว่างั้นนะครับ ขอบคุณที่ share idea นะครับ
เรื่องจำนวนหุ้นที่ถือในพอร์ต ผมก็เคยนั่งคิดเหมือนกัน มีความเห็นว่าวิธีการคัดกรองหุ้น
โดยใช้ อัตราส่วน พวกนี้ ไม่ได้มองที่ปัจจัยคุณภาพเลย ทำให้ต้องมีการกระจายความเสี่ยง
ของหุ้น ทำให้ต้องถือหุ้นหลายตัว เช่น ถ้า 5 ตัวก็อาจน้อยเกินไป ผู้คิดก็เลยเลือก 10 ตัว
คิดว่างั้นนะครับ ขอบคุณที่ share idea นะครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
- VI Wannabe
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1014
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 4
When u buy or sell krub?
Usually, dividend of "last year" is announced around Feb-Mar.
The question is when u buy (I assume it is beginging of the year) "what dividend data" that you use krub?
sorry can't type thai right now krub.
Usually, dividend of "last year" is announced around Feb-Mar.
The question is when u buy (I assume it is beginging of the year) "what dividend data" that you use krub?
sorry can't type thai right now krub.
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"
"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1496
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 5
คิดอยู่แล้วว่าต้องมีคำถามนี้ครับVI Wannabe เขียน:When u buy or sell krub?
Usually, dividend of "last year" is announced around Feb-Mar.
The question is when u buy (I assume it is beginging of the year) "what dividend data" that you use krub?
sorry can't type thai right now krub.
ใช้ข้อมูลปันผลของปีก่อนหน้า 1 ปีครับ ทั้งการถือพอร์ต ครี่งปีแรก และครี่งปีหลัง
ใช่ครับ ปันผลมันจะปันประมาณ กุมภาถึงเมษา ตรงนั้นอาจเป็นข้อจำกัดอย่างนึงครับ
แต่ครี่งปีหลัง ไม่น่ามีปัญหานะครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1496
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 6
อีกอย่างนึงครับ กลยุทธ์นี้ที่น่าคิด ตรงที่ว่าการเลือกหุ้นที่คิดว่าปันผลสูงๆและเป็นหุ้น blue chip ด้วย
พวกนี้จะให้ผลตอบแทนเทียบกันตลาดเป็นยังไง
หุ้น blue chip นี่ หากคาดเดาอัตราปันผลไม่ยากนะครับ ลองเทียบกันดูใน SET50 นี่ก็ปันผลค่อนข้างสม่ำเสมอครับ
หุ้นในกลุ่มนี้ มีนักวิเคราะห์ติดตามเยอะ ทำให้ข้อมุลอะไรก็หาง่ายกว่ากลุ่มอื่นครับ
พวกนี้จะให้ผลตอบแทนเทียบกันตลาดเป็นยังไง
หุ้น blue chip นี่ หากคาดเดาอัตราปันผลไม่ยากนะครับ ลองเทียบกันดูใน SET50 นี่ก็ปันผลค่อนข้างสม่ำเสมอครับ
หุ้นในกลุ่มนี้ มีนักวิเคราะห์ติดตามเยอะ ทำให้ข้อมุลอะไรก็หาง่ายกว่ากลุ่มอื่นครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 7
set 50 4 ปี ผมว่า เวลาพิสูจน์มันน้อยไปครับ
เพราะคิดว่า เวลาแค่นี้ คงยังไม่ครบรอบ cycle ศก.แต่ละรอบ
อย่างน้อย น่าจะซัก 10 ปี ขึ้นไป
เพราะคิดว่า เวลาแค่นี้ คงยังไม่ครบรอบ cycle ศก.แต่ละรอบ
อย่างน้อย น่าจะซัก 10 ปี ขึ้นไป
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1496
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 8
เห็นด้วยเลยครับKGYF เขียน:set 50 4 ปี ผมว่า เวลาพิสูจน์มันน้อยไปครับ
เพราะคิดว่า เวลาแค่นี้ คงยังไม่ครบรอบ cycle ศก.แต่ละรอบ
อย่างน้อย น่าจะซัก 10 ปี ขึ้นไป
พอดี ผมมีข้อมูลเรื่องราคาหุ้นแค่นี้ เลยทำได้เท่านี้ครับ ถ้ามีย้อนหลังสัก 10 ปีคงดีครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 9
ไฟล์ของ พี่ ครรชิต eps16yearkotaro เขียน:เห็นด้วยเลยครับKGYF เขียน:set 50 4 ปี ผมว่า เวลาพิสูจน์มันน้อยไปครับ
เพราะคิดว่า เวลาแค่นี้ คงยังไม่ครบรอบ cycle ศก.แต่ละรอบ
อย่างน้อย น่าจะซัก 10 ปี ขึ้นไป
พอดี ผมมีข้อมูลเรื่องราคาหุ้นแค่นี้ เลยทำได้เท่านี้ครับ ถ้ามีย้อนหลังสัก 10 ปีคงดีครับ
น่าจะมีข้อมูลครบนะครับ
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1496
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 10
ไฟล์ของพี่ครรชิต มีข้อมูลราคารายวัน ตั้งแต่กลางปี 2006 ครับ
พอดีผมเปรียบเทียบกับ SET50 ที่ update ปีละ 2 ครั้งจึงต้องใช้ราคากลางปีมาคำนวณด้วย
ส่วนรายชื่อหุ้นที่นำมาคำนวณ SET50 ที่ download ได้จาก ตลท ก็มีให้ถึงแค่ปี 48 เองครับ
พอดีผมเปรียบเทียบกับ SET50 ที่ update ปีละ 2 ครั้งจึงต้องใช้ราคากลางปีมาคำนวณด้วย
ส่วนรายชื่อหุ้นที่นำมาคำนวณ SET50 ที่ download ได้จาก ตลท ก็มีให้ถึงแค่ปี 48 เองครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
- extraordinary
- Verified User
- โพสต์: 122
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 12
แบบนี้เรามองเป็น การเทียบ ราคาต่อปันผลได้ไหมครับ
price per dividend (p/d)
เลียนแบบ p/e
แล้วเอามาจับเรียงกันจากต่ำไปสูง
เอามาเป็น อินดิเคเต้อวัดความอันเดอแวลูเชิงปันผลไปเลย
ผมสังเกตหุ้นในเซต50นี้เวลายิลด์สูงๆแล้วมักโดนไล่ราคาจนยิลด์กลับไปค่าเฉลี่ยบ่อยๆ
สังเกตจากบทวิเคราะห์โบรคอ่ะครับ
แล้วราคามันมักจะกลับไปไวซะด้วยซิ ถ้าเปนช่วงฟื้นตัว นิหุ้นพวกนี้เด้งก่อนประจำเลย
ผมว่าเอามาตั้งเป็นp/d น่าจะเวิค์(สำหรับเซต50อ่ะครับ)
ได้ตัดปัญหาว่าบริษัทมันอยุ่ในช่วงไหนของไซเคิลตามที่พี่หมึกพอลว่าออก
วัดกันด้วยความอันเดอแวลูเชิงปันผลอย่างเดียว
price per dividend (p/d)
เลียนแบบ p/e
แล้วเอามาจับเรียงกันจากต่ำไปสูง
เอามาเป็น อินดิเคเต้อวัดความอันเดอแวลูเชิงปันผลไปเลย
ผมสังเกตหุ้นในเซต50นี้เวลายิลด์สูงๆแล้วมักโดนไล่ราคาจนยิลด์กลับไปค่าเฉลี่ยบ่อยๆ
สังเกตจากบทวิเคราะห์โบรคอ่ะครับ
แล้วราคามันมักจะกลับไปไวซะด้วยซิ ถ้าเปนช่วงฟื้นตัว นิหุ้นพวกนี้เด้งก่อนประจำเลย
ผมว่าเอามาตั้งเป็นp/d น่าจะเวิค์(สำหรับเซต50อ่ะครับ)
ได้ตัดปัญหาว่าบริษัทมันอยุ่ในช่วงไหนของไซเคิลตามที่พี่หมึกพอลว่าออก
วัดกันด้วยความอันเดอแวลูเชิงปันผลอย่างเดียว
เล่นหุ้นอย่ามักง่ายเดี๋ยวจะกลายเป็นปลาติดเบ็ด
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์การลงทุน Dog of the SET50
โพสต์ที่ 13
[quote="Paul Octopus"]น่าคิดครับ และ เป็นไปได้ที่เดียว
ผมมี 2 คำถามที่ผมจะลองไปคิดๆดู ถ้าคิดอะไรได้จะเข้ามา Share เพิ่มเติม ดังนี้
1. ต้องถือไว้ 10 ตัว ทำไมถึง 10 ตัว น้อยกว่าหรือมากกว่าจะเป็นอย่างไร
2. ระยะเวลา 1 ปี เทียบกับ 1 รอบบัญชี มันน่าจะต้องปรับเปลี่ยน (หรือเพิ่มเติม) เป็นทุกๆระยะเวลาก่อนมีการ Turn Around, การเปลี่ยนกลยุทธ หรือ การลงทุนครั้งใหม่ ด้วยรึเปล่า เพราะไม่เช่นนั้นหุ้นที่ปันผลดีในปีนี้ที่เราซื้อ อาจจะแทบไม่ปันผลเลยในปีหน้าเพราะมี Heavy Investment (การที่บริษัทฯปันผลได้ดีน่าจะอยู่ในช่วงของการใช้สินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด "peak of cycle" และ กำลังจะเริ่มเข้าสู่รอบใหม่ที่ต้องลงทุน .....ซี่งผมยังรู้สึกแย้งๆกับการที่ทฤษฎีนี้เขียนไว้ว่ามันน่าจะอยู่ในช่วง "bottom of cycle" หรือมันอาจเป็นไปได้ทั้งสองอย่างว่าอยู่ในช่วง Peak และ trough)
เขียนๆชักจะเริ่มรู้สึกว่ามัน "น่าคิด" และ มีมิติต่างๆซ้อนๆกัน ยากกว่าที่จะเขียนฟันธงไปได้ ผมต้องลองไป Explore Scenario นี้ดูซะแล้ว
ขอบคุณ คุณ kotaro สำหรับแนวความคิดดีๆ ที่เอามาแบ่งปันกันครับ[/quote]
ผมรีบ Post ไปหน่อย
จริงๆแล้ว Dogs of the dow strategy เป็นการใช้ Opportunity จากจิตวิทยาของนักลงทุนที่ชื่นชอบ "Valued Stocks"
Valued Stocks จะถูกมองที่มูลค่า ปัจจุบัน (แต่พวก Growth Stocks นักลงทุนที่ชื่นชอบจะมองที่มูลค่าของ อนาคต)
การมองที่มูลค่าปัจจุบันเป็นหลักทำให้นักลงทุนประเภทนี้มักจะ "มองแง่ร้ายเกินไป"
แง่ร้ายเพราะลืมคิดไปว่า Stocks เหล่านี้มีมิติของการเติบโตอยู่ด้วย และ บ้างครั้ง เติบโตได้มากด้วยซ้ำไป
เป็นเหตุผลให้ Stock นั้นถูกตีค่า "under value"
เมื่อวันหนี่งนักลงทุนตระหนักว่า เฮ้ย มันเติบโตได้มากนี่หว่า จีงให้มูลค่าหุ้นวิ่งขึ้น
การที่หุ้นวิ่งขึ้นทำให้ Dividend Yield ลดต่ำลง
ดังนั้นเมื่อเราลงทุนโดยใช้ Dogs of the Dow Strategy เราจะพบว่าหุ้นตัวนี้ให้ Yield ต่ำลงมาก และ ต่ำลงจนหลุด 1 ใน 10
เราจะขายมันทิ้งไป และ หาตัวใหม่
ประเด็นที่มันได้ผลตอบแทนที่ดี กลับเป็น "Capital Gain" จากการขายมัน
และ เอา Capital gain กลับมาลงทุนทบต้น
ฮะๆๆๆ มันถึงทำให้ผลตอบแทนในระยะยาวจึงสูงกว่า Yield เฉลี่ย
นับว่าหลักแหลมทีเดียว
ผมขอ Share แค่นี้ครับ
น่าลองดู แต่มันมีคนคิดเพิ่มอีกเต็มเลย เช่น
5 dogs, foolish 4 etc.
มันให้ผลตอบแทนระยะยาวสูงกว่า Dogs of the dow ซะอีก
ผมมี 2 คำถามที่ผมจะลองไปคิดๆดู ถ้าคิดอะไรได้จะเข้ามา Share เพิ่มเติม ดังนี้
1. ต้องถือไว้ 10 ตัว ทำไมถึง 10 ตัว น้อยกว่าหรือมากกว่าจะเป็นอย่างไร
2. ระยะเวลา 1 ปี เทียบกับ 1 รอบบัญชี มันน่าจะต้องปรับเปลี่ยน (หรือเพิ่มเติม) เป็นทุกๆระยะเวลาก่อนมีการ Turn Around, การเปลี่ยนกลยุทธ หรือ การลงทุนครั้งใหม่ ด้วยรึเปล่า เพราะไม่เช่นนั้นหุ้นที่ปันผลดีในปีนี้ที่เราซื้อ อาจจะแทบไม่ปันผลเลยในปีหน้าเพราะมี Heavy Investment (การที่บริษัทฯปันผลได้ดีน่าจะอยู่ในช่วงของการใช้สินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด "peak of cycle" และ กำลังจะเริ่มเข้าสู่รอบใหม่ที่ต้องลงทุน .....ซี่งผมยังรู้สึกแย้งๆกับการที่ทฤษฎีนี้เขียนไว้ว่ามันน่าจะอยู่ในช่วง "bottom of cycle" หรือมันอาจเป็นไปได้ทั้งสองอย่างว่าอยู่ในช่วง Peak และ trough)
เขียนๆชักจะเริ่มรู้สึกว่ามัน "น่าคิด" และ มีมิติต่างๆซ้อนๆกัน ยากกว่าที่จะเขียนฟันธงไปได้ ผมต้องลองไป Explore Scenario นี้ดูซะแล้ว
ขอบคุณ คุณ kotaro สำหรับแนวความคิดดีๆ ที่เอามาแบ่งปันกันครับ[/quote]
ผมรีบ Post ไปหน่อย
จริงๆแล้ว Dogs of the dow strategy เป็นการใช้ Opportunity จากจิตวิทยาของนักลงทุนที่ชื่นชอบ "Valued Stocks"
Valued Stocks จะถูกมองที่มูลค่า ปัจจุบัน (แต่พวก Growth Stocks นักลงทุนที่ชื่นชอบจะมองที่มูลค่าของ อนาคต)
การมองที่มูลค่าปัจจุบันเป็นหลักทำให้นักลงทุนประเภทนี้มักจะ "มองแง่ร้ายเกินไป"
แง่ร้ายเพราะลืมคิดไปว่า Stocks เหล่านี้มีมิติของการเติบโตอยู่ด้วย และ บ้างครั้ง เติบโตได้มากด้วยซ้ำไป
เป็นเหตุผลให้ Stock นั้นถูกตีค่า "under value"
เมื่อวันหนี่งนักลงทุนตระหนักว่า เฮ้ย มันเติบโตได้มากนี่หว่า จีงให้มูลค่าหุ้นวิ่งขึ้น
การที่หุ้นวิ่งขึ้นทำให้ Dividend Yield ลดต่ำลง
ดังนั้นเมื่อเราลงทุนโดยใช้ Dogs of the Dow Strategy เราจะพบว่าหุ้นตัวนี้ให้ Yield ต่ำลงมาก และ ต่ำลงจนหลุด 1 ใน 10
เราจะขายมันทิ้งไป และ หาตัวใหม่
ประเด็นที่มันได้ผลตอบแทนที่ดี กลับเป็น "Capital Gain" จากการขายมัน
และ เอา Capital gain กลับมาลงทุนทบต้น
ฮะๆๆๆ มันถึงทำให้ผลตอบแทนในระยะยาวจึงสูงกว่า Yield เฉลี่ย
นับว่าหลักแหลมทีเดียว
ผมขอ Share แค่นี้ครับ
น่าลองดู แต่มันมีคนคิดเพิ่มอีกเต็มเลย เช่น
5 dogs, foolish 4 etc.
มันให้ผลตอบแทนระยะยาวสูงกว่า Dogs of the dow ซะอีก